แนวคิดบริการกลุ่มเมฆที่สำคัญคือเรามองว่าผู้ให้บริการกลุ่มเมฆจะมีเครื่องสำรองไว้เสมอจนเราสามารถสั่งเช่าเครื่องเพิ่มเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ปรากฏหว่าเครื่อง C3 ของ Amazon EC2 ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว กลับได้รับความนิยมอย่างสูง จนตอนนี้ลูกค้าไม่สามารถขอเครื่องเพิ่มได้
เครื่อง C3 ใช้ซีพียู Ivy Bridge 2.8 GHz และให้หน่วยความจำต่อเครื่องค่อนข้างสูง รุ่นเล็กที่สุดคือ 2 คอร์ และแรม 3.75 GiB ส่วนรุ่นสูงสุดคือ 32 คอร์ และแรม 60 GiB
ทางอเมซอนแจ้งว่ากำลังเร่งเพิ่มเครื่องเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ
ช่วงนี้มีงาน Dell World งานใหญ่ประจำปีของ Dell พอดี บริษัทเลยอาศัยเวทีนี้ประกาศข่าวความเคลื่อนไหวด้าน cloud computing ชุดใหญ่ดังนี้ครับ
ใน Windows Azure นั้น การคิดเงินในการใช้งานโดยทั่วไปนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ที่จำเป็นต้องนำมาคิดค่าบริการเกือบจะในทุกๆ บริการ ได้แก่
Compute
Windows Azure เป็นรูปแบบการให้บริการที่ให้ใช้การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) ที่สร้างขึ้น พัฒนา และบริหารโดยบริษัท Microsoft ซึ่งบริการทั้งหมดจะให้บริการภายในศูนย์ข้อมูล (data center) ของ Microsoft เองที่กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งหมด 8 ศูนย์ข้อมูล ตั้งอยู่ใน 3 ทวีปด้วยกัน ซึ่งได้แก่
อเมริกา: ชิคาโก (North-central US), ซานอันโตนิโอ (South-central US), แคลิฟอร์เนีย (West US) และ เวอร์จิเนีย (East US)
เอเชีย: ฮ่องกง ประเทศจีน (East Asia) และสิงค์โปร์ (South East Asia)
ยุโรป: อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ (West Europe) และดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ (North Europe)
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดศูนย์ข้อมูลให้กับบริการ Windows Azure ในบราซิลภายในช่วงต้นปี 2014 หลังจากมีศูนย์ข้อมูลทั้งในเอเชีย, สหรัฐฯ, และยุโรป มาก่อนแล้ว
Azure นับเป็นบริการคลาวด์ที่มีศูนย์ข้อมูลให้เลือกมากที่สุดบริการหนึ่ง ศูนย์ข้อมูลที่มีการเปิดตัวก่อนหน้านี้เช่น ญี่ปุ่น, จีน, และออสเตรเลีย
ข้อดีสำคัญข้อหนึ่งของศูนย์ข้อมูลบราซิลคือมันใกล้สหรัฐฯ ทำให้สำหรับผู้ใช้ที่เลือกบริการเก็บข้อมูลข้ามทวีป (Geo Redundant Storage - GRS) จากสหรัฐฯ จะถูกสำรองข้อมูลไปยังบราซิลเป็นที่แรกก่อน และเลือกศูนย์ข้อมูลอื่นเป็นอันดับต่อไป
DigitalOcean ผู้ให้บริการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆน้องใหม่ที่มาค่อนข้างแรงจากราคาที่ถูกกว่าผู้ให้บริการรายอื่น (เริ่มต้นเครื่องเล็ก 5 ดอลลาร์ต่อเดือน) เปิดศูนย์ข้อมูลอัมสเตอร์ดัมศูนย์ที่สอง และประกาศว่าศูนย์ข้อมูลที่สิงคโปร์จะพร้อมเปิดให้บริการภายในสองเดือนข้างหน้า โดยส่งอุปกรณ์ไปยังสิงคโปร์แล้ว
ทางบริษัทระบุว่าความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้นรวดเร็วมากในช่วงหลัง โดยลูกค้าไม่สามารถสร้างเครื่องในอัมสเตอร์ดัมเพิ่มเติมได้มาระยะหนึ่ง แต่หลังจากนี้จะสามารถสร้างเครื่องเพิ่มเติมได้ในศูนย์ข้อมูลที่สองนี้
Google Compute Engine (GCE) เปิดตัวมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ที่ผ่านมาก็เปิดให้นักพัฒนาภายนอกเข้าใช้งานกันเป็นจำนวนมากแล้ว แต่ยังไม่เปิดให้ทุกคนใช้งานได้ทันที ตอนนี้กูเกิลก็กลับมาเปิดตัว GCE อีกครั้ง โดยเปิดให้ทุกคนใช้งานได้ มีซัพพอร์ตเต็มรูปแบบ และรับประกัน SLA ระดับ 99.95% ต่อเดือน
นอกจากการเปิดซัพพอร์ตปกติ GCE ยังเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ อีกหลายอย่างได้แก่
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยคงคุ้นชื่อกันดีกับ Baidu (อ่านตามเสียงภาษาจีนว่า ไป่ตู้) ซึ่งเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยได้ซักระยะหนึ่งแล้วด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์หลายประเภท ตัวที่คุ้นตาสุดน่าจะเป็น PC Faster โปรแกรมเร่งความเร็วสำหรับพีซี
ในภาพรวมตลาดโลก ปีนี้ Baidu ทำผลงานได้ดี กินส่วนแบ่งการตลาดการค้นหาในประเทศจีนมากถึง 72% มีผู้ค้นหามากกว่าวันละ 5,000 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้งานต่อวันสูงถึง 500 ล้านคน แน่นอนว่าเป็นเว็บไซต์ภาษาจีนที่ใหญ่สุดในโลกไปแล้ว
ฝั่งธุรกิจ Baidu ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทรวมอยู่ที่ 53,000 ล้านเหรียญ ทำรายได้สูงขึ้นจากปีก่อนมากกว่าครึ่งหนึ่ง อยู่ที่ 3,580 ล้านเหรียญด้วยกัน
ไอบีเอ็มกำลังจะเปิดตัวบริการกลุ่มเมฆที่ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงขุมพลังของ Watson ซึ่งเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เคยชนะมนุษย์ในการแข่งเกมโชว์ Jeopardy!
ที่งาน re:Invent ของอเมซอนปีนี้ นอกจาก WorkSpaces และ Postgresql แล้ว วันนี้ก็มีการเปิดตัว Amazon Kinesis บริการประมวลผลข้อมูลตามเวลาจริงในขนาดใหญ่มาก โดยรับข้อมูลได้สูงสุด 1 เมกกะไบต์ต่อวินาที หรือ 1000 ชุดข้อมูลต่อวินาที
บริการ Amazon Kinesis จะเปิดให้เซ็นเซอร์หรือหน่วยเก็บข้อมูลต่างๆ สามารถใส่ข้อมูลเข้ามาในระบบได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นนักพัฒนาจะต้องใช้เครื่องบน EC2 มาดูดข้อมูลไปประมวลผล
ตลาดไอทีองค์กรตอนนี้เริ่มหมุนเข้าสู่ยุคของ virtual desktop หรือการเก็บข้อมูล-โปรแกรมที่รันบนพีซีไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์กลางเพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ บริษัทหลายแห่งมีผลิตภัณฑ์ด้าน VDI (virtual desktop infrastructure) เช่น Citrix, Microsoft, VMware โดยยังเน้นที่การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ VDI ไว้ภายในองค์กร
ฝั่งของ Amazon ในฐานะเจ้าพ่อแห่ง public cloud ก็เริ่มหันมาบุกตลาดนี้บ้างแล้วด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ในตระกูล Amazon Web Services ชื่อ Amazon WorkSpaces
ไมโครซอฟท์จัดงานเปิดตัว Visual Studio 2013, .NET 4.5.1, Team Foundation Server 2013 และอัพเดต Visual Studio 2012 Update 4 อย่างเป็นทางการ (รายละเอียดของ VS2013 ว่ามีอะไรใหม่ ย้อนดูในข่าวเก่า)
สิ่งที่เป็นของใหม่จริงๆ ในงานนี้กลับเป็นการเปิดตัว Visual Studio Online บริการกลุ่มเมฆสำหรับการพัฒนาโปรแกรม ถือเป็นส่วนขยายของ Visual Studio ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (ลักษณะเดียวกับ Office.com ที่เป็นส่วนต่อขยายของ Microsoft Office มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว)
Amazon จับมือกับ NVIDIA เปิดตัวบริการใหม่ในตระกูล EC2 ชื่อว่า G2 instance
G2 instance เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนชนิดใหม่ใน EC2 ที่รันด้วย NVIDIA Grid ซึ่งประกอบด้วย CUDA core จำนวน 1,536 คอร์และหน่วยความจำกราฟิก 4GB, รองรับเทคโนโลยีกราฟิกสมัยใหม่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น DirectX, OpenGL, CUDA, OpenCL
เป้าหมายของ G2 ก็ชัดเจนว่าต้องการจับตลาดลูกค้าที่อยากประมวลผลกราฟิก การเรนเดอร์วิดีโอ งานสามมิติ บริการเกมแบบสตรีมมิ่ง ฯลฯ ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เดิมที Amazon เคยเปิดบริการคล้ายๆ กันเมื่อ 2 ปีก่อนในชื่อ Cluster GPU (CG1) แต่เน้นลูกค้าตลาดงานวิจัยและวิศวกรรมเป็นหลัก ส่วน G2 เน้นตลาดกราฟิกและมัลติมีเดียอย่างชัดเจน
ข่าวการเข้าใช้งานบริการกลุ่มเมฆในระดับโลกนั้นหาได้ไม่ยากนัก แต่ในกรณีของไทย ไมโครซอฟท์และธนาคารกรุงเทพแถลงข่าวร่วมกันว่า ธนาคารกรุงเทพได้เข้าใช้บริการกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์สองตัว คือ Yammer เครือข่ายสังคมออนไลน์ภายในองค์กร และ Office 365 สำหรับงานเอกสาร
นอกจากบริการทั้งสองตัวแล้ว ธนาคารกรุงเทพยังเลือกใช้แท็บเล็ต Windows 8 และ Surface ในสาขาต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า โดยผู้บริหารธนาคารกรุงเทพระบุว่า Windows 8 นั้นใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพดี โดยตอนนี้ธนาคารกรุงเทพมีแอพพลิเคชั่นบน Windows 8 ได้แก่ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา, ราคาหุ้น, และการค้นหาสาขาของธนาคารกรุงเทพ
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ไมโครซอฟท์
อเมซอนเปิดตัว SDK สำหรับเบราว์เซอร์ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่อยู่บนเบราว์เซอร์แล้วเชื่อมต่อเข้ากับบริการบางตัว ได้แก่ S3 (เก็บภาพและข้อมูล), SQS (คิวข้อความ), SNS (ระบบแจ้งเตือน), และ DynamoDB (ฐานข้อมูล) โดยไม่ต้องการเซิร์ฟเวอร์เฉพาะอีกต่อไป
นักพัฒนาสามารถเปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการเหล่านี้โดยต้องล็อกอินผ่านบริการ web identity federation (WIF) ของอเมซอนเอง
SDK นี้เปิดให้นักพัฒนาสามารถให้บริการโดยตรงจากบริการของอเมซอน เช่น การฝังอัลบั้มรูปในเว็บ แล้วเปิดสิทธิให้อ่านภาพจาก S3 ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าดูเว็บแล้วโหลดภาพออกจาก S3 มาแสดงได้โดยตรง หรือจะจำกัดสิทธิบางอย่างก็ทำได้เช่นกัน
ไมโครซอฟท์เคยประกาศแผนการพัฒนา Hadoop ไว้ตั้งแต่ปี 2011 วันนี้เวลาผ่านมาเกือบสองปี มันสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างแล้วในชื่อ Windows Azure HDInsight
Amazon Cloudfront คือผู้ให้บริการ Content Delivery Service รายใหญ่รายหนึ่งที่มีสตาร์ทอัพมากมายใช้บริการ เพื่อช่วยให้ฝั่งผู้ใช้สามารถเข้าถึง content จากภูมิภาคต่างๆได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การที่เราสามารถดาวน์โหลดรูปภาพ Instagram จากประเทศไทยผ่าน Amazon Cloudfront ของสิงคโปร์ ซึ่งทำให้เร็วกว่าการดาวน์โหลดจากเซิฟเวอร์ในอเมริกาโดยตรง เป็นต้น
โดยในวันนี้ Amazon Cloudfront ได้ประกาศรองรับ HTTP method เพิ่มเติม คือ POST, PUT, DELETE, OPTIONS และ PATCH ซึ่งจะทำให้สามารถใช้พัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้หลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการอัพโหลดผ่าน Amazon Cloudfront ได้โดยตรง จากแต่เดิมที่ต้องวางเซิฟเวอร์ไว้ตามภูมิภาคต่างๆ เองเพื่อรองรับการอัพโหลดจากผู้ใช้
Eric Schmidt ประธานของกูเกิลเขียนบล็อกชื่อ Rebirth of IT แสดงความเห็นว่าโลกของไอทีในองค์กรเปลี่ยนไปจากเดิมมาก จากสมัยปี 2010 ที่การพูดว่า “บริษัทควรย้ายไปใช้ระบบไอทีบนกลุ่มเมฆ” ถูกผู้คนตั้งคำถาม เพราะสมัยนั้นองค์กรยังต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและระบบอีเมล Exchange ของไมโครซอฟท์ที่ใช้กันมานานสองทศวรรษ
ปัจจุบันนี้องค์กรเริ่มมองเห็นแล้วว่าการใช้กลุ่มเมฆจะช่วยลดค่าใช้จ่าย และตอนนี้ไม่มีใครตั้งคำถามเรื่องการย้ายขึ้นเมฆอีกแล้ว พนักงานฝ่ายไอทีไม่ต้องเสียเวลามาดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์-อัพเกรดซอฟต์แวร์อีกต่อไป และในส่วนของพนักงานที่ใช้ไอทีเองก็ประสานงานกันได้ง่ายขึ้น การแชร์เอกสารให้คน 50 คนแก้ไขพร้อมกันบน Google Docs ย่อมง่ายกว่าการส่งอีเมลเอกสารเวียนกันไปมา
Amazon จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับบริการ cloud ในระบบ Amazon Web Services (AWS) สำหรับนักพัฒนาและ startup ในประเทศไทย งานจัดวันที่ 31 ตุลาคมนี้ที่โรงแรม Centre Point Hotel (ตึกเดียวกับ Terminal 21)
ชื่องานคือ AWS Cloud Kata ซึ่งคำว่า "Kata" ก็มีความหมายตามนี้
Kata (型 or 形 literally: "form"), a series of choreographed patterns of movements used for teaching, through which successful techniques are mastered.
ในงานมีทีมงานของ Amazon มานำเสนอประเด็นทั้งฝั่งเทคนิคและฝั่งธุรกิจสำหรับ startup รวมถึงกรณีศึกษาจาก startup เมืองไทยสองรายคือ Shopspot กับ Wongnai
กูเกิลประกาศในงาน Google I/O 2013 ว่าบริการ App Engine รองรับภาษา PHP แบบพรีวิว-จำกัดกลุ่มทดสอบ (ข่าวเก่า)
วันนี้กูเกิลปลดป้ายพรีวิวออก และเปิดให้ผู้ใช้ App Engine ทุกคนสามารถพัฒนาแอพบนกลุ่มเมฆด้วย PHP เรียบร้อยแล้ว โดยฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่นพรีวิวได้แก่ รองรับส่วนขยายยอดฮิตอย่าง mbstring/mcrypt, ปรับปรุงให้ PHP เขียน/อ่านไฟล์บน App Engine ได้ง่ายขึ้น, ออกปลั๊กอินให้ WordPress รันบน App Engine ได้ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของภาครัฐที่เริ่มมาซื้อบริการกลุ่มเมฆแทนการซื้อเซิร์ฟเวอร์และสร้างศูนย์ข้อมูลเองมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับบริการอื่นๆ ตอนนี้ไมโครซอฟท์ก็บุกมาตลาดนี้เต็มตัวแล้ว
ไมโครซอฟท์เพิ่งได้รับใบรับรอง FedRAMP ใบรับรองจากรัฐบาลกลางเพื่อยืนยันว่าผู้ให้บริการมีความปลอดภัยพอที่หน่วยงานรัฐ ทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นสามารถซื้อบริการและนำข้อมูลของประชาชนไปวางได้
การจัดซื้อบริการสร้างโครงสร้างกลุ่มเมฆของซีไอเอมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลายเป็นสงครามระหว่างเจ้าตลาดรัฐบาลอย่างไอบีเอ็มและผู้เข้าชิงอย่างอเมซอน โดยซีไอเอเลือกอเมซอนหลังจากให้ผู้เข้าแข่งยื่นเสนอราคาและสินค้าที่เสนอให้
ทางไอบีเอ็มไม่พอใจคำตัดสินจึงยื่นเรื่องต่อสำนักงานบัญชีกลาง (Government Accountability Office - GAO) ว่าการประมูลมีปัญหา ทาง GAO แนะนำลงมาว่าให้มีการประมูลใหม่แต่ซีไอเอยืนยันผลประมูลเดิม ทำให้กระบวนเข้าสู่ศาล และศาลยืนยันว่าสิทธิในการตัดสินใจเป็นของซีไอเอ ให้ยืนยันผลการประมูลไปได้
ไอบีเอ็มระบุว่าบริษัทมีแผนจะอุทธรณ์คำพิพากษานี้ต่อไป ส่วนทางอเมซอนไม่ได้แสดงความเห็นอะไรมากกว่า
ถ้ายังจำกันได้ BlackBerry มีซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้บริการจัดการมือถือจากระยะไกลคือ BES (BlackBerry Enterprise Service) ซึ่งใน BES 10 รุ่นล่าสุด ก็ขยายความสามารถให้บริการจัดการอุปกรณ์ Android/iOS ได้ด้วย
วันนี้ BlackBerry ประกาศทำ BES เวอร์ชันโฮสต์บนกลุ่มเมฆแล้ว ทำให้การบริหารจัดการอุปกรณ์ BYOD ในองค์กรไม่จำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ในองค์กรอีกต่อไป ในแง่ฟีเจอร์คงไม่ต่างจาก BES รุ่นปกติมากนัก ส่วนราคาก็ใช้วิธีคิดเป็นต่อเครื่องต่อเดือน ซึ่งทาง BlackBerry ยังไม่ประกาศว่าเท่าไร
ที่น่าสนใจคือ BlackBerry ยังไม่ประกาศชื่อของบริการตัวนี้ ตอนนี้ยังเรียกมันคือว่า "cloud service" ครับ (ดูแนวแล้วอาจไม่ใช้ชื่อ BES เลยด้วยซ้ำ)
ไมโครซอฟท์ประกาศออกอัพเดต-เวอร์ชันใหม่ของซอฟต์แวร์ฝั่งองค์กรอีกหลายตัวครับ
ทิศทางของโลกซอฟต์แวร์องค์กรในรอบ 2-3 ปีหลังนี้ชัดเจนมากว่า ซอฟต์แวร์องค์กรชื่อดังๆ เริ่มออกเวอร์ชันใช้งานบนกลุ่มเมฆ เพื่อเป็นทางเลือกนอกเหนือจากการใช้งานแบบติดตั้งในองค์กร (on premise) ลักษณะเดิม
ค่าย Oracle เริ่มผลักดันยุทธศาสตร์กลุ่มเมฆของตัวเองในชื่อแบรนด์ Oracle Cloud ตั้งแต่ปีที่แล้ว (เจาะยุทธศาสตร์ Oracle Cloud) และปีนี้ก็ประกาศบริการเพิ่มอีก 10 ตัว
บริการทั้ง 10 ตัวแบ่งกลุ่มได้เป็นบริการประมวลผลลักษณะเดียวกับ Amazon Web Services, ฐานข้อมูลบนกลุ่มเมฆ, WebLogic บนกลุ่มเมฆ และบริการแอพพลิเคชัน ERP ต่างๆ ที่รันบนกลุ่มเมฆ