เรารู้กันว่าเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ชั้นดี แบรนด์อย่าง BMW, Mercedes-Benz, Audi ฯลฯ ต่างก็ได้รับการยอมรับในระดับโลกมาอย่างยาวนานทั้งสิ้น ซึ่งรถยนต์เหล่านี้ก็เป็นความภูมิใจของชาวเยอรมันเองด้วย แต่เทรนด์ของโลกที่กำลังมุ่งหน้าไปหารถยนต์ไฟฟ้า ทำให้น่าสนใจว่าตลาดเยอรมนีมีการตอบรับมากแค่ไหน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในเยอรมนีเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะแซงหน้านอร์เวย์ที่เป็นผู้นำของยุโรปมานานขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลกภายในปีนี้ ตามหลังจีนและสหรัฐอเมริกาที่รั้งอันดับ 1 และ 2 โดยเหตุผลหนึ่งที่รถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมมากขึ้นคือเหตุฉาวของ Volkswagen ที่เคยโดนจับได้ว่าโกงผลทดสอบมลพิษในปี 2015
องค์กรสิทธิผู้บริโภคในเยอรมันเผยว่า ศาลเยอรมันตัดสิน Facebook ละเมิดกฎการป้องกันข้อมูลส่วนตัว ด้วยการตั้งค่าให้ผู้ใช้ระบุชื่อนามสกุลจริงเป็นค่าเริ่มต้น
กฎหมายการป้องกันข้อมูลของเยอรมันระบุว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทสามารถบันทึกและนำไปใช้ภายใต้ข้อตกลงที่ชัดเจนจากแต่ละบุคคล แต่ศาลตัดสินว่า การให้ผู้ใช้ต้องให้ชื่อจริงเป็นค่าเริ่มต้นนั้นเป็นความล้มเหลว เพราะไม่ได้เสนอทางเลือกให้ผู้ใช้ได้รู้เลยว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้อย่างไร
ผู้พิพากษาตัดสินว่า Facebook มีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่ละเมิดกฎ เช่น การแชร์ข้อมูลตำแหน่งกับคู่สนทนา หรือการสร้างโปรไฟล์ให้ search engine ภายนอกสามารถค้นหาได้ ข้อกำหนดการใช้งานจำนวน 8 ย่อหน้าของ Facebook ก็ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะประเด็นการเรียกร้องให้ผู้ใช้ใช้ชื่อจริง ศาลระบุอีกว่า สโลแกน "Facebook นั้นให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ฟรี และมันจะเป็นเช่นนั้น" (Facebook is free and always will be) ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะสิ่งที่ผู้ใช้ต้องจ่ายคือข้อมูล ไม่ใช่เงิน
Facebook อาจต้องเสียค่าปรับถึง 250,000 ยูโร หรือ 306,000 ดอลลาร์ แต่ Facebook ระบุว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อไป
ในที่สุด ประเทศยักษ์ใหญ่ด้าน eSports อย่างเยอรมันก็ได้ผลักดันการยอมรับ eSports ให้เป็นกีฬาอย่างเป็นทางการได้สำเร็จ โดยเกิดขึ้นจากการร่วมมือบรรลุข้อตกลงระหว่างพรรค CDU/CSU และ SPD ของเยอรมัน การตัดสินใจครั้งนี้จะช่วยพัฒนาด้านต่างๆ ของ eSports ภายในประเทศ และ ช่วยผลักดันการนำ eSports บรรจุลงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
ข้อตกลงดังกล่าวสำเร็จขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากมีการจัดตั้งสมาคม eSports แห่งเยอรมันไป หรือ the eSport-Bund Deutschland (ESBD)ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
เยอรมนีผ่านกฎหมาย Network Enforcement Act ไปเมื่อกลางปี 2017 หากโซเชียลมีเดียไม่ยอมลบข้อความ Hate Speech ภายใน 24 ชั่วโมงจะต้องถูกปรับสูงสุด 60 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดกฎหมายดังกล่าวมีผลแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018
กฎหมายระบุว่าโซเชียลมีเดียซึ่งมีผู้ใช่งานเกิน 2 ล้านคน เมื่อมีเนื้อหาที่ถูกรายงานว่าเป็น Hate Speech แล้วไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องถูกปรับถึง 60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่เพียงมีผลต่อ Facebook, Twitter, Google แต่รายเล็กอย่าง Reddit, Tumblr, Vimeo, Flickr ก็ได้รับผลกระทบด้วย
ร้านค้าออนไลน์ทำงานกันอย่างหนักหน่วงในวัน Black Friday เพื่อจัดส่งสินค้าให้ทันต่อความต้องการลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในวันเดียว พนักงานโกดังสินค้าเป็นหนึ่งในส่วนงานที่ต้องทำงานหนักอย่างมาก ล่าสุดพนักงานโกดัง Amazon ในอิตาลีและเยอรมันกว่าพันคนประท้วงหยุดงานเพราะให้ทำงานเกินเวลาส่งผลต่อสุขภาพ
Federal Network Agency จากเยอรมนีเตรียมแบนสมาร์ทวอชสำหรับเด็ก รวมถึงแนะนำให้ผู้ปกครองที่ซื้อสมาร์ทวอชสำหรับเด็กไปแล้วทำลายอุปกรณ์ทิ้ง เนื่องจากเป็นความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวที่อาจถูกคุกคามได้จากอุปกรณ์เหล่านี้
ช่วงหลังมานี้อุปกรณ์สวมใส่สำหรับเด็กเริ่มเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น แต่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มี GPS ที่สามารถระบุตำแหน่งได้ และอาจถูกแฮกได้ง่ายจากบุคคลภายนอก
เทศบาลเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี เคยสร้างชื่อจากการย้ายระบบมาใช้ลินุกซ์เมื่อหลายปีก่อน และเป็นต้นแบบของการใช้งานโอเพนซอร์สในภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม มิวนิคกำลังจะย้ายกลับมาใช้ Windows 10 โดยมีเป้าหมายว่าจะต้องย้ายเสร็จในปี 2020
เหตุผลสำคัญมาจากผู้ใช้งานต้องการซอฟต์แวร์บางตัวที่มีเฉพาะบนวินโดวส์เท่านั้น ถึงแม้ทางทีมงานจะหาวิธีแก้ไข (workaround) แต่ก็ไม่สามารถใช้งานได้ทุกกรณี และไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ทางสภาเทศบาลจึงเตรียมโหวตอนุมัติแผนการย้ายกลับมาใช้ Windows 10 ในวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้
ปัจจุบัน 40% ของเจ้าหน้าที่ 30,000 คนใช้เครื่องที่เป็นวินโดวส์อยู่แล้ว และแผนการย้ายครั้งนี้จะย้ายเครื่องที่เหลือทั้งหมดมาเป็นวินโดวส์
ซัมซุงเยอรมนี เปิดตัวโครงการสมาร์ทโฟน Enterprise Edition โดยจะมีขายทั้ง Galaxy S8 และ Galaxy Note 8 ภายใต้โครงการนี้
ความแตกต่างจากรุ่นปกติเป็นเรื่องของการซัพพอร์ตและการันตีการอัพเดตเฟิร์มแวร์ ส่วนช่องทางการขายก็ต้องซื้อผ่านช่องทางแบบองค์กร ไม่มีขายปลีกทั่วไป
เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรัฐ Hesse ทางตอนกลางของประเทศ (เมืองที่เรารู้จักกันดีในรัฐนี้คือ Frankfurt am Main) ได้ร่วมกับบริษัท Siemens ทดลองสร้าง eHighway เพื่อให้รถบรรทุกสามารถสลับไปวิ่งด้วยไฟฟ้าล้วนได้ เพื่อลดมลภาวะที่ปล่อยออกสู่อากาศ
งานนี้เป็นหนึ่งในสุดยอดงานมหกรรมเกมระดับโลกที่นำโดยยุโรป จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม Merkel เข้าเยี่ยมชมบูธ Xbox ของ Microsoft ซึ่งกำลังปล่อย demo ของ Minecraft ที่เป็น Education Edition ที่สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนไปทั่วโลก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ได้ในหลากหลายสาขา ทั้งวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม ฯลฯ
Continental ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สัญชาติเยอรมันประกาศเตรียมทดสอบ The CUbE (Continental Urban Mobility Experience) รถ Robo-Taxi หรือรถบัสขนาดเล็กไร้คนขับ ซึ่ง the Cube เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติสาธารณะ สำหรับการใช้งานตามชานเมืองในลักษณะ Shared Economy ของ Continental
ตอนนี้ The Cube จัดอยู่ในรถยนต์ไร้คนขับระดับ 2 เช่นเดียวกับรถของ Tesla คือต้องมีคนนั่งหลังพวงมาลัยตลอดเวลา โดยทาง Continental อาศัยความรู้ด้านฮาร์ดแวร์จากการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ทั้ง เซ็นเซอร์, หัวฉีด, หน่วยควบคุม หรือแม้แต่เทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์คบนรถ ให้กับผู้ผลิตรถยนต์เจ้าต่างๆ
ลีกฟุตบอลบุนเดสลีกาของเยอรมนี เริ่มนำระบบวิดีโอช่วยตัดสินหรือ Video Assist มาใช้ในการแข่งขันแล้ว
รูปแบบการใช้งานจะคล้ายกับลีกกีฬาของสหรัฐอเมริกา โดยจะมีทีมงานที่รีเพลย์มุมกล้องจากวิดีโอ (มีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที่เมืองโคโลญในเยอรมนี) และสื่อสารกับผู้ตัดสินในสนามผ่านไมโครโฟน ผู้ตัดสินจะยังเป็นผู้ตัดสินใจชี้ขาดเหมือนเดิม แต่สามารถขอคำปรึกษาจากทีม Video Assist หรือขอดูภาพรีเพลย์ที่ข้างสนามได้
ในการแข่งขันบุนเดสลีกา นัดเปิดสนามของฤดูกาล 2017-2018 เมื่อคืนนี้ ระหว่าง Bayern Munich กับ Bayer Leverkusen ก็มีเหตุให้ระบบ Video Assist ถูกใช้งานเป็นครั้งแรก ในการรีเพลย์ดูภาพที่เป็นจุดโทษภายในเกม
ฝรั่งเศสและเยอรมนีเตรียมหาช่องทางให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Apple, Facebook และ Amazon ควรจะเริ่มจ่ายภาษีอย่างเท่าเทียมกัน หลังจากที่ผู้นำประเทศในแถบยุโรปเริ่มสับสนว่าบริษัทเหล่านี้หาผลประโยชน์อย่างไรและการเก็บภาษีก็เริ่มเป็นประเด็นในยุโรปมากขึ้นหลังจากที่บริษัทขนาดใหญ่ๆ มักจะมาตั้งสำนักงานใหญ่ในไอร์แลนด์และลักเซมเบิร์กเพราะมีอัตราภาษีต่ำ
Berliner Morgenpost เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์สัญชาติเยอรมัน เปิดเว็บไซต์แบบ Interactive เทียบขนาดของภูเขาน้ำแข็ง "ลาร์เซน ซี" ที่กำลังแตกตัวจากทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งภูเขาน้ำแข็งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้
ด้วยความหนา 200 เมตรและกินพื้นที่ 6,000 ตร.กม. ผู้เขียนลองลากกราฟิกมาวางไปเหนือกรุงเทพฯ พบว่ามันมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่นี้เสียอีก! (กรุงเทพฯ มีพื้นที่ 1,569 ตร.กม.)
การแตกตัวนี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ หลังเฝ้าดูรอยร้าวบนชั้นน้ำแข็งนี้มากว่า 10 ปี ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ ภูเขาน้ำแข็งจะแตกตัวออก และลอยตามกระแสลมขึ้นไปทางเหนือจนเป็นอันตรายต่อการเดินเรือขนส่ง
ในขณะที่บ้านเรากำลังพยายามควบคุมสื่อภายใต้ OTT สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐสภาเยอรมนีเพิ่งผ่านกฎหมายฉบับใหม่ที่ชื่อว่า Netzwerkdurchsetzungsgesetz หรือ Network Enforcement Act ซึ่งมีลักษณะในการจัดการกับสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ไม่ยอมลบข้อความ Hate Speech หรืออะไรก็ตามที่ผิดกฎหมายเยอรมนี หลังได้รับแจ้งภายใน 24 ชม.
โทษปรับของสื่อไม่ว่าจะเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์หรือ YouTube ที่ไม่ยอมลบข้อความ Hate Speech ภายในระยะเวลาดังกล่าว มีโทษปรับขั้นต่ำ 5 ล้านยูโร (ราว 190 ล้านบาท) และสูงสุดถึง 50 ล้านยูโร (ราว 1,900 ล้านบาท) ส่วนข้อความหรือเนื้อหาไหนที่เข้าข่ายรุนแรงแต่ไม่ชัวร์ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ จะมีกระบวนตรวจสอบภายใน 7 วัน (ต้นทางไม่ได้ระบุว่าใครตรวจสอบ)
เกิดเหตุเด็กหญิงชาวเยอรมันวัย 15 ฆ่าตัวตาย พ่อแม่ของเด็กอยากทราบสาเหตุที่ลูกฆ่าตัวตาย ด้วยการพยายามเข้าไปยังแอคเคาท์ Facebook ของลูกสาวเพื่อดูประวัติการแชท ล่าสุดศาลอุทธรณ์ของเยอรมันตัดสินว่าพ่อแม่ไม่มีสิทธิ์ดังกล่าว
ตอนแรก ศาลชั้นต้นตัดสินว่าพ่อแม่มีสิทธิ์เข้าถึง Facebook ของลูกสาวได้ โดยระบุว่าข้อมูลสามารถสืบทอดได้โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหา แต่ทาง Facebook ขออุทธรณ์การตัดสิน ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ตัดสินว่าพ่อแม่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาใน Facebook ของลูกสาว เนื่องจาก Facebook ทำสัญญาการใช้งานกับตัวผู้ใช้ (ลูกสาว) ไม่ใช่พ่อแม่ และข้อมูลการติดต่อพูดคุยกับผู้อื่นของลูกสาวไม่สามารถสืบทอดได้
โบสถ์นิกายโปรเตสแตนต์ในเมือง Wittenberg ของเยอรมนีเปิดตัว BlessU-2 หุ่นยนต์ให้พรพร้อมหน้าจอทัชสกรีน สามารถให้พรได้ 5 ภาษาคืออังกฤษ, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, สเปนและโปแลนด์ สามารถเลือกเสียงได้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง และเมื่อจะให้พร หุ่นยนต์จะชูมือขึ้น พร้อมปล่อยแสงออกมาจากมือ และกล่าวบทสวดจากคัมภีร์ไบเบิล (ดูคลิปได้จากที่มา)
Stephan Krebs ผู้ที่อยู่เบื้องหลังโปรเจ็คนี้เผยว่า ไม่ได้ต้องการนำหุ่นยนต์มาแทนที่พระ (จากปัญหาการขาดแคลนนักบวชในยุโรป) เพราะเห็นว่าเป็นอะไรที่แทนที่กันไม่ได้ เพียงแต่ต้องการนำแง่มุมทางศาสนากับเครื่องจักรมาเจอกันเท่านั้น รวมถึงต้องการให้สังคมถกเถียงถึงความเป็นไปได้ ในการนำเทคโนโลยีจนไปถึงปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาททางศาสนา
เมื่อพูดถึงกฎการกระจายเสียง หลายคนอาจนึกถึงแพลตฟอร์มวิทยุและโทรทัศน์ที่เข้าข่าย แต่ที่เยอรมัน กฎหมายได้ตีความรวมถึงเว็บไซต์สตรีมด้วย ล่าสุดหน่วยงาน ZAK ของเยอรมัน (The Commission for Authorization and Supervision) ระบุให้ ช่อง PietSmietTV บนแพลตฟอร์มสตรีมเกมชื่อดัง Twitch ที่ฉายคอนเทนต์เกมตลอด 24 ชั่วโมง ต้องมาขอใบอนุญาตกระจายเสียงภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้หากต้องการทำรายการต่อ
แม้คอนเทนต์ของ PietSmietTV จะไม่ได้ฉายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ แต่โดยเทคนิคแล้วคอนเทนต์ดังกล่าวนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายของการแพร่ภาพกระจายเสียง คือเป็นบริการข้อมูลโดยตรงต่อสาธารณะ ด้านผู้ก่อตั้ง Twitch คือ Peter Smits ยอมรับกฎดังกล่าวและไม่ได้ตอบโต้อะไร
การออกกฎของ ZAK ครั้งนี้ไม่ใช่การออกกฎครั้งเดียวแล้วจบ แต่ทำเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าสามารถนำกฎนี้ไปใช้กับช่องสตรีมอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตามมีข้อสงสัยว่า ช่องอื่นที่ไม่ได้ทำคอนเทนต์ 24 ชั่วโมงจะเข้าข่ายหรือไม่ และจะสร้างความลำบากให้สตรีมเมอร์รายเล็กๆ หรือไม่
รัฐบาลเยอรมนีตีพิมพ์เอกสารข้อกำหนดให้ Facebook และ Twitter จ่ายค่าปรับกว่า 50 ล้านยูโร ข้อหาไม่สามารถจัดการข่าวปลอม ถ้อยคำแสดงความเกลียดชังเหยียดหยาม และคอนเทนต์อันไม่พึงประสงค์บนแพลตฟอร์มได้สำเร็จ
ในเอกสารมีกำหนดแนวทางบังคับใช้มาว่าเนื้อหารุนแรง ข่าวปลอม ต้องถูกลบออกภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนเนื้อหาที่ผิดกฎหมายอื่นๆ ต้องถูกนำออกภายใน 7 วัน ฝ่ายรัฐบาลยังเรียกร้องให้ Facebook และ Twitter อธิบายแผนการและขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างละเอียดแก่ผู้ใช้ด้วย
Heiko Maas รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค และผู้ยื่นเสนอข้อกฎหมายดังกล่าวบอกว่า ทั้ง Facebook และ Twitter พลาดโอกาสปรับปรุงตัวเอง เพื่อสร้างความรับผิดชอบเราจำเป็นต้องมีข้อกำหนดทางกฎหมายมาเป็นแนวทางให้บริษัททั้งสอง
Telefonica ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่งในเยอรมันประกาศขายข้อมูลการเคลื่อนที่ของลูกค้าตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยลูกค้าที่ซื้อข้อมูลสามารถดูข้อมูลแยกตาม อายุ, เพศ, ที่อยู่, และลักษณะการเคลื่อนที่
ชุดข้อมูลของ Telefonica ยังสามารถดูการเคลื่อนที่ในอาคารได้อีกด้วย
กลุ่มลูกค้าที่ซื้อข้อมูลเป็นกลุ่มร้านค้าปลีกหรือห้างสรรพสินค้า
กฎหมายเยอรมันห้ามไม่ให้ขายข้อมูลในลักษณะที่ย้อนรอยกลับไปถึงตัวบุคคลได้ แต่แม้กฎหมายจะเปิดทางให้ขายข้อมูลตามกลุ่มประชากรได้ แต่ความไม่พอใจของลูกค้าก็อาจจะอันตรายต่อธุรกิจ ปีที่แล้ว Deutsche Telekom ก็ยกเลิกการขายข้อมูลเช่นนี้ไป
เอกสารนำเสนอการขายของ Telefonica ระบุว่าข้อมูลได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลของเยอรมันแล้ว
หน่วยงานเครือข่ายรัฐบาลกลางเยอรมัน (The Federal Network Agency) สั่งถอดตุ๊กตา My Friend Cayla ออกจากร้านขายของทั้งหมด เพราะในตัวตุ๊กตามีไมโครโฟนบันทึกการสนทนา เข้าข่ายการจารกรรมข้อมูล ส่วนผู้ปกครองที่ซื้อตุ๊กตาไปให้ลูกหลาน ทางการขอร้องให้ทำลายทิ้งเสีย
ตุ๊กตา Cayla มีไมโครโฟน ที่ใช้พูดคุยกับเด็กๆ ฟีเจอร์ของตุ๊กตาถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่อุปกรณ์จารกรรมข้อมูลแบบแอบแฝง (hidden espionage devices) ซึ่งผิดกฎหมายของเยอรมนี
เฟซบุ๊กในเยอรมนีต้องเผชิญกับปัญหาทางกฎหมายจากข่าวปลอมอีกระลอก หลัง Anas Modamani ผู้อพยพชาวซีเรียวัย 19 ปีในเยอรมนี เจ้าของภาพถ่ายเซลฟี่กับนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ถูกนำรูปดังกล่าวไปใช้ในข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย และเฟซบุ๊กไม่ยอมลบหรือป้องกันการเผยแพร่ข่าวลักษณะดังกล่าว
รูปเซลฟี่นี้เริ่มเป็นที่แพร่หลายบนโซเชียลมีเดียในช่วงสิงหาคมปี 2015 และถูกนำมาใช้ในข่าวปลอมและเชื่อมโยงผู้อพยพรวมถึงตัวนาย Modamani เองเข้ากับกรณีเหตุก่อการร้ายในกรุงบรัสเซลส์และกรุงเบอร์ลิน ซึ่งนาย Modamani ได้ร้องเรียนให้เฟซบุ๊กลบข่าวและบทความปลอมดังกล่าว แต่ก็ยังพบว่ารูปนี้ยังคงปรากฎอยู่ตามข่าวปลอมที่เยผแพร่อยู่บนเฟซบุ๊กเช่นเดิม
Thomas Oppermann สมาชิกพรรค SPD ของเยอรมันเผยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้กฎหมายจัดการกับปัญหาข่าวปลอมใน Facebook ถ้ามีข่าวปลอมปรากฏบนหน้าฟีด แล้ว Facebook ไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะลงโทษปรับ 5 แสนยูโรต่อ 1 ข่าว
นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีแผนจะประกาศใช้ให้เร็วที่สุด สำนักข่าวเยอรมัน Deutsche Welle รายงานว่า มีแผนจะบังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งปีหน้า และจะเริ่มอภิปรายกันหลังวันหยุดคริสต์มาสนี้
มีฝ่ายโต้แย้งเรื่องการผลักดันกฎหมายนี้เหมือนกัน คือสมาคมสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ของเยอรมันหรือ BDZV (Germany’s federal association of newspaper publishers) แย้งว่า Facebook ไม่ใช่สำนักข่าว เป็นเพียงแพลตฟอร์มกลางในการนำเสนอข่าว ไม่ใช่ฟันเฟืองเครื่องมือที่สร้างหรือเขียนข่าวขึ้นมา
ThyssenKrupp ระบุว่าถูกแฮกโดยกลุ่มที่มีต้นทางมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อขโมยข้อมูลเทคโนโลยีและผลการวิจัยของบริษํท
อย่างไรก็ตาม ระบบควบคุมของบริษัทไม่ได้ถูกโจมตี และข้อมูลของบริษัท ThyssenKrupp Marine ที่สร้างเรือรบและเรือดำน้ำ ไม่ได้รับผลกระทบจากการแฮกครั้งนี้
ฝ่ายรักษาความปลอดภัยระบบไอทีของบริษัทตรวจพบการแฮกครั้งนี้ขณะที่แฮกเกอร์กำลังโจมตี และหยุดการโจมตีได้ แต่ยังไม่ยืนยันว่าข้อมูลใดรั่วไหลออกไปบ้าง แต่ระบุเพียงว่ามีข้อมูลหลุดออกเป็นบางส่วน และแฮกเกอร์ไม่ได้เข้าไปแก้ไขหรือทำลายข้อมูลของบริษัท
ที่มา - Rappler
Tesla ประกาศการเข้าซื้อบริษัท Grohmann Engineering ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรีและเซลล์เชื้อเพลิงด้วยเครื่องจักร สัญชาติเยอรมัน และเปลี่ยนชื่อเป็น Tesla Grohmann Automation โดย Klaus Grohmann ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Grohmann Engineering จะยังคงทำหน้าที่เดิมต่อไปภายใต้ Tesla Grohman Automation
Tesla ให้เหตุผลของการเข้าซื้อครั้งนี้ว่า ต้องการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ให้ได้ 500,000 คันต่อปีภาย 2018 (ปีนี้อยู่ที่ราว 80,000 คัน) จึงต้องการนำเทคโนโลยีและ know-how ด้านการผลิตด้วยเครื่องจักรของ Grohmann มาเสริม ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มความเร็วและคุณภาพในการผลิต พร้อมลดต้นทุนต่อคันลงด้วย