AMD ประกาศชัยอีกครั้งหลังมีการสำรวจพบว่าเครื่องตั้งโต๊ะที่ใช้ชิปของ AMD ที่ขายในร้านค้าปลีก นั้นมียอดขายสูงกว่าอินเทลตลอดระยะหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
การประกาศชัยชนะครั้งนี้เป็นครั้งที่สองในรอบปีที่ AMD ประกาศชัยในด้านยอดขายที่เหนือกว่า Intel จากครั้งแรกที่ประกาศยอดขายของชิป Opteron ที่มียอดขายสูงกว่า Itanium ซึ่งในตอนนั้นกลับไม่น่าสนใจนัก เพราะเป็นส่วนตลาดระดับ 64 บิตที่ยังแคบมากๆ อยู่ในตอนนั้น
Mozilla Foundation ออกซอพท์แวร์ถึง 3 ตัวพร้อมกัน (พักหลังรู้สึกชอบทำอย่างนี้) นั่นคือ Firefox 1.0PR, Thunderbird 0.8 และ Mozilla Suite 1.7.3
Mozilla Suite 1.7.3 เป็นตัวแก้บั้ก Security เล็กน้อย ส่วน Thunderbird 0.8 นั้นเพิ่มความสามารถรวมเมลบ็อกซ์จากหลายแอคเคาท์ไว้ในบ็อกซ์เดียวกัน และสามารถอ่าน RSS Feed ได้แล้ว (ต่อไปก็ไม่ต้องลง RSS Reader แล้ว ใช้ Thunderbird ตัวเดียวก็พอทั้ง Mail, News และ Feed)
GNOME 2.8 ที่จะออกอยู่รอมร่อแล้ว มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทำให้ชีวิตของผู้ใช้ง่ายขึ้น เช่น GNOME Volume Manager ที่เสียบแฟลชไดรว์หรือกล้องดิจิทัลแล้วใช้ได้ทันที (ไม่ต้องเมาท์) หรือ Evolution 2.0 ซึ่งมีฟีเจอร์ใกล้เคียงกับ Outlook ทาง ZDNet มีสัมภาษณ์ Jeff Waugh หัวหน้าโครงการ
Waugh ให้ความเห็นถึงเรื่องที่มีเสียงวิจารณ์ว่า GNOME เลียนแบบวินโดว์ว่า GNOME มีบางฟีเจอร์เท่านั้นที่ทำตามวินโดว์ ใน GNOME รุ่นต่อๆ ไปมีเป้าหมายที่จะเทียบชั้นกับ MAC OSX ต่างหาก
สงครามระหว่างเว็บพอร์ทัล เริ่มจะย้ายเข้ามาสู่สมรภูมิใหม่อีกแล้ว สมรภูมินี้คือ Digital Music
เรื่องนี้ไม่มีแหล่งข่าวครับ มาจากการคาดเดาล้วนๆ ว่า ปีหน้า 2005 เราอาจจะได้ใช้ IE7 กัน
IE6 ออกมาพร้อมกับวินโดว์ XP ในปี 2001 ตอนนี้ก็ค่อนปี 2004 นับอายุก็ได้จะสามปีแล้ว กลายเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างจะล้าหลังในปัจจุบัน แถมยิ่งคู่แข่งอย่าง Firefox กับ Opera ก็พัฒนาตลอด ส่วนแบ่งตลาดโตวันโตคืน ไมโครซอพท์จะนิ่งนอนใจคิดว่ามีส่วนแบ่งกว่า 80% แล้วไม่ทำอะไรงั้นหรือ
วันนี้ทางบริษัททรีคอมผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์ครายใหญ่ได้เปิดตัวเราท์เตอร์อีกสองรุ่นคือ 6040 และ 6080 โดยทั้งสองรุ่นออกมาเพื่อการแข่งขันกับเราท์เตอร์ของซิสโก้โดยเฉพาะ
งานนี้ทางซิสโก้ออกมาให้สัมภาษย์ว่าทางซิสโก้ไม่ได้กังวลอะไรกับการบุกตลาดครั้งใหม่ของทรีคอม เนื่องจากทางซิสโก้มั่นใจในความแข่งแกร่งของเทคโนโลยี ตัวแทนจำหน่าย และการให้บริการของตนดี
การบุกตลาดครั้งนี้ของทางทรีคอมนั้น อาจจะเป็นการตอบโต้ทางซิสโก้ที่ไปบุกตลาดล่างที่ทางทรีคอมได้ครองส่วนแบ่งอยู่จำนวนมาก โดยในปีที่แล้วทางซิสโก้ก็ได้เข้าซื้อกิจการลิงค์ซิสซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์คขนาดเล็กไป
คงสังเกตกันมั่งใช่ไหมครับว่าฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊คนั้นมาตันที่ 60 กิกกะไบต์กันอยู่นานแล้ว อาจจะเป็นเพราะผู้ผชิตพยายามไปพัฒนาฮาร์ดดิสสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ตั้งแต่เครื่องเล่น MP3 กล้องดิจิตอลและมือถือกันอยู่
แต่วันนี้ทางฮิตาชิก็ได้ฤกษ์เปิดตัวฮาร์ดดิสโน๊ตบุ๊คตัวใหม่ที่มีความจุถึง 100 กิกกะไบต์กันแล้วครับ โดยเปิดตัวมาสองรุ่นคือ 5K100 และ E5K100 โดยทางฮิตาชิกล่าวว่ารุ่น E5K100 นั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องเข้าถึงข้อมูลมากๆ แต่ไม่ได้กล่าวถึงความต่างเชิงเทคนิคไว้แต่อย่างใด
เตรียมขนหัวลุกกันได้เร็วๆ นี้กับไวรัสพูดได้ที่เพิ่งพบเมื่อวานนี้
ไวรัสหนอนอะมูส (Amus) คาดว่ามีต้นกำเนิดจากประเทศตุรกี ได้ใช้ความสามารถในการอ่านหน้าจอของวินโดว์เอ็กซ์พี ในการสร้างเสียงพูดเพื่อแสดงตัวในคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสนี้
ไวรัสนี้มากับอีเมลที่มีหัวข้อว่า Listen and Smile โดยเมื่อติดไวรัสนี้แล้วเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ ไว้รัสจะสร้างเสียงพูดที่กล่าวข้อความแนะนำตัวพร้อมกับขู่ว่ามันกำลังมองเราอยู่ พร้อมกับพยายามทำลายไฟล์บางส่วนในเครื่อง
ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมามีข่าวเรื่อง Sender ID มาสร้างความวุ่นวายให้กับโลกเน็ตเวร์คมากพอดูทีเดียว
เรื่องของเรื่องก็ไม่มีอะไรมากครับ ปัญหามันเริ่มจากที่ไมโครซอฟท์ต้องการระบบการกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพสูงๆ สุดท้ายก็มาลงตัวที่เรื่องของให้มี Sender ID หรือ ซึ่งก็คือระบบการกรองเมลผ่านทางเครื่องที่เป็นผู้ส่งเมลนั้นจริงๆ
วันนี้สำนักข่าว C|NET รายงานถึงการอัปเกรดครั้งใหญ่ของผลิตภัณฑ์ เราเตอร์ (Router) ของบริษัท Cisco โดยเราเตอร์ที่ออกใหม่ทั้งสามรุ่นได้แก่ 1800 2800 และ 3800 นั้น จะมีการเพิ่มความสามารถด้านความปลอดภัยและการรองรับ VoIP เข้าไว้ในตัวด้วย
เราเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์หลักที่ขับเคลื่อนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้ โดยมีเป็นตัวตัดสินเส้นทางของข้อมูลว่าควรเดินทางไปในทางใด ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ในโลกของเน็ตเวิร์ค และอินเทอร์เน็ต
ไม่รู้มีใครสังเกตรึเปล่าว่า Pentium 4 ติดอยู่ที่ 3 กิกะเฮิร์ตกว่าๆ มานานแล้ว ใช้แล้วครับ ต่อไป ตัวเลขความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่ใช่ประเด็นอีกแล้ว
หลังจากเอเอ็มดีปล่อย Athlon ที่ทำงานได้เร็วกว่ามา สามสี่ปีให้หลังก็เกิดสงครามที่เรียกว่า สงความสัญญาณนาฬิกา (Clock Race) เอเอ็มดีสู้ไม่ค่อยได้ ก็เอาเลข PR ออกมาสู้ และประกาศว่า ซีพียูดีไม่ดี ไม่ได้ดูที่คล็อกนะ ส่วนอินเทลก็ไม่สนใจ อัดสปีดต่อไป เพราะรู้ดีว่าผู้บริโภคจำนวนมาก ยังยึดติดกับเลขเมกะเฮิร์ตอยู่ ทำให้เป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาระหว่างสาวกของทั้งคู่ (ผมเดิมสาวกเอเอ็มดี ตอนนี้สาวกไอบีเอ็มแทนครับ อิๆ)
Transmeta บริษัทผลิตซีพียูประหยัดพลังงาน (ลินุส ทอร์วัลด์ก็เคยทำงานที่นี่) ได้ประกาศเปิดตัวซีพียูตัวใหม่ ้นEfficeon TM8800 ที่ใช้เทคโนโลยีขนาด 90 นาโนเมตร
ข่าวคร่าวๆ คือ ตอนนี้ Konqueror สามารถใช้ Gecko Engine ได้แล้ว รายละเอียดยาวๆ อ่านต่อครับ
สำหรับคนที่ไม่ใช้ลินุกซ์ ต้องอธิบายก่อนว่า Konqueror เป็น File Manager/Browser อย่างเป็นทางการของ KDE (สองอย่างรวมกันเหมือน Explorer ของ Windows ถ้าเป็น GNOME จะใช้ Nautilus เป็น File Manager และ Epiphany เป็น Web Browser ซึ่งพวกนี้สามารถเปลี่ยนได้ตามความชอบอยู่แล้วไม่บังคับ)
เป็นสไลด์ pdf โดยคุณ Colin Charles แนะนำฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Fedora Core 3 ที่กำลังจะออกครับ
ผมสรุปฟีเจอร์มาให้คร่าวๆ ดังนี้
ของใหม่
แพกเกจเอาออก
วันนี้เป็นวันแรกของงาน IDF (Intel Developer Forum) อินเทลก็ทำตามที่ตัวเองสัญญาไว้ตั้งแต่อาทิตย์ทีแล้วครับ คือเอา Dual-Core Processor ออกมาโชว์กันเสียที หลังจากถูก AMD แซงไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
ที่เอามาโชว์ในงานนี้ก็คือ Montecito มีมีแกนซีพียูถึงสองแกน และมีแคชระดับสามฝังในตัวถึง 24 เมกกะไบต์!!! และมีเทคโนโลยีฝังในตัวเพิ่มเติมอีกสองอย่างคือ Foxton ที่เป็นระบบจัดการพลังงานและ Pellston ที่เป็นตัวแก้ไขข้อมูลในแคชในกรณีที่เกิดความผิดพลาด
สำหรับรายละเอียดของเทคโนโลยีทั้งสองนั้นทางอินเทลยังไม่ได้เปิดเผยแต่อย่างใด
โซนี่เตรียมออก VAIO ราคาถูกในตลาดสหรัฐแล้ว หลังจากวางแบรนด์ของตัวเองอยู่ระดับสูงมาตลอด แต่ในช่วงหลังเราเริ่มเห็นของถูกแต่ดูหรู เช่น LG และ Samsung หลายชิ้น เช่น มอนิเตอร์หรือ lcd ทำให้ตลาดที่โซนี่เคยครองอยู่เริ่มหด โดย VAIO รุ่นของถูกจะมุ่งตลาดองค์กรระดับกลางและล่าง และใช้ชื่อที่ต่างออกไป คือ VAIO Business Professional Ars Techinca : Sony shakes up PC strategy Reuters : Sony Changes U.S. PC Strategy to Boost Share-Paper
Dell และ Gateway ผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ของสหรัฐได้เริ่มขายพีซีที่ไม่มีฟลอปปี้ไดรว์กันแล้ว หลังจากแอปเปิลเป็นรายแรกที่ถอดฟลอปปี้ไดรว์ออกไป ใน iMac ตัวแรกที่ขายตั้งแต่ปี 1998 ตอนนั้นแอปเปิลโดนวิจารณ์เยอะอยู่บ้าง แต่ปี 2004 นี้ ฟลอปปี้ก็แทบไม่จำเป็นจริงๆ ด้วยการอุดช่องว่างด้านความจุด้วย CD-RW และอุดช่องว่างเรื่องความสะดวกด้วยแฟลชไดรว์ช่วงปีสองปีหลัง
Yahoo! บอกว่า ฟลอปปี้กำลังดำเนินตามรอยของม้าเมื่อมีรถยนต์เกิดขึ้น นั่นคือมันยังมีอยู่ เพียงแต่ไม่สำคัญเหมือนเดิมอีกแล้ว ผู้ซื้อพีซีของเกตเวย์ต้องจ่ายเพิ่มอีก 10-20 เหรียญเพื่อเพิ่มฟลอปปี้ไดรว์เข้ามา (ราคาก็พอๆ กับบ้านเรา ประมาณสี่ร้อยบาท)
ประเด็นน่าปวดหัวในช่วงนี้เกิดขึ้น จากการพัฒนาการของซีพียูในช่วงนี้ที่นิยมการพัฒนาให้มีแกนซีพียูอยู่ถึงสองชุดในชิปเดียวกัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้โดยไม่ต้องไปเพิ่มความถี่กันแบบบ้าเลือดเหมือนเมื่อก่อน
แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อมีคนถามว่า แล้วไอ้ซอฟท์แวร์แพงๆ ที่ขายกันเป็นราคาตามจำนวนซีพียูล่ะ จะคิดราคากันยังไง?
ซอฟท์แวร์ที่ขายแบบคิดเงินตามจำนวนซีพียูนั้น มีมากมายโดยเฉพาะในตลาดงานระดับองค์กรณ์ เช่น Oracle, RedHat, Microsoft SQL server
ยังจำ Deep Blue เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเล่นหมากรุกแล้วชนะคาปารอฟ มือหนึ่งของโลกกันรึเปล่าครับ หลังจากที่ IBM ประสบความสำเร็จจากคอมพิวเตอร์ตัวนี้แล้ว ก็ได้สร้างรุ่นลูกของมันขึ้นมาคือ Blue Gene และจากตอนนั้นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาก (อย่างเงียบเชียบ)
ถึงเมืองไทยจะยังซื้อไม่ได้ แต่กระแสซื้อเพลงออนไลน์ก็มาแรงมากในช่วงนี้ ผมเลยเรียบเรียงรีวิวจากเว็บเมืองนอกมาให้อ่านกัน
ข้อมูลหลักมาจาก BBspot Reviews: Digital Music Stores และข้อมูลอื่นๆ จาก CNET
คงคุ้นเคยกับ GMail กันมาบ้างจากสื่อต่างๆ GMail บริการอีเมลฟรีเนื้อที่ 1GB จาก Google ตอนนี้มีคนเขียนโปรแกรมให้เขียนบล็อกโดยใช้ GMail ได้แล้ว
theINQUIRER วันนี้หนังสือพิมพ์ Nihon Kaizai Shimbun ของญี่ปุ่นได้รายงานถึงความคืบหน้าของบริษัทมิตซูบิชิ (Misubishi - อันเดียวกับที่ผลิตรถนั่นล่ะครับ) ที่สามารถเร่งความเร็วในการตอบสนองการแสดงผลบนจอ LCD ได้เร็วขึ้นเป็นเท่าตัว
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าข้อเสียหลักของจอ LCD นั้นมีอยู่สองประการคือมุมมองภาพที่แคบ และการตอบสนองที่ช้า ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นผลเสียต่อการใช้งานจอ LCD ในด้านการบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมหรือการดูภาพยนต์ ทำให้คนบางกลุ่มยังคงยึดกับจอ CRT หรือข้ามไปใช้จอ Plasma แทนจอ LCD เนื่องจากข้อเสียดังกล่าว
X-Window ที่เราใช้ๆ กันอยู่บนลินุกซ์ทุกวันนี้ คือ X-Window ของโครงการ XFree86 เวอร์ชันท้ายสุดที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างคือ 4.3 แต่หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและองค์กรภายในค่อนข้างมาก ทำให้ XFree86 4.4 นั้นไม่ได้รับการยอมรับจากลินุกซ์ดิสโทรทั้งหลาย และก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาคือ X.Org และ X-Window ตัวใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมา
เผอิญผมอยู่ในสายนี้เหมือนกัน เปิดอ่าน Top500 ของ Super Computer ของโลกเราทุกวันนี้ฉบับเดือนมิถุนา 2004 เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างครับ
วันนี้จะขอแนะนำหนังสือกันสักเล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพี่เบิ้มแห่งวงการ IT ที่เราทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ อันดรูว์ โกรฟ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Intel บริษัทผู้ผชิตไมโครโพรเซสเซอร์อันดับหนึ่งของโลกนั่นเอง
การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับเสมอ เมื่อเวลาผ่านไป มันจะพัดเอาสิ่งต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปตามมันด้วย แต่ในโลกของ IT กระแสเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้รุนแรงกว่าโลกในยุคใดๆ ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างใรในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้