หลังจากที่รอมานาน นานมาก ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว AllPeers ก็เปิด Closed Beta โดยใช้ระบบ invite quota มาหลายเดือน ผมก็รอคิวมาหลายเดือนเช่นกัน ในที่สุดก็พึ่งได้ activate code เมื่อสองวันก่อน และเมื่อวาน AllPeers ก็อนุญาตให้ invite ได้ไม่จำกัด ถือว่าเป็นการเปิด Public Beta อย่างไม่เป็นทางการด้วยวิธีเดียวกับ Gmail
เห็นคุณ bact บอกซันประกาศแล้ว ก็เลยตามไปเก็บข่าวมาแปะให้
ซันประกาศกำหนดการเบื้องต้นมาแล้ว ซึ่งคาดว่าภายในตุลาคมปีนี้เราจะได้เห็นบางส่วนของจาวาในรูปแบบไลเซนส์โอเพ่นซอร์สกัน ข้อมูลส่วนแรกของ Java SE จะถูกปล่อยออกมาก่อนนั้น ประกอบไปด้วยตัวจาวาคอมไพเลอร์ (javac) และส่วนที่สองคือ HotSpot VM ทางซันเองคาดการว่าจะสามารถโอเพ่นซอร์สทั้งหมดได้ภายในกลางปีหน้า ส่วนกำหนดการทางด้าน Java ME คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปีนี้
ไหนๆเวอร์ชั่น 2.0 ก็โดนเลื่อนไปตั้งเดือนตุลาแล้ว แฟนๆ Firefox ก็อย่าเพิ่งน้อยใจไปครับ มีเหล่าแฟนๆ Firefox ที่อเมริกาเขาไปทำ crop circle เป็นรูปโลโก้ของ Firefox ไว้บนทุ่งข้าวโอ๊ตในเมืองชื่อ Amity รัฐโอเรกอน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 68 เมตร ใช้เวลาวางแผน 2 อาทิตย์ ใช้เวลาทำ 24 ชั่้วโมงโดยคน 12 คน แถมยังมีวีดีโอให้ดูด้วย
ที่มา - Neowin.net
กูเกิลได้ออกมาประกาศให้บริษัทที่ทำพจนานุกรมต่างๆ เปลี่่ยนความหมายของคำว่า "google" ซึ่งถูกนิยามว่าเป็นคำกริยา (v.) แปลว่า ค้นหา เช่น "to google someone" ซึ่งจะทำให้คำว่า "google" กลายเป็นคำกริยาที่ใช้กันทั่วไป ทำให้บริษัทเสียความเป็นเครื่องหมายการค้าของชื่อ Google ไป (เสียยี่ห้อ ว่างั้น)
ตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นที่เห็นได้ชัดๆคือคำว่า "Xerox (ซีร็อกซ์)" หรือที่เมืองนอกก็คำว่า "Kleenex (คลีเน็กซ์)"
แล้วทางแอปเปิ้ลก็กำลังออกมาปกป้องคำว่า "Pod" ด้วย เพราะหลายๆ บริษัทได้เอาไปใช้ในผลิตภัณฑ์ของตนกันจนเกร่อ
ปัญหาอย่างหนึ่งในวันนี้ของลินุกซ์อาจจะเป็นการที่มันไม่รองรับไฟล์เพลงที่มีสิทธิบัตร เช่น ไฟล์ MP3 หรือไฟล์ WMV อย่างที่เป็นข่าวในวันนี้ แต่ข้อจำกัดนี้อาจจะลดลงในอนาคตเมื่อทาง RealNetwork ประกาศเตรียมรองรับไฟล์ WMV ใน RealPlayer รุ่นลินุกซ์
พร้อมๆ กับข่าวนี้ทางโนเวลก็ประกาศรวม RealPlayer ไว้ใน SUSE รุ่นต่อไปด้วยเช่นกันทำให้ SUSE รุ่นต่อไปเล่นไฟล์ WMV ได้ทันที
เริ่มเกลียด WMV ก็ตอนเจอมันในซีดีที่ซื้อมาเนี่ยแหละ...
ที่มา - ArsTechnica
หลังๆ อาจจะเห็นข่าวปัญหาวิดีโอใน YouTube ละเมิดลิขสิทธิ์ค่อนข้างเยอะ แต่ด้วยยอดคนเข้าถล่มทลาย (ให้โหลดวิดีโอวันละ 50 ล้านตอน, คนเข้าเดือนละ 13 ล้าน) ทำให้บรรดาค่ายเพลงทั้งหลายยอม YouTube ไปก่อน
ฝั่ง YouTube ก็เตรียมแก้ปัญหานี้อย่างยิ่งใหญ่ โดยการประกาศว่าจะเก็บมิวสิควิดีโอทั้งหมดที่มีมา (to have every music video ever created up on YouTube) ภายใน 12-18 เดือน ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับค่ายเพลงต่างๆ
ต่อไปเวลาอ้างถึงมิวสิคเพลงไหน ก็ YouTube!
ที่มา - Ars Technica
จากข่าวเก่า Lenovo เตรียมรองรับ SLED 10 โดยการพรีโหลดมากับ T60p ปรากฎว่าเอาเข้าจริงแล้วไม่ได้พรีโหลดตามที่เข้าใจกัน
Lenovo เปิดเผยในงาน LinuxWorld ว่า T60p นั้นจะวางขายแบบ "blank hard disk." คือไม่ลงอะไรมาให้เลย ในกรณีที่ผู้ใช้ลงวินโดวส์ก็คงไม่ต้องพูดถึง แต่ถ้าต้องการลง SLED 10 ก็จำเป็นต้องซื้อกับทาง Novell ในราคาชุดละ 50 เหรียญ จากนั้นผู้ใช้จึงจะมีสิทธิ์ดาวน์โหลดไดรเวอร์ต่างๆ ของ T60p ได้ ซึ่งรวมถึงยูทิลลิตี้ตระกูล ThinkPad ด้วย
ทางเว็บไซต์ System76 แจกสติกเกอร์อูบุนตูครับ กฏิกาก็คือส่งจดหมายจ่าหน้าซองถึงตัวเองไป ผมอยากจะขอไปอยู่เหมือนกัน แต่ไมรู้ว่าต้องติดแสตมป์เท่าไหร่ ปล.ผมเองแจกอยู่เหมือนกันที่ ubuntuclub.com (แต่อาจไม่สวยเท่าที่ system76 เท่าไหร่)
ที่มา - Ubuntu Fridge, System 76
Gentoo distro เริ่มก้าวแรกสำหรับการพอร์ตไปลงบน Cell architecture แต่เรื่องนี้ยังอีกไกล (มาก)
ในขณะนี้ มีเพืยงเครื่องมือสำหรับ cross development และ simulator
การพัฒนายังไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับ hardware หรือเกมคอนโซลใดๆ
ที่มา - Gentoo Linux Newsletter
เพื่อเป็นการตอบโต้ Xeon Woodcrest ทางฝั่ง AMD ก็ได้เปิดตัว Opteron รุ่นใหม่ แถมยังใช้ระบบตัวเลขรุ่นแบบใหม่ 4 ตัว แทน 3 ตัวแบบเดิมด้วย
Opteron ใหม่ชุดแรกจะมี 3 แบบ คือ ตระกูล 1200 สำหรับซ็อกเก็ต AM2 และ 2200 กับ 8200 สำหรับซ็อกเก็ต F ทางด้านฟีเจอร์ใหม่ๆ ก็สนับสนุนเทคโนโลยี virtualization ของ AMD เองที่ชื่อ Pacifica และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย Presidio รวมไปถึงเป็นซีพียูรุ่นแรกของ AMD ที่สนับสนุน DDR2 ในแร็คของเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้ AMD ก็ยังสัญญาว่ารุ่นซ็อกเก็ต F จะสามารถอัพเกรดเป็น Opteron แบบ quad-core ที่จะออกมากลางปีหน้าได้เลย
หลังจากโชว์สภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไรใน WWDC 06 ข่าวลือว่าสตีฟ จ็อบส์ป่วยเป็นมะเร็งอีกรอบก็ตามมาแทบจะในทันที ซึ่งโฆษกของแอปเปิลได้ออกมาแถลงแล้วว่าข่าวนี้ไม่จริงแต่อย่างใดครับ "Steve's health is robust" ซึ่งทาง InformationWeek เองก็ได้แอบแซวว่าอาจเป็นข่าวลือแกล้งปล่อยจากทีมงาน Zune ของไมโครซอฟท์ก็เป็นได้
ที่มา - InformationWeek
UNDP, IOSN, NECTEC ร่วมกันจัดฟรีเทรนนิ่งสำหรับผู้สนใจสอบ LPI Certificate ครั้งแรกในประเทศไทย
ถึงจะไม่ใช่ Podcast ของ Blognone โดยตรง แต่ก็เป็น Podcast ที่ผมมีส่วนร่วมด้วย (เรียกเท่ๆ ก็เป็น producer) ดังนั้นมีคำติชมอะไร หรือตอนหน้าอยากฟังเรื่องไหนก็เต็มที่เลยครับ
ให้เครดิตโปรแกรมที่ใช้ทำคือ Audacity ส่วนถ้าใครรับผ่าน Feed ก็เอาได้ที่ FeedBurner
ที่มา - The Open Source Podcast #1
หลังจากโดยสังคมภายนอกกดดันให้ซันปล่อยซอร์สโค้ดของจาวาอย่างหนัก ซันก็เริ่มกระบวนการเปิดซอร์สโค้ดของจาวาออกมาเรื่อยๆ โดยโมดูลแรกจะเป็น J2ME ที่เป็นจาวาสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่นมือถือ หรือพีดีเอ
ยังไม่มีการประกาศว่าซันจะใช้ไลเซนส์แบบใดกับซอร์สที่จะปล่อยออกมานี้ ที่น่ากลัวคือสุดท้ายซันอาจจะปล่อยซอร์สโค้ดออกมาเป็น CDDL ของซันเองเหมือนเมื่อก่อนทำให้สุดท้ายแล้วโลกโอเพนซอร์สก็ยังไม่ยอมรับกันอยู่ดี
เมื่อหลายเดือนก่อนเราหลายๆ คนอาจจะได้เห็นบริการค้นหาข้อมูลจากภาพอย่าง Riya.com ที่ให้บริการค้นหาใบหน้าของคนในภาพ แต่หลังจากนี้ไม่นานเราอาจจะได้เห็นบริการแบบเดียวกันจากกูเกิล เพราะในวันนี้กูเกิลได้ตกลงเข้าซื้อบริษัท Neven Vision ที่พัฒนาเทคโนโลยีในการดึงข้อมูลจากภาพ และอาจจะขยายไปถึงการค้นหาสิ่งของและสถานที่จากภาพ เช่นในวันหนึ่งเราอาจจะค้นหาคำว่า "แจกัน" แล้วภาพแจกันก็แสดงออกมาได้อย่างแม่นยำ
ก่อนหน้านี้กูเกิลเคยแสดงความสนใจที่จะเข้าซื้อ Riya.com มาก่อนแล้ว แต่การซื้อดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
ตามข่าวจาก fridge รายงานมาว่าใน Ubuntu Edgy มีความสามารถในการแจ้งการแครชของโปรแกรมโดยอัตโนมัติแล้ว ถ้านึกไม่ออกให้ลองนึกถึงวินโดวส์ที่เวลาใช้งานโปรแกรมอยู่ แล้วพอโปรแกรมมันตายเราจะพบกับกล่องอะไรไม่รู้แล้วเราจะกด Don't send คิดว่าคงประมาณเดียวกัน โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าจะทำให้แก้ปัญหาของโปรแกรมต่างๆได้รวดเร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ดีการรายงานบั๊กเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดการแครชของโปรแกรมนั้นยังคงต้องมีต่อไป เช่น การแปลข้อความในโปรแกรมที่ผิด หรือปัญหาอื่นๆ ที่ระบบแจ้งการแครชอัติโนมัติไม่รู้
ใครรอไอพ็อดรุ่นใหม่แล้วผิดหวัง งานหน้าอาจจะไม่ต้องผิดหวังซ้ำสอง เพราะวันนี้ทางซีเกตต์ก็ออกมาเปิดตัวฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่กับเรียบร้อยแล้ว กับฮาร์ดดิสก์ขนาด 1.8 นิ้วที่มีความจุถึง 120 กิกะไบต์ งานนี้แม้จะยังไม่มีการยืนยันจากทางแอปเปิลว่าจะมีการซื้อไปใส่ไอพ็อดหรือไม่ แต่ที่ผ่านมาแอปเปิลก็ยังไม่ค่อยพลาดการอัพเกรดเช่นนี้กันเท่าใหร่
ผมว่าเอามาใส่โน้ตบุ๊กก็ดีนะ น่าจะลดน้ำหนักไปได้เยอะเลย
ทีี่มา - PC Exposure
หลังจากเกิดระเบิดไปหลายครั้ง เดลล์ก็ออกมายอมรับว่ามีความบกพร่องในแบตเตอรี่ในโน้ตบุ๊กที่ส่งมอบให้กับลูกค้ากว่าสี่ล้านชุด และกำลังมีโครงการที่จะเรียกคืนทั้งหมดเริ่มตั้งแต่วันนี้
แบตเตอรี่ที่ถูกตรวจพบว่ามีปัญหานี้ถูกส่งมอบตั้งแต่ช่วงเมษายนปี 2004 มาจนถึงเดือนที่แล้ว โดยแบตเตอรี่ที่พบปัญหานี้เป็นแบตเตอรี่ที่ผลิตโดยบริษัทโซนี่ ในโครงการนี้ทางโซนี่จึงออกมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกับทางเดลล์ตามระเบียบ
พอดีมีเรื่องจำเป็นต้องจัดการกับรูปภาพนิดหน่อย ดูเหมือนงานจะง่ายๆ แต่ออกจะกินแรงอยู่ไม่น้อย ปัญหาคือว่า มีรูปขนาด 13500 x 13500 pixel อยู่รูปหนึ่ง ต้องการหั่นเป็นรูปย่อยๆ รูปละ 1350 x 900 ดังนั้นก็จะได้รูปออกมา 10 x 15 = 150 รูป นอกจากนี้แต่ละรูป จะต้องใส่ขอบขาวเข้าไปด้านขวา และใส่ตัวเลขเข้าไปเพื่อบอกว่าเป็นรูปหมายเลขที่เท่าไหร่ โดยเป็นตัวเลขสองตัว ตั้งแต่รูปซ้ายบนสุด (0,0) จนถึงขวาล่างสุด (9, 14) เพื่อที่จะเอารูปไปอัดจากร้าน แล้วเอามาเรียงกลับเป็นอย่างเดิมทีหลังได้โดยไม่งง
ซัมซุงประกาศว่าสามารถผลิตจอ LCD ขนาด 3 นิ้วที่มีความละเอียดระดับ VGA (640x480) ซึ่งจะกลายเป็นก้าวกระโดดสำคัญอีกครั้งของอุตสาหกรรมกล้องดิจิทัล เพราะปัจจุุบันนี้ LCD ขนาด 3 นิ้วที่ใช้ในกล้องดิจิทัล มีความละเอียดสูงสุดแค่ 320x240 เท่านั้น นอกจากจะได้ดูภาพที่ละเอียดขึ้นจากกล้องแล้ว จอแบบใหม่ยังช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้น เนื่องจากอินเทอร์เฟซระหว่างกล้องกับจอทำงานที่ 30 MHz เทียบกับ 60 MHz ของ LCD ปกติ
ซัมซุงจะเปิดตัวจอใหม่ในงาน IMID 2006 ที่เกาหลี วันที่ 23 สิงหาคมนี้ และจะเริ่มผลิตจริงในปี 2007
ไมโครซอฟท์เริ่มบุกตลาดบล็อกหนักมากขึ้น หลังจากเพิ่มความสามารถเขียนบล็อกจาก Word 2007 ไปแล้ว ก็ได้ออกโปรแกรมเขียนบล็อกแบบ WYSIWYG แยกต่างหากให้ดาวน์โหลดฟรี ในชื่อ Windows Live Writer
ถ้าดูหน้าตาจาก screenshot จะเห็นว่ามันคล้ายๆ Word 2003 มี task pane แบบเดียวกัน ความสามารถก็เป็น WYSIWYG ทั่วไป นอกจากใช้ได้กับ Windows Live Spaces แล้ว ก็ยังใช้ได้กับบล็อกอื่นๆ ที่ใช้ Metaweblog API, Movable Type API และ RSD (Really Simple Discoverability) อีกด้วย
จากข่าวเก่า อินเทลโอเพนซอร์สไดรเวอร์ชิปกราฟิก ซึ่งทำให้ชาวบ้านสรรเสริญอินเทลกันทั่วหน้า แต่เอาเข้าจริงแล้ว ไม่ทุกโมดูลของไดรเวอร์ที่โอเพนซอร์ส โดย Keith Packard ได้ตอบประเด็นเรื่องนี้ในเมลลิ่งลิสต์ของเคอร์เนลว่า สิ่งที่ไม่ได้ให้ซอร์สมาด้วย (มีแต่ไบนารี) คือส่วนที่เรียกว่า Macrovision ซึ่งอินเทลติดปัญหาเรื่องความลับทางการค้า อย่างไรก็ตามตัวไดรเวอร์สามารถทำงานได้อย่างปกติ ถ้าผู้ใช้ไม่ต้องการเรียกใช้โมดูลนี้
ปฏิกิริยาของชุมชนแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝ่ายแรกโกรธที่อินเทลโกหก ส่วนอีกฝั่งบอกว่าเข้าใจเงื่อนไขของอินเทล และเปิดแค่นี้ก็ดีถมเถแล้ว
พี่ชายอย่าง Firefox แตะหลัก 200 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว ถึงคราวน้องคนที่สอง Thunderbird แสดงตัวเลขประสบความสำเร็จบ้าง นับจากวันที่ออกรุ่น 1.0 ต้นเดือนธันวาคม 2004 ตอนนี้มีคนดาวน์โหลดไปแล้วเกิน 30 ล้านชุด
(ตัวเลขย่อมน้อยกว่า Firefox เยอะ เพราะโปรแกรมอีเมลไม่ใช่ของสามัญประจำบ้านเหมือนเบราว์เซอร์นี่นา)
ที่มา - The Rumbling Edge
หลังปะทะคารมกันมาได้ซักพักใหญ่ ค่าย Virtualization ใหญ่ทั้งสองค่ายคือ VMWare และ XenSource ก็ได้ข้อยุติในเรื่องการทำงานของ Hypervisor ข้ามค่าย
มีสุดยอดคนหัวใสเขียนโปรแกรมดัดแปลงโทรศัพท์มือถือ (ในบทความเป็น Nokia 6230i) ให้เป็นเมาส์ แถมยังเป็นเมาส์ Bluetooth/Optical อีกตะหาก
กลไกการทำงานไม่มีอะไรยากครับ ใช้กล้องของมือถือเป็นเหมือนตัวเซนเซอร์ ส่งข้อมูลกลับไปยังพีซีด้วย Bluetooth ตัวโปรแกรมเป็น Java ปกติ ที่เท่คือดึงภาพหน้าจอพีซีมาแสดงบนจอโทรศัพท์ได้ด้วย
ที่มา - Slashdot