ไมโครซอฟท์โชว์หน้าจอพอร์ทัลแบบใหม่ของ Azure ที่ปรับปรุงใหม่ให้ดูสดใสและใช้งานง่ายกว่าเดิม โดยใช้ชื่อว่า Microsoft Azure Preview Portal
สงครามราคากลุ่มเมฆมีผลอย่างเต็มตัว (ผู้บริโภคเฮ) หลังจากกูเกิลออกมาเปิดศึกด้วยการลดราคา Cloud Platform ครั้งใหญ่ จนฝั่ง Amazon ต้องตอบโต้ด้วยการลดราคา AWS ทันที หลังจากนั้นเพียง 1 วัน
การลดราคาของทั้งสองค่ายใหญ่ส่งผลให้พี่เบิ้มค่ายสุดท้ายอย่างไมโครซอฟท์ต้องออกมาประกาศลดราคาบ้าง โดยบริการกลุ่มเมฆสำหรับประมวลผลลดสูงสุด 35% และบริการสตอเรจลดสูงสุด 65% รายละเอียดในแต่ละบริการย่อยมีค่อนข้างเยอะ ใครใช้ Azure อยู่สามารถตามไปอ่านได้จากลิงก์ที่มา
Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ประกาศปรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงใหม่ 3 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น
นอกจาก Microsoft Office for iPad ที่เปิดตัวเมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดองค์กรอีกตัวในชื่อ Enterprise Mobility Suite หรือ EMS
EMS เป็น "ชุด" ของบริการที่อยู่บนกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์ (ไม่มีแบบติดตั้งใช้เองในองค์กร) เป้าหมายเพื่อบริหารจัดการการใช้งานอุปกรณ์พกพาภายในองค์กร (BYOD) โดยประกอบด้วยบริการย่อย 3 ตัวคือ
ในงานเปิดตัว Office for iPad เมื่อคืนนี้ ซีอีโอ Satya Nadella ได้ขึ้นเวทีกล่าวถึง "วิสัยทัศน์ใหม่" ของไมโครซอฟท์ที่สรุปได้ว่า Mobile-First Cloud-First
Satya บอกว่า mobile กับ cloud ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะถ้ามีแต่ mobile อย่างเดียว การใช้งานจะจำกัดมาก แต่ถ้ามีแต่ cloud อย่างเดียวก็ไม่สามารถดึงศักยภาพของมันได้อย่างเต็มที่ เมื่อรวมทั้ง mobile กับ cloud เข้าด้วยกัน ความมหัศจรรย์จึงเกิดขึ้น
สงครามราคาบริการกลุ่มเมฆทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้ประโยชน์เสมอ หลังจากกูเกิลประกาศลดราคาครั้งใหญ่เพียงวันเดียว Amazon AWS ก็ประกาศลดราคาทุกบริการลงทันที
ราคาใหม่จะปรับลดไม่เท่ากัน โดยรุ่นเล็กอย่าง M1, M2, และ C1 ลดราคาในช่วง 10-40% ขณะที่ C3 ลดราคา 30% และ M3 ลดราคา 38% นอกจากนี้ reserved instance ที่ต้องจ่ายล่วงหน้าจำนวนหนึ่งก็ลดราคาด้วยเช่นกัน ส่วนเครื่องที่เป็นวินโดวส์จะลดน้อยกว่า และ m1.micro ที่ราคาถูกที่สุดนั้นไม่มีการประกาศลดราคา
สำหรับนักพัฒนาที่ใช้บริการ S3 ปริมาณมากๆ ก็น่ายินดีว่า S3 นั้นลดราคาค่อนข้างมาก ตั้งแต่ 36% ถึง 65%
ราคาใหม่มีผลตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป
เมื่อเกือบ 1 ปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์เคยประกาศทำ Azure ในจีน โดยจับมือกับพันธมิตรท้องถิ่น 21Vianet หลังจากทดสอบแบบพรีวิวกันมานาน วันนี้ Azure เปิดให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไปในประเทศจีนแล้ว
ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าตัวเองเป็นบริษัทระดับโลกรายแรกที่เปิดให้บริการกลุ่มเมฆในจีน (คู่แข่งอย่าง Amazon เพิ่งเริ่ม, Google ยังไม่ขยับ) ส่วนพันธมิตร 21Vianet ก็มีฐานลูกค้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ ของจีนเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น Coca-Cola China, CNTV, LineKong, GMW.cn
เมื่อเดือนที่แล้วไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดบริการ Azure อย่างเป็นทางการในญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
กูเกิลเพิ่งลดกระหน่ำพื้นที่ Google Drive ไปไม่นาน คราวนี้เป็นคิวของ Google Cloud Platform สำหรับนักพัฒนาบ้าง
กูเกิลยังประกาศส่วนลดพิเศษสำหรับการใช้งานที่มี workload ค่อนข้างคงที่ โดยถ้าใช้ workload เกิน 25% ต่อเดือนจะได้ส่วนลดในอัตราก้าวหน้าเพิ่มเติมด้วย
เว็บไซต์ ZDNet เผยข้อมูลวงในของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์เตรียมรีแบรนด์บริการ Windows Azure เป็น Microsoft Azure โดยคาดการณ์กันว่า ทางไมโครซอฟท์จะประกาศอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้ในวันที่ 25 มีนาคมนี้ตามเวลาของสหรัฐอเมริกา (ประมาณช่วงกลางคืนของวันที่ 25 มีนาคมในประเทศไทย) และจะมีการพูดถึงรายละเอียดในวันที่ 3 เมษายนนี้ในงาน BUILD 2014
ข่าวนี้นำเสนอทิศทางการพัฒนาเกมที่น่าสนใจ โดยเฉพาะส่วนของ backend เกมที่เริ่มย้ายขึ้นไปบนกลุ่มเมฆครับ
ก่อนอื่นต้องเล่าก่อนว่าเกม Titanfall เป็นเกมที่เน้นมัลติเพลเยอร์ ซึ่งเกมมัลติเพลเยอร์ที่ผ่านๆ มา เลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ 2 แนวทางคือ ใช้เครื่องของผู้เล่นสักคนเป็นเซิร์ฟเวอร์ (player host ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องเกมหลุดถ้าเครื่องของผู้เล่นคนนั้นมีปัญหาการเชื่อมต่อ) หรือบริษัทวางระบบเซิร์ฟเวอร์เอง (dedicated server ซึ่งมีปัญหาเรื่องต้นทุนในการดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องแบกรับ และ ping time ที่ช้าเกินไปสำหรับผู้เล่นที่อยู่คนละภูมิภาคกับเซิร์ฟเวอร์)
ประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงในวงการ cloud มาโดยตลอดคือข้อมูลที่ไปอยู่บน public cloud อาจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะข้อมูลที่อ่อนไหวมากๆ เช่น ข้อมูลด้านความมั่นคงหรือข้อมูลด้านการแพทย์
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐก็เริ่มขยับตัว เดินหน้าใช้งาน public cloud กันแล้ว โดยกองทัพเรือของสหรัฐ (U.S. Navy) ประกาศว่าจะนำข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้ว (public-facing data) ขึ้นไปไว้บนกลุ่มเมฆของ Amazon Web Services แทนการบริหารเซิร์ฟเวอร์เอง ด้วยเหตุผลว่าลดต้นทุนในการดูแลศูนย์ข้อมูลลงได้ 60% จากเดิม
DigitalOcean ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆที่กำลังมาแรงมากในช่วงหลัง ประกาศระดมทุนครั้งใหญ่ครั้งแรก (Series A) 37.2 ล้านดอลลาร์ การลงทุนครั้งนี้นำโดยบริษัท Andreessen Horowitz ของ Marc Andreessen (ผู้สร้าง Netscape) และกองทุนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง
DigitalOcean ก่อตั้งเมื่อปี 2011 โดยวิศวกรเพียง 3 คน เป้าหมายของบริษัทคือสร้างแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆแบบ IaaS ที่ "ใช้ง่าย" กว่าคู่แข่ง บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลัง ปัจจุบันให้บริการเซิร์ฟเวอร์เสมือนมากกว่า 1 ล้านตัว และขยายศูนย์ข้อมูลไปยังซานฟรานซิสโก อัมสเตอร์ดัม สิงคโปร์
บริการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆภายนอกหน่วยงานสำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ นั้น หน่วยงานที่จะให้บริการได้จะต้องขอใบรับรอง FedRAMP เสียก่อน ตอนนี้ผู้ให้บริการที่เราได้ยินชื่อ เช่น Azure, อเมซอน, และ Akamai ได้รับใบรับรองและให้บริการ ตอนนี้เจ้าตลาดองค์กรเดิมอย่าง VMware ก็กำลังขอใบรับรองนี้เพื่อให้บริการด้วยเช่นกัน
VMware เลือกใช้ศูนย์ข้อมูลใหม่ที่บริหารโดย Carpathia แยกจากศูนย์ข้อมูลเดิมของตัวเองที่ให้บริการภาคเอกชนอยู่แล้ว ทำให้บริการใหม่นี้จะใช้ชื่อว่า VMware vCloud Government Service Provided by Carpathia
เว็บ Infoworld ออกรายงานวัดประสิทธิภาพของบริการประมวลผลจากเซิร์ฟเวอร์ในกลุ่มเมฆ เพื่อวัดประสิทธิภาพราคาของแต่ละราย โดยวัดจากสามเจ้าหลัก ได้แก่ อเมซอน, กูเกิล, และไมโครซอฟท์
เครื่องที่ใช้ของทั้งสามเจ้าแบ่งเป็น (รายการเครื่องเป็น Amazon EC2, Google Compute Engine, และ Windows Azure ตามลำดับ)
เครื่องประเภท 8 คอร์ ได้แก่ m3.2xlarge แรม 30GB, n1-standard-8 แรม 30GB, Extra Large VM แรม 14GB
ทั้งหมดทดสอบด้วย Dacapo Benchmark ชุดทดสอบจาวา ผลทดสอบคือ
Google Cloud SQL เปิดบริการเป็นส่วนเสริมสำหรับ Google App Engine เพื่อให้นักพัฒนาที่ต้องการเข้าถึง MySQL เต็มรูปแบบสามารถใช้บริการที่ขยายไปได้เรื่อยๆ แต่ก่อนหน้านี้บริการนี้อยู่ในสถานะการให้บริการอย่างจำกัด (limited preview) ตอนนี้ Cloud SQL ก็เข้าสู่สถานะมีให้บริการทั่วไป (generally available - GA) แล้ว
การให้บริการเป็นการทั่วไปครั้งนี้กูเกิลจะรับประกัน uptime ให้ 99.95% และขยายขนาดฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดเป็น 500 กิกะไบต์
หลังจากที่บอกให้รอและเลื่อนกันมาแล้วครั้งนึง วันนี้ทาง DigitalOcean ได้ประกาศเปิดให้บริการศูนย์ข้อมูลน้องใหม่ล่าสุดที่ประเทศสิงคโปร์แล้วครับ
โดยศูนย์ข้อมูลใหม่นี้ตั้งอยู่ที่ Equinix Data Center เชื่อมต่อเครือข่ายกับ TeliaSonera และ NTT ข่าวดีคือราคายังเท่าเดิม ส่วนข่าวไม่ค่อยดีเท่าไหร่คือ บาง ISP ในไทยอาจมี Traffic อ้อมโลกอยู่พอสมควร ทำให้ Latency (ค่า ping time) ไม่ได้ดีมากอย่างที่หวังสำหรับ ISP ที่มีปัญหาครับ
ที่มา: DigitalOcean
วงการคอมพิวเตอร์บนกลุ่มเมฆตอนนี้ น่าจะพอเรียกได้ว่าโครงการโอเพนซอร์ส OpenStack กลายเป็นมาตรฐานกลายๆ (de facto) ไปเรียบร้อยแล้ว การพัฒนาซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆที่อยู่บน OpenStack API จึงได้เปรียบกว่าในแง่การย้ายงานข้ามผู้ให้บริการกลุ่มเมฆกัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีระบบกลุ่มเมฆอีกไม่น้อยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อน OpenStack จะดัง และการพัฒนาระบบเหล่านี้ให้รองรับ OpenStack API เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรอีกมาก
บริษัทกลุ่มเมฆ SoftLayer (ที่เพิ่งถูก IBM ซื้อกิจการเมื่อปีที่แล้ว) เห็นโอกาสตรงนี้ จึงพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ Jumpgate ขึ้นมาเป็นมิดเดิลแวร์แปลง API ของกลุ่มเมฆเดิมให้กลายเป็น OpenStack API
Blognone รายงานข่าวของโครงการ Open Compute ศูนย์กลางการเปิดสเปกด้านฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์อยู่เรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมาเรามักเห็นแต่ข่าวบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ออกมาเปิดเผยสเปกของที่มีอยู่แล้วต่อสาธารณะ และยังไม่เห็นข่าวที่เกี่ยวกับการนำไปใช้เท่าไรนัก
ล่าสุดบริษัท IO ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบศูนย์ข้อมูล บุกเข้ามาทำฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์เองภายใต้ชื่อโซลูชันว่า IO.Cloud
หลังจากอเมซอนประกาศลดราคา S3 และ EBS ลงอีกรอบ มีผล 1 ก.พ. นี้ไปไม่นาน ไมโครซอฟท์ก็ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะตั้งราคาบริการบน Windows Azure อย่าง บริการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และแบนด์วิธ ให้เท่ากับ Amazon Web Services โดยประกาศลดราคา Block Blobs Storage และ Disks/Page Blobs Storage ลงสูงสุดถึงร้อยละ 20 สำหรับการให้บริการแก่ภูมิภาค US East Region และให้ราคาใหม่มีผลต่อการให้บริการแก่ภูมิภาคอื่นทั่วโลก ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 13 มี.ค. เป็นต้นไป
คนแถวนี้คงคุ้นเคยกับโลโก้ Intel Inside เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของอินเทลกันเป็นอย่างดี
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคของการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ อินเทลก็ริเริ่มทำโครงการคล้ายๆ กันในชื่อ Intel Cloud Technology เป็นการออกตราสัญลักษณ์รับรองว่าผู้ให้บริการกลุ่มเมฆรายใด "ใช้ซีพียูอินเทล" บ้าง
เดิมทีมีเพียงเจ้าพ่อใหญ่ Amazon Web Services รายเดียวที่ได้ตรารับรองนี้ แต่ล่าสุดอินเทลขยายจำนวนบริษัทที่ได้ตรารับรองเพิ่มอีก 16 บริษัทจากหลายประเทศ (เช่น Rackspace)
ตลาดกลุ่มเมฆแบบ Infrastructure as a Service (IaaS) กำลังจะได้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาอีกราย โดยออราเคิลที่ตีกินตลาดแอพพลิเคชันธุรกิจบนกลุ่มเมฆ (SaaS) มานาน ประกาศว่าจะเปิดบริการ IaaS cloud มาสู้กับ Amazon Web Services และ Azure แล้ว
Larry Ellison ซีอีโอของออราเคิลระบุว่าเราจะได้เห็น Oracle IaaS ภายในครึ่งแรกของปี 2014 และตั้งใจแข่งขันอย่างจริงจัง (we intend to compete aggressively) โดยตั้งราคาที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
Ellison บอกว่ายุทธศาสตร์ของออราเคิลคือสู้ราคาในตลาด IaaS และสร้างความแตกต่างในตลาดแอพพลิเคชันเพื่อกินส่วนต่างกำไรที่ดีกว่า
เว็บไซต์ InfoWorld สรุปภาพรวมของตลาดการพัฒนาซอฟต์แวร์ในปี 2013 ไว้หลายข้อดังนี้
กูเกิลเพิ่ม API ใหม่ให้กับ Google Compute Engine (GCE) ให้สามารถเข้าตรวจสอบค่าใช้จ่ายได้ตลอดเวลา นับเป็นการ "ไล่ตาม" เจ้าตลาดเดิมอย่าง Amazon EC2 ที่มี API แบบเดียวกันนี้มานานแล้ว
กระบวนการทำงานของ API ชุดนี้ใน GCE ทำงานเหมือน EC2 ไม่ผิดเพี้ยน เพื่อเปิดการทำงานแล้ว GCE จะสร้างไฟล์ CSV ไปวางไว้ใน Cloud Storage Bucket ซึ่งเป็นบริการแบบเดียวกับ Amazon S3 ให้โปรแกรมภายนอกสามารถดึงออกไปคำนวณค่าใช้จ่ายได้
สิ่งที่เหนือกว่า EC2 คือ GCE สามารถเลือกไฟล์เป็น JSON ได้ด้วย ขณะที่ EC2 มีเฉพาะ CSV เท่านั้น
ที่มา - Google Cloud Platform
ความนิยมบริการคลาวด์เป็นกระแสทั่วโลกจากความสะดวกในการให้บริการ ทาง Netcraft ทำวิจัยว่าในบรรดาเครื่องที่ใช้บริการคลาวด์นั้นมีเครื่องที่ให้บริการเว็บ (web-facing) ตลอดปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร พบว่าผู้ให้บริการน้องใหม่อย่าง DigitalOcean กำลังเติบโตด้วยความเร็วแซงหน้ารายใหญ่อย่าง Amazon EC2 ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา
Amazon EC2 นั้นมีเว็บมาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึงเดือนละ 5,000-8,000 เครื่อง ขณะที่ DigitalOcean นั้นเพิ่งเปิดบริการมา และเมื่อช่วงต้นปีแทบไม่มีใครใช้บริการเลย โดยในเดือนธันวาคมนี้ มีเซิร์ฟเวอร์ย้ายจาก EC2 ไป DigitalOcean จำนวน 818 เว็บ ขณะที่มีเว็บย้ายในทางกลับกันเพียง 88 เว็บ
ออราเคิลยังเดินหน้าช็อปปิ้งต่อไปไม่มีหยุดยั้ง ล่าสุดประกาศซื้อบริษัท Responsys ผู้สร้างซอฟต์แวร์ด้านการตลาดที่อยู่บนกลุ่มเมฆ โดยมีลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านที่อยากได้โซลูชันด้านการตลาดสำหรับผู้บริโภคในยุคออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ อีเมล โฆษณา โซเชียล และโมบาย
ซอฟต์แวร์ของ Responsys จะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของชุด Oracle Marketing Cloud โดยการซื้อกิจการรอบนี้มีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์