หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดฝรั่งเศส (Autorité de la concurrence) สั่งปรับกูเกิล 220 ล้านยูโร หรือ 8,400 ล้านบาทฐานให้บริการโฆษณาโดยอาศัยอำนาจเหนือตลาดของตัวเองเอื้อประโยชน์เข้าตัวเอง
กูเกิลมีธุรกิจโฆษณาสองฝั่ง คือฝั่งแสดงโฆษณาหรือ Google AdSense และการแสดงโฆษณาบนบริการต่างๆ ของกูเกิล เช่น YouTube อีกด้านหนึ่งกูเกิลมีบริการ Google AdX สำหรับการซื้อพื้นที่โฆษณา
ทางฝรั่งเศสระบุว่าบริการซื้อโฆษณา หรือ AdX ของกูเกิลเข้าถึงข้อมูลการขอแสดงโฆษณาของผู้ซื้อโฆษณารายอื่นๆ ที่ซื้อโฆษณาผ่านบริการของกูเกิลได้ทำให้กูเกิลได้เปรียบจนแพลตฟอร์มอื่นแข่งขันไม่ได้ ขณะเดียวกันก็กระทบต่อเว็บและสื่อต่างๆ ที่อาศัยรายได้จากโฆษณา
คณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) ร่วมกับคณะกรรมการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ประกาศสอบสวน Facebook ว่าใช้ข้อมูลโฆษณาในระบบตัวเอง เพื่อเอาเปรียบคู่แข่งในตลาดที่ทับซ้อนกันหรือไม่
กรณีของ EC สนใจตลาดลงประกาศซื้อขายของบุคคลรายย่อย (classified ads) ที่ Facebook มีบริการ Facebook Marketplace มาแข่งกับเว็บลงประกาศซื้อขายรายอื่นๆ แต่เว็บลงประกาศเหล่านี้ก็ซื้อโฆษณาผ่านบริการ Facebook ที่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คเช่นกัน ทำให้ EC สนใจว่า Facebook นำข้อมูลโฆษณาเหล่านี้มาเรียนรู้พฤติกรรมของคู่แข่ง แล้วพัฒนาให้ Facebook Marketplace ได้เปรียบกว่าหรือไม่
นอกจากคดี Sony ถูกฟ้องแบบกลุ่มกรณีผูกขาดการขายเกมดิจิทัลบน PlayStation ยังอีกคดีฟ้องผูกขาดแพลตฟอร์มจัดจำหน่ายเกมในช่วงนี้คือ บริษัทเกมอินดี้ Wolfire Games ฟ้อง Valve ว่าผูกขาดช่องทางขายเกมบนพีซีด้วย Steam Gaming Platform
ในคำฟ้องนี้บอกว่า ธุรกรรม 75% ของเกมพีซีขายผ่าน Steam โดยเสียส่วนแบ่ง 30% ให้กับ Valve ซึ่งทำรายได้ให้ Valve มหาศาลถึงปีละ 6 พันล้านดอลลาร์ (ตัวเลขประเมินเพราะ Valve ไม่เคยเปิดเผยรายได้) เมื่อ Steam ได้รับความนิยมสูง มีคนใช้เยอะ ทำให้เกมต้องผูกติดกับบริการ Steam Gaming Platform (ส่วนที่จัดการรายชื่อเพื่อน มัลติเพลเยอร์ และอื่นๆ) เพื่อให้ขายได้
คดีฟ้องผูกขาดของวงการเกมไม่ได้มีแต่ Epic vs Apple เท่านั้น บริษัทเกมรายอื่นอย่าง Valve ก็โดนด้วย กรณีล่าสุดคือ Sony ที่ถูกผู้ใช้ฟ้องแบบกลุ่ม (class-action) ข้อหาผูกขาดการขายเกมแบบดิจิทัล
ก่อนที่จะมีคอมเมนต์ "แพลตฟอร์มของตัวเองทำอะไรก็ได้" ดังที่เจอบ่อยครั้ง ควรอ่านบริบทของเรื่องนี้ก่อน ในอดีต Sony อนุญาตให้ลูกค้าซื้อ download code จากร้านค้าปลีกอื่นๆ เช่น GameStop และ Amazon เพื่อมา redeem ในระบบของ PlayStation ได้
คดีความผูกขาดและการปะทะระหว่าง Apple และ Epic เผยให้เห็นรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเว็บไซต์ 9to5Mac พบเอกสารอีเมลส่งกันภายในองค์กรในปี 2018 ที่ระบุว่า Apple พยายามยับยั้งไม่ให้ Netflix ทดสอบยกเลิกระบบ IAP ของ Apple (In-App Purchase) เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนหักส่วนแบ่ง 30% โดย Apple พยายามทำทุกทาง แสดงให้เห็นว่า การตัดสินใจของ Netflix ส่งผลต่อ Apple อย่างมาก
Carson Oliver ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการธุรกิจ App Store ระบุในอีเมลว่า จากการตัดสินใจของ Netflix ที่จะทดสอบไม่รับสมาชิกผ่าน App Store นั้นจะส่งผลต่อประสบการณ์ลูกค้า และโอกาสในการร่วมมือกันทางการตลาดระหว่าง Apple และ Netflix นอกจากนี้ Oliver ยังระบุถึงมาตรการโต้กลับ Netflix ด้วยเช่น ดึงเนื้อหาของ Netflix ออกจากแพลตฟอร์มในช่วงการทดสอบ
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ส่งจดหมายถึงแอปเปิล ให้รับทราบว่า EC ประเมินเบื้องต้น (preliminary view) ว่าแอปเปิลกีดกันการแข่งขันในตลาดเพลงสตรีมมิ่ง
มุมมองของ EC คือ แอปเปิลใช้เงื่อนไขเรื่อง in-app purchase (IAP) บน App Store ทำให้บริการ Apple Music ของตัวเองได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งรายอื่นๆ
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มาจากคำร้องเรียนของ Spotify ทำให้ EC เริ่มเข้ามาสอบสวนแอปเปิลในเดือนมิถุนายน 2020 และได้ข้อสรุป (เบื้องต้น) ว่าแอปเปิลกีดกันการแข่งขันจริง จากนโยบายบังคับ IAP ผ่าน App Store และห้ามนักพัฒนาแอพโฆษณาวิธีการจ่ายเงินทางอื่น
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดของประเทศจีน (State Administration for Market Regulation ตัวย่อ SAMR) สั่งปรับเงิน Alibaba ในข้อหาผูกขาด เป็นเงินสูงถึง 1.8 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 8.7 หมื่นล้านบาท)
SAMR เริ่มสอบสวน Alibaba ในข้อหาผูกขาดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020 หลังรัฐบาลจีนสั่งเบรกแผนการ IPO ของ Ant Group บริษัทในเครือเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 และได้ข้อสรุปว่า Alibaba ใช้อำนาจเหนือตลาด (market dominance) ในทางมิชอบ กีดกันไม่ให้ผู้ค้ารายย่อยไปขายของบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายอื่น ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย และพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2015
Alibaba ระบุว่ายอมรับคำตัดสินของ SAMR และยินดีปฏิบัติตามทุกประการ
หลังคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) ยื่นฟ้อง Qualcomm ในปี 2017 ด้วยข้อหาผูกขาดตลาดชิปโมเด็มสมาร์ทโฟน โดยใช้เทคนิคด้านค่าค่าไลเซนส์สิทธิบัตร เพื่อกีดกันผู้ผลิตสมาร์ทโฟนไม่ให้ใช้ชิปของคู่แข่ง
คดีนี้ Qualcomm ถูกศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิดจริงในเดือนมิถุนายนปี 2019 ก่อน Qualcomm จะยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสิน ยกคำร้องของ FTC ในเดือนตุลาคมปี 2020
จากประเด็นอาลีบาบาโดนรัฐบาลจีนกดดันหนัก โดยเฉพาะประเด็นผูกขาดตลาด ล่าสุด Bloomberg รายงานว่าอาลีบาบายอมสร้างมินิแอปอีคอมเมิร์ซของตัวเองหรือ Taobao Deals แอปต่อรองราคาในแพลตฟอร์ม WeChat ของ Tencent ซึ่งเป็นคู่แข่งของอาลีบาบาโดยตรง และยอมให้ลูกค้าชำระเงินผ่านช่องทาง WeChat Pay ได้ เพื่อลดแรงเสียดทางผูกขาดตลาดอีคอมเมิร์ซ
เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2020 คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ค ขอให้ศาลสั่งแยก WhatsApp และ Instagram ออกมาเป็นอีกบริษัท
วันนี้ Facebook ตอบโต้ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนคดีนี้ โดยเสนอเหตุผลหักล้าง FTC ในหลายประเด็น เช่น FTC ไม่สามารถแสดงหลักฐานว่า Facebook ขึ้นราคาหรือจำกัดปริมาณสินค้า, ไม่มีหลักฐานว่าการซื้อ WhatsApp และ Instagram เป็นการทำลายการแข่งขันจริง เป็นต้น
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ประกาศกำลังสอบสวนแอปเปิล หลังมีการร้องเรียนเข้ามาว่า ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับนักพัฒนาแอปลง App Store นั้นไม่เป็นธรรม และไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันทางการค้า ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าเสียโอกาสในการซื้อและใช้แอป
ฟีเจอร์ Sign in with Apple ถูกปล่อยออกมาบน iOS 13 เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถล็อกอินเข้าใช้งานแอปได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่นอีเมล ซึ่งแอปเปิลก็บังคับให้แอปบน App Store ต้องเพิ่มตัวเลือกนี้เข้าไปคู่กับ ตัวเลือกล็อกอินด้วย Google, Facebook หรือ Twitter
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมเริ่มสอบสวนคำร้องจากนักพัฒนาที่ยื่นฟ้องตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยให้เหตุผลว่าแอปเปิลใช้อิทธิพลเหนือ App Store บีบให้ใช้งาน Sign in with Apple ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานไม่มีทางเลือกที่จะย้ายไปใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (เพราะข้อมูลไม่ซิงก์และผูกอยู่กับแค่ Apple ID)
ที่มา - The Information via Macrumors
ต่อเนื่องจากการฟ้องร้องในสหรัฐ, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร ล่าสุด Epic Games ขยายวงของคดีความไปยังสหภาพยุโรปแล้ว
Epic Games ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการทั่วไปด้านการแข่งขันของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission’s Directorate-General for Competition) ในข้อหาคล้ายกันคือผูกขาด App Store และปิดกั้นกระบวนการชำระเงิน เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดในทางที่ผิดในสหภาพยุโรป
หน่วยงานของรัฐจีนที่ทำหน้าที่ควบคุมตลาดหรือ State Administration for Market Regulation (SAMR) ออกแนวทางกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ของจีน ป้องกันการผูกขาด หนึ่งในแนวทางคือห้ามไม่ให้แพลตฟอร์มใหญ่ บังคับร้านค้าต้องเลือกขายในเว็บใดเว็บหนึ่งเท่านั้น
พฤติกรรมดังกล่าวมีให้เห็นมานานแล้วในวงการอีคอมเมิร์ซของจีน และ SAMR สืบสวนอาลีบาบาเมื่อเดือนธันวาคม 2020 ว่ามีพฤติกรรมดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งแนวทางกำกับดูแลใหม่นี้กระทบอาลีบาบาเต็มๆ เพราะเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหญ่ทั้ง Taobao และ Tmall
เมื่อปีที่แล้ว Uber ประกาศเข้าซื้อบริษัท Autocab บริการทำ SaaS สำหรับอุตสาหกรรมแท็กซี่และรถเช่าส่วนตัว ล่าสุดตอนนี้ Competition and Markets Authority หรือ CMA ของสหราชอาณาจักรกำลังเริ่มสอบสวนดีลนี้ว่ามีผลทำให้ลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
Autocab เป็นบริษัทให้บริการเครื่องมือแก่แท็กซี่ตั้งแต่ปี 1991 แต่ช่วงหลังมาบริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มชื่อว่า iGo Everywhere เป็นบริการ SaaS สำหรับจองเวลาแท็กซี่โดยผู้ให้บริการแท็กซี่สามารถใส่โลโก้ของตัวเองเข้าไปในแอปของ Autocab ได้ ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้จึงเป็นเหมือนแอปเรียกรถเพื่อผู้ขับรถแท็กซี่รายย่อยที่ไม่มีทรัพยากรในการทำแอปเองก็สามารถให้บริการเหมือนกับ Uber ได้
เฟซบุ๊กแสดงความไม่พอใจแอปเปิล นับตั้งแต่การอัพเดต iOS 14 ก่อนที่ล่าสุด Mark Zuckerberg ก็บอกว่าเฟซบุ๊กมองแอปเปิลเป็นคู่แข่งแล้ว จาก iMessage ที่มาแข่ง Messenger และ WhatsApp
ประกอบกับการเป็นเจ้่าของแพลตฟอร์ม ทำให้แอปเปิลสามารถใช้สถานะนี้ควบคุมการทำงานของแอปอื่น แต่ละเว้นของตัวเอง (Mark เคยบอกว่าแอปเปิลบังคับนโยบายความเป็นส่วนตัวกับแอปอื่น แต่แอปตัวเองไม่ทำตาม) ทำให้ตอนนี้มีรายงานว่าเฟซบุ๊กกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อฟ้องแอปเปิลฐานผูกขาดแล้ว จากข้อมูลของคนในที่เกี่ยวข้อง หลังจากเคยแค่เสนอช่วยเหลือ Epic เท่านั้น
เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมาสำนักงานกฎหมาย Hagens Berman ได้ยื่นฟ้องต่ออเมซอนที่ศาลแขวงนิวยอร์กใต้
โดยในคำฟ้องนั้นทางสำนักงานฯ เชื่อว่า อเมซอนละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด ลักลอบทำสัญญาลับๆ กับบรรดาสำนักพิมพ์ทั้ง 5 ได้แก่ Penguin Random House, Hachette, HarperCollins, Macmillan, และ Simon & Schuster เพื่อทำให้ราคาอีบุ๊คบนอเมซอนถูกที่สุด เป็นการลดการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลเสียแก่ผู้บริโภค
ในคำฟ้องมีการอ้างถึงแทคติคต่างๆที่อเมซอนทำเพื่อให้มั่นใจว่าราคาอีบุ๊คในร้านค้าตัวเองจะต้องถูกที่สุดอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
Epic Games ขยายเวทีความขัดแย้งเรื่องการผูกขาดของ Apple และ Google ออกไปนอกสหรัฐด้วย โดยก่อนหน้านี้มีออสเตรเลียไปแล้ว ล่าสุดเป็นเวทีในสหราชอาณาจักร
Epic Games ยื่นคำฟ้องไปยังตุลาการพิจารณาคดีอุทธรณ์ด้านการแข่งขัน (Competition Appeal Tribunal) ของสหราชอาณาจักร โดยในคำฟ้อง Epic อ้างการใช้อำนาจเหนือตลาดของ Apple ที่บังคับให้ใช้งาน App Store และระบบจ่ายเงิน in-app ของ Apple แต่เพียงผู้เดียว
Epic ยังยืนยันเช่นเดิมว่าการฟ้องร้องทั้งในสหรัฐ ออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ไม่ได้เพื่อต้องการเรียกความเสียหายใด ๆ แต่แค่ต้องการให้เกิดการเข้าถึงและการแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดของจีน หรือ The State Administration for Market Regulation เผยกำลังสืบสวน Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่เรื่องการผูกขาด หลังก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนสั่งระงับการเข้าตลาด IPO ของ Ant Group บริษัทลูกในเครือของ Alibaba ไป โดยเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติที่น่าสงสัยว่ามีการผูกขาด รวมถึงกลยุทธ์ของ Alibaba ในการบังคับให้ผู้ค้า ขายของเฉพาะบนแพลตฟอร์มของตนเท่านั้น
Washington Post เผยรายงานตีแผ่การต่อสู้ของ Facebook ต่อคดีผูกขาดที่ถูกฟ้องร้องโดยอัยการจาก 48 รัฐ โดยอ้างอิงจากบุคคลภายใน Facebook ไม่ประสงค์เอ่ยนาม บุคคลดังกล่าวเผยว่า Facebook พยายามอย่างหนัก มีความคิดจะมอบ code ของ Facebook ให้บริษัทอื่นหรือนักพัฒนาภายนอกเข้าถึงได้ และสามารถสร้างโซเชียลมีเดียในแบบของตัวเองได้ เพื่อจะได้นำมาปกป้องตัวเองได้ว่า Facebook ไม่ได้ผูกขาดหรือทำลายคู่แข่งแต่อย่างใด
กูเกิลกำลังโดนฟ้องข้อหาผูกขาดด้วยระบบค้นหา เป็นการฟ้องใหญ่จากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และอัยการจากรัฐต่างๆ ล่าสุด กูเกิลออกมาปกป้องตนเองว่า ระบบแสดงผลการค้นหาของ Google คือการตอบสนองความคิดเห็นจากผู้ใช้งาน ไม่ใช่การทำลายคู่แข่งในตลาด ทางบริษัทเข้าใจหากผู้ใช้งานไม่ชอบผลการค้นหาที่ระบบแสดงให้ แต่ผู้บริโภคก็ยังมีทางเลือกอื่น เช่น Amazon, Expedia, Tripadvisor
Google เจอฟ้องผูกขาดอีกครั้ง คราวนี้เป็นครั้งแรกที่โดนฟ้องเจาะไปที่เรื่องการผูกขาดโฆษณาโดยตรง เป็นการฟ้องโดยทนายความใน 10 รัฐ ในเนื้อหาคำฟ้องระบุว่า Google ใช้อำนาจทางการตลาด ดึงเม็ดเงินโฆษณาไปจากผู้ผลิตสื่อรายเล็กอย่างบล็อก, หนังสือพิมพ์ออนไลน์, เว็บไซต์ทำอาหาร ซึ่งล้วนอยู่รอดได้ด้วยรายได้โฆษณา และยังบอกด้วยว่า Google ต่อรองลับหลังกับ Facebook จัดการประมูลโฆษณาในลักษณะที่จะเป็นประโยชน์ต่อกัน
Facebook ตบตีกับ Apple มาหลายรอบ และล่าสุดก็เรื่องการปรับค่าความเป็นส่วนตัวบน iOS 14 ที่กระทบกับผู้ให้บริการรายเล็ก ๆ ที่อาศัยข้อมูลผู้ใช้เป็นหนทางสร้างรายได้
Facebook บอกว่าการปรับการตั้งค่าแบบนี้ ไม่ใช่แค่ฆ่าธุรกิจหรือพับลิชเชอร์รายเล็ก ๆ ที่เดือดร้อนจาก COVID-19 อยู่แล้ว แต่ยังบีบให้ธุรกิจเหล่านี้เปลี่ยนโมเดลจากการหารายได้โฆษณามาเป็นผ่านการสมัครสมาชิกรายเดือนหรือ in-app ซึ่งสุดท้ายเงินก็เข้า Apple
คณะกรรมาธิการยุโรปออกกฎใหม่ Digital Markets Act เพื่อกำกับดูแลบริษัท tech เน้นเรื่องการใช้ข้อมูล, การผูกขาดกีดกันการค้า มีการวางกรอบสิ่งที่บริษัทควรทำและไม่ควรทำกว้างๆ และหากบริษัทไม่ทำตามจะมีโทษปรับสูง 10% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลก โดยสหภาพยุโรปมองบริษัท tech เป็นผู้รักษาประตู (gatekeeper) ในตลาดดิจิทัล จึงต้องมีการออกกฎให้แน่ใจว่า ผู้รักษาประตูทำสิ่งที่ถูกต้องและยุติธรรมกับทุกคน
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์คแล้ว
FTC บอกว่า Facebook มีพฤติกรรมปิดกั้นการแข่งขันมายาวนานและทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การไล่ซื้อบริษัทที่มีโอกาสมาเป็นคู่แข่งในอนาคต ทั้ง WhastApp, Instagram และกำหนดเงื่อนไขใน API ว่าห้ามนำไปใช้ทำฟีเจอร์บางอย่างแข่งกับ Facebook รวมถึงห้ามใช้โปรโมทหรือเชื่อมต่อกับบริการโซเชียลอื่นๆ ยิ่งทำให้ Facebook ผูกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก มีกำไรมหาศาล