เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ผมเขียนบทความ Android Developer Challenge - โอกาสทองของเด็กไทย ไป ตอนนี้เวลาผ่านมาอีกเกือบปี (เกือบ 10 เดือน) แพลตฟอร์ม Android ฝ่าฟันอุปสรรคนานานับประการจนใกล้ความจริง และกูเกิลได้ประกาศผลผู้ชนะ Android Developer Challenge I แล้ว
คัดมาเฉพาะกลุ่มที่ได้รางวัล $275,000 (เกือบสิบล้านบาทไทย) นะครับ ยังมีอีกกลุ่มที่ได้ $100,000 และกลุ่ม 50 ทีมที่เข้ารอบแต่ไม่ได้รางวัลอีก รบกวนดูในลิงก์กันเอง
YouTube ได้เปิดบริการใส่ซับไตเติล (หรือที่ YouTube เรียกว่า caption) ในวิดีโอแล้ว โดยหนึ่งไฟล์วิดีโอจะสามารถมีซับไตเติลหลายไฟล์หลายภาษาได้ ตอนนี้ YouTube มีภาษาให้เลือกถึง 120 ภาษา (เช็คแล้วมีภาษาไทย) ไฟล์ที่สนับสนุนคือ SubViewer (.SUB) กับ SubRip (.SRT) ผู้ที่อัพโหลดได้คือเจ้าของวิดีโอเท่านั้น
ผู้ใช้สามารถเลือกเปิด/ปิดซับไตเติลภาษาต่างๆ (ถ้ามี) โดยคลิกที่ปุ่มเมนูของตัวเล่นวิดีโอ ภาพดูด้านใน วิดีโอตัวอย่างตามลิงก์
ที่มา - YouTube Blog ผ่าน TechCrunch
ปุ่มเพิ่มซับไตเติล
ซัมซุงเปิดตัวโน้ตบุ๊กสุดบางรุ่นใหม่ X360 สเปกตามนี้
นักพัฒนาของกูเกิลโชว์หน้าตาของ "Android Market" ลงในบล็อกของ Android แล้ว โดยบลัฟแอปเปิลเล็กๆ ว่ากูเกิลจงใจใช้ "Market" แทน "Store" เพื่อต้องการบอกว่านักพัฒนามีอิสระในการเผยแพร่เนื้อหาของตัวเองมากกว่า วิธีการนั้นมีแค่ 3 ขั้นคือ ลงทะเบียน อัพโหลด และสั่งเผยแพร่เท่านั้น ซึ่งกูเกิลยกการอัพโหลดวิดีโอขึ้น YouTube มาเป็นการเปรียบเทียบเลยทีเดียว
กูเกิลบอกว่ามือถือ Android เครื่องแรก (ซึ่งน่าจะหมายถึง HTC Dream) จะมี Android Market มาให้ ส่วนจะเต็มรูปแบบแค่ไหนทางกูเกิลกำลังตัดสินใจอยู่ แต่ที่มีแน่ๆ คือระบบแจกจ่ายซอฟต์แวร์แบบแจกฟรี จากนั้นกูเกิลจะออกตัวอัพเดตเป็นระยะ เพื่อสนับสนุนฟีเจอร์เพิ่มเติม อย่างเช่น ซอฟต์แวร์ขาย, ตัวตรวจสอบสถิติ, ระบบจัดการเวอร์ชัน เป็นต้น
กล้องวีดีโอแบบ HD คงเป็นความสามารถมาตรฐานในกล้องยุคต่อไป แต่ในวันนี้ที่ความสามารถแบบนี้ยังมีไม่แพร่หลายนัก Sony-T500 ก็ยังนับว่าน่าจับตามอง ด้วยสเปค
ที่สำคัญที่สุดคงเป็นการถ่ายวีดีโอแบบ HD พร้อมความสามรถในการถ่ายภาพนิ่งที่ความละเอียดเดียวกับวีดีโอได้ทันทีขณะกำลังถ่ายวีดีโอ ผมว่าน่าสนใจกว่านั้นคือเรื่องของ Autofocus และระบบกันภาพสั่นไหวที่ไม่รู้ว่าทำงานรึเปล่าตอนที่กำลังถ่ายวีดีโออยู่
วางตลาดตุลาคมนี้ ถึงตอนนั้นคงได้รู้กัน ส่วนราคาไม่แจ้ง และแน่นอนว่าใช้ memory-stick
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กูเกิลได้ออกมาเปิดเผยว่ากำลังร่วมมือกับ 5 บริษัทในกลุ่มเอเชียตะวันออก เพื่อทำการวางสายเคเบิลใต้น้ำจากสหรัฐอเมริกามายังญี่ปุ่น
และตอนนี้ทางกูเกิลก็กำลังวางแผนการขยายในช่วงที่สอง ซึ่งจะเป็นเส้นทางจากญี่ปุ่นมายัง หมู่เกาะกวม ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์
เราเห็นข่าว Qosmio G55 โน้ตบุ๊กพลัง Cell ของโตชิบากันไปแล้ว คราวนี้มาเป็นทีวี LCD พลัง Cell กันบ้าง
จอ LCD ซีรีย์ ZF ของโตชิบาจะใช้ซีพียู Cell ในการแปลงสัญญาณภาพแบบ Standard Definition (SD) มาเป็น HD (หรือที่เรียกกันว่า upscaling) แบบเดียวกับใน PS3 แต่เป็นเทคโนโลยีที่โตชิบาพัฒนาขึ้นมาเองโดยไม่ต้องผ่านเครื่องเล่นตัวกลาง ทำในจอโดยตรง ชื่อทางการค้าของเทคโนโลยีนี้เรียกว่า Resolution+
โตชิบาเปิดตัวจอสองรุ่นในยุโรป โดยมีแบบ 40" กับ 46" นิ้วให้เลือก ยังไม่มีข้อมูลเรื่องราคาและวันวางจำหน่าย
ที่มา - Engadget
ถ้าใช้ Firefox อยู่ลองเหลือบไปดูไอคอนกูเกิลอันเล็กๆ ตรงมุมขวาบนนะครับ ไอคอนอันนี้สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้หลัก (เหมือนจะเป็นอันเดียวด้วยซ้ำ) ของมูลนิธิ Mozilla ไม่มีใครรู้ว่ามูลค่าของมันเป็นเท่าไรเพราะ Mozilla ไม่ยอมเปิดเผย (เป็นจุดหนึ่งที่โดนโจมตีอยู่เรื่อยๆ) เอาเป็นว่าเยอะจนจ่ายค่าเครื่องบินให้ผมและนักพัฒนาของ Mozilla อีก 400 กว่าคนไปประชุม Firefox Summit ได้สบาย
สัญญาของทั้งสองฝ่ายจะหมดลงในเดือนพฤศจิกายน 2008 นี้ แต่ทาง Mozilla โดยซีอีโอ Mitchell Baker ออกมาเปิดเผยแล้วว่า กูเกิลต่อสัญญาไปอีกสามปีไปเป็นเดือนพฤศจิกายน 2011 ด้วยมูลค่าไม่มีใครทราบเช่นเดิม
หมายเหตุ: งานชิ้นนี้ผมไม่ได้เป็นคนเขียน (เป็นคนยุให้แปล) แต่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับ Creative Commons เลยขอมาเผยแพร่บน Blognone ด้วย คนจะได้อ่านเยอะๆ ผู้แปลคือคุณชิตพงษ์ กิตตินราดร
แบ่งปันอย่างเสรีบนโลกออนไลน์ด้วยครีเอทีฟคอมมอนส์
ไม่นานหลังจากโจอิชิ อิโตะ (Joichi Ito) ได้นำภาพถ่ายของวินตัน เซิร์ฟ (Vinton Cerf) ผู้บุกเบิกวงการอินเทอร์เน็ต ที่เขาเป็นผู้ถ่าย ขึ้นไปไว้ที่สารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย (Wikipedia) เมื่อปีก่อน เขาสังเกตว่ามีอะไรแปลกๆ ในตอนนั้น รูปถ่ายของคนที่มีชื่อเสียงในวงการอินเทอร์เน็ตและผู้นำทางเทคโนโลยี ที่มีประวัติอยู่ในวิกิพีเดีย มักจะมีคุณภาพต่ำหรือไม่มีรูปเลย มันไม่สมควรจะเป็นเช่นนั้น
ผมเห็นว่าบทความของอาจารย์ภุชงค์ "คุยกันเล่นกับชาว HP" ฟังชื่อเหมือนป็นการคุยกันเล่นๆ แต่จริงๆกลับมีคุณค่าอย่างมากในการวางแผนสำหรับโครงการไอทีระยะยาว, การวิจัยและพัฒนา, และการให้ความรู้แก่ผู้ที่จะมาเป็นกำลังสำคัญในการใช้หรือพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป ผมจึงขอนำเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัยของบริษัทการ์ทเนอร์ (Gartner) ที่มีความเกี่ยวข้องกับบทความของอาจารย์ภุชงค์ ดังต่อไปนี้
บริษัทการ์ทเนอร์ได้ยกเทคโนโลยี 5 ตัวซึ่งอยู่ใน Hype Cycle * แห่งปี 2008 ได้แก่ Green IT, Cloud Computing, Social computing platforms, Video telepresence, และ Microblogging ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการเติบโตมากในปีนี้และอีก 2 - 5 ปีข้างหน้า
NASA รายงานว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาบน International Space Station (ISS) ถูกตรวจพบ malware อยู่และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพบไวรัสและหนอนคอมพิวเตอร์ในวงโคจร เรื่องนี้ถูกรายงานโดย เจ้าหน้าที่ Sergey Volkov เขาเขียนรายงานสถานะประจำวันหลังจากตรวจพบ malware ด้วยโปรแกรม Norton Antivirus ขณะที่กำลังดูภาพจากการ์ดหน่วยความจำบนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาสัญชาติรัสเซียชื่อ RSS-2
งานนี้ Norton ได้หน้าไปเต็มๆอย่างน้อยก็สองเรื่องคือคุณภาพดีจนผ่านการคัดเลือกให้ไปใช้บนอวกาศและตรวจพบ malware นอกโลก(malware นี้ไม่ได้มาจากนอกโลกนะครับ)
ที่มา - ComputerWorld
ผมเขียนข่าวข้างล่างไป ข่าวใหม่ก็มาพอดี IE8 Beta 2 ออกมาให้ทดสอบแล้วครับ ระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนคือ XP, Vista, 2003 และ 2008 ทุกตัวมีทั้งแบบ 32/64 บิต โดย IE8 มีฟีเจอร์ใหม่แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ
ช่วงหลังๆ ข่าว IE8 ดูจะเงียบไปหน่อย แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ออกมาเปิดเผยฟีเจอร์ด้านการท่องเว็บแบบรักษาความเป็นส่วนตัวใน IE8 โดยใช้ชื่อว่า InPrivate
InPrivate ประกอบด้วยฟีเจอร์ 4 ส่วนได้แก่
Text editor เป็นเรื่องของศาสนาพอๆ กับเบราว์เซอร์ ระบบปฏิบัติการ และ IDE แต่ก่อนจะเลือกนับถือศาสนาสักอัน คุณรู้จักศาสนาครบกันหรือยัง?
เว็บไซต์ LinuxLinks ได้รีวิว text editor บนลินุกซ์จำนวน 21 ตัวอย่างละเอียด นอกจากจะพูดถึง text editor ทั่วๆ ไปอย่าง gedit หรือ Kate แล้ว ยังมีพวกใช้งานเฉพาะทาง อย่างเช่น เอาไว้เขียน HTML โดยเฉพาะ (เช่น Bluefish) หรือเขียน TeX/LaTex อีกด้วย
ถ้าลองนับดูแล้วยังรู้จัก text editor ไม่ถึง 21 ตัวก็แนะนำให้เข้าไปอ่านกันครับ ส่วนของผมใช้ Vim เขียนโค้ดและ gedit เขียนภาษาไทย
ที่มา - LinuxLinks
จากบทความ ประสบการณ์ Google Summer of Code 2008 ทำให้คนสนใจภาษา Groovy กันพอสมควร ทางคุณ cblue เลยติดต่อคุณ Guillaume Laforge ผู้จัดการโครงการ Groovy มาให้สัมภาษณ์กัน
แม้จะเป็นคนใช้ลินุกซ์ก็ตาม ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงชื่นชอบกับเมาส์ของไมโครซอฟท์กันอยู่ไม่น้อย และข่าว Microsoft Bluetrack อาจจะทำให้หลายๆ คนต้องเก็บเงินกันอีกครั้ง
Microsoft Bluetrack เป็นเมาส์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด โดยไม่ใช่ทั้งเมาส์แสงปรกติ และเมาส์เลเซอร์ แต่มันใช้ไฟจาก LED สีน้ำเงินและระบบจับภาพความแม่นยำสูงมาแทนที่ ทำให้เมาส์รุ่นนี้สามารถใช้งานได้แทบทุกสภาพพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นไม้, หิน, หรือกระทั่งพรม
เมาส์รุ่นนี้ยังไม่ออกมาเป็นทางการ แต่ก็มีภาพหลุดมาให้ดูกันก่อนแล้วจากทาง Amazon ประเทศเยอรมันที่เผลอเอาภาพชุดนี้ใส่เว็บมาก่อน
หลังจากมีข่าวลือออกมาเป็นระยะเกี่ยวกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแอปเปิล ตอนนี้ข่าวลือเหล่านั้นเริ่มจะมีเค้าความเป็นจริงขึ้นมาบ้างแล้ว หลังจากมีข่าวลือว่าทางแอปเปิลกำลังจะจัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
ข่าวลือดังกล่าวหลุดมาจากนาย Kevin Rose ซึ่งอ้างว่าเราอาจจะได้เห็น iPod Nano และ iPod Touch ตัวใหม่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ โดยวันที่ที่แน่นอนอาจจะเป็นวันที่ 9 กันยายน
ถ้ายังจำกันได้เรื่อง Psystar ได้จำหน่ายเครื่อง Intel Based PC ที่นำมาปรับแต่งให้สามารถลง OSX ของ Apple ได้แต่ติดข้อกฎหมายใน EULA ของระบบปฏิบัติการนี้ทำให้ Apple ฟ้องบริษัท Psystar ฐานละเมิด ซึ่งคดีนี้ถูกฟ้องมาระยะหนึ่งแล้ว
ตอนนี้ Psystar จะฟ้องกลับในข้อหาที่ Appleกีดขวางการแข่งขันทางการค้า เพื่อขอให้ศาลพิจารณาว่า EULA นี้ไม่มีผลทางกฎหมาย
The Guardian รายงานว่าโฆษณาไอโฟน 3G ที่ออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์ได้ถูกแบน โดยหน่วยควบคุมมาตราฐานโฆษณา (Advertising Standards Authority) ของสหราชอาณาจักร หลังจากที่มีเสียงเรียกร้องว่าแอปเปิลได้อ้างข้อมูลที่ไม่เป็นจริงในโฆษณาชุดนี้
โดยในโฆษณานี้นั้น ได้มีการกล่าวว่า "ทุก ๆ ส่วนของอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้จากไอโฟน" แต่จากความเป็นจริงแล้ว ไอโฟนยังไม่รองรับการใช้งาน Flash หรือ Java ที่เว็บไซต์หลาย ๆ แห่งใช้แต่อย่างใด โดยหน่วยควบคุมมาตราฐานโฆษณาได้สรุปว่า "โฆษณาชิ้นนี้ทำให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถทางด้านอินเทอร์เน็ตของไอโฟน"
James Reinders วิศวกรอาวุโสของอินเทล (Intel) ได้ศึกษาความสนใจของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีต่อการพัฒนาโปรแกรมแบบขนาน ด้วยการส่งแบบสอบถามไปให้โครงการพัฒนาซอฟต์แวร์หลายร้อยโครงการทั่วโลก โดยมีเพียงแค่ 2 คำถาม ดังนี้
จากคำถามที่ 1. ได้ผลว่า 55% ของโครงการทั้งหมดตอบว่า เวลาพัฒนาโครงการมีไม่มากพอที่จะใส่โค้ดสำหรับการประมวลผลแบบขนาน, 27% ตอบว่าการพัฒนาโปรแกรมแบบขนานยังไม่ใช่สิ่งจำเป็น, 14% ตอบว่าการเขียนโปรแกรมแบบขนานเป็นเรื่องยาก และ 5% คือเหตุผลอื่นๆ
ถอดความมาจากวิดีโอ Keynote ในงานสัมมนา 360 Flex ของ Adobe โดย Mark Anders ตำแหน่ง Senior Principal Scientist ของ Adobe เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา
วันนี้ มีฝรั่งกลุ่มหนึ่งมาเยี่ยมโดยมาจากบริษัท HP ที่เมือง Huston Texas มาจากทางด้าน marketing เขามาเพื่อมาสัมภาษณ์พวกเราว่าผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในปีหน้าควรจะเป็นอย่างไร ทีมนี้มากันสามคน เวลานำเสนอคนที่เด็กหน่อยก็ update road map ของเขาให้ฟัง ส่วนตัวหัวหน้าคอยจด เขามาพร้อมกับรายการยาวเหยียดของคำถาม เช่น เรามองแนวโน้มอะไรเป็นเรื่องใหญ่ พวกนี้เขาไม่ได้มาขายของ แต่มาเก็บข้อมูลจาก reference customer เพื่อทำผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ มาให้เราใช้ คำถามบางเรื่องเป็นเรื่องเทคนิคสูงมาก เช่น ตอนนี้เราบริหารระบบเซิร์ฟเวอร์ แคร์เรื่อง IPMI หรือไม่ การใช้งาน workload ของกลุ่มผู้ใช้เรามีกี่กลุ่มและควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของเขาอย่างไรถึงจะดี
จากที่ทางพันธมิตร T-Mobile/HTC/Google ได้ทำตามกระบวนการคือยื่น HTC Dream ให้กับทาง FCC ของสหรัฐตรวจสอบฮาร์ดแวร์ ทำให้มีข้อมูลของตัวเครื่องหลุดออกมามากขึ้น คราวนี้เป็นแผนผังแสดงการทำงานของตัวเครื่อง
HTC Dream จะเป็นมือถือแบบสไลด์ แต่แทนที่จะสไลด์คีย์บอร์ดออกมาจากใต้จอ กลับเป็นการสไลด์จอออกมาแทน (อ่านแล้วงงๆ ดูภาพประกอบง่ายกว่าครับ) ขนาดของตัวเครื่องคือ 115 x 55 มิลลิเมตร ซึ่งสั้นกว่า iPhone เล็กน้อย ความหนาคือ 16.35 มิลลิเมตร หนากว่า iPhone ที่ 12.3 มิลลิเมตร
จากข่าวเดิม iPhone 3G มีปัญหาเรื่องรับสัญญาณ ทางนิตยสาร Wired เลยเชิญชวนให้ผู้ใช้ iPhone 3G จากทั่วโลก รายงานสถานะสัญญาณของตัวเองเข้ามา ซึ่งมีผู้ตอบรับถึงกว่า 2,600 ราย โดยมากมาจากสหรัฐแต่ก็มีประเทศอื่นๆ มาร่วมอยู่พอสมควร
Wired ได้นำข้อมูลไปประมวลผล และสร้างแผนที่สัญญาณออกมา เข้าไปดูกันได้ที่ Zeemaps (ซูมอินเข้าไปจนจุดม่วงๆ กลายเป็นขีดสัญญาณ)
โดยสรุปคือความเร็วสูงสุดของ iPhone 3G นั้นเร็วกว่า EDGE 7 เท่า แต่ในกรณีแย่หน่อยคือเร็วเท่ากัน ส่วนแย่ที่สุดคือติดต่อกับเครือข่าย 3G ไม่ได้เลย
ผมไม่แน่ใจว่ามีโทรศัพท์ยี่ห้ออื่นเคยทำก่อนหน้านี้รึเปล่า แต่ HTC S740 เป็นโทรศัพท์รุ่นแรกที่ผมเคยเห็นว่าสามารถใช้งานได้ทั้งแบบแท่งและแบบสไลด์ โดยจะมีคีย์ตัวเลขไว้ด้านนอกเพื่อให้ใช้งานได้ทันที และ QWERTY ด้านในเพื่อให้พิมพ์ข้อความได้โดยง่าย
สเปคโทรศัพท์นั้นไม่มีอะไรหวือหวามากนัก
ราคาและกำหนดวางตลาดยังไม่ชัดเจน
ที่มา - HTC
ปล. ดูภาพได้ใน read more