ข่าวคร่าวๆ คือ ตอนนี้ Konqueror สามารถใช้ Gecko Engine ได้แล้ว รายละเอียดยาวๆ อ่านต่อครับ
สำหรับคนที่ไม่ใช้ลินุกซ์ ต้องอธิบายก่อนว่า Konqueror เป็น File Manager/Browser อย่างเป็นทางการของ KDE (สองอย่างรวมกันเหมือน Explorer ของ Windows ถ้าเป็น GNOME จะใช้ Nautilus เป็น File Manager และ Epiphany เป็น Web Browser ซึ่งพวกนี้สามารถเปลี่ยนได้ตามความชอบอยู่แล้วไม่บังคับ)
เป็นสไลด์ pdf โดยคุณ Colin Charles แนะนำฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Fedora Core 3 ที่กำลังจะออกครับ
ผมสรุปฟีเจอร์มาให้คร่าวๆ ดังนี้
ของใหม่
แพกเกจเอาออก
วันนี้เป็นวันแรกของงาน IDF (Intel Developer Forum) อินเทลก็ทำตามที่ตัวเองสัญญาไว้ตั้งแต่อาทิตย์ทีแล้วครับ คือเอา Dual-Core Processor ออกมาโชว์กันเสียที หลังจากถูก AMD แซงไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
ที่เอามาโชว์ในงานนี้ก็คือ Montecito มีมีแกนซีพียูถึงสองแกน และมีแคชระดับสามฝังในตัวถึง 24 เมกกะไบต์!!! และมีเทคโนโลยีฝังในตัวเพิ่มเติมอีกสองอย่างคือ Foxton ที่เป็นระบบจัดการพลังงานและ Pellston ที่เป็นตัวแก้ไขข้อมูลในแคชในกรณีที่เกิดความผิดพลาด
สำหรับรายละเอียดของเทคโนโลยีทั้งสองนั้นทางอินเทลยังไม่ได้เปิดเผยแต่อย่างใด
โซนี่เตรียมออก VAIO ราคาถูกในตลาดสหรัฐแล้ว หลังจากวางแบรนด์ของตัวเองอยู่ระดับสูงมาตลอด แต่ในช่วงหลังเราเริ่มเห็นของถูกแต่ดูหรู เช่น LG และ Samsung หลายชิ้น เช่น มอนิเตอร์หรือ lcd ทำให้ตลาดที่โซนี่เคยครองอยู่เริ่มหด โดย VAIO รุ่นของถูกจะมุ่งตลาดองค์กรระดับกลางและล่าง และใช้ชื่อที่ต่างออกไป คือ VAIO Business Professional Ars Techinca : Sony shakes up PC strategy Reuters : Sony Changes U.S. PC Strategy to Boost Share-Paper
Dell และ Gateway ผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ของสหรัฐได้เริ่มขายพีซีที่ไม่มีฟลอปปี้ไดรว์กันแล้ว หลังจากแอปเปิลเป็นรายแรกที่ถอดฟลอปปี้ไดรว์ออกไป ใน iMac ตัวแรกที่ขายตั้งแต่ปี 1998 ตอนนั้นแอปเปิลโดนวิจารณ์เยอะอยู่บ้าง แต่ปี 2004 นี้ ฟลอปปี้ก็แทบไม่จำเป็นจริงๆ ด้วยการอุดช่องว่างด้านความจุด้วย CD-RW และอุดช่องว่างเรื่องความสะดวกด้วยแฟลชไดรว์ช่วงปีสองปีหลัง
Yahoo! บอกว่า ฟลอปปี้กำลังดำเนินตามรอยของม้าเมื่อมีรถยนต์เกิดขึ้น นั่นคือมันยังมีอยู่ เพียงแต่ไม่สำคัญเหมือนเดิมอีกแล้ว ผู้ซื้อพีซีของเกตเวย์ต้องจ่ายเพิ่มอีก 10-20 เหรียญเพื่อเพิ่มฟลอปปี้ไดรว์เข้ามา (ราคาก็พอๆ กับบ้านเรา ประมาณสี่ร้อยบาท)
ประเด็นน่าปวดหัวในช่วงนี้เกิดขึ้น จากการพัฒนาการของซีพียูในช่วงนี้ที่นิยมการพัฒนาให้มีแกนซีพียูอยู่ถึงสองชุดในชิปเดียวกัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้โดยไม่ต้องไปเพิ่มความถี่กันแบบบ้าเลือดเหมือนเมื่อก่อน
แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อมีคนถามว่า แล้วไอ้ซอฟท์แวร์แพงๆ ที่ขายกันเป็นราคาตามจำนวนซีพียูล่ะ จะคิดราคากันยังไง?
ซอฟท์แวร์ที่ขายแบบคิดเงินตามจำนวนซีพียูนั้น มีมากมายโดยเฉพาะในตลาดงานระดับองค์กรณ์ เช่น Oracle, RedHat, Microsoft SQL server
ยังจำ Deep Blue เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเล่นหมากรุกแล้วชนะคาปารอฟ มือหนึ่งของโลกกันรึเปล่าครับ หลังจากที่ IBM ประสบความสำเร็จจากคอมพิวเตอร์ตัวนี้แล้ว ก็ได้สร้างรุ่นลูกของมันขึ้นมาคือ Blue Gene และจากตอนนั้นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาก (อย่างเงียบเชียบ)
ถึงเมืองไทยจะยังซื้อไม่ได้ แต่กระแสซื้อเพลงออนไลน์ก็มาแรงมากในช่วงนี้ ผมเลยเรียบเรียงรีวิวจากเว็บเมืองนอกมาให้อ่านกัน
ข้อมูลหลักมาจาก BBspot Reviews: Digital Music Stores และข้อมูลอื่นๆ จาก CNET
คงคุ้นเคยกับ GMail กันมาบ้างจากสื่อต่างๆ GMail บริการอีเมลฟรีเนื้อที่ 1GB จาก Google ตอนนี้มีคนเขียนโปรแกรมให้เขียนบล็อกโดยใช้ GMail ได้แล้ว
theINQUIRER วันนี้หนังสือพิมพ์ Nihon Kaizai Shimbun ของญี่ปุ่นได้รายงานถึงความคืบหน้าของบริษัทมิตซูบิชิ (Misubishi - อันเดียวกับที่ผลิตรถนั่นล่ะครับ) ที่สามารถเร่งความเร็วในการตอบสนองการแสดงผลบนจอ LCD ได้เร็วขึ้นเป็นเท่าตัว
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าข้อเสียหลักของจอ LCD นั้นมีอยู่สองประการคือมุมมองภาพที่แคบ และการตอบสนองที่ช้า ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นผลเสียต่อการใช้งานจอ LCD ในด้านการบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมหรือการดูภาพยนต์ ทำให้คนบางกลุ่มยังคงยึดกับจอ CRT หรือข้ามไปใช้จอ Plasma แทนจอ LCD เนื่องจากข้อเสียดังกล่าว
X-Window ที่เราใช้ๆ กันอยู่บนลินุกซ์ทุกวันนี้ คือ X-Window ของโครงการ XFree86 เวอร์ชันท้ายสุดที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างคือ 4.3 แต่หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและองค์กรภายในค่อนข้างมาก ทำให้ XFree86 4.4 นั้นไม่ได้รับการยอมรับจากลินุกซ์ดิสโทรทั้งหลาย และก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาคือ X.Org และ X-Window ตัวใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมา
เผอิญผมอยู่ในสายนี้เหมือนกัน เปิดอ่าน Top500 ของ Super Computer ของโลกเราทุกวันนี้ฉบับเดือนมิถุนา 2004 เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างครับ
วันนี้จะขอแนะนำหนังสือกันสักเล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพี่เบิ้มแห่งวงการ IT ที่เราทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ อันดรูว์ โกรฟ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Intel บริษัทผู้ผชิตไมโครโพรเซสเซอร์อันดับหนึ่งของโลกนั่นเอง
การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับเสมอ เมื่อเวลาผ่านไป มันจะพัดเอาสิ่งต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปตามมันด้วย แต่ในโลกของ IT กระแสเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้รุนแรงกว่าโลกในยุคใดๆ ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างใรในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้
ปัญหาว่าเว็บบราวเซอร์ไหนนิยมสุดเป็นปัญหาโลกแตกมานานแล้วครับ ถึง SlashDot เว็บยอดฮิต จะทำโพลก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยน่าเชื่อถือนัก เพราะผู้อ่าน /. นั้นมีแต่พวกเทคโนโลยีเข้าไส้ สามารถหาบราวเซอร์ตัวอื่นมาเล่นเองได้ และมีแนวคิดร่วมกันว่าเราจะเป็นศัตรูกับไมโครซอพท์ :)
The Register สำนักข่าวดังจากอังกฤษ วิเคราะห์ความปลอดภัยที่ไมโครซอพท์อ้างว่าเพิ่มขึ้นใน Service Pack 2 ว่าปลอดภัยจริงสมคำโฆษณาหรือไม่
Miguel De Icaza ผู้ก่อตั้งโครงการ Gnome และบริษัท Ximian (ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของ Novell) ตอนนี้กำลังทำโครงการ Mono (นำ .NET Framework มาสู่ลินุกซ์) ออกมาให้ความเห็นเรื่องความล่าช้าของ Longhorn ผ่านบล็อกของเขา
เสียหน้าไปไม่น้อยครับ ที่อาทิตย์ที่แล้วโดนเอเอ็มดีชิงธงโชว์ดูอัลคอร์ไปก่อน งานนี้อินเทลเลยประกาศว่ามีดีจะโชว์เหมือนกัน
ข่าวนี้ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไร เพราะเหมือนว่าอินเทลจะมาแถลงคั่นเวลาเท่านั้นเอง เรียกว่ากู้หน้ากันหน่อยว่างั้นเถอะ
แต่ทั้งสองค่ายนั้นยังโชว์กันนิดหน่อยๆเท่านั้น ประมาณว่าเอามารันให้ดู ในตอนนี้ผมยังเห็นเห็นว่ามีสำนักข่าวไหนได้รับของทดสอบเอามาทดสอบความเร็วให้ประจักษ์กับตากันเลย แต่ไม่ต้องรีบร้อนดูหรอกครับ เพราะกว่าจะวางขายอย่างเร็วคงเป็นกลางปีหน้าโน่น ที่สำคัญออกมาใหม่ๆ มันจะแพง ชนิดซื้อไม่ลงแน่นอน
ข่าวประจำวันนี้รายงานกับเว็บแทบระเบิดกันทุกเว็บคือการเปิดตัวเว็บขายเพลงของไมโครซอฟท์ที่ประกาศว่าจะมีแน่นอนตั้งแต่สามสี่เดือนก่อน ในวันนี้ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเป็นทางการไปแล้วที่ http://beta.music.msn.com/ แม้จะมีข้อครหาจากหลายสำนักว่าจะเป็นการเลียนแบบ iTunes ของ แอปเปิลก็ตาม
ฉลองกันไปทั่วครับในตอนนี้กับวันครบรอบ 35 ปีของอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ใครจะเชื่อว่าเครือข่ายที่อำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตประจำวันนี้ จะเริ่มต้นด้วยแนวคิดที่ว่าสงครามอาจเกิดได้ทุกเมื่อ สหรัฐจึงต้องการเครือข่ายที่ไร้ศูนย์กลางอย่างแท้จริง เผื่อว่ารัฐไหนโดนระเบิดไป ที่เหลือจะได้สามารถสื่อสารกันได้ จึงได้ให้กำเนิด ARPANET พ่อของอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้
ข่าวใหญ่วันนี้ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งที่สามของคอมพิวเตอร์ที่ไปปรากฎตัวในทีวีมากที่สุด iMac
เพิ่งมีโอกาสได้เล่น intel Xeon ตัวใหม่ คือตัวที่มีรหัสว่า Nocona และถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากตัวหนึ่ง ที่จะทำให้เราได้ก้าวเข้าสู่โลก 64 บิตได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ต้องเท้าความก่อนว่า การประมวลผลแบบ 64 บิตนี้จำเป็นจะต้องคอมไพล์โปรแกรมเดิมๆ ที่เราใช้กันอยู่บนระบบ 32 บิตกันใหม่ทั้งหมด เพราะอ้างแอดเดรสความยาวไม่เท่ากัน ปริมาณโปรแกรม 32 บิตที่มีทุกวันนี้ก็มหาศาลจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการคอมไพล์ใหม่ทั้งหมด
arstechnica เมื่อวานนี้ AMD แถลงการพร้อมกับโชว์เครื่องเซอร์เวอร์ที่รันด้วยไมโครโปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์ แซงหน้าอินเทลไปอีกหนึ่งก้าวกับเทคโนโลยีใหม่นี้
การแถลงข่าวครั้งนี้อาจเกิดขึ้นเพราะการแถลงการของอินเทลถึงเทคโนโลยี 35 นาโนเมตร เพื่อเรียกความมั่นใจในตัวบริษัทกลับคืนมา
theINQUIRER ข่าวใหญ่วันนี้คงหนีไม่พ้นสามยักษ์ใหญ่วงการเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น คือ ฮิตาชิ โตชิบา และมัตซึชิตะ (เจ้าของยี่ห้อพานาโซนิค) ร่วมกันตั้งบริษัทเพื่อมุ่งตลาดผลิตโทรทัศน์ LCD
งานนี้คนที่ร้อนที่สุดน่าจะเป็นซัมซุงนั่นเองครับ เพราะชั่วโมงนี้ตลาด LCD นั้น ซัมซุงเป็นผู้ครองตลาดเสียส่วนใหญ่
Rio หนึ่งในผู้ชิงตลาด MP3 Player ได้ออกเครื่องเล่นขนาดเล็กที่ออกมา"ฆ่า" iPod Mini ชื่อของมันคือ Carbon
Carbon มีความจุ 5 Gb ใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็กแบบใหม่ของซีเกท Rio อ้างว่าแบตเตอรี่อยู่ได้นานถึง 20 ชั่วโมง (iPod Mini ประมาณ 10 ชม.) ราคาก็ 249 เหรียญเท่ากับ iPod Mini ครับ ฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือลากเพลงไปใส่ใน Carbon ได้เลยโดยไม่ต้องใช้ซอพท์แวร์พิเศษช่วย หน้าตาดูแล้ว ผมคิดว่าใช้ได้เลยล่ะ
Yahoo! Financial ข่าวล่าวันนี้คือการที่ อินเทลประกาศถึงความสำเร็จในการผลิตชิปหน่วยความจำที่สร้างบนพื้นฐานของเทคโนโลยีระดับ 35 นาโนเมตร
ข่าวนี้คงทำให้แฟน AMD ใจแป๊วกันไปอีกสักพัก เพราะที่ผ่านมา กว่า AMD จะก้าวขึ้นแท่น 90 นาโนเมตรได้ก็เล่นเอาหืดขึ้นคอ