จากเอกสารสนับสนุนการใช้งานจากแอปเปิล ผู้ที่ซื้อชุดโปรแกรม iWork '09 จากกล่องที่วางขายตามร้านไม่จำเป็นที่จะต้องป้อนเลขซีเรียลนัมเบอร์หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้ว ซึ่งจะแตกต่างจากเมื่อก่อนที่ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องใส่หมายเลขซีเรียลนัมเบอร์เมื่อเริ่มใช้งานครั้งแรก
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของแอปเปิล เพราะชุดโปรแกรม iLife และ Mac OS X เองก็ไม่ได้ต้องการให้ผู้ใช้ใส่ซีเรียลนัมเบอร์มาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะซอฟต์แวร์ทั้งสองนี้มักจะมาพร้อมกับเครื่องแมคที่ขายช่วงเวลาเดียวกับรุ่นซอฟต์แวร์นั้น ๆ อยู่แล้ว
หลายๆ คนแถวนี้คงจะเปิดเพลงใน YouTube บ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าวันนี้เปิดแล้วบางวิดีโอไม่มีเสียงก็ไม่ต้องตกใจนะครับ วิดีโอเหล่านั้นอาจโดน YouTube แบนเสียงไปแล้วครับ
YouTube ได้ทดสอบการเทียบเสียงในวิดีโอกับกับต้นฉบับที่มีลิขสิทธิ์โดยทำเป็นเสมือนลายนิ้วมือของเพลงเอาไว้มาได้สักระยะแล้ว แต่โดยปกติเมื่อพบว่าวิดีโอนั้นผิดลิขสิทธิ์ก็จะทำการตักเตือนผู้อัพโหลด และทำการแจ้งเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของสิขสิทธิ์ตัวจริงจะได้รับการแจ้งให้เลือกระหว่างการโฆษณาไปบนวิดีโอหรือจะลบวิดีโอไปเลย
ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี บารัก โอบามา ได้รับการสนันสนุนอย่างอบอุ่นจากกลุ่มที่ต่อสู้เรื่องกฎหมายกับอุตสาหกรรมบันทึกเสียง ลอว์เรนซ์ เลสสิก อาจารย์กฎหมายที่ชูธงนำขบวนการ "วัฒนธรรมเสรี" สนับสนุนวุฒิสมาชิกจากรัฐอิลลินอยส์ผู้นี้อย่างเปิดเผย เช่นเดียวกับ เอริก ชมิดท์ ซีอีโอของกูเกิล และกระทั่งพรรคไพเรตปาร์ตี้อเมริกา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ต่อสู้เพื่อการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาและมีแนวร่วมในระดับนานาชาติ
ขอยืมคำพูดของ Ford Antitrust มาใช้สักหน่อยครับ "ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ จั่วหัวพูดถึงทีไร เว็บไม่แตกก็ร้อนกันไปเป็นแถบ ๆ" แต่เนื่องจากตอนนี้เยอรมันเข้าหน้าหนาวละ หากเขียนเรื่องนี้แล้วร้อนก็คงดี จะได้ประหยัดค่าทำความร้อนไปได้หลายยูโร ซึ่งตอนนี้ประเด็นนี้กำลังร้อนมาก ๆ ใน blognone ผมไม่ได้เข้าไปอ่านแป้บเดียว กว่าสามร้อยความคิดเห็นไปแล้ว ตามอ่านแทบไม่ทัน วานฝากผู้เกี่ยวข้อง ให้ปักหมุดประเด็นนี้ไว้นาน ๆ หน่อยก็ดีครับ เผื่อจะมีความคิดเห็นที่สี่ร้อย ห้าร้อย ให้ได้อ่านกัน
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาค่ายหนังใหญ่ๆ ของ Hollywood (Paramount, Twentieth Century Fox, Universal, Warner Brothers, Columbia, Walt Disney, Sony) ออกมาฟ้อง Real Network เนื่องจากพบว่า RealDVD มีความสามารถในการสร้างสำเนาแผ่นหนังในรูปแบบ DVD ได้
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเปิดตัวเมื่อต้นเดือนกันยายนโดยมีคุณสมบัติหลักคือสามารถคัดลอก DVD เก็บเอาไว้ในรูปแบบ Image File บนเครื่องเพื่อเก็บไว้ดูในภายหลัง
"RealDVD น่าจะถูกเรียกว่า StealDVD มากกว่า" Greg Goeckner ผู้บริหารของ Motion Picture Association of America (MPAA) กล่าว
มีข้อพิพาทจากสำนักข่าว AP ที่ไล่ฟ้องบล็อกเกอร์หลายต่อหลายรายในอินเทอร์เน็ตจากการลิงก์ข่าวไปยังเว็บในเครือของเอพีและอ้างอิงเนื้อข่าวสั้นๆ โดยระบุว่าแม้จะเป็นการใช้เนื้อความเพียงสั้นๆ จากข่าวด่วนนั้นก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่อาจจะถือเป็นการใช้งานอย่างเป็นธรรม (Fair Use - ข้ออนุญาตให้ใช้งานที่มีสิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาต มีระบุไว้ในกฏหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ)
กรณีที่เกิดขึ้นนี้ AP ได้ยื่นขอความคุ้มครองให้มีการถอนบทความจากเว็บจำนวนเจ็ดเว็บ โดยในจำนวนนี้หกเว็บมีการใช้งานเนื้อข่าวของ AP อยู่ที่ 33 ถึง 79 คำ
หนึ่งในผู้ผลิตกล้อง DSLR รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Canon ได้ทำการจดสิทธิบัตรเทคโยโลยีใหม่ที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิของภาพถ่าย
โดยเทคโนโลยีนี้จะทำการอ่านม่านตาของตากล้องที่ได้ถ่ายรูปนั้นผ่าน Viewfinder จากนั้นก็จะทำการ Watermark ข้อมูลที่อ้างอิงได้จากม่านตานั้นใส่ลงไปใน Metadata ของทุก ๆ รูปภาพที่ตากล้องคนนั้นได้ถ่าย เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของเจ้าของภาพที่นำภาพของตนขึ้นสู่อินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีการ Watermark นั้นคาดว่าจะถูกนำมาใช้มากขึ้นในการแก้ไขปัญหาละเมิดลิขสิทธิ ก่อนหน้านี้ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่รายหนึ่งก็ได้ใช้วิธีเดียวกันโดยการ Watermark ข้อมูลต่าง ๆ ลงไปในไฟล์เพลง MP3
แม้ทางด้านสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐฯ (RIAA) จะมีท่าทีแข็งกร้าวต่อการแชร์เพลงผ่านอินเทอร์เน็ต สมาคมผู้แต่งเพลงของทางแคนาดากลับมีท่าทีที่สวนทางกัน ด้วยการร่างข้อเสนอในการเก็บค่าธรรมเนียมการแชร์เพลงผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
ด้วยข้อเสนอนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ต้องการแชร์เพลง จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นคนละ 5 ดอลลาร์ต่อเดือน และจะทำให้เขาสามารถแชร์เพลงได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ตราบใดที่ยังไม่มีการสร้างผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจจากการแชร์เพลงนั้น โดยค่าธรรมเนียมที่เก็บนี้จะกระจายไปตามผู้ถือสิทธิในตัวเพลง และศิลปิน
ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ซึ่งมีผลมาจาก Berne Convention) เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ จะเป็นของผู้สร้างอัตโนมัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แปรตามกฎหมายแต่ละประเทศ และชนิดของผลงาน แต่ส่วนมากก็ 50 ปีขึ้นไป) จากนั้นลิขสิทธิ์จะขาด กลายเป็นของสาธารณชน (public domain)
เรื่องนี้ถูกวิจารณ์มาเยอะว่าเป็นระยะเวลาที่นานไป คนอื่นต้องรอกันนานมากกว่าจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ได้ ปัญหามีอยู่ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นเท่าไรกันแน่ ที่จะดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของ และการให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ
บริษัทแอปเปิลกำลังเจอกับปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะถูกฟ้องร้องพร้อมกันถึงสองคดีโดยคดีแรกถูกช่างภาพอาชีพฟ้องในข้อหาขโมยภาพ Wall of Videos ของเขาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติซึ่งทางบริษัทแอปเปิลเอาไปใช้ในโฆษณาและส่วนอื่นๆของ Apple TV ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของเพลง "Girlfriend" ที่ไปคล้ายกับเพลงเก่าเพลงนึงและแอปเปิลเองก็กำลังจำหน่ายอยู่ใน iTunes ขณะนี้
บริษัท MediaDefender ซึ่งทำธุรกิจต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ให้กับสมาคมภาพยนตร์สหรัฐ (MPAA ที่เราคุ้นกันดี) ได้เปิดเว็บไซต์ชื่อว่า MiiVi ซึ่งโฆษณาว่าเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับผู้สนใจ
MiiVi ยังโฆษณาต่อด้วยว่าถ้าอยากดาวน์โหลดเร็วขึ้น จะต้องลงโปรแกรมพิเศษของทาง MiiVi ซึ่งโปรแกรมนี้จริงๆ มันทำหน้าที่ค้นหาไฟล์หนังอื่นๆ ในเครื่องเราแล้วรายงานกลับไปยัง MediaDefender
สุดท้ายมีคนจับได้โดยดูจากข้อมูล whois ของโดเมนเนม พบว่ามีชื่อ MediaDefender เป็นเจ้าของ หลังจากนั้นไม่นานชื่อ MediaDefender ถูกลบไปจาก whois แต่ที่อยู่ก็ยังเป็นของ MediaDefender อยู่
ตอนนี้ผมเข้าเว็บ MiiVi ไม่ได้แล้ว เห็นเป็นหน้าโฆษณาของ GoDaddy แทน แต่หน้าตาเว็บสามารถดูได้ตามลิงก์
สมมติว่าคุณเป็นพนักงานบริษัทและรู้เห็นว่าข้างในใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ถ้าคุณแจ้ง BSA ตอนนี้ มีสิทธิ์ได้รางวัลสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
BSA ตัดสินใจเพิ่มวงเงินรางวัลขึ้นไปเป็น 1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นให้คนแจ้งจับบริษัทตัวเองมากขึ้น แคมเปญนี้จะหมดเขตสิ้นเดือนตุลาคม จากนั้นเงินรางวัลสูงสุดจะลดลงเหลือ 2 แสนเหรียญ ต้องหมายเหตุว่าเงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลจะมาจากค่าเสียหายที่บริษัทต้องจ่ายให้กับ BSA สำหรับรางวัลแจ็กพ็อต 1 ล้านเหรียญนี้ มีเงื่อนไขว่าบริษัทจะต้องจ่ายให้ BSA 15 ล้านเหรียญขึ้นไป
ข้อมูลเมื่อปี 2005 ที่ผ่านมา BSA ได้เงินจากบรรดาบริษัทเหล่านี้ไป 22 ล้านเหรียญ
ช่วงนี้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์มีอยู่ทั่วไป โดยส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ให้บริการ Free Content ต่างๆเช่น Blog, Social Bookmark ก็เลยมีผู้ที่เริ่มเอาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันมาใช้
Social networking ชื่อดังยักษ์ใหญ่ทางฝั่งอเมริกา MySpace ออกมาพูดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้เพิ่มโปรแกรมตัวใหม่เข้าไป โดยเจ้าโปรแกรมตัวนี้ถูกออกแบบมาให้ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานโพสวีดิโอที่มีลิขสิทธิ์ซ้ำใหม่ได้ สมมุติถ้าเคยโพสแล้วโดนลบเพราะปัญหาลิขสิทธ์ไปแล้ว จะไม่สามารถโพสวีดิโออันเดิมซ้ำไปอีกได้ค่ะ หลายคนบอกว่านับเป็นการเริ่มต้นที่ดีของ MySpace ที่จะเริ่มจัดการสร้างระบบป้องกัน ตรวจสอบเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการปกป้องสิทธ์ของเจ้าของไฟล์วีดิโอ
หลังการจับมือกับโนเวลล์จนเป็นเรื่องเป็นราว ไมโครซอฟท์ยังไม่หยุดการร่วมมือด้านสิทธิบัตรกับผู้ขายลินุกซ์ โดยล่าสุดได้ประกาศความสำเร็จในการตกลงกับทาง Xandros ที่จะทำความตกลงในรูปแบบที่แทบจะเหมือนกับที่ทำกับทางโนเวลล์ทุกประการ
ความร่วมมือหลักๆ ระหว่างไมโครซอฟท์กับ Xandros นั้นคือ การปรับปรุงระบบการดูแลระบบให้ทำงานเข้ากันได้, การตรวจสอบโปรโตคอลต่างๆ ให้ทำงานร่วมกัน, ความเข้ากันได้ของโปรแกรมเอกสารต่างๆ, การรับประกันสิทธิบัตรจากไมโครซอฟท์ และการสนับสนุนการขายจากไมโครซอฟท์
FSF ปล่อยสัญญาอนุญาต GPLv3 ดราฟท์ที่สี่ออกมาแล้วในวันนี้ พร้อมกับระบุว่าดราฟท์นี้จะเป็นดราฟท์สุดท้ายก่อนที่จะปล่อยตัวจริงออกมาในช่วงสิ้นเดือนหน้า โดยข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในเวอร์ชั่นนี้คือความเข้ากันได้ระหว่าง GPLv3 กับ Apache License 2.0 ทำให้ซอฟท์แวร์ที่ใช้ GPLv3 จะสามารถรวมเอาโค้ดจากซอฟท์แวร์เสรีมาใช้งานได้มากขึ้นยิ่งกว่าเดิม
เกิดคดีขึ้นในประเทศฟินแลนด์เมื่อนาย Mikko Rauhala ได้สร้างเว็บที่อนุญาตให้มีการเผยแพร่โปรแกรมเพื่อการทำสำเนา DVD ผลคือถูกฟ้องว่าทำผิดกฏหมายลิขสิทธิของฟินแลนด์ที่ไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่วิธีการเจาะระบบป้องกันการทำสำเนาที่ยังได้ผลอยู่ (ในที่นี้คือ CSS)
หลังจากคดีเริ่มมาตั้งแต่ปี 2005 ตอนนี้ศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษาออกมาแล้วว่า CSS นั้นถือว่าเป็นการป้องกันที่ไม่มีผลอีกต่อไป เนื่องจากเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่าจะทำสำเนาแผ่น DVD ที่ป้องกันไว้ด้วย CSS ได้อย่างไรมาตั้งแต่ปี 1999 แต่คดีนี้ก็ยังมีโอกาสสำหรับผู้ฟ้องที่จะอุทธรณ์ได้ในอีกเจ็ดวันข้างหน้า
ที่น่าสนใจคือ AACS ของ HD DVD และ Blu-ray นั้นจะอยู่รอดไปอีกนานแค่ไหนก่อนที่จะเข้าข่ายแบบเดียวกัน
กลุ่มพันธมิตรทั้งค่ายหนังเพลงซอฟต์แวร์ รวมตัวกันเป็น Copyright Alliance มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ (หมายถึง DMCA ของสหรัฐ) ผมดูจากเอกสารคร่าวๆ แล้วน่าจะออกไปทางกลุ่มล็อบบี้ยิสต์ทางการเมืองนะ
ข้อมูลบนเว็บของ Copyright Alliance บอกว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นพันล้านเหรียญ และการใช้ fair use ในปัจจุบัน ถ้าตัดสินกันจริงๆ แล้วเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (เกินกว่า fair use) ซะเยอะ
สมาชิกของ Copyright Alliance ก็ประกอบด้วยขาใหญ่มากันครบ แยกเป็นหมวดๆ ดังนี้ครับ
หลายปีมาแล้วที่กูเกิลมีคดีกับ Perfect 10 บริษัทขายภาพนู้ดที่ฟ้องกูเกิลเนื่องจากบริการ Google Image Search มีการใช้ภาพ Thumbnail เพื่อแสดงผลการต้นหา ทำให้ทาง Perfect 10 ระบุว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพของบริษัท
งานนี้ศาลก็ประกาศคำตัดสินออกมาแล้วว่ากูเกิลไม่มีความผิดในคดีนี้แต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามในข้อหาที่ทางกูเกิลมีลิงก์ไปยังเว็บที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ทางกูเกิลไม่ยอมฟังคำร้องของทาง Perfect 10 นั้นศาลยังไม่ตัดสิน
ที่มา - ArsTechnica
กลุ่ม APRIL ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สในฝรั่งเศส ได้ส่งคำถามด้านนโยบายให้กับผู้สมัครประธานาธิบดีฝรั่งเศสจำนวน 12 คน มีคนตอบกลับมา 8 คน น่าสนใจตรงที่ผู้สมัครสองคนที่คะแนนนำ และรอตัดสินในการเลือกตั้งรอบสอง คือ Nicolas Sarkozy และ Ségolène Royal ได้ตอบมาด้วย
คำถามของ APRIL ครอบคลุมทั้งเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์, ซอฟต์แวร์เสรี, มาตรฐานเปิด, สิทธิบัตร และ DRM ผมคงไม่ยกคำตอบมาให้อ่านเพราะจะยาวมาก เอาเป็นว่าในภาพรวม ผู้สมัครส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดเสรี, ต่อต้าน DRM และเห็นว่ากฎหมายสิทธิบัตรต้องปรับปรุงยกใหญ่ สรุปว่าใครได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ถ้าดำเนินนโยบายด้านนี้ตามที่พูดก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Google ได้ออกมายอมรับและขอโทษในกรณีที่ทางบริษัทได้นำข้อมูลส่วนหนึ่งจาก Sohu.com ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งมาใช้พัฒนาโปรแกรมของตนเองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยข้อมูลส่วนที่ Google ได้นำมาใช้นั้นเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการอินพุตภาษาจีน (Google Pinyin Input Method Editor)
หลังจากมีปัญหาด้านข้อกฎหมายเกี่ยวกับชื่อของโปรแกรม GAIM กับ AOL มาเป็นเวลานาน ในที่สุด Luke Schierer ได้ประกาศใน mailing list ของ Gaim-i18n ว่าโปรเจค GAIM ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Pidgin IM และจะย้ายโปรเจคออกจาก sourceforge.net ไปที่ www.pidgin.im และ developer.pidgin.im แต่ในระหว่างนี้จะยังใช้ mirror ของ sorceforge ในการรีลีสอยู่
ทั้งนี้ libgaim ก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น libpurple และ gaim-text ก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น Finch อีกด้วย
ที่มา - Slashdot
Viacom เจ้าของช่องโทรทัศน์ MTV ยื่นฟ้อง YouTube เรียกค่าเสียหายจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์ (เทียบค่าเงินตอนนี้ ก็ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท) โดยข้อหาที่ Viacom เอามาเล่นงานคือบอกว่า YouTube มีคลิปที่ละเมิดสิทธิ์ของ Viacom จำนวน 160,000 คลิป และมีผู้เข้าชมมากกว่า 1.5 พันล้านครั้ง
กฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา อนุญาตให้เรียกร้องค่าเสียหายได้ตั้งแต่ 750 ถึง 150,000 ดอลลาร์ต่อการถูกละเมิด 1 ครั้ง
ที่มา - Mashable, TechCrunch
ขณะที่ข่าวลือเกี่ยวกับแนวคิดของไมโครซอฟท์ที่ต้องการครองทุกตลาดรวมถือตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธินั้นมีมานานแล้ว แต่ข่าวคราวทั้งหมดมักเป็นการพูดถึงบันทึกภายในที่ไม่มีใครเคยได้เห็นจริงๆ แต่ในงานสัมมนา Morgan Stanley Technology ปรากฏว่านาย Jeff Raikes ประธานฝ่ายธุรกิจของทางไมโครซอฟท์ ได้ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้คนใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ แม้จะเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ก็ตามที
ตั้งแต่ตั้ง Google News ขึ้นมาใหม่ๆ ก็นับว่าบริการนี้สร้างปัญหาทางกฏหมายให้กับกูเกิลหนักหนาพอสมควร เริ่มต้นตั้งแต่การฟ้องร้องของ AFP เมื่อสองปีก่อน จนวันนี้ศาลเมืองบรัสเซล ตัดสินให้ปรับกูเกิลเป็นเงิน 25,000 ดอลลาร์ต่อวันที่กูเกิลละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
กลุ่มผู้ฟ้องร้องในงานนี้คือ Copiepresse ซึ่งเป็นตัวแทนของหนังสือพิมพ์ในเบลเยียมกว่าสิบฉบับ โดยทางกลุ่มยังระบุอีกด้วยว่ากำลังดำเนินการกับทางยาฮูที่มีการนำข่าวไปใช้งานในเว็บ Yahoo! Groups
เป็นเรื่องปรกติที่เว็บวีดีโออย่าง YouTube จะมีการโพสต์วีดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์กันเนืองๆ แต่โดยปรกติแล้วทาง YouTube ก็จะลบวีดีโอนั้นแล้วเรื่องก็จบกันไป แต่คดีล่าสุดนี้ทาง FOX เคเบิลทีวีรายใหญ่ของอเมริกาได้ยื่นร้องต่อศาลเพื่อให้ออกหมายศาลขอข้อมูลผู้ใช้ของ YouTube ที่ชื่อว่า ECOtotal เนื่องจากผู้ใช้รายนี้ได้โพสต์ซีรี่ย์สุดฮิตของทาง FOX เรื่อง 24 ในวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา