YY แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของจีน ประกาศลงทุนซีรี่ส์ D ในสตาร์ทอัพ Bigo ด้วยเงิน 272 ล้านดอลลาร์ โดยนอกจาก YY ที่ร่วมลงทุนแล้ว David Xueling Li ประธานของ YY ก็ลงทุนด้วยเงินทุนส่วนตัวอีกด้วย
Bigo เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอไลฟ์สตรีมมิ่ง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ โดยฐานผู้ใช้หลักอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง ซึ่งเงินลงทุนเพิ่มรอบใหม่นี้ จะนำมาใช้วางแผนเพื่อขยายสู่ตลาดทั่วโลกให้มากขึ้น Bigo ตอนนี้มีจำนวนผู้ใช้งานอยู่ที่ 200 ล้านคน
Alibaba เข้าถือหุ้นมูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐใน Xiaohongshu แอพพลิเคชั่นแนะนำทาการช็อปปิ้งข้ามพรมแดน และยังมี Tencent Holdings, Ventures GSR, GGV Capital, Zhen Fund, Genesis Capital, นักธุรกิจในฮ่องกง Adrian Cheng และ Tiantu Capital เข้าร่วมลงทุนในรอบนี้ด้วย ถือเป็นเคสหายากที่บริษัทสตาร์ทอัพหนึ่งจะได้รับเงินลงทุนจากทั้ง Alibaba และ Tencent
Xiaohongshu ก่อตั้งในปี 2013 โดย Charlwin Mao และ Miranda Quเริ่มต้นจากการเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้คนเข้ามารีวิวการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เวลาผ่านไปมีผู้ใช้มารีวิว สร้างเนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับผู้คนที่หลงใหลในสินค้าแฟชั่นและการช็อปปิ้ง จนตอนนี้ มีผู้ใช้งานแอพ Xiaohongshu ถึง 100 ล้านรายแล้ว
บน Xiaohongshu ผู้ใช้สามารถแชร์วิดีโอสั้น ภาพ และบล็อกเกี่ยวกับแฟชั่น ความสวยความงาม รวมถึงไลฟืสไตล์ต่างๆ การท่องเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง แนะนำหนังสือ เป็นต้น กลุ่มคนสำคัญที่ขับเคลื่อนให้แอพ Xiaohongshu โตขึ้นเรื่อยๆ คือคนที่เกิดหลัง 1990
JustCo ผู้ให้บริการ Co-Working Space สัญชาติสิงคโปร์ มาเปิดอีกสาขาในประเทศไทย ที่ชั้น 9 อาคาร AIA สาทรทาวเวอร์ มี 2 ชั้น กินพื้นที่รวม 3,200 ตารางเมตร ถือเป็น Co-Working Space ขนาดใหญ่ที่สุดในไทยตอนนี้
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า Ant Financial กลุ่มบริษัทให้บริการทางด้านการเงินออนไลน์ ที่ Alibaba เป็นผู้ถือหุ้นหลัก ได้เพิ่มทุนรอบใหม่ด้วยวงเงินที่เป็นประวัติศาสตร์อีกครั้ง สูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 3.2 แสนล้านบาท จากกลุ่มนักลงทุนหลายราย ทำให้มูลค่ากิจการของ Ant Financial ล่าสุดอยู่ที่ 1.5 แสนล้านดอลลาร์
Ant Financial ระดมทุนครั้งล่าสุดเมื่อปี 2016 ซึ่งตอนนั้นมูลค่ากิจการอยู่ที่ 6 หมื่นล้านดอลลาร์
ผู้ลงทุนในรอบนี้มีทั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งหลายแห่ง ตลอดจนนักลงทุนระดับสถาบัน อาทิ GIC และเทมาเส็กของสิงคโปร์, กองทุน Khazanah Nasional ของมาเลเซีย, Carlyle Group, Sequoia Capital และกองทุน Warburg Pinc ของอเมริกา
ธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้การดำเนินการของดิจิทัล เวนเจอร์ส ผู้ทำการลงทุนและค้นคว้านวัตกรรมการเงิน ประกาศเพิ่มงบลงทุนในสตาร์ทอัพทั่วโลกอีก 50 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1,750 ล้านบาท เน้นลงทุนด้าน AI, ความปลอดภัยไซเบอร์, บล็อกเชน, Big Data เป็นต้น เพื่อต่อยอดการบริการของธนาคารไม่ว่าจะเป็น บริการสินเชื่อ การบริหารความมั่งคั่ง เอสเอ็มอี ธุรกิจประกัน
Google ยังคงผลักดัน Google Assistant อย่างต่อเนื่อง โดยหลังเปิด Action SDK เมื่อปีที่แล้ว ล่าสุด Google ประกาศโครงการเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาจากนักพัฒนาภายนอกมากขึ้น ด้วยโครงการลงทุนให้กับสตาร์ทอัพ ที่พัฒนาฟีเจอร์หรือนำ Google Assistant ไปใช้งาน
สิ่งที่สตาร์ทอัพจะได้นอกจากเงินทุนแล้ว ยังสามารถเข้าถึงทีมงาน Google, เข้าถึงฟีเจอร์และโปรแกรมใหม่ๆ ก่อน (Early Access), ได้รับเครดิตสำหรับผลิตภัณฑ์ Google รวมถึง Google Cloud Platform และอาจได้ทำตลาดร่วมกับ Google
สตาร์ทอัพบางแห่งในจีน ต้องการสร้างบรรยากาศที่ดีให้พนักงาน และดึงดูดคนเก่งๆ ให้เข้ามาทำงาน หนึ่งในวิธีที่สตาร์ทอัพใช้คือ จ้างผู้หญิงหน้าตาดีมานวดไหล่โปรแกรมเมอร์ที่เมื่อยล้าจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน และบางครั้งก็ให้สร้างบรรยากาศสดชื่นด้วยการจัดปาร์ตี้ อีเวนท์เล็กๆ ในออฟฟิศ
Marissa Mayer อดีตซีอีโอยาฮู ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกหลังออกจากตำแหน่งกับ The New York Times เนื้อหาการสนทนาพูดถึงตั้งแต่สมัยที่ทำงานอยู่กูเกิล ในฐานะพนักงานลำดับที่ 20 มาจนถึงการรับบทบาทใหม่ที่ยาฮู ซึ่งจบลงด้วยการขายกิจการให้กับ Verizon ซึ่ง Mayer ย้ำว่าภูมิใจกับบทสรุปของยาฮู เพราะทุกฝ่ายล้วนได้ประโยชน์ที่ตนต้องการ
ปัจจุบัน Marissa Mayer ไม่ได้รับตำแหน่งในบริษัทใด โดยได้เช่าพื้นที่สำนักงานเดิมของกูเกิลแห่งแรกใน Palo Alto ซึ่ง Mayer เคยทำงานที่นี่มาก่อน ทำเป็นห้องวิจัยขนาดเล็กเรียกว่า Lumi Labs มีการพบปะกับผู้ก่อตั้งบริษัทต่างๆ เพื่อค้นหาไอเดียและปัญหาในธุรกิจเหล่านั้น
ช่วงนี้สตาร์ทอัพกลุ่มหนึ่งที่มาแรงคือสายเทคโนโลยีการศึกษา หรือ EdTech โดยล่าสุด Pluralsight สตาร์ทอัพด้านนี้ก็ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม
ข้อมูลทางการเงินของ Pluralsight นั้นมีการเติบโตมาโดยตลอด ปี 2017 มีรายได้รวม 166.8 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปี 2016 ที่ 131.8 ล้านดอลลาร์ และปี 2015 ที่ 108.4 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามบรรทัดสุดท้ายยังคงขาดทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ปี 2017 นั้นขาดทุนถึง 96.5 ล้านดอลลาร์
Pluralsight ให้บริการคอร์สการศึกษาออนไลน์ เน้นไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวกับข้อง อาทิ ไอที, การจัดการข้อมูล และความปลอดภัย เน้นขายลูกค้าระดับองค์กรเป็นหลัก
ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศลงทุนในบริษัท 1QBit ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์จากแคนาดา โดยผ่านบริษัทลูก Digital Ventures (DV) ที่ทำหน้าที่ลงทุนในสตาร์ตอัพทั่วโลก ส่วนมูลค่าการลงทุนไม่ได้เปิดเผย
1QBit ก่อตั้งในปี 2012 โดยมุ่งเป้าเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และอัลกอริทึมสำหรับประมวลผลเพื่อแก้ปัญหายากๆ ด้วยฮาร์ดแวร์ทั้งที่เป็นควอนตัมและไม่ใช่ควอนตัม แนวทางของบริษัทคือไม่ทำฮาร์ดแวร์เอง (hardware-agnostic) และใช้วิธีพาร์ทเนอร์กับบริษัทต่างๆ แทน (ที่ระบุชื่อบนเว็บของ 1QBit คือ Fujitsu และ IBM) ก่อนหน้านี้บริษัทเคยได้รับเงินลงทุนจาก Fujitsu, Accenture, Allianz และ Royal Bank of Scotland
ไม่มีพรมแดนสำหรับการเรียนรู้เมื่อ Tencent ร่วมมือกับสตาร์ทอัพเกมในลอสแองเจลิส Age of Learning ทำแอพเกมสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ คนจีนในชื่อว่า ABCmouse
ABCmouse ประกอบด้วยเกม กิจกรรมสอนภาษากว่า 5,000 กิจกรรม ครอบคลุมทุกทักษะ ตัวหลักสูตรพัฒนาโดยทีม Age of Learning ตัวหลักสูตรเหมาะกับเด็กอายุ 5-8 ปี และ Tencent รับหน้าที่ดูแลการตลาด แคมเปญสนับสนุนลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป และยังผสานแอพ ABCmouse กับ QQ แพลตฟอร์มแชทที่มีผู้ใช้แอคทีฟ 783 ล้านคนต่อเดือน, WeChat ที่มียอดผู้ใช้แอคทีฟพันล้านคนต่อเดือน
ภายในแอพยังมีเทคโนโลยี Speech recognition ให้เด็กฝึกพูดภาษาอังกฤษทั้งในรูปคำ วลี ประโยค
Digital Ventures บริษัท VC ของ SCB ร่วมกับไมโครซอฟท์, The Knowledge Exchange และคณะวิศวกรรมศาสตร์จาก 7 มหาลัยเปิดตัวโครงการ U.REKA ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ โดยจะเน้นไปที่สตาร์ทอัพจากมหาวิทยาลัยเป็นหลักและเน้นไปที่การพัฒนา Deep Tech ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของโครงการ คือการสร้างระบบนิเวศน์และพัฒนานวัตกรรม ที่เอื้อให้ประเทศไทยพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีให้ทัดเทียมนานาชาติ
Travis Kalanick ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ Uber ประกาศวันนี้ว่าหลังจากเขาได้ก่อตั้งกองทุน 10100 เพื่อลงทุนในโครงการที่มีโอกาสสร้างงานได้จำนวนมาก โดยการลงทุนแรกของ 10100 คือสตาร์ทอัพชื่อว่า CSS หรือ City Storage Systems ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพสายอสังหาริมทรัพย์
CSS เป็นบริษัทโฮลดิ้ง (เป็นเจ้าของบริษัทย่อยอีกที) เน้นแก้ปัญหาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในหมวดที่กำลังเผชิญความท้าทายในโลกดิจิทัล ได้แก่ พื้นที่จอดรถ, พื้นที่สำหรับร้านค้าพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่ง Kalanick บอกว่ามูลค่ารวมของอสังหาริมทรัพย์กลุ่มนี้สูงกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์
Spotify มีพอดแคสต์ใหม่น่าสนใจชื่อว่า Killing It บอกเล่าเรื่องราวสังคมสตาร์ทอัพที่ต้องรักษาไว้ซึ่งความสำเร็จตลอด จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต
พอดแคสต์ดำเนินรายการโดย Aleks Krotoski อดีตนักข่าวเทคโนโลยี กับ Petra Velzeboer นักบำบัดสุขภาพจิตและ James Routledge ผู้สร้างสถานออกกำลังกายสุขภาพจิต โดยในแต่ละตอนจะโฟกัสไปที่เรื่องราวของผู้ประกอบการ เล่าเรื่องราวความเครียด กังวลในการทำสตาร์ทอัพ ที่อาจนำไปสู่ภาวะเหนื่อหน่าย และซึมเศร้า
แต่ละตอนไม่ใช่มาเสนอหนทางรักษา แต่เป็นการเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ของคนทำงานสตาร์ทอัพจริง วิธีที่เขาแต่ละคนรักษาเยียวยาตนเอง
Ofo สตาร์ทอัพแชร์จักรยานรายใหญ่ของจีน ประกาศรับเงินทุนเพิ่มอีก 866 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 27,000 ล้านบาท จากกลุ่มนักลงทุนที่นำโดย Alibaba ซึ่งเงินทุนรอบนี้มีทั้งส่วนที่เป็นหุ้นและส่วนที่เป็นเงินกู้ยืม ส่วนผู้ลงทุนรายอื่นได้แก่ Ant Financial (ซึ่งก็เป็นเครือ Alibaba), Haofeng Group, Tianhe Capital และ Junli Capital
ผลจากเงินเพิ่มทุนครั้งนี้ทำให้ Alibaba กลายเป็นผู้ถือหุ้น Ofo รายใหญ่ที่สุด แทนที่ Didi Chuxing ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา Didi Chuxing เองก็ได้ไปซื้อกิจการเบอร์ 3 อย่าง Bluegogo
ช่วงกลางปีที่แล้ว Alphabet ได้เปิดตัวบริษัทใหม่ Dandelion สตาร์ทอัพผู้พัฒนาระบบการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้กับระบบทำความร้อนและระบบทำความเย็นในบ้านพักอาศัย เวลาผ่านมายังไม่ถึง 1 ปี หลังการทดลองติดตั้งใช้งานกับบ้านเรือนใน New York ก็เริ่มมีสัญญาณบวกทั้งผลการทดลองที่สะท้อนความคุ้มค่าด้านต้นทุนพลังงาน และแรงบวกจากนโยบายลดภาษีจากภาครัฐ
กล่าวถึง Dandelion สักหน่อยว่าเป็นสตาร์ทอัพที่เกิดจากการบ่มเพาะของทีม X ซึ่งหลังจากเห็นโอกาสทางธุรกิจอย่างจริงจังเรื่องการใช้พลังงานทางเลือก Dandelion จึงหลุดพ้นสถานะทีมพัฒนาภายในและแยกตัวออกมาเป็นบริษัท แบบเดียวกับที่ Waymo ทำมาก่อนหน้า
ปัจจุบันระบบนิเวศน์ทางเทคโนโลยีของไทยเอื้อให้เกิดการเติบโตของนวัตกรรมใหม่และสตาร์ทอัพมากมาย ในประเทศไทยภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการเข้ามาของศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ รวมทั้งการสนับสนุนของสถาบันการศึกษาก็ช่วยสร้างความกล้าให้คนออกมาทำสตาร์ทอัพ สร้างบริการใหม่สู่สังคม
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบนิเวศน์ทางเทคโนโลยีเป็นเพียงส่วนหนึ่งและศูนย์กลางสตาร์ทอัพไม่ได้กระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองหลวง เพราะสังคมเทคโนโลยีต้องการมากกว่านั้น EEC หรือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงสร้างฐานการลงทุนด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่ง คมนาคมและปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ให้พร้อมรับกับการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี พร้อมกันนี้ยังมีเป้าหมายจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นเมืองและแหล่งท่องเที่ยว ภายใต้การลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน ด้วยวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท
Meg Whitman ซีอีโอของ HPE ประกาศจะลงจากตำแหน่ง 1 ก.พ. นี้ ล่าสุดเธอได้งานใหม่ล่วงหน้าแล้ว โดยจะนั่งเป็นซีอีโอของบริษัทสตาร์ตอัพด้านวิดีโอที่ยังไม่ตั้งชื่อ
Whitman ก้าวมาเป็นซีอีโอของ HP ในปี 2011 ในช่วงที่ HP กำลังเผชิญมรสุมเปลี่ยนตัวซีอีโออยู่บ่อยครั้ง เธอนำพาบริษัทกลับสู่เสถียรภาพ และเดินหน้าแผนแยก HP ออกเป็นสองบริษัท (HP และ HPE) ก่อนประกาศลงจากตำแหน่งเมื่อปลายปี โดย Antonio Neri ผู้บริหารของ HPE จะขึ้นมาเป็นซีอีโอแทน
ระยะหลังเราคงได้ยินข่าวของ SpaceX ที่รับจ้างยิงจรวดเป็นว่าเล่น ขณะนี้มีสตาร์ตอัพหน้าใหม่จากสหรัฐอเมริกาชื่อ Rocket Lab เข้าร่วมธุรกิจนี้ด้วย โดยเมื่อวานได้ยิงจรวดออกไปสู่วงโคจร Low Earth orbit ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ภารกิจนี้ใช้ชื่อว่า Still Testing เป็นการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กจำนวน 3 ดวงให้ลูกค้า 2 ราย ยิงจากฐานปล่อยที่คาบสมุทร Mahia ประเทศนิวซีแลนด์ โดยใช้จรวดที่พัฒนาขึ้นเองในชื่อ Electron ซึ่งเป็นจรวดขนาดเล็ก สูงเพียง 16.7 เมตร (Falcon 9 สูง 55 เมตร) สอดคล้องกับแนวทางของบริษัทที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการทำภารกิจด้วยการใช้จรวดขนาดเล็ก มีต้นทุนการผลิตต่ำเพราะใช้การพิมพ์สามมิติเข้ามาผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ กล่าวคือต้องการลดค่าใช้จ่ายเหมือน SpaceX แต่ใช้วิธีผลิตจรวดลำเล็ก ราคาถูก ในขณะที่ SpaceX นำจรวดมาใช้ซ้ำ
มีรายงานว่า กูเกิล, กองทุนเทมาเส็ก ของสิงคโปร์ และ Meituan-Dianping แพลตฟอร์มออนไลน์รายใหญ่ของจีน เตรียมประกาศร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพแอพเรียกแท็กซี่ Go-Jek ของอินโดนีเซีย ในการเพิ่มทุนรอบล่าสุด ซึ่งผู้ร่วมลงทุนเดิมบางรายก็จะเพิ่มทุนด้วย โดยมูลค่ารวมจะอยู่ราว 1,200 ล้านดอลลาร์
เรื่องนี้มีความน่าสนใจตรงที่แหล่งข่าวนั้นยืนยันว่า กูเกิล เป็นผู้ลงทุนใน Go-Jek เองโดยตรง ไม่ได้ทำผ่านหน่วยงาน Google Ventures แบบที่ไปลงทุนในสตาร์ทอัพตัวอื่น ซึ่งน้อยครั้งมากที่กูเกิลลงทุนตรงแบบนี้ ซึ่งเชื่อว่า Go-Jek จะได้ประโยชน์หลายอย่างจากการร่วมมือกับกูเกิลครั้งนี้
เทสโก้ โลตัส ประกาศจัดงานแฮกกาธอน 2018 ให้สตาร์ทอัพ บุคคลจากวงการต่างๆ นิสิต นักศึกษาสมัครเข้ามาฝึกอบรมและประกวดนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมค้าปลีก Lotus Express โดยนวัตกรรมต้องตอบโจทย์ 5 โจทย์สำคัญคือ digital transformation, เทรนด์สุขภาพ, โครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนแปลง ครอบครัวขนาดเล็กลง การมาถึงของสังคมสูงอายุ, ความสะดวกรวดเร็ว และความยั่งยืน เปิดรับผลงานที่จะเข้าประกวดทุกรูปแบบ เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น
การที่ประเทศจีนบล็อกการเข้าถึง Google ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด เมื่อ Google ลงทุนใน Chushou บริษัท e-Sport ของจีน โดย Google ระบุเป้าหมายการลงทุนว่าต้องการขยายบริการของ Chushou ไปยังต่างประเทศมากขึ้น ทั้งสองบริษัทไม่ได้ระบุขนาดการลงทุน
ขณะนี้มีกระแสนิยมกินน้ำดิบหรือน้ำที่ไม่ผ่านการกรองสารและระบบประปาเกิดขึ้นในสหรัฐฯ แต่อาจเป็นกระแสที่ไม่ได้มาแรงมาก "น้ำดิบ" (raw water) ในที่นี้เป็นน้ำที่พบได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
แนวคิดของกลุ่มนิยมน้ำดิบคือ ในน้ำประปามีสารปนเปื้อนจากระบบท่อ และสารตะกั่ว ส่วนน้ำดิบที่บางคนกังวลว่าน้ำดิบไม่สะอาดนั้น คนกลุ่มนี้เสนอว่าจริงๆ แล้วน้ำดิบมีสารธรรมชาติและแร่ธาตุที่มีประโยชน์
ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพจำนวนหนึ่งทำบริการผลิตและจัดส่งน้ำดิบ เช่น Live Water, Tourmaline Spring, Zero Mass Water ทำการติดตั้งอุปกรณ์สูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติบริเวณไม่ไกลจากที่อยู่อาศัย
เว็บไซต์ CES (Consumer Electronics Show) งานแสดงเทคโนโลยีที่จัดแสดงทุกปี ระบุข้อมูลบริษัทสตาร์ตอัพชื่อ DnaNudge ทำเทคโนโลยีพันธุกรรมเพื่อผู้บริโภคที่จะขึ้นเวทีในงาน CES 2018 วันที่ 10 มกราคม ข้อมูลระบุว่ามี ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบเว็บไซต์ CES อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พบว่า ล่าสุดเว็บไซต์ลบข้อมูลของบริษัท DnaNudge ออกไปแล้ว
สตาร์ทอัพผู้พัฒนาตัวล็อกประตูดิจิทัล Otto ประกาศปิดกิจการ และยุติการส่งมอบผลิตภัณฑ์รุ่นแรก ที่เตรียมวางขายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แม้สินค้าจะอยู่ในโกดังรอจัดส่งแล้ว ด้วยเหตุผลแบบคลาสสิกของสตาร์ทอัพนั่นคือ เงินในการดำเนินธุรกิจหมด
ซีอีโอ Sam Jadallah ได้เขียนบล็อกอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เขาบอกว่าบริษัทนั้นอยู่ในช่วงเตรียมขายกิจการให้บริษัทขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เขายอมรับว่าการผลิตฮาร์ดแวร์อย่างตัวล็อกประตูเพื่อวางขายนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีทั้งโรงงาน และทรัพยากรสนับสนุนจำนวนมาก เขาจึงเตรียมขายกิจการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งกับบริษัทขนาดใหญ่