มีคนพบข้อความในคำอธิบายของเซสชัน Sustained Gaming Performance in Multi-Core Mobile Devices ที่จะบรรยายโดยไมโครซอฟท์ ในงาน GDC 2015 ที่กล่าวว่า มือถือกับแท็บเล็ตรัน Windows 10 พร้อมซีพียูแปดคอร์และจีพียูทรงประสิทธิภาพจะมาในเร็วๆ นี้
หวังว่าเรือธงตัวถัดไปของ Lumia จะมากับซีพียูและจีพียูดังที่กล่าวไปนะครับ
ที่มา: GDC 2015 ผ่าน WMPoweruser
ซีพียูรหัส Broadwell ของอินเทลถือว่าผิดรอบการออกปีละครั้งด้วยปัญหาการผลิต และที่ผ่านมาอินเทลก็แก้เกมด้วยการออกเฉพาะซีพียูพลังงานต่ำ Core M มาเพียงอย่างเดียวก่อนตั้งแต่กลางปี ในขณะที่ซีพียูสายหลักคือ Core i3/i5/i7 ต้องล่าช้าไปอีกครึ่งปี มาออกในปี 2015 แทน
วันนี้อินเทลเปิดตัว Core i3/i5/i7 รุ่นที่ห้าที่พัฒนาจากสถาปัตยกรรมย่อย Broadwell แล้ว ของใหม่ที่สำคัญของ Broadwell คือใช้การผลิตระดับ 14 นาโนเมตร, สมรรถนะกราฟิกดีกว่าเดิม 37%, แบตเตอรี่อยู่ได้นานขึ้น 1.5 ชั่วโมง, รองรับจอ 4K, Wireless Display (WiDi) และเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดและท่าทาง Intel RealSense
สำนักข่าว CNET อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อระบุว่าเลอโนโวจะเปิดตัวโทรศัพท์มือถืออีกสองรุ่นในต้นปีหน้า โดยใช้ชิป Atom 64 บิต และโมเด็ม LTE-Advanced จากอินเทล แหล่งข่าวระบุว่ารุ่นหนึ่งจะผลิตเพื่อขายในจีนเป็นหลัก และอีกรุ่นหนึ่งจะผลิตเพื่อขายตลาดเกิดใหม่ (emerging market)
ในบ้านเราปีนี้เราคงเห็นโทรศัพท์ชิปอินเทลกันเป็นจำนวนมากจาก Zenfone แต่ในสหรัฐฯ อินเทลยังยึดตลาดได้ไม่มากนัก โดยเฉพาะรุ่น 4G ที่อินเทลออกโมเด็มมา มีเพียง Padfone X mini ที่ทำตลาดในสหรัฐฯ
Lenovo เคยทำโทรศัพท์ที่ใช้ชิปอินเทลมาแล้วครั้งหนึ่งคือรุ่นเรือธง K900 แต่ก็ไม่มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาอีก การกลับมาครั้งนี้น่าจะแสดงให้เห็นว่าอินเทลยังคงแข่งขันได้
Cherry Trail เป็นรหัสของ Atom รุ่นถัดไปที่ใช้แกน Airmont และเทคโนโลยีการผลิต 14 นาโนเมตร (Atom Moorefield รุ่นที่ขายอยู่ในปัจจุบันผลิตที่ 22 นาโนเมตร และใช้แกน Silvermont) เดิมทีอินเทลมีแผนจะออก Cherry Trail ช่วงปลายปีนี้ แต่ล่าสุดมันถูกเลื่อนเป็น "กลางปี 2015" แล้ว
ปัญหาหลักๆ ของอินเทลคงอยู่ที่การย้ายเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตรไปเป็น 14 นาโนเมตร แต่ก็ยังถือว่าเหนือกว่าค่าย ARM ที่เพิ่งเริ่มต้นผลิตระดับ 20 นาโนเมตรอยู่
ชิป ARM ที่ประสิทธิภาพดีขึ้นในช่วงหลังทำให้หลายคนเริ่มหวังว่าเราจะเห็นชิป ARM ในเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความฝันนี้คงยังห่างไกลเมื่อผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่อย่างอเมซอนกลับระบุว่า ARM ยังพัฒนาไม่เร็วพอ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงต้นทุนรวม
ประเด็นสำคัญ คือ ค่าพลังงานที่อินเทลยังคงสามารถตอบสนองได้ดีกว่า โดยผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่อย่างอเมซอนจำเป็นต้องคำนวณค่าใช้จ่ายในระยะยาวมากกว่าราคาต่อชิปเพียงอย่างเดียว
ARM มีข้อได้เปรียบที่มีชิปกินพลังงานต่ำมากแต่ประสิทธิภาพชิปก็ต่ำไปด้วย สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์ที่ต้องการประสิทธิภาพพลังงานดีๆ แล้วนำซีพียูไปแบ่งขายได้ ความได้เปรียบนี้คงไม่ช่วยให้ ARM บุกศูนย์ข้อมูลได้
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Ingenic Semiconductor ผู้ผลิตและพัฒนา semiconductor สำหรับสถาปัตยกรรม MIPS ในประเทศจีน ได้เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ นั่นคือซีพียู M200 และบอร์ดแพลตฟอร์ม Newton2
เราเห็นข่าวลือว่า LG ซุ่มทำหน่วยประมวลผลสำหรับมือถือในชื่อ Odin มานาน วันนี้ LG ทำเสร็จและเปิดตัวอย่างเป็นทางการสักทีครับ
หน่วยประมวลผลของ LG ใช้ชื่อว่า NUCLUN (อ่านว่า นูคลุน) ตัวซีพียูใช้สถาปัตยกรรม ARM big.LITTLE ประกอบด้วย Cortex-A15 1.5GHz สี่คอร์ และ Cortex-A7 1.2GHz อีกสี่คอร์ หน่วยประมวลผลแต่ละคอร์สามารถปรับสมรรถนะได้ตามโหมดการทำงาน
บนชิป NUCLUN ยังมาพร้อมกับโมเด็ม 4G LTE Advanced Cat 6 รองรับอัตราการดาวน์โหลดสูงสุด 225 Mbps ในตัวด้วย
ในงาน IFA เมื่อต้นเดือนกันยายน อินเทลได้เผยไม้เด็ดสู่อีกขั้นของการประหยัดพลังงานบนอุปกรณ์พกพาด้วยการเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ Core M ที่มีอัตรากินพลังงานต่ำมาก และตอนนี้เหล่าอุปกรณ์ที่ใช้ชิปรุ่นที่ว่าก็ใกล้เปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว
ว่ากันด้วยสเปคของ Core M เป็นชิปบนสถาปัตยกรรมขนาด 14 นาโนเมตรในรหัส Broadwell-Y ประสิทธิภาพเหนือกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 50% ในขณะที่ TDP ลดเหลือเพียง 5.3 วัตต์ (ใช้จริง 4.5 วัตต์ (เข้าใจว่าเป็น SDP)) ปล่อยความร้อนน้อยลง ทำให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบอุปกรณ์แบบไร้พัดลม และทำตัวเครื่องบางลงเหลือเพียง 9 มม. เท่านั้น
ประกาศแผนกันข้ามปี ที่งาน Intel Developer Forum 2014 อินเทลเผยข้อมูลของซีพียูรุ่นหน้ารหัส Skylake (ต่อจาก Broadwell) ว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในครึ่งหลังของปี 2015 ข้อมูลเท่าที่เปิดเผยคือมันจะใช้การผลิตที่ระดับ 14 นาโนเมตร (เท่า Broadwell) และจะเริ่มส่งชุดซอฟต์แวร์ให้นักพัฒนาทดสอบก่อนในช่วงครึ่งแรกของปี 2015
อินเทลยังโชว์ต้นแบบอุปกรณ์ 2-in-1 ที่ใช้ Skylake เดโมสดๆ ภายในงาน รันวิดีโอความละเอียด 4k อีกด้วย
อินเทลเปิดตัวซีพียูเซิร์ฟเวอร์ระดับกลาง Xeon E5 รุ่นที่สาม (v3) โดยเปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรม Haswell ตาม Xeon E3 v3 ที่เปิดตัวไปแล้ว และแบ่งเป็น 2 รุ่นคือ Xeon E5-2600 v3 กับ Xeon E5-1600 v3
Xeon E5-2600 v3 รหัส Grantley ถือเป็นซีพียูสายเซิร์ฟเวอร์ของอินเทลที่แรงที่สุดในปัจจุบัน (เพราะยังไม่มี Xeon E7 v3 ออกวางขาย) ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบ 2 ซีพียู (dual processor)
งาน IFA ปีนี้ผู้ผลิตพีซีออกโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่ใช้ซีพียู Core M มาหลายตัว เช่น Thinkpad Helix หรือ ASUS UX305 เมื่อคืนนี้ทางอินเทลก็เพิ่งเปิดตัวซีพียูตามมา (หลังจากประกาศมาตั้งแต่กลางปีและเปิดรายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อเดือนก่อน) โดยออกมาพร้อมกันสามรุ่น ได้แก่ M-5Y70, M-5Y10a, และ M-5Y10 นับเป็นพีซียูชุดแรกที่ใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตร
Allwinner ผู้ผลิตซีพียู ARM จากจีนเปิดตัว A83T ซีพียู Cortex-A7 8 คอร์ ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.0GHz ผลิตโดย TSMC ที่เทคโนโลยี 28 นาโนเมตร ใช้กราฟิกของ PowerVR และรองรับสถาปัตยกรรม big.LITTLE
ทาง Allwiner ระบุว่าจะมีแท็บเล็ตใช้ชิป A83T ออกวางตลาดภายในปลายปีนี้
ที่มา - @AllwinnerTech
Imagination เพิ่งเปิดตัวบอร์ดพัฒนา MIPS ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตอนนี้กลับมาใหม่ด้วยการเปิดตัวคอร์ซีพียู MIPS I6400 คอร์สถาปัตยกรรม MIPS64 ตัวล่าสุด โดยแต่ละคอร์เป็น dual-issue (ทำงานทีละสองคำสั่ง) ทำให้รันสองเธรดได้พร้อมกันคล้ายกับ hyperthreading ของอินเทล
ทางบริษัทแสดงตัวเลขประสิทธิภาพระบุว่า I6400 ประสิทธิภาพต่อคอร์ต่อสัญญาณนาฬิกาดีกว่าคู่แข่ง (ไม่ระบุว่าเป็นใครแต่ใช้สีเขียวเหมือนโลโก้ ARM) 30% ถึง 50% ขณะที่ตัวคอร์กินพื้นที่ซิลิกอนพอๆ กัน
อินเทลเปิดตัวซีพียู Haswell-E ที่ยังคงใช้สถาปัตยกรรมภายใน Haswell โดยเปิดตัววันที่ 29 ตามที่มีข่าวลือมาก่อนหน้านี้
Core i7-5960X เป็นซีพียูสายเดสก์ทอปตัวแรกที่มีจำนวนคอร์ถึง 8 คอร์มันทำงานที่สัญญานนาฬิกา 3.0GHz และเร่งไปได้ถึง 3.5GHz มีแคชภายในตัว L3 ถึง 20MB รองรับ PCIc 3.0 ความกว้าง 40X (ตรงกับข่าวลือก่อนหน้านี้เช่นกันและเท่ากับรุ่นสูงสุดของ IvyBridge-E ก่อนหน้านี้้) และรองรับแรม DDR4-2133 ค่าความร้อน TDP 140 วัตต์ ราคา 999 ดอลลาร์ เท่ากับ i7-4960X
ชิป Allwinner A80 เปิดตัวช่วงต้นปีและเริ่มส่งมอบเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตอนนี้ทาง Allwinner ก็ปล่อยเคอร์เนลลินุกซ์ออกมาแล้วผ่านทางเว็บ linux-sunxi โดยตัวเคอร์เนลเป็นรุ่น 3.4 พร้อมๆ กับ Android 4.4 SDK
ไดร์เวอร์หลายตัวเป็นไบนารี เช่น ไดร์เวอร์ NAND, MIPI, USB 3.0 ดังนั้นการพอร์ตไปใช้กับเคอร์เนลอื่น สำหรับการลงลินุกซ์ดิสโทรนอกจากแอนดรอยด์เช่น Ubuntu หรือ Fedora คงใช้เวลาพอสมควร
ที่มา - CNX Software
ออราเคิลออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับซีพียู SPARC M7 รุ่นล่าสุด ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก SPARC M6 ที่เปิดตัวเมื่อปีกลาย
ซีพียู SPARC M7 หนึ่งจะประกอบด้วยคอร์ S4 จำนวน 32 คอร์ โดยหนึ่งคอร์มีได้สูงสุด 8 เธร็ด, ซีพียูหนึ่งตัวรองรับแรมได้สูงสุด 2TB และเซิร์ฟเวอร์หนึ่งระบบใส่ได้สูงสุด 32 ซีพียู
ฟีเจอร์อื่นๆ ของ SPARC M7 คือ
ชุดคำสั่ง TSX ถูกเพิ่มเข้ามาในซีพียู Haswell หากซอฟต์แวร์รองรับ การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบมัลติเธรดจะง่ายขึ้นมาก แต่มีรายงานช่วงหลังว่าชุดคำสั่งนี้กลับทำให้ซอฟต์แวร์ล้มเหลว
อินเทลยอมรับว่าพบความผิดพลาดในวงจรคำสั่งในซีพียู Haswell ทั้งหมด รวมถึงซีพียู Broadwell ตัวแรกๆ ทางแก้ของอินเทลคือการปิดชุดคำสั่งนี้ด้วยการอัพเดตเฟิร์มแวร์
ชุดคำสั่ง TSX ยังมีใช้งานเฉพาะซีพียูสำหรับผู้ใช้ทั่วไปในตระกูล Core-i เท่านั้น สำหรับ Xeon ยังไม่มีวางตลาดออกมา ผลกระทบโดยรวมจึงน่าจะจำกัดอยู่ในหมู่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาไลบรารีขึ้นมาซัพพอร์ตชุดคำสั่งใหม่เป็นหลัก
ซีพียูรหัส Broadwell เลื่อนกว่ากำหนดมานานเกือบปีด้วยเหตุผลด้านการผลิต แต่ในที่สุดอินเทลก็ออกมาเผยข้อมูลของ Broadwell เป็นบางส่วน ก่อนจะเปิดเผยรายละเอียดแบบเต็มๆ ในงาน IDF 2014 เดือนกันยายน
Broadwell เป็นซีพียูในขา "tick" ของอินเทลตามยุทธศาสตร์ tick-tock โดยรอบนี้จะคงสถาปัตยกรรมซีพียูเดิมจาก Haswell (ปรับแต่งเล็กน้อย เปลี่ยนจากเดิมไม่เยอะ) แต่เปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตร มาเป็น 14 นาโนเมตรแทน
ของใหม่ใน Broadwell จึงแยกเป็นส่วนของเทคโนโลยีการผลิต และส่วนของสถาปัตยกรรมซีพียูครับ เริ่มจากเทคโนโลยีการผลิตกันก่อนเลย (ข่าวนี้ภาพเยอะหน่อยนะครับ)
อินเทลออกซีพียูใหม่ทั้งหมด 4 ซีรีส์ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม Core "Haswell" และกลุ่ม Celeron/Pentium ที่ใช้แกน "Bay Trail" ดังนี้
VIA ผู้ผลิตชิป x86 ที่เคยไปทำตลาดชิปประหยัดพลังงานก่อนหน้าอินเทลหลายปี (ก่อนอินเทลจะไปบุกตลาดด้วย Atom) ตอนนี้กลับมาสาธิตชิป Isaiah II ชิปรุ่นต่อไปน่าจะเปิดตัวช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้
ชิปรุ่นใหม่นี้ได้ทีมออกแบบจาก Centaur Technology ที่ทาง VIA ซื้อบริษัททมาร่วมงาน ตัวชิปเป็นแบบสี่คอร์ ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2 GHz
VIA แสดงผลทดสอบพลังประมวลผลในด้านต่างๆ ทั้งการประมวลเลขจำนวนเต็ม, ภาพมัลติมีเดีย, การเข้ารหัส, และการประมวลทางการเงิน ผลจากทาง VIA แสดงว่า Isaiah II อยู่ในระดับเดียวกับ AMD Athlon 5350 ที่ปล่อยความร้อนระดับ 25W TDP แรงกว่า Atom Z3770 อยู่หลายเท่าตัว แต่ผลทดสอบนี้ไม่ได้บอกว่า Isaiah II จะกินพลังงานระดับใด
AMD ออกมาประกาศแผนการระยะยาว "25x20" ว่าจะปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน (energy efficiency) ให้ดีขึ้น 25 เท่าตัวภายในปี 2020 ให้จงได้
AMD บอกว่าโลกยุคปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไอทีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของโลกในปี 2020 จะถูกใช้ไปกับอุปกรณ์ไอทีถึง 14% ทำให้วงการไอทีต้องกลับมาทบทวนเรื่องพลังงานใหม่ และถึงแม้ว่าอุปกรณ์ไอทีจะมีอัตราการประหยัดพลังงานดีขึ้นเรื่อยๆ (สถิติของ AMD APU เองระหว่างปี 2008-2014 คือดีขึ้น 10 เท่า) แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่พัฒนาเร็วไม่พอกับปริมาณการใช้งาน
ในงานเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ของอินเทล Core M ซึ่งเป็นชิปกินพลังงานต่ำมาก ได้โชว์ตัวแท็บเล็ตรุ่นต้นแบบที่นอกจากจะบางมากเพียง 7.2 มม. แล้ว ยังเป็นพีซีแบบไร้พัดลมอีกด้วย เมื่อเห็นแบบนี้แล้วใครๆ ต่างก็คงเตรียมถอยหนีเพราะคงสู้ราคาไม่ได้เป็นแน่ แต่หลายคนอาจต้องเปลี่ยนความคิด หลังจากที่อินเทลออกมาพูดถึงราคาของเจ้าพีซีตัวที่ว่านี้
เดือนที่แล้ว ARM นำเสนอจุดอ่อนของอินเทลที่มีปัญหาความเข้ากันได้, พลังงาน, และประสิทธิภาพเมื่อแปลงโค้ดจาก ARM ให้ไปรันบน x86 หนึ่งเดือนผ่านไป อินเทลก็ออกมาโต้ตอบแล้วครับ
อินเทลนำเสนอผลทดสอบคล้ายกับที่ ARM เสนอในงาน Techday โดยทดสอบแอพพลิเคชั่น 400 ตัวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในแต่ละหมวดบนชิป CloverTrail+ และ Android JellyBean (รายงานของ ARM ใช้ 25 แอพพลิเคชั่นจากแต่ละหมวด รวมสำรวจ 100 แอพ) และพบว่าไม่ว่าอุปกรณ์จะใช้ชิป ARM หรืออินเทลก็ล้วนมีปัญหาในการรันบางแอพพลิเคชั่นทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีเครื่องที่ใช้ชิปอินเทลนั้นแม้จะพบปัญหาบ้างแต่ก็ไม่มากนัก โดยอัตราการรันโดยไม่มีปัญหาอยู่ที่ระหว่าง 97% - 99%
AMD ใช้เวทีงาน Computex 2014 เปิดตัว APU รุ่นใหม่รหัส "Kaveri" สำหรับโน้ตบุ๊กสมรรถนะสูง (ก่อนหน้านี้ AMD เพิ่งออก APU รหัส Beema/Mullins สำหรับโน้ตบุ๊กประหยัดพลังงาน)
Kaveri รุ่นสำหรับโน้ตบุ๊ก มีฟีเจอร์ใกล้เคียงกับ Kaveri รุ่นเดสก์ท็อปที่เปิดตัวไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2014 เช่น
อินเทลประกาศชิปใหม่ที่งาน Computex ในชื่อว่า Core M เป็นชิปพลังงานต่ำมาก ใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตร โดยเครื่องต้นแบบหน้าจอ 12.5 นิ้วที่อินเทลแสดงในงานมีความหนาเพียง 7.2 มิลลิเมตรและหนัก 670 กรัมเท่านั้น
Intel Core M จะใช้สถาปัตยกรรม Broadwell ที่ยังไม่ได้เปิดตัวยกชุดเหมือนปีที่แล้ว แต่อินเทลเลือกเปิดตัวเฉพาะรุ่นโมบายออกมาก่อน
งานนี้คนที่เพิ่งซื้อ Macbook Air อาจจะต้องเตรียมทำใจ เพราะปกติ Macbook Air เป็นเครื่องรุ่นแรกๆ ที่อัพเกรดไปยังซีพียูรุ่นใหม่ของอินเทลก่อนแบรนด์อื่นๆ