Windows
Windows 11 ที่เพิ่งเปิดตัวถือเป็นการยกเครื่องหน้าตาและฟีเจอร์ต่างๆ อย่างมาก โดย Microsoft ได้เผยรายชื่อฟีเจอร์ที่มีใน Windows 10 แต่ถูกถอดออกใน Windows 11 ออกมาจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญๆ ก็เช่นการถอดฟีเจอร์เด่นๆ ของ Start Menu ใน Windows 10 ออกหมด, ปิดการใช้งาน Internet Explorer และยกเลิก Tablet Mode แล้ว
ฟีเจอร์ทั้งหมดที่ไม่ได้ไปต่อ มีดังนี้
เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา Microsoft ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่อย่างเป็นทางการในชื่อ Windows 11 พร้อมกันนี้ได้เผยสเปกขั้นต่ำสำหรับรัน Windows 11 ออกมาด้วย โดยเพิ่มจาก Windows 10 เล็กน้อย ดังนี้
จากกระแสข่าว Windows เวอร์ชันใหม่เรียก Windows 11 เมื่อคืนนี้มีไฟล์ build image ของ Windows 11 หลุดมาก่อนกำหนด ทำให้มีสื่อต่างประเทศหลายรายมีโอกาสได้ทดสอบกัน
ข้อมูลใน build image นี้ยืนยันชื่อว่าเป็น Windows 11 จริงๆ การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือหน้าตาของปุ่ม Start และไอคอนที่ย้ายมาอยู่ตรงกลางของ Task Bar เหมือนกับดีไซน์ของ Windows 10X ก่อนหน้านี้ (มีคนลองเล่นแล้วพบว่าสามารถเปลี่ยนกลับเป็นชิดซ้ายแบบเดิมได้)
เมื่อกดเปิด Start Menu มาแล้วจะเห็นเฉพาะไอคอนแอพที่ปักหมุด (Pinned) และแอพที่แนะนำ (Recommended) เท่านั้น ต้องกดปุ่ม All apps ถึงจะเห็นรายการแอพทั้งหมด
ไมโครซอฟท์จะเปิดตัว Windows เวอร์ชันใหม่ในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ ในคำประกาศพูดแค่ Windows อย่างเดียวไม่มีเลขเวอร์ชัน ทำให้หลายคนตีความกันว่าไมโครซอฟท์จะเรียกมันว่า Windows 11
ระหว่างวันนี้ถึง 24 มิถุนายน จึงเป็นการแกะรอยหาเบาะแสเกี่ยวกับ 11 มายืนยันกัน เช่น งานแถลงข่าวเริ่มตอน 11:00 ตามเวลาสหรัฐ
ล่าสุดไมโครซอฟท์เองร่วมผสมโรง โดยออกคลิปเสียงตอนเปิดเครื่องของ Windows 95/XP/7 เล่นด้วยสปีดช้าลง 4,000% มีความยาวรวม 11:00 นาทีพอดี คำอธิบายมีเพียงว่าเอาไปฟังเล่นๆ รอแก้เบื่อ จนกว่าจะถึงงานวันเปิดตัว
การเปลี่ยนแปลงเอนจินของ Edge ตัวเก่า (EdgeHTML) มาเป็น Chromium ส่งผลให้การเรนเดอร์ฟอนต์บน Windows เปลี่ยนไป เพราะ Chromium มีระบบเรนเดอร์ฟอนต์ของตัวเองที่เหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม แต่ต่างจากแอพบน Windows ตัวอื่นๆ
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับปรุง Edge ให้สามารถใช้เอนจินเรนเดอร์ฟอนต์ของ Windows ได้แล้ว เบื้องหลังการทำงานจะใช้ DirectWrite และการเรนเดอร์แบบ ClearType ข้อดีคือเห็นฟอนต์แบบเดียวกันกับแอพอื่นๆ และตั้งค่าระดับความเข้ม (contrast) ของฟอนต์ใน Settings ทีเดียวแล้วเปลี่ยนทั้งหมด
ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงานแถลงข่าว Windows ในวันที่ 24 มิถุนายน 2021 ตอน 11:00 ตามเวลาสหรัฐ (เวลาไทยคือ 22:00) โดยบอกเพียงว่า see what's next for Windows พร้อมภาพประกอบเป็นรูปไอคอน Windows ที่มีเงาสะท้อนเป็นประกายออกสีรุ้งเล็กน้อย
Satya เพิ่งพูดในงาน Build ว่าจะเปิดตัว Windows ที่เปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี โดยข้อมูลที่หลุดออกมาก่อนหน้านี้พูดถึงโค้ดเนม Sun Valley ที่เป็นการยกเครื่องดีไซน์ครั้งใหญ่ของ Windows
ที่มา - Microsoft
ปกติแล้ว ไมโครซอฟท์จะเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Windows ในงานสัมมนาประจำปี Build ช่วงเดือนพฤษภาคม แต่งาน Build 2021 รอบล่าสุดกลับแทบไม่มีข่าวของ Windows เลย (เน้นไปที่ Azure แทน)
Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์อธิบายเรื่องนี้ไว้ใน keynote เปิดงานว่า ไมโครซอฟท์จะแยกเปิดตัว Windows เวอร์ชันใหม่ที่เป็นการเปลี่ยนใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ ภายในเร็วๆ นี้ (very soon) แต่ไม่ได้ให้กำหนดเวลาที่ชัดเจน
ก่อนหน้านี้มีข่าวหลุดออกมาพอสมควรว่า ไมโครซอฟท์จะยกเครื่อง UI ของ Windows ครั้งใหญ่ในโค้ดเนม Sun Valley โดยจะปรากฏตัวใน Windows เวอร์ชันปลายปีนี้ (21H2)
Qualcomm เปิด Snapdragon Developer Kit for Windows พีซีชิป Arm สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการพอร์ตแอปไปยังวินโดวส์บน Arm ในอนาคต รูปแบบเดียวกับ Developer Transition Kit (DTK) ของแอปเปิลที่เปิดให้นักพัฒนาเข้าถึงเครื่องก่อนเปิดตัวเครื่องแมคชิป M1 ออกมา
ทาง Qualcomm ระบุว่าตัวเครื่องมาพร้อมกับชุดพัฒนาและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องหลายตัว ได้แก่ Visual Studio Code, LLVM, Chromium framework, .NET 5.0 framework, WIX installers, WSL/WSL2, MinGW/GCC, Cygwin, Electron, Qt, GTK, OpenVPN, FFMPEG library, Boost, GStreamer. GIMP, Handbrake
กูเกิลประกาศโอเพนซอร์สเครื่องมือภายในบริษัท ที่กูเกิลสร้างขึ้นเองเพื่อใช้จัดการฮาร์ดแวร์สายวินโดวส์จำนวนมากๆ ในองค์กรขนาดใหญ่
กูเกิลบอกว่าโครงการส่วนใหญ่เริ่มทำมาก่อนต้นปี 2020 ทำให้เมื่อต้องหยุดเข้าออฟฟิศ ทำงานจากที่บ้าน ทีมไอทีของกูเกิลจึงมีเครื่องมืออัตโนมัติช่วยจัดการคอมพิวเตอร์ของพนักงานได้สะดวก
เครื่องมือที่เปิดซอร์สมีหลายตัวดังนี้
ไมโครซอฟท์มีแนวทางหลอมรวม Win32 และ UWP เข้าด้วยกันภายใต้ Project Reunion ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อยหลายอย่าง เป้าหมายข้อหนึ่งของ Reunion คือเปิดให้ใช้ภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ๆ เขียนแอพบนวินโดวส์ได้หลากหลายขึ้น
ข้อจำกัดสำคัญของ Win32 API แบบดั้งเดิมคือมันถูกสร้างขึ้นในยุคภาษา C/C++ จึงรองรับเฉพาะภาษานี้ หากต้องการเขียนโปรแกรม Win32 ด้วยภาษาโปรแกรมอื่น จำเป็นต้องมี binding หรือ wrapper มาทำหน้าที่เชื่อมต่อ API ให้
หลังจากไมโครซอฟท์ได้ออก Edge WebView2 SDK ตัวช่วยเรนเดอร์หน้าเว็บบนแอพวินโดวส์ล่าสุดที่มาเปลี่ยนมาใช้เอนจิน Chromium ให้กับแอพพลิเคชั่นแบบ Win32 C/C++ มาได้ระยะหนึ่ง
ตอนนี้ก็มาถึงคราวของแอพวินโดวส์ที่พัฒนาด้วย .NET กันบ้าง เมื่อไมโครซอฟท์ได้ประกาศออกรุ่นใช้งานจริงของ WebView2 SDK สำหรับแอพพลิเคชั่นตระกูล .NET เป็นที่เรียบร้อย
ทำให้การพัฒนาแอพวินโดวส์ทั้งแบบ WinForms และ WPF ซึ่งมีการฝังการแสดงผลจากเว็บแอพ สามารถเปลี่ยนมาใช้ WebView2 SDK เพื่อใช้ประโยชน์จากเอนจิน Chromium ที่เรนเดอร์หน้าเว็บได้ตรงกับเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดได้แล้ว
Craig Federighi หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของแอปเปิล ให้สัมภาษณ์ Ars Technica ในประเด็น Apple M1
เขาตอบคำถามที่หลายคนอยากรู้เรื่องการรัน Windows บนชิป Apple M1 ว่าในทางเทคนิคแล้ว M1 สามารถรันระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่รองรับ ARM ได้ และแอปเปิลก็มีเทคโนโลยีพื้นฐานในการรันระบบปฏิบัติการ ARM ที่รองรันแอพพลิเคชันแบบ x86 ให้หมดแล้ว ที่เหลือขึ้นกับการตัดสินใจของไมโครซอฟท์แล้วว่าจะทำหรือไม่
เขายังพูดถึงแผนการซัพพอร์ตเครื่องแมคที่ใช้ซีพียูอินเทล ว่าจะยังทำต่อไป ในมุมมองของแอปเปิลไม่ได้แยก macOS เวอร์ชัน x86 และ ARM แต่ใช้โค้ดเดียวกัน มองเป็นโครงการเดียวกัน ในปีหน้า แอปเปิลจะออก macOS ที่เป็น universal รองรับทั้งสองระบบไปอีกนาน (years to come)
Project Zero ของกูเกิลเปิดเผยรายละเอียดช่องโหว่ CVE-2020-17087 ที่เปิดทางให้แฮกเกอร์ให้สามารถระดับสิทธิ์ของตัวเองหรือเจาะทะลุ sandbox ในระบบ โดยรายงานของ Project Zero เปิดเผยทั้งรายละเอียดและตัวอย่างโค้ดทดสอบช่องโหว่ ซึ่งโดยปกติแล้วการเปิดเผยรายละเอียดเช่นนี้จะเปิดเผยหลังผู้ผลิตปล่อยแพตช์แก้ไขช่องโหว่ออกมาแล้วระยะหนึ่ง
กรณีนี้กูเกิลระบุว่าตรวจพบการโจมตีอย่างเจาะจง โดยไม่เปิดเผยว่าเป็นการโจมตีหน่วยงานใด แต่บอกเพียงว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดต KB4577586 ถอด Adobe Flash Player ออกจาก Windows อย่างถาวร ตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อเตรียมรับการหมดระยะซัพพอร์ตของ Flash วันสิ้นปี 2020
ตอนนี้ช่องทางการอัพเดตยังผ่าน Microsoft Update Catalog หรือดาวน์โหลดแยกต่างหากเท่านั้น ส่วนการปล่อยผ่าน Windows Update สำหรับผู้ใช้ทั่วไปจะตามมาในช่วงต้นปี 2021 หลังวันตายของ Flash แล้ว
อัพเดตตัวนี้ใช้ได้กับ Windows รุ่นเก่าย้อนไปถึง Windows 8 และ Windows Server 2012 หลังติดตั้งแล้วจะไม่สามารถนำ Flash กลับมาได้อีกเลย
เก็บตกรายละเอียดผลประกอบการไมโครซอฟท์ Q3/2020 ฝั่งของ Surface และ Windows
ยอดขาย Surface ในไตรมาสนี้เติบโตถึง 37% จากปีก่อน มีรายได้รวม 1,553 พันล้านดอลลาร์ แม้น้อยกว่าตัวเลขของไตรมาสที่แล้ว 1,724 พันล้านดอลลาร์ จากปัจจัย Work from Home ที่คนเริ่มทำงานอยู่บ้านกันในไตรมาส 2
ไมโครซอฟท์ทุ่มเทกับการพัฒนาและซัพพอร์ตลินุกซ์อย่างมากในช่วงหลังนับเป็นแนวทางที่หลายคนแสดงความประหลาดใจ ตั้งแต่การปล่อย VSCode บนลินุกซ์, การรองรับเคอร์เนลลินุกซ์ผ่าน WSL, เปิดให้ลินุกซ์รองรับ exFAT, พัฒนา Edge บนลินุกซ์, และล่าสุด WSL ก็เตรียมรองรับแอป GUI สัปดาห์ที่แล้ว Eric S. Raymond (ESR) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สมายาวนานก็ออกมาวิเคราะห์ว่าสุดท้ายแล้วไมโครซอฟท์จะหันมาใช้เคอร์เนลลินุกซ์เป็นหลักแทน และเปลี่ยนเคอร์เนลวินโดวส์ให้เป็นเพียงอีมูเลเตอร์ที่มีไว้รองรับแอปพลิเคชั่นเก่าเท่านั้น
Flutter เฟรมเวิร์คสำหรับเขียน UI ของกูเกิลที่ใช้ภาษา Dart เริ่มต้นจากมือถือ Android/iOS แต่เมื่อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ประกาศรองรับแพลตฟอร์มมากขึ้น เริ่มจากเว็บ, แมค, ลินุกซ์ และล่าสุดมาถึงวินโดวส์แล้ว
ทีมงาน Flutter บอกว่าวินโดวส์เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์เกิน 1 พันล้านชิ้น และจากสถิติก็พบว่านักพัฒนา Flutter เกินครึ่งใช้วินโดวส์อยู่แล้ว การรองรับวินโดวส์จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างมาก
ภาษา Swift พัฒนาขึ้นโดยแอปเปิล เพื่อใช้บนแพลตฟอร์มของแอปเปิลเองเป็นหลัก (iOS, macOS, watchOS, tvOS) และด้วยโครงสร้างแพลตฟอร์มที่คล้ายกัน ทำให้ Swift รองรับการใช้งานบนลินุกซ์ด้วย (ดิสโทรที่รองรับอย่างเป็นทางการคือ Ubuntu, CentOS, Amazon Linux 2)
ล่าสุด Swift ประกาศออกเวอร์ชัน 5.3 ที่มีฟีเจอร์สำคัญคือรองรับแพลตฟอร์ม Windows เต็มรูปแบบ ซึ่งทีมงาน Swift บอกว่าการรองรับ Windows ไม่ได้เป็นแค่การพอร์ตคอมไพเลอร์ แต่รวมถึงไลบรารีและเครื่องมืออื่นๆ ด้วย
ในการเขียน Swift บน Windows จำเป็นต้องใช้ Visual Studio 2019, Windows 10 SDK, Windows Universal C Runtime และดาวน์โหลดแพ็กเกจของ Swift เพิ่มเติมได้จากหน้าเว็บไซต์
Windows 95 มีอายุครบ 25 ปีแล้วเมื่อวานนี้ (ออก 24 สิงหาคม 1995) ถือเป็นก้าวสำคัญของระบบปฏิบัติการสำหรับพีซี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดหลายอย่าง เช่น Start Menu, Task Bar, Recycled Bin ที่ยังใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
เนื่องในโอกาส Windows 95 ครบ 25 ปี ไมโครซอฟท์จึงทำคลิปฉลองมาให้ดูกัน
ที่มา - Microsoft
จากข่าวเมื่อเดือนมิถุนายน ว่ากูเกิลจับมือ Parallels พัฒนาแนวทางรันแอพ Windows บน Chrome OS ทีมงานของกูเกิลเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในบทสัมภาษณ์กับ The Verge ดังนี้
ไมโครซอฟท์ส่งอีเมลแจ้งเข้ากลุ่มนักพัฒนา PHP ว่าจะหยุดซัพพอร์ต PHP บนแพลตฟอร์มวินโดวส์ มีผลนับตั้งแต่ PHP 8.0 (ปัจจุบันเป็น Alpha 1) เป็นต้นไป
ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์เป็นผู้ดูแลโครงการ PHP For Windows บนเว็บไซต์ PHP.net และทำหน้าที่พัฒนา-ออกไบนารีของ PHP เวอร์ชันวินโดวส์ (php.exe) ตามอัพเดตทุกเวอร์ชันย่อย
ไมโครซอฟท์ไม่ได้ระบุเหตุผลที่หยุดออกไบนารีของ PHP 8.0 บนวินโดวส์ แต่สัญญาว่าจะยังออกไบนารีของ PHP 7.2, 7.3, 7.4 ไปจนหมดระยะเวลาซัพพอร์ตของ PHP.net
ความนิยมในโครงการ Flutter ทำให้มันขยายจากการเขียน UI ของแอพมือถือไปสู่การเขียนเว็บ และแอพเดสก์ท็อป โดยเริ่มจาก macOS เป็นแพลตฟอร์มแรก ส่วน Windows/Linux จะตามมาในลำดับถัดไป
ล่าสุด Flutter ออกมาอธิบายความคืบหน้าของเวอร์ชัน Windows โดยบอกว่าปัจจุบัน Windows มีโมเดลการพัฒนาแอพ 2 แบบ ได้แก่ Win32 ที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้ได้บน Windows เวอร์ชันเก่าด้วย และ UWP ที่รันได้เฉพาะบน Windows 10 ขึ้นไป แต่ก็ขยายไปยังแพลตฟอร์มอื่นอย่าง Xbox หรือ Windows 10X ได้ง่าย
Chrome ที่มีการจดจำบัตรเครดิตผู้ใช้งานเอาไว้ให้ เพื่อความง่ายเวลาต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิต จะใช้การยืนยันตัวตนความเป็นเจ้าของบัตรเครดิตด้วยการให้กรอกเลข CVC 3 หลักข้างหลังบัตร ล่าสุด Chrome รองรับการใช้ Windows Hello เพื่อยืนยันตัวตนแทนการกรอก CVC แล้ว
ฟีเจอร์นี้อาจจะไม่ใช่ฟีเจอร์ใหม่ เพราะมีคนโพสต์ในฟอรัม Google Support ตั้งแต่เดือนมีนาคม ขณะที่ผมลองเช็ค Chrome ของตัวเองก็พบว่ามีฟีเจอร์นี้แล้ว โดยสามารถเข้าไปเปิดได้ที่ Settings > Payment Methods และเลือกเปิด Windows Hello
ที่มา - XDA
Microsoft ประกาศว่าตอนนี้ทางบริษัทกำลังจะหยุดออกอัพเดตประเภทตัวเลือกที่ไม่ใช่ความปลอดภัย (optional non-security) ชั่วคราวสำหรับ Windows และผลิตภัณฑ์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด เพื่อให้บริษัทโฟกัสกับงานอัพเดตด้านความปลอดภัย
สำหรับอัพเดตที่ Microsoft จะหยุดชั่วคราวก่อนคืออัพเดตประเภท C และ D ซึ่งจะปล่อยออกมาในช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 ของแต่ละเดือน ซึ่งการอัพเดตเหล่านี้จะรวมการแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มเติมที่ไม่ใช่ด้านความปลอดภัยด้วย
Microsoft ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม ดังนั้นในเดือนเมษายนจะยังคงออกอัพเดตตามปกติ
ไมโครซอฟท์ประกาศพบช่องโหว่ร้ายแรงระดับวิกฤติ (critical) ในไลบรารี Adobe Type Manager ที่ช่วยเรนเดอร์ฟอนต์บน Windows โดยวิธีการของแฮกเกอร์คือจะหลอกให้เหยื่อเปิดไฟล์เอกสารหรือเปิดพรีวิวผ่าน Windows Preview และเปิดช่องให้แฮกเกอร์รันโค้ดทางไกลได้
ไมโครซอฟท์ระบุว่าช่องโหว่นี้ยังไม่มีแพตช์และกระทบทุกเวอร์ชันย่อยของ Windows ตั้งแต่ Windows 10, Windows 8.1, Windows 8.1 RT, WIndows 7, Windows Server 2019, Windows Server 2016, Windows Server 2012 R2, Windows Server 2012, Windows Server 2008 R2 และ Windows Server 2008 ขณะที่การโจมตีด้วยช่องโหว่นี้เกิดขึ้นแล้วแต่เป็นแบบเจาะจงเป้าหมาย (limited targeted attack)