เป็นอุทาหรณ์สำหรับคนโหลดเกมเถื่อนอีกครั้ง เมื่อ Arkanoah ผู้ใช้ Reddit รายหนึ่งตั้งกระทู้ว่าเงิน Bitcoin ของตัวเองถูกถอนออกไปราว 4.88 BTC เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยที่เขาไม่รู้เรื่อง ซึ่งวันนั้นเป็นวันเดียวกับที่เกม Fallout 4 วางจำหน่าย
หลังจากนั้นก็มีผู้ใช้ Reddit รายอื่นๆ เข้ามาถามว่านาย Arkanoah โหลด Fallout 4 แบบเถื่อนมาใช่ไม๊ เจ้าตัวก็ยืนยันว่าใช่ ก็เลยได้ข้อสรุปคร่าวๆ ว่าที่ Bitcoin หายไป เป็นเพราะ Fallout 4 ที่โหลดแบบเถื่อนมาน่าจะมีมัลแวร์แฝงอยู่
เงิน Bitcoin ที่ถูกขโมยไปตีค่าเป็นเงินจริงประมาณ 1,773 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 62,000 บาท ทั้งๆ ที่ตัวเกมมีราคาอยู่แค่ราว 2,000 บาทเท่านั้น
Doctor Web รายงานถึงมัลแวร์เข้ารหัสเรียกค่าไถ่ตัวใหม่ Linux.Encoder.1 ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งโจมตีเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ โดยทาง Doctor Web ยังไม่ได้รายงานว่ามันอาศัยช่องทางใดเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์
เมื่อมัลแวร์เข้าไปแล้วและรันด้วยสิทธิ์ root ได้สำเร็จ มันจะเข้ารหัสในโฟลเดอร์ /home, /root, /var/lib/mysql, /var/www, /etc/nginx, /etc/apache2, และ /var/log จากนั้นมันจะสแกนทั้งระบบไฟล์เพื่อหาไฟล์ข้อมูลที่นามสกุลไฟล์ตรงกับเป้าหมายเพื่อเข้ารหัสต่อไป
กระบวนการที่เหลือเหมือนกับมัลแวร์เข้ารหัสเรียกค่าไถ่อื่นๆ คือมันจะทิ้งไฟล์เรียกค่าไถ่เอาไว้ และเรียกค่าไถ่เป็นเงิน 1BTC
ที่มา - Doctor Web
เว็บไซต์ครอบครัวข่าว 3 ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รายงานข่าวโดยระบุว่า ธนาคารพาณิชย์จำนวน 4 แห่งของไทย (ไม่ระบุว่าที่ใดบ้างและเนื้อหาการข่มขู่เป็นอย่างไร) ได้รับอีเมลข่มขู่จากกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตนเองว่า Armada Collective เพื่อเรียกค่าไถ่เป็นจำนวนเงิน 20 Bitcoin (ประมาณ 2 แสนบาท) แลกกับการไม่โจมตีระบบของธนาคาร ซึ่งหากธนาคารไม่ยอมทำตามก็จะมีการโจมตีและเพิ่มเงินที่เรียกค่าไถ่ไปเรื่อยๆ
ด้านเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Nation อ้างแหล่งข่าวจากธนาคารที่ไม่เปิดเผยว่า ณ ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับระบบของธนาคารแต่อย่างใด
เทคโนโลยีเบื้องหลัง Bitcoin อย่าง blockchain ซึ่งมีหลายองค์กรกำลังสนใจและศึกษาอยู่ (ตัวอย่างเช่น Deutsche Bank ของเยอรมนี) แต่ล่าสุด IBM กำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งอิงกับเทคโนโลยีดังกล่าว และเตรียมที่จะเปิดเป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สในอีกไม่กี่เดือนนี้
สำหรับซอฟต์แวร์ที่ IBM พัฒนาขึ้นนั้น จะไม่ใช่ซอฟต์แวร์ที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการสร้างสกุลเงินแบบเสมือน (virtual currency) แต่เป็นเรื่องของการทำสัญญาบนโลกดิจิทัล (digital contracts) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกเอาไว้เป็นสาธารณะบนอินเทอร์เน็ต
เพิ่งมีรายงานว่า Deutsche Bank ของเยอรมนีออกมาให้ความสนใจเทคโนโลยี Blockchain เมื่อเดือนก่อน วันนี้ธนาคารรายใหญ่ประกาศจับมือกับสตาร์ทอัพด้านการเงิน (FinTech) เพื่อสร้างเฟรมเวิร์คสำหรับนำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ไปใช้ในธุรกรรมด้านการเงิน
บริษัทสตาร์ตอัพด้านการเงิน (FinTech) ที่เป็นข่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ Chain ที่ประกาศนำเทคโนโลยี blockchain แบบเดียวกับ Bitcoin (กระจายกันเก็บข้อมูลธุรกรรมทั้งหมด) มาใช้กับงานอื่นๆ ในโลกการเงิน
สิ่งที่ Chain สนใจไม่ใช่ตัวสกุลเงิน Bitcoin แต่เป็นเทคโนโลยี blockchain ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานด้านอื่นได้ โดย Chain จะใช้ความเชี่ยวชาญช่วยให้องค์กรที่อยากใช้ blockchain สามารถสร้างแอพของตัวเองบนเทคโนโลยีเหล่านี้ (ผ่าน API, SDK และบริการประมวลผล) ลูกค้ารายหนึ่งของ Chain คือตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ที่เตรียมใช้ blockchain มาช่วยขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายนนี้
Mark Karpeles อดีตซีอีโอของ MtGox ถูกตำรวจญี่ปุ่นตั้งข้อหาฉ้อโกง (embezzlement) อย่างเป็นทางการ หลังถูกจับกุมในเดือนที่แล้ว ตามกฎหมายญี่ปุ่นอนุญาตให้ตำรวจควบคุมตัวได้ 6 สัปดาห์ก่อนตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการ
MtGox เคยเป็นบริการแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเงินกลับค่อยๆ สูญหายไปจากระบบจนกระทั่งไม่มีเงินจ่ายให้กับผู้ฝากและต้องยื่นล้มละลายในปีที่แล้ว มีผู้เสียหายนับแสนคน
ที่ผ่านมาเราเห็นโครงการเลียนแบบ Bitcoin เกิดขึ้นมากมาย โดยใช้ชื่อเรียกต่างออกไป (เช่น Litecoin) แต่รอบนี้ถึงคิวนักพัฒนากลุ่มหนึ่งของ Bitcoin แยกตัว (fork) ออกมาเปิดโครงการใหม่ชื่อ Bitcoin XT ด้วยเหตุผลเรื่องวิสัยทัศน์ที่ไม่ตรงกันว่า Bitcoin ในอนาคตควรเป็นเช่นไร
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ประมวลผล Bitcoin ตามสเปกที่เขียนขึ้นโดย Satoshi Nakamoto เรียกว่า Bitcoin Core มันถูกพัฒนาแบบโอเพนซอร์สภายใต้การดูแลของ Bitcoin Foundation ส่วนทิศทางการพัฒนา Bitcoin Core ขึ้นกับนักพัฒนาระดับ committer จำนวน 5 คน ที่จะต้องตกลงกันว่า Bitcoin Core ควรเดินหน้าไปทางไหน
MtGox บริษัทรับแลกเงิน Bitcoin ที่ระบุว่าระบบของบริษัทถูกแฮกและล้มละลายไป บริษัทก็ถูกสอบสวนและตอนนี้เจ้าหน้าที่ก็พบความผิดปกติในบัญชี โดยพบ Bitcoin ที่ไม่มีอยู่จริงถูกเติมเข้ามาในระบบมูลค่าหนึ่งล้านดอลลาร์
Mark Karpeles ถูกจับหลังเจ้าหน้าที่ตั้งข้อสงสัยนี้ เขายอมรับว่ามีการเพิ่มเงินลงไปในฐานข้อมูลจริง แต่ทำเพื่อการทดสอบระบบเท่านั้น และมูลค่าที่เพิ่มเข้าไปก็อยู่ในระดับแสนเยน
นอกจากเงินที่เพิ่มเข้ามาในฐานข้อมูลแล้ว เจ้าหน้าที่ยังตั้งข้อสงสัยว่ามีการโอนเงินที่ลูกค้าฝากไปเข้าบัญชีส่วนตัว หรือบัญชีของบริษัทอื่นๆ มูลค่า 8.9 ล้านดอลลาร์
ธนาคาร Deutsche Bank ของเยอรมนีออกมาเผยข้อมูลว่ากำลังศึกษาเทคโนโลยี blockchain แบบเดียวกับที่ใช้ในสกุลเงินเสมือนอย่าง Bitcoin เพื่อนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์
ตัวแทนของ Deutsche Bank ระบุว่าเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลเป็นบล็อคแล้วตรวจสอบกันเองอย่าง blockchain ออกแบบมาเพื่อสกุลเงินเสมือนเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วมันสามารถใช้กับงานด้านอื่นๆ ในโลกการเงินได้ด้วย เช่น หุ้น อนุพันธ์ (derivative) การตรวจสอบการฟอกเงิน เป็นต้น
ตอนนี้สถาบันการเงินหลายแห่ง เช่น CME Groupis, BNP Paribas, UBS เริ่มทดสอบการใช้ blockchain ในห้องแล็บของตัวเอง รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลด้านตลาดหลักทรัพย์ของยุโรป European Securities and Markets Authority ก็ประกาศรับฟังความเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้เช่นกัน
โครงการ Bitcoin แจ้งเตือนว่าเกิดความผิดพลาดในการขุด Bitcoin เมื่อวานนี้ ทำให้กลุ่มขุดบิทคอยน์หลายรายเสียหาย
ความผิดพลาดเริ่มต้นจากช่วงเช้าวันที่ 4 กรกฎาคมตามเวลา UTC มีกลุ่มขุดบิทคอยน์กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ได้อัพเกรดซอฟต์แวร์ให้ถูกต้องประกาศบล็อคผิดพลาดออกมา โดยปกติแล้วบล็อคเหล่านี้ควรถูกเครือข่ายปฎิเสธ และทุกคนควรไปเริ่มขุดต่อจากบล็อคที่ถูกต้อง แต่ปรากฎว่ามีกลุ่มขุดบิทคอยน์จำนวนมากไม่ยอมตรวจสอบบล็อคเสียก่อนแต่ขุดเหมืองต่อเนื่องจากบล็อคที่ประกาศออกมาทันที ทำให้บล็อคที่ผิดพลาดถูกใช้งานต่อๆ กันไปเป็นสายโซ่เส้นใหม่
Ross Ulbricht ผู้ดูแลตลาดมืด Silk Road บนเครือข่าย Tor ถูกศาลสั่งจำคุกตลอดชีวิตหลังคณะลูกขุนตัดสินว่ามีความผิดจริงในทุกข้อหา ผู้พิพากษา Katherine Forrest เป็นผู้ตัดสินโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีโอกาสลดหย่อนโทษอันเป็นโทษสถานหนักที่สุดจากโทษขั้นต่ำคือ 20 ปี (ข่าว ผู้ดูแลตลาดมืด Silk Road โดนจับแล้ว ในปี 2013)
ตลาดมืด Silk Road เปิดตัวขึ้นในราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ก่อนที่จะถูกปิดลงโดย FBI ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปี มีการซื้อขายเกิดขึ้นกว่า 1.5 ล้านครั้งจากผู้ซื้อมากกว่า 1 แสนคน มีมูลค่ารวมมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แอพ Blockchain ที่ใช้สร้างบัญชีบิทคอยด์ในโทรศัพท์มือถือมีบั๊กสำคัญในส่วนการสุ่มค่าทำให้สร้างบัญชีหมายเลขเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ใช้หลายคนมีเลขบัญชีเดียวกันโดยไม่รู้ตัว ทาง Blockchain รายงานว่ามีผู้ใช้เสียเงินจากบั๊กนี้แล้ว
IBM Model 1401 เป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรมสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไอบีเอ็มให้บริการเช่าใช้งานเดือนละ 2500 ดอลลาร์ นับเป็นคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงช่วงที่มีการใช้งานสูงสุดมีมากกว่าหมื่นเครื่อง ล่าสุด Ken Shirriff ผู้ชื่นชอบคอมพิวเตอร์เก่าได้สาธิตใช้ Model 1401 มาขุดบิทคอยด์ได้สำเร็จ
Model 1401 ไม่ได้ใช้ระบบไบต์ขนาด 8 บิตเช่นคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันแต่ใช้ไบต์ขนาด 6 บิตแทน และชุดคำสั่งไม่มีคำสั่งประมวลผลบิตโดยตรง Shirriff ต้องพยายามแปลงคำสั่งเพื่ออิมพลีเมนต์ฟังก์ชั่น SHA-256 ที่จำเป็นสำหรับการขุดบิทคอยน์
นับตั้งแต่ MtGox ล้มละลายไปก็ดูเหมือนจะมีแต่ข่าวแย่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงรายงานล่าสุดที่ชี้ว่า Bitcoin ในระบบของ MtGox นั้นเริ่มหายไปตั้งแต่กลางปี 2011 ล่าสุดมีข่าวดีสำหรับเหยื่อที่สูญเงินไปจากเหตุการณ์ครั้งนี้บ้างแล้ว
ข่าวดีที่ว่าคือทาง MtGox เริ่มเปิดให้ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนเข้าไปที่ claims.mtgox.comเพื่อกรอกข้อมูลยืนยันตัวตน ก่อนจะโอนไปยังระบบแลกเปลี่ยน Bitcoin สัญชาติเกาหลีใต้ Kraken สำหรับถอนเงิน ซึ่งจะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 483 เหรียญต่อ 1 BTC โดยจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 6 ต่อปี
MtGox ที่ล้มละลายไป ตอนนี้ทางเจ้าหนี้ก็เข้ามาตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับบริษัท โดยทีมงาน WizSec จากญี่ปุ่นเข้ามาตรวจสอบบัญชีและพบว่าเงินหายไปจากบัญชี MtGox อย่างต่อเนื่องมานานนับปี
Olivier Janssens หนึ่งในคณะกรรมการที่ได้รับเลือกของ Bitcoin Foundation มูลนิธิไม่หวังกำไรที่ดูแลซอฟต์แวร์บิตคอยน์อยู่ตอนนี้ออกมาโพสในเว็บบอร์ดแฉกรรมการด้วยกันเอง ระบุว่าตัวมูลนิธิแทบไม่เหลือเงินสดในมือแล้ว
Janssens ระบุว่าเขาเสนอให้การประชุมต้องมีบันทึกเอาไว้ แต่บอร์ดที่เหลือกลับไม่เห็นด้วย และสถานการณ์ของมูลนิธิเองกลับกำลังแย่ ตอนนี้พนักงานร้อยละ 90 ถูกไล่ออกไปแล้ว และที่เหลือบางส่วนทำงานแบบอาสาสมัคร
Bitcoin Foundation มีรายได้จากสมาชิกรายบุคคลปีละ 25 ดอลลาร์ขึ้นไป และแบบองค์กรปีละ 1,000 ดอลลาร์ขึ้นไป เมื่อปี 2013 รายงานบัญชีระบุว่ามูลนิธิมีทรัพย์สินถึง 4.7 ล้านดอลลาร์
ธนาคาร UBS ของสวิตเซอร์แลนด์เปิดห้องวิจัยเทคโนโลยีในลอนดอน เพื่อศึกษาว่าเทคโนโลยี blockchain ของสกุลเงินเสมือนแบบ Bitcoin สามารถใช้กับวงการการเงินได้มากน้อยแค่ไหน
UBS บอกว่าห้องวิจัยแห่งนี้ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการเงิน ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การประเมินความเสี่ยง และรวมถึงเทคโนโลยีใหม่อย่าง Bitcoin ด้วย
blockchain คือเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบการทำธุรกรรม (transaction) โดยใช้วิธีประมวลผลแบบกระจายศูนย์ และเปิดข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดให้สาธารณะเข้าถึงได้ เทคโนโลยีนี้ได้รับการสนใจจากอุตสาหกรรมการเงินไม่น้อย และคาดว่าจะสามารถนำมาใช้กับการจ่ายเงิน-หลักทรัพย์ได้ด้วย
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลอังกฤษก็เคยตั้งงบ 10 ล้านปอนด์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีสกุลเงินเสมือนเช่นกัน
Rakuten เว็บอีคอมเมิร์ชรายใหญ่จากญี่ปุ่น (ในไทยเข้ามาถือหุ้นใหญ่ใน Tarad.com) ประกาศรองรับเงิน Bitcoin ในสามประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ, เยอรมนี, และออสเตรีย ให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Bitnet เริ่มจากสหรัฐฯ ก่อนและอีกสองประเทศยังไม่ได้กำหนดระยะเวลา
ร้านค้าที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของ Rakuten และรองรับ Bitcoin จะได้ประโยชน์สำคัญคือค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง และไม่ต้องรับความเสี่ยงการฉ้อโกงบัตรเครดิต โดยปัจจุบันค่าธรรมเนียมของ Bitnet อยู่ที่ 1% และลดลงเรื่อยๆ หากมีการใช้งานปริมาณมาก
Rakuten ลงทุนใน Bitnet ตั้งแต่ปีที่แล้ว
ที่มา - Rakuten
สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว ระบุว่าไอบีเอ็มกำลังพิจารณาใช้เทคโนโลยีจาก Bitcoin มาทำระบบโอนเงินสกุลทั่วๆ ไปโดยไม่ต้องมีธนาคารให้บริการเป็นตัวกลาง
ระบบใหม่นี้จะใช้กระบวนการ blockchain จาก Bitcoin เข้ามารายงานการโอนเงินแต่ละครั้ง แต่เงินในรายการโอนจะเป็นเงินสกุลที่ใช้กันทั่วไป เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ แทนที่จะเป็นสกุลเงิน BTC กระบวนการ blockchain นี้ทำให้ไม่ต้องมีธนาคารมาควบคุมบัญชีของแต่ละคน อย่างไรก็ตามระบบใหม่ที่ไอบีเอ็มจะเสนอจะให้อำนาจธนาคารกลางของแต่ละชาติควบคุมได้
ตอนนี้โครงการยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และแหล่งข่าวก็ระบุว่าไอบีเอ็มกำลังเจรจากับหน่วยงานรัฐเพื่อขออนุญาตทำโครงการนี้
มีรายงานว่า uTorrent รุ่น 3.4.2 มีการแถมโปรแกรมขุด Bitcoin จาก Epic Scale มาในตัวเพื่อขุด Bitcoin เข้าเป็นรายได้ให้กับ uTorrent และการกุศล
ผู้ใช้รายแรกๆ รายงานว่าโปรแกรมติดตั้งของ uTorrent ติดตั้ง Epic Scale โดยไม่ถามผู้ใช้ แต่ทาง uTorrent โต้ว่าระหว่างติดตั้งมีการถามผู้ใช้ก่อนแล้วว่าจะยอมติดตั้ง Epic Scale หรือไม่ และทาง uTorrent ก็เลือกพันธมิตรที่จะติดตั้งแอพพลิเคชั่นอย่างระมัดระวัง Epic Scale เองก็เป็นองค์กรที่เน้นการกุศล
Epic Scale จะกินซีพียูเพื่อไปขุด Bitcoin เครื่องที่ติดตั้งไปแล้วจะทำให้เครื่องช้าลงไป
เว็บไซต์ข่าวออสเตรเลีย news.com.au อ้างรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภูเก็ตภาษาอังกฤษ The Phuket Gazette ว่า Adam Tepper ซีอีโอของบริษัท Independent Reserve ซึ่งเป็นบริษัทรับแลกเปลี่ยนสกุลเงิน Bitcoin ของออสเตรเลีย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
รายงานข่าวระบุว่า การเสียชีวิตของซีอีโอคนดังกล่าวนี้เกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยตัวเขาขับรถพุ่งเข้าชนด้านหลังรถบรรทุกที่สี่แยกใสยวน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยพบร่างของเขาอยู่ที่ป้ายจราจร ห่างจากซากรถจักรยานยนต์ประมาณ 30 เมตร โดย ร.ต.อ.ธาดา โสดารักษ์ พนักงานสอบสวน สภ.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต ระบุว่าเขาน่าจะเสียชีวิตทันที ณ จุดเกิดเหตุ
ขอแสดงความเสียใจมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post ของฮ่องกง รายงานข่าวว่าเว็บแลก Bitcoin ของฮ่องกงชื่อ MyCoin ปิดตัวไปอย่างไม่ทราบสาเหตุ และเชิดเงินของนักลงทุนรายย่อยไปด้วย
ตัวเลขความเสียหายครั้งนี้ยังไม่แน่ชัด แต่ MyCoin เคยอ้างว่ามีนักลงทุนรายย่อยประมาณ 3,000 รายลงทุนซื้อ Bitcoin กับเว็บไซต์รายละ 1 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง รวมเป็น 3,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 12.6 พันล้านบาท
ตามข่าวบอกว่านักลงทุนประมาณ 30 รายรวมตัวกันแจ้งความต่อตำรวจท้องถิ่น ด้วยข้อหาว่า MyCoin ทำธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme) โดยใช้ฉากหน้าเป็นการแลกเปลี่ยน Bitcoin
คดี Silk Road ที่ FBI จับ Ross Ulbricht เริ่มเข้าสู่ชั้นศาลตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐาน (cross-examination) ข้อมูลที่ออกมากลับกลายเป็นว่าผู้ต้องสงสัยคนแรกของทางการสหรัฐฯ ว่าน่าจะเป็น Dead Pirate Roberts (DPR) คือ Mark Karpeles ซีอีโอของ MtGox ที่ล้มละลายไป
ทาง Department of Homeland Security (DHS) เคยขอหมายศาลเพื่อค้นอีเมลของ Karpeles สาเหตุที่สงสัยเพราะ Karpeles มีบิตคอยน์อยู่จำนวนมาก หากบิตคอยน์ได้รับความนิยมสูง (เพราะจะใช้จ่ายสินค้าผิดกฎหมาย) มูลค่าของมันก็จะสูงขึ้นอย่างมาก ตัว Karpeles เองเป็นเจ้าของโดเมน silkroadmarket.org อีกด้วย
สำนักข่าว Yomiuri Shimbun อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนในกรมตำรวจโตเกียว ระบุว่าเงินบิทคอยน์ที่หายไปจาก MtGox ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนที่เคยเป็นรายใหญ่ที่สุดในโลกแต่ยื่นล้มละลายไปเมื่อปีที่แล้ว เป็นการโอนออกโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่าเงินทั้งหมดที่หายไปจาก MtGox เป็นการใช้ช่องโหว่ transaction malleability ที่ทำให้ลูกค้าที่มุ่งร้ายขอโอนเงินซ้ำได้โดยเงินไม่ตัดออกจากบัญชี แต่รายงานใหม่ระบุว่ามีลูกค้าใช้ช่องโหว่นี้ได้เงินไปเพียง 7,000 BTC เท่านั้น หรือประมาณ 1% ของบิทคอยน์ที่หายไปทั้งหมดประมาณ 650,000 BTC