Google ปรับปรุงระบบ Google Finance ครั้งใหญ่ โดยจะนำแท็บ Finance เข้าไปแสดงอยู่ในหน้า Search เพื่อเข้าถึง Google Finance ซึ่งแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเงินโดยเฉพาะ (หรือจะเข้าผ่าน google.com/finance เหมือนเดิมก็ได้) ไม่ว่าจะเป็นข่าวด้านการเงิน, หุ้นที่น่าสนใจ, หุ้นที่ผู้ใช้กำลังติดตาม, ดัชนี, ภาพรวมตลาด, ตลาดในประเทศ, ตลาดต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่ง Google ได้ปรับดีไซน์จากเดิมไปใช้ดีไซน์ใหม่ที่เหมือนกับเว็บยุคใหม่ของ Google
ในการปรับปรุงครั้งนี้ Google ได้ยกเลิกฟีเจอร์บางอย่าง เช่น พอร์ตโฟลิโอ, ตารางย้อนหลัง แต่ข้อมูลของหุ้นในพอร์ตของผู้ใช้ยังคงสามารถเข้าดูได้ และรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับหุ้นนั้น ๆ ได้เช่นเดิม
รัสเซียประกาศว่า ทางหน่วยงานรัฐบาลอาจทำการตอบโต้ หาก Google ลดอันดับผลการค้นหาจาก Sputnik และ Russia Today (RT) ที่ปรากฏใน Google Search
Interfax รายงานโดยอ้างคำกล่าวของ Alexander Zharov หัวหน้าฝ่ายกำกับดูแลสื่อว่า หน่วยงานของเขาได้ส่งจดหมายไปยัง Google เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยขอความชัดเจนในเรื่องที่ Eric Schmidt ประธานบอร์ด Alphabet เคยกล่าวว่าจะจัดการกับผลการค้นหาของเว็บไซต์รัสเซียในผลการค้นหาของ Google โดยตอนนี้ได้รับคำตอบแล้ว และเข้าใจแล้วว่าจะทำอะไรต่อไป Zharov หวังว่าความคิดของเขาจะได้รับการรับฟังและไม่ต้องการหันไปใช้วิธีที่จริงจังมากกว่านี้
Google ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการใช้งาน AMP ของเจ้าของเว็บไซต์ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ปีหน้าเป็นต้นไป เนื้อหาบนหน้า AMP จะต้องเหมือนกับในหน้าเว็บไซต์เต็มทุกประการ
การเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวก็เพื่อแก้ปัญหาที่บางเว็บใช้ AMP เป็นคลิ๊กเบทหรือทีเซอร์ (teaser) ให้เนื้อหามาเพียงส่วนเดียว เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้กดเข้าไปอ่านจากหน้าเต็ม ซึ่งผิดจุดประสงค์ของ Google ในการออกฟีเจอร์ AMP ที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ใช้งานเว็บของผู้ใช้มากขึ้น
Google ระบุว่าหากพบเว็บไหนแสดงผลเนื้อหาในหน้า AMP ไม่เหมือนกับหน้าเต็มอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อผู้ใช้กดเข้าชมคอนเทนท์ที่เป็น AMP ก็จะลิงก์ไปยังหน้าเว็บโดยตรงแทน โดยจะไม่ส่งผลต่ออันดับการแสดงผลการค้นหาโดยรวมบน Google แต่เว็บนั้นๆ จะไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเว็บ AMP แทน
ข่าวเล็กๆ ที่สอดแทรกมากับ Firefox 57 คือ Mozilla เปลี่ยนเอนจินค้นหาหลักจาก Yahoo! กลับมาเป็น Google Search อีกครั้ง
Mozilla เซ็นสัญญากับ Yahoo! ในปี 2014 เพื่อเป็นเอนจินค้นหาหลักในบางประเทศ (นอกจากนั้นยังมี Yandex และ Baidu) เป็นเวลานาน 5 ปี ซึ่งเป็นสัญญาที่สร้างรายได้มหาศาลแก่ Mozilla
Google เพิ่มฟีเจอร์หวังลดข่าวปลอมอีกขั้น ตามปกติเมื่อผู้ใช้ค้นหาชื่อบริษัทสื่อหรือสำนักข่าวบน Google ระบบจะแสดงข้อมูลทั่วไปของบริษัทนั้นๆ ล่าสุด Google เพิ่มข้อมูลรางวัลที่บริษัทสื่อนั้นๆ ได้รับ และแนวทางการเสนอเนื้อหาของสื่อนั้นว่าออกไปในแนวทางใด เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจโทนการเขียนและธรรมชาติของเนื้อหาที่สื่อนั้นนำเสนอมากขึ้น
ข้อมูลรางวัลและแนวการเขียนจะอยู่ด้านล่างข้อมูลทั่วไป ผู้ใช้สามารถกดและเลื่อนปัดขวาดูรายละเอียดเพิ่มได้ ประโยชน์คือผู้รับข่าวสารจะมีช่องทางตรวจสอบแหล่งข่าวเพิ่มขึ้นอีกชั้น แต่ผู้ใช้จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อพิมพ์ค้นหาชื่อสำนักข่าวบน Google ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากรับข่าวสารนั้นไปแล้วระยะหนึ่ง
จากข้อมูลของ Google Trends เผยว่า ล่าสุดคำค้น “buy bitcoin” หรือ “ซื้อบิตคอยน์” บน Google นั้นได้แซงคำค้น “buy gold” หรือ “ซื้อทอง” ไปแล้ว ซึ่งก็มีนัยยะได้ว่าคนเริ่มหันมาสนใจการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลมากกว่าทองคำ โดยคำค้นซื้อบิตคอยน์เริ่มมาพุ่งสูงขึ้นมากช่วงหลังในช่วงที่บิตคอยน์เริ่มมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ
กูเกิลประกาศเพิ่มข้อมูลใหม่ในผลการค้นหา โดยเดิมหากเราค้นหาร้านค้าหรือร้านอาหาร ก็จะแสดงช่วงเวลาที่คนเยอะ แต่เร็วๆ นี้ จะเพิ่มข้อมูลเวลาที่เราต้องรอคิว และจะแสดงผลข้อมูลนี้ใน Maps ด้วย
กูเกิลบอกว่าข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานพิจารณาได้เพิ่มขึ้น ว่านอกจากทราบแล้วว่าร้านนี้คนเยอะ ก็จะรู้เวลาที่ต้องรอคิวเพื่อประเมินว่าควรหรือไม่ควรไปกันแน่
ที่มา: กูเกิล
Google ปรับรูปแบบการแสดงผลการค้นหาอีกครั้ง คราวนี้เป็นการเปรียบเทียบสมาร์ทโฟนโดยเมื่อใส่ vs ลงไประหว่างสมาร์ทโฟน 2 รุ่น (อาทิ Pixel 2 XL vs iPhone 8 Plus) ผลการค้นหาจะแสดงชาร์ทเปรียบเทียบสมาร์ทโฟนทั้งสองรุ่นให้บนหน้าผลการค้นหาเลย
ผู้ใช้สามารถกดขยายชาร์ทเพื่อดูตารางเทียบสเปคทั้งหมด รวมถึงมีตัวเลือกให้ไฮไลท์สเปคที่แตกต่างกันให้ด้วย อย่างไรก็ตามการเทียบสเปคน่าจะได้ไม่เกิน 2 รุ่นและเหมือนฟีเจอร์นี้จะยังไม่ได้พร้อมกันครับ ผมทดสอบแล้วยังไม่ขึ้น
ที่มา - Android Police
ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในรอบหลายปีของหน้าเว็บ Google.com ภาคภาษาอังกฤษ โดยมีลิงก์ About และ Store เพิ่มเข้ามาที่มุมซ้ายบนของหน้าจอ
ลิงก์ไปยัง Google Store ถือว่าสอดคล้องกับการเปิดตัวฮาร์ดแวร์ชุดใหญ่ของกูเกิลในสัปดาห์ที่ผ่านมา (รวมถึงขยาย Store ในหลายประเทศ) ส่วนลิงก์ About ชี้ไปยังหน้าแนะนำองค์กรของกูเกิล ซึ่งปรับปรุงใหม่และมีส่วนที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น แสดงไอคอน Doodle ประจำวันนั้นในอดีตให้ดู พร้อมข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับอะไรด้วย
สายสัมพันธ์ระหว่างแอปเปิลกับกูเกิล จืดจางลงไปหลังกูเกิลหันมาทำ Android แข่งกับ iOS ทำให้แอปเปิลก็ลดระดับความสัมพันธ์กับกูเกิลลงหลายอย่าง ที่สำคัญคือเปลี่ยนระบบค้นหาใน iOS มาเป็น Bing ตั้งแต่ปี 2013
แต่ล่าสุด แอปเปิลประกาศว่าจะเปลี่ยนเอนจินค้นหาของ iOS และ Siri รวมถึง Spotlight บน macOS กลับมาใช้เอนจินของ Google Search เหมือนเดิม (ส่วนเอนจินค้นหาของ Safari ทั้งบน iOS และ macOS เป็นกูเกิลอยู่แล้ว)
ในแถลงการณ์ของแอปเปิลระบุว่า การเปลี่ยนมาใช้กูเกิลเหมือนกันทั้งหมด ทำให้ประสบการณ์ค้นหาของผู้ใช้มีความสม่ำเสมอในทุกช่องทาง โฆษกของแอปเปิลยังบอกว่าบริษัทมีสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งกูเกิลและไมโครซอฟท์
แอพ Google บน iOS ออกอัพเดตเวอร์ชันล่าสุดเพิ่มคุณสมบัติ ค้นหาหัวข้อที่อยู่ในกระแส (Trending Searches) คล้ายกับ Trending ใน Twitter และ Facebook โดยจะแสดงหัวข้อที่ได้รับความนิยมรอบตัว เมื่อเราเริ่มค้นหาข้อมูล นอกจากนี้ยังเพิ่ม Instant Answers ที่เดาคำตอบจากคำถามที่เรากำลังป้อนเข้าไป
ฟีเจอร์นี้ออกมาให้ผู้ใช้ Android ตั้งแต่ปีที่แล้ว และหากไม่ต้องการใช้งานก็สามารถปิดได้ในหน้าการตั้งค่า
ผู้ใช้ iOS สามารถอัพเดตแอพกันได้ที่ App Store
บริษัทวิจัย Bernstein ออกรายงานวิเคราะห์ว่าในปีนี้กูเกิลอาจจ่ายเงินให้แอปเปิลถึง 3 พันล้านดอลลาร์ เพื่อให้เสิร์ชกูเกิลยังเป็นค่าเริ่มต้น (default) อยู่บน Safari
ตัวเลขนี้ไม่มีการยืนยันแต่เกิดจากประเมินของนักวิเคราะห์ โดยมีเอกสารจากคดีความในอดีตระบุว่าปี 2014 กูเกิลเคยจ่ายเงินให้แอปเปิล 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคำนวณจากโอกาสที่กูเกิลได้จากค่าโฆษณาผ่านการเสิร์ชของ Safari บน iOS ซึ่งหากการจ่ายเงินยังใช้สมการเดิม ในปีนี้กูเกิลก็ควรจ่ายให้แอปเปิล 3 พันล้านดอลลาร์
บทวิเคราะห์นี้มองว่าเงิน 3 พันล้านดอลลาร์นั้นสูงมาก กูเกิลอาจเลือกไม่จ่ายก็ได้ในอนาคต และหากเป็นเช่นนั้นก็กระทบกับรายได้ส่วน Services ของแอปเปิลอยู่มากเช่นกัน
Google ได้เพิ่มฟีเจอร์พรีวิววิดีโอ 6 วินาทีลงในหน้าค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูพรีวิววิดีโอก่อนกดลิงก์เข้าไปดูวิดีโอจริงได้ ซึ่งสามารถใช้กับผู้ให้บริการวิดีโอหลายแห่งรวมถึง YouTube (แต่ทั้งนี้ถ้าวิดีโอใหม่มาก ๆ ผู้ใช้อาจยังไม่เห็นพรีวิวเพราะต้องรอให้เซิร์ฟเวอร์สร้างพรีวิวก่อน)
สำหรับฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ Google ใช้ machine learning ในการวิเคราะห์วิดีโอทั้งคลิปและคำนวณว่าควรจะเลือกช่วงเวลาใดมาตัดเป็นช่วงเวลาพรีวิว 6 วินาที เพื่อให้ได้ช่วงเวลาสำคัญของวิดีโอที่เหมาะสมในการเป็นพรีวิว แต่ไม่ได้อธิบายอย่างละเอียดว่าอัลกอริทึมนี้เลือกวิดีโออย่างไร
กูเกิลปรับวิธีการแสดงผลของ Image Search บนมือถือ (ตอนนี้ใช้ได้กับแอพ Google บน Android และบน mobile web) โดยแสดงป้ายข้อความ (label) เล็กๆ บอกว่าเว็บเพจที่แสดงรูปภาพนั้นเป็นเนื้อหาประเภทไหน
ตัวอย่างเช่น เราค้นหาภาพเค้กใน Image Search ก็จะมีป้ายบอกว่าถ้าคลิกที่ภาพจะไปเจอกับสูตรทำเค้ก (recipe) หรือวิดีโอสอนทำเค้ก (video พร้อมตัวเลขความยาว) เพื่อให้ผู้ใช้งานรับรู้ล่วงหน้าก่อนคลิกที่ภาพนั้น จะได้ไม่ต้องกดไปๆ กลับๆ หลายรอบให้เสียเวลา
ตัวอย่างป้ายอื่นๆ คือข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (product) และภาพเคลื่อนไหว (gif) เป็นต้น แต่ไม่ใช่ทุกภาพจะแสดงปป้าย label ครับ
เมื่อปี 2010 กูเกิลเปิดตัว Google Instant ค้นหาได้โดยไม่ต้องคลิก โดยเราพิมพ์คำลงในช่องค้นหาทีละตัวอักษร กูเกิลจะปรับหน้าจอผลการค้นหาให้เอง (โดยไม่ต้องกด enter)
เวลาผ่านมา 7 ปี กูเกิลฆ่าฟีเจอร์นี้ทิ้งแล้ว โดยโฆษกของกูเกิลให้เหตุผลว่า Google Instant ออกแบบมาสำหรับการใช้บนเดสก์ท็อป แต่ปัจจุบัน ทราฟฟิกการค้นหาของกูเกิลส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์พกพา ซึ่งมีวิธีการป้อนข้อมูลที่ต่างไปจากเดสก์ท็อป ทำให้กูเกิลถอดฟีเจอร์ Google Instant ที่ใช้งานยากบนมือถือออกไป เพื่อให้ประสบการณ์ใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทเหมือนกัน
จากนี้ไป เวลาเราพิมพ์คำค้นในช่องค้นหาบนเดสก์ท็อป เราก็จะเจอแต่คำค้นแนะนำ (suggestions) เท่านั้น หน้าผลการค้นหาจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตโนมัติจนกว่าจะกด enter เอาเอง
Google เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ SOS alerts ใน Google Maps และ Google Search ให้ผู้ใช้ทราบข้อมูลครอบคลุมมากขึ้นเวลาเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ เช่น ระบุสถานที่ เบอร์โทรติดต่อขอความช่วยเหลือ ช่องทางบริจาค
เมื่อผู้ใช้อยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์วิกฤต หรือค้นหาคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ ฟีเจอร์ SOS alerts ใน Google Search จะใช้งานทันที โดยระบบจะแสดงแบนเนอร์สีแดง ระบุข้อมูลข่าวสาร เบอร์โทรติดต่อกรณีฉุกเฉิน และสถานที่ที่ได้รับผลกระทบ ส่วน SOS alerts ใน Google Maps จะแสดงตำแหน่งสถานที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นลูกไฟหรือวงกลมสีแดง พร้อมแสดงข้อมูลเบอร์ติดต่อเวลามีเหตุร้าย หรือต้องการขอความช่วยเหลือ ข้อมูลอัพเดทเรียลไทม์ เช่น สถานีเดินทางที่ต้องปิดทำการกะทันหัน หรือการปิดถนนฉุกเฉิน เป็นต้น
Google ประกาศนโยบายใหม่สำหรับ Google Search ที่ว่าด้วยการลบข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการแพทย์ของบุคคลหนึ่งๆ ออกจากผลการค้นหาแล้ว
ก่อนหน้านี้เคยมีกรณีข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยในอินเดียหลุกออกมากว่า 43,000 คน ซึ่งรวมถึงชื่อผู้ป่วย พร้อมผลตรวจเลือด HIV
นอกจากข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลที่อยู่ในประเภทถูกลบออกจากผลการค้นหาของ Google ได้แก่ เลขบัตรประชาชน, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต, ภาพลายเซ็นและภาพโป๊ที่ทำให้อับอายหรือเสียหาย
ที่มา - The Guardian via PCMag
Google Search ประกาศปรับอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาข่าวปลอม-ข้อมูลผิดๆ บนอินเทอร์เน็ต การปรับอัลกอริทึมครั้งนี้จะส่งผลให้เนื้อหาปลอม เช่น บทความที่บอกว่าการฆ่าล้างพันธุ์ชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไม่ได้เกิดขึ้นจริง (holocaust denial) มีโอกาสโผล่ในผลการค้นหาน้อยลง
นอกจากการปรับอัลกอริทึมโดยตรงแล้ว กูเกิลยังปรับคู่มือการทำงานของคนตรวจสอบคุณภาพของผลการค้นหา (Search Quality Rater) ให้ละเอียดขึ้นในเรื่องการตรวจสอบข่าวปลอม หรือเนื้อหาที่รุนแรง เพื่อกระบวนการนำเนื้อหาเหล่านี้ออกจะได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น
หลังจาก "ข่าวปลอม" (fake news) กลายเป็นปัญหาใหญ่ในยุคข้อมูลข่าวสารออนไลน์ไหลบ่า ล่าสุด Google Search และ Google News เปิดใช้ระบบช่วยเช็คข้อมูลกรณีข่าวปลอมให้กับผู้ใช้ทั่วโลกแล้ว
ระบบของกูเกิลจะทำงานอัตโนมัติ เมื่อเราค้นหาข้อมูลที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับข่าวที่น่าจะปลอม กูเกิลจะขึ้นป้ายเตือนว่า "Fact Check" หรือข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบมาแล้วว่าข่าวนั้นถูกต้องแค่ไหน ผ่านความร่วมมือกับสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง และหน่วยงานด้านการตรวจสอบข่าวปลอมหลายแห่ง
ข้อจำกัดของระบบ Fact Check คือมันไม่สามารถทำงานได้กับทุกคีย์เวิร์ด และบางครั้งแต่ละสำนักข่าวก็มีมุมมองต่อข่าวนั้นแตกต่างกันว่าจริงหรือไม่
Google ได้ออกอัพเดตแอพ Google Search บน iPhone ใหม่ โดยมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ 3 อย่าง ดังนี้
ที่มา - Google
Posts on Google ฟีเจอร์ที่เปิดให้โพสต์ลงหน้าผลการค้นหาของ Google โดยตรง ได้เปิดให้ดารา, นักการเมือง และนักธุรกิจได้เริ่มใช้งานไปก่อนหน้านี้แล้ว ล่าสุด Google ก็เริ่มเปิดกว้างฟีเจอร์นี้มากขึ้น โดยให้ผู้ใช้มาลงทะเบียนเองได้ แต่ยังคงจำกัดกลุ่มไว้อยู่ และยังใช้งานได้เฉพาะในสหรัฐฯ และบราซิลเท่านั้น
ในช่วงนี้ Posts on Google จะยังคงเน้นกลุ่มที่เป็นพิพิธภัณฑ์, ทีมกีฬา, สหพันธ์กีฬา ภาพยนตร์ ทั้งองค์กรและคนที่อยู่เบื้องหลังงาน และเฉพาะในบราซิล Google จะเปิดให้นักดนตรีใช้งานด้วย และจะเปิดให้นักดนตรีในสหรัฐฯ ใช้งานในครั้งถัดไป โดยสามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ Posts on Google
ปกติแล้วเวลาเราค้นหาข้อมูลใน search engine ระบบมักไม่สนใจสัญลักษณ์-อักขระพิเศษบางตัว หรือไม่ก็มองว่าสัญลักษณ์เหล่านี้เป็น operator พิเศษของการค้นหา (เช่น ใส่ - เพื่อบอกว่าค้นหาโดยไม่เอาคำนี้)
พฤติกรรมการทำงานแบบนี้ทำให้การค้นหาด้านโปรแกรมมิ่ง (ที่ใช้สัญลักษณ์แบบนี้เหมือนกัน) เกิดปัญหาค้นไม่เจอ ล่าสุดกูเกิลปรับพฤติกรรมของ Google Search ให้รองรับสัญลักษณ์พิเศษบางตัวอย่าง []=+ แล้ว การค้นหาด้วยคำว่า "C++17" จะให้ผลตรงกับคำที่เราค้น ต่างจากสมัยก่อนที่จะได้ผลเป็น "C17" แทน
การเปลี่ยนแปลงนี้ยังทำให้การค้นหาชื่อสินค้าที่มีสัญลักษณ์กลุ่มนี้ เช่น Notepad++ แม่นยำขึ้นด้วย
ระบบ Google Site Search คือระบบการค้นหาของ Google ที่ทางบริษัทขายให้กับผู้ทำเว็บที่ต้องการใช้งานระบบค้นหาของ Google ในเว็บไซต์ของตัวเอง
ล่าสุด Google เตรียมจะหยุดให้บริการ Site Search แล้ว ทางอีเมลที่ส่งถึงลูกค้าและพาร์ทเนอร์ แต่ยังไม่มีประกาศแต่อย่างใด โดยในใจความกล่าวว่า ผู้ใช้ปัจจุบันที่มีไลเซนส์ Google Site Search อยู่แล้วสามารถใช้งานต่อไปได้ แต่จะไม่มีการขายไลเซนส์ใหม่ตั้งแต่ 1 เมษายนเป็นต้นไป และเมื่อ search query ที่ขอไว้หมดแล้ว ก็จะสับเปลี่ยนเป็นระบบ Custom Search ให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นระบบที่มีฟังก์ชันเหมือนกับ Site Search และมีโฆษณา
Google และ Microsoft ตกลงทำตามกฎใหม่ของสหราชอาณาจักรเพื่อทำการจัดรายการหน้าเว็บแรกในผลการค้นหาของทั้ง Google Search และ Bing ใหม่ เพื่อให้ไม่แสดงเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งของการละเมิดลิขสิทธิ์ พร้อมทั้งยังปรับปรุงระบบ autocomplete ไม่ให้ชี้นำผู้ใช้ไปยังคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายเหล่านั้นด้วย
กฎใหม่ของสหราชอาณาจักรนี้ ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสื่อหลายแขนง รวมทั้งรัฐบาลด้วย ซึ่งทางสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ถ้าคิดอย่างคร่าว ๆ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 15% ในสหราชอาณาจักรที่เข้าถึงคอนเทนต์ผิดกฎหมายในช่องทางออนไลน์
กูเกิลและไมโครซอฟท์ สองผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ ได้ลงนามในหลักปฏิบัติ (Code of Practice) ของสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act เพื่อลดการแสดงผลการค้นหาหน้าเว็บที่มีคอนเทนท์ละเมิดลิขสิทธิ์ลง
นอกจากจะลดการแสดงผลเว็บละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว หลักปฏิบัตินี้ยังระบุด้วยว่าการค้นหาไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เพลง หนังสือดิจิทัลหรือกีฬา จะต้องแสดงผลเป็นหน้าเว็บของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ให้บริการตามกฎหมายให้มากขึ้นแทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ช่วงซัมเมอร์นี้เป็นต้นไป