Riot Games ต้นสังกัดของ League of Legends, Valorant และเกมอื่นๆ เปิดตัวอัลบั้มเพลง Sessions: Vi ที่มีเพลงฟังสบาย 37 เพลง เป็นเพลงแบบไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด (royalty-free) สตรีมเมอร์สามารถนำไปใช้ประกอบการสตรีมได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าคลิปจะถูกลบจากระบบจับลิขสิทธิ์เพลง
โครงการ Sessions เป็นโครงการที่ Riot Games ตั้งใจทำมาเพื่อแก้ปัญหานี้ของสตรีมเมอร์ โดยอัลบั้มแรกใช้ชื่อว่า Sessions: Vi นำชื่อมาจากตัวละคร Vi ในเกม LoL แต่ละแทร็คเป็นผลงานของศิลปิน 37 คนแตกต่างกันไป และ Riot บอกว่าจะทำเพิ่มอีก
Judy A. Juracek ศิลปิน และช่างภาพรายหนึ่งยื่นฟ้อง Capcom ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ที่ศาลใน Connecticut กล่าวหาว่าบริษัทนำผลงานของเธอไปใช้ในเกม Resident Evil 4 และ Devil May Cry โดยไม่ได้ขออนุญาต
ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา (Supreme Court) พิพากษาคดีระหว่างออาราเคิลและกูเกิล ในประเด็นว่าระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ละเมิดลิขสิทธิ์ Java หรือไม่ โดยศาลตัดสินว่าการใช้ Java API นั้นเป็นการใช้งานอย่างเป็นธรรม (fair use) ทำให้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด นับเป็นจุดสิ้นสุดคดียาวนานกว่าสิบปีนี้
update: ผมตรวจสอบแล้วไม่ยังพบว่าทีมงาน youtube-dl เตรียมใช้ repository นี้เป็นทางการ โดยตัว repository สร้างโดย Youri Wijnands ไม่ใช่ทีมงานของ youtube-dl แต่อย่างใด
youtube-dl เปิดโครงการใหม่บน GitLab แทนที่โครงการเดิมบน GitHub ที่ถูกปิดไป ตามคำขอของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐฯ (RIAA)
หน้าเว็บ yt-dl.org ลิงก์กลับมาบางส่วน และลิงก์ดาวน์โหลดใช้งานได้แล้ว มีหน้าเอกสารการใช้งานที่ยังหายไปเนื่องจากเดิมอยู่บน github.io ที่ปิดไปพร้อมกัน ตัวโครงการใหม่ยังคงไม่มีไบนารีไฟล์เก่าๆ ตามรอบ release แต่ตัว repository ก็มี tag ครบถ้วนดี
ในเดือนสิงหาคม Facebook กำลังจะสามารถสตรีม MV ที่มีลิขสิทธิ์เพลงได้แล้วในสหรัฐฯ ถือเป็นความท้าทายของ YouTube โดยตรง จากที่ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้งาน Facebook ไม่สามารถลงคลิปเพลงเต็มๆ ได้ ทำได้เต็มที่แค่คลิปสั้น
Audible บริษัททำหนังสือเสียงที่มี Amazon เป็นเจ้าของ กำลังจะเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่แปลงเสียงเป็นข้อความตัวหนังสือ หรือ Audible Captions คือช่วยให้คนที่ฟังหนังสือเสียง นอกจากจะได้ยินเสียงแล้วยังสามารถเห็นข้อความไปด้วยเหมือนกำลังดูหนังมีซับไตเติล โดยมีเป้าหมายเพื่อการศึกษาเท่านั้น
แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อสมาคมสำนักพิมพ์อเมริกัน (Association of American Publishers) เห็นว่า Audible ได้ลิขสิทธิ์ในการเอาหนังสือไปทำเป็นหนังสือเสียง แต่ Audible ไม่มีสิทธิ์ในข้อความในหนังสือ ซึ่งเป็นสิทธิ์คนละส่วนกัน ทางสมาคมฯ จึงยื่นฟ้องคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อ Audible
ตอนนี้เว็บไซต์หลายแห่งทั่วยุโรป ได้แก่ Wikipedia, Twitch, PornHub, Reddit ได้ประท้วงกฎหมายด้านลิขสิทธิ์ใหม่ของสหภาพยุโรปซึ่งมีกำหนดการโหวตครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 มีนาคมนี้
กฎหมายที่กำลังอยู่ในความสนใจนี้คือ EU Copyright Directive ซึ่งเป็นการอัพเดตกฎหมายด้านลิขสิทธิ์ให้เหมาะสมยุคอินเทอร์เน็ต แต่มีอยู่สองข้อที่ถูกมองว่าเป็นอันตราย ได้แก่
The Japan Times รายงานว่าหน่วยงานด้านวัฒนธรรม (Cultural Affairs Agency) กำลังพิจารณากฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ เพื่อยื่นให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งจะครอบคลุมการดาวน์โหลดผลงานลิขสิทธิ์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะภาพยนตร์, เพลง, มังงะ, หนังสือ ฯลฯ ถือว่าผิดกฎหมายทั้งหมด จากที่ตอนนี้กฎหมายครอบคลุมเฉพาะวิดิโอและเพลงเท่านั้น
กฎหมายดังนั้นยังอยู่ในขั้นร่างและถกเถียงภายในหน่วยงานเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตามในร่างกฎหมายมีวรรคหนึ่งระบุว่าให้ลงโทษเจ้าของเว็บที่ลงไฮเปอร์ลิงก์ไปยังเว็บที่ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย โดยทางหน่วยงานด้านวัฒนธรรมจะยื่นร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ภายในวาระการประชุมรัฐสภาที่กำลังมีขึ้นขณะนี้
พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เผยว่าได้นำกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 120 นาย เข้าตรวจค้นแหล่งต้นกำเนิดของเว็บไซต์ดูหนังเถื่อนอย่าง Movie2free ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สุพรรณบุรี เชียงใหม่ และลำปาง จำนวนทั้งสิ้น 19 จุด
ทางเจ้าหน้าที่ได้พบว่าเว็บไซต์ sakkarinsai8.com คือ ผู้ให้บริการแม่ข่ายเช่าเซิร์ฟเวอร์และปล่อยสัญญาณให้กับเว็บไซต์ Doo4k.tv, Movie2free, bigapp.tv, และเว็บไซต์อื่นๆ อีกมาก โดยคิดค่าบริการตั้งแต่ 70,000-100,000 บาทต่อเดือน
YouTube ประกาศเพิ่มเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ เพื่อช่วยค้นหาว่าวิดีโอของตนถูกขโมยไปอัพโหลดซ้ำหรือไม่ เรียกว่า Copyright Match
โดย YouTube บอกว่าที่ผ่านมาเจ้าของคอนเทนต์อาจต้องค้นหาวิดีโอที่ถูกนำไปอัพโหลดซ้ำเอง และเครื่องมือที่ YouTube มีให้ก็ยังไม่สะดวกพอ จึงออกมาเป็น Copyright Match ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานคือ หลังจากมีการอัพโหลดวิดีโอตัวที่ถูกต้องเข้ามา YouTube จะสแกนวิดีโออื่นที่ถูกอัพโหลดว่าเหมือนหรือคล้ายกับวิดีโอที่มีอยู่หรือไม่ และแจ้งเตือนมายังเจ้าของคอนเทนต์ในแถบ Matches เพื่อให้ตัดสินใจดำเนินการต่อไป
จากประเด็นข้อเสนอกฎหมายปฏิรูปลิขสิทธิ์ในยุโรปเป็นที่ถกเถียงกันมาก เพราะกฎหมายเรียกร้องให้เว็บไซต์ต้องรับผิดชอบหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์เนื้อหาเกิดขึ้น และยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แหล่งข้อมูลที่อ้างอิงมาด้วย จนเว็บไซต์ Wikipedia ขึ้นโลโก้สีดำเป็นการประท้วงเพราะตัวกฎหมายไปละเมิดสิทธิเสรีภาพทางข้อมูล
ล่าสุด ในการโหวตของสภายุโรปได้ปัดตกข้อเสนอกฎหมายดังกล่าวไปแล้ว โดยสมาชิกสภาระบุว่าต้องมีการอภิปรายเรื่องนี้ใหม่ และส่งข้อเสนอกฎหมายกลับไปยังคณะกรรมาธิการต่อไป
ถ้าใครเข้า Wikipedia ในภาษาอิตาลี สเปน โปแลนด์ จะไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการค้นหาได้ จะปรากฎเป็นข้อความและโลโก้เว็บกลายเป็นสีดำ เพราะทางเว็บไซต์ประท้วงที่คณะกรรมการด้านกฎหมายของรัฐสภายุโรป สนับสนุนให้ปฏิรูปเรื่องลิขสิทธิ์เนื้อหาที่กระทบต่อเว็บไซต์และเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต
สตรีมเมอร์ชื่อดังหลายรายบน Twitch คือ xQc, Sinatraa, Daequan, Alfie, Avxry, KittyPlays, Pokelawls, Sneaky, Castro1021, Nico, Symfuhny และ Solluminati ถูกแบนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพราะเปิดเพลงติดลิขสิทธิ์ระหว่างไลฟ์ โดยหนึ่งในเพลงที่เป็นปัญหาคือเพลงของแรปเปอร์ Juice Wrld
สหภาพยุโรปหรือ EU เริ่มพิจารณากฎด้านลิขสิทธิ์ใหม่ โดยรอบนี้คืออนุญาตให้สำนักข่าวสามารถเก็บเงินจากเสิร์ชเอนจินได้หากต้องการนำบทความจากเว็บไซต์ไปแสดง และให้เว็บไซต์ที่เก็บวิดีโออย่างเช่น YouTube ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในการแสดงคอนเทนต์ด้วย
คดีลิขสิทธิ์ภาพ "ลิงเซลฟี่" ยังคงยืดเยื้ออยู่ โดยมีล่าสุดศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ ให้ความเห็นในกรณีนี้ว่าตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ สัตว์ไม่มีสิทธิ์ในภาพถ่ายหรืองานต่าง ๆ ตามที่ PETA ยื่นอุทธรณ์ มนุษย์เท่านั้นที่สามารถอ้างสิทธิ์ได้
เรื่องลิขสิทธิ์ภาพลิงเซลฟี่ เริ่มต้นเมื่อช่างภาพนาม David Slater ไปเดินป่าในอินโดนีเซียเมื่อปี 2011 และถูกลิงกังดำที่ชื่อว่า Naruto ขโมยกล้องไปกดถ่ายภาพเป็นจำนวนหลายร้อยภาพ ซึ่งมี "ลิงเซลฟี่" อยู่ในนั้นด้วย เมื่อภาพแพร่ไปจนถึง Wikimedia Commons คลังภาพของ Wikipedia ทางชุมชนมีความเห็นว่าภาพถ่ายนี้ถูกกดถ่ายโดยลิงไม่ใช่เจ้าของภาพ David Slater ภาพนี้จึงควรเป็นสมบัติสาธารณะ
Google ปรับปรุงระบบค้นหาภาพใหม่เล็กน้อยแต่สำคัญมาก โดยการนำปุ่ม “ดูรูปภาพ” ออก ดังนั้นผู้ใช้ที่ดูรูปภาพผ่าน Google Search จะไม่สามารถกดปุ่ม “ดูรูปภาพ” เพื่อเข้าไปยังหน้าลิงก์ที่ปรากฏเป็นรูปภาพโดยตรงได้อีกแล้ว
Getty Images เว็บไซต์ขายภาพถ่ายคุณภาพสูงได้ลงนามในสัญญาร่วมกับ Google ซึ่งภายใต้สัญญานี้ Getty Images อนุญาตให้ Google นำคอนเทนต์ไปใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของ Google ได้ โดยแลกกับการที่ Google จะปรับปรุงระบบค้นหาภาพเพื่อให้ข้อมูลความเป็นเจ้าของคอนเทนต์ให้ชัดเจนขึ้น รวมถึงการใส่ copyright disclaimers ให้ดูเด่นขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่าภาพที่ปรากฏจำเป็นต้องจ่ายเพื่อใช้งานหรือไม่ และลบลิงก์ของภาพที่สามารถเชื่อมโยงไปยัง URL จริงของภาพออก
ปัจจุบัน ส่วนแบ่งรายได้ของการสตรีมมิ่งนั้น กำหนดว่าต้องจ่ายให้เจ้าของลิขสิทธิเพลง 10.5% ขึ้นกับจำนวนการสตรีมมิ่งในช่วงนั้น ล่าสุดมีกฎใหม่จาก United States Copyright Royalty Board (CRB) กำหนดให้ส่วนแบ่งรายได้ต้องเพิ่มถึง 43.8% เป็น 15.1% ในปี 2022 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า
Spotify เจอปัญหาลิขสิทธิ์เพลงเป็นระยะๆ แต่คราวนี้บริษัทถูกฟ้องร้องด้วยมูลค่าสูงมาก โดย Wixen Music Publishing บริษัทบริหารจัดการลิขสิทธิ์เพลงให้นักแต่งเพลง ฟ้องคดีในศาลรัฐบาลกลางของรัฐแคลิฟอร์เนียระบุว่า Spotify สตรีมเพลง "Free Fallin", "Light My Fire" ของวง Doors และเพลงอื่นๆ นับหมื่นเพลง โดยไม่มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ โจทก์คำนวณความเสียหายเป็นเงินอย่างน้อย 1.6 พันล้านดอลลาร์
หลังจากที่ David Slater ฟ้องร้อง Wikipedia และ PETA จากการใช้ภาพลิง selfie โดยไม่ได้รับอนุญาตหลังจากมีกรณีพิพาทตั้งแต่ปี 2014จนขึ้นถึงชั้นอุทรณ์ และ David ยอมรับแทบหมดตัวหลังต่อสู้เรื่องลิขสิทธิ์ภาพ นั้น
ล่าสุด ศาลในนครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของนาย David ด้วยเหตุว่าลิงไม่สามารถมีสิทธิบางอย่างเหมือนมนุษย์ได้ตามกฎหมาย
ทั้งนี้ นาย David แสดงความประสงค์บริจาคเงินรายได้ 25% จากภาพดังกล่าวให้องค์กรการกุศลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ที่อุทิศตนเพื่อปกป้องสวัสดิภาพและพื้นที่อยู่อาศัยของเจ้านารุโตะบนเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย
เป็นเรื่องเป็นราวกันมากว่า 3 ปีกับการฟ้องร้องความเป็นเจ้าของภาพ "ลิงเซลฟี่" อันโด่งดัง ล่าสุดศาลในนครซานฟรานซิสโกมีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ David Slater เจ้าของกล้องเป็นเจ้าของภาพดังกล่าว โดยระบุว่าสิทธิ์ความเป็นเจ้าของภาพไม่สามารถใช้กับสัตว์ได้
Bloomberg รายงานว่า Facebook กำลังเจรจายื่นข้อเสนอผลตอบแทนมูลค่า หลายร้อยล้านดอลลาร์ ให้กับค่ายเพลงต่างๆ เพื่อแลกกับการให้ผู้ใช้งานสามารถแทรกเพลงที่มีลิขสิทธิ์ลงไปในคลิปวิดีโอได้ได้
ปัจจุบันแนวทางที่ Facebook ใช้เมื่อมีวิดีโอที่ติดปัญหาลิขสิทธิ์เพลงอัพโหลดคือการลบออก ซึ่ง Facebook ก็พยายามหาวิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่านี้ ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า Facebook กำลังพัฒนาระบบตรวจจับลิขสิทธิ์เหมือน Content ID ที่ YouTube ใช้ แต่ระบบนี้ต้องใช้เวลาพัฒนาประมาณ 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ทำให้ทั้ง Facebook และค่ายเพลงต่างต้องการทางออกที่รวดเร็วกว่านี้
ปัจจุบันเว็บไซต์ดาวน์โหลดบิตชื่อดังที่หลายคนอาจจะรู้จักนั้นคือ The Pirate Bay ที่ถูกยึดเซิร์ฟเวอร์และบล็อกไปหลายครั้ง (แต่ก็ยังกลับมาได้เรื่อย ๆ) แต่ตอนนี้มีผลสำรวจจาก Lumen Database ซึ่งเป็นบริการลบลิงก์โดยการร้องเรียนจากเจ้าของลิขสิทธิ์ พบว่าตอนนี้ Google Drive กำลังเป็นบริการที่ได้รับความนิยมในการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจากข้อมูลของการร้องเรียนลิขสิทธิ์นี้ พบว่ามีการร้องเรียนไปยัง Google มีจำนวนกว่า 4,700 ครั้ง ส่วนบริการอื่น ๆ อย่าง Dropbox, OneDrive หรือ Mega ก็มีบ้างประปราย
เมื่อปีที่แล้วกลุ่มอุตสาหกรรมเพลงใหญ่นำโดย RIAA ได้ฟ้องร้องเว็บไซต์ YouTube-Mp3 ซึ่งเป็นเว็บแปลงไฟล์จาก YouTube ให้เป็น MP3 ด้วยเหตุผลละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ล่าสุดเจ้าของเว็บไซต์ได้ขอยอมความและจ่ายค่าเสียหายแล้ว
ในรายละเอียดของเอกสารข้อเสนอ YouTube-Mp3 จะจ่ายเงินค่าเสียหายเป็นจำนวนที่ไม่เปิดเผย และจะโอนโดเมนเนมให้กับค่ายเพลงหนึ่งที่เป็นสมาชิก RIAA
หากการเจรจามีข้อยุติ เว็บไซต์ YouTube-Mp3 จะปิดตัวลงภายใน 24 ชั่วโมง และเข้าสู่การโอนย้ายโดเมนต่อไป
ที่มา: Torrent Freak
หากยังพอจำกันได้ เมื่อราวปี 2014 เกิดประเด็นถกเถียงและการฟ้องร้องด้านกฎหมายถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพ "ลิงเซลฟี่" ระหว่าง David Slater เจ้าของกล้องและ Wikipedia
อย่างไรก็ตามระหว่างกระบวนการฟ้องร้องกับ Wikipedia ที่ Slater อ้างความเป็นเจ้าของรูป (ทั้งที่ลิงกดถ่าย) องค์กรพิทักษ์สัตว์หรือ PETA (People for the Ethical Treatment of Animals) ก็ร่วมฟ้องร้อง Slater ในฐานะตัวแทนลิงกังตัวนั้นด้วยในปี 2015 ก่อนยื่นอุทธรณ์ในปี 2016 หลังศาลระบุว่าสัตว์ไม่ครอบคลุมในกฎหมายลิขสิทธิ์