เป็นภาพหลุดที่เปิดเผยโดยเว็บไซต์ PCWatch ของญี่ปุ่น มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายอัน ทั้งโรดแมปด้านซีพียูและชิปเซ็ตของอินเทล แนวโน้มขนาดของ die ว่าจะเล็กลงไปขนาดไหน และสถาปัตยกรรมภายในของ Nehalem รุ่นต่างๆ ด้วย
คิดว่าหลายคนลองใช้ Alpha 1 หรือ nightly build กันบ้างแล้ว สำหรับของใหม่ใน Alpha 2 ได้แก่
ส่วน TraceMonkey นั้นยังไม่เปิดใช้ใน Alpha 2 ครับ
ที่มา - Shiretoko Alpha 2 Release Notes
ถึงแม้ว่า NBC จะประสบความสำเร็จกับการถ่ายทอดโอลิมปิกออนไลน์ด้วย Silverlight (เฉพาะในสหรัฐ) แต่สำหรับเว็บไซต์ NFL ฤดูกาลใหม่ NBC กลับเปลี่ยนใจเลือกใช้ Flash แทน
รายการนี้ชื่อว่า Sunday Night Football Extra (สามารถเข้าได้ทั้งจาก NFL.com และ NBCSports.com) นอกจากมีถ่ายทอดการแข่งขันสดแล้ว ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ สำหรับคนออนไลน์ เช่น การเลือกเปลี่ยนมุมกล้อง หรือสถิติแบบสดด้วย แต่เฉพาะในสหรัฐเช่นกัน
เหตุผลที่ NBC เปลี่ยนใจนั้น ในแถลงของ Adobe บอกว่าเป็นเพราะ Flash ถูกติดตั้งในคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่แล้ว ผู้ชมของ NBC ไม่ต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์อื่น (หมายถึง Silverlight แต่ไม่ได้เอ่ยชื่อตรงๆ) มาติดตั้งเพิ่มเติมอีก
จากข่าวเก่า โฆษณา Microsoft: The Future Delicious? ทำเอาคนงงไปทั้งอินเทอร์เน็ต คำอธิบายที่ดีที่สุดมาจากอีเมลภายในของ Bill Veghte ผู้บริหารระดับสูงด้านธุรกิจออนไลน์ ส่งถึงพนักงานทุกคนของบริษัท
Bill Veghte บอกว่าวินโดวส์พัฒนามา 25 ปีแล้ว และการตั้งเป้าสู่ 25 ปีข้างหน้า ไมโครซอฟท์จะต้องย้ำเตือนลูกค้าว่า วินโดวส์มีส่วนทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนแปลงมาขนาดนี้ได้อย่างไร และสัญญากับลูกค้าว่าวินโดวส์จะใช้ข้ามกันได้ทั้งบนพีซี มือถือ และเว็บ
มีเยอะมากจริงๆ ผมขอคัดมาเฉพาะอันที่ได้อ่านผ่านตานะครับ ถ้าใครมีลิงก์น่าสนใจเพิ่มเติมก็นำมาแลกเปลี่ยนกันได้ ส่วนถ้าใครเขียนรีวิวเอง ขอให้แปะไว้ใน รีวิว Chrome ให้ดูกัน เพราะมีหลายๆ คนมาลงไว้บ้างแล้ว
ข่าวร้อนประจำรอบสัปดาห์ครับ ข่าวลือว่ากูเกิลซุ่มพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์นั้นเป็นความจริงแล้ว โดยชื่อของมันคือ Google Chrome
ไม่ใช่การเมืองไทยนะครับ การเมืองสหรัฐอเมริกาต่างหาก
หลังจากจอห์น แมคเคน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน ได้เปิดตัวคู่หูชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี (รันนิ่งเมท) เป็นสตรีคือ ซาราห์ พาลิน (Sarah Palin) ผู้ว่าการรัฐอลาสกา ซึ่งเป็นม้ามืดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ทำให้เป็นประเด็นข่าวในสหรัฐมาพักใหญ่ตลอดช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้
จากเดิม MSI Wind ส่งรุ่นหน้าจอ 10 นิ้ว (U100) ออกวางตลาดก่อน และปล่อยข่าวว่าจะออกรุ่นจอ 8.9 นิ้วตามมาทีหลัง ตอนนี้มาแล้วครับ ขึ้นบนเว็บไซต์ของ MSI เรียบร้อย
สเปกตามนี้
เราเห็น ภาพร่างของ HTC Dream รวมถึงวิดีโอแอบถ่ายแบบไม่ชัดมาก็มาก ตอนนี้มีภาพแบบชัดๆ เต็มๆ ตาออกมาแล้วครับ ภาพชุดนี้ยืนยันแบบบนกระดาษที่ HTC ส่งให้กับ FCC ของสหรัฐในคราวก่อนว่าถูกต้อง ตัวเครื่องมีตราสัญลักษณ์ของ T-Mobile แปะหัวมาด้วยเรียบร้อย
ที่น่าสนใจคือคีย์บอร์ดแบบ QWERTY ที่ต้องสไลด์ออกมาถึงจะเห็นนั้น เรียงเลข 0-9 ไว้แถวบนสุดเหมือนกับปุ่ม Function key ของคีย์บอร์ดปกติ ไม่ได้เรียงเป็นแนวตั้งเหมือนกับคีย์บอร์ดของ Palm Treo หรือ BlackBerry
ส่วนหน้าจอของตัวเครื่องโหมดปกติ แสดงนาฬิกาแบบเข็มเหมือนกับ screenshot ของ Android ที่ออกมาก่อนหน้านี้นานแล้ว ไอคอนโปรแกรม 4 อันในหน้าจอหลักคือ Dialer (โทรออก) Contacts, Browser และ Maps
กฎข้อสองของ BarCamp: You do blog about BarCamp
Blogger/Blogspot เพิ่มฟีเจอร์แบบเดียวกับ MyBlogLog (และ Twitter) นั่นคือเจ้าของบล็อกสามารถแสดงรายชื่อผู้ติดตาม (Blogger ใช้คำว่า "Follower" แบบเดียวกับ Twitter) ได้ในแถบข้างของบล็อก
ส่วนผู้ที่ติดตามบล็อกชาวบ้านใน Blogger (และมีบล็อกบน Blogger เหมือนกัน) จะได้ฟีเจอร์ Reading List ซึ่งเหมือน Google Reader ขนาดย่อส่วน ใช้กับเฉพาะภายใน Blogger แถมมาในหน้า Dashboard ของตัวเองด้วย หรือถ้าใช้ Google Reader อยู่แล้ว ก็จะเห็นโฟลเดอร์ “Blogs I’m Following” เพิ่มมาเช่นกัน
ฟีเจอร์นี้จะเริ่มทะยอยเปิดให้ใช้แบบสุ่มในช่วงสองสามสัปดาห์ข้างหน้านี้
ที่มา - Blogger Buzz
การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดของ IE8 คือสนับสนุนมาตรฐานเว็บอย่างจริงจัง (เสียที) ซึ่งทำให้นักพัฒนาเว็บจำนวนมากดีใจกันถ้วนหน้า แต่ว่าในอินทราเน็ตไม่นับครับ
CTO ของ Opera ได้เขียนจดหมายไปลง The Register บอกว่าไมโครซอฟท์นั้นไม่ทำตามที่พูดไว้ เนื่องจากว่าถ้าเปิด IE 8 Beta 2 กับเว็บไซต์ในอินทราเน็ต ไมโครซอฟท์ยังตั้งค่ารูปแบบการแสดงผลเป็นแบบ IE 6 ไว้ เพื่อความเข้ากันได้กับเว็บในอินทราเน็ตเดิม เขายังตั้งคำถามต่อว่าการตั้งค่าแบบนี้จะช่วยให้วงการเว็บมุ่งสู่มาตรฐานหรือไม่?
นอกจากนี้เขายังพูดถึงประเด็นไอคอน Compatibility view ซึ่งจะแสดงในโหมดมาตรฐาน เป็นไอคอนเอกสารโดนผ่าครึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่า โหมดมาตรฐานนั้นเป็นโหมดที่แย่ ได้
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ผมเขียนบทความ Android Developer Challenge - โอกาสทองของเด็กไทย ไป ตอนนี้เวลาผ่านมาอีกเกือบปี (เกือบ 10 เดือน) แพลตฟอร์ม Android ฝ่าฟันอุปสรรคนานานับประการจนใกล้ความจริง และกูเกิลได้ประกาศผลผู้ชนะ Android Developer Challenge I แล้ว
คัดมาเฉพาะกลุ่มที่ได้รางวัล $275,000 (เกือบสิบล้านบาทไทย) นะครับ ยังมีอีกกลุ่มที่ได้ $100,000 และกลุ่ม 50 ทีมที่เข้ารอบแต่ไม่ได้รางวัลอีก รบกวนดูในลิงก์กันเอง
YouTube ได้เปิดบริการใส่ซับไตเติล (หรือที่ YouTube เรียกว่า caption) ในวิดีโอแล้ว โดยหนึ่งไฟล์วิดีโอจะสามารถมีซับไตเติลหลายไฟล์หลายภาษาได้ ตอนนี้ YouTube มีภาษาให้เลือกถึง 120 ภาษา (เช็คแล้วมีภาษาไทย) ไฟล์ที่สนับสนุนคือ SubViewer (.SUB) กับ SubRip (.SRT) ผู้ที่อัพโหลดได้คือเจ้าของวิดีโอเท่านั้น
ผู้ใช้สามารถเลือกเปิด/ปิดซับไตเติลภาษาต่างๆ (ถ้ามี) โดยคลิกที่ปุ่มเมนูของตัวเล่นวิดีโอ ภาพดูด้านใน วิดีโอตัวอย่างตามลิงก์
ที่มา - YouTube Blog ผ่าน TechCrunch
ปุ่มเพิ่มซับไตเติล
ซัมซุงเปิดตัวโน้ตบุ๊กสุดบางรุ่นใหม่ X360 สเปกตามนี้
นักพัฒนาของกูเกิลโชว์หน้าตาของ "Android Market" ลงในบล็อกของ Android แล้ว โดยบลัฟแอปเปิลเล็กๆ ว่ากูเกิลจงใจใช้ "Market" แทน "Store" เพื่อต้องการบอกว่านักพัฒนามีอิสระในการเผยแพร่เนื้อหาของตัวเองมากกว่า วิธีการนั้นมีแค่ 3 ขั้นคือ ลงทะเบียน อัพโหลด และสั่งเผยแพร่เท่านั้น ซึ่งกูเกิลยกการอัพโหลดวิดีโอขึ้น YouTube มาเป็นการเปรียบเทียบเลยทีเดียว
กูเกิลบอกว่ามือถือ Android เครื่องแรก (ซึ่งน่าจะหมายถึง HTC Dream) จะมี Android Market มาให้ ส่วนจะเต็มรูปแบบแค่ไหนทางกูเกิลกำลังตัดสินใจอยู่ แต่ที่มีแน่ๆ คือระบบแจกจ่ายซอฟต์แวร์แบบแจกฟรี จากนั้นกูเกิลจะออกตัวอัพเดตเป็นระยะ เพื่อสนับสนุนฟีเจอร์เพิ่มเติม อย่างเช่น ซอฟต์แวร์ขาย, ตัวตรวจสอบสถิติ, ระบบจัดการเวอร์ชัน เป็นต้น
เราเห็นข่าว Qosmio G55 โน้ตบุ๊กพลัง Cell ของโตชิบากันไปแล้ว คราวนี้มาเป็นทีวี LCD พลัง Cell กันบ้าง
จอ LCD ซีรีย์ ZF ของโตชิบาจะใช้ซีพียู Cell ในการแปลงสัญญาณภาพแบบ Standard Definition (SD) มาเป็น HD (หรือที่เรียกกันว่า upscaling) แบบเดียวกับใน PS3 แต่เป็นเทคโนโลยีที่โตชิบาพัฒนาขึ้นมาเองโดยไม่ต้องผ่านเครื่องเล่นตัวกลาง ทำในจอโดยตรง ชื่อทางการค้าของเทคโนโลยีนี้เรียกว่า Resolution+
โตชิบาเปิดตัวจอสองรุ่นในยุโรป โดยมีแบบ 40" กับ 46" นิ้วให้เลือก ยังไม่มีข้อมูลเรื่องราคาและวันวางจำหน่าย
ที่มา - Engadget
ถ้าใช้ Firefox อยู่ลองเหลือบไปดูไอคอนกูเกิลอันเล็กๆ ตรงมุมขวาบนนะครับ ไอคอนอันนี้สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้หลัก (เหมือนจะเป็นอันเดียวด้วยซ้ำ) ของมูลนิธิ Mozilla ไม่มีใครรู้ว่ามูลค่าของมันเป็นเท่าไรเพราะ Mozilla ไม่ยอมเปิดเผย (เป็นจุดหนึ่งที่โดนโจมตีอยู่เรื่อยๆ) เอาเป็นว่าเยอะจนจ่ายค่าเครื่องบินให้ผมและนักพัฒนาของ Mozilla อีก 400 กว่าคนไปประชุม Firefox Summit ได้สบาย
สัญญาของทั้งสองฝ่ายจะหมดลงในเดือนพฤศจิกายน 2008 นี้ แต่ทาง Mozilla โดยซีอีโอ Mitchell Baker ออกมาเปิดเผยแล้วว่า กูเกิลต่อสัญญาไปอีกสามปีไปเป็นเดือนพฤศจิกายน 2011 ด้วยมูลค่าไม่มีใครทราบเช่นเดิม
หมายเหตุ: งานชิ้นนี้ผมไม่ได้เป็นคนเขียน (เป็นคนยุให้แปล) แต่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับ Creative Commons เลยขอมาเผยแพร่บน Blognone ด้วย คนจะได้อ่านเยอะๆ ผู้แปลคือคุณชิตพงษ์ กิตตินราดร
แบ่งปันอย่างเสรีบนโลกออนไลน์ด้วยครีเอทีฟคอมมอนส์
ไม่นานหลังจากโจอิชิ อิโตะ (Joichi Ito) ได้นำภาพถ่ายของวินตัน เซิร์ฟ (Vinton Cerf) ผู้บุกเบิกวงการอินเทอร์เน็ต ที่เขาเป็นผู้ถ่าย ขึ้นไปไว้ที่สารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย (Wikipedia) เมื่อปีก่อน เขาสังเกตว่ามีอะไรแปลกๆ ในตอนนั้น รูปถ่ายของคนที่มีชื่อเสียงในวงการอินเทอร์เน็ตและผู้นำทางเทคโนโลยี ที่มีประวัติอยู่ในวิกิพีเดีย มักจะมีคุณภาพต่ำหรือไม่มีรูปเลย มันไม่สมควรจะเป็นเช่นนั้น
ผมเขียนข่าวข้างล่างไป ข่าวใหม่ก็มาพอดี IE8 Beta 2 ออกมาให้ทดสอบแล้วครับ ระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนคือ XP, Vista, 2003 และ 2008 ทุกตัวมีทั้งแบบ 32/64 บิต โดย IE8 มีฟีเจอร์ใหม่แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ
ช่วงหลังๆ ข่าว IE8 ดูจะเงียบไปหน่อย แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ออกมาเปิดเผยฟีเจอร์ด้านการท่องเว็บแบบรักษาความเป็นส่วนตัวใน IE8 โดยใช้ชื่อว่า InPrivate
InPrivate ประกอบด้วยฟีเจอร์ 4 ส่วนได้แก่
Text editor เป็นเรื่องของศาสนาพอๆ กับเบราว์เซอร์ ระบบปฏิบัติการ และ IDE แต่ก่อนจะเลือกนับถือศาสนาสักอัน คุณรู้จักศาสนาครบกันหรือยัง?
เว็บไซต์ LinuxLinks ได้รีวิว text editor บนลินุกซ์จำนวน 21 ตัวอย่างละเอียด นอกจากจะพูดถึง text editor ทั่วๆ ไปอย่าง gedit หรือ Kate แล้ว ยังมีพวกใช้งานเฉพาะทาง อย่างเช่น เอาไว้เขียน HTML โดยเฉพาะ (เช่น Bluefish) หรือเขียน TeX/LaTex อีกด้วย
ถ้าลองนับดูแล้วยังรู้จัก text editor ไม่ถึง 21 ตัวก็แนะนำให้เข้าไปอ่านกันครับ ส่วนของผมใช้ Vim เขียนโค้ดและ gedit เขียนภาษาไทย
ที่มา - LinuxLinks
จากบทความ ประสบการณ์ Google Summer of Code 2008 ทำให้คนสนใจภาษา Groovy กันพอสมควร ทางคุณ cblue เลยติดต่อคุณ Guillaume Laforge ผู้จัดการโครงการ Groovy มาให้สัมภาษณ์กัน
ถอดความมาจากวิดีโอ Keynote ในงานสัมมนา 360 Flex ของ Adobe โดย Mark Anders ตำแหน่ง Senior Principal Scientist ของ Adobe เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา