ฟีเจอร์สำคัญอย่างหนึ่งของ AWS EC2 คือการนำเครื่องที่ไม่มีคนใช้งานมาขายในราคาถูกเรียกว่า Spot Instance โดยก่อนหน้านี้จะเปิดให้คนตั้งราคารับซื้อเครื่องได้ตามใจชอบและอาศัยการประมูลเครื่องที่เหลืออยู่ แต่โมเดลใหม่จะทำให้การเรียกใช้งานเหมือนเครื่อง On Demand ตามปกติขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงได้แก่
เมื่อปลายปีที่แล้ว AWS เปิดตัวบริการ Amazon Rekognition ระบบ AI แยกแยะข้อมูลในภาพ พร้อมฟีเจอร์จดจำใบหน้าคน (รู้จักใบหน้าคนดังด้วย) ให้ลูกค้าเรียกใช้งานได้ผ่าน API และคิดเงินตามจำนวนภาพ
เวลาผ่านมาหนึ่งปี Amazon Rekognition เพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีก 3 อย่าง
ก่อนหน้านี้เราเพิ่งเห็นข่าว VMware Cloud on AWS เริ่มเปิดบริการแล้ว รันซอฟต์แวร์ VMware บนคลาวด์ Amazon คราวนี้ฝั่งของ Azure ก็เริ่มมีบริการแบบเดียวกัน เป้าหมายคือช่วยลูกค้าที่รัน VMware อยู่แล้วย้ายขึ้นคลาวด์ของไมโครซอฟท์สะดวกขึ้น
บริการของไมโครซอฟท์เรียกว่า VMware virtualization on Azure เป็นการนำ VMware มารันบนเครื่องของ Azure โดยตรง ตอนนี้สถานะยังเป็นรุ่นเบต้า และจะออกรุ่นจริงในปีหน้า
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมี Azure Migrate เป็นเครื่องมือฟรี ที่วิเคราะห์โครงสร้างการรันแอพพลิเคชันใน VM ที่ใช้อยู่ เพื่อย้ายขึ้น Azure โดยอัตโนมัติ ช่วยลดระยะเวลาดาวน์ไทม์ให้มากที่สุด และคำนวณค่าใช้งานให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด
ผู้ใช้บริการคลาวด์ AWS คงทราบดีว่าแบ่งเขตการให้บริการเป็น "ภูมิภาค" (region) ตามเมืองต่างๆ เช่น เอเชียแปซิฟิก (สิงคโปร์) หรือ ยุโรป (ลอนดอน)
ล่าสุด AWS เปิดตัวภูมิภาคใหม่ที่ใช้ชื่อว่า AWS Secret Region
Secret Region เป็นพื้นที่บริการพิเศษ สำหรับหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาที่เก็บข้อมูลลับเฉพาะ เพื่อแยกบริการโดยไม่ปะปนกับลูกค้าอื่นทั่วไป ตัวบริการจะถูกตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยหลายชั้นตามความต้องการของหน่วยงานเหล่านี้ และมีสัญญาเช่าใช้งานแบบพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับหน่วยข่าวกรองโดยเฉพาะ
Google Cloud Spanner บริการระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database) ที่มั่นคงและรองรับการขยายตัวได้ดีจาก Google ได้ออกอัพเดตล่าสุด โดยรองรับระบบ multi-region ซิงค์ข้อมูลข้ามทวีปโดยอัตโนมัติ รวมถึงปรับปรุง Service Level Agreement ใหม่
AWS เปิดตัวเรื่องตระกูล C ประมวลผลสูงรุ่นล่าสุด C5 ใช้ซีพียู Skylake-SP (ตามหลังกูเกิลประมาณครึ่งปี) นอกจากจะอัพเกรดตัวคอร์แล้ว ยังเพิ่มขนาดสูงสุด จากรุ่น c4 ที่จำกัด 36 คอร์ เป็น 72 คอร์ และแรมสูงสุดจากเดิม 60GB เป็น 144GB
เครื่องกลุ่ม C5 เริ่มต้นที่ 2 คอร์ แรม 4GB ราคาชั่วโมงละ 0.085 ดอลลาร์ หรือเดือนละ 61.2 ดอลลาร์ ไปจนถึงเครื่องใหญ่สุด 72 คอร์ ชั่วโมงละ 3.06 ดอลลาร์หรือเดือนละ 2203.2 ดอลลาร์
ช่วงแรกยังใช้งานได้เฉพาะ 3 โซน ได้แก่ US-East (N. Virginia), US-West (Oregon), และ EU (Ireland)
Tencent บริษัทแม่ของบริการ WeChat และ QQ ได้ประกาศเข้าร่วม OpenStack Foundation โครงการพัฒนาซอฟต์แวร์คลาวด์แบบโอเพ่นซอร์ส โดยเป็นสมาชิกระดับ Gold Member
การเข้าเป็นสมาชิก OpenStack ของ Tencent นั้นไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันระบบไพรเวทคลาวด์ TStack ก็รันโดยใช้คลัสเตอร์ OpenStack ทั้งหมด 14 ตัว รวมทั้งหมด 6,000 โหนด ซึ่งระบบคลาวด์ของ Tencent นี้ใช้เพื่อสนับสนุนผู้ใช้บริการกว่าร้อยล้านคน
IBM ประกาศยกเลิกการใช้แบรนด์ Bluemix ทำตลาดคลาวด์ โดยจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น "IBM Cloud" ที่ตรงไปตรงมากว่าแทน
ก่อนหน้านี้ IBM มีบริการด้านคลาวด์ 2 แบรนด์คือ Bluemix และ SoftLayer โดยแบรนด์ SoftLayer ถูกยุบรวมกับ Bluemix ในปี 2016 และแบรนด์ Bluemix ก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น IBM Cloud ในปีนี้
ในแง่ของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะเป็นการเปลี่ยนแค่ชื่อเท่านั้น
ที่มา - IBM
อุปสรรคสำคัญของระบบไอทีในยุคคลาวด์ คือแอพพลิเคชันองค์กรยุคเก่า (legacy) ที่ยังต้องรันบนสถาปัตยกรรมเดิมต่อไปเรื่อยๆ และไม่คุ้มแก่การแก้ไข
IBM ในฐานะบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ที่มีแอพพลิเคชันยุคเก่าๆ อยู่มาก จึงออกซอฟต์แวร์ IBM Cloud Private เพื่อให้นำแอพพลิเคชันเหล่านั้นมารันบนสถาปัตยกรรมยุคใหม่ได้ง่ายขึ้น (Application Modernization)
แนวคิดหลักของมันคือการนำแอพพลิเคชันเดิมๆ มารันใน container (รองรับทั้ง Docker และ Cloud Foundry Warden) แล้วบริหารจัดการด้วย Kubernetes อีกทีหนึ่ง เพื่อให้แอพพลิเคชันสามารถรันบนคลาวด์ได้ทั้ง public cloud และ private cloud ขององค์กรเอง
Cisco ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud เพื่อพัฒนาไฮบริดคลาวด์ร่วมกัน
Cisco ระบุว่าตอนนี้สภาพตลาดคลาวด์มีความชัดเจนแล้วว่า ต้องใช้ทั้ง public/private cloud สำหรับงานที่แตกต่างกัน การทำไฮบริดคลาวด์ให้ย้ายงานข้ามกันไปมาได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงเลือกจับมือกับ Google Cloud ในฐานะพันธมิตรด้าน public cloud เพื่อเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ฝั่ง private cloud ของ Cisco
Microsoft Azure ประกาศให้บริการ VM รุ่น Fv2 ซึ่งเป็น VM ที่มีสมรรถนะซีพียูสูงที่สุดในปัจจุบัน
Fv2 รันอยู่บนซีพียู Intel Xeon Platinum 8168 ซึ่งเป็นซีพียู Xeon Scalable ตัวใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรม Skylake มีสัญญาณนาฬิกา 2.7 GHz และอัดขึ้นไปได้ถึง 3.7 GHz และรองรับชุดคำสั่ง AVX-512
Fv2 มีรุ่นย่อยให้เลือก 7 ขนาด รุ่นเล็กสุดคือ 2 vCPU, แรม 4GB ไปจนถึงรุ่นใหญ่สุดที่ 72 vCPU, แรม 144GB ตอนนี้เริ่มให้บริการในบางเขตของสหรัฐและยุโรป พร้อมข่าวดีว่าเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะตามมาในเร็วๆ นี้
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Google Cloud Platform ก็เพิ่งอัพเกรด VM เป็น Xeon Scalable เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Cray ผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชื่อดัง นำระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Cray ไปให้บริการบนคลาวด์ Azure
กลุ่มเป้าหมายของความร่วมมือครั้งนี้คือ ลูกค้า Azure ที่ต้องการเครื่องแรงสุดๆ ไปใช้งานประมวลผลขนาดใหญ่ (Big Computing) แต่อาจไม่มีงบประมาณเยอะพอสำหรับซื้อเครื่อง Cray ถาวร ก็สามารถใช้วิธีเช่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์เฉพาะช่วงที่ต้องใช้งาน
Cray ระบุว่านำเครื่องรุ่น Cray XC series, Cray CS series, Cray ClusterStor มาให้บริการบน Azure โดยเชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ของ Azure เพื่อให้ย้ายข้อมูลไปมาได้ง่ายอีกด้วย
Nokia เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรด้านคลาวด์กับ Amazon Web Services (AWS) โดยมีรายละเอียดดังนี้
Nutanix ผู้พัฒนาระบบประมวลผลคลาวด์สำหรับองค์กร โดยมีแนวคิดแบบใหม่ให้การจัดการหลังบ้านทำได้ง่ายมากขึ้น บริษัทได้ผ่านหลักไมล์สำคัญคือเดินจากการเป็นสตาร์ทอัพ ไปสู่การเข้าตลาดหุ้น Nasdaq เมื่อปีที่แล้ว และขยายการบริการจากเซิร์ฟเวอร์ ไปสู่แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับองค์กร
ล่าสุดในงานการประชุม .NEXT ที่สิงคโปร์ Blognone ได้มีโอกาสร่วมฟังและพูดคุยกับผู้บริหารของ Nutanix เพื่อสรุปแนวโน้มและทิศทางของการจัดการระบบประมวลผลของศูนย์ข้อมูลในยุคถัดไป ตลอดจนแนวทางที่ Nutanix ต้องการเป็น โดยเฉพาะแนวคิดมุ่งสู่การเป็น iPhone ของโลกเซิร์ฟเวอร์ นั้นน่าสนใจทีเดียว
Nutanix ผู้พัฒนาระบบประมวลผลคลาวด์สำหรับองค์กร ที่ใช้แนวคิดใหม่เพื่อให้งานบริการจัดการระบบง่ายมากขึ้น โดยเชื่อมต่อคลาวด์แพลตฟอร์มต่างๆ ให้ทำงานประสานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ตามที่ Blognone ได้เสนอข่าวมาแล้ว ล่าสุดในงาน .NEXT ที่ประเทศสิงคโปร์วันนี้ ได้มีการเปิดเผยการเติบโตที่น่าสนใจของบริษัท สะท้อนให้เห็นความนิยมของระบบจัดการคลาวด์ ที่เติบโตสวนกระแสกับทิศทางการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กร
โดย Nutanix มีรายได้เติบโตถึง 68% ในปีที่ผ่านมา ตลอดจนมีลูกค้าทั่วโลกแล้วกว่า 7,000 ราย ซึ่งตลาดที่มีการเติบโตสูงมากในปีที่ผ่านมาคือ Asean โดยจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
Google Cloud Platform ประกาศขยายขนาดของ Google Compute Engine VM ที่ใหญ่ที่สุดให้ใหญ่ขึ้นอีก โดย VM รุ่นใหญ่สุดจะสามารถมีซีพียูเสมือน (vCPU) จำนวนสูงสุด 96 ตัว และหน่วยความจำสูงสุด 624GB
กูเกิลบอกว่าเครื่องเหล่านี้ใช้ซีพียู Intel Xeon Scalable รุ่นล่าสุด ที่เป็นสถาปัตยกรรม Skylake และมีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นก่อน 20%
ส่วนหน่วยความจำที่มากได้ถึง 628GB ก็เหมาะสำหรับการรันฐานข้อมูล SAP HANA และผู้ใช้งานสามารถสร้างคลัสเตอร์ VM ขนาดใหญ่ที่มีหน่วยความจำได้ถึง 9.75TB
กูเกิลยังไม่พอใจกับตัวเลขนี้ และบอกว่าเป้าหมายต่อไปคือ VM ที่ให้หน่วยความจำ TB
บริการคลาวด์ใหม่อีกตัวของ Oracle ที่เปิดตัวในงานปีนี้ (นอกจาก Blockchain, Container, Serverless) ก็มีบริการ AI Cloud สำหรับให้บริการด้านประมวลผล AI
เราเพิ่งเห็นข่าว Amazon Web Services ปรับวิธีคิดเงิน EC2 จากรายชั่วโมงเป็นรายวินาที โดยจะมีผลวันที่ 2 ตุลาคมนี้
ล่าสุด Google Cloud Platform แซงโค้ง ประกาศเปลี่ยนวิธีคิดเงินจากนาทีเป็นวินาที และมีผลทันที
บริการที่เริ่มคิดเงินแบบวินาทีคือ Compute Engine, Container Engine, Cloud Dataproc, App Engine โดยใช้ได้กับทั้ง VM ที่รันระบบปฏิบัติการ Windows Server, RHEL, SUSE Enterprise (AWS ไม่รองรับแบบวินาทีถ้าเป็นวินโดวส์หรือลินุกซ์บางตัว)
ข้อจำกัดสำคัญของการใช้งานคลาวด์ชนิดเต็มรูปแบบอย่างหนึ่งคือองค์กรจำนวนมากมีข้อมูลมหาศาลจนกระทั่งการอัพโหลดตามปกติทำได้ลำบาก อาจจะใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ตั้งแต่ปี 2010 AWS รับข้อมูลเป็นฮาร์ดดิสก์จากลูกค้า จนกระทั่งพัฒนาเป็นบริการเต็มรูปแบบในชื่อว่า Snowball เมื่อปี 2015 ทางฝั่งกูเกิลเองก็เปิดบริการแบบเดียวกันในปี 2013 ตอนนี้ทั้งไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มก็เปิดบริการฮาร์ดดิสก์สำหรับอัพโหลดขึ้นคลาวด์แล้วทั้งคู่
Google Cloud Platform ทดลองเปิดให้ใช้จีพียูช่วยเร่งการประมวลผลมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยใช้ NVIDIA Tesla P100 และ K80 ซึ่งเป็นจีพียูเกรดเซิร์ฟเวอร์ตัวเกือบท็อปสุดของ NVIDIA ในปัจจุบัน (ใหม่ที่สุดคือ Tesla V100 ที่เพิ่งเปิดตัวในเดือน พ.ค.)
ล่าสุดกูเกิลประกาศสถานะ GA (generally available) ให้กับ Tesla K80 แล้ว ส่วนตัวแรงกว่าคือ Tesla P100 ยังมีสถานะเป็นเบต้า
ในยุคสมัยที่ใครๆ ก็พูดถึง AI ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เอาเข้าจริงแล้ว งานด้านประมวลผล AI ยังเป็นเรื่องยากและต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ยังขัดขวางไม่ให้ภาคธุรกิจนำ AI มาใช้งานอย่างที่ควรจะเป็น
IBM ในฐานะบริษัทไอทีผู้บุกเบิกเรื่อง AI ภายใต้แบรนด์ Watson เล็งเห็นปัญหานี้ และนำความสามารถของ Watson ออกมาให้คนทั่วไปใช้งานกันอย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์หรือซอฟต์แวร์เอง เพราะทุกอย่างสามารถเรียกใช้ได้จาก IBM Cloud โดยตรง
Amazon Web Services ประกาศเปลี่ยนวิธีคิดเงินของบริการหลายตัว ได้แก่ Elastic Compute Cloud (EC2), Elastic Block Store (EBS), Elastic MapReduce (EMR) และ AWS Batch จากรายชั่วโมง มาเป็นตามวินาที (Per-Second Billing)
AWS จะเริ่มคิดเงินเป็นวินาทีตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคมนี้ในทุก AWS Region โดยกรณีของ EC2 จะมีผลเฉพาะเครื่องที่เป็นลินุกซ์เท่านั้น ไม่มีผลกับเครื่องที่เป็นวินโดวส์หรือลินุกซ์บางดิสโทรที่ยังคิดเป็นรายชั่วโมง นอกจากนี้การคิดเงินเป็นวินาทีจะมีขั้นต่ำ 1 นาทีแรก และราคาที่แสดงบนหน้าเว็บของ AWS จะยังแสดงเป็นรายชั่วโมง แต่การลงบิลจะเปลี่ยนมาคำนวณเป็นรายวินาที
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Azure ชื่อว่า confidential computing สำหรับลูกค้าที่กังวลเรื่องปัญหาข้อมูลรั่วไหล
ปกติแล้ว Azure เข้ารหัสข้อมูลในฐานข้อมูล SQL Server ตลอดเวลา (Always Encrypted) อยู่แล้ว แต่ตอนที่นำข้อมูลออกมาประมวลผล ย่อมต้องถอดรหัสข้อมูลออกมาก่อนเสมอ เป็นช่องโหว่ที่อาจทำให้ลูกค้ากังวล
Oracle ประกาศเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ Cloud Native Computing Foundation หรือ CNCF อย่างเป็นทางการ โดยเป็นสมาชิกระดับ platinum ซึ่งถือเป็นสปอนเซอร์ระดับบนสำหรับกลุ่ม CNCF
ค่าสมาชิกของ CNCF นี้ไม่ใช่ราคาถูก โดยสมาชิก platinum จะต้องจ่ายเงินถึง 370,000 ดอลลาร์ (แต่มีส่วนลดให้หากเป็นสมาชิก Linux Foundation อยู่แล้ว) ดังนั้นการที่ Oracle เข้าร่วมกลุ่มแล้วเป็นการยืนยันว่าทางบริษัทพร้อมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี Kubernetes อย่างเต็มตัว
นอกจากการเข้าร่วมกับ CNCF แล้ว Oracle ยังมีการนำ Kubernetes เข้ากับ Oracle Linux และโอเพ่นซอร์สตัวติดตั้ง Terraform Kubernetes สำหรับ Oracle Cloud Infrastructure และ Oracle นั้นก็มีส่วนในการสนับสนุนโค้ดของ Kubernetes และเครื่องมือคอนเทนเนอร์มานานแล้ว
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ยังมีองค์กรที่มีวัฒนธรรมในการทำงานแบบเดิมๆ อยู่ ขณะเดียวกันองค์กรที่ต้องการและอยู่ระหว่างการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและยุคสมัย ตามกระบวนการที่เรียกว่า Digital Transformation ก็มีอยู่ไม่น้อย
ด้าน AIS เองนอกจากการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายและบรอดแบรนด์ ก็มีวิสัยทัศน์ในการเป็นตัวกลางและผู้ช่วยให้ภาคธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลตั้งแต่ปีที่แล้ว จากการเปิดตัว AIS Business Cloud เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ AIS ยังคงวิสัยทัศน์เดิม พร้อมด้วยการพัฒนาฟีเจอร์ โซลูชันและบริการต่างๆ ของ Business Cloud ที่ AIS เรียกว่า End-to-End Cloud Service ให้ครบเครื่องและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น