รายงานผลประกอบการไตรสาสล่าสุดของ eBay แสดงตัวเลขแดงแจ๋เป็นเงินติดลบถึงกว่า 936 ล้านดอลลาร์ โดยเหตุของการขาดทุนครั้งใหญ่นี้มากจากการเข้าซื้อบริษัท Skype ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2005 โดยมีการประเมินมูลค่าไว้ถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดทาง eBay ได้จ่ายเงินกว่า 500 ล้านดอลลาร์แก่ผู้ถือหุ้น Skype เพื่อยุติข้อผูกมัดทั้งหมดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
โดยหากไม่นับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจาก Skype แล้ว นับว่าทาง eBay มีผลประกอบการที่เข้มแข็งมาก โดยมีรายรับสูงถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา และน่าจะทำกำไรได้กว่า 400 ล้านดอลลาร์ โดยเมื่อไตรมาสที่แล้ว eBay มีเงินสดในมือถึงกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ พร้อมกับมีการประกาศซื้อหุ้น 500 ล้านดอลลาร์
Amazon นั้นมีสิทธิบัตรที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากอยู่อันหนึ่งนั่นคือ 1-Click ที่ให้ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ในการคลิกเพียงครั้งเดียว โดยสิทธิบัตรนี้เคยเป็นอาวุธให้กับ Amazon ในการต่อสู่กับคู่แข่งเช่น Barnes & Noble มาแล้ว และส่งผลให้ต้องมีการทำข้อตกลงกันนอกศาลไป
แต่ในวันนี้คณะกรรมการได้ตัดสินให้ยกเลิกการกล่าวอ้างของทาง Amazon ไปเกือบทั้งหมด และส่งสิทธิบัตรกลับไปยังขั้นตอนการพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยยังมีกระบวนการในขั้นต่อไปอีกมาก แต่ตอนนี้ก็นับได้ว่าสิทธิบัตรนี้ค่อนข้างสั่นคลอนสมควร
แนวคิดโทรศัพท์นาฬิกาไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่สำหรับ Hyundai W-100 คงไม่ใช่โทรศัพท์นาฬิกาข้อมือธรรมดา ๆ ที่เราเคยเห็น ๆ กันเรื่อยมา ด้วยสเปค กล้องความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล พร้อมจอสีแบบสัมผัส และรองรับ Bluetooth พร้อมรองรับหูฟัง A2DP และแน่นอนว่ารองรับไฟล์ MP3 อีกด้วย แถมยังเพิ่มหน่วยความจำได้ผ่านทางการ์ด MicroSD
งานนี้ราคาไม่แจ้ง แต่น่าจะได้เห็นในบ้านเราเพราะเป็น GSM
ที่มา - Akihabara News
คนทำงานจาวาคงได้ยินชื่อ Eclipse RCP กันเยอะอยู่แล้วในช่วงหลังมานี้ แต่เพื่อลดแรงต้านจากกระแส Web Application ที่เชี่ยวกราก ทาง Eclipse Foundation จึงมีโครงการ Rich Ajax Platform (RAP) ที่ใช้ API ชุดเดียวกับใน RCP โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป ทำให้นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด
เท่าที่ลองดูเดโมพบว่าความเร็วค่อนข้างน่าประทับใจอยู่มาก งานนี้ทางฝั่ง Google Web Toolkit คงมีคู่แข่งเข้าแล้วจริงๆ
ที่มา - Artima Developer, Eclipse
เมื่อหลายเดือนก่อนอินเทลได้ตกลงเข้าร่วมโครงการ OLPC อย่างเป็นทางการทำให้การแข่งขันระหว่าง Classmate PC กับ OLPC XO ดูเหมือนจะจบลงไปแล้ว และในตอนนี้ความร่วมมือที่ว่านี้ก็กำลังจะมีผลผลิตออกมาให้เราเห็นกันเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เมื่ออินเทลประกาศว่าบริษัทกำลังเตรียมเปิดตัวชิปเซ็ตใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อ OLPC โดยเฉพาะ ในงาน Intel Developer Forum (IDF) ที่เซี่ยงไฮ้ในปีหน้า
ในตอนนี้เครื่อง OLPC XO ใช้ชิป Geode จากทางเอเอ็มดี ที่ออกแบบเพื่อเครื่องกินพลังงานต่ำโดยเฉพาะ ส่วน Classmate PC นั้นใช้ชิป Celeron ที่เราๆ เคยเห็นกันในตลาดโน้ตบุ๊กเมื่อหลายปีก่อน
ยังไม่มีข่าวจากทางเอเอ็มดีว่าจะออกชิปรุ่นใหม่มาแข่งขันกันด้วยหรือไม่อย่างไร
จากการที่คิดและถามกันมานาน ถึงโครงการ Blognone Press Release ตอนนี้โครงการนี้ก็เริ่มเปิดตัวให้ลองใช้กันดูแล้ว โดยเปิดเป็น Forum เพื่อให้ทุกคนที่ต้องการประกาศข่าวต่างๆ ได้มีพื้นที่ในการเข้าถึงคนอ่านอย่างทั่วถึง โดยมีหลักการข้อจำกัดต่างจากการลงโฆษณาอยู่บ้าง โดยหลักๆ แล้วการเขียนข่าวในส่วนของ Press Release นี้ จะมีดังนี้
คนรักของถูกหลายคนคงฝันสลายเมื่อ Eee PC ที่เคยเปิดตัวด้วยการโปรยคำหวานว่าจะมีราคาขายปลีกที่ 199 ดอลลาร์ได้รับการยืนยันแล้วว่าราคาขายปลีกจะไม่ต่ำไปกว่า 200 ดอลลาร์แน่นอน โดยราคา 199 ดอลลาร์นั้นจะเป็นราคาสำหรับการซื้อส่งเท่านั้น
Eee PC จะเริ่มวางขายชุดแรกในตลาดไต้หวันด้วยปริมาณล็อตแรกไม่เกิน 10,000 ชุด และสิ้นเดือนนี้จะเริ่มวางตลาดในอเมริกา ส่วนตลาดจีนนั้นจะเริ่มวางตลาดกันปลายปีนี้
Asus อ้างว่ามีการสั่งซื้อแล้วกว่าหนึ่งล้านเครื่อง
ที่มา - DigiTimes
มีรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มของวิกิพีเดียในช่วงหกปีที่ผ่านมาถึงสภาวะการมีส่วนร่วมกันของวิกิพีเดียพบว่าการมีส่วนร่วมกันเขียนบทความของวิกิพีเดียกำลังลดลงไปถึงร้อยละ 20 นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยปริมาณการแก้ไขบทความขึ้นสูงสุดในช่วงต้นปี 2007 นั้นอยู่ที่ระดับ 160,000 ครั้งต่อวัน แต่ในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 130,000 ครั้งต่อวันเท่านั้น ส่วนปริมาณการสมัครสมาชิกใหม่นั้นก็ลดลงเช่นกันโดยจากกว่าหมื่นคนต่อวัน ตอนนี้มีการสมัครสมาชิกอยู่ที่เจ็ดพันกว่าคนต่อวัน เท่านั้น
หลังการยิงดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ไปเมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว ดาวเทียม Kaguya ก็เริ่มส่งภาพพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกแล้วผ่านทางกล้องที่ใช้ในการตรวจสอบการปล่อยดาวเทียมลูกที่ติดไปด้วยกันชื่อว่า Rstar ที่เป็นดาวเทียมช่วยทำแผนที่แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์
ดาวเทียม Kaguya เป็นโครงการมูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 14 ชนิด และโคจรอยู่ที่ความสูง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์
หลังการร่วมมือกับทาง Zend มากว่าปีครึ่ง โมดูล FastCGI สำหรับ IIS ซึ่งเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ก็สำเร็จออกมาให้ใช้งานกันเป็นเวอร์ชั่นแรกแล้ว
FastCGI เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมภายนอกกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า CGI ที่เราใช้กันมานานตั้งแต่ปี 1993 โดยตัว FastCGI นั้นลดการสร้างและจบโปรเซสของโปรแกรมภายนอกจำนวนมากๆ เช่น CGI ไปได้ ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองของเว็บได้เป็นอย่างดี
โมดูลนี้รองรับ IIS 5.1 และ IIS 6.0 สามารถดาวน์โหลดได้นับแต่บัดนี้จากทาง IIS.net
ที่มา - IIS.net
ตามหลัง .EU มานานกว่าที่ทาง ICANN จะเริ่มให้บริการ .Asia เป็น Top Level Domain (TLD) อันใหม่ล่าสุด โดยใจช่วงแรกจะเปิดให้เฉพาะหน่วยงานที่เป็นทางการอย่างหน่วงานรัฐ และบริษัทผู้ถือตราสินค้าต่างๆ ได้เข้าประมูลโดเมนเหล่านี้ไปก่อน ในราคาเริ่มต้นปีละ 10 ดอลลาร์ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปจะเข้าซื้อโดเมน .Asia ได้หลังจากเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าไปแล้ว
คาดว่าหน่วยงานที่น่าจะให้ความสนใจ .Asia มากที่สุดคงไม่มีใครเกินไปจากหน่วยงานท่องเที่ยวต่างๆ ที่คงต้องแย่งชื่อเด่นๆ กันเป็นที่สนุกสนาน
ที่น่าสนใจคือ ICANN นั้นเป็นหน่วยงานของสหรัฐฯ แต่ตอนนี้ควบคุมโดเมน TLD ในทุกๆ ภูมิภาคของโลกกันเลย
ที่มา - PhysOrg
นอกจากการให้บริการด้านการศึกษาจาก Berkeley ที่เพิ่งประกาศความร่วมมือไปเมื่อวันก่อนแล้ว วันนี้การเซ็นสัญญาครั้งล่าสุดระหว่างกูเกิลและสำนักข่าว อัล จาซีราก็คงเป็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
อัล จาซีราได้ให้เริ่มอัพโหลดรายการของตนขึ้น YouTube มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมีการอัพโหลดประมาณ 10 ถึง 15 รายการต่อสัปดาห์ แต่หลังจากการเซ็นสัญญาครั้งนี้ ทางอัล จาซีราจะแบ่งค่าโฆษณากับทางกูเกิลพร้อมกับคำมั่นว่าจะอัพโหลดรายการทั้งหมดของตนขึ้น YouTube
ใกล้ยุคของทีวีเสรีของแท้แล้วสินะ
ที่มา - TechCrunch
ประเทศจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่รู้กันว่ามีการควบคุมการรับรู้ข้อมูลของประชาชนมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยที่เว็บต่างๆ ถูกบล็อคตามช่วงเวลาโดยไม่มีการแจ้งเหตุผลกันเสมอๆ แต่ประชาชนจีนจำนวนมากก็รู้ว่าวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกบล็อคเหล่านั้นได้ง่ายๆ คือการอ่านข้อมูลผ่านบริการ RSS ที่ไม่ได้ผ่านระบบกรองเอกสารของจีน ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้เป็นวงกว้าง
เมื่อวานนี้ทางการจีนจึงมีการดำเนินการบล็อคข้อมูลทาง RSS Feed ทั้งประเทศ รวมถึงเว็บเช่น FeedBurner และเว็บทั้งหมดที่ขึ้นต้น URL ด้วยคำว่า feed, rss และ blog โดยการทำเช่นนี้ทำให้แม้แต่เว็บที่ไม่ได้มีเนื้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคง ของจีนก็ถูกบล็อคบริการเหล่านี้ไปด้วยทั้งหมด
หลังจากโครงการ OLPC เริ่มเดินหน้าผลิตได้แล้ว ในตอนนี้ก็เริ่มเป็นช่วงเวลาของการขายกันแล้ว โดยในตอนนี้ทางโครงการ OLPC ได้รับคำสั่งซื้ออย่างเป็นทางการจากประเทศอุรุกวัยแล้วเป็นจำนวนหนึ่งแสนเครื่อง ในราคาเครื่องละ 199 ดอลลาร์ ซึ่งแพงกว่าที่ประกาศไว้ในตอนแรกเกือบสองเท่าตัว
ประเทศอุรุกวัยมีการศึกษาการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษานี้อย่างค่อนข้างจริงจัง โดยมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อทดสอบทั้งเครื่อง OLPC XO และ Intel Classmate PC ว่าจะมีผลดีต่อนักเรียนในประเทศอย่างไรบ้าง ผลที่ได้คือทั้งราคาและประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเรียนการสอนของเครื่อง OLPC XO นั้นดีกว่า
ผมว่ารวมตัวกันขอเค้าซื้อสัก 1-2000 เครื่องน่าจะได้นะ จะมีใคร ออกมาเป็นเจ้าภาพมั่งมั๊ยเนี่ย
คำว่าพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสคงเป็นเรื่องจริงสำหรับไมโครซอฟท์ในรอบนี้ หลังจากที่ปั้น Zune ได้ไม่สำเร็จนัก และกำลังเตรียมกลับมาอีกครั้งกับ Zune 2 แต่ในช่วงนี้เอง Zune รุ่นแรกกลับสามารถทำยอดขายได้ทะลุเป้า โดยขึ้นแท่นอันดับหนึ่งถึงสามของ Amazon.com ในหมวดเครื่องเล่น MP3 แบบฮาร์ดดิสก์ ไปได้ทั้งสามสี
เหตุผลสำหรับเรื่องนี้ก็ง่ายๆ คือไมโครซอฟท์ลดราคา Zune ลงมาอาจจะเพื่อล้างสต็อก หรือแค่ลดลงมาเพื่อไม่ให้ทับตลาดกับ Zune 2 แต่ด้วยราคาที่พอๆ กับ iPod Nano งานนี้ Zune เลยชนะใจผู้ซื้อไปได้จำนวนมาก ทำให้ยอดขายพุ่งกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
โครงการ OpenCourseWare (OCW) นั้นอาจจะกล่วได้ว่าเริ่มมาจาก MIT ที่ได้ประกาศรวบรวมสื่อการเรียนการสอนเพื่อแจกให้ทุกคนในอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้ฟรีมาตั้งแต่ปี 1999 หลังจากนั้นก็มีการสร้างความร่วมมือออกมาเรื่อยๆ จนเราเห็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกประกาศเปิดสื่อการสอนกันมากมายในวันนี้ จนก่อตั้งเป็น Open Courseware Consortium
แคนนอนประเทศจีนประกาศเรียกคืนกล้อง A650 IS เนื่องจากมีอาการแสงรั่วเข้าสู่เซ็นเซอร์ขณะที่ถ่ายภาพในแสงจ้า ทำให้มีแสงบางส่วนรั่วเข้าไปสู่ตัวเซ็นเซอร์ได้ โดยในตอนนี้การเรียกคืนยังจำกัดอยู่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น โดยยังไม่มีรายงานว่าประเทศอื่นๆ จะมีการเรียกคืนแแบบเดียวกันหรือไม่
ว่าจะซื้อมาใช้อยู่เลย....
ที่มา - Engadget, Canon (China)
ถ้าใครเคยชื่นชอบหนังซีรี่ย์เรื่อง The X-Files คงเคยได้ยินชื่อ Tunguska กันมาบ้าง โดยที่นั่นคือบริเวณที่เคยเกิจเหตุการณ์อุกาบาตชนโลกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง โดยกินพื้นที่ไปถึง 830 ตารางไมล์ โดยคาดว่าวัตถุที่พุ่งเข้ามาชนอาจจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 60 ถึง 1200 เมตร
Boris Shustov ผู้อำนวยการสถาบันดาราศาสตร์ของรัสเซียได้ออกมาให้ข่าวว่า อุกาบาตที่ชื่อว่า อุกาบาตที่ชื่อว่า 99942 Apophis กำลังจะโคจรมาทับวงโคจรของโลกในปี 2029 โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการระบุเบิดที่รุนแรงกว่าที่ Tunguska หลายเท่าตัว
ปาล์ม ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่เริ่มแสดงอาการไม่ดีด้วยการขาดทุนเล็กน้อยเป็นเงินประมาณ 8 แสนดอลลาร์ อาการขาดทุนนี้เกิดจากการแข่งขันที่มากขึ้นโดยเฉพาะคู่แข่งรายใหญ่อย่างไอโฟนอันโด่งดัง แต่ในขณะเดียวกันในรายงานการเงินยังระบุว่ารายได้รวมของปาล์มนั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปาล์มเพิ่งประกาศยกเลิกเครื่อง Foleo ของตนไป โดยหันหน้าไปยังเครื่องสมาร์มโฟนอย่าง Centro แทน โดยจะวางตลาดในช่วงสิ้นเดือนนี้
ในฐานะผู้ใช้มายาวนานคนหนึ่งก็เอาใจช่วยให้อยู่แข่งกับเจ้าอื่นๆ ต่อไปได้แล้วกัน....
ที่มา - PhysOrg
ข่าวการเข้าซื้อบริษัท Virtual Ubiquity โดยบริษัท Adobe สร้างความประหลาดใจให้หลายๆ คนเนื่องจากบริษัท Virtual Ubiquity นี้ผลิตภัณฑ์หลักคือซอฟต์แวร์ Buzzword ที่เป็น Word Processor ทำงานผ่านเว็บเบราวเซอร์ที่กำลังได้รับความสนใจจากทั้งไมโครซอฟท์และกูเกิล
ขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนว่า Adobe จะบุกตลาดนี้อย่างจริงจังแค่ไหนแต่ Buzzword นั้นนับว่าเป็นพันธมิตรของ Adobe อย่างชัดเจนด้วยการใช้เทคโนโลยีเช่น AIR ตลอดจนใช้เทคโนโลยี Flash อย่างมาก
ใครสนใจเข้าใจว่าตอนนี้ยังไปลองเล่นกันได้ โดยต้องลง Flash 9 Beta 3 ก่อน ที่สำคัญคือคนใช้ลินุกซ์ก็รองรับด้วยเหมือนกัน (เยี่ยม...)
ข่าวล่าออกมาว่าไมโครซอฟท์เตรียมตัวจัดงานเปิดตัว Zune รุ่นใหม่ภายในวันพฤหัสที่จะถึงนี้ โดยระหว่างนี้มีรายละเอียดคร่าวๆ ของ Zune 2 ออกมาให้เราได้รู้กันล่วงหน้าบ้างแล้ว เช่น
ไมโครซอฟท์เชื่อว่าบริษัทจะทำยอดขายได้มากกว่า 2.4 ล้านเครื่องในช่วงปลายปีนี้ โดยในตอนนี้ Zune ครองตลาดอยู่ประมาณร้อยละ 3 และมียอดขายรวมเพียง 1 ใน 25 ของไอพ็อด ดังนั้นการคาดหวังนี้ก็ดูจะไม่ง่ายนัก แต่ยังไงการแข่งขันนี้ก็น่าจะสร้างตัวเลือกที่ดีให้กับผู้บริโภคอย่างเราได้อีกทาง
ไม่ใช่คะแนนบอล แต่คอเน็ตเวิร์คคงรู้กันว่าเน็ตเวิร์คที่ดีนั้น เราต้องการความน่าเชื่อถือในระดับร้อยละ 99.999 (อ่านทับศัพท์ว่า ไฟฟ์ไนท) โดยในหนึ่งปีระบบที่มีความน่าเชื่อถือในระดับนี้จะล่มได้ไม่เกินห้านาทีต่อปีเท่านั้น เรียกว่าบูตเครื่องได้ทีเดียวก็หมดแล้ว
งานนี้ทางเว็บ pingdom ได้แถลงผลการทดสอบความน่าเชื่อถือของบริการกูเกิลในประเทศต่างๆ พบว่าบริการในประเทศบราซิลนั้นมีความน่าเชื่อถือสูงในระดับที่ว่านี้โดยมีเวลาที่ระบบล่มไปเพียงสามนาทีเท่านั้น
สำหรับกูเกิลประเทศไทยนั้นอยู่อันดับสี่ มีเวลาที่ล่มไปรวมเป็น 13 นาที ส่วนดอทคอมที่เป็นเว็บหลักนั้นใช้ล่มรวมทั้งปีอยู่ที่ 31 นาที
บั๊กล่าสุดใน Excel 2007 อาจจะทำให้หลายๆ คนที่ใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้ในการคำนวณด้านการเงินอาจจะต้องระวังให้มาก จากการที่มีคนพบว่าเมื่อคำนวณค่า 850*77.1 จะพบว่าคำตอบที่ได้เป็น 100,000 แทนที่จะเป็น 65535 หลังจากนั้นมีการทำซ้ำบั๊กนี้อีกหลายต่อหลายครั้งแล้วพบว่าเมื่อคำตอบที่ได้ควรจะเป็น 65535 โปรแกรม Excel 2007 จะมีการให้คำตอบแปลกๆ เสมอๆ
ใน Slashdot มีการวิเคราะห์กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวว่าบั๊กนี้น่าจะเกิดจากการพิมพ์ผิดในการแปลงตัวเลขบางอย่าง แถมด้วยการล้อเลียนกันยาวเหยียด
มีข่าวก่อนหน้านี้มานานว่าทางโครงการ OLPC กำลังจะวางขายเครื่อง XO ในประเทศที่เจริญแล้วโดยที่ผู้ซื้อต้องจ่ายแพงกว่าปรกติเพื่อบริจาคอีกเครื่องเพื่อให้กับเด็กในประเทศที่ด้อยโอกาส งานนี้โครงการดังกล่าวก็เป็นรูปเป็นร่างแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ที่ทาง OLPC จะขายเครื่อง XO ในราคา 399 ดอลลาร์ให้กับผู้สนใจ โดยจะมีอีกหนึ่งเครื่องที่ถูกส่งมอบไปยังประเทศที่ให้ความสนใจจำนวน 20 ประเทศเพื่อทดลองใช้งาน
ก่อนหน้านี้ทางโครงการ OLPC ค่อนข้างกังวลที่จะเปิดโครงการนี้เนื่องจากเด็กๆ ในสหรัฐฯ นั้นมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำเครื่อง XO ไปให้เด็กอาจจะไม่ทำให้เกิดผลดีใดๆ แต่จากการวิจัยในเด็กอายุ 7-11 ปีพบว่าเด็กให้ความสนใจเครื่อง XO เป็นอย่างดี
คนที่ทำงานตามบริษัทคงรู้กันดีว่าเวลาจะขอใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสักตัวในบริษัทมันช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน เนื่องจากความกลัวปัญหาเช่นเรื่องของการติด GPL แล้วต้องเปิดซอร์สของโปรแกรมในบริษัทไปด้วย แต่งานวิจัยล่าสุดของการ์ตเนอร์ ออกมาชี้ให้เห็นว่าแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่เราจะหลีกเลี่ยงการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพราะในปี 2011 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของซอฟต์แวร์เพื่อการค้าทั่วโลกจะมีบางส่วนที่ไปโค้ดจากโครงการโอเพนซอร์ส
ดังนั้นแทนที่จะมัวแต่กลัวว่าจะมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลุดเข้ามา ผู้บริหารควรศึกษาและทำความเข้าใจกับประเภทของลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์แต่ละตัวว่ามีข้อจำกัดและเงื่อนไขการใช้งานอย่างไรบ้างน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า