มีการนำเสนอถึงภาษาฐานข้อมูลภาษาใหม่ที่จะมาใช้แทนภาษา SQL ที่เป็นที่นิยมที่สุดในตอนนี้ ชื่อว่าภาษา Tutorial D โดยภาษาดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นโดยบุคคลสองคนคือ Chris J Date และ Hugh Darwen โดยคนแรกคืออดีตผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูลของ IBM และคนหลังเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่องเกี่ยวกับอนาคตของฐานข้อมูล
ภาษา SQL ที่ใช้ในปัจจุบันนั้น แม้จะมีความสะดวกและเข้าใจง่ายอยู่มาก แต่นับว่ายังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องข้อมูลที่เป็น NULL หรือไม่มีการใส่ข้อมูลลงไปเลย ซึ่งมักทำให้ผลการประมวลข้อมูลผิดพลาดเอาได้บ่อยๆ
อินเทลประกาศว่าจะเปิดวิทยาลัยซอฟท์แวร์ในเมืองบังกะลอ ประเทศอินเดียในวันนี้ โดยวิทยาลัยดังกล่าวจะมุ่งเน้นเนื้อหาด้านซอฟท์แวร์แบติดตามตัว และซอฟท์แวร์เพื่อการคำนวณประสิทธิภาพสูง โดยผู้สอนจะมาจากทางทางอินเทลเองทั้งหมด
ปัจจุบันอินเดียนับว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง โดยมีบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน CMMI-5 ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดมากที่สุดในโลก
ที่มา Developer Pipeline
หลังจาก nVidia ลุยตลาดมาซักพักแล้วกับ nForce และค่อนข้างประสบความสำเร็จ ATI เลยเอาอย่างบ้าง หันมาทำชิปเซ็ตสำหรับ PCI Express ให้กับซีพียูฝั่ง AMD เพราะเห็นศักยภาพของ AMD ในตลาดเครื่องประกอบเอง และผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญ ชื่อของชิปเซตคือ RX480 ก็ต้องรอติดตามกันครับ ข่าวจาก Ars Technica เช่นเคย
ArsTechnica มีบทวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ว่าจะมี iPod 60GB พร้อมจอสี และฟีเจอร์ในการดูรูป!
สาเหตุมาจากโตชิบ้าประกาศความสำเร็จในการสร้างฮาร์ดดิสก์ขนาด 60GB แบบเดียวกับที่ใช้ใน iPod และมีคำสั่งซื้อจากแอปเปิลเรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน iPod ครองตลาดเครื่องเล่นเอ็มพีสามอยู่ 92% โตจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 82%
ตรงข้ามกับ VirtualPC ที่ให้ลงวินโดว์บนแมค CherryOS อ้างว่า สามารถทำให้พีซีรัน MaxOSX ได้เทียบเท่า G4 (ประมาณ 80% เทียบกับของจริง) พร้อมกับสนับสนุนฮาร์ดแวร์ครบครัน แต่ตัว CherryOS มีราคานะครับ 49.95$ ผมมีแมคใช้อยู่แล้วขออนุญาตไม่ลองละกัน อิๆ (ตัวเว็บไซท์ของ CherryOS แสดงทุกอย่างเป็นวิดีโอผ่านจาวา อาจโหลดช้าบ้างครับ)
สถานการณ์บราวเซอร์โลกวันนี้ครับ
อย่างแรกคือ AOL เตรียมเข็นบราวเซอร์ตัวใหม่ที่ใช้ IE Engine โดยจะเพิ่มความสามารถพวก Tab Browsing และ Popup Blocker ด้วย AOL เองเคยซื้อ Netscape และเป็นสปอนเซอร์โครงการ Mozilla (ปัจจุบันปล่อยเกาะ Mozilla แล้ว) แต่ยังใช้ IE มาตลอดเพราะมีเงื่อนไขกับไมโครซอพท์ว่า แลกกับการให้มี AOL อยู่ในวินโดว์ออกใหม่น่ะเอง ส่วนบราวเซอร์ตัวใหม่นี้จะไม่ผูกกับบริการของ AOL แต่อย่างใด (คือใครก็โหลดมาใช้ได้) สาเหตุก็คงมาจากว่า AOL เซ็งกับ Microsoft IE เต็มทนแล้ว ข่าว eWeek
SGI (Silicon Graphic เจ้าของคอมที่เรนเดอร์จูราสสิค พาร์ค) ออกสุดยอดโคตรคอมพิวเตอร์มาครับ SGI Prism ประกอบด้วย Itanium 2 16 ตัว และ ATI FireGL 4 ตัว รันลินุกซ์เพื่อทำงานด้าน Visualize ในอนาคต Prism จะอัดขึ้นไปให้ถึง 512 CPU และการ์ดจอ 16 ตัว แต่ละตัวทำงานที่ความละเอียด 3820x2480 โอ้ จะเอาไปทำอะไรกันมากมายเนี่ย ใน Press ของ SGI บอกว่ามันใช้สถาปัตยกรรมการแชร์หน่วยความจำ NUMAFlex ของ SGI เอง (NUMA เป็นชื่อเรียกสถาปัตยกรรมการแชร์แรมแบบนึ
Slashdot มีรายงานว่า Java 1.5 ที่เพิ่งออกมา ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวภาษาให้เท่าเทียม (หมายถึงในเชิงด้านการเขียนโปรแกรม, การประกาศ structure หรือลูป) เท่ากับ C# 2.0 ที่ล้ำมาก่อนนิดนึงแล้ว (เพราะจาวาไม่ได้อัพเดตใหญ่มานาน) ทำให้ผู้เขียนคิดว่า การที่องค์กรจะเลือกใช้โซลูชันระหว่างจาวากับ .NET ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ นอกจากตัวภาษา เช่น IDE และเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งตอนนี้ Visual Studio ก็ค่อนค้างเป็นต่อ Netbeans/Java Studio พอควร
แจ้งข่าวตามกำหนดครับ Fedora Core 3 Test 3 (คิดว่าคงเป็น Test สุดท้าย) ออกแล้วครับ ไว้รอตัวจริงออกเราจะมารีวิวกันอีกที
กลุ่มอุตสาหกรรมดนตรีและภาพยนต์ของอเมริกาได้เรียกร้องให้มีการทบทวนว่าโปรแกรมไฟช์แชรริ่งเป็นสิ่งถูกกฏหมายหรือไม่
การเรียกร้องต่อศาลกลางของสหรัฐอเมริกาคตรั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ปีที่แล้ว ผู้พิพากษาสตีเว่น วีลสันได้พิจารณาให้โปรแกรมไฟล์แชร์ริ่งไม่มีความผิดใดๆ เนื่องจากเป็นเพียงช่องทางที่ผู้คนจะส่งไฟล์หากันเท่านั้น โดยระบุว่าไม่ต่างไม่จากเครื่องอัดวีดีโอที่ทำให้คนเราคัดลอกข้อมูลได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเอง
จากรอยเตอร์ สาเหตุเป็นเพราะบ้านเค้ามีบรอดแบนด์กัน(เป็นชาติแล้ว) และคนเกาหลีก็ติดอินเทอร์เน็ตกันสุดๆ ทำให้การขายเพลงออนไลน์ มีผลทำให้ร้านขายแผ่นซีดีแบบดั้งเดิมต้องทยอยกันปิดตัว ส่วนบ้านเราที่บรอดแบนด์เพิ่งเริ่มจะถูก และยังไม่มีการขายเพลงออนไลน์ ก็ต้องรอกันอีกนาน
มีข่าวว่า Slackware อีกหนึ่งลินุกซ์ดิสโทรดั้งเดิมจะหยุดการสนับสนุน GNOME เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่าถึงเวลาต้องเลือกเดสก์ทอปเพียงตัวเดียว (แน่นอนว่าเป็น KDE) ตัวข่าวต้นฉบับเข้าไม่ได้แล้วครับ มีอะไรเปลี่ยนแปลงจะมาอัพเดตทีหลัง
สาเหตุที่ต้องเลือกเดสก์ทอปเพียงตัวเดียว ก็เพราะจะได้ลดค่าใช้จ่ายในการ support ลงนั่นเอง ลินุกซ์ตัวใหม่หลายๆ ตัวก็เลือก DE เพียงตัวเดียวกัน ส่วนมากมักเป็น KDE (มีแต่ UserLinux ที่ใช้ GNOME ด้วยเหตุผลทางด้านใบอนุญาต)
ลารี่ เอลลิสัน ซีอีโอของ Oracle ให้สัมภาษณ์เว็บไซท์ Always On สนับสนุนลินุกซ์ว่าเหมาะกับงาน Datacenter เ้พราะจัดการง่ายกว่า ปลอดภัยกว่า่ และเร็วกว่าเล็กน้อย แต่เขาโจมตี MySQL ว่ายังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอเทียบกับฐานข้อมูลของ Oracle
ก็ไม่ต้องแปลกใจครับ MySQL คงมีผลกระทบต่อยอดขายของ Oracle พอสมควร และบริษัทใหญ่อย่าง SAP เพิ่งประกาศให้การสนับสนุนไป คำตอบของเอลลิสันที่โจมตีคู่แข่งก็เป็นเรื่องปกติ ส่วนลินุกซ์นั้น เทรนด์การเติบโตในงานด้าน Data Center ก็เห็นได้ชัดเจนมานานแล้วครับ
ข่าวจาก OSNews ครับ ลินุกซ์สำหรับเดสก์ทอปองค์กรที่ออกมาแข่งกับ JDS ของซันโดยตรง Novell ได้เปิดเผย Screenshot แล้ว ซึ่งก็ไม่ค่อยน่าตื่นเต้นเท่าไรนักเพราะเป็น Ximian Gnome ที่เอาสัญลักษณ์ตัว N ของ Novell มาใส่แทนนั่นเอง สิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็มี YaST (Yet Another Setup Tool) ตัวปรับแต่งและติดตั้งชื่อดังจาก SuSE อีกหนึ่งในบริษัทลูกของ Novell นั่นเอง เอกสารเริ่มเปิดเผยในเว็บไซท์ของ Novell แล้ว สเปกขั้นต่ำต้องการเพนเทียม II แรม 128 และฮาร์ดดิสก์ 800 เมกครับ
VIA ประกาศแล้วในวันนี้ว่ากำลังเตรียมเปิดสายการผลิตชิป 64 บิต แบบใช้พลังงานต่ำ
ชิปดังกล่าวนั้นใช้ชุดคำสั่งร่วมกับออปเทอรอนของเอเอ็มดีได้ครับ ก็เลยวางใจได้ว่าจะไม่มีรรายการแตกแถว แต่จริงๆแล้ว VIA เองเป็นผู้ครองตลาดเพียงส่วนน้อย การที่ใช้ชุดคำสั่งของเอเอ็มดีก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
VIA นั้นในช่วงหลังๆ แล้วลงไปเล่นตลาดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมากเป็ส่วนใหญ่ครับ โดยชิปส่วนใหญ่จะเน้นที่ประหยัดพลังงาน และบอร์ดรวมของระบบมีขนาดเล็ก ซึ่งก็ดูดีทีเดียว เพราะสามารถนำมาใช้ในงานเฉพาะด้านได้จำนวนมาก โดยล่าสุดก็มีการวางขายบอร์ด NANO-ITX กันเรียบร้อยแล้วในญี่ปุ่น
ซันยอมจ่ายค่าเสียหายที่โกดักเรียกร้องจากซันถึงพันล้านดอลล่าห์ โดยโกดักอ้างว่าซันได้ละเมิดสิทธิบัตรของตนที่ได้มาจากการซื้อบริษัท แวงแลปบอราทอรี แต่การจ่ายในครั้งนี้เป็นเงินเพียง 92 ล้านดอลล่าห์
โกดักซื้อแวงมาในราคาถึง 260 ล้านดอลล่าห์ตั้งแต่ปี 1997 หลายคนจึงมองว่าโกดักเริ่มมาหากินกับการฟ้องจากสิทธิบัตรต่างๆ ซึ่งโกดักถือครองอยู่
ทางซันเองก็เปลี่ยนท่าทีไปมากจากตอนที่โกดักเริ่มฟ้อง ในตอนนั้นซันทีท่าทีแข็งกร้าวมากว่าสิทธิบัตรดังกล่าวไม่มีผลต่อจาวาของซัน
แต่ที่แน่ๆ คนใช้จาวาเย็นใจได้ครับ เรื่องวุ่นๆ ได้จบลงไปแล้ว
ฟลอริน่า หญิงเหล็กแห่งวงการไอที ไปเยือนเกาหลีวันที่ 10 ถึง 12 เริ่มแต่เปิดศูนย์วิจัยใหม่ที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น ตอนนี้ก็มีข่าวการเพิ่มความสัมพันธกับซัมซุง ผู้ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ไปเรียบร้อยแล้วครับ แต่ข่าวอย่างเป็นทางการยังไม่ออกมา
ค่ายเพลงหลายสำนักเริ่มมีการพูดถึงการสร้างมาตรฐานในการปกป้องลิขสิทธิ์ เนื่องจากทุกวันนี้แต่ละค่ายที่ให้บริการดาวน์โหลดเพลงอย่างถูกกฏหมายนั้น ต่างคนต่างมีระบบป้องกันการทำซ้ำเป็นของตนเอง ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถนำเพลงไปใช้บนอุปกรณ์ค่ายอื่นๆ ได้
การกดดันครั้งนี้คนที่เสียหายที่สุดคงเป็นแอปเปิลนั่นเองครับ เพราะตอนนี้ครองตลาดส่วนใหญ่ในการให้ดาวน์โหลดเพลงอยู่ และเครื่องไอพอดของแอปเปิลนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างมาก หากมีมาตรฐานการป้องกันการทำซ้ำที่ทุกคนใช้ร่วมกันได้ การนำเพลงที่โหลดจากค่ายอื่นๆ มาเล่นในเครื่องไอพอดคงเป็นสิ่งที่ตามมาในไม่ช้า
ต่อจาก ภาคแรก
เรื่องเริ่มจาก George Colony CEO ของ Forrester Research ไปนั่งคุยกับ Jonathn Schwartz COO ของซัน และ Schwartz ได้เล่าแผนการกลับมารุ่งเรืองใหม่อีกครั้งของซัน โดยการถล่มคู่แข่งหน้าใหม่ที่มาแย่งตลาดเซิร์ฟเวอร์ คือ Red Hat และบริษัททั้งหลายที่ไปให้ความสำคัญกับลินุกซ์จนทำให้ Solaris หมองลงไป (Oracle-IBM-Dell) ทีนี้ นาย Colony ได้เขียนบทวิเคราะห์แผนลงเว็บ ZDNET ว่าซันจะจัดการกับลินุกซ์ Red Hat และจับมือกับไมโครซอพท์
เฮชพีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลกประกาศเตรียมลงทุนในเกาหลี สี่สิบล้านดอลล่าห์ในช่วงห้าปีข้างหน้า เพื่อเปิดศูนย์วิจัยชิป RFid
การลงทุนครั้งนี้ประเดิมด้วยการจ้างนักวิจัยจำนวน 42 คนและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงห้าปีข้างหน้านี้
RFid คือชิปที่ใช้ในการระบุตัวตนของเจ้าของชิปโดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับตัวชิป โดยอาจใช้ในการระบุตัวประชาชน สินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์ โดยนักวิเคราะห์คาดกันว่าในอนาคตตลาดของชิปขนิดนี้จะเพิ่มมูลค่าขึ้นอย่างมหาศาล โดยอาจไปถึง 7 พันล้านดอลล่าห์ในปี 2010 ทำให้ทั่วโลกเร่งพัฒนาและวิจัยชิปชนิดนี้กันอย่างหนัก
เอเอ็มดีประกาศกำไรประจำไตรมาศที่สามออกมาแล้วครับ อยู่ที่ 43.8 ล้านดอลล่าห์ โดยมียอดขาย 1.25 พันล้านดอลล่าห์ อาทิตย์หน้าอินเทลก็จะออกมาประกาศตัวเลขเหล่านี้เหมือนกัน
ปัจจุบันเอเอ็มดีมีกำไรต่ำกว่าอินเทลอยู่มาก เนื่องจากไม่สามารถบุกตลาดที่ทำเงินมากๆ โดยเฉพาะตลาดโน๊ตบุ๊คที่อินเทลครองอยู่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังอินเทลนั้นเพลี่ยงพล้ำในหลายๆ ส่วนไปทำให้การขับเคี่ยวระหว่างสองค่ายนี้มีลุ้นกันทีเดียว
ที่มา theINIQUIRER
ATMEL ผู้ผลิตชิปสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฝังตัวรายใหญ่ ได้ประกาศออกชิปตระกูลใหม่คือ AT9SAM7 ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมภายในเป็น ARM7
ที่น่าสนใจของข่าวนี้คือราคาครับ ราคาของชิปตระกูลนี้มีราคาถูกมาก คือร้อยกว่าบาทต่อตัวเท่านั้นเอง (ราคาเมื่อซื้อทีละหนึ่งหมื่นตัว) ซึ่งทำให้แนวโน้มของตลาดคอมพิวเตอร์ฝังตัวโดยรวมมีแนวโน้มว่าจะพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการย้ายไปใช้ชิปตระกูล ARM ซึ่งมีความสามารถมากกว่าชิปคอมพิวเตอร์ฝังตัวที่นิยมใช้ๆ กันทุกวันนี้เช่น 8051 หรือ PIC
ARM คือสถาปัตยกรรมของโปรเซสเซอร์ที่มีจุดเด่นด้านการประหยัดพลังงาน ทำให้นิยมใช้กันในอุปกรณ์ขนาดเล็กจำนวนมากเช่น PDA หรือโทรศัพท์มือถือ
ในขณะที่ Red Hat ทิ้งตลาดเดสก์ทอป (Red Hat Linux) และมาจับตลาดองค์กร (Red Hat Enterprise Linux) สถานการณ์กลับกันกับ Novell เจ้าของ SUSE ที่หันมาจับตลาดผู้ใช้ทั่วไปจริงจัง Novell เปิดเผยว่าขาย SUSE ได้ถึงสองแสนชุด และกำลังจะออก Novell Linux Desktop (แบบเดียวกับ JDS ของซัน คือ ขายตลาดเดสก์ทอปองค์กร ส่วนเดสก์ทอปบ้านจะขาย SUSE) ข่าวจาก eWeek
Google เปิดตัวบริการใหม่อีกแล้ว คราวนี้ แค่ส่ง SMS คำว่า Pizza และ New York ไป Google SMS จะบอกร้านพิซซ่าพร้อมตำแหน่งให้คุณผ่าน SMS นอกจากพิซซ่ายังมีบริการอื่นๆ เช่น ถามราคาของจาก Froogle, ค้นหาชื่อในสมุดโทรศัพท์, ค้นหารหัสโทรศัพท์ทางไกล หรือค้นจาก Google Search ได้โดยตรง แถมยังไม่คิดราคาอีกด้วย (เสียแค่ค่า SMS เหมือนส่งหาเพื่อนตามปกติ) เสียแต่ตอนนี้ยังใช้ได้แต่ในสหรัฐเท่านั้นครับ
Novell SUSE Linux 9.2 ออกแล้วครับ เป็นเคอร์เนล 2.6, KDE3.3, GNOME 2.6, Evolution 2.0 และมีโปรแกรมใหม่เช่น NVU (Mozilla Composer เดิม) กับ InkScape เพิ่มเข้ามา สนับสนุน Bluetooth และ ACPI (Advanced Configuration and Power Interface) ในตัว รุ่น Professional ราคา 89.95 เหรียญสหรัฐและเหรียญยูโรครับ