Windows Subsystem for Linux
Red Hat ประกาศรับรอง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เป็นดิสโทรอย่างเป็นทางการบน Windows Subsystem for Linux (WSL)
ที่ผ่านมา เราสามารถนำดิสโทรใดๆ ก็ได้ไปรันบน WSL ได้เองอยู่แล้ว โดยไมโครซอฟท์มีความร่วมมือกับดิสโทรบางราย เช่น Ubuntu, Debian, Fedora ให้รองรับ WSL อย่างเป็นทางการ และมีแพ็กเกจของดิสโทรเหล่านี้ให้กดคลิกดาวน์โหลดจาก Microsoft Store ได้เลย
ประกาศนี้คือ Red Hat ประกาศรองรับ RHEL บน WSL อย่างเป็นทางการ ในแง่การใช้งานคงไม่ต่างอะไรกับการดาวน์โหลด RHEL มาติดตั้งเอง แต่สำหรับลูกค้าองค์กร การที่มี RHEL อย่างเป็นทางการให้ใช้งานบน WSL จะช่วยให้รันแอพพลิเคชันองค์กรข้ามไปมาระหว่าง RHEL ปกติกับ RHEL WSL ได้ง่ายขึ้นมาก
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ WSL ในงาน Microsoft Ignite โดยเพิ่ม Red Hat Enterprise Linux อย่างเป็นทางการ โดยทาง Red Hat จะส่งอิมเมจเข้ามาภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เพิ่มทางเลือกให้กับนักพัฒนาที่ต้องการใช้ดิสโทรใกล้เคียงกับโปรดักชั่นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากการรับดิสโทรใหม่ ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุงแนวทางการสร้างดิสโทรสำหรับ WSL ให้ง่ายขึ้น สามารถ export จาก Docker container เลยก็ได้ ทำให้หลังจากนี้เราน่าจะได้เห็นดิสโทรใหม่ๆ บน WSL กันมากขึ้น
Windows Subsystem for Linux หรือ WSL ให้บริการมาหลายปีแล้ว แต่ข้อจำกัดสำคัญของมันคือใช้เคอร์เนลเวอร์ชันเก่า 5.15 (ออกในปี 2021) ติดต่อกันมาหลายปี จึงขาดฟีเจอร์ของเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันใหม่ๆ ที่ออกในช่วงหลัง
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับเวอร์ชันเคอร์เนลที่ใช้ใน WSL เป็นเคอร์เนล 6.6 ซึ่งเป็นเคอร์เนลระยะยาว (LTS) เวอร์ชันล่าสุด (ตัวเสถียรล่าสุดจริงๆ ตอนนี้คือ 6.9.7) ถือเป็นสัญญาณอันดีของผู้ใช้งาน แม้ตอนนี้ยังปรับเฉพาะ WSL เวอร์ชันใน GitHub ก็ตาม ส่วนผู้ใช้ทั่วไปคงต้องรอไมโครซอฟท์ออกอัพเดต WSL กันให้อีกที
ของใหม่อีกอย่างใน WSL อัพเดตล่าสุดการรองรับ kernel module support สามารถโหลดโมดูลของเคอร์เนลเพิ่มได้ด้วย ช่วยขยายการใช้งาน WSL ให้ใกล้เคียงกับลินุกซ์ตัวเต็มมากขึ้นนั่นเอง
Windows AI Studio ชุดเครื่องมือพัฒนา AI บนวินโดวส์ ที่ไมโครซอฟท์เปิดตัวในงาน Ignite 2023 ตอนนี้เปิดให้ดาวน์โหลดมาทดสอบแล้วแบบพรีวิว
Windows AI Studio อยู่ในรูปส่วนขยายของ VS Code นั่นแปลว่าเราต้องติดตั้ง VS Code บนวินโดวส์ซะก่อน แต่ที่ย้อนแย้งคือถึงแม้ชื่อมันมีคำว่า Windows นำหน้า แต่การรันจำเป็นต้องมี Windows Subsystem for Linux (WSL) และ Ubuntu 18.04 ขึ้นไปอยู่ในเครื่องด้วย แถมตอนนี้ยังรองรับเฉพาะการ์ดจอค่าย NVIDIA เท่านั้น
WSL เคอร์เนลลินุกซ์ที่รันอยู่ในวินโดวส์นับเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนแอปลินุกซ์บนวินโดวส์ได้อย่างสะดวก ตอนนี้ออกเวอร์ชั่น 2.0.0 pre-release ให้นักพัฒนามาทดสอบกันก่อนจะออกตัวจริง โดยมีฟีเจอร์สำคัญคือการคืนแรมและดิสก์ตามการใช้งานจริง ทำให้ระบบรวมเป็นเนื้อเดียวกับวินโดวส์มากขึ้น
ฟีเจอร์ชุดนี้ยังอยู่ในสถานะทดลองทั้งหมด โดยที่จริงเป็น 6 ฟีเจอร์ที่ทำให้ WSL ทำงานเป็นเนื้อเดียวกับวินโดวส์มากขึ้น ได้แก่
ไมโครซอฟท์ออก WSL 1.0 (อาจจะต้องเรียกว่า WSL2 1.0) หลังจากพัฒนามายาวนาน โดย WSL นั้นเปิดตัวในงาน BUILD 2016 แต่ WSL2 ที่ออกปี 2019 นั้นเปลี่ยนสถาปัตยกรรมไปมาก โดยหันไปพอร์ตเคอร์เนลลินุกซ์ทั้งก้อนมารันอยู่ใน VM ภายใต้วินโดวส์แทนการจำลอง system call
การออก WSL 1.0 ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมากนัก แต่เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ก็มีการอัพเดต WSLg สำหรับโปรแกรมแบบ GUI ไป
ไมโครซอฟท์ปล่อยตัวติดตั้ง WSL 1.0 ในรูปแบบ MSIX Bundle ติดตั้งได้ทั้ง x64 และ ARM64
ที่มา - GitHub: microsoft/WSL
ไมโครซอฟท์ปล่อย WSL 0.67.6 ให้ใช้งานใน Windows Insider วันนี้ แม้จะเป็นเพียงรุ่นย่อย แต่เวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่นแรกที่รองรับ systemd ใน WSL ทำให้แอปจำนวนมากบนลินุกซ์ที่ต้องการ systemd สามารถใช้งานได้เต็มตัว โดยไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ Canonical ในการพัฒนาระบบนี้
การควบคุม service ต่างๆ บน WSL ใช้คำสั่ง systemctl ได้เหมือนการใช้ลินุกซ์บนเครื่องปกติ แต่ซอฟต์แวร์ที่ก่อนหน้านี้รันบน WSL ไม่ได้ เช่น snap หรือ microk8s ตอนนี้จะรันได้เหมือนเครื่องปกติแล้ว จากเดิมก่อนหน้านี้การใช้ Kubernetes ต้องติดตั้ง Docker Desktop หรือ Rancher Desktop
ไมโครซอฟท์ปล่อย WSL2 ลง Windows Server 2022 โดยผู้ใช้ต้องติดตั้งแพตช์ KB5014678 เสียก่อน จากนั้นสามารถรันคำสั่ง wsl --install
เพื่อติดตั้ง WSL2 ได้เลย
WSL2 ต่างจาก WSL ตัวแรกอย่างมาก โดยไมโครซอฟท์อาศัยระบบ virtual machine มารันเคอร์เนลลินุกซ์คู่กับเคอร์เนลวินโดวส์เอง ทำให้การทำงานเหมือนลินุกซ์มากขึ้น และประสิทธิภาพดีกว่า WSL ตัวแรกมาก
ที่มา - Microsoft DevBlogs
HP ประกาศพรีโหลด Windows Subsystem for Linux 2 (WSL2) และเปิดใช้งานเป็นดีฟอลต์กับเครื่องเวิร์คสเตชันตระกูล Z ของบริษัทบางรุ่น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าพีซีเวิร์คสเตชัน ที่ต้องใช้งานทั้งวินโดวส์และลินุกซ์ โดยไม่ต้องบูตเครื่องสลับไปมา หรือรันลินุกซ์ใน VM ที่ประสิทธิภาพไม่ดีเท่า
HP บอกว่ามีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์จำพวก machine learning และ data science มากขึ้น จึงได้ปรับซอฟต์แวร์ของตัวเองจากลินุกซ์ให้ทำงานร่วมกับ WSL2 ได้ดีขึ้น ตัวดิสโทรที่เลือกใช้คือ Ubuntu
ปัจจุบันการติดตั้ง WSL2 ทำได้ง่ายขึ้นมากๆ แล้ว แต่การเปิดใช้ WSL2 มาเป็นดีฟอลต์เลยก็เป็นสัญญาณว่าการใช้งานลินุกซ์บนวินโดวส์แพร่หลายขึ้นกว่าเดิมมาก
ไมโครซอฟท์แยก Windows Subsystem for Linux (WSL) บน Windows 11 ออกเป็นแอปพลิเคชั่นแยกแทนที่จะเป็นฟีเจอร์ของวินโดวส์เหมือนเคย ทำให้กระบวนการอัพเกรด WSL แยกออกจากวินโดวส์ ตอนนี้ผู้ใช้สามารถใช้เวอร์ชั่นพรีวิวได้โดยไม่ต้องเลือก Windows Insider ไปทั้งหมด
เวอร์ชั่นพรีวิวตอนนี้มีฟีเจอร์เพิ่มมาหลายอย่าง เช่น WSLg สำหรับใช้งานแอป GUI, รองรับดิสก์จากลินุกซ์ รวมถึงไฟล์ VHD จากอิมเมจ, ใช้ชิปกราฟิกสำหรับรันงานปัญญาประดิษฐ์ได้, และอัพเดตเคอร์เนลเป็นเวอร์ชั่น 5.10.60.1
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ยังไม่ปล่อยอัพเดต Windows 11 ให้ทุกคน คนที่ได้รับแล้วก็สามารถติดตั้งใช้งานได้ทันที หากมี WSL อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว เวอร์ชั่นจาก Store จะถูกใช้งานเป็นตัวหลักก่อนเสมอ
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว Microsoft ได้เปิดให้ผู้ใช้ Windows 10 Insider Preview สามารถติดตั้ง WSL (Windows Subsystem for Linux) ได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง wsl --install ลดความยุ่งยากที่ปกติผู้ใช้ต้องเปิดการตั้งค่าบางอย่างรวมถึงติดตั้งแพคเกจเอง
ล่าสุด Microsoft ได้เปิดให้ผู้ใช้ Windows 10 v2004 หรือสูงกว่า สามารถใช้งานฟีเจอร์แบบเดียวกันนี้ได้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยต้องอัพเดต Windows ให้เป็นแพตช์ล่าสุดก่อน หรือถ้าจะเจาะจงแพตช์ มันคืออัพเดตรหัส KB5004296 ที่เพิ่งปล่อยออกมา หากตรวจสอบในเครื่องตนเองแล้วมีแพตช์นี้ติดตั้งอยู่ก็พร้อมใช้งานได้เลย (ผมเช็คในเครื่องตัวเองขึ้นว่าเป็น Optional Update)
ไมโครซอฟท์ปล่อยฟีเจอร์ WSLg รองรับการรันโปรแกรม GUI ผ่านทาง WSL บนวินโดวส์ เปิดทางให้เราสามารถใช้วินโดวส์รันโปรแกรมต่างๆ ที่รองรับลินุกซ์ได้เต็มรูปแบบ
WSLg รองรับทั้งระบบเสียงไมโครโฟนและลำโพง ระบบกราฟิกสามารถเร่งความเร็วด้วยชิปกราฟิกหากลินุกซ์ที่ใช้รองรับ Mesa 21.0 ขึ้นไป
แนวทางของไมโครซอฟท์ในการรันโปรแกรม GUI อาศัยการสร้างลินุกซ์ดิสโทรใหม่สำหรับรันโปรแกรม GUI โดยเฉพาะ ชื่อว่า WSLg System Distro
เมื่อผู้ใช้รันโปรแกรม GUI ตัว WSL จะรันดิสโทรนี้ขึ้นมาเอง และวินโดวส์ก็จะรัน RDP Client เข้าไปเชื่อมต่อเพื่อแสดงหน้าจอ GUI ของโปรแกรม ตัวลินุกซ์ดิสโทรเฉพาะนี้จะหยุดรันอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้เลิกใช้ GUI
ฟีเจอร์นี้เริ่มปล่อยแล้วใน Windows Insider build 21364 ขึ้นไป
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์เป็นเวอร์ชั่น 5.10.16.3 สำหรับผู้ใช้ Windows Insider นอกจากจะได้รับฟีเจอร์เคอร์เนลตามปกติแล้วยังมีฟีเจอร์สำคัญคือการอ่านดิสก์เข้ารหัส LUKS ที่นิยมใช้งานกันในลินุกซ์
ฟีเจอร์นี้ทำให้วินโดวส์สามารถอ่านไฟล์จากดิสก์เข้ารหัสไปได้ด้วยผ่านทางฟีเจอร์ wsl --mount
ที่เปิดตัวปีที่แล้ว คำสั่งที่ใช้ถอดรหัสนั้นเป็น cryptsetup
เหมือนบนลินุกซ์ปกติ
สำหรับผู้ใช้ WSL ปัจจุบัน เคอร์เนลเวอร์ชั่นนี้ยังแก้บั๊กการซิงก์นาฬิกาที่ทำให้เวลาบน WSL ไม่ตรงกับเวลาจริงอีกด้วย
ไมโครซอฟท์เพิ่มคำสั่งคอมมานด์ไลน์ให้สามารถติดตั้ง Windows Subsystem for Linux (WSL) พร้อมดิสโทรที่ชอบ ได้ในคำสั่งเดียว
ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์เปิดให้ติดตั้ง WSL ในคำสั่งเดียว wsl --install แล้วค่อยติดตั้งดิสโทรอีกทีหนึ่ง ตอนนี้ถ้าไม่ระบุอะไรเป็นพิเศษ การพิมพ์คำสั่ง wsl --install จะเลือก Ubuntu เวอร์ชันล่าสุดบน Microsoft Store มาให้
ผู้ใช้สามารถเจาะจงดิสโทรอื่นได้ด้วยคำสั่ง wsl --install -d <Distro> โดยดูรายชื่อดิสโทรทั้งหมดจาก wsl --list --online ตอนนี้ดิสโทรที่มีให้เลือกคือ Ubuntu, Debian, Kali, OpenSUSE, SUSE Enterprise Linux (SLES)
การใช้งานต้องอยู่บน Windows 10 Insider Preview Build 20246 ขึ้นไป
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ WSL 2 ใน Windows 10 Insider Preview Build 20211 ให้สามารถเมานท์ระบบไฟล์จากดิสก์ที่เป็นลินุกซ์ในเครื่องเดียวกันได้
ตัวอย่างการใช้งานคือ หากเครื่องนั้นเป็นดูอัลบูททั้งวินโดวส์และลินุกซ์ ปกติแล้วฝั่งวินโดวส์จะไม่เห็นไฟล์จากฝั่งลินุกซ์ (เพราะวินโดวส์ไม่รองรับระบบไฟล์อย่าง ext4) แต่พอในวินโดวส์มีลินุกซ์ WSL 2 เรื่องนี้ก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
วิธีการคือสั่ง wsl --mount <DiskPath> เท่านั้นก็เรียบร้อย (หาพาธด้วยคำสั่ง wmic diskdrive list brief) เมื่อเมานท์เสร็จแล้ว เราสามารถเข้าถึงไฟล์ได้ทั้งจากคอมมานด์ไลน์ หรือจะผ่าน File Explorer ก็ได้
Kali Linux ดิสโทรลินุกซ์สำหรับทดสอบความปลอดภัย ออกรุ่น 2020.3 มีฟีเจอร์สำคัญคือ Win-KeX (Windows + Kali Desktop EXperience) ที่ช่วยให้รัน Kali แบบ GUI บน Windows Subsystem for Linux (WSL 2) ได้ในคำสั่งเดียว
Kali บอกว่าการมาถึงของ WSL 2 ทำให้การรันลินุกซ์บนวินโดวส์มีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก เพียงแต่การรัน GUI บน WSL 2 ยังมีความซับซ้อนอยู่ จึงพัฒนา Win-KeX มาช่วยแก้ปัญหานี้
ขั้นตอนการรัน Kali Linux แบบมี GUI จึงเหลือแค่เพียง
ไมโครซอฟท์ประกาศพอร์ตฟีเจอร์ Windows Subsystem for Linux (WSL 2) กลับมาให้ Windows 10 เวอร์ชันเก่าคือ v1903 และ v1909 ด้วย จากเดิมที่เริ่มให้ใช้ใน v2004 เป็นต้นไป
เหตุผลที่พอร์ต WSL 2 กลับมาเป็นเพราะฟีเจอร์นีได้รับความนิยมสูง ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องการขยายฐานผู้ใช้งานให้กว้างยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม WSL 2 บน Windows 10 v1903/v1909 รองรับเฉพาะสถาปัตยกรรมซีพียู x64 เท่านั้น ในขณะที่บน v2004 รองรับสถาปัตยกรรม ARM64 เพิ่มด้วย
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 20150 ในรุ่นทดสอบ Dev Channel (Fast Ring) เดิม มีของใหม่คือ Windows Subsystem for Linux (WSL) รองรับ GPU แล้ว ตามที่เปิดตัวในงาน Build 2020 เมื่อเดือนที่แล้ว ช่วยให้เราสามารถรันงานที่ต้องใช้ GPU (เช่น เทรน AI) บน WSL ได้โดยตรง
ไมโครซอฟท์ยังแก้ปัญหา WSL ติดตั้งยาก เพราะต้องกดเปิดใช้งานจากหน้า Settings ก่อนหลายขั้นตอน ด้วยคำสั่งเดียวจบ wsl.exe --install จากนั้นค่อยไปติดตั้งดิสโทรลินุกซ์ในขั้นถัดไป (ไมโครซอฟท์บอกว่าในอนาคตจะใช้คำสั่งเดียว เปิดใช้ WSL และติดตั้งดิสโทรให้ด้วยเลย)
ในข่าว Windows Terminal 1.0 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะเรนเดอร์กราฟิกของแอพจากลินุกซ์ด้วย GPU ด้วย เบื้องหลังของมันคือสิ่งที่อาจจินตนาการไม่ถึงเมื่อหลายปีก่อนอย่าง DirectX บนลินุกซ์ (ในความหมายนี้คือลินุกซ์ที่ติดตั้งบน Windows Subsystem for Linux 2 หรือ WSL 2)
ไมโครซอฟท์อธิบายว่าพัฒนาเทคนิค GPU paravirtualization (GPU-PV) บนวินโดวส์มาหลายปีแล้ว และใช้งานในโปรแกรมฝั่งวินโดวส์หลายตัว เช่น Windows Defender Application Guard, Windows Sandbox และอีมูเลเตอร์ของ Hololens
งาน Microsoft Build 2020 ปีนี้จัดเป็นงานออนไลน์ และไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการออกมาชุดใหญ่ โดยหนึ่งในนั้นคือ Windows Terminal ที่ออกรุ่น 1.0 ถือเป็นรุ่นพร้อมใช้งานจริงจังรุ่นแรกนับแต่ไมโครซอฟท์ประกาศโครงการมา
แต่จุดที่เปลี่ยนเยอะกว่าคือ Windows Subsystem for Linux หรือ WSL ที่ประกาศจะรองรับ GPU ในการประมวลผล พร้อมกับรองรับแอป GUI จากลินุกซ์ได้โดยตรง ทำให้นักพัฒนาสามารถติดตั้งแอป GUI โดยไม่ต้องติดตั้ง X Server เพิ่มเติมอีกต่อไป
นอกจากการเพิ่มฟีเจอร์แล้ว WSL จะสามารถติดตั้งด้วยคำสั่ง wsl.exe --install
ใน command line ได้โดยตรง
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 19603 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ แสดงไฟล์จากลินุกซ์ใน File Explorer
ฟีเจอร์นี้เป็นผลพวงมาจาก Windows Subsystem for Linux (WSL) หากเครื่องนั้นเปิดใช้ WSL อยู่ จะเห็นไอคอนรูปเพนกวินโผล่ขึ้นมาใน File Explorer เมื่อเปิดเข้าไปแล้วจะเห็นดิสโทรลินุกซ์ที่เราติดตั้งไว้ (เช่น Debian, Ubuntu) และเข้าไปเจอกับ root file system ที่คุ้นเคย (เช่น /bin /boot /etc)
ที่มา - Microsoft
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าฟีเจอร์ Windows Subsystem for Linux 2 (WSL 2) ที่เปิดตัวช่วงกลางปี 2019 และพัฒนามานานเกือบปี จะเสร็จสมบูรณ์และเข้าสถานะ GA (generally available) ใน Windows 10 เวอร์ชันหน้า v2004 ที่จะออกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้
จุดเด่นของ WSL2 คือมีเคอร์เนลลินุกซ์จริงๆ รันอยู่ข้างในวินโดวส์ (ซ้อนอยู่ด้วย VM เพื่อความปลอดภัย) ทำให้โปรแกรมบนลินุกซ์สามารถรันบน WSL2 ได้ตรงๆ ต่างจาก WSL1 ที่เป็นการจำลองเคอร์เนลลินุกซ์บนเคอร์เนลวินโดวส์ ผลคือประสิทธิภาพดีขึ้นมาก และรองรับโปรแกรมเพิ่มขึ้น เช่น Docker ที่สามารถรันบน Windows 10 Home ได้แล้ว
Docker ออก Docker Desktop Edge 2.2.2.0 ที่มีฟีเจอร์พิเศษคือรองรับ Windows 10 Home เป็นครั้งแรก โดยใช้ WSL 2 แทน Hyper-V ตามหลังรุ่น 2.2 ที่รองรับ WSL 2 มาก่อนแล้ว
วินโดวส์ที่จะรันได้ ต้องเป็น Windows 10 Insider Preview build 19040 ขึ้นไปเท่านั้น
ฟีเจอร์ที่ได้เท่ากับการใช้ Windows 10 Professional เช่น Kubernetes, หน้าจอ UI, ดึงทรัพยากรเครื่องตามที่ใช้งานจริง เป็นต้น
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
Docker ประกาศออก Docker Desktop เวอร์ชัน 2.2 ของใหม่ที่สำคัญสำหรับชาววินโดวส์คือ รองรับ WSL 2 ฟีเจอร์ใหม่ของ Windows 10 รุ่นถัดไป (20H1) ที่ฝังเคอร์เนลลินุกซ์ตัวเต็มมาในวินโดวส์เลย
การที่วินโดวส์มีเคอร์เนลลินุกซ์มาให้โดยตรง ทำให้การรันลินุกซ์ในคอนเทนเนอร์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก เพราะก่อนหน้านี้ต้องรันลินุกซ์ใน VM บน Hyper-V อีกที (ซ้อนสองชั้น) ก็เปลี่ยนมาเป็นการรันบนเคอร์เนลลินุกซ์โดยตรงได้เลย
ฟีเจอร์นี้ยังมีสถานะเป็น technical preview โดยต้องเปิดใช้งานจากหน้า Settings
อะไรก็เกิดขึ้นได้กับไมโครซอฟท์ยุคนี้ ล่าสุดเราจะได้เห็นงานสัมมนาด้านลินุกซ์ WSLconf ไปจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของไมโครซอฟท์ที่เมือง Redmond ช่วงเดือนมีนาคม 2020
งานสัมมนา WSLconf เป็นงานที่จัดขึ้นโดยชุมชน (ไม่ใช่งานของไมโครซอฟท์เอง) แต่ก็มีพนักงานของไมโครซอฟท์เข้าร่วมด้วย โดยเนื้อหาหลักเกี่ยวกับ Windows Subsystem for Linux (WSL) ของไมโครซอฟท์
จากกำหนดการเบื้องต้นของงานมีการนำเสนอจากทีม WSL, ดิสโทร Pengwin ซึ่งเป็นการนำ Debian มารันบน WSL และการนำเสนอจากทีม Ubuntu ด้วย
งานเข้าฟังได้ฟรี ใครสนใจไปร่วมงานสามารถดูรายละเอียดได้จาก เว็บเพจ