บริษัท iSuppli แถลงรายงานการสำรวจของบริษัทว่ายอดขายเครื่องเล่น MP3 จะเติบโตอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนถึง 132 ล้านหน่วยในปี 2009 แม้การแถลงนี้จะอ้างอิงไม่ได้มากเนื่องจากเป็นการคาดการระยะยาวก็ตาม แต่การที่บริษัทวิจัยออกรายงานมาอย่างนี้ก็น่าจะทำให้หุ้นของแอปเปิลโดดขึ้นไปอีกไกลทีเดียว
ในรายงานยังมีการแนะนำผู้ผลิตอีกด้วยว่าไม่ควรใส่ความสามารถให้กับสินค้ามากเกินไป เนื่องจากสิ่งที่ผุ้ซื้อต้องการมักเป็นความเรียบง่าย และหรูหรามากกว่า
Yahoo! ประกาศว่าวันที่ 29 มีนาที่จะถึงนี้ ยาฮูจะเปิดบริการ 360 บริการที่ครอบคลุม ตั้งแต่บล็อกไปจนถึงการสื่อสารต่างๆ
เนื่องจากบริการนี้ยังไม่เปิด รายละเอียดจึงยังไม่มากนัก แต่คาดว่าบริการของ Yahoo! นั้นก็คงไม่ต่างอะไรกับ MSN Space ของไมโครซอฟท์มากมายนัก
น่าสงสัยว่าการเปิดบริการนี้จะสามารถกดดันให้กูเกิลเปิดบริการข้อความแบบ MSN Messenger มาแข่งได้หรือไม่ เพราะเป็นส่วนที่กูเกิลขาดอยู่ในการให้บริการที่ครอบคลุม แม้ว่าจะมีพันธมิตรอย่้าง Hello อยู่แล้วก็ตาม เพราะในตอนนี้ทั้ง MSN และ Yahoo! เอง ก็มีบริการในทุกส่วนตั้งแต่ IM e-Mail ตลอดจนเว็บไปจนหมดแล้ว
หลังจากจาวาเสนอแนวคิดของอิสระจากระบบปฏิบัติการ (คือเขียนบนระบบปฏิบัติการไหนก็ได้ รันที่ไหนก็ได้) ไมโครซอพท์ได้ก้าวต่อไปอีกขั้นด้วยแนวคิดอิสระจากภาษา (ทุกภาษาใน .NET ใช้ไลบรารีชุดเดียวกัน ดังนั้นไม่มีปัญหาถ้าบางส่วนของโปรแกรมจะเป็นคนละภาษากัน) ซึ่งแนวคิด .NET นี้ก็ต้องแลกมาด้วยการทิ้งไลบรารีชุดเดิมๆ ไปทั้งหมดเพื่อมาใช้ .NET Library ภาษาใหม่อย่าง C# ก็คงไม่มีปัญหา แต่ C++ กับ VB ล่ะ ในเมื่อคนใช้ VB6 ที่ไม่ใช่ VB.NET มีตั้ง 3 ล้านกว่าคน
หลังจากยืนยันใช้เมาส์ปุ่มเดียวมาหลายสิบปี แต่การออก Mac mini เพื่อดึงคนเคยใช้พีซีย้ายมาใช้แมค อาจทำให้แอปเปิลต้องเปลี่ยนใจ และมีข่าวลือว่า Apple Mouse แบบสองปุ่มกำลังจะวางขาย
โดยส่วนตัวผมใช้พีซีมาก่อนแมค และก็พบว่าใช้เมาส์สองปุ่มนี่ล่ะครับดีที่สุดแล้ว ซื้อถูกๆ ตามพันธุ์ทิพย์ เสียแล้วทิ้ง คุ้มกว่าลงทุนซื้อเมาส์แอปเปิลแสนแพงแถมมีปุ่มเดียวด้วย
Apple Insider: Apple developing updated AirPorts, two-button mouse
Hakon Wium Lie CTO ของ Opera ผู้ผลิตเบราว์เซอร์อีกเจ้า ท้าให้ทีมพัฒนา IE7 ของไมโครซอพท์ ทดสอบผลการเรนเดอร์เว็บเพจให้ได้ตามมาตรฐาน W3C ผ่านชุดทดสอบที่ชื่อว่า Acid Test 2 ที่ Web Standards Project จะเป็นสปอนเซอร์ในการพัฒนา Acid Test 1 เดิมนั้นเป็นชุดทดสอบว่าบราวเซอร์สามารถแสดงผล CSS 1 ได้ถูกต้องหรือไม่ สำหรับ Acid Test 2 เป็นการทดสอบสำหรับมาตรฐานที่ออกมาหลังจากนั้น ซึ่ง IE6 ยังไม่สนับสนุนแม้แต่ CSS 2 เลย (ตอนนี้บราวเซอร์ทุกตัวในตลาดสนับสนุนหมดแล้วครับ ยกเว้น IE เนี่ย)
ออกมาไล่ๆ กับ GNOME 2.10 เลยครับ แบบนี้เป็นผลดีต่อบรรดาดิสโทรที่มีทั้งสองตัว ออกทีเดียวจะได้ครบๆ เลย ฟีเจอร์ใหม่ๆ เน้นไปทาง Text-to-Speech และโปรแกรมที่มาทาง Accessibility (ช่วยเหลือคนพิการ) เช่น แว่นขยาย, เมาส์ อีกด้านหนึ่งที่เพิ่มความสามารถขึ้นมาก คือ ด้าน Groupware ที่โปรแกรมต่างๆ อย่าง Kontact หรือ Kopete เริ่มจะทำงานร่วมกันได้แล้ว ทำให้ชุดโปรแกรมด้าน Groupware ของ KDE ใกล้เคียงกับ Outlook ทีเดียว
ตอนนี้ชักเริ่มรู้สึกว่าออกเร็วดีนะครับ Core 3 ยังใช้ไม่ค่อยคุ้มเลย
มีอะไรใหม่บ้าง - Eclipse IDE รวมมาด้วย - Gcc 4.0 - Gnome 2.10 Beta - สารพัดชุดจาวาจาก Jakarta (tomcat, ant, gcj, ...)
ข่าว ส่วนมิเรอร์เมืองไทย ถ้าเนคเทคเอามาแล้วจะมาแจ้งให้ทราบครับ
จากที่เคยบอกว่าจะออก IE 7 โดยเน้นด้านความปลอดภัยเป็นหลัก ตอนนี้เริ่มมีข่าวรั่วออกมาบ้างแล้ว ที่สำคัญเลยคือ IE 7 จะมีแท็บครับ นอกจากนี้สนับสนุนโดเมนเนมภาษาต่างชาติ (International Domain Name) ,กราฟฟิก PNG แบบโปร่งใส (เมื่อก่อนทำไม่ได้), ตัวอ่าน RSS ในตัว และมีแนวโน้มว่าจะสนับสนุน CSS2 เสียที
ไม่อธิบายละกันครับ กดเข้าไปดูแล้วจะเข้าใจว่าทำไมชื่อนี้ ขำๆ Google X
ป.ล. ใครยังไม่มี Gmail ตอนนี้เปิดให้คนทั่วไปสมัครได้แล้วครับ
อินเทลมีแผนการพลิกโลกด้วยการ ใส่ส่วนคำนวณ MMX2 เข้าไปในชิป XScale ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอาร์ม โดยการใส่ส่วน MMX2 เข้าไปนี้จะทำให้มือถือรุ่นต่อๆไปที่รองรับส่วนคำนวณนี้ สามารถคำนวณด้านมัลติมีเดียทั้งหลายได้เร็วขึ้น และกินพลังงานน้อยลง
คนเคยใช้ปาล์มคงรู้กันดีว่าปาล์มนั้นประหยัดไฟดี หากเราไม่เอามันไปฟังเพลง ไม่อย่างนั้นแล้วแบตเตอรีที่ควรใช้ได้สักอาทิตย์ ก็จะเหลือครึ่งวัน ปัญหาอย่างนี้ในมือถือก็ไม่ต่างกันเท่าใหร่ การใส่ส่วนคำนวณเฉพาะทางลงไปจึงเป็นทางออกที่อินเทลเสนอมา
ชิปยังไม่ออก ยังไม่ต้องรีบเก็บเงินซื้อมือถือ......
บริษัทอิมาแซทประกาศความสำเร็จในการยิงดาวเทียมอิมาแซท-4 แล้วในวันนี้ โดยดาวเทียมดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อรองรับการสื่อสารแบบบรอดแบนด์โดยเฉพาะ โดยการใช้งานจะใช้ผ่านเครื่องรับ-ส่งสัญญาณขนาดประมาณเครื่องแลปทอป โดยสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ความเร็ว 432 กิโลบิตต่อวินาที
พื้นที่ให้บริการของดาวเทียมดวงนี้จะกินทวีปยุโรป แอฟริกา อินเดีย เอเชียแปซิฟิก ไปจนถึงฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย โดยบริษัทอิมาแซทมีโครงการจะยิงดาวเทียมรุ่นนี้อีกหนึ่งดวงเพื่อให้บริการบริเวณทวีปอเมริกาอีกด้วย
แ้ล้วไอพีสตาร์ล่ะ?
ไอบีเอ็มประกาศเม้าส์รุ่นใหม่ที่ช่วยให้คนบกพร่องในการควบคุมมือสามารถใช้งานเม้าส์ได้เช่นคนปรกติ โดยในเม้าส์ดังกล่าวจะมีโปรแกรมกรองสัญญาณแบบเดียวกับระบบกันภาพสั่นในกล้องวีดีโออยู่ ทำให้เม้าส์จะส่งสัญญาณตามที่ผู้ใช้ตั้งใจจะใส่เข้าไปเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้น่าจะมีประโยชน์กับคนพิการเป็นหลัก แต่น่านึกว่าเอามาใช้วาดภาพละเอียดๆ ที่ต้องรำคาญเวลามือสั่นก็น่าจะได้...
ราคาประมาณ 100 ดอลล่าห์ พอๆกับไมโครซอฟท์เม้าส์ยุคแรกๆ
AMD เปิดตัว Turion 64 (อ่านว่า ทัวริออน) เป็นแบรนด์ใหม่สำหรับซีพียูโน้ตบุ้ค มันก็คือ Mobile Athlon 64 นำมาเปลี่ยนชื่อล่ะครับ เพราะถึงแบรนด์ Athlon จะติดตลาดในเรื่องความแรง แต่ความร้อนก็ติดมาด้วย ทำให้ต้องมีแบรนด์ใหม่ที่ไม่ร้อนแรงเท่ามาชนกับ Centrino สเปกอ่านได้จากตารางเปรียบเทียบ ให้เล่าคร่าวๆ ก็คือ Turion 64 จะสเปกเหนือว่า Centrino Sonoma หน่อยเพราะได้อัพเป็น 64 บิตแล้ว (ในขณะที่อินเทลมีแผนจะอัพเกรด Centrino ให้ใช้ 64 บิตประมาณปลายปีนี้) มีแคช L1 1MB มากกว่า Sonoma แต่มี L2 น้อยกว่า (Sonoma ม
ผมว่านี่เป็นอีกสัญญาณที่บ่งบอกว่า โลกเราอีกห้าปีข้างหน้า จะมีแค่ไม่กี่สถาปัตยกรรมของซีพียูที่ยังเหลือรอดอยู่ได้ สถาปัตยกรรมที่ไม่ค่อยมีคนใช้จะเริ่มหายไป เนื่องจากไม่คุ้มกับการดูแลให้โปรแกรมใหม่ๆ ยังรันบนของเก่าได้ และนี่ก็ถึงคราวของ Debian ลินุกซ์ที่ได้ชื่อว่าสนับสนุนสถาปัตยกรรมเยอะมากตัวนึงแล้ว จากเดิมที่ Debian รันได้บนซีพียูถึง 11 ตระกูล คราวนี้เค้ามีแผนจะลดลงเหลือแค่ 4 ตระกูลหลัก อันได้แก่ x86 (Pentium/Celeron/Athlon/Duron), x86-64 (Athlon64/Opteron/Pentium 4 6xx) , PowerPC (Macintosh) และ IA-64 (Itanium) เท่านั้น
เมื่อก่อนไม่มีใครคิดว่ากราฟฟิคการ์ดจะมีความสำคัญขนาดนี้ จนกระทั่งการมาถึงของการ์ด Voodoo และกลายเป็น nVidia ที่ตอกย้ำความสำคัญด้วย GeForce และคิดคำว่า GPU ขึ้นมาเทียบเคียงกับ CPU ตอนนี้เรามีสิ่งที่น่าจะเป็นผู้สืบทอดของ GPU แล้วครับ สิ่งนั้นก็คือ Physics Processing Unit (PPU)
สินค้าดังๆ ของแอปเปิลอย่างไอพอดนั้นดูท่าจะเป็นเป้าหมายหลักของนักเลียนแบบกันอย่างหนักในช่วงหลังนี้ ล่าสุดในงานแสดงสินค้าระดับโลกอย่าง CeBit บริษัทไต้หวันที่ชื่อ Luxpro ก็ถูกขอให้นำเอาเครื่องเล่น MP3 รุ่น Super Shuffle ออกจากการแสดงแล้ว และแอปเปิลยังมีแผนจะดำเนินการทางกฏหมายต่อไปอีกด้วย
นอกจากชื่อรุ่นของสินค้าจะใกล้เคียงกันแล้ว ถ้าใครได้เห็นเครื่องเล่น MP3 ตัวนี้อาจจะถึงขั้นแยกไม่ออกทีเดียวว่ามันไม่ได้แปะยี่ห้อแอปเปิลอยู่ (ลองเข้าไปดูภาพได้ที่เว็บ LuxPro) โดยความแตกต่างของสินค้าตัวนี้มีเพียงความสามารถในการฟังวิทยุและการอัดเสียง
นินเทนโด รีโวลูชัน (Nintendo Revolution) ประกาศแล้วว่าจะใช้ชิปกราฟฟิคจากทางเอทีไอ (ATI) แต่ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ แต่อย่างใด
รีโวลูชัน เป็นไม้เด็ดของนินเทนโดที่ประกาศว่าจะเป็นการปฏิวัติวงการเกมอย่างสิ้นเชิง โดยถึงวันนี้ยังไม่มีการเปิดเผยหน้าตาของเครื่องที่ว่านี้แต่อย่างใด แต่การเลืิอกใช้เอทีไอก็ทำให้เอทีไอมีภาษีในตลาดเกมมากขึ้นอย่างชัดเจนทีเดียว ที่่มา Gaming Horizon - News - Nintendo Revolution Details & More
เรย์ ออสซี่ย์ (Ray Ozzie) ผู้นำทีมในการสร้างโปรแกรมชื่อดังอย่าง Lotus Notes ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์แล้วในวันนี้ โดยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเทคนิค (Chief Technical Officer - CTO) โดยก่อนหน้านี้ออสซี่ย์ทำงานอยู่ในบริษัทของตัวเองที่ชื่อว่า กรูฟ เน็ตเวิร์ค ซึ่งพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต
การเข้าทำงานครั้งนี้เป็นรูปแบบเดียวกับครั้งที่แอปเปิลเรียกตัวสตีฟ จ๊อปส์ กลับมาทำงานในแอปเปิล โดยพนักงานทั้งหมดของกรูฟเน็ตเวิร์คจะตามออสซี่ย์ เข้ามาทำงานในไมโครซอฟท์ในเวลาเดียวกัน
หลังจากหันมาปั้น Firefox และ Thunderbird จนแบรนด์ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ก็ได้เวลาที่ Mozilla Suite (โค้ดเนมว่า Seamonkey) จะต้องไปแล้วครับ เนื่องจาก Mozilla Foundation จะหันไปทุ่มเทกำลังคนให้กับ Firefox และ Thunderbird แทน ทำให้เวอร์ชัน 1.7.x จะเป็นรุ่นสุดท้ายของ Suite ส่วน 1.8 Alpha และ Beta ที่ออกมา จะถูกทิ้งไป
ซัมซุงโชว์มือถือรุ่นใหม่ในงาน CeBit ที่เมืองแฮนนูเวอร์ เยอรมันนี โดยมือถอืรุ่นดังกล่าวเพียบพร้อมไปด้วยกล้องความละเอียดสูง 7 เมกกะพิกเซล เท่านั้นยังไม่พอ มันยังสามารถเล่นเน็ตได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 14 เมกกะบิต
การส่งข้อมูลความเร็วสูงเช่นนี้ทำได้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ชื่อว่า high-speed downlink packet access (HSDPA) ซึ่งถูกจัดอยู่ในเทคโนโลยียุคที่ 3.5 โดยความเร็วที่ส่งได้นั้นทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพเ่ช่นทีวีปรกติเข้าสู่มือถือได้สบายๆ
อย่าเพิ่งเก็บเงินเพราะยังไม่วางขายในเร็วๆ นี้
แอปเปิลประกาศเข้าร่วมบอร์ดของสมาคมบลูเรย์แล้วในวันนี้ โดยกล่าวถึงเหตุผลว่าต้องการร่วมผลักดันการใช้ื่สื่อวีดีโอความละเอียดสูงด้วยเช่นกัน โดยลูกค้าของแอปเปิลก็เป็นกลุ่มที่จะใช้เทคโนโลยีนี้อย่างหนักอีกด้วย เช่นการใช้โปรแกรมตัดต่อภาพยนต์ต่างๆ ในเครื่องแอปเปิล
การเข้าร่วมครั้งนี้ชวนให้คิดได้ว่าแอปเปิลอาจจะใช้บลูเรย์ในเครื่องระดับสูงของแอปเปิลในอนาคต ซึ่งทำให้ฟอร์แมตอย่าง HD-DVD ดูจะหมดอนาคตลงไปทุกที
สะสมดีวีดีไว้เพียบเลย อีกหน่อยคงต้องซื้อใหม่เป็นบลูเรย์
ที่มา Macworld
ข่าวขำๆ ครับ ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้สร้างลินุกซ์เปิดเผยในเมลลิ่งลิสต์ว่าตอนนี้เค้าไม่ได้ใช้เครื่องที่เป็น x86 ในการทำงานแล้ว ดังนั้นไม่สามารถทดสอบแพตช์สำหรับ x86 เฉพาะเจาะจงได้ ผู้สื่อข่าวหัวไวของ ZDNet ก็เลยอีเมลไปถาม คำตอบที่ได้คือทอร์วัลด์หันมาใช้ PowerPC G5 2GHz แบบ dual ซึ่งเป็นเครื่องแมคธรรมดาที่หาซื้อได้ทั่วไปแทน (แต่ยังรันลินุกซ์อยู่นะไม่ได้ลง MacOSX) ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่าเค้ามองว่าอนาคตสถาปัตยกรรมสำคัญจะเหลือแค่สอง คือ Power และ x86-64 (ใน Opteron, Athlon64) ซึ่งสาย x86 คงมีคนช่วยทดสอบอยู่แล้ว เค้าจึงหันมาใช้ Power เพื่อที่จะได้ทดสอบส่วนนี้ได้สะดวกกว่านั่นเอง
หลังจากออก 9.2 มานานพอดู Novell ก็อัพเดต SuSE ลินุกซ์ยอดนิยมจากเยอรมันเป็นเวอร์ชัน 9.3 โดยสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ โปรแกรมค้นหาไฟล์ในเดสก์ทอปแบบ Metadata ที่ชื่อ Beagle (แบบเดียวกับ Google Desktop, Spotlight ใน MacOSX Tiger, WinFS) ผมเคยลองเอา Beagle มาลงแล้ว (อ่านได้ที่นี่) ก็ใช้งานค่อนข้างดีครับ แต่วิธีการลงยุ่งยากพอสมควร และคิดว่ารอดิสโทรลงมาให้แบบนี้จะง่ายกว่ากันเยอะ ซึ่ง Beagle นี้เป็นการพัฒนาของ Ximian อีกหนึ่งบริษัทลูกของ Novell และคิดว่าเราอาจไม่เห็นการรวมเอา Beagle เข้ามาในดิสโทรอื่นๆ นอกจา
ได้ฤกษ์ออกตัวจริงอย่างเป็นทางการ ฟีเจอร์ต่างๆ จะไม่เพิ่มจาก 2.8 มากนัก (เทียบกับตอน 2.2 เป็น 2.4) เพราะว่าหลังๆ GNOME หันมาใช้ตารางเวลาว่าครบ 6 เดือนจะออกตัวจริงที โดยไม่สนว่าฟีเจอร์ใหญ่ๆ จะเสร็จหรือไม่ เพื่อจะได้ควบคุมตารางการออกได้ครับ
ที่น่าสนใจคือ GNOME 2.10 มี Releases Note ภาคภาษาไทย แปลโดยคุณเทพพิทักษ์ให้อ่านกันด้วย รายการฟีเจอร์ผมก็เคยเขียนไว้แล้ว ตามไปอ่านได้เช่นกันครับ
รายละเอียดซีพียูของ XBox 2 เริ่มโผล่แล้วครับ เป็นซีพียูตระกูล PowerPC แบบ 64 บิตแบบ 3 Core วิ่งที่ตัวละ 3.0GHz ที่น่าตื่นเต้นคือมันมีความเป็นไปได้ว่า เจ้า PPC 64 บิตนี้อาจเป็นตัวเดียวที่ใช้ใน Cell (Cell ใช้ PPC อย่างไร ผมเขียนไว้แล้วในตอนเก่าๆ นะครับ) ดังนั้นไม่ว่า XBox2 กับ PS3 ใครจะแพ้ชนะอย่างไร คนรวยคือ IBM แน่นอน
นอกจากนี้ยังมีสเปกของการ์ดจอหรือ GPU อีกด้วย ซึ่งผู้ผลิตการ์ดจอให้กับ XBox 2 คือ ATI ระบุว่ามันจะมีความสามารถมากกว่า Radeon X800 (มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้นอยู่แล้วนะ) สนับสนุน Shader 3.0 และวิ่งที่ 500 MHz