Notion Labs บริษัทผู้พัฒนาแอพจดโน้ต Notion ระดมทุนเพิ่มอีก 275 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัทตอนนี้แตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์แล้ว (เพิ่มขึ้นจาก 2 พันล้านดอลลาร์ในการระดมทุนรอบเดือนเมษายนปีนี้)
Notion เป็นแอพจดโน้ต ที่มีฟีเจอร์จัดการเอกสารขั้นสูง เช่น การใช้ตารางแบบสเปรดชีต ปฏิทิน การลิงก์ข้ามโน้ต จนหลายคนนำไปใช้เป็นโปรแกรมจัดการงานภายในทีม (ใช้แทนได้ทั้ง Wiki, Asana/Trello หรือแม้แต่ Office/Google Docs) โปรแกรมยังมีเทมเพลตเป็นจำนวนมากรองรับการจดโน้ตทุกรูปแบบ
Notion ได้ประโยชน์อย่างมากจากช่วง work from home ในปี 2020 ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มถึง 4 เท่าตัว (ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 20 ล้านคน) และได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ Gen Z ที่ชอบอินเทอร์เฟซแบบ minimalist จนกลายเป็นไวรัลใน TikTok
TechCrunch รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Jeff Bezos อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon ได้ตกลงที่จะร่วมลงทุนใน Ula สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ในการระดมทุนรอบใหม่ที่จะมีเงินลงทุนเพิ่มจากนักลงทุนทั้งหมดราว 80 ล้านดอลลาร์
Ula เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว ได้เงินทุนไปแล้วรวม 30 ล้านดอลลาร์ มีกองทุนดังร่วมลงทุนอาทิ B Capital Group, Sequoia Capital India, Lightspeed Venture Partners และ Quona Capital โดยเป็นอีคอมเมิร์ซเน้นการขายส่งสินค้าสำหรับผู้ประกอบรายย่อย (B2B) เพื่อช่วยบริการจัดการซัพพลายเชน สินค้าคงคลัง และเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
AIS Business และ AIS The StartUp จัดงาน NATIONAL DIGITAL CTO FORUM 2022 รวมผู้นำวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ อัพเดตเทรนด์เทคโนโลยี โอกาสและความท้าทายของวงการสตาร์ทอัพที่กำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สอง
ย้อนกลับไปราวปี 2011 ถือเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของวงการสตาร์ทอัพในไทย เรามองเห็นการจัดการแข่งขันประชันไอเดีย สร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ pain point ของลูกค้าและสังคม เรามองเห็นการระดมทุนอย่างคึกคักและไทยก็ถือว่ามีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพในอาเซียนได้
แนวคิดของหน่วยงาน AIS the StartUp เองเริ่มก่อตั้งขึ้นในปลายปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงระยะแรกของวงการสตาร์ทอัพพอดี โดยเอไอเอสเล็งเห็นแล้วว่าประเทศไทยไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยสินค้าอย่างเดียว แต่ขับเคลื่อนด้วยบริการและต้องเป็นบริการดิจิทัลด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้บริหารเริ่มโครงการ Startup ขึ้นมา
จนถึงตอนนี้ผ่านมาสิบปี ก้าวสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพ มีการเปลี่ยนแปลงจากสิบปีที่แล้วอย่างไร และต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพได้อย่างไร Blognone จะพาไปหาคำตอบที่งานเสวนาออนไลน์ครั้งนี้
Keenon Robotics สตาร์ทอัพหุ่นยนต์สำหรับงานบริการ จากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ประกาศรับเงินลงทุนซีรี่ส์ D เพิ่ม 200 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ลงทุนหลักคือกองทุน Softbank Vision Fund 2 และมีกองทุน CICC ALPHA กับ Prosperity7 ของ Aramco เป็นผู้ร่วมลงทุน บริษัทระบุว่าการเพิ่มทุนครั้งนี้ เป็นเงินทุนก้อนใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในธุรกิจหุ่นยนต์ภาคงานบริการ
Keenon ก่อตั้งในปี 2010 เน้นพัฒนาหุ่นยนต์ใช้ในงานส่งของ มีลูกค้าทั้งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ สุขภาพ และงานดูแล
Kentaro Matsui ผู้บริหาร SoftBank กล่าวว่าหุ่นยนต์ในงานบริการ จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม และโรงพยาบาล ที่มีความต้องการมากขึ้น
Canva แพลตฟอร์มออกแบบกราฟิกออนไลน์ ประกาศรับเงินระดมทุนเพิ่มอีก 200 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งทะลุ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ (1.3 ล้านล้านบาท) แล้ว ถือเป็นหนึ่งในสตาร์ตอัพที่ยังไม่ IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาด
Canva เพิ่งระดมทุนมาแล้วรอบหนึ่งในเดือนเมษายน ที่มูลค่าบริษัท 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เท่ากับเวลาผ่านมาเพียงไม่กี่เดือน มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ปัจจุบันบริษัทมีผู้ใช้ต่อเดือน 60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากการระดมทุนรอบเดือนเมษายนที่มี 55 ล้านคน
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐและสำนักงาน ก.ล.ต.ในสหรัฐตั้งข้อหาเอาผิดอดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท HeadSpin สตาร์ทอัพพัฒนาอุปกรณ์พกพา ด้วยข้อหาให้ข้อมูลหลอกลวงนักลงทุน ปลอมแปลงตัวเลขรายได้
บริษัทเทคโนโลยี แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเป็นแกนกลาง ทำให้ Tech Stack หรือชุดของเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อธุรกิจและนวัตกรรม รวมไปถึงความรู้ความสามารถของคนในทีมด้วย
สตาร์ตอัพมักเริ่มพัฒนาระบบใหม่ทั้งหมดเอง ทำให้มีโอกาสเลือกใช้เทคโนโลยีโดยไม่ต้องคำนึงถึงระบบเดิมที่เคยใช้มา สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมเพื่อเน้นการขับเคลื่อนธุรกิจ สร้างนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในบทความนี้ คุณพศวีร์ เวชพาณิชย์ CTO ของ RentSpree สตาร์ตอัพคนไทยด้านอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา เล่าถึง Tech Stack ที่บริษัทเลือกใช้งานมาและความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจว่าควรเลือกเทคโนโลยีอย่างไร
ธุรกิจไทยซื้อกันเอง SYNQA Group (บริษัทแม่ของ Omise) ประกาศซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ Eventpop สตาร์ตอัพด้านระบบการจัดอีเวนต์ของไทย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Eventpop ระบุว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ทำให้ธุรกิจอีเวนต์หายไป บริษัทจึงนำเทคโนโลยีด้าน O2O (Online to Offline) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยหนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซแบบ Omnichannel ที่ร่วมพัฒนากับ SYNQA อยู่ก่อนแล้ว
ทั้งเอไอเอสและไมโครซอฟท์ต่างมีโครงการเพื่อสตาร์ทอัพอยู่แล้วคือ AIS The StartUp และ Microsoft for Startups ล่าสุดทั้งสองประกาศความร่วมมือ เปิดตัวโครงการ AIS x Microsoft for Startups รับสมัครสตาร์ทอัพไทยที่ทำธุรกิจ B2B หรือ Business to Business เข้ามาสมัครเพื่อเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ของไมโครซอฟท์ รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านช่องทางเอไอเอสและไมโครซอฟท์ด้วย
FlowAccount สตาร์ตอัพด้านโปรแกรมบัญชีออนไลน์ของไทย ประกาศระดมทุนรอบ Series A กว่า 4 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 130 ล้านบาท) นำโดย Sequoia Capital India (สาขาของบริษัท VC ชื่อดัง Sequoia ในสหรัฐ) ส่วนนักลงทุนรายอื่นคือ Money Forward และ SBI Investment จากญี่ปุ่น
คุณกฤษฎา ชุตินธร ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง FlowAccount เปิดเผยว่าตอนนี้มีผู้ใช้งานในระบบมากกว่า 50,000 ราย และจะนำเงินก้อนนี้ขยายจากด้านบัญชีกับระบบจัดการเงินเดือน ไปสู่การชำระเงินออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ฟินเทค
HotPlay สตาร์ทอัพจากไทย ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาผ่านเกม ประกาศรวมกิจการกับ Monaker Group Inc. และนำบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้น Nasdaq ภายใต้ชื่อใหม่ NextPlay Technologies โดยมีตัวย่อในการซื้อขาย NXTP
จุดเด่นของ NextPlay คือเทคโนโลยีด้านโฆษณา (AdTech) ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทีวีดิจิทัล แพลตฟอร์มการท่องเที่ยว เกม ฟินเทค จนถึงคริปโตเคอเรนซี่ และมีซีอีโอคือคุณนิธินันท์ บุญวัฒนพิศุทธิ์
คุณนิธินันท์กล่าวว่า การควบรวมกิจการในครั้งนี้ทำให้เกิดการร่วมมือทางยุทธศาสตร์ เพื่อเชื่อมต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้านสื่อบันเทิงและฟินเทคเข้าด้วยกัน และจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญในอุตสาหกรรม
ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์
มีรายงานว่า Bukalapak สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินโดนีเซีย เตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในประเทศ โดยขายหุ้นไอพีโอเพิ่ม 2.577 หมื่นล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ซึ่งทำให้เป็นการไอพีโอมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ประเมินว่ามูลค่ากิจการ Bukalapak หลังเข้าตลาดหุ้นจะอยู่ที่ราว 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังน้อยกว่า GoTo สตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงสุดของอินโดนีเซีย (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่มีแผนเข้าตลาดหุ้นในประเทศเช่นกัน
Bukalapak มีผู้ลงทุนรายสำคัญ อาทิ Ant Group ธุรกิจการเงินของ Jack Ma, Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในประเทศ, GIC กองทุนของประเทศสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
โควิด-19 ดันยอดตัวเลขอีคอมเมิร์ซโตสูง รายได้อีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 22.1% แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจค้าปลีกก็ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการปรับตัวสู่ดิจิทัลเพราะลูกค้าหน้าร้านลดลง ช่องทางการขายออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำคัญสำหรับแบรนด์ในการสร้างยอดขาย ดังนั้นแบรนด์ที่ปรับตัวเร็ว สามารถสร้างแพลตฟอร์มการขายได้อย่างทันท่วงทีจึงได้เปรียบในสถานการณ์อันท้าทายนี้
ในบทความนี้ Blognone จะพาไปรู้จัก Muze ผู้พัฒนาระบบ Omni-Channels หรือระบบรองรับการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง McGroup รวมไปถึงยังเป็นเบื้องหลังผู้พัฒนาระบบ OTT ให้ บีอีซี เวิลด์ มาแล้ว ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจสวนกระแสตลาดในตอนนี้
Mmhmm สตาร์ทอัพชื่อแปลก ที่ก่อตั้งโดย Phil Libin ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ Evernote ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่อีกถึง 100 ล้านดอลลาร์ จากกลุ่มผู้ลงทุนนำโดยกองทุน Vision Fund ของ SoftBank และมี Sequoia Capital, Mubadala Capital, Human Capital, World Innovation Lab กับอีกหลายกองทุนร่วมลงทุน ทำให้บริษัทได้รับเงินทุนรวมแล้ว 136 ล้านดอลลาร์
Neeva สตาร์ตอัพใหม่ของอดีตผู้บริหารกูเกิล 4 คน เปิดตัว search engine แนวใหม่ที่ไม่หารายได้จากโฆษณา แต่คิดเงินค่าสมาชิกจากผู้ใช้ 4.95 ดอลลาร์ต่อเดือน แลกกับ search engine ที่ไร้โฆษณา และรักษาความเป็นส่วนตัวอย่างเต็มที่
Neeva บอกว่า search engine ในปัจจุบันเต็มไปด้วยโฆษณา เพราะเอาใจนักโฆษณามากกว่าผู้ใช้ ผลการค้นหาที่เป็น organic ลดพื้นที่ลงไปเรื่อยๆ บริษัทจึงกลับวิธีคิดใหม่ แก้ปัญหาเรื่องการหารายได้โดยให้ผู้ใช้จ่ายค่าสมาชิกแทน เพื่อสร้าง search engine ที่คิดเพื่อผู้ใช้จริงๆ
Flash Express ประกาศรับเงินเพิ่มทุนในซีรี่ส์ D+ นำโดย SCB 10X และซีรี่ส์ E จากกองทุน Buer Capital เป็นเงินรวม 150 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทบอกว่าทำให้มูลค่ากิจการตามการเพิ่มทุนสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ มีสถานะเป็นยูนิคอร์นรายแรกของไทย
คมสันต์ แซ่ลี ซีอีโอ Flash Group กล่าวในเอกสารแถลงข่าวว่ากลยุทธ์หลัก คือการเป็นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซแบบวันสต็อปในไทยและต่างประเทศ โดยจะเริ่มขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน
เงินเพิ่มทุนในรอบนี้บริษัทจะนำมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ พัฒนาเทคโนโลยี และขยายธุรกิจไปสู่บริการใหม่ ๆ
Techsauce เว็บข่าวด้านสตาร์ตอัพของไทย เปิดตัว Startup Directory แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของสตาร์ตอัพไทย โดยเฉพาะข้อมูลการระดมทุนของสตาร์ตอัพบริษัทต่างๆ (ขณะที่เขียนมีข้อมูล 233 บริษัท) ช่วยให้ติดตามความเคลื่อนไหวของสตาร์ตอัพในไทย และบริษัทลงทุน (VC, CVC, Angel) ได้ง่ายขึ้น สามารถดูแยกข้อมูลตามอุตสาหกรรม และตามปีที่ลงทุนได้
กรุงศรีฟินโนเวต บริษัทร่วมลงทุนในเครือกรุงศรีประกาศยุทธศาสตร์ เตรียมเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3 พันล้านบาท ลงทุนในสตาร์ทอัพครอบคลุมระยะเวลาปี 2021-2022 โดยลงทุนในสี่กลุ่มคือ อีคอมเมิร์ซ, Mobility, Living และมองการลงทุนเพื่อทำความเข้าใจใน DeFi ( Decentralized Finance) เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่ธนาคารต้องทำความเข้าใจ และมองหาการปรับใช้งานในอนาคต
Suhail Doshi ผู้ก่อตั้งบริการเก็บสถิติเว็บ Mixpanel เปิดตัวบริษัทสตาร์ตอัพใหม่ของเขาชื่อ Mighty ที่ให้บริการ Chrome ผ่านสตรีมมิ่ง เพื่อให้ผู้ใช้เว็บไม่ต้องกังวลกับปัญหาคอมช้า แรมน้อย เปลืองทรัพยากรเครื่อง
แนวทางของ Mighty เหมือนกับบริการเกมสตรีมมิ่งอย่าง xCloud หรือ Stadia โดยย้าย Chrome ไปประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์แทน แล้วส่งเฟรมภาพกลับมายังเครื่องของผู้ใช้งาน จากสถิติของ Mighty เองบอกว่าสามารถเปิด Chrome 50 แท็บ แล้วแสดงขึ้นจอของผู้ใช้ที่ความละเอียด 4K 60 fps โดยกินซีพียูเพียงแค่ 30%
The Wall Street Journal รายงานว่า Salesforce ได้เข้าลงทุนด้วยเงิน 40 ล้านดอลลาร์ ในสตาร์ทอัพชื่อ Community ผ่านกองทุน Salesforce Ventures ทำให้สตาร์ทอัพนี้ได้เงินลงทุนรวมแล้วราว 90 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนักลงทุนเดิมมีนักแสดงที่ช่วงหลังผันตัวมาเป็น VC อย่าง Ashton Kutcher รวมอยู่ด้วย
Community เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในปี 2019 ให้บริการแอปสำหรับให้คนมีชื่อเสียงส่งข้อความ Text Message ตรงไปยังสมาร์ทโฟนของแฟนคลับหรือผู้ติดตาม โดยดาราศิลปินช่วงแรกที่มาใช้บริการมีทั้ง Paul McCartney, Jake Paul, Ellen Degeneres, และ Jennifer Lopez ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่เรียกว่า Community Number บริการกำลังขยายเพิ่มเติมไปสู่แบรนด์สินค้า และธุรกิจขนาดเล็ก
Canva แพลตฟอร์มออกแบบกราฟิกที่มาพร้อมแพทเทิร์นสำเร็จรูป ได้ระดมทุนเพิ่มอีก 71 ล้านเหรียญ มูลค่าการระดมทุนที่ผ่านมารวม 390 ล้านเหรียญ จนถึงตอนนี้มูลค่าบริษัทแตะ 1.5 หมื่นล้านเหรียญแล้ว
Canva คือสตาร์ทอัพสัญชาติออสเตรเลีย เป็นแพลตฟอร์มออกแบบกราฟิก ที่มาพร้อมเครื่องมือออกแบบระดับง่าย มีเทมเพลตและรูปภาพให้เลือกใช้ในตัว ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2007 โดยผู้ก่อตั้งคือ Melanie Perkins
ช่วงนี้มีบริษัทเทคโนโลยีเข้าขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์กันหลายราย ล่าสุดคือ Cazoo เว็บซื้อขายรถมือสองจากอังกฤษ (ที่หลายคนอาจคุ้นจากการเป็นสปอนเซอร์ให้สโมสร Aston Villa) ยื่นเอกสารเตรียมขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) แล้ว โดยจะใช้ตัวย่อ CZOO
Cazoo ก่อตั้งในปี 2018 โดย Alex Chesterman นักธุรกิจชาวอังกฤษที่เคยทำเว็บภาพยนตร์ออนไลน์ LoveFilm และเว็บอสังหาริมทรัพย์ Zoopla/ZPG มาก่อน (บุคคลในภาพ) บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วและขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปด้วย บริษัทคาดว่าจะมีรายได้แตะ 1 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2021 นี้ มูลค่าบริษัทในปัจจุบันอยู่ที่ราว 7 พันล้านดอลลาร์
งานใหม่ของของ เจ้าชาย Harry หลังละบทบาทในราชวงศ์ คือเป็น Chief Impact Officer ในสตาร์ทอัพ BetterUp สำนักงานใหญ่ในซานฟรานซิสโก เป็นสตาร์ทอัพแนวโค้ชชิ่ง ให้ปรึกษาสภาพจิต และพัฒนาตัวเอง
เจ้าชาย Harry ระบุว่า เขาเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดลำดับความสำคัญของสมรรถภาพทางจิต จะช่วยปลดล็อกศักยภาพและโอกาสที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเรามีอยู่ภายในตัว เขาบอกด้วยว่าได้เรียนรู้ในชีวิตอย่างหนึ่งคือ เปลี่ยนความเจ็บปวดให้เป็นจุดมุ่งหมาย
Builk One Group บริษัทด้านแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจก่อสร้างของไทย รับเงินลงทุนรอบซีรีส์ B (ไม่เปิดเผยจำนวน) จากนักลงทุนทั้งหมด 4 รายคือ Beacon Venture Capital ในเครือธนาคารกสิกรไทย, AddVentures ในเครือ SCG, Cre-Ful และ Rosewood Capital
นายไผท ผดุงถิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Builk ระบุว่าปัญหาหลักของอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงเป็นการเข้าถึงเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุน ทำให้ขาดประสิทธิภาพ สูญเสียทั้งต้นทุน เวลา คุณภาพ แนวทางของ Builk จึงต้องการแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการเปลี่ยนการทำงานเป็นดิจิทัล ด้วยแพลตฟอร์มการบริหารธุรกิจก่อสร้างและการซื้อขายวัสดุก่อสร้างออนไลน์
เมื่อคืนนี้ นักธุรกิจชื่อดัง Tony Woodsome เข้ามาสนทนาในรายการ "SMEs มีปัญหา ปรึกษาพี่ Tony" ของกลุ่ม CARE โดยช่วงตอบคำถามจากผู้ฟัง มีคนถามประเด็นเรื่อง Unicorn ในประเทศไทยว่าเป็นไปได้หรือไม่
ข้อมูลที่น่าสนใจคือ คุณโทนี่ได้เล่าว่ามีโอกาสได้คุยกับ Rajeev Misra ซีอีโอของ SoftBank Investment Advisers หน่วยลงทุนของบริษัท SoftBank และผู้บริหารสูงสุดของ SoftBank Vision Fund บริษัทลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ประเทศดูไบ เพื่อชวนให้กองทุนอย่าง Vision Fund เข้ามาลงทุนในบริษัท DnaNudge ที่เคยไปลงทุนเอาไว้