ต่อจากกรณี 6 พันธมิตรชนะประมูลซื้อสิทธิบัตร Nortel วันนี้ศาลทั้งฝั่งสหรัฐและแคนาดาได้อนุมัติการซื้อสิทธิบัตรรอบนี้เรียบร้อยแล้ว
เหตุผลที่ศาลทั้งสองประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เพราะ Nortel ได้ยื่นขอล้มละลายต่อศาลทั้งสองประเทศมาก่อนหน้านี้นั่นเอง
การอนุมัติของศาลไม่เกี่ยวกับข่าวก่อนหน้านี้ว่า หน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐหลายแห่งจะเข้ามาสอบสวนเรื่องนี้
นอกจากกูเกิลที่เป็นเป้าหมายถูกฟ้องสิทธิบัตรโดยตรงแล้ว บริษัทอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 6 พันธมิตรอย่าง Verizon และ HP ก็คัดค้านการซื้อสิทธิบัตรครั้งนี้เช่นกัน
ข่าวต่อเนื่องจากผลการประมูลซื้อสิทธิบัตร Nortel ที่พันธมิตร "ไมโครซอฟท์, แอปเปิล, RIM, EMC, Ericsson, และโซนี่" ชนะประมูลด้วยวงเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์ ปล่อยให้กูเกิลพ่ายแพ้และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องละเมิดสิทธิบัตรมากขึ้นไปอีก
แต่เส้นทางของพันธมิตรทั้ง 6 รายก็เริ่มไม่สดใสเหมือนกัน เพราะหนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานข่าววงในของรัฐบาลสหรัฐว่า หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดธุรกิจหลายแห่งของสหรัฐ กำลังจะสอบสวนข้อหาร่วมมือกันสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม จากกรณีซื้อสิทธิบัตรของ Nortel
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐหรือ FTC เข้าสอบสวนการทำธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของกูเกิลในภาพรวมว่า เข้าข่ายการผูกขาดหรือใช้อำนาจเหนือตลาดเพื่อกีดกันคู่แข่งหรือไม่
ในฝั่งยุโรป กูเกิลถูก EU สอบสวนมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนฝั่งสหรัฐเองก็มีความพยายามจากคณะอนุกรรมการของวุฒิสภาสหรัฐเช่นกัน
ช่วงต้นปีนี้ ยักษ์ใหญ่ของวงการ์ฮาร์ดดิสก์ทั้ง Seagate และ Western Digital ต่างควบกิจการผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายเล็กเข้ามา ย้อนข่าวเก่า
การควบกิจการทั้งสองกรณีทำให้ Seagate และ Western Digital กลายเป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่มากของตลาด (40% และ 50% ตามลำดับ) แต่เรื่องก็ไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะคณะกรรมการยุโรปกำลังเข้าสอบสวนการซื้อกิจการทั้งสองกรณี ว่าเข้าข่ายผูกขาดตลาดหรือไม่
ข่าวนี้ต่อจาก กูเกิลซื้อบริษัทซอฟต์แวร์ขายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ITA Software ซึ่งสร้างประเด็นให้เว็บไซต์จองตั๋วเครื่องบินหลายแห่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ของ ITA รวมตัวกันประท้วง เพราะกลัวโดนกูเกิลกีดกันไม่ให้ใช้ซอฟต์แวร์ ITA อีกต่อไป
สถานการณ์ล่าสุดคือกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ทำข้อตกลงกับกูเกิล โดยอนุมัติให้กูเกิลซื้อกิจการ ITA ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าลูกค้าเดิมของ ITA จะต้องได้ใช้ซอฟต์แวร์ต่อไป ซึ่งกูเกิลก็ได้ตอบสนองเงื่อนไขนี้โดยการันตีว่าลูกค้าเดิมของ ITA จะได้ใช้ซอฟต์แวร์ไปถึงปี 2016
ในโอกาสเดียวกัน กูเกิลก็ประกาศชัดเจนว่าจะรวมทีมของ ITA เข้ามาเพื่อสร้าง "exciting new flight search tools" ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ไมโครซอฟท์ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ระบุว่ากูเกิลผูกขาดตลาดค้นหาในยุโรปและกีดกันคู่แข่งไม่ให้แข่งขันได้ โดยไมโครซอฟท์ขอให้คณะกรรมการยุโรปสั่งกูเกิลให้หยุดการกระทำเหล่านี้
ในบล็อกของไมโครซอฟท์ระบุว่ากูเกิลครองส่วนแบ่งตลาดในยุโรป 95% (ส่วนในอเมริกาครองประมาณ 75%) ส่วนประเด็นที่ไมโครซอฟท์กล่าวหาว่ากูเกิลกีดกันคู่แข่ง ที่ยกตัวอย่างมาในบล็อกของไมโครซอฟท์มี 5 อย่าง (ในคำร้องมีมากกว่านั้น)
ต่อเนื่องจากข่าวเบอร์สองซื้อเบอร์สี่ AT&T บรรลุข้อตกลงซื้อ T-Mobile USA มูลค่า 39 พันล้านดอลลาร์ โอเปอเรเตอร์เบอร์สามของสหรัฐอย่าง Sprint ซึ่งจะกลายเป็น "ผู้ประกอบการรายเล็ก" ทันทีถ้าการซื้อกิจการเสร็จสิ้น ได้ออกมาคัดค้านแล้ว
ในแถลงการณ์ของ Sprint ได้กระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐขัดขวางการซื้อกิจการครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่าจะลดการแข่งขันในตลาด และเกิดผลเสียต่อผู้บริโภคในภาพรวม Sprint ยังได้อ้างถึงกิจการโทรศัพท์พื้นฐานของสหรัฐในอดีตที่เคยถูกผูกขาดโดย AT&T (ในทางนิตินัยแล้วเป็นคนละบริษัทกับ AT&T ในปัจจุบัน) ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตลาด จนศาลสหรัฐต้องสั่งแยกบริษัท AT&T เป็นบริษัทย่อยๆ จำนวน 7 บริษัทในยุค 80s
ช่วงนี้ดูจะเป็นมรสุมทั้งเรื่องสุขภาพและเรื่องธุรกิจสำหรับจ๊อบส์จริงๆ ล่าสุดศาลกลางของสหรัฐเพิ่งสั่งให้จ๊อบส์ต้องตอบคำถามกรณี iTunes ผูกขาดตลาดเพลงออนไลน์ ซึ่งคดีนี้ได้ถูกกลุ่มทนายเพื่อผู้บริโภคฟ้องไว้ตั้งแต่ปี 2005 และล่าสุด ศาลได้ประกาศให้ทางกลุ่มชนะคดีความ โดยได้สิทธิ์ตั้งคำถามได้โดยมีความยาวของการสนทนาไม่เกิน 2 ชม. ซึ่งจะต้องเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ Apple ได้ทำการแก้ไขซอฟท์แวร์เพื่อไม่ให้เพลงที่สร้างโดยใช้ซอฟท์แวร์จาก RealNetworks สามารถฟังได้บน iPod
ไล่มาจาก ฝรั่งเศส, คณะกรรมาธิการยุโรป ตอนนี้การสอบสวนว่าการจัดอันดับผลการค้นหาของกูเกิลเป็นการผูกขาดทางการค้าหรือไม่ก็ลามมาถึงสหรัฐฯ แล้ว โดยวุฒิสมาชิก Herb Kohl ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการการต่อต้านการผูกขาดได้ประกาศว่าเข้าสอบสวนกูเกิล เนื่องจากมีเว็บจำนวนมากได้ร้องเรียนมาว่ากูเกิลได้จัดอันดับผลการค้นหาอย่างไม่เป็นธรรม และการเข้าซื้อโฆษณาบนผลค้นหา
การประกาศนี้เป็นการประกาศเริ่มต้นกระบวนการสอบสวน แต่ผลที่เกิดขึ้นแน่นอนคือการเข้าซื้อบริษัทต่างๆ ในอนาคตของกูเกิลจะถูกตรวจสอบอย่างหนักขึ้น
สงคราม codec ระหว่างค่าย MPEG LA และ WebM ยังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ความเคลื่อนไหวล่าสุดของฝั่ง MPEG LA คือสอบถามไปยังคู่ค้าของตนว่ามีสิทธิบัตรทางวิดีโอชิ้นใดบ้าง เพื่อสร้างชุดของสิทธิบัตร (patent pool) ไปไล่ฟ้องคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุนามแต่เข้าใจตรงกันหมดว่าหมายถึง VP8 และ WebM)
ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐลงมาสืบสวนเรื่องนี้ เพราะอาจเข้าข่ายเจ้าตลาด (H.264 และ MPEG LA) ใช้อิทธิพลกีดกันคู่แข่งหน้าใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด
นอกจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะตัวแทนรัฐบาลกลาง ทางสำนักงานอัยการของรัฐแคลิฟอร์เนียก็เตรียมสืบสวนเรื่องนี้เช่นกัน
ที่มา - Wall Street Journal
กูเกิลถูกกำลังถูกคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) สอบสวนหาหลักฐานว่ากูเกิลสามารถทำลายคู่แข่ง หรือกำหนดให้ผู้ลงโฆษณาไม่สามารถใช้บริการของผู้ให้บริการค้นหารายอื่นๆ ได้จริงหรือไม่ โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างรอคำชี้แจงจากทางกูเกิลก่อนจะตัดสินใจดำเนินการต่อไป
หนึ่งในบริษัทที่ยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมาธิการยุโรปคือบริษัท 1plusV ที่กูเกิลถอดเว็บไซต์ของบริษัทออกไปจากผลการค้นหาตั้งแต่ปีที่แล้วทำให้บริษัทเสียรายได้ไปนับล้านยูโร โดยบริษัท 1plusV ระบุว่าการถอดเว็บของบริษัทออกจากผลการค้นหาเป็นการปิดกั้นผู้ใช้ไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยีการค้นหาของบริษัท
ต่อจากข่าว แอปเปิลเปิดบริการสมัครสมาชิกภายในแอพ ผู้ให้บริการโวยค่าหัวคิว 30% แพงไป ซึ่งผู้สันทัดกรณีให้ความเห็นว่าแอปเปิลอาจโดนฟ้องข้อหาผูกขาด
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ได้รายงานข่าววงในว่า 3 องค์กรที่ดูแลเรื่องการผูกขาดตลาดของสหรัฐและยุโรป ได้แก่ คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) และคณะกรรมการยุโรป (European Commission) กำลังจับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แม้จะยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสืบสวนอย่างเป็นทางการก็ตาม
ข่าวนี้ต่อจากข่าว คณะกรรมการของ EU ได้รับการร้องเรียนจากเว็บไซต์ในยุโรป 3 ราย เมื่อต้นปี หลังจาก EU ขอข้อมูลจากกูเกิลมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ก็ตัดสินใจเริ่มกระบวนการสอบสวนอย่างเป็นทางการแล้ว
ข้อหาที่กูเกิลโดนร้องเรียน (ตามข่าวที่แล้ว) คือการลดคะแนนของเว็บคู่แข่งในผลการค้นหา แต่ EU จะสอบสวนเพิ่มอีก 2 ข้อหา ซึ่งเกี่ยวกับอันดับของโฆษณา AdWords และข้อจำกัดของการย้ายแคมเปญโฆษณาไปยังเว็บคู่แข่ง (เช่น Bing)
ถ้าพบว่ากูเกิลผิดจริง EU มีสิทธิ์ปรับเงินได้ไม่เกิน 10% ของรายได้ของบริษัท ซึ่งสถิติสูงสุดที่เคยโดนปรับคืออินเทล โดนไป 1.06 พันล้านยูโร
ดูเหมือนสหภาพยุโรปจะพอใจกับนโยบายของแอปเปิลที่ผ่อนคลายลงเรื่อยๆ ในช่วงหลัง ล่าสุดได้มีการยกเลิกการสอบสวนแอปเปิลกรณีนี้แล้วหลังจากเริ่มไปได้เพียงเดือนเดียว
ที่เราอาจจะไม่ได้รู้มาก่อนคือข้อหาที่แอปเปิลถูกสอบสวนพร้อมๆ กับกรณีจำกัดเครื่องมือพัฒนาคือการกำหนดประเทศที่ให้รับบริการกรณีเครื่องเสียหายนั้น จะต้องอยู่ในประเทศเดียวกัน ซึ่งกลุ่มประเทศที่มีการเดินทางข้ามไปมามากๆ อย่างสหภาพยุโรปนั้นนับว่าเป็นการสร้างความลำบากค่อนข้างมาก และข้อจำกัดนี้ก็ถูกผ่อนคลายลงเช่นเดียวกัน ส่งผลให้การสอบสวนทั้งสองเรื่องหลุดออกไป
ไม่ชัดเจนว่าการเพิ่มกฏเพื่อป้องกันกรณีของแอปเปิลไม่ให้เกิดขึ้นอีกจะดำเนินต่อไปหรือไม่
ข่าวนี้จะต่อจาก EU เข้าสืบสวนกูเกิลข้อหาผูกขาด ครับ เรื่องคืออัยการประจำรัฐเท็กซัส ได้เริ่มสอบสวนกูเกิลว่าดัดแปลงผลการค้นหาให้เป็นโทษต่อคู่แข่งธุรกิจหรือไม่ โดยในเบื้องต้นได้สอบถามข้อมูลไปยังกูเกิล
ทางกูเกิลเองก็เปิดเผยผ่าน Google Public Policy Blog ว่าอัยการได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับผลการค้นหาของ 3 บริษัท ได้แก่ Foundem (ดูรายละเอียดได้จากข่าวเก่า), SourceTool และ myTriggers ซึ่งกูเกิลก็โต้ว่าทั้งสามบริษัทใช้ทนายด้านการผูกขาดของไมโครซอฟท์ พร้อมทั้งยืนยันว่ากระบวนการจัดอันดับผลการค้นหาของตัวเองนั้นโปร่งใส
เมื่อเดือนพฤษภาคม เราเห็นข่าว แอปเปิลอาจถูกสอบสวนจากกรณีห้ามนักพัฒนาใช้เครื่องมือพัฒนาอื่น ตามมาด้วย FTC เตรียมสอบสวนแอปเปิลกรณีผูกขาด ส่วนฝั่งยุโรปก็มีข่าวว่า EU เตรียมออกกฎป้องกันการผูกขาดใหม่ อาจสั่งแอปเปิลเปิดทาง Flash
ตอนนี้ทั้งสององค์กรจากสองทวีปคือ FTC และคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดของ EU "จับมือ" ร่วมกับสอบสวนแอปเปิลแล้วว่า มีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันหรือไม่ โดยระยะเวลาของการสอบสวนจะอยู่ระหว่าง 4-6 เดือน
เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) ยื่นฟ้องอินเทลในข้อหากีดกันทางการค้า มาถึงตอนนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ข้อตกลงระงับคดีกับ FTC แล้ว โดยมีเงื่อนไขที่อินเทลจะต้องปฏิบัติตามในการประกอบธุรกิจหลายข้อด้วยกัน
คดีที่ FTC ฟ้องอินเทลนั้น กล่าวหาว่าอินเทลมีพฤติกรรมกีดกันทางการค้าในตลาด CPU ที่อินเทลมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 80 เปอร์เซนต์ และตลาด GPU ที่มีประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยพฤติกรรมที่ FTC กล่าวหาอินเทลนั้นรวมถึงการจ่ายเงินให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไม่ใช้ชิปของ AMD และพยายามไม่ให้ GPU ของ Nvidia ทำงานกับชิปของอินเทลได้
ข้อตกลงหลักๆ ที่อินเทลจะต้องปฏิบัติตามมีดังนี้
Richard Blumenthal อัยการสูงสุดประจำรัฐคอนเนตทิคัต ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องปราบคดีผูกขาด ได้เริ่มสอบสวนบริษัทที่ขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่สองราย คือ Amazon (Kindle) และแอปเปิล (iBookstore) ว่าเข้าข่ายผูกขาดตลาดหรือไม่
ประเด็นที่อัยการสนใจคือสัญญาระหว่างสำนักพิมพ์กับบริษัทไอทีทั้งสอง เข้าข่ายกรณี Most favoured nation หรือได้ราคาพิเศษต่ำกว่าตลาดหรือไม่ เพราะถ้าเป็นแบบนี้จะส่งผลให้คู่แข่งรายอื่น (เช่น Barnes & Noble) เข้ามาเจาะตลาดได้ยากเพราะทำราคาสู้ไม่ได้
เรื่องนี้คงสู้กันอีกยาวครับ อุตสาหกรรม e-book เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
ต่อจากข่าว Yahoo! Japan จะเปลี่ยนมาใช้กูเกิล? และ Yahoo! Japan ประกาศใช้ระบบค้นหาของกูเกิล ดูท่าจะไม่สำเร็จง่ายๆ เสียแล้ว
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์ว่าจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการด้านการค้าของญี่ปุ่น โดยใช้เหตุผลว่าข้อตกลงของ Yahoo! Japan กับกูเกิลจะส่งผลเสียต่อตลาดโดยรวม เพราะทั้งสองรายมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 98%
หลังจากคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป จัดการปรับไมโครซอฟท์และอินเทลจนเป็นที่โด่งดังไปแล้ว คราวนี้คดีล่าสุดคือ IBM กับการผูกขาดตลาดเมนเฟรม
ผู้ฟ้องร้องคือบริษัท T3 Technologies ซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ Liberty สำหรับย้ายงานบนเมนเฟรมเก่า ไปรันบนเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ ซึ่งทาง T3 อ้างว่าถูก IBM กีดกันไม่ให้นำซอฟต์แวร์ของ T3 ไปใช้บนเมนเฟรมของ IBM
หน่วยงานด้านป้องกันการผูกขาดของ EU ซึ่งมีผลงานโดดเด่นมาแล้วในการปรับบริษัทไอทีอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์หรืออินเทล กำลังผลักดันกฎระเบียบใหม่ที่มีชื่อว่า Digital Agenda ซึ่งปรับนิยามของคำว่า "ผูกขาด" เสียใหม่ จากเดิมที่บอกว่าต้องเป็นเจ้าตลาด (dominant) กลายเป็นมีส่วนแบ่งในระดับที่มีนัยสำคัญ (significant) ก็ถือว่าผูกขาดแล้ว
กฎนี้กำหนดให้ EU เข้าไปแทรกแซงผู้เล่นที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงๆ ให้เพิ่มความเข้ากันได้ (interoperability) สำหรับคู่แข่ง เพื่อสร้างการแข่งขัน
เรื่องมีอยู่ว่าบริษัท Navx ในฝรั่งเศส ขายซอฟต์แวร์ที่ช่วยระบุตำแหน่งเรดาห์จับความเร็วของจราจรฝรั่งเศส (จะได้หลบตำรวจได้) และขายโฆษณาบน AdWords ของกูเกิล แต่ภายหลังกูเกิลเห็นว่าซอฟต์แวร์ของ Navx ส่งเสริมให้คนทำผิดกฎหมาย เลยถอนโฆษณาของ Navx ออกไปจาก AdWords
Navx ซึ่งรายได้หดหายไปมาก ได้ร้องต่อ French Competition Authority หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของฝรั่งเศส ซึ่งตัดสินว่ากูเกิลผูกขาดตลาดจริง โดยมีส่วนแบ่ง 90% ของ search engine ในฝรั่งเศส
ข่าวนี้เป็นข่าวต่อจาก แอปเปิลอาจถูกสอบสวนจากกรณีห้ามนักพัฒนาใช้เครื่องมือพัฒนาอื่น และ แอปเปิลอาจยอมให้ใช้เครื่องมือพัฒนาภายนอก เพื่อเลี่ยงข้อหาผูกขาด
ล่าสุดหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข้อมูลวงในว่า FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ จะเข้าสอบสวนแอปเปิลในกรณีผูกขาดซอฟต์แวร์บนมือถือแล้ว ประเด็นที่คาดว่าจะโดนคงเป็นเรื่องห้ามใช้เครื่องมือพัฒนาอื่น, กรณีของ Flash และล่าสุดคือ กรณีของ AdMob บน iPhone
ข่าวเดิม แอปเปิลอาจโดนข้อหาผูกขาดจากการขายเพลงออนไลน์
ล่าสุดหนังสือพิมพ์ New York Post อ้างแหล่งข่าวหลายรายบอกว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ติดต่อบริษัทสื่อและบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐ เพื่อขอข้อมูลและมุมมองที่มีต่อแอปเปิล
แหล่งข่าวจากฮอลลีวู้ดรายหนึ่งบอกว่า ไม่มีใครสามารถกำหนดอุตสาหกรรมได้เพียงลำพัง กรณีของ Adobe ยิ่งแต่สร้างความขุ่นเคืองให้กับบริษัทอื่นๆ ส่วนบริษัทสื่ออีกแห่งบอกว่า ถ้าแอปเปิลอยากผูกขาดตลาด ก็ควรจะศึกษาผลลัพธ์ของผู้ที่เคยผูกขาดหรือควบคุมอย่างเข้มงวดคนอื่นๆ ว่าจบลงอย่างไร
จากการสืบสวนข้อมูลจากปี 2006 เกี่ยวกับการที่แอปเปิลได้บังคับค่ายเพลงต่าง ๆ ให้ขายเพลงที่ราคาเดียวที่ $0.99 นั้น ตอนนี้ New York Times ได้ออกมารายงานว่ากระทรวงยุติธรรมของสหรัฐได้เริ่มการสืบสวนเกี่ยวกับการผูกขาดการขายเพลงออนไลน์ของแอปเปิลอีกครั้ง
โดยครั้งนี้ทางกระทรวงได้จับตามาดูที่ข้อตกลงและการเจรจากับค่ายเพลงต่าง ๆ ของแอปเปิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่แอปเปิลได้เคยพยายามที่จะล้มข้อตกลงระหว่างอเมซอนกับค่ายเพลงต่าง ๆ ในการร่วมแคมเปญ Daily Deal บน Amazon MP3 Store