หลังจากลือกันมานาน ในที่สุด Verizon ก็ตัดขายธุรกิจสื่อออนไลน์ Verizon Media ซึ่งรวมถึง AOL และ Yahoo ออกไปให้บริษัทลงทุน Apollo Global Management นำไปบริหารต่อ ในราคา 5 พันล้านดอลลาร์
บริษัท Verizon Media เกิดจากการควบรวมธุรกิจสื่อและบริการออนไลน์ AOL กับ Yahoo เข้าด้วยกันในปี 2017 โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่า Oath แต่จากนั้นไม่นานก็พบว่าธุรกิจไปไม่สวยอย่างที่คิด ต้องปลดคน และเปลี่ยนชื่อเป็น Verizon Media ในช่วงปลายปี 2018
ต่อเนื่องจากข่าว Verizon ยอมรับซื้อ AOL และ Yahoo ไม่เวิร์ค ปรับลดมูลค่ากิจการ ปลดพนักงานบางส่วน
ตอนนี้ประกาศอย่างเป็นทางการมาแล้ว โดย Verizon ประกาศเปลี่ยนชื่อแบรนด์ Oath มาเป็น Verizon Media Group เพื่อให้สะท้อนถึงธุรกิจหลักของ Verizon มากขึ้น
สื่อในเครือ Verizon Media Group ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และ Verizon ก็ยืนยันว่าจะเดินหน้าพัฒนาเนื้อหาและฟีเจอร์เพื่อผู้ใช้ต่อไป โดยเฉพาะแบรนด์ในเครือ Yahoo! เช่น Yahoo Finance, Yahoo Sports, Yahoo News, Yahoo Lifestyle ที่ได้รับการยกเครื่องแอพไปหลายตัวในรอบไตรมาสที่ผ่านมา
ถ้ายังจำกันได้ Verizon โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ ซื้อกิจการบริษัทอินเทอร์เน็ตที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ทั้ง AOL ในปี 2015 และ Yahoo ในปี 2017 จากนั้นรวมกิจการสองส่วนเข้าด้วยกันเป็นหน่วยธุรกิจคอนเทนต์ชื่อว่า Oath
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจของ Oath ดูจะไปได้ไม่สวยนัก ล่าสุดบริษัทยื่นขอปรับลดมูลค่าทางบัญชีของ Oath (ค่า goodwill) ลงจากเดิมที่มีมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ ลงมาเหลือแค่ 200 ล้านดอลลาร์ เท่ากับมูลค่าหายไปเกือบทั้งหมดหมด (Verizon จ่ายเงินซื้อ AOL กับ Yahoo รวมกันที่ 9.5 พันล้านดอลลาร์)
วันนี้ AOL Instant Messenger หรือ AIM ก็ปิดเซิร์ฟเวอร์ลงอย่างเป็นทางการ ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวงการอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง
AIM เป็นบริการที่เปิดมาตั้งแต่กลางปี 1997 จนตอนนี้ก็เปิดบริการมานานกว่า 20 ปีแล้ว ตัวบริษัท AOL เองก็ถูก Verizon ซื้อไปตั้งแต่ปี 2015 และแยกออกมาเป็นบริษัท Oath เมื่อกลางปีที่ผ่านมา
มองย้อนแอปแชตในยุคก่อนเราจะพบว่าฟีเจอร์จำนวนมากที่เราใช้กันทุกวันนี้มีการพัฒนาการมาเป็นเวลานาน แอปแชตในยุคแรกฟีเจอร์ที่แข่งขันกันมีตั้งแต่การรักษารายชื่อเพื่อนเวลาย้ายเครื่อง หรือความสามารถในการส่งข้อความได้แม้อีกฝั่งจะไม่ได้ออนไลน์อยู่
AIM หรือชื่อเต็ม AOL Instant Messenger โปรแกรมแชตรุ่นบุกเบิกที่คนแถวนี้น่าจะทันเห็นกันอยู่บ้าง ในที่สุดก็เดินทางมาถึงวันสุดท้าย โดย Oath บริษัทแม่ของ AOL ประกาศว่าจะปิดให้บริการ AIM ในวันที่ 15 ธันวาคมนี้
สถานการณ์ของ AIM นั้นดูไม่ดีตั้งแต่เมื่อปี 2012 ที่ทีมงานหลักเกือบทั้งหมดถูกปลดออก และเมื่อต้นปี AOL ก็ได้ปิดการเชื่อมต่อของโปรแกรมภายนอก
แผนการควบรวมระหว่าง AOL กับ Yahoo เป็นบริษัทใหม่ Oath เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดซีอีโอ Tim Armstrong ส่งบันทึกภายในถึงพนักงานของบริษัท ว่าคณะผู้บริหารของบริษัทใหม่จะมีใครบ้าง
ผู้บริหารของ Oath มีทั้งหมด 13 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารของ AOL และมีผู้บริหารจาก Yahoo เพียง 4 คนเท่านั้น ได้แก่ Jeff Bonforte, Simon Khalaf, Atte Lahtiranta, John DeVine
ส่วนผู้บริหารระดับสูงของ Yahoo เกือบทั้งหมดไม่อยู่ในแผนการของบริษัทใหม่ โดยเฉพาะซีอีโอ Marissa Mayer ที่จะรับทรัพย์ก้อนใหญ่ และซีเอฟโอ Ken Goldman ที่น่าจะประกาศลาออกหลังกระบวนการควบรวมกิจการเสร็จสิ้น
ชะตาชีวิตของ Yahoo หลังจากโดน Verizon ซื้อกิจการไป คือถูกนำไปรวมกับหน่วยธุรกิจ AOL (ที่ถูก Verizon ซื้อไปก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2015) ในฐานะธุรกิจคอนเทนต์ออนไลน์ที่มีแบรนด์ย่อยๆ จำนวนมาก
วันนี้ Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL ก็ประกาศร่างใหม่ AOL+Yahoo ในชื่อว่า "Oath" โดยจะเริ่มมีผลฤดูร้อน (กลางปี) 2017 นี้
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดอย่างเป็นทางการของ Oath ออกมา แต่คาดว่า Oath จะถูกใช้เป็นแค่ชื่อบริษัทเท่านั้น ส่วนแบรนด์สื่อออนไลน์ต่างๆ ทั้ง AOL, Yahoo และสื่ออื่นในเครือจะยังใช้ชื่อเดิม
โครงการ DMOZ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Open Directory Project การทำสารบัญเว็บด้วยมนุษย์ (เว็บเป็นของ AOL แต่ใช้แรงงานอาสาสมัคร) ประกาศปิดตัวในวันที่ 14 มีนาคม 2017 หลังเปิดบริการมาตั้งแต่ปี 1998 หรือเกือบ 20 ปี
DMOZ หรือตอนแรกชื่อว่า Gnuhoo/Newhoo เป็นโครงการที่พยายามสร้างสารบัญเว็บในลักษณะเดียวกับ Yahoo! ในยุคนั้น แต่ใช้ระบบอาสาสมัครและไม่ได้มีจุดประสงค์เชิงการค้า หลังจากเปิดตัวไม่นาน โครงการถูกซื้อโดย Netscape (ที่ภายหลังถูกซื้อโดย AOL อีกต่อหนึ่ง) และเปลี่ยนชื่อเป็น DMOZ (Directory + Mozilla)
AOL ประกาศปลดพนักงาน 5% ของบริษัท โดยคิดเป็นจำนวนพนักงานประมาณ 500 คน โดยเป็นการปลดเพื่อนำทรัพยากรของบริษัทไปเน้นในด้านอุปกรณ์พกพา, วิดีโอ และข้อมูลเป็นหลัก ซึ่ง Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL ให้สัมภาษณ์ไว้ว่าเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของปี 2017
Armstrong ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ด้วยยุทธศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่เราพบเจอในอุตสาหกรรมนี้ เราจะทำการปรับรูปแบบส่วนของบริษัทใหม่ โดยจะจัดให้บริษัทในการขับเคลื่อนคนที่มีความสามารถและทำให้แผนการดำเนินงานมีผลกำไรมากขึ้น
AOL ออกแอพอีเมลตัวใหม่ชื่อ Alto บน iOS และ Android โดยใช้กับอีเมลใดๆ ก็ได้ (ไม่จำเป็นต้องเป็นอีเมลของ AOL จะเป็นพวก Gmail/Outlook ก็ได้)
Alto เป็นแอพอ่านอีเมลแนวคิดใหม่ ที่ออกแบบมาแก้ปัญหาอีเมลล้นโลกในปัจจุบัน เราต้องรับอีเมลจากระบบอัตโนมัติมากกว่าอีเมลจากคนมาก ส่งผลให้ Alto จะคัดแยกอีเมลอัตโนมัติเหล่านี้ให้อัตโนมัติ แยกเป็นหมวด เช่น travel, photos, files, shopping (ไอเดียเดียวกับแอพ Inbox ของกูเกิล)
เท่านั้นยังไม่พอ Alto จะสกัดข้อมูลสำคัญๆ จากอีเมลของเรามาแสดงเป็น dashboard รวบรวมข้อมูลสำคัญให้เราดูง่ายๆ เช่น บอกนัดหมายถัดไป, เที่ยวบินที่ต้องเดินทาง, ข้อมูลการจองโรงแรม (ไอเดียเดียวกับ Google Now เช่นกัน) ใครสนใจทดสอบสามารถดาวน์โหลดได้จาก Altomail.com
ที่มา - Fast Company
เว็บไซต์ Recode รายงานข่าววงในว่าการประมูลซื้อ Yahoo ที่ดำเนินต่อเนื่องมานาน ใกล้จบลงด้วยชัยชนะของ Verizon ตามคาด โดย Verizon จะซื้อธุรกิจหลักของ Yahoo ด้วยมูลค่าประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Verizon เพิ่งซื้อ AOL ไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งรูปแบบธุรกิจของ AOL กับ Yahoo มีความคล้ายกันมาก คือเป็นพอร์ทัลและบริการออนไลน์ หารายได้จากโฆษณาเป็นหลัก แนวคิดของ Verizon คือการผนวก AOL กับ Yahoo เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างบริษัทออนไลน์รายใหม่ขึ้นมาต่อกรกับขั้ว Google/Facebook อีกที
ต่อจากข่าว ความยากลำบากของ Yahoo จนต้องมองหาโอกาสขายกิจการ วันนี้มีข่าวผู้สนใจซื้อโผล่มาบ้างแล้ว นั่นคือ Verizon โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
Verizon เพิ่งซื้อ AOL ไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งธุรกิจของ AOL กับ Yahoo มีความคล้ายคลึงกันมาก (พอร์ทัล เนื้อหา โฆษณา) เว็บไซต์ Bloomberg รายงานข่าววงในว่า Verizon มอบหมายให้ Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL เป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าควรซื้อ Yahoo หรือไม่ (นอกจากนี้ Tim Armstrong ยังเป็นศิษย์เก่า Google เช่นเดียวกับ Marissa Mayer ด้วย)
Allie Kline ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ AOL (ปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือ Verizon) ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider บอกว่า "เป็นไปได้" ที่เราจะเห็น AOL เลิกใช้แบรนด์ AOL ในอนาคต
เหตุผลคือแบรนด์ AOL หรือ America Online เป็นแบรนด์ที่ชาวอเมริกันรู้จักเยอะจริง แต่คนกลับจดจำชื่อ AOL ในฐานะอินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ (dial-up), บริการอีเมล และโปรแกรมแชท AOL Instant Messenger ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในยุคเก่า ในขณะที่บริษัทมีบริการใหม่ๆ อีกมากที่ไม่ได้ใช้ชื่อ AOL เช่น เว็บไซต์อย่าง Engadget, TechCrunch, Huffington Post รวมถึงแผนที่ออนไลน์ MapQuest
มีแฮ็กเกอร์รายหนึ่งอ้างว่าแฮ็กบัญชีอีเมลส่วนตัวบน AOL ของ John Brennan ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองสหรัฐ (CIA) และปล่อยข้อมูลที่ได้จากบัญชี AOL ของเขาสู่สาธารณะ
จุดที่น่าสนใจคือบัญชี AOL ของ Brennan เป็นบัญชีส่วนตัว แต่กลับมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับงานของรัฐบาลอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น ข้อมูลส่วนตัวของผู้บริหารระดับสูงของ CIA และเอกสารสำคัญอื่นๆ
แฮ็กเกอร์รายนี้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ New York Post ว่ายังเป็นนักเรียนชั้นไฮสกูล ไม่ใช่คนมุสลิม แต่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ และสนับสนุนปาเลสไตน์ ส่วนวิธีการแฮ็กใช้กระบวนการ social engineering โดยหลอกพนักงานของบริษัท Verizon ให้บอกข้อมูลส่วนตัวของ Brennan เพื่อใช้รีเซ็ตรหัสผ่านเข้าบัญชี AOL อีกทีหนึ่ง
ไมโครซอฟท์โอนสิทธิการขายโฆษณาแบบแบนเนอร์ (display ads) บนเว็บไซต์และบริการออนไลน์ของตัวเอง (เช่น MSN, Skype, Xbox) ใน 9 ประเทศให้กับ AOL โดยพนักงานไมโครซอฟท์ประมาณ 1,200 คนที่อยู่ในส่วนนี้จะย้ายไปเป็นพนักงานของ AOL ด้วย
ฝั่งของ AOL จะเปลี่ยนเอนจินค้นหาบนเว็บของตัวเองจากกูเกิลเป็น Bing โดยข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 10 ปี
ส่วนการขายโฆษณาในอีก 10 ประเทศ (ที่ไม่อยู่ใน 9 ประเทศข้างต้น) ไมโครซอฟท์จะโอนสิทธิการขายให้บริษัทโฆษณา AppNexus แทน
Verizon ยักษ์ใหญ่ของวงการโทรคมนาคมสหรัฐ ประกาศซื้อกิจการเว็บพอร์ทัลและสื่อออนไลน์รายใหญ่ AOL คิดเป็นมูลค่าราว 4.4 พันล้านดอลลาร์
Verizon ระบุเหตุผลของการซื้อว่า AOL เข้มแข็งในตลาดคอนเทนต์และโฆษณาอยู่แล้ว เมื่อนำมาผนวกกับโครงการโทรคมนาคมของตัวเองก็จะกลายเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่มาก ครอบคลุมอุปกรณ์หลากหลายประเภท สร้างโอกาสทำเงินได้อีกมาก
หลังซื้อกิจการเสร็จแล้ว ธุรกิจของ AOL จะยังแยกกันบริหารกับ Verizon และ Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL ก็จะยังอยู่ในตำแหน่งเดิมต่อไป กระบวนการขั้นต่อไปคือ Verizon จะยื่นข้อเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้น (tender offer) และคาดว่าจะควบกิจการเสร็จสิ้นช่วงกลางปีนี้
หลังจากที่มีข่าวลือเรื่องการปิดเว็บไซต์ของ AOL ทั้ง Joystiq และ TUAW ล่าสุดทั้ง 2 เว็บประกาศปิดเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ โดยเว็บไซต์ Joystiq จะโยกทีมงานบางส่วนมาที่ Engadget ขณะที่ทีมงานที่เหลือยังไม่ทราบชะตากรรม ขณะที่เว็บไซต์ TUAW จะนำข่าวทั้งหมดมาไว้ที่ Engadget
ทั้งนี้ ทีมงาน TUAW บางส่วนจะย้ายมาเปิดเว็บใหม่ของตัวเองในนาม Apple World Today ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ โดยจะยังคงสไตล์การเขียนของ TUAW เหมือนเดิมทุกประการ
หลังจากที่มีข่าวลือมาก่อนหน้านี้ว่า AOL เตรียมปิดเว็บไซต์ Joystiq ล่าสุด เว็บไซต์ The Verge รายงานจากแหล่งข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นว่า AOL เตรียมปิดเว็บไซต์ TUAW (The Unofficial Apple Weblog) เว็บไซต์ข่าวสำหรับสาวกแอปเปิล โดยจากรายงานระบุว่า TUAW จะปิดตัวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้
โดยจากรายงานของเว็บไซต์ TechCrunch ระบุเสริมว่า AOL เตรียมที่จะปลดพนักงานราว ๆ 150 คน โดยจะนำทีมงานเดิมของ TUAW และ Joystiq เข้าร่วมกับทีมงานของ Engadget โดย Joystiq จะยังคงไม่รวมกับทีมงานของ Engadget ส่วนทีมงานของ AOL Autos จะไปรวมกับทีมงานของ Autoblog แทน
เว็บไซต์ Recode เผย "ข่าวลือวงใน" ว่าเว็บข่าวเกม Joystiq อาจต้องปิดตัวลง หลังบริษัทแม่ AOL เตรียมล้างบางเว็บในสังกัดที่ผลประกอบการไม่เข้าเป้า
Joystiq เปิดเมื่อปี 2004 โดยเป็นเว็บเกมในเครือเดียวกับ Engadget และถูก AOL ซื้อยกบริษัทในปี 2005 นับถึงปัจจุบันก็คือเปิดมาเกิน 10 ปีแล้ว (เปิดปีเดียวกับ Blognone)
ฝั่งของ Joystiq รับมือกับเรื่องนี้โดยลงข่าวบนหน้าเว็บของตัวเองแบบติดตลกว่า "We do not comment on rumor and speculation" แต่ก็ให้ข้อมูลว่ามีข่าวลือมาสักระยะแล้ว แต่ยังไม่มีคำแถลงอย่างเป็นทางการจาก AOL ซึ่งทีมงาน Joystiq ก็ยืนยันจะทำงานต่อไปจนถึงวันสุดท้าย
Reuters รายงานข่าววงในว่าผู้ถือหุ้นยาฮูรายใหญ่ (ระดับติด Top 10) อย่างน้อย 2 รายไม่พอใจผลงานของซีอีโอ Marissa Mayer และเริ่มหาทางออกโดยเสนอให้ AOL มาควบรวมกิจการกับยาฮู (เพราะมีธุรกิจใกล้เคียงกัน)
ตามข่าวบอกว่าผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้ได้พบปะกับ Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL เพื่อเสนอแนวคิดนี้แล้ว โดย Armstrong สนทนากับผู้ถือหุ้นด้วยดี และรับทราบข้อดีของการควบกิจการตามที่เสนอ แต่ก็บอกว่าการควบกิจการเกิดขึ้นจริงได้ยาก และทางฝั่งของ AOL ยังไม่เคยพูดคุยกับยาฮูในเรื่องนี้เลย
กลุ่มบริษัทไอทีชื่อดังผู้ให้บริการออนไลน์ ได้แก่ Aol., Apple, Dropbox, Facebook, Google, LinkedIn, Microsoft, Twitter, และ Yahoo! ลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีและรัฐสภาสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการปฎิรูป 5 ประเด็นสำคัญในกระบวนการสอดส่องข้อมูลออนไลน์ ได้แก่
ข่าวยอดนิยมข่าวหนึ่งของ Blognone เมื่อปีที่แล้วคือ ปิดตำนาน Winamp ประกาศหยุดพัฒนาแล้ว และหลังจากนั้นไม่นานก็มีข่าวลือออกมาว่าไมโครซอฟท์สนใจซื้อต่อ
ล่าสุดมีข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการว่า AOL ขาย Winamp และเซิร์ฟเวอร์สตรีมเพลง Shoutcast ออกไปแล้ว แต่ผู้ซื้อที่แท้จริงคือ Radionomy บริษัทรวมช่องวิทยุออนไลน์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเบลเยียม คาดว่าเป้าหมายหลักของ Radionomy น่าจะอยู่ที่ Shoutcast มากกว่า Winamp โดยตรงครับ
ตอนนี้ทั้ง AOL และ Radionomy ยังไม่ออกมาประกาศข่าวนี้อย่างเป็นทางการ แต่โดเมนเนมของ Winamp ถูกเปลี่ยนเป็นของ Radionomy แล้ว
คล้อยหลังข่าว ปิดตำนาน Winamp ประกาศหยุดพัฒนาแล้ว เมื่อวานนี้ไม่นาน ก็มีข่าวลือมาจากเว็บไซต์ TechCrunch ว่าไมโครซอฟท์สนใจซื้อกิจการ Winamp และเซิร์ฟเวอร์สตรีมเพลง Shoutcast จากเจ้าของเก่า AOL ครับ
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ ว่าไมโครซอฟท์จะซื้อ Winamp/Shoutcast ไปทำไม และถ้าหากว่าซื้อกิจการจริงๆ ไมโครซอฟท์จะอยากได้แค่คน (แล้วปิด Winamp) หรือจะคืนชีพ Winamp กลับมาด้วย ส่วนฝั่งของ AOL นั้นคงชัดเจนว่าถ้ามีคนมาขอซื้อก็ขายเอาเงินดีกว่าปิดไปเฉยๆ
ที่มา - TechCrunch
การซื้อบริษัทดาวรุ่งแล้ว "เอาไปดอง" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังกระแส Web 2.0 บูมเมื่อหลายปีก่อน มาถึงวันนี้เราเริ่มเห็นข่าวเว็บดังในอดีตถูกปรับเปลี่ยนเจ้าของใหม่โดยยังรักษาแบรนด์เดิมเอาไว้ และหวังว่าจะกลับมาได้อีกครั้ง (ตัวอย่างเช่น MySpace และ Digg)
Bebo อดีต social network รุ่นเก๋าอีกตัวที่โดน AOL ซื้อไปเมื่อปี 2008 ด้วยมูลค่าสูงถึง 850 ล้านดอลลาร์ แต่ก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้จนต้องขายทิ้งในปี 2010 ให้บริษัทลงทุน Criterion Capital Partners ด้วยมูลค่าตามที่ข่าวรายงานว่าไม่ถึง 10 ล้านดอลลาร์
ให้หลังจากการจากไปของ Google Reader ก็มีคนมารับไม้ต่อหลายราย ล่าสุดรายใหญ่อย่าง AOL ออกมาเปิดตัวบริการอ่านฟีดข่าวของตัวเองในชื่อ AOL Reader
ตอนนี้ตัว AOL Reader ยังไม่เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการ เพราะยังอยู่ในช่วงทดสอบภายในอยู่ ฟีเจอร์เด่นๆ ที่หลุดมาก่อนเปิดตัวจริงมีดังนี้ครับ