ปีนี้อาจไม่ใช่ปีที่ดีของ Java และออราเคิลเท่าไรนัก นอกจากเรื่องคดีกับกูเกิล (ที่ผลไม่เป็นไปตามคาด) และเรื่องปัญหาความปลอดภัยที่กำลังเป็นข่าว เรายังมีข่าว Java 8 มีแนวโน้มเลื่อนไปหนึ่งปี, กระทบไปถึง Java 9 ล่าสุดมันลามมาถึง Java EE สำหรับตลาดองค์กรแล้ว
กรณีของ Java 7 EE จะคล้ายกับ Java 8 SE คือเตรียมฟีเจอร์ใหม่ไว้เยอะแต่ทำไม่ทัน แต่กรณีของ Java 7 EE (ที่มีแผนออกช่วงไตรมาสที่สองของปี 2013) จะใช้วิธีตัดฟีเจอร์ทิ้งเพื่อรักษากำหนดการออกรุ่นเอาไว้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว EMC ยักษ์ใหญ่โซลูชันทางด้านธุรกิจได้มาจัดงานสัมมนากึ่งเวิร์คช็อปในประเทศไทยในชื่องาน EMC Forum 2012 ภายใต้คอนเซปของงานว่า "TRANSFORM IT + BUSINESS + YOURSELF" ซึ่งภายในงานจะมีการเวิร์คช็อปในหัวข้อต่างๆ ที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ของ EMC ยกตัวอย่างที่หลายคนรู้จักได้แก่ VMware หรือ Greenplum เป็นต้น (ถ้าใครยังไม่คุ้นกับ EMC ลองอ่านบทสัมภาษณ์ผู้บริหารก่อนได้)
EMC Forum 2012 ปฏิรูปธุรกิจด้วยเทคโนโลยี
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์พยายามดัน Azure เป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการแอพมือถือมาสักระยะหนึ่ง (ข่าวเก่า 1,
นักวิจัยของ NASA ออกมาเปิดเผยว่าภาพถ่ายจากยานสำรวจบนดาวอังคารในภารกิจ Mars Exploration Rover และ Mars Science Laboratory ถูกนำมาประมวลผลผ่านบริการกลุ่มเมฆ Amazon Web Services
เหตุผลก็เพราะศูนย์ข้อมูลของห้องปฏิบัติการวิจัย Jet Propulsion Laboratory (JPL) ที่รับผิดชอบภารกิจเหล่านี้ถูกใช้งานเต็มศักยภาพแล้ว และ NASA ก็ไม่ต้องการสร้างศูนย์ข้อมูลขึ้นมาใหม่ ทางออกคือเช่าใช้บริการคอมพิวเตอร์จากกลุ่มเมฆแทน ผลคือ NASA สามารถทำระบบรองรับภาพถ่ายจำนวนมหาศาลจากดาวอังคารได้ในเวลา 2-3 สัปดาห์ แทนที่จะเป็นหลักเดือนถ้าเลือกสร้างศูนย์ข้อมูลเองทั้งระบบ
สตีฟ วอซเนียก ได้กล่าวถึงการประมวลผลบนกลุ่มเมฆในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ ไมค์ เดซี (ผู้ผลิตตอน The Agony and the Ecstasy of Steve Jobs ให้กับรายการ This American Life ซึ่งถูกจับได้ว่าเขาเติมแต่งเรื่องปัญหาแรงงานจีนที่ผลิตสินค้าแอปเปิลจนเกินจริง) โดยเขาแสดงความกังวลว่าการที่นำทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆจะกลายเป็นปัญหาที่น่ากลัวในอีกห้าปีข้างหน้า เนื่องจากผู้ใช้จะควบคุมสิ่งที่ถูกย้ายขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆได้น้อยลง วอซเนียกยังเสริมว่าโดยส่วนตัวแล้วเขาอยากมีความรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของในสิ่งต่างๆ มากกว่า
เมื่อสัปดาห์ก่อนมีข่าวลือออกมาว่า VMware เจ้าพ่อด้าน virtualization จะแยกบริษัทไปทำธุรกิจด้านกลุ่มเมฆโดยเฉพาะ (VMware มีผลิตภัณฑ์ด้านกลุ่มเมฆคือ Cloud Foundry อยู่แล้ว) ล่าสุดบริษัทออกมาปฏิเสธข่าวนี้แล้ว
Matthew Lodge ผู้บริหารด้านบริการบนกลุ่มเมฆของ VMware ยังปฏิเสธข่าวของ Project Rubicon ซึ่งสื่อระบุว่าเป็นโครงการร่วมระหว่าง VMware กับบริษัทแม่ EMC อีกด้วย โดยเขาบอกว่า VMware ไม่ต้องการเป็นผู้ให้บริการแบบ IaaS (infrastructure-as-a-service) ตามที่มีข่าวใน Project Rubicon แต่บริษัทสนใจระดับ PaaS (platform-as-a-service) ตามที่เริ่มไปแล้วกับ Cloud Foundry มากกว่า
อินเทลประกาศเข้าซื้อบริษัท Whamcloud ผู้พัฒนาระบบไฟล์ Lustre ที่ใช้งานกันบนระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ โดยบริษัท Whamcloud จะกลายเป็นฝ่าย High Performance Data ของอินเทล และ Brent Gorda ซีอีโอของบริษัท Whamcloud ก็กลายเป็นผู้จัดการของฝ่ายใหม่นี้
Lustre นั้นเป็นผู้เล่นรายสำคัญของระบบไฟล์ในซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ คู่แข่งของมันเช่น GPFS ของไอบีเอ็ม หรือ HDFS จากฝั่ง Hadoop ของ Apache
การที่อินเทลลงมาเล่นตลาดนี้เองก็ไม่แปลกนัก เพราะตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เองก็มีมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ฝั่งผู้ครองตลาดอย่างไอบีเอ็มนั้นก็ไม่ได้เป็นพาร์ตเนอร์กับอินเทลเพียงอย่างเดียวแต่มีชิป POWER ของตัวเองไว้ขายแทนกันด้วย
ตามความคาดหมายคือในงาน Google I/O ปีนี้น่าจะมีการเปิดตัว IaaS ของกูเกิล และกูเกิลก็เปิดตัวในชื่อ Google Compute Engine (GCE) ล้อเลียนกับ App Engine เช่นเดียวกับ AWS ตัว GCE สามารถสร้างไฟล์อิมเมจของลินุกซ์ที่เราชอบไปใช้งานได้เอง
กูเกิลขายเครื่องเป็นชุด โดย 1 ชุดจะประกอบไปด้วยคอร์เสมือน เท่ากับหนึ่งคอร์ของ Sandy Bridge ที่เปิด HyperThreading กับแรมอีก 3.75GB แล้วแปลงเป็นหน่วยที่เรียกว่า Google Compute Engine Units (GCEUs) แต่ละยูนิตจะมีราคาใช้งาน 0.053 ดอลลาร์ คาดว่าที่ไม่อิงกับ SandyBridge ไปตรงๆ เพราะอนาคตหากอัพเกรดซีพียู กูเกิลก็จะโฆษณาว่ายังขายราคาเท่าเดิมได้อยู่
เราเห็นผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารหลายเจ้าส่งเราเตอร์ไร้สาย 802.11ac มาทำตลาดกันพอสมควรแล้ว คราวนี้ยักษ์ใหญ่อย่าง Cisco ก็เริ่มขยับตัว โดยส่งเราเตอร์ Linksys EA6500 ซึ่งรองรับทั้ง 802.11n และ 802.11ac (ความเร็วสูงสุดทางทฤษฎี 1300Mbps) มาทำตลาด
EA6500 มีเสาอากาศภายในถึง 6 เสา และมีพอร์ต Gigabit Ethernet มาให้ตามมาตรฐาน 4 พอร์ต ราคาขาย 219.99 ดอลลาร์ วางจำหน่ายเดือนสิงหาคมนี้
มีคลิปหลุด Nokia Air หรือบริการซิงค์ข้อมูลผู้ใช้ สื่อมีเดีย และบริการต่างๆ ระหว่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนผ่านกลุ่มเมฆ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งแอพลงเครื่องแต่อย่างใด เพราะเมื่อเลือกใช้แอพที่ต้องการแล้ว ทั้งแอพเวอร์ชันล่าสุดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องก็จะถูกดึงลงมาโดยอัตโนมัติ
จากคลิปดังกล่าว แหล่งข่าวระบุว่าระบบปฏิบัติการที่ปรากฎเป็น Symbian Belle (แต่ผมว่าอาจเป็น Meego ได้เช่นกัน) นอกจากนั้นคลิปนี้ยังได้โชว์ภาพกราฟิกแท็บเล็ตและมือถือแบบสไลด์ขึ้นในแนวตั้งที่รัน Symbian ด้วย ลองดูรายละเอียดได้จากคลิปที่ท้ายข่าว
ไม่รู้ว่า Nokia Air นี้ถูกพับเก็บหรือละทิ้งไปเหมือนกับ Symbian Belle หรือยัง?
ย้อนความก่อนนิดนึงนะครับ บริการกลุ่มเมฆรายใหญ่ๆ ในท้องตลาดตอนนี้แบ่งเป็นเมฆแบบ IaaS คือให้เช่าเครื่องเสมือน เข้าถึงโครงสร้างระดับฮาร์ดแวร์ แล้วจะมาติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรก็เรื่องของผู้เช่า ตัวอย่างคือ Amazon EC2
ส่วนอีกแบบคือเมฆแบบ PaaS หรือเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์มาให้ในตัว เรียกใช้ได้เฉพาะ API ที่กำหนด ลงซอฟต์แวร์ในเครื่องเองไม่ได้ ตัวอย่างเมฆแบบนี้คือ Google App Engine และ Microsoft Azure ซึ่งทั้งสองตลาดก็ซ้อนทับกันอยู่บางส่วน
แต่ล่าสุด ไมโครซอฟท์ลงมาลุยในตลาด IaaS แล้ว โดยขยาย Azure ให้ใช้งานเครื่องเสมือนที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ ทำให้ตลาด IaaS คึกคักมากขึ้น
จากที่รัฐบาลชุดนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไปเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 หนึ่งในนั้นมีนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีแผนจะยกระดับสมรรถนะของส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมปรับปรุงบริการระบบบริการประชาชน เพื่อปูทางสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อ่านรายละเอียดได้จากข้อที่ 8.1.4 จากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือดาวน์โหลดได้ที่นี่)
เมื่อคืนนี้นอกจากงาน WWDC 2012 ของแอปเปิลแล้ว ฝั่งไมโครซอฟท์เองก็มีงานสัมมนา TechEd North America ที่เชิญฝ่ายไอทีองค์กรมาร่วมฟังการแถลงข่าวผลิตภัณฑ์ด้านเซิร์ฟเวอร์เช่นกัน
สิ่งสำคัญในงาน TechEd ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็น keynote ของ Satya Nadella (ประธานฝ่าย Server & Tools ของไมโครซอฟท์) ที่ประกาศชัดว่าตอนนี้เราเข้าสู่ยุคของระบบปฏิบัติการแห่งกลุ่มเมฆ (Era of the Cloud OS) กันเรียบร้อยแล้ว
Nadella บอกว่าเราต้องเปลี่ยนวิธีมอง "ระบบปฏิบัติการ" เสียใหม่ จากเดิมที่เป็นตัวเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ มาเป็นระบบปฏิบัติการของ "ศูนย์ข้อมูล" ทั้งหมดแทน ทำหน้าที่บริหารทรัพยากร 3 ชนิดคือ พลังประมวลผล (compute) เครือข่าย (network) และการเก็บข้อมูล (storage)
ข่าวนี้ต่อจากประกาศ Windows Azure รองรับ Virtual Machine (รวมลินุกซ์!) ทางบริษัท Canonical นำโดยคุณ Mark Shuttleworth ก็ออกมาประกาศว่าบริษัทลงทุนด้านคอมพิวเตอร์บนกลุ่มเมฆมานานแล้ว โดยพัฒนา Ubuntu ให้รองรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน (IaaS) หลายยี่ห้อ เช่น OpenStack, Eucalyptus, AWS
ในกรณีของไมโครซอฟท์ถือว่าเป็นผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่ที่ Ubuntu ไม่ควรมองข้าม และการรัน Ubuntu+Windows บนระบบเซิร์ฟเวอร์เสมือนก็เป็นเรื่องดีสำหรับองค์กร ดังนั้น Canonical จึงจับมือร่วมกับไมโครซอฟท์พัฒนา Ubuntu ให้ทำงานบน Azure ได้เป็นอย่างดีเพื่อเป็นไฟล์อิมเมจสำหรับผู้ใช้ Azure ต่อไปในอนาคต โดยโค้ดทั้งหมดที่พัฒนาเพิ่มจะยังเป็นโอเพนซอร์สอย่างเคย
ซัมซุงยังคงดาหน้าเปิดตัวบริการบนกลุ่มเมฆอย่างต่อเนื่อง หลังจากเปิดตัว Music Hub ไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ล่าสุดกำลังจะเปิดตัวระบบเกมบนกลุ่มเมฆสำหรับเล่นบนทีวี โดยใช้เทคโนโลยีจาก Gaikai
สำหรับบริการที่ว่านี้ภายในปี 2012 จะมีเฉพาะทีวีซีรีส์ 7000 เท่านั้นที่จะได้ใช้ เนื่องจากรุ่นดังกล่าวใช้ชิปประมวลผลระดับดูอัลคอร์ ซึ่งเพียงพอที่จะสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีได้่ และการควบคุมทำได้ผ่านคอนโทรลเลอร์แบบไร้สาย หรือมีสายก็ได้ รวมถึงเม้าส์ และคีย์บอร์ดด้วย แต่สิ่งสำคัญคือต้องต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงพอ
ออราเคิลเปิดตัว Oracle Cloud ที่ปรับเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจของบริษัทไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากซอฟต์แวร์แทบทุกตัวที่เคยขายให้องค์กรไปติดตั้งเอาเอง ถูกยกขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆและให้บริการแบบ hosted service แทน
แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ (ไมโครซอฟท์ก็ทำมาแล้วกับ Office 365 ซึ่งมันคือ Exchange/SharePoint เวอร์ชันกลุ่มเมฆ) แต่สิ่งที่น่าสนใจคือออราเคิลมีผลิตภัณฑ์และบริการเยอะมาก การยกทุกอย่างขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆจึงทำให้บริการน่าสนใจมากทีเดียว
Larry Ellison เองก็ใช้ตรงนี้เป็นจุดขายโดยพูดว่า "the most comprehensive Cloud on the planet Earth" และเขาบอกว่าเตรียมการเรื่องนี้มา 7 ปีเต็ม
Oracle Cloud แบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ครับ
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายขีดความสามารถของแพลตฟอร์ม Windows Azure อีกหลายอย่าง
ในส่วนของ Azure ที่เป็น PaaS แบบเดิม ไมโครซอฟท์เพิ่มไลบรารีภาษา Python และ Java เข้ามา (จากเดิมที่รองรับ .NET, PHP, Node.js) ออกปลั๊กอินสำหรับ Eclipse/Java, รองรับ MongoDB, ใช้งาน Memcached สำหรับภาษาที่ไม่ใช่ตระกูล .NET และรองรับ Apache Solr/Lucene
สำหรับงานด้านเว็บก็มี Windows Azure Web Sites ที่รองรับเฟรมเวิร์คด้านการพัฒนาเว็บหลายตัว เช่น ASP.NET, PHP, Node.js รวมไปถึง CMS ยอดนิยมอย่าง WordPress, Joomla!, Drupal, Umbraco, DotNetNuke โดยเชื่อมต่อกับ MySQL หรือ Windows Azure SQL ก็ได้
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าลุยต่อกับ Office 365 บริการอีเมล-สำนักงาน-ระบบการทำงานบนกลุ่มเมฆ ล่าสุดออกรุ่นพิเศษ Office 365 for Government เพื่อจับตลาดลูกค้าฝั่งหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะ
SAP ยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์องค์กรจากเยอรมนี ประกาศซื้อกิจการบริษัท Ariba ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจซื้อ-ขาย ซัพพลายเชน และการจัดซื้อระดับองค์กรผ่านกลุ่มเมฆ
การซื้อกิจการรอบนี้ SAP จ่ายเงินหุ้นละ 45 ดอลลาร์ (สูงกว่าราคาหุ้นของ Ariba อยู่ 20%) คิดเป็นมูลค่ารวม 4.3 พันล้านดอลลาร์ ปัจจุบัน Ariba มีรายได้ปีละ 444 ล้านดอลลาร์ มีกำไร 33.3 ล้านดอลลาร์ มีพนักงาน 2,600 คน
SAP แถลงข่าวว่า Ariba จะช่วยให้ SAP เป็นผู้นำด้านการพาณิชย์บนกลุ่มเมฆ ครองตลาดเครือข่ายการทำธุรกิจแบบ B2B เนื่องจาก Ariba เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดนี้ และจะต่อยอดผลิตภัณฑ์ของ Ariba เข้ากับฐานลูกค้าจำนวนมหาศาลของ SAP ต่อไป
กูเกิลกับไมโครซอฟท์บุกตลาดกลุ่มเมฆด้วย App Engine และ Azure มานานแล้ว แต่นั่นเป็นบริการระดับแพลตฟอร์ม (PaaS = Platform as a Service) ที่แอพพลิเคชันต้องทำงานบน API ของแพลตฟอร์มด้วย
แต่ในตลาดจริง แอพดังๆ ส่วนใหญ่กลับพัฒนาบนเทคโนโลยีของตนเอง (บางรายอาจใช้โอเพนซอร์สที่มีอยู่แล้วเป็นส่วนประกอบ) โดยทำงานบนกลุ่มเมฆระดับโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS = Infrastructure as a Service) ซึ่งตลาดนี้มี Amazon Web Services ครองแชมป์อยู่
ล่าสุดมีข่าวว่าทั้งกูเกิลและไมโครซอฟท์เตรียมขยับมาชนกับ AWS ในตลาดกลุ่มเมฆแบบ IaaS แล้ว โดยกูเกิลจะเปิดบริการเช่าเซิร์ฟเวอร์เสมือนช่วงปลายปีนี้ ส่วนไมโครซอฟท์จะมีแถลงข่าวเปิดตัววันที่ 7 มิถุนายนนี้
เราเห็นเทคโนโลยี virtualization และกลุ่มเมฆสำหรับซีพียูกันมาเยอะแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของจีพียูกันบ้างครับ
ยักษ์ใหญ่แห่งวงการจีพียูอย่าง NVIDIA เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ตัวรวด อย่างแรกคือแพลตฟอร์ม GPU virtualization ที่ใช้กับระบบเดสก์ท็อปเสมือน (virtual desktop infrastructure - VDI) ภายในองค์กร ช่วยเร่งความเร็วของกราฟิกบนเดสก์ท็อปได้มากขึ้น
แพลตฟอร์มตัวนี้ชื่อว่า NVIDIA VGX มันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์เป็นบอร์ดพิเศษไว้เสียบกับเซิร์ฟเวอร์ VDI ยี่ห้ออื่นๆ ผ่านพอร์ต PCI Express บอร์ดตัวนี้เสียบจีพียูได้ 4 ตัว, แรม 16GB นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ VGX GPU Hypervisor สำหรับสร้างจีพียูเสมือน และ NVIDIA User Selectable Machines (USMs) ไว้จัดสรรทรัพยากรแก่ผู้ใช้แต่ละคน
CloudOn แอพพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้ไอแพดสามารถแก้ไขเอกสารบนไมโครซอฟท์ออฟฟิศที่รันบนกลุ่มเมฆได้ฟรี ได้มีเวอร์ชันสำหรับแท็บเล็ตที่รันระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์แล้ว
เวอร์ชันบนแอนดรอยด์นี้นอกจากรองรับการซิงค์ไฟล์กับ Box.net และ Dropbox แล้ว ยังรองรับการซิงค์ไฟล์กับ Google Drive ได้ด้วย สำหรับฟีเจอร์อื่นนั่นไม่แตกต่างจากเวอร์ชันบนไอแพดแต่ประการใด
ใครสนใจสามารถดาวน์โหลดได้จาก Google Play ครับ
อัพเดต ใช้ได้เฉพาะในสหรัฐฯ แคนาดา และสหราชอาณาจักรเท่านั้นครับ ใครอยู่ไทยก็ต้องรอต่อไป
ตลาดการเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆ (cloud storage) ร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเราเห็นแอพ SkyDrive และ Google Drive ออกมาทำตลาดกันแล้ว ล่าสุดเป็นคิวของ Amazon บ้าง
BigQuery เป็นบริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของกูเกิล มันใช้หลักการ big data ที่สร้างตารางข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนแต่มีขนาดใหญ่มากๆ (ระดับ 1 พันล้านแถว) ซึ่งต่างไปจากแนวทางของ relational database มาก
BigQuery คือการออกแบบคำสั่งคล้ายๆ SQL (แต่ฟีเจอร์ไม่ครบเท่า SQL) เพื่อให้ค้นหรือวิเคราะห์ข้อมูลในตารางได้ง่ายๆ และกูเกิลทำหน้าเว็บให้เราป้อนคำสั่ง BigQuery แล้วรับข้อมูลกลับได้จากหน้าเว็บเลย (อัพโหลด/ดาวน์โหลดข้อมูลผ่าน CSV)