กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ได้ออกมายืนยันถึงการเริ่มการสืบสวนการลงทุนของกูเกิลในฟีเจอร์ Book Search โดยการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์เป็นจำนวนเงินสูงถึง 125 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (รวมถึงประเด็นที่กูเกิลจะแบ่งส่วนแบ่งการขายหนังสือผ่าน Book Search กับผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์ด้วย) ว่าขัดกับกฏการป้องกันการผูกขาดหรือไม่
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายการป้องการผูกขาดได้กล่าวว่าการเริ่มการสืบสวนดังกล่าวเนื่องจากมีสัญญาณที่กูเกิลจะเติบโตเป็นผู้เล่นรายเดียว โดยไม่มีคู่แข่งเข้ามาเล่นด้วยในเรื่องของการค้นหาหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ระดับโลกเช่นนี้
หลังจากไมโครซอฟท์ได้ประกาศข้อเสนอที่จะปล่อย Windows 7 E ที่ไม่มี Internet Explorer ออกมาจำหน่ายให้กับลูกค่าทั่วไปและผ่านผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการจากโรงงาน (OEMs) แล้ว (ดูข่าวเก่า ไปแล้ว ก็มีเสียงตอบรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น European Commission (EC) หรือกระทั่งหัวเรี่ยวหัวแรงในศึกครั้งนี้อย่าง Opera
แม้ว่าในตอนนี้เบราว์เซอร์ IE6 ยังคงมีผู้ใช้งานอย่างมากมาย ซึ่งส่งผลให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ส่วนใหญ่ต้องประสบปัญหาในการแก้ CSS เพื่อให้ IE6 สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง และในบางเว็บไซต์เจ้าของเว็บไซต์ถึงกับไม่ให้บริการเมื่อใช้งานผ่าน IE6
ดูเหมือนว่า AMD คงจะดีใจไม่น้อยจากการที่สหภาพยุโรปทำการปรับอินเทล หลังจากการทำผิดกฎหมายป้องกันการผูกขาด โดยการปรับหน้าหลักของเว็บตัวเอง ให้มีธงของสหภาพยุโรปและมีข้อความเขียนไว้ว่า "สหภาพยุโรปพบอินเทลกระทำการผิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดและทำร้ายผู้บริโภค"
นอกจากนี้แล้ว AMD ยังมีหน้า Break Free ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดของอินเทล และข้อมูลเกี่ยวกับคดีนี้ทั้งหมด ให้ผู้ที่สนใจอีกด้วย
ที่มา - AMD
AMD เคยร้องเรียนไปในปี 2000 ว่า Intel จ่ายเงินให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อไม่ให้ใช้ชิพจาก AMD
สหภาพยุโรปตัดสินให้ปรับบริษัท Intel 1,450 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 50,000 ล้านบาท) จ่ายค่าปรับในข้อหา ละเมิดกฎห้ามผูกขาดสินค้าของยุโรป ค่าปรับนี้ถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับครั้งที่ไมโครซอร์ฟโดนปรับ 1,300 ล้านดอลลาร์
โดย Intel ได้มีการให้ส่วนลดลับ ๆ อย่างผิดกฎหมายกับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในยุโรป เพื่อจะขับไล่คู่แข่งออกจากตลาด และมีการพบว่า Media Saturn ผู้ค้าปลีกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของยุโรปได้รับเงินจาก Intel เพื่อจะขายคอมพิวเตอร์ที่มีชิพ Intel อย่างเดียว
สหภาพยุโรปสั่งให้ Intel หยุดกระทำการที่ผิดกฎหมายดังกล่าวในทันที
ดูจากรายงานสหภาพยุโรปแล้ว ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าทางสหภาพยุโรปเตรียมที่จะทำการปรับอินเทล เนื่องจากการกระทำผิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า
คาดว่าฝ่ายบริหารสหภาพยุโรป นอกจากที่จะทำการปรับอินเทลแล้ว ยังจะบังคับให้อินเทล เลิกการตัดราคาให้กับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อีกต่อไปด้วย เพื่อที่ผู้แข่งขันที่อยู่ในตลาดรายอื่น ๆ สามารถตีตลาดได้มากขึ้น
ทางสหภาพยุโรป ยังมีหลักฐานยืนยันอีกเช่นกันว่า ทางอินเทลนั้นมีการแจกเงินคืน (Rebate) ให้กับผู้ผลิต OEM เพื่อที่จะชะลอการปล่อยสินค้าของพวกเขาที่ใช้ชิปจาก AMD แล้วให้ปล่อยสินค้าที่มีส่วนชิปจากอินเทลก่อน
ข่าวนี้เป็นข่าวต่อเนื่องจาก Opera ร้องเรียน EU กรณีไมโครซอฟท์ผูกขาดเบราว์เซอร์ (ธ.ค. 2007) ครับ
ความคืบหน้าของกรณีนี้คือ EU ก็ได้เริ่มการสอบสวนไปตามขั้นตอน และก่อนหน้านี้ Mitchell Baker ซึ่งเป็นประธานของ Mozilla ก็ได้ออกมาสนับสนุน EU (บล็อก) และประกาศว่า Mozilla ยินดีให้ความร่วมมือ เช่น ให้ข้อมูลต่างๆ ในฐานะคู่แข่งร่วมวงการ และเคยฟาดฟันกันมาตั้งแต่สมัย Netscape
เป็นที่รู้กันว่าคนจำนวนมากไม่ต้องการใช้งาน Vista แม้จะซื้อเครื่องมาใหม่ก็ตามทำให้ไมโครซอฟท์ต้องยอมที่นะเปิดช่วงเวลาดาวน์เกรดกันนานนับปี แต่การเก็บเงินค่าดาวน์เกรดนี้ก็ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ถูกฟ้องในที่สุด
คำฟ้องมาจากผู้ใช้ในเมือง Los Angeles ที่ชื่อว่า Emma Alvarado โดยเธอระบุในคำฟ้องของเธอว่าการที่ไมโครซอฟท์เก็บค่าธรรมเนียมการดาวน์เกรดเป็นจำนวน 59.25 ดอลลาร์นั้นเป็นการผูกขาดทางการค้า เนื่องจากไมโครซอฟท์ไม่ยอมปล่อยให้ผู้ผลิตขาย XP ได้โดยตรง ทั้งที่ผู้ใช้จำนวนถึง 1 ในสามต้องการใช้งานมัน ส่งผลให้ผู้ใช้ทั้งหมดต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
จากข่าวเก่า ไมโครซอฟต์ถอนตัวจากยาฮู, กูเกิลทำข้อตกลง 800 ล้านดอลลาร์สำเร็จ และ บทสรุปไมโครซอฟท์-ยาฮู-กูเกิล ยก 2 มีข่าวว่าหน่วยงานที่ตรวจสอบการผูกขาดของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐกำลังจับตาดีล 800 ล้านของกูเกิลและยาฮู ถึงแม้ว่ากูเกิลจะแสดงความมั่นใจว่าดีลนี้จะผ่านไปได้ด้วยดี โดยเหตุผลของกูเกิลคือ เป็นดีลที่ไม่ผูกมัดรายเดียว (non-exclusive) ต่อยาฮู
ตอนนี้ข่าวยืนยันแล้ว โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐกำลังสอบถามบริษัทโฆษณาออนไลน์และสื่อหลายแห่ง ว่ามีความเห็นอย่างไรต่อดีลนี้
ข้อโต้แย้งของฝ่ายคัดค้าน (นำโดยไมโครซอฟท์) และฝ่ายสนับสนุน (นำโดยกูเกิล) มีหลายอย่างดังนี้
วันที่ 10 มิย.2551 นีลี่ โครส (Neelie Kroes) หัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันอย่างเสรีของสหภาพยุโรป ปราศรัยในการสัมนาซึ่งจัดขึ้นที่กรุงบรัสเซล สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานของรัฐในสหภาพยุโรป ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีมาตราฐานเปิด
เธอกล่าวว่า "การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่มีมาตราฐานเปิด คือการตัดสินใจทางธุรกิจที่ชาญฉลาดอย่างแท้จริง" "มันมีปัญหาความไม่ปลอดภัยอย่างร้ายแรง ในการใช้ซอฟต์แวร์ที่มาจากบริษัทเดียว" เธอยกย่องเมืองมิวนิค กระทรวงการต่างประเทศเยอรมัน และหน่วยงานหนึ่งของตำรวจฝรั่งเศส ที่ได้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ที่มีมาตราฐานเปิดแล้ว
เมื่อวันพฤหัสที่ ๑๓ ธันวาคม ศกนี้ โอเปร่า บริษัทซอฟท์แวร์นอรเวย์ได้ยื่นฟ้อง ไมโครซอฟท์ต่อคณะกรรมาธิการยุโรปว่าการติดตั้ง IE ผนวกรวมกับวินโดวส์ เป็นการ กระทำความผิดตามกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของยุโรป
คดีนี้ยื่นฟ้องหลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้แพ้คดีครั้งประวัติศาสตร์ในข้อหาผนวกรวมโปรแกรม มีเดียเพลเยอร์กับวินโดวส์ เมื่อเดือนกันยายน ศกนี้ เพียงไม่ถึง ๒ เดือน
ในคดีก่อน ศาลอุทธรณ์ยุโรปได้พิพากษาตามมติของคณะกรรมาธิการยุโรปว่า การติดตั้งโปรแกรมมัลติมีเดียเพลเยอร์ผนวกรวมกับวินโดวส์ เป็นการกระทำความผิด ตามกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของยุโรป ให้ไมโครซอฟท์จำหน่ายวินโดวส์ที่ไม่มี โปรแกรมมัลติมีเดียเพลเยอร์ และจ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาลเป็นเงิน ๔๙๗.๒ ล้านยูโร หรือเท่ากับ ๗๓๖ ล้านเหรียญสหรัฐ