ShopBack ประกาศรับเงินเพิ่มทุน 45 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1,400 ล้านบาท จากผู้ลงทุนหลักสองรายคือ EV Growth และ Rakuten Capital ทำให้ ShopBack ได้เงินเพิ่มทุนรวมแล้วถึง 83 ล้านดอลลาร์ โดยเงินทุนก้อนใหม่นี้จะนำมาใช้ปรับปรุงการใช้งานแอป การจัดการข้อมูล ตลอดจนใช้ในการบุกตลาดใหม่เพิ่มขึ้น
ShopBack เป็นสตาร์ทอัพที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ มีบริการหลักคือการให้เงินคืนเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์จากผู้ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งล่าสุด ShopBack ก็เริ่มขยายมาคืนเงินให้กับบริการแบบออฟไลน์บ้างแล้วในชื่อ ShopBack GO
ตัวเลขในปี 2018 ของ ShopBack มีจำนวนคำสั่งซื้อและยอดขายเติบโต 250% ใน 8 ประเทศหลักที่ดำเนินงานรวมทั้งประเทศไทย ยอดขายรวมกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ จากร้านค้ากว่า 2,000 ราย
Walmart ประกาศเป็นพาร์ทเนอร์กับ Google พัฒนาระบบ Walmart Voice Order ที่สามารถสั่งสินค้าของ Walmart ได้จาก Google Assistant บนทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นลำโพง, สมาร์ทโฟน, สมาร์ทวอช หรืออื่น ๆ เพื่อแข่งกับระบบสั่งสินค้าของ Amazon ที่ใช้ผ่าน Alexa
การร่วมมือครั้งนี้ จะคล้ายกับดีล Walmart-Google Express คือเมื่อลูกค้าสั่งสินค้าไปแล้ว ระบบจะเลือกสินค้าให้ลูกค้าเอง เช่น ถ้าสั่งซื้อนม ระบบจะตรวจสอบว่าก่อนหน้านี้สั่งนมอะไรไป ก็จะสั่งสินค้านั้นให้ซ้ำ โดยวิธีการเข้าใช้ระบบคือสั่ง OK Google, talk to Walmart
Adobe เปิดตัว Commerce Cloud แพลตฟอร์มจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทเข้าซื้อกิจการ Magento ซอฟต์แวร์ CMS สำหรับอีคอมเมิร์ซในราคาสูงถึง 1.68 พันล้านดอลลาร์
Commerce Cloud จะเป็นการผสานแลพตฟอร์ม Magento เข้ากับเครื่องไม้เครื่องมือของ Adobe ไม่ว่าจะเป็น Analytics Cloud, Cloud Marketing และ Cloud Advertising มีแดชบอร์ดจับตาดูความเคลื่อนไหวกลยุทธ์ของบริษัทว่าเป็นไปในทิศทางใด และถือเป็นครั้งแรกที่สามารถใช้ Commerce Cloud ดูกลยุทธ์บน Amazon ได้ด้วย โดยผู้ใช้ จะสามารถเลือกได้ว่าจะเอารายการสินค้าใดไปปรากฏในพื้นที่ของ Amazon รวมถึงราคา
ด้านแลพตฟอร์ม Magento เป็น CMS สำหรับสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบโอเพนซอร์ส พัฒนาด้วยภาษา PHP และได้รับความนิยมอย่างสูง มีชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่กว่า 300,000 ราย และมีพาร์ทเนอร์ภายนอกอีกราวพันราย
คนขายของออนไลน์เดี๋ยวนี้ใช้การไลฟ์ขายของเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มรายได้ เพราะลูกค้าจะได้เห็นสินค้าจริง เป็นการยืนยันอีกทางว่ามีสินค้า สื่อสารข้อมูลสินค้าได้เรียลไทม์ และเป็นความสนุกของคนซื้อ ที่ต้องคอนเฟิร์มการซื้อสินค้าให้ทันในกรณีที่เป็นสินค้าหายาก
ล่าสุด Lazada แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ก็พร้อมที่จะสนับสนุนผู้ขายไม่ว่ารายเล็กหรือใหญ่ ติดอาวุธสู่สุดยอดธุรกิจออนไลน์ (Super eBusiness) ด้วยฟีเจอร์ไลฟ์สตรีม ซึ่งเปิดตัวในประเทศไทยเป็นที่แรก เมื่อพฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา จากสถิติพบว่า วิดีโอที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีจำนวนไลค์กว่า 1.2 ล้านครั้ง ภายใน 1 ชม. ในช่วงเทศกาล 12.12 มีคนไทยกว่า 2 ล้านคน รับชมลาซาด้า ไลฟ์สตรีม และหนึ่งในผู้ค้าที่ใช้ฟีเจอร์ไลฟ์สตรีม ซึ่งประสบความสำเร็จสูงสุด มียอดขายเติบโตขึ้นจากเดิมกว่า 50 เท่า
Office Depot ร้านจำหน่ายอุปกรณ์สำนักงานรายใหญ่ในอเมริกา ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Alibaba โดยมีเป้าหมายช่วยให้ธุรกิจรายเล็กในอเมริกา เข้าถึงการซื้อขายสินค้าระดับลูกค้าองค์กรกับจีนได้สะดวกมากขึ้น (B2B - Business-to-Business)
โดยในช่วงแรกนั้นทั้ง Office Depot และ Alibaba จะสร้างเว็บอีคอมเมิร์ซร่วมกัน เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจในอเมริกาสามารถเข้าถึงสินค้า หรือสั่งผลิตสินค้าได้ง่ายขึ้น ส่วนเป้าหมายสำคัญที่ทำให้สองบริษัทนี้ร่วมมือกันคือระบบการจัดส่งสินค้า ซึ่ง Office Depot ก็จะได้ใช้ประโยชน์การส่งสินค้าระหว่างอเมริกากับจีนจาก Alibaba ขณะที่ Alibaba ก็ได้เครือข่ายการส่งของ Office Depot ด้วย เนื่องจากมีบริการ Next-Day อยู่แล้ว
เราคงคุ้นเคยกับบริการส่งด่วน Amazon Prime กันแล้ว ล่าสุด Amazon ต่อยอดบริการนี้ไปอีกขั้นด้วย Amazon Day ที่สามารถล็อคได้ด้วยว่าให้ส่งวันไหน
Amazon Day เหมาะกับคนที่มีเวลาว่างแน่นอน เช่น หยุดทุกวันเสาร์ ก็สามารถระบุวันให้ Amazon รับทราบ เพื่อที่ Amazon จะได้จัดการส่งสินค้าทั้งหมดที่เราสั่งไปในสัปดาห์นั้น รวมมาส่งพร้อมกันในวันเสาร์เลย แถมในหลายกรณียังรวมมาในกล่องเดียวเพื่อให้ประหยัดทรัพยากรด้วย
สมาชิก Amazon Prime ในสหรัฐ สามารถใช้บริการ Amazon Day ได้ทันที โดยเข้าไปตั้งค่าวันที่สะดวก และสามารถเลือกสั่งของให้ส่งแบบปกติ (ส่งทันทีไม่สนใจวัน) ได้เช่นกัน
Amazon ประกาศเลิกขายปุ่มสั่งของทันใจ Amazon Dash ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2015 โดยให้เหตุผลว่าสภาพตลาดเปลี่ยนไป ลูกค้าสามารถสั่งของทันใจได้ผ่านอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ อย่างลำโพง Echo หรือปุ่ม Dash เสมือนบนแอพของ Amazon แทน
ปุ่ม Dash Button ที่ซื้อไปแล้วยังใช้งานได้ดังเดิม และโครงการเติมสินค้า Dash Replenishment ก็ยังคงอยู่ สิ่งที่เปลี่ยนมีแค่ปุ่ม Dash จะไม่มีวางขายอีกแล้ว
FTC หรือคณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ ได้ประกาศจัดการกรณีจ่ายเงินเพื่อให้ทำรีวิวปลอมให้สินค้าบนเว็บไซต์ Amazon รวมถึงมีการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เกินจริง ซึ่งถือเป็นกรณีแรกที่ FTC ลงมาจัดการเอง
กรณีที่ FTC จัดการนี้ เป็นของ Cure Encapsulations Inc. และเจ้าของ Naftula Jacobowitz ซึ่งบริษัทนี้ได้วางขายสินค้าบน Amazon โดยบริษัทนี้ได้จ่ายเงินให้เว็บไซต์ amazonverifiedreviews.com ทำการเขียนและโพสต์ฟีดแบคแบบปลอม ๆ ให้สินค้าลดน้ำหนัก
Rakuten เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่นประกาศความร่วมมือกับ JD.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจากจีน เพื่อพัฒนาโซลูชั่นระบบขนส่งโดยไม่ต้องใช้คนร่วมกันในประเทศญี่ปุ่น
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ Rakuten จะนำประสบการณ์ขนส่งสินค้าผ่านโดรนในญี่ปุ่น และโซลูชั่นด้านไอทีของบริษัท มาแชร์กับ JD.com ที่มีประสบการณ์ด้านโดรนและกลุ่มพาหนะแบบไม่ต้องใช้คนบังคับ (unmanned group vehicles หรือ UGV) ในจีน เพื่อพัฒนาบริการขนส่งสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนของ Rakuten ให้ใช้งานได้หลากหลายสถานการณ์
มีรายงานว่า Amazon กำลังเจรจาเพื่อควบรวมส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบว่า Amazon ก็มีธุรกิจที่นั่น กับ Kaola เว็บอีคอมเมิร์ซจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในเครือ NetEase ของจีน
Kaola เปิดให้บริการในปี 2015 และเป็นอีคอมเมิร์ซจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และใหญ่กว่าส่วนสินค้านำเข้าทั้ง Tmall ของ Alibaba และ JD Worldwide ของ JD.com
นักวิเคราะห์มองว่าดีลนี้ถือว่าได้ประโยชน์ร่วม เพราะ Kaola ก็จะได้ประโยชน์จากการจัดหาสินค้าต่างประเทศมาจำหน่ายมากขึ้นผ่านหุ้นส่วนอย่าง Amazon
คนไทยอาจยังไม่คุ้นชื่อ Zilingo มาก แต่อาจคุ้นๆ โฆษณาอีคอมเมิร์ซใหม่ที่ได้ ใหม่ ดาวิกา เป็นพรีเซนเตอร์ ที่ช่วงนี้รุกการตลาดในไทยหนักมาก
Zilingo คือสตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซสิงคโปร์ ที่ล่าสุดระดมทุนได้เพิ่ม 226 ล้านดอลลาร์ และเตรียมจะรุกหนักขึ้นในตลาดแฟชั่น โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยจากคำพูดของคนใกล้ชิดกับบริศัทระบุว่ามูลค่าบริษัท Zilingo มี 970 ล้านดอลลาร์แล้ว
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อินเดียได้ออกกฎหมายห้ามอีคอมเมิร์ซขายสินค้าที่ตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งส่งผลกระทบเต็ม ๆ กับ Amazon และ Flipkart (ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Walmart) จึงทำให้ทั้งสองบริษัทต้องนำสินค้าจากบริษัทที่ตัวเองมีส่วนในการลงทุนออกจากร้านค้าออนไลน์ทันที
Lazada ในฐานะเว็บอีคอมเมิร์ซที่สิงคโปร์ ประกาศรวม RedMart แพลตฟอร์มซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ จัดส่งสินค้าภายในวันเดียวกัน ที่ซื้อกิจการมาเมื่อปี 2016 เข้ามาอยู่ใน Lazada มีผลตั้งแต่ 15 มีนาคมนี้เป็นต้นไป โดยผู้ใช้ RedMart ที่เดิมอยู่ในฐานะแอปแยก จะต้องเข้ามาซื้อผ่าน Lazada แทน
Lazada ซื้อกิจการ RedMart ไปเมื่อปี 2016 ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผยเป็นทางการ แต่คาดอยู่ราว 30-40 ล้านดอลลาร์ และให้แอปแยกดำเนินงานอิสระ อย่างไรก็ตามหลังการรวมแอปเข้ามา Lazada บอกว่ากระบวนการจัดส่งสินค้าหลังบ้านของ RedMart จะยังคงแยกดำเนินงานกับ Lazada ต่อไป
Xiaomi เปิดตัว ShareSave แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อสินค้าของแบรนด์ Xiaomi และพาร์ทเนอร์สาย IoT จำนวนมากผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ โดยชูจุดเด่นเรื่องความเป็นโซเชียล ช่วยกันซื้อเยอะๆ ทุกคนจะได้ของในราคาถูกลง
ShareSave มีโมเดลย่อย 3 แบบ
Xiaomi ยังบอกว่าสินค้าในเครือของตนเองจำนวนมาก ไม่ถูกนำมาขายนอกจีนเพราะติดข้อจำกัดหลายอย่าง แต่สินค้าเหล่านี้จะถูกนำมาขายผ่านช่องทาง ShareSave โดยยังคงบริการหลังการขายให้ด้วย
Bukalapak สตาร์ทอัพสายอีคอมเมิร์ซ ที่เป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดของอินโดนีเซียที่เพิ่มทุนจนทำให้มีมูลค่ากิจการสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นเมื่อปีที่แล้ว ต่อจาก Tokopedia, Go-Jek และ Traveloka โดยล่าสุดบริษัทได้ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ D เพิ่มอีก 50 ล้านดอลลาร์ จากกองทุน Mirae Asset-Naver Asia Growth ที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง กองทุน Mirae Asset และ Naver จากเกาหลีใต้
รายชื่อผู้ลงทุนก่อนหน้านี้ใน Bukalapak ก็มีทั้ง Ant Financial บริษัทการเงินเครือ Alibaba, Emtek ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในอินโดนีเซีย และกองทุน GIC ของประเทศสิงคโปร์
กลายเป็นธรรมเนียมของช่วงเทศกาลวันหยุดที่ Amazon จะออกมาเปิดเผยสถิติยอดขายและครั้งนี้ก็เช่นกัน โดยในช่วงก่อนคริสต์มาสที่ผ่านมา Amazon เผยว่ามียอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มีลูกค้าสมาชิก Prime เพิ่มขึ้นนับล้านราย
Amazon ชี้ว่าที่สมาชิก Prime เพิ่มขึ้นเป็นเพราะโปรโมชั่นส่งของเร็วใน 1 วัน และส่งฟรี 2 ชั่วโมงในสมาชิกแบบ Prime Now เฉพาะในสหรัฐฯ มีการจัดส่งสินค้าฟรีใน 1 วันนับล้านรายการ
Rakuten Intelligence บริษัทสำรวจวิจัยตลาดอิสระของ Rakuten อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ญี่ปุ่น เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ในอเมริกาช่วงเทศกาลวันหยุดที่ผ่านมา พบว่าการจัดส่งได้รวดเร็วและตรงเวลา กลายเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นสำหรับผู้ซื้อ
ข้อมูลพบว่าเว็บไซต์ค้าปลีกดั้งเดิมอย่าง Walmart หรือ Target ทราฟิกจะเพิ่มสูงสุดในวันที่ 10 ธันวาคม หรือประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนวันคริสต์มาส ขณะที่ Amazon ทราฟิกสูงในวันที่ 18 ธันวาคม เนื่องจากผู้ซื้อเชื่อว่าสั่งของ Amazon ไม่กี่วัน ก็ยังได้สินค้าทันเทศกาลวันหยุด แต่ถ้าเป็นค้าปลีกรายอื่นต้องเผื่อเวลามากกว่านั้น
ผ่านมาสามปีหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย Shopee หนึ่งในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยได้ประกาศเก็บค่าธุรกรรมบัตรเครดิตและเดบิตจากผู้ขายในอัตรา 1.5% ของยอดขายแล้ว โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
Lazada ประกาศสถิติของเทศกาลลดราคาตั้งแต่ช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน (11.11) จนถึง 12 ธันวาคม (12.12) มีผู้เข้าชมเว็บไซต์รวมมากกว่า 1,300 ล้านครั้ง และเฉพาะวันที่ 12.12 ยอดขายสุทธิวันนั้นสูงกว่ายอดขายปกติมากกว่า 30 เท่าตัว
ในด้านการดำเนินงาน Lazada บอกว่าเป็นครั้งแรกที่มีการจัดส่งสินค้ามากกว่า 1 ล้านชิ้นภายในวันเดียว (Lazada ให้บริการใน 6 ประเทศ - อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และไทย) โดย Lazada มีพาร์ทเนอร์ในการจัดส่งสินค้ามากกว่า 100 ราย รวมทั้งมีการเช่าเหมาลำเครื่องบิน 3 ลำ เพื่อจัดส่งสินค้ามายังอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และไทย ในช่วงเทศกาล
Lazada ประกาศเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูง โดยซีอีโอ Lucy Peng ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Alibaba และรับตำแหน่งซีอีโอเมื่อต้นปี จะเปลี่ยนไปเป็นประธานบอร์ดบริหาร โดยมี Pierre Poignant หนึ่งในบอร์ดบริหารปัจจุบันมารับตำแหน่งซีอีโอแทน
Poignant ร่วมงานกับ Lazada ตั้งแต่ปี 2012 มีประสบการณ์รับผิดชอบงานหลายส่วน ทั้งซีโอโอ, ส่วนบริการลูกค้า, ซัพพลายเชน และการผลิตเนื้อหา
ปัจจุบัน Alibaba ถือหุ้นใน Lazada อยู่มากกว่า 90% โดยแบรนด์ Lazada ให้บริการใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และไทย
Tokopedia อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ประกาศรับเงินเพิ่มทุนอีก 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือราว 36,000 ล้านบาท นำโดยกลุ่มนักลงทุนประกอบด้วย SoftBank Vision Fund, Alibaba และกลุ่มนักลงทุนเดิม
เมื่อปีที่แล้ว Tokopedia ก็ได้รับเงินทุนขนาดเท่ากันจาก Alibaba โดยสำหรับรอบนี้ Tokopedia บอกว่าจะนำเงินทุนก้อนใหม่นี้ มาลงทุนในเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานในอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนระบบอีคอมเมิร์ซ, การขนส่งสินค้า ไปจนถึงระบบการชำระเงิน
ที่เงินเพิ่มทุนดังกล่าว มีรายงานว่าทำให้ Tokopedia มีมูลค่ากิจการพุ่งสูงกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ และทำให้ Tokopedia เป็นสตาร์ทอัพรายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย (ก่อนหน้านี้คือ Traveloka และ Go-Jek)
ตู้ล็อกเกอร์สำหรับการส่งพัสดุได้รับความนิยมอย่างมากในหลายประเทศ ที่ผ่านมามักเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ชพยายามนำตู้ล็อกเกอร์ไปวางตามจุดต่างๆ กันเอง แต่ในสิงคโปร์รัฐบาลพยายามผลักดันให้สร้างแพลตฟอร์มกลางที่ทุกเจ้าสามารถใช้ตู้ล็อกเกอร์ร่วมกันได้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้แพลตฟอร์มก็เปิดใช้งานจริงแล้วในชื่อ Locker Alliance
ช่วงทดสอบตอนนี้ยังเปิดให้บริการเฉพาะแถบที่อยู่อาศัยสองย่าน คือ Bukit Panjang และ Punggol พร้อมกับสถานีรถไฟฟ้าอีก 8 สถานี โดยมีเว็บอีคอมเมิร์ชเข้าร่วม 5 ราย ได้แก่ ESPRIT, Lazada, Saturday Club, Style Theory, และ Taobao
JD.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในจีนประกาศร่วมมือกับอินเทล เตรียมตั้งแล็บวิจัยโดยเน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยี smart retail โดยจะนำ IoT เข้ามาใช้เพื่อการค้าปลีก
แล็บร่วม JD.com และอินเทลนี้จะเน้นพัฒนาเครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ, โซลูชั่นด้านสื่อและการโฆษณา กับเทคโนโลยีที่จะใช้ในร้านค้า อย่างเช่น ชั้นวางของและป้ายราคาอัจฉริยะ, โซลูชั่นการเช็คเอาท์ เป็นต้น ซึ่งอินเทลจะเป็นผู้ช่วยในด้านเทคโนโลยีการคำนวณ ส่วน JD.com จะเน้นเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล
JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่เบอร์สองของจีน ประกาศความร่วมมือกับ Mitsubishi Chemical ของญี่ปุ่น เพื่อสร้างโรงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจีน พื้นที่ 11,040 ตารางเมตร สำหรับจำหน่ายบนแพลตฟอร์มของ JD.com
โดยโรงเพาะปลูกนี้เป็นการปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ในระบบปิด ซึ่งไม่ใช้ดิน และนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาดูแลจัดการ ซึ่งการที่ JD.com เป็นผู้จัดจำหน่าย ได้เข้ามาควบคุมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำนี้ ทำให้สามารถดูแลคุณภาพสินค้าได้ว่าปลอดภัย มีโภชนาการ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผักจากโรงเพาะปลูกนี้จะจำหน่ายผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ของ 7FRESH ซูเปอร์มาร์เก็ตของ JD
เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรที่ว่าด้วยการชำระเงินภาษีผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรตรวจสอบเมื่อบุคคลและนิติบุคคลมีความเคลื่อนไหวทางบัญชีรับโอน และฝากเงินเกิน 3,000 ครั้งต่อปีหรือ ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 400 ครั้งยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป
ในที่ประชุมได้ลงมติในวาระ 3 มีผู้แสดงตนต่อที่ประชุม 146 คน ลงมติเห็นชอบ 139 เสียง และงดออกเสียง 7 เสียง