สงครามการประมวลผลบนกลุ่มเมฆเริ่มร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ช่วงหลังมีหลายบริษัทเปิดให้บริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆกันเยอะแยะไปหมด ก็มีเว็บไซต์ชื่อ CloudSleuth ของบริษัท Compuware ทดสอบ "ความเร็ว" ในการตอบสนองของกลุ่มเมฆต่างๆ ในรอบ 12 เดือนหลังสุด
การทดสอบจะวางเครื่อง 30 จุดรอบโลก แล้วยิงคำสั่งไปยังกลุ่มเมฆแต่ละยี่ห้อทุกๆ 15 นาที บริษัท Compuware ทดสอบยาวมากคือระหว่างเดือนสิงหาคม 2010 ถึงกรกฎาคม 2011 มีข้อมูลการทดสอบกว่า 515,000 ครั้ง
ผลคือ Windows Azure ชนะเลิศด้วยค่าเฉลี่ยของการตอบสนองที่ 6.072 วินาที อันดับสองตามมาด้วย Google App Engine ที่ 6.45 วินาที ส่วนพี่ใหญ่ Amazon EC2 ที่เวอร์จิเนียใช้เวลา 7.20 วินาที
ขอมาเก็บตกงาน BUILD อีกสักข่าวครับ
ที่งาน BUILD ที่ซึ่งไมโครซอฟท์ได้เผย Windows 8 (หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการในขณะนี้ว่า Windows Developer Preview) คุณ Anders Hejlsberg หัวหน้าทีมพัฒนาภาษา C# ได้นำเสนอโปรเจกต์ที่มีโค้ดเนมว่า "Roslyn" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกรุยทางของบริษัทที่จะนำแพลตฟอร์ม .NET ขึ้นไปให้บริการบนกลุ่มเมฆ
OpenStack เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างระบบกลุ่มเมฆ ที่เริ่มโดย Rackspace และ NASA เมื่อประมาณ 1 ปีก่อน (นำระบบกลุ่มเมฆของทั้งสององค์กรมารวมกัน - ข่าวเก่า) แต่ทำไปทำมาฮิตกว่าที่คาด มีผู้ร่วมสนับส
กูเกิลเปิดตัว Google Cloud SQL ฐานข้อมูลแบบ relational database สำหรับแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆ App Engine
เดิมที App Engine มีระบบเก็บข้อมูลของตัวเองแบบ BigTable และภาษา GQL ที่ลดรูปมาจาก SQL ปกติ แต่ครั้งนี้ก็เพิ่มฐานข้อมูลแบบ relational database เข้ามา ให้รองรับแอพพลิเคชันได้หลากหลายมากขึ้น
แท้จริงแล้ว Cloud SQL คือ MySQL เวอร์ชันกลุ่มเมฆของกูเกิล โดยกูเกิลจะดูแลรักษาฐานข้อมูลให้เลย สามารถเชื่อมต่อกับ JDBC (สำหรับแอพภาษา Java) และ DB-API (สำหรับ Python) ช่วงแรกจะยังฟรีอยู่ และกูเกิลจะเปิดเผยราคาค่าใช้งานในภายหลัง
เมื่อพูดถึงซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างสถาปัตยกรรมกลุ่มเมฆ (IaaS Cloud) ช่วงหลังๆ คนมักพูดถึงโครงการ OpenStack ซึ่งเริ่มโดย NASA+Rackspace แต่จริงๆ แล้วก็ยังมีซอฟต์แวร์ฝั่งโอเพนซอร์สที่ทำงานแบบเดียวกันอีกหลายตัวที่ไม่ดังเท่า
โครงการหนึ่งที่มาก่อน OpenStack คือ OpenNebula ซึ่งมีที่มาจากห้องแล็บ CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ กำเนิดในฐานะโครงการวิจัยตั้งแต่ปี 2005 และเริ่มเปิดกว้างต่อชุมชนเมื่อปี 2008
หลังๆ ระบบคอมพิวเตอร์แบบกลุ่มเมฆได้รับความนิยมมากขึ้น เราเริ่มเห็นซอฟต์แวร์สำหรับกลุ่มเมฆหน้าใหม่ๆ อีกหลายตัว เช่น OpenStack, Eucalyptus หรือ OpenNebula
แน่นอนว่าการนำซอฟต์แวร์ขึ้นไปรันบนกลุ่มเมฆจะช่วยตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่ตามมาคือการเซ็ตอัพระบบที่ยากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ทางแก้แบบหนึ่งคือพัฒนาซอฟต์แวร์มาช่วยติดตั้งและปรับแต่งระบบกลุ่มเมฆ ซึ่งก็เป็นแนวคิดของ "Juju" ระบบช่วยจัดการซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆ
Juju (หรือชื่อเดิม Ensemble) ใช้แนวคิดแบบเดียวกับตัวจัดการแพกเกจบนลินุกซ์อย่าง dpkg หรือ APT แต่แทนที่จะเป็นซอฟต์แวร์ฝั่งไคลเอนต์ ก็เป็นการจัดการ "charm" (ทาง Juju ต้องการให้แปลว่า "มนต์" แต่จริงๆ แล้วมันคือสูตรการคอนฟิก) ที่ใช้เซ็ตระบบแทน
ตัวอย่างเช่น
OpenStack คือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างระบบกลุ่มเมฆแบบ IaaS (infrastructure as a service) ที่เกิดจากความร่วมมือของ 2 องค์กรคือ NASA และ Rackspace (ข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้ว) ซึ่งภายหลังได้ร
Autodesk เจ้าของซอฟต์แวร์ด้านงานออกแบบชื่อดังหลายตัว เช่น AutoCAD, 3ds Max, Maya ประกาศแผนการระยะยาวของบริษัทว่าจะพยายามย้ายซอฟต์แวร์ของตัวเองขึ้นไปอยู่บนกลุ่มเมฆ
Andrew Anagnost ผู้บริหารของ Autodesk ให้สัมภาษณ์ว่า "การทำงานร่วมกัน" บนกลุ่มเมฆ จะปฏิวัติวงการการออกแบบในไม่ช้านี้ โดยกระบวนการจะนำข้อมูลขึ้นไปบนกลุ่มเมฆ เพื่อให้นักออกแบบแต่ละคนเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะกับตัวเองที่สุด และไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องของผู้ใช้เลย
รายงานจากการ์ตเนอร์ในประเด็นบริการอีเมลขององค์กรอาจจะทำให้ไมโครซอฟท์มองกูเกิลเป็นศัตรูหนักกว่าเดิม เพราะการ์ตเนอร์รายงานว่ากูเกิลกำลังบุกเข้ามาในตลาดอีเมลสำหรับองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริการนี้เคยเป็นบริการทำเงินของไมโครซอฟท์ที่ขาย Exchange ได้เงินเป็นกอบเป็นกำ
การ์ตเนอร์วิเคราะห์ว่าตอนนี้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานเกิน 5,000 คนกำลังสนใจที่จะใช้งานอีเมลบนกลุ่มเมฆเช่นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ และบริการนี้ก็ครองตลาดโดยกูเกิลที่มีส่วนแบ่งประมาณครึ่งหนึ่งจองตลาดรวม
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่าบริการบนกลุ่มเมฆของแอปเปิลที่ชื่อ iCloud น่าจะทำงานอยู่บน AWS ของอเมซอนและ Azure ของไมโครซอฟท์จริง ก็เกิดคำถามว่าแล้วตกลงศูนย์ข้อมูลขนาดมหึมาที่แอปเปิลลงทุนสร้างด้วยเงินเป็นพันล้านดอลลาร์ ซึ่งสตีฟ จ็อบส์เองได้
คำถามที่พบบ่อยหลังข่าว HP จะแยกธุรกิจพีซีออกไป ก็คือ "แล้ว HP จะทำอะไรต่อ" คำตอบแบบยาวๆ หน่อยก็คือธุรกิจพีซีเป็นเพียงแค่ 1/3 หรือ 1/4 ของ HP เท่านั้น ยังมีธุรกิจอื่นอีกเยอะ เช่น เครื่องพิมพ์ เซิร์ฟเวอร์ โซลูชัน
คำตอบแบบสั้นกว่าก็ยกตัวอย่างได้ด้วยข่าวนี้ นั่นคือ HP Cloud Services ที่จะออกมาแข่งกับ AWS โดยตรง
หมายเหตุ mk มาถึงตอนนี้เราคงเห็นกันชัดว่า cloud computing คืออนาคตของการประมวลผลขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่บ้านเรายังขาดแคลนมากคือประสบการณ์ ความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างแอพพลิเคชันบนกลุ่มเมฆ (ยังไม่ต้องพูดถึงการสร้าง cloud infrastructure แบบ AWS หรือ Azure ที่ต้องใช้ทรัพยากรเยอะกว่านั้นมาก)
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวคาดการณ์ว่า iCloud เช่าบริการจาก Microsoft Azure และ Amazon S3? ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ The Register รายงานข้อมูลวงในว่า iCloud นั้นรันอยู่บน AWS และ Azure จริงๆ โดยแบ่งส่วนข้อมูลของผู้ใช้กระจายไปยังบริการทั้งสองตัวสลับกัน
ไมโครซอฟท์กับ Android อาจจะฟังดูห่างไกลและไม่เกี่ยวข้องกัน (จริงๆ แล้วก็มีบ้าง สองสามตัว) แต่อนาคตของธุรกิจชนิดใหม่อย่าง Windows Azure อาจจะสำคัญกว่า ทำให้เราได้เห็น Windows Azure Toolkit for Android แล้ว
ซอฟต์แวร์ตัวนี้จะช่วยให้แอพบน Android สามารถเชื่อมต่อกับบริการบนกลุ่มเมฆ Azure ได้ง่ายขึ้น มันประกอบด้วยไลบรารีมาตรฐาน ตัวอย่างแอพ และชุดทดสอบ
ช่วงนี้มีงาน VMworld 2011 ของบริษัท VMware ดังนั้นจะมีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สายนี้ออกมาค่อนข้างเยอะ คัดมาเฉพาะข่าวสำคัญๆ บางส่วนนะครับ
เพียงหนึ่งเดือนหลังบริษัท Citrix เข้าซื้อบริษัท Cloud.com เจ้าของซอฟต์แวร์บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆ CloudStack เจ้าของใหม่ก็ประกาศโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ชุด CloudStack ทั้งหมดแล้ว
ทีมนักวิจัยที่พัฒนา Globus ซึ่งเป็นมิดเดิ้ลแวร์ที่กันอย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบกริดเพื่อแชร์ทรัพยากรกันระหว่างหลายๆ หน่วยงานเข้าด้วยกัน ได้ประกาศเปิดตัวซอฟต์แวร์ Globus Provision เพื่อใช้ในการติดตั้งระบบ Globus บนการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ Amazon EC2 โดยการใช้ Globus Provision จะช่วยให้การติดตั้ง Globus บนระบบกลุ่มเมฆทำได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการบัญชีผู้ใช้และรวมถึงการตั้งค่าต่างๆ เช่น NFS/NIS
ผู้อ่านหลายคนแถวนี้ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านเว็บไซต์น่าจะคุ้นเคยกับ memcache กันดีอยู่แล้ว ในฐานะซอฟต์แวร์ช่วยเหลือด้านการแคชข้อมูลไว้ในหน่วยความจำของเซิร์ฟเวอร์ เพื่อช่วยลดภาระการทำงานของฐานข้อมูล
ทางด้าน Amazon เพิ่งเปิดตัวบริการใหม่ ElastiCache (ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเบต้า) ซึ่งเป็นบริการจัดการแคชที่ใช้โปรโตคอลที่เข้ากันได้กับ memcache หมายความว่าโปรแกรมเก่าที่เขียนให้ใช้กับ memcache สามารถนำไปรันกับ ElastiCache ได้ทันที มีระบบตรวจสอบความผิดปกติและกู้คืนให้อัตโนมัติ สามารถมอนิเตอร์การทำงานได้จากบริการ CloudWatch ของ Amazon เอง
ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของการประมวลผลผ่านกลุ่มเมฆ คือความเสี่ยงที่ข้อมูลขององค์กร (ซึ่งไปอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ) จะรั่วไหล ทำให้องค์กรที่มีข้อมูลสำคัญๆ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ยังลังเลที่จะใช้บริการประมวลผลผ่านกลุ่มเมฆอยู่
Amazon ในฐานะหัวหอกเรื่องกลุ่มเมฆ จึงแก้ปัญหานี้โดยออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ AWS GovCloud ที่มีความปลอดภัยมากขึ้นสำหรับหน่วยงานภาครัฐบาลของสหรัฐ
หลักการของ AWS GovGloud ก็คือบริการของ AWS ตามปกติ แต่กำหนดเขตพื้นที่ (region ของ AWS) ให้เซิร์ฟเวอร์อยู่ในสหรัฐ และเข้าถึงได้เฉพาะทราฟฟิกจากสหรัฐเท่านั้น ทำให้ AWS GovCloud ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐ และเอื้อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ AWS GovCloud ได้มากขึ้น
จากที่ทราบกันไปแล้วว่า Facebook สร้างศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์ของตัวเองขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว และสร้างเสร็จแล้วในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา (มิ.ย. 2554) Facebook ก็ได้ฤกษ์ถ่ายโอนข้อมูลขนาดมหึมาของตนเองบนเฟรมเวิร์ค Hadoop จากระบบเดิมสู่ระบบใหม่ และเปิดใช้งานระบบจากศูนย์ข้อมูลใหม่อย่างเป็นทางการ
แอปเปิลเปิดเผยราคาพื้นที่เก็บข้อมูลบน iCloud แล้ว ผู้ใช้รุ่นฟรีจะได้พื้นที่เริ่มต้น 5GB และถ้าอยากได้เพิ่มต้องจ่ายเพิ่มดังนี้
นอกจากนี้แอปเปิลยังเปิดให้นักพัฒนาเข้าไปทดสอบเว็บแอพบน iCloud แล้วเช่นกัน โดยมีแอพ Contacts, Calendar, Mail, iWork ที่หน้าตาเหมือนกับแอพบน Mac OS X
Ubuntu One บริการเก็บไฟล์บนกลุ่มเมฆ (ซึ่งภายหลังขยายเป็นบริการอื่นๆ ด้วย เช่น Music Streaming ที่ทำก่อนกูเกิล-แอปเปิลด้วยซ้ำ)
ทางบริษัท Canonical ออกมาประกาศว่า Ubuntu One มีผู้ใช้เกิน 1 ล้านคนแล้ว (จริงๆ เกินตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทำไมเพิ่งมาประกาศตอนนี้ก็ไม่ทราบได้)
ในโอกาสนี้ Ubuntu One ได้เพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลของรุ่นฟรี จากเดิม 2GB เป็น 5GB และจะยกเลิกแพกเกจซิงก์ข้อมูลสำหรับมือถือซึ่งเดิมจ่ายเดือนละ 3.99 ดอลลาร์ อัพเกรดผู้ใช้เดิมมาเป็นแพกเกจ Music Streaming ที่มีเนื้อที่เก็บข้อมูล 20GB แทน
ที่มา - Canonical
YouSendIt บริการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ผ่านเว็บที่หลายคนรู้จักกันดี ขยายบริการของตัวเองจากการส่งไฟล์ผ่านเว็บ มาเป็นการเก็บข้อมูลบนเว็บแบบเดียวกับ Dropbox
ตอนนี้ที่ YouSendIt ยังเป็นรองคือจำนวนแพลตฟอร์มที่รองรับ ซึ่งยังมีแค่บนวินโดวส์และไอโฟน ในขณะที่ Dropbox มีสารพัดแพลตฟอร์ม ซึ่งตรงนี้อาจต้องให้เวลากับ YouSendIt สักหน่อย
บริการฝากไฟล์ของ YouSendIt ให้บริการฟรีสำหรับ 2GB แรก ใครอยากหาที่เก็บไฟล์อื่นๆ ก็ไปใช้กันได้ ส่วนแบบคิดเงิน มีแพกเกจเดือนละ 9.99 ดอลลาร์ สำหรับพื้นที่ 5GB (แพงกว่า Dropbox ซึ่งจ่ายเท่ากันได้ 50GB) แต่แพกเกจที่น่าสนใจกว่าคือ 14.99 ดอลลาร์กับพื้นที่ไม่จำกัด - รายละเอียด
ทุกวันนี้ เกมผ่านเน็ตจำพวก social games ทั้งหลายนิยมเช่าเซิร์ฟเวอร์ Amazon EC2 เพราะสามารถรองรับโหลดได้มาก แถมไม่ต้องลงทุนด้านฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์-สถานที่เอง
ในฐานะที่ไมโครซอฟท์ก็มีแพลตฟอร์ม Windows Azure ที่เป็นคู่แข่งกับ EC2 โดยตรง จึงอยากเข้ามาแชร์ตลาดผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์เกมกับเขาบ้าง ล่าสุดจึงได้ออกเครื่องมือพัฒนา Windows Azure Toolkit for Social Games มาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
ตอนนี้ Windows Azure Toolkit for Social Games รองรับการสร้างเกมด้วยภาษาตระกูล .NET หรือ HTML5 จากนั้นค่อยนำเกมมาให้บริการผู้ใช้ผ่าน Windows Azure อีกทีหนึ่ง
Backblaze เป็นบริษัทเก็บข้อมูลแบบกลุ่มเมฆที่ขึ้นชื่อว่าทำราคาได้ถูกมากจากการสร้างไฟล์เซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเองแล้วกดทุกอย่างจนมีต้นทุนต่ำสุด นอกจากให้บริการแล้วบริษัทนี้ยังเปิดเผยการออกแบบ Storage Pod ของตัวเองที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลได้ขนาดใหญ่มาก (รุ่นที่แล้วมีความจุ 67 เทราไบต์ต่อเซิร์ฟเวอร์ 4U) และวันนี้ก็มีการเปิดเผย Storage Pod 2.0 ที่มีความจุรวม 135 เทราไบต์ในต้นทุน 7,384 ดอลลาร์หรือ 220,000 บาท
รายการฮาร์ดแวร์ชิ้นสำคัญเช่น