การซื้อแอพบนสมาร์ทโฟนส่วนมากนั้นผู้ใช้ไม่สามารถทดลองใช้แอพก่อนซื้อได้ ทำให้หลายครั้งพบว่าแอพนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ส่งผลให้ผู้ใช้ต้องพึ่งระบบขอคืนเงินและสินค้า ซึ่งแม้ว่าผู้ใช้แอนดรอยด์จะสามารถขอเงินคืนค่าแอพโดยไม่ระบุเหตุผลได้มานานแล้วหากการซื้อนั้นสมบูรณ์ไปไม่เกิน 2 ชั่วโมง และผู้ใช้ iOS ก็สามารถขอเงินคืนได้ผ่านการติดต่อฝ่ายสนับสนุนพร้อมระบุเหตุุผลที่เหมาะสม แต่เงื่อนไขดังกล่าวของทั้งสองฝ่ายขัดต่อกฎของทาง EU ที่ระบุว่าผู้ใช้จะต้องสามารถคืนสินค้าและขอเงินคืนได้โดยไม่ต้องระบุเหตุผลในระยะเวลา 14 วันนับจากวันที่ซื้อ
จากกรณีที่กูเกิลยอมทำตาม EU เลิกแสดงราคาเกมที่มี In-app Purchase ว่า "ฟรี" มาวันนี้ก็ถึงทีของแอปเปิลบ้างแล้วครับ
เพราะเมื่อสักครู่แอปเปิลได้ส่งอัปเดตเล็กๆ น้อยๆ ให้กับทั้ง App Store และ Mac App Store โดยเป็นการเปลี่ยนคำแสดงผลบนปุ่มดาวน์โหลดแอพพลิเคชันฟรีจากเดิมที่เป็นคำว่า "Free" เป็นคำว่า "Get" (ภาษาไทยใช้คำว่า "รับ") แต่สำหรับข้อความเตือนว่าแอพพลิเคชันนี้มี IAP ก็ยังคงแสดงผลอยู่เหมือนเดิม และก็ได้เพิ่มข้อความแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้ยืนยันอีกครั้งก่อนดาวน์โหลดแอพพลิเคชันนั้นไปติดตั้งด้วย
รวมรูปคอมเม้นท์ตลกๆ ของตัวการ์ตูน ผมนี้..... มากมายหลายรูปแบบ และจะรวบรวมมาอัพเดทให้เรื่อยๆครัช ... เพราะตอนนี้กระแส เจ้าตัวการ์ตูนตัวนี้แรงจัด ตลกๆ และฮาดีครัช มีคนตัดต่อไว้มากมาย ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ ปล.ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางเราต้องขอชื่นชม ขอบคุณ ผู้ที่ได้จัดสรรผลงาน ออกมาด้วยนะครับ
ติดตามแอพอื่นๆได้ที่นี่ StunStudio
แอปเปิลอัพเดต App Store ให้นักพัฒนาสามารถขายแอพแบบยกชุด (bundle) ได้แล้ว โดยสามารถทำได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้
เท่าที่ดู ผมยังเห็นแค่ใน App Store ของสหรัฐฯ ครับ ตัวอย่างดูได้ท้ายข่าวเลย
หลังจาก Instagram เปิดตัวแอพถ่ายวิดีโอ Hyperlapse ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดี แต่ก็มีอีกคนที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส นั่นคือผู้พัฒนาแอพที่ชื่อซ้ำกันว่า Hyperlapse
แอปเปิลออกมาเผยสาเหตุยอดนิยมที่ทำให้แอพถูกปฏิเสธไม่ให้ขึ้น App Store นักพัฒนาบน iOS ท่านใดสนใจก็ตามไปอ่านที่ต้นทางกันได้ครับ
ต่อจากข่าว EU เตรียมกำกับดูแล In-app Purchase ไม่ให้ถูกคิดเงินโดยไม่รู้ตัว ล่าสุด EU กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ In-app Purchase เรียบร้อยแล้ว โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
บริษัทเก็บสถิติแอพ App Annie ออกรายงานรวมสถิติการดาวน์โหลดแอพบน App Store และ Play Store ประจำไตรมาส 2/014 มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
แอปเปิลเปิดบริการใหม่สำหรับลูกค้า Apple Store สาขาในประเทศญี่ปุ่นให้สามารถเติมเงินเข้าไปในบัญชี Apple ID เพื่อใช้จ่ายกับ App Store, iTunes Store และ iBookstore ได้ทันทีในชื่อ iTunes Pass (คนละอันกับ iTunes Pass ที่เอาไว้ฟังเพลงจากศิลปินแบบเหมาๆ ในราคาถูกกว่า)
iTunes Pass ที่ให้บริการกับ Apple Store ญี่ปุ่นนี้ เกิดมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเติมเงินได้สะดวกขึ้น โดยพนักงาน Apple Store สามารถสแกนบัตรเพื่อเติมเงินเข้าไปในบัญชีของ Apple ID ลูกค้าได้ทันที โดยบริการนี้ใช้ฟีเจอร์จากใน Passbook ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ iOS 6 นั่นเอง
คณะกรรมการการค้าของเกาหลีใต้ ได้มีคำสั่งให้ทั้งแอปเปิลและกูเกิลพัฒนาระบบที่สามารถคืนเงินให้กับลูกค้าที่ซื้อของผ่านทาง App Store หรือ Play Store สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บุตรของลูกค้ากดซื้อ In-App Purchase จากในเกม
นอกจากนี้ในกรณีของกูเกิล หากแอพพลิเคชั่นที่ผู้ใช้ซื้อไปเป็นแอพพลิเคชั่นที่ต้องเสียเงิน กูเกิลห้ามเก็บเงินลูกค้าหลังจากช่วงทดลองใช้งาน (Trial Period) สิ้นสุดลงเด็ดขาด แต่ต้องให้ลูกค้ากดยืนยันการซื้อด้วยตัวเองอีกครั้ง
Sam Sabri แห่ง WPCentral ได้ทำรายงานสรุปสถานการณ์แอพใน Windows Phone Store ล่าสุด เพื่อดูว่ามีศักยภาพในการแข่งขันเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นมากน้อยแค่ไหน โดยการไล่รายชื่อแอพฟรียอดนิยม 25 อันดับแรกใน iOS App Store (ใช้ข้อมูลจาก App Annie) จากนั้นมาดูว่าแอพเหล่านั้นมีหรือไม่มีใน Windows Phone Store ได้ข้อสรุปออกมาว่า
วันนี้ Google ได้ประกาศอย่างเป็นทางการบน Google Apps Updates ว่าทางบริษัทเตรียมจะถอดแอพ Quickoffice ออกจากทั้ง App Store และ Google Play โดย Google บอกว่าผู้ใช้ Quickoffice ก็ยังคงใช้แอพต่อไปได้ แต่จะไม่มีการอัพเดตเพิ่มเติมอีกแล้ว
Google เข้าซื้อ Quickoffice ตั้งแต่กลางปี 2012 โดยมีจุดประสงค์คือการนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงแอพของตัวเอง
เหตุผลที่ Google ถอด Quickoffice เนื่องจากทางบริษัทได้รวมฟีเจอร์เข้าไปใน Google Docs, Sheets, Slides เรียบร้อยแล้ว
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า แอปเปิลปรับนโยบายตรวจสอบแอพขึ้นสโตร์ โดยระบุเพิ่มเติมว่าบริษัทอาจอำนวยความสะดวกให้กับสกุลเงินเสมือนอย่าง Bitcoin ที่ได้รับการรับรอง ตราบเท่าที่สกุลเงินเหล่านั้นผ่านการรับรองตามกฏหมายท้องถิ่นที่แอพทำธุรกรรม จากนโยบายใหม่นี้ทำให้เชื่อกันว่าในอนาคตแอพบนแพลตฟอร์มแอปเปิลจะใช้ Bitcoin ในการทำธุรกรรมได้
การเปลี่ยนแปลงนี้ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับการดำเนินของแอปเปิลต่อแอพที่ใช้ Bitcoin อาทิ การถอด Coinbase แอพซื้อขาย Bitcoin ออกจาก App Store ซึ่งต่างจากกูเกิลที่เปิดกว้างเรื่องสกุลเงินเป็นอย่างมาก
Apple ถอดแอพสำหรับดาวน์โหลดเพลงและดาวน์โหลดไฟล์ลงจากแอพสโตร์ทั้งหมดแล้ว โดย Apple ไม่ได้เป็นฝ่ายถอดแอพลงเอง แต่ขอให้นักพัฒนาแอพนั้นๆ เป็นคนเอาลง คาดว่าเหตุผลเป็นเพราะป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นการดัน iTunes Store และ iTunes Radio ไปในตัว
เมื่อค้นหาในแอพสโตร์ด้วยคำว่า "music download" จะพบกับข้อความเชิญชวนให้ไปใช้ iTunes Radio แล้วจึงจะเป็นผลการค้นหา ซึ่งกลายเป็นแอพสตรีมมิ่งเพลงอย่าง Spotify แทน
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คาดว่า Apple ทำไปเพื่อผลักดันให้เกิดการซื้อเพลงจาก iTunes Store รวมไปถึงอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการดัน iTunes Radio ภายหลังการเข้าซื้อกิจการ Beats ก็เป็นได้
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามแต่ ที่ผ่านมาหากว่าผู้ใช้อุปกรณ์ iOS ที่จ่ายเงินซื้อแอพไปแล้วเกิดไม่ถูกใจการใช้งานแอพดังกล่าว ก็สามารถที่จะขอเงินคืนจาก App Store ได้ กระนั้นก็ตามหากยังไม่มีการลบแอพดังกล่าวออกผู้ใช้ยังคงสามารถอัพเดตแอพดังกล่าวได้ตามปกติ หรือแม้ในกรณีที่มีการถอนแอพดังกล่าวออกจากเครื่องก็ยังสามารถติดตั้งมันซ้ำใหม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่านี่ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ใครก็อาจถือโอกาสลักไก่ใช้งานแอพแบบไม่ต้องจ่ายเงินได้
หน่วยงานที่คอยกำกับและดูแลการแข่งขันและป้องกันการผูกขาดของประเทศอิตาลี ได้ออกมาบอกว่าแอพพลิเคชันประเภท "ฟรีเมี่ยม" ของ App Store และ Google Play อาจจะผิดกฎหมาย เนื่องจากผู้ขายได้ติดป้ายบอกว่าแอพพลิเคชันเหล่านี้ว่าเป็นแอพ "ฟรี"
หน่วยงานฯ อ้างว่าผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันเหล่านี้มา แล้วคิดว่าเกมนี้เป็นเกมที่สามารถเล่นได้ฟรี และผู้ใช้ก็ไม่มีทางบอกได้ว่าเกมเหล่านี้มีราคาที่แท้จริงเท่าใด
ถ้าหากแอปเปิลและกูเกิลถูกพบว่ามีเจตนาหลอกลวงลูกค้าจริง จะถูกปรับเป็นเงินมูลค่า 5 ล้านยูโร ซึ่งจริง ๆ แล้ว ก็ไม่ได้กระทบสถานะทางการเงินของกูเกิลหรือแอปเปิลเท่าใดนัก
มีการรายงานถึงปัญหาการอัพเดตแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์ iOS โดยผู้ใช้เมื่อทำการอัพเดต จะขึ้นข้อความ "Update unavailable with This Apple ID" (รูปท้ายข่าว) แม้ว่าผู้ใช้งานจะทำการ restart เครื่อง หรือแม้แต่ restore ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้
โดยขณะนี้ 09/05/2557 01:56 ยังไม่มีรายงานถึงวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว
Edit : ตอนนี้มีการแก้ปัญหาเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยยังไม่มีการประกาศถึงปัญหาว่ามาจากสาเหตุใด ส่วนใครที่ยังขึ้นข้อความให้เข้าไปเปลี่ยนพาสเวิร์ดที่นี้
สิ่งหนึ่งที่ Google Play หละหลวมเกินไปตั้งแต่สมัย Android Market นั้น ก็คือไม่มีการตรวจเนื้อหาของแอพพลิเคชันตั้งแต่ต้น และทำให้เกิดเหตุการณ์มัลแวร์ระบาดจนทำให้กูเกิลต้องออก Bouncer ออกมาดักมัลแวร์ รวมถึงติดตั้งตัวสแกนมัลแวร์ไว้ใน Android 4.2 ก่อนจะแยกมารวมไว้ใน Google Play Service ในภายหลัง แต่อีกหนึ่งประเด็นที่ยังไม่มีการแก้ไขให้เห็นก็คือเรื่องของเนื้อหาอนาจาร
เพียงหนึ่งวันหลัง Office for iPad เปิดตัว (รีวิวฉบับ Blognone) ซีอีโอ Satya Nadella ก็โพสต์ทวิตเตอร์ทันทีเมื่อแอพในกลุ่ม Office for iPad 3 ตัว และแอพใกล้เคียงอีก 1 ตัวคือ OneNote for iPad ขึ้นเป็นแอพยอดนิยม 4 อันดับแรกของ iPad App Store กลุ่มแอพฟรี
แอพที่ครองอันดับหนึ่งคือ Word for iPad ตามด้วย Excel, PowerPoint, OneNote ตามลำดับครับ
ที่มา - @satyanadella
เรื่องมีอยู่ว่า John Gill ซึ่งปัจจุบันเป็นนักพัฒนาทำงานที่ Amazon เขามีความชื่นชอบสตีฟ จ็อบส์มาก และยอมรับว่าประโยคคำพูดข้อคิดดีๆ จากจ็อบส์นั้นให้แรงบันดาลใจต่อตนเองมาก (เขายกเทียบเคียงกับไบเบิ้ลเลย) เขาจึงรวบรวมคำพูดต่างๆ ของจ็อบส์ มาทำเป็นแอพชื่อ Quoth Steve ซึ่งมีเฉพาะบน iOS เท่านั้น
แอพ Quoth Steve ก็ไม่มีอะไรมาก เป็นการแสดงประโยคคำพูดของจ็อบส์ที่สร้างพลังให้ผู้อ่านแบบสุ่ม และสามารถแชร์ข้อความนี้ต่อได้ แต่น่าเสียดายที่เมื่อเขาส่งแอพนี้ไปกลับถูก App Store ปฏิเสธนำขึ้น Store โดยให้เหตุผลว่า App Store ไม่รับพิจารณาแอพที่มีธีมเกี่ยวกับจ็อบส์ รวมทั้งแนะนำให้เขาทำแอพแนวนี้แต่เป็นบุคคลอื่นแทน
วันนี้ App Store ของแอปเปิล ได้เพิ่มหมวด Sharing Selfies ไว้สำหรับแอพทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพตัวเอง แล้วอัพให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน
การแชร์ selfie ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตควบคุ่กับสมาร์ทโฟน เช่นเดียวกับการถ่ายรูปอาหาร โดยก่อนหน้านี้แม้แต่ประธานาธิบดีโอบาม่าของสหรัฐฯเอง ก็ยังได้ถ่ายรูป selfie ตัวเองคู่กับนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ และเดนมาร์กไว้ ที่งานศพของ Nelson Mandela
ที่มา - Engadget
ด้วยความดังของ Flappy Bird ที่แม้ว่าตัวเกมจะถูกเอาออกจาก App Store ไปแล้ว แต่เกมลอกเลียนทั้งหลายก็ยังสามารถขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆ ของแอพที่คนดาวน์โหลดเยอะได้ ล่าสุดทั้งกูเกิล และแอปเปิลออกมามีมาตรการแก้ไขเรื่องนี้ด้วยการปฏิเสธแอพที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "Flappy" แล้ว
เรื่องเริ่มต้นจากที่นาย Ken Carpenter นักพัฒนาเกมชาวแคนาดาพบว่าแอปเปิลปฏิเสธเกมที่เขาชื่อว่า Flappy Dragon ที่เขาส่งขึ้นไป โดยให้เหตุผลว่าชื่อเกมของนาย Carpenter นั้นตั้งใจทำให้คล้ายกับแอพชื่อดังมากเกินไป ซึ่งอยู่ในกฎข้อที่ 22.2 ของข้อบังคับใช้ใน App Store
หลังจากที่นาย Dong Nguyen ผู้ผลิตแอพเกมชื่อดัง Flappy Bird ได้ถอดตัวเกมออกจาก App Store และ Google Play Store โดยที่ไม่ได้ให้สาเหตุใด ๆ นอกจากการออกมาทวีตว่า “เขาทนไม่ไหวแล้ว” เมื่อสักครู่นี้ เขาได้ออกมาพูดเป็นครั้งแรกถึงเหตุผลที่ต้องถอดเกมนี้ออกผ่านทาง Forbes
เขาบอกว่า สาเหตุที่เขาถอดเกมนี้ออกจากร้านขายแอพทั้งสอง ก็เพราะว่าเกมนี้มันกลายเป็น “สิ่งเสพติด” ไปแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับความต้องการของเขาในตอนแรก ที่ต้องการออกแบบเกมแก้เครียด ที่ผู้เล่นจะนำมันมาเล่นไม่กี่นาทีแล้วเลิก
บริษัท King.com ผู้สร้างเกม Candy Crush ได้รับการอนุมัติให้เป็นเจ้าของเครื่องหมายทางการค้าคำว่า "candy" โดยมีผลสำหรับสินค้าเกมและเครื่องแต่งกาย (?) ซึ่งบริษัทได้ยื่นคำขอไปตั้งแต่ปีที่แล้ว
เมื่อได้สิทธิความเป็นเจ้าของทาง King ก็ไม่รอช้า ประสานงานกับแอปเปิลให้ติดต่อนักพัฒนาแอพเลียนแบบแนว candy ทั้งหลายใน App Store ทันที โดย Benny Hsu นักพัฒนาเกมชื่อ All Candy Casino Slots – Jewel Craze Connect: Big Blast Mania Land เปิดเผยว่าแอปเปิลได้อีเมลแจ้งนักพัฒนาเจ้าของแอพซึ่งมีการละเมิดคำว่า candy โดยให้ถอนแอพออกจาก App Store หรือแสดงรายละเอียดว่าไม่ได้พยายามละเมิดหรือสร้างความสับสนกับเกม Candy Crush
สำหรับเพื่อนๆ ที่เคยใช้แอพวิเคราะห์เสียงเพื่อหาชื่อเพลงแล้ว คงจะมีอยู่หลายครั้งที่หยิบมือถือออกมาไม่ทันเพลงก็จบไปซะแล้ว
วันนี้ Shazam แอพวิเคราะห์เสียงเพื่อหาชื่อเพลงชื่อดังได้ออกรุ่นใหม่ 7.3.0 สำหรับ iOS โดยมีฟีเจอร์ "Auto Shazam" ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น โดยการทำงานของมันคือเราสามารถเปิดฟีเจอร์นี้ในหน้าโฮมสกรีนของ Shazam ไว้แล้วสามารถปิดหน้าจอหรือไปใช้งานแอพอื่นได้เลย โดยการแสดงผลการค้นหาชื่อเพลงจะแสดงใน Notification Center และบันทึกเป็นรายการไว้ในหน้า Tags Auto สามารถดาวน์โหลดได้แล้วที่ลิงก์ท้ายข่าวครับ