Amazon ประกาศโครงการ AWS Global Certification Program หรือการสอบใบรับรองวิชาชีพเพื่อยืนยันว่ามีทักษะด้าน Amazon Web Services
ใบรับรองระดับแรกสำหรับสายสถาปัตยกรรมระบบ AWS Certified Solutions Architect - Associate Level เปิดให้สอบแล้ว และจะมีใบรับรองด้าน System Administrator และ Developer ตามมาภายในปีนี้
ผู้สนใจงานด้านกลุ่มเมฆที่อิงกับเทคโนโลยีของ AWS (ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ในขณะนี้) ก็ไปสอบกันได้ผ่านศูนย์ของบริษัท Kryterion ที่เป็นตัวแทนการออกใบรับรองให้ Amazon ครับ
ที่มา - AWS Blog
ไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลว่าตอนนี้บริการกลุ่มเมฆตระกูล Windows Azure และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สามารถสร้างรายได้เข้าบริษัทได้มากถึงปีละ 1 พันล้านดอลลาร์ (โต 48% ในรอบ 6 เดือนหลังสุด) ถือเป็นสัญญาณว่าไมโครซอฟท์กำลังเข้มแข็งเรื่องกลุ่มเมฆ และเริ่มท้าทาย Amazon Web Services ได้บ้างแล้ว
ยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟท์ในช่วงหลังๆ นั้นชัดเจนมากว่าพยายามย้ายผลิตภัณฑ์สายเซิร์ฟเวอร์หรือองค์กรขึ้น Azure ให้หมด (อ่าน: สัมภาษณ์ผู้บริหารไมโครซอฟท์ Zane Adam วาดยุทธศาสตร์ไอทีสำหรับยุคกลุ่มเมฆ)
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นชื่อ Red Hat ในฐานะผู้นำของวงการลินุกซ์ที่ได้ดิบได้ดีจนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของสหรัฐ ถึงแม้ว่าระยะหลัง Red Hat จะขยายธุรกิจออกมาด้านอื่นๆ นอกเหนือจากระบบปฏิบัติการเพียงอย่างเดียว แต่ภาพในใจของเราก็มักมองว่า Red Hat ทำลินุกซ์อยู่ดี
ในโอกาสที่ผู้บริหาร Red Hat มาแถลงข่าวด้านธุรกิจในประเทศไทย (พร้อมกับลูกค้าในไทยคือธนาคารกรุงศรีฯ) ผมเลยไปร่วมคุยเพื่อดูว่าตอนนี้ Red Hat ไปถึงไหนบ้างแล้ว จากบริษัทที่มีต้นกำเนิดจากลินุกซ์ ปัจจุบันทำอะไรอยู่บ้าง
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นชื่อ OpenStack ซอฟต์แวร์สร้างกลุ่มเมฆแบบโอเพนซอร์สที่กำลังมาแรงในช่วงหลัง มีบริษัทใหญ่ๆ สนับสนุนมากมาย
อย่างไรก็ตาม OpenStack ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ย่อยๆ จำนวนมาก (ซอฟต์แวร์หลัก 7 ตัว และซอฟต์แวร์ย่อยๆ อีกเป็นสิบ - OpenStack Projects) ทำให้กระบวนการติดตั้งระบบ OpenStack ให้ทำงานได้จริงกลายเป็นเรื่องยุ่งยากและต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง
หลายคนแถวนี้ที่ทำงานไอทีองค์กร คงรู้จัก Active Directory บริการล็อกอินสำหรับผู้ใช้โดเมนในองค์กร (directory service) กันเป็นอย่างดี
ล่าสุด Active Directory ที่เคยเป็นซอฟต์แวร์ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์องค์กร กลายร่างเป็นเซิร์ฟเวอร์บนกลุ่มเมฆในตระกูล Azure เรียบร้อยแล้ว โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Windows Azure Active Directory (WAAD) และผู้ใช้ Azure ทุกคนสามารถใช้งาน WAAD ได้แล้วทันที
ในโอกาสเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัวบริการตระกูล Azure ใหม่อีกหนึ่งตัวคือ Windows Azure Backup บริการแบ็คอัพข้อมูลจาก Windows Server ไปยัง Azure โดยเบื้องต้นยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิวอยู่ครับ
Fujitsu เริ่มรุกเข้ามายังตลาดซอฟต์แวร์กลุ่มเมฆแล้วเช่นกัน โดยประกาศซื้อบริษัท RunMyProcess (RMP) บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสที่ให้บริการกลุ่มเมฆแบบ Integration Platform as a Service (iPaaS) และเปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2007
แนวคิด iPaaS คือการเชื่อมระหว่างบริการกลุ่มเมฆแบบ PaaS (เช่น Google Apps) เข้ากับระบบซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรเดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรไม่จำเป็นต้องย้ายระบบทั้งหมดขึ้นบนกลุ่มเมฆ แต่ย้ายแค่บางส่วนโดยมีตัว connector ของ RMP คอยเป็นตัวกลางส่งข้อมูลให้
การซื้อ RMP ช่วยให้ Fujitsu สามารถให้บริการกลุ่มเมฆแก่องค์กรที่ยังติดอยู่กับระบบซอฟต์แวร์แบบเก่าได้นั่นเอง ส่วนราคาที่ซื้อนั้นไม่เปิดเผยครับ
เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา Google ได้ประกาศข่าวการเข้าซื้อกิจการบริษัท Talaria เพื่อเสริมธุรกิจบริการบนกลุ่มเมฆ โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายในครั้งนี้
Talaria ให้บริการเซิร์ฟเวอร์สำหรับเว็บแอพพลิเคชัน โดยเน้นการคอมไพล์แบบ JIT สนับสนุนภาษา PHP ซึ่งนักพัฒนาที่ใช้บริการสามารถรันเว็บแอพพลิเคชันได้ทั้ง WordPress และ Drupal และด้วยเทคโนโลยีที่มีนี้ Talaria ระบุว่าจะช่วยให้นักพัฒนา "สามารถรับมือกับผู้ใช้งานจำนวนมากขึ้นได้โดยใช้พื้นที่น้อยลง และไม่ต้องปรับโค้ดแม้แต่บรรทัดเดียว"
VMWare เตรียมเปิดบริการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆของตัวเอง ในรูปแบบเดียวกับ Amazon EC2 ในชื่อบริการ "vCloud Hybrid Service" แต่จะไม่ขายปลีกทั่วไปเหมือน อเมซอน, กูเกิล, และไมโครซอฟท์ แต่ขายผ่านตัวแทนและบริษัทให้บริการที่มีอยู่เดิม
VMWare ระบุว่า vCloud Hybrid Service จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ากว่า 480,000 รายของ VMWare สามารถย้ายงานบางส่วนไปทำงานบนบริการกลุ่มเมฆสาธารณะ (Public Cloud) ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแอพพลิเคชั่น, ค่าคอนฟิก, หรือรูปแบบการรักษาความปลอดภัย
ในยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างขยับขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆ ท่าทีของบริษัทไอทีหลายๆ แห่งก็ชัดเจนว่าไม่พลาดกระแสนี้ สำหรับยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ เราเห็นความพยายามผลักดันแพลตฟอร์มอย่าง SkyDrive/Office 365/Azure มาสักระยะหนึ่งแล้ว ความพยายามนี้เริ่มชัดเจนตอนที่ Windows Server 2012 เปิดตัว เพราะไมโครซอฟท์ประกาศว่าเราเข้าสู่ยุคของ Cloud OS เต็มตัว
ผมมีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Zane Adam ผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์ที่ดูแลเรื่องยุทธศาสตร์กลุ่มเมฆโดยตรง (ตำแหน่งอย่างเป็นทางการคือ Senior Director, Cloud and Platform Strategy) คุณ Zane บินมาพูดในงานสัมมนาที่เมืองไทยพอดี เลยถือโอกาสสอบถามว่าจริงๆ แล้วไมโครซอฟท์คิดหรือมีแผนการอะไรกับกลุ่มเมฆกันแน่
อเมซอนประกาศลดราคาบริการ AWS แบบ Reserved Instance (สั่งซื้อจำนวนชั่วโมงใช้งานมากๆ ล่วงหน้า) ลงอีกในหลายโซน โดยเฉพาะเครื่องแบบ High-Memory (m2) ที่ลดลงถึง 27.7% ในสหรัฐฯ และยุโรป
การขายเครื่องแบบ Reserved Instance เป็นอีกกระบวนการที่ช่วยให้อเมซอนสามารถคาดเดาการใช้งานของลูกค้าได้ง่ายขึ้น โดยลูกค้าที่ใช้งานเครื่องเป็นประจำจะสามารถจ่ายเงินค่าแรกเข้า (upfront) เพื่อให้สามารถซื้อชั่วโมงใช้งานเครื่อง EC2 ได้ถูกลง เช่น เครื่อง Small ที่สิงคโปร์นั้นชั่วโมงการใช้งานปกติอยู่ที่ 0.08 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่หากยอมจ่ายเงินแรกเข้า 67 ดอลลาร์ ก็จะซื้อชั่วโมงใช้งานเพิ่มเติมได้ในราคา 0.047 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งหากใช้งานจำนวนชั่วโมงมากพอ ส่วนลดที่ได้ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกลง
สงครามชิงกลุ่มเมฆระหว่างซอฟต์แวร์ค่ายต่างๆ เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยค่าย OpenStack มีผู้สนับสนุนรายใหม่เป็นยักษ์ใหญ่อย่าง IBM
IBM ออกมาประกาศว่าบริการ private cloud ของตัวเองจะพัฒนาขึ้นบน OpenStack (ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เริ่มสร้างโดย NASA และ Rackspace) โดย IBM จะสนับสนุนมูลนิธิ OpenStack Foundation ในระดับสูงสุด (platinum member) และส่งนักพัฒนามากกว่า 500 คนเข้าร่วมพัฒนาโค้ด นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ด้านกลุ่มเมฆของ IBM ที่แปะตรา SmartCloud จะใช้มาตรฐานเปิดด้านกลุ่มเมฆที่มีในท้องตลาดด้วย
หลายคนอาจมองว่าการหนุน OpenStack ครั้งนี้คล้ายกับครั้งที่ IBM ประกาศตัวว่าจะสนับสนุนลินุกซ์ในอดีต จนเป็นผลให้ลินุกซ์ได้รับการยอมรับในตลาดองค์กรอย่างรวดเร็ว
CloudFlare บริการ CDN และการแคชเซิร์ฟเวอร์ที่มีลูกค้ากว่า 785,000 รายล่มไปประมาณ 2 ชั่วโมงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ส่งผลให้เว็บที่อยู่บนเครือข่ายของ CloudFlare ล่มตามไปด้วย
ปัญหาของ CloudFlare เกิดจากระบบเราเตอร์ตัวหลัก (edge router) ล่มไปทั้งระบบ (เป็นเราเตอร์ของ Juniper ทั้งหมด) ทำให้ศูนย์ข้อมูล 23 แห่งทั่วโลกของบริษัทไม่สามารถติดต่อกันได้ ส่วนเหตุผลที่ระบบเราเตอร์ล่มเกิดจากการโจมตี DDoS ถล่มไปที่ DNS ของลูกค้ารายหนึ่ง (รายละเอียดอ่านตามลิงก์)
ตอนนี้ระบบของ CloudFlare กลับมาใช้งานได้แล้ว ส่วนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบมีทั้งเว็บไซต์ดังอย่าง 4chan และ Wikileaks
Java 6 จะหมดระยะสนับสนุนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ (ประกาศของออราเคิล) แต่ยังมีหน่วยงานอีกมากที่ยังอยู่กับ Java 6 และยังไม่ยอมอัพเกรดไปยัง Java 7
หนึ่งในองค์กรที่ยังใช้ Java 6 คือกูเกิล ซึ่งก็เริ่มขยับตัวบ้างแล้ว เมื่อสัปดาห์ก่อนกูเกิลออก App Engine 1.7.5 ที่ของใหม่คือการรองรับ Java 7 เป็นฟีเจอร์ทดสอบ (experimental) แล้ว
ฟีเจอร์อย่างอื่นได้แก่ รองรับ Google Cloud Endpoints สำหรับสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างแอพมือถือกับเอนจินที่สร้างบนกลุ่มเมฆ, รองรับเครื่องเสมือนแบบ High-Memory Instances และการแจ้งเตือน Mail Bounce Notifications
ผ่านมาเป็นเวลาปีครึ่ง นับตั้งแต่ที่ Adobe เปิดตัวชุดเครื่องมือ Creative Cloud หลังจากนั้นจึงเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2012 แต่ยังไม่เปิดให้บริการในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย จนถึงปัจจุบันก็มีผู้สมัครใช้บริการมากกว่า 1,000,000 รายแล้ว
ในวันนี้ Adobe ประกาศเปิดให้บริการ Creative Cloud สำหรับประเทศไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมกับบริการใหม่อย่าง Creative Cloud for teams ที่เพิ่มฟีเจอร์สำหรับทำงานร่วมกันมาอีกด้วย
Amazon เปิดให้บริการกลุ่มเมฆบริการใหม่ชื่อ Amazon Elastic Transcoder ที่ช่วยให้ลูกค้าแปลงไฟล์วิดีโอให้เป็นฟอร์แมต ขนาด หรือคุณภาพที่ต้องการได้ เหมาะต่อกลุ่มลูกค้าที่ต้องการแปลงไฟล์วิดีโอให้เหมาะต่อการแสดงผลบนอุปกรณ์หลากหลายแบบ (เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต) จากแหล่งข่าวกล่าวว่า บริการนี้รองรับไฟล์วิดีโอต้นฉบับหลากหลายฟอร์แมตด้วยกัน หากแต่ปัจจุบัน บริการรองรับการแปลงไฟล์ให้เป็นผลลัพธ์ตามมาตรฐาน MP4 ซึ่งเป็นวิดีโอแบบ H.264 และเสียงแบบ AAC
เมื่อไม่นานมานี้ บริการกลุ่มเมฆ EC2 ของ Amazon ได้เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ประเภทใหม่ในชื่อว่า High Memory Cluster Eight Extra Large ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า cr1.8xlarge ดูจากชื่อก็บอกได้ว่า เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีหน่วยความจำขนาดใหญ่พร้อมกับหน่วยประมวลผลสมรรถนะสูง โดยสเปคของ cr1.8xlarge มีดังนี้
ต่อจากข่าว Windows Azure Media Services ระบบกลุ่มเมฆสำหรับมัลติมีเดียบนโลกออนไลน์ วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดบริการนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
กลุ่มเป้าหมายของ Media Services คือผู้ให้บริการสื่อที่มีเนื้อหาของตัวเอง (เช่น ภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ) แล้วต้องการทำระบบสตรีมมิ่งสำหรับอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แต่ไม่อยากลงทุนทำเซิร์ฟเวอร์เอง ก็สามารถเข้ามา "เช่าใช้" แพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์แทนได้
ไมโครซอฟท์ประกาศออกผลิตภัณฑ์ด้านไอทีองค์กรใหม่หลายตัว ได้แก่
เมื่อช่วงปีที่ผ่านมาเราเห็นหลายบริษัทพยายามทำระบบผู้ช่วยสำหรับตอบคำถามผู้ใช้ด้วยภาษามนุษย์อย่าง Siri จากแอปเปิล หรือ Google Now จากกูเกิล ซึ่งทั้งสองบริการที่ว่ามีจุดด้อยตรงที่ผูกอยู่กับอุปกรณ์ของค่ายตัวเองเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ Nuance เห็นว่าสามารถทำได้ดีกว่านั้นด้วย Project Wintermute
หลังล้มเหลวกับอุปกรณ์ที่ใช้ Android ไปหลายชิ้น ในงาน CES ครั้งนี้ Dell กลับมาออกอุปกรณ์ Android อีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช้มือถือ แต่เป็นคอมพิวเตอร์จิ๋วขนาดแฟลชไดร์ฟในชื่อ Dell Wyse Project Ophelia
ตัว Project Ophelia รัน Android 4.0 ICS ใช้งานด้วยการเสียบเข้ากับหน้าจอทีวี หรือมอนิเตอร์อื่นๆ สิ่งที่ต่างจากคอมพิวเตอร์จิ๋วจากจีนคือ Project Ophelia นั้นมีระบบกลุ่มเมฆส่วนตัวสำหรับดึงข้อมูลมาใช้งานได้ทันที
ฟีเจอร์หลักๆ ของ Project Ophelia จึงเป็นการใช้งานที่ไม่หนักนักอย่างเล่นเว็บ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ค และสามารถต่อเม้าส์-คีย์บอร์ดไร้สายแยกได้ ทางฝั่งองค์กรก็สามารถใช้เชื่อมต่อกับ virtualization อย่าง Citrix, Microsoft หรือ VMWare และยังใช้งานร่วมกับเครื่อง thin client ได้เช่นกัน
Cisco โชว์ฟีเจอร์ใหม่ของ Videoscape Unity เพิ่มความสามารถอัดรายการทีวีไว้บนกลุ่มเมฆได้ แทนการใช้เครื่องบันทึกวิดีโอแบบเดิมๆ ที่ผู้ชมต้องติดตั้งไว้ที่บ้าน
แต่เดิมนั้น Videoscape Unity เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ Cisco สร้างขึ้นมาเพื่อเน้นจำหน่ายแก่ผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ผู้ชมที่ใช้บริการดังกล่าวจะสามารถรับชมรายการทีวีแบบสดๆ ผ่านทางอุปกรณ์ใดก็ได้ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต รวมทั้งใช้งานร่วมกับระบบ social network ผิดกับช่องรายการทั่วไปที่ไม่มี Videoscape Unity ซึ่งจะจำกัดให้ผู้ชมดูรายการผ่านทางทีวีเท่านั้น
ในงานแถลงข่าวของ NVIDIA ที่งาน CES 2013 นอกจากเปิดตัว Tegra 4 และเครื่องเล่นเกม Project SHIELD แล้วยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 1 ตัวครับ
ชื่อของมันคือ NVIDIA Grid อธิบายง่ายๆ มันเป็นแร็คที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์สีเขียว-ดำ 20 ตัว ภายในอัด GeForce มาทั้งหมด 240 ตัว (ไม่ระบุรุ่น) พลังประมวลผลรวมกัน 200 TFLOPS เทียบได้กับ Xbox 360 จำนวน 700 เครื่อง
Amazon Web Services (AWS) ยกเครื่องหน้าเว็บสำหรับบริหารจัดการระบบ (Management Console) ชุดใหญ่ โดยปรับหน้าตาให้สะอาดสะอ้าน ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีพื้นที่แสดงผลบนหน้าจอเพิ่มขึ้น และรองรับการใช้งานจากเว็บเบราว์เซอร์บนแท็บเล็ตแล้ว
ในโอกาสเดียวกัน AWS ยังออกแอพบน Android ช่วยสรุปข้อมูลของ EC2 ที่ใช้งานอยู่ และมีระบบแจ้งเตือนสถานะของกลุ่มเมฆ CloudWatch มาที่ตัวแอพโดยตรง (หน้าดาวน์โหลดแอพ)
ที่มา - Amazon Web Services Blog
หนึ่งในฟีเจอร์ที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยากเปิดตลอดเวลา แต่มักจะไม่ทำเพราะมันกินไฟอย่าง GPS อาจพร้อมสำหรับการเปิดตลอดเวลา (และไม่กินไฟมาก) ด้วยผลงานของ Microsoft Research ที่ชื่อว่า CLEO (Cultivating the Long tail in Environmental Observations)
Amazon ออกเครื่องมือจัดการ AWS บน Windows ตัวใหม่คือ AWS Tools for PowerShell จากเดิมที่มีแต่บน Command Prompt เพื่อให้นักพัฒนาหรือผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลบน AWS ผ่านทาง Windows PowerShell โดยรองรับเครื่องมือบน PowerShell กว่า 20 เครื่องมือและคำสั่งกว่า 550 คำสั่ง
ที่มา - The H