ประเด็นเรื่อง AMP สร้างผลกระทบต่อวงการเว็บพอสมควร คำถามที่ทุกคนคงสงสัยคือการมี AMP ส่งผลต่อการคิดคะแนนในลำดับผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่
John Mueller พนักงานของกูเกิลตอบคำถามนี้ว่า "ยังไม่ถูกนำมาคิดคะแนน ณ ตอนนี้" (At the moment, it is not a ranking signal)
อย่างไรก็ตาม Mueller บอกว่าเจ้าของเว็บสามารถนำ AMP มาทำให้เว็บเป็นมิตรกับอุปกรณ์พกพามากขึ้นได้ แม้ตัว AMP จะยังไม่ถูกนำมาพิจารณาจัดลำดับผลการค้นหาก็ตาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเห็นข่าว กูเกิลเลิกแสดงโฆษณา AdWords ด้านขวามือในหน้าผลการค้นหา เพิ่มตำแหน่งโฆษณาด้านบน
ตำแหน่งโฆษณา AdWords ที่เพิ่มเข้ามาเป็น 4 ช่อง และการตัดสล็อตด้านขวามือออก ส่งผลกระทบต่อทั้งวงการ SEO (ทำเว็บให้ติดอันดับแบบไม่จ่ายเงิน) และการโฆษณาออนไลน์ (จ่ายเงินเพื่อแสดงผลการค้นหา) เป็นอย่างมาก
เรื่องนี้ Alistair Dent จากบริษัท iProspect เขียนวิเคราะห์ลง Search Engine Land ผมคิดว่าน่าสนใจดีเลยนำมาสรุปอีกต่อหนึ่งครับ
เมื่อวานนี้กูเกิลเริ่มปล่อยฟีเจอร์ AMP ในผลการค้นหาบนมือถือ วันนี้กูเกิลประกาศเปิดตัว AMP อย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีเว็บไซต์ข่าวชื่อดังเข้าร่วมด้วยมากมาย (BBC รายงานว่าเว็บฝั่งยุโรปมีจำนวน 160 เว็บ)
พันธมิตรรายสำคัญของกูเกิลคือ WordPress.com โฮสติ้งให้บริการบล็อกรายใหญ่ของโลก โดยผู้ใช้ WordPress.com ทุกรายจะได้ใช้งาน AMP โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม (นั่นแปลว่าผลการค้นหาเพจที่อยู่บน WordPress.com จะกลายเป็น AMP ทันที) ส่วนผู้ใช้ WordPress แบบโฮสต์เอง ทาง WordPress.com แนะนำให้ใช้ปลั๊กอิน AMP เข้าช่วย
ที่ผ่านมา โฆษณาในระบบ AdWords ของกูเกิลจะแสดงในหน้าผลการค้นหา (Search Result Page) สองตำแหน่งคือด้านบนเหนือผลการค้นหา และในแถบ sidebar ด้านขวามือ
แต่ล่าสุดโฆษกของกูเกิลยืนยันกับเว็บไซต์ Search Engine Land ว่ากูเกิลเลิกแสดงผล AdWords ในแถบด้านขวามือในเกือบทุกกรณีแล้ว (ยกเว้นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ หรือ Product Listing Ad) โฆษณาจะถูกแสดงเฉพาะด้านบนหรือด้านล่างของผลการค้นหาเท่านั้น
กูเกิลยังเพิ่มตำแหน่งแสดงผลโฆษณาด้านบนเป็น 4 ตำแหน่ง สำหรับคีย์เวิร์ดที่มีมูลค่าสูงมากๆ ด้วย (ผมลองกับคำว่า thailand hotel ได้ผลตามภาพ)
การถอดโฆษณาด้านขวามือออก ส่งผลให้หน้าผลการค้นหาบนเดสก์ท็อปและบนอุปกรณ์พกพา มีความคล้ายคลึงกันมากขึ้นด้วย
กูเกิลเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ Power Searching เพื่อสอนเทคนิคและวิธีการค้นหารูปแบบใหม่ๆ ใน Google Search
คอร์สนี้ใช้เวลาเรียน 2 สัปดาห์ กลุ่มแรกเริ่มเรียนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ถึง 21 กุมภาพันธ์นี้ และเปิดให้กลุ่มต่อไปเรียนทันทีที่กลุ่มก่อนหน้าเรียนจบ (22 กุมภาพันธ์) โดยเมื่อเรียนจบคอร์สและสอบผ่าน ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากกูเกิล
ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าเรียนได้ทันที
ที่มา - Google for Education Blog
Amit Singhal หัวหน้าทีม Search ของกูเกิล ประกาศเกษียณอายุแล้ว หลังทำงานกับกูเกิลมา 15 ปี
Singhal เล่าว่าเขาเป็นคนอินเดีย เกิดใกล้ๆ กับเทือกเขาหิมาลัย อพยพมาอเมริกาพร้อมกระเป๋าแค่ 2 ใบ มีชีวิตได้ถึงขนาดนี้ถือว่าเยอะมากแล้ว เขาจึงอยากให้โอกาสนี้แก่คนรุ่นหลังที่อาจไม่โชคดีเท่า พร้อมใช้เวลากับครอบครัวให้มากขึ้นด้วย
คนที่มานั่งตำแหน่งหัวหน้าทีม Search แทนคือ John Giannandrea ผู้บุกเบิกฟีเจอร์ Knowledge Graph ให้ระบบค้นหาฉลาดขึ้นมากครับ
ที่มา - +Amit Singhal, Business Insider
ตั้งแต่ตอนนี้ เพียงพิมพ์คำค้นหาว่า "หวย" ใน Google Search ไม่ว่าจะเป็นบนอุปกรณ์ Android หรือ iOS ก็จะทราบผลสลากกินแบ่งประจำงวดปัจจุบันได้ทันที
Google จะแสดงผลสลากกินแบ่งรางวัลที่ 1, รางวัลเลขหน้า 3 ตัว, รางวัลเลขท้าย 3 ตัว และรางวัลเลขท้าย 2 ตัว ในหน้าแสดงผลการค้นหา ช่วยประหยัดเวลาผู้ใช้ไม่ต้องกดลิงก์ไปตรวจสอบผลที่หน้าเว็บอื่น แต่หากใครที่ต้องการทราบรางวัลยิบย่อยอื่นๆ ก็ยังคงต้องไปตรวจสอบจากหน้าเว็บของกองสลากฯ อยู่ดี
ที่มา - @GoogleThailand
กูเกิลอัพเดตฟีเจอร์พยากรณ์อากาศในแอพ Google/Google Now ใหม่ให้สวยใสกว่าของเดิม และเพิ่มข้อมูลสภาพอากาศอีกหลายอย่าง เช่น สภาพท้องฟ้าเป็นรายชั่วโมง โอกาสฝนตก แจ้งเตือนสภาพอากาศร้ายแรง พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 10 วัน, คุณภาพอากาศ, ความเข้มข้นของรังสี UV, เวลาพระอาทิตย์ขึ้น-ตก เป็นต้น
วิธีการใช้งานก็เหมือนเดิม คือค้นหาคำว่า weather ในช่องค้นหา Google (ได้เฉพาะบน Android) หรือจะใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (เช่น will it rain today) ก็ได้เช่นกัน
ผมลองกับมือถือตัวเองแล้วยังเป็นแบบเก่าอยู่ คาดว่ากูเกิลทยอยปล่อยเป็นเฟสตามธรรมเนียม ใครได้ของใหม่แล้วก็โปรดแจ้งครับ
กูเกิลนำเสนอแอพจาก Play Store ในหน้าผลการค้นหา Google Search มานานแล้ว ที่ผ่านมาเราต้องกดลิงก์เพื่อเข้า Play Store ไปติดตั้งแอพอีกชั้นหนึ่ง
แต่ล่าสุดกูเกิลปรับกระบวนการนี้ให้ง่ายดายยิ่งขึ้น โดยเราสามารถกด Install ติดตั้งแอพได้จากหน้าผลการค้นหาเลย (ไม่ต้องเปิด Play Store สักนิด)
ฟีเจอร์นี้ใช้งานบนแอพ Google Search บน Android และอาจยังไม่เปิดใช้กับทุกคนครับ (ถ้าเป็นแบบเก่า กดปุ่มสีเขียวที่บอกราคาแอพแล้วจะยังต้องเข้าแอพ Play Store อยู่ แต่ถ้าเป็นแบบใหม่จะมีหน้าจอ Install โผล่มาเลย
ที่มา - Android Police
แวดวงคนทำเว็บและ SEO คงรู้กันดีว่ากูเกิลมีอัลกอริทึมต่อต้านสแปมชื่อ "Panda" มาตั้งแต่ปี 2011 เอาไว้ต่อต้านเว็บ link farm และเว็บปั่นประเภทต่างๆ เพื่อรักษาคุณภาพของผลการค้นหา
อัลกอริทึม Panda ทำงานแยกจากอัลกอริทึมหลักของ Google Search มานาน แต่ล่าสุดตัวแทนของกูเกิลยืนยันแล้วว่า Panda ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอัลกอริทึมหลักเรียบร้อยแล้ว
กูเกิลไม่ค่อยเผยข้อมูลของ Panda มากนักในช่วงหลัง ข้อมูลล่าสุดที่แวดวง SEO ทราบกันคือเวอร์ชันล่าสุดของ Panda คือ 4.2 ซึ่งเป็นข่าวเมื่อหลายเดือนก่อน ส่วนในแง่ผลกระทบของการรวม Panda เข้ากับอัลกอริทึมหลักก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีผลแค่ไหน
กูเกิลประกาศปรับวิธีการทำดัชนีการค้นหา โดยจะพยายามมองหา URL ที่เป็น HTTPS แทน HTTP ก่อนเสมอ และถ้าพบว่า URL นั้นมีเนื้อหาเหมือนกัน (ต่างกันแค่ S) ก็จะแสดงผลการค้นหาที่เป็น HTTPS เป็นค่าดีฟอลต์
มีบางกรณียกเว้นที่กูเกิลจะไม่แสดงลิงก์ HTTPS ของ URL นั้น เช่น ถูกบล็อคโดยไฟล์ robots.txt ของเว็บไซต์ หรือมี noindex อยู่ใน meta tag
กูเกิลแนะนำให้เจ้าของเว็บไซต์ควรรองรับ HTTPS กันได้แล้ว และควร redirect เว็บเพจที่เป็น HTTP ให้กลายเป็น HTTPS รวมถึงใส่ header HSTS ไว้ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์เล็กๆ แต่เป็นประโยชน์ให้ Google Image Search บนอุปกรณ์พกพา โดยเมื่อผู้ใช้เจอรูปที่ต้องการแล้ว สามารถ "บันทึก" หรือในที่นี้คือใส่ดาวรูปนั้นเก็บไว้ เพื่อกลับมาดูรูปดังกล่าวในภายหลังได้
ฟีเจอร์บันทึกภาพยังรองรับการสร้างโฟลเดอร์ เพื่อบันทึกรูปภาพเป็นหมวดหมู่ได้ การใช้งานต้องใช้ผ่านเบราว์เซอร์บน iOS/Android โดยช่วงแรกยังจำกัดเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
ที่มา - Inside Search
อัลกอริทึมของ Google Search ถือเป็นความลับของบริษัทมาโดยตลอด ถึงแม้เราจะพอรู้คร่าวๆ ว่าปัจจัยที่มีผลต่ออันดับในหน้าผลการค้นหามีอะไรบ้าง แต่ก็ไม่เคยรู้รายละเอียดของมันมากนัก
ในอดีตกูเกิลเคยเผยแพร่เอกสาร Search Quality Rating Guidelines เวอร์ชันย่อ ที่อธิบายว่าระบบการค้นหาของกูเกิลทำงานอย่างไร แต่บริษัทดูจะเปลี่ยนนโยบายภายใน และเผยแพร่เอกสารเวอร์ชันล่าสุด (2015) ฉบับเต็มความยาว 160 หน้าออกสู่สาธารณะ ด้วยเหตุผลว่าต้องการสร้างความโปร่งใสในกระบวนการทำงานของกูเกิลเอง
กูเกิลเดินหน้าโครงการ App Indexing ให้บ็อตกูเกิลมาดูดข้อมูลภายในแอพ และแสดงผลในหน้าผลการค้นหา (search result page) มาสักระยะหนึ่งแล้ว พัฒนาการล่าสุดก่อนหน้านี้คือ หน้าผลการค้นหาของ Google Search จะแสดงลิงก์จากแอพที่ผู้ใช้ไม่มีอยู่ในเครื่อง กดแล้วจะเจอปุ่ม Install ให้ติดตั้งแอพตัวนั้น
แต่รอบนี้กูเกิลไปไกลกว่าเดิมอีกขั้น ถ้าเราค้นหาอะไรบางอย่างแล้วเจอผลการค้นหาที่น่าสนใจในแอพที่เราไม่ได้ติดตั้งอยู่ในเครื่อง แต่การติดตั้งแอพตัวนั้นอาจยุ่งยากเกินไป หรือยังไม่มั่นใจในแอพดังกล่าว กูเกิลแก้ปัญหาให้เราโดย "สตรีม" หน้าจอแอพที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลมาดูก่อนได้
ปีนี้ Google Search มีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจคือ App Indexing หรือการให้บ็อตกูเกิลไปอ่านข้อมูลภายในแอพ เพื่อแสดงให้หน้าผลการค้นหาบนอุปกรณ์พกพา ซึ่งนักพัฒนาแอพต้องรองรับฟีเจอร์นี้เอง
แอพชื่อดังตัวล่าสุดที่รองรับฟีเจอร์นี้คือ Facebook ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าแปลกใจพอสมควร เพราะที่ผ่านมาสองบริษัทนี้ไม่ค่อยลงรอยกันนัก
การที่ Facebook เปิดให้บ็อตของกูเกิลเข้าถึงเนื้อหาในแอพ ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลผ่านกูเกิล และเมื่อกดลิงก์ที่ปลายทางอยู่ที่ Facebook จะเปิดแอพ Facebook (รองรับเฉพาะ Android) ขึ้นมาแทนการเปิดเบราว์เซอร์ อย่างไรก็ตาม บ็อตของกูเกิลจะเข้าถึงแค่เนื้อหาที่เปิดเป็นสาธารณะเท่านั้น
Google Search ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ เข้าใจความหมายของประโยคยาวๆ มากขึ้นอีกเยอะ
เริ่มจากเข้าใจการเปรียบเทียบขนาด ว่าอะไรใหญ่ที่สุด หรือยาวที่สุด (superlative) เช่น
ตามด้วยเข้าใจเรื่องช่วงเวลา (point of time) สามารถใช้คำค้นระบุช่วงเวลาได้
“What was the Royals roster in 2013?”
เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา กูเกิลเพิ่งประกาศมาว่ายอดการค้นหาผ่านอุปกรณ์พกพาได้แซงหน้าเดสก์ท็อปไปแล้วในกว่า 10 ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น (และอีก 8 ประเทศที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ)
ผ่านไปราว 5 เดือนเศษ ทีมงานเว็บไซต์ Search Engine Land ได้ติดตามเรื่องนี้อีกครั้งกับ Amit Singhal รองประธานธุรกิจค้นหา ซึ่งอัพเดตสถิติการค้นหาผ่านอุปกรณ์พกพาทั่วโลกว่าได้แซงหน้าเดสก์ท็อปอย่างเป็นทางการแล้ว ไม่ใช่แค่ 10 ประเทศอย่างที่มีข่าวมาก่อนหน้า
Google Search มีฟีเจอร์ App Indexing ทำดัชนีเนื้อหาภายในแอพเพื่อให้ถูกค้นเจอจาก search มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว (ข่าวเก่า) ฟีเจอร์นี้เริ่มจากบน Android แต่กูเกิลก็เคยประกาศไว้ว่าจะรองรับแอพบน iOS ด้วย
วันนี้กูเกิลประกาศว่าหลังจาก iOS 9 มีฟีเจอร์ HTTP deep link standard แบบเดียวกับฝั่ง Android ทำให้นักพัฒนาสามารถรองรับฟีเจอร์ App Indexing ของกูเกิลได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนคือพัฒนาแอพโดยใส่ Universal Links ตามแนวทางของแอปเปิล และเชื่อมกับ SDK ของกูเกิล
Google Search ประกาศอัพเดตอัลกอริทึมรอบใหม่ ลบเว็บที่โดนแฮ็กแล้วฝังสแปมออกจากผลการค้นหา ตัวอย่างเว็บเหล่านี้คือโดนฝังมัลแวร์ หรือโฆษณาสินค้าปลอม ยาผิดกฎหมาย เว็บโป๊เปลือยต่างๆ
กูเกิลบอกว่าการปรับอัลกอริทึมรอบนี้จะกระทบผลการค้นหาประมาณ 5% (แตกต่างไปตามแต่ละภาษา) ในบางคำค้นอาจเห็นรายการเว็บลดลง เนื่องจากเว็บที่โดนแฮ็กถูกถอดออกไป
การปรับอัลกอริทึมครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เจ้าของเว็บไซต์ที่ปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลความปลอดภัยของเว็บไซต์จนโดนแฮ็กต้องตื่นตัวมากขึ้น เพราะจะไม่ติดอันดับผลการค้นหาของกูเกิลนั่นเองครับ
ที่มา - Google Webmaster Central
ผู้ใช้ Google Now Launcher จำนวนหนึ่งรายงานว่า แอพเปลี่ยนหน้าตาจากเวอร์ชันเดิม (เลื่อนด้านข้าง) มาเป็นหน้าตาแบบใหม่ตามอย่าง Android 6.0 Marshmallow (เลื่อนขึ้นจอลง พร้อมกล่อง search ด้านบน)
ประเด็นเรื่องการเลื่อนหน้าจอของ launcher เป็นที่ถกเถียงกันมานานในโลกของ Android และความเห็นของผู้ใช้ก็แยกออกเป็น 2 ฝั่งชัดเจน การที่ Google Now Launcher เปลี่ยนตัวเองโดยไม่บอกกล่าว (แถมไม่สามารถตั้งค่ากลับคืนได้) ย่อมทำให้ผู้ใช้กลุ่มที่ชอบการเลื่อนจอแนวนอนไม่พอใจ และอาจเลิกใช้ Google Now Launcher ไปเลย
ทีม Google Webmaster ที่ดูแลเว็บละเมิดกฎการจัดอันดับ (search ranking) ของกูเกิลออกมาเตือนเว็บที่ทำผิดกฎซ้ำซากว่าอาจถูกแบนถาวร
ปกติแล้ว เวลาที่เว็บละเมิดกฎ Webmaster Guidelines จะโดนกูเกิลคาดโทษ ซึ่งผู้ดูแลสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดของปัญหาได้จากหน้า Search Console เพื่อปรับเว็บให้ตรงตามกฎ และยื่นขอให้กูเกิลนำเว็บนั้นเข้าไปจัดอันดับผลการค้นหาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์บางแห่งเล่นตุกติกโดยการขอให้กูเกิลนำกลับไปจัดอันดับก่อน หลังจากนั้นจึงกลับมาทำผิดกฎอีกรอบ (เช่น ลบลิงก์ที่เป็น nofollow ออก) ซึ่งกูเกิลมองว่าเป็นการจงใจสแปมชัดเจน (a clear intention to spam) และประกาศว่าจะลงโทษเว็บไซต์เหล่านี้รุนแรงขึ้น
หลังจากปล่อยให้รอกันมานาน วันนี้กูเกิลปล่อยอัพเดตแอพ Google Search เวอร์ชันใหม่ 5.3 ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่ทดสอบ Android M รุ่นพรีวิว 3 สามารถใช้งานฟีเจอร์ Now On Tap ได้แล้ว
ฟีเจอร์ Now On Tap เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับ Android 6.0 Marshmallow เรียกใช้งานด้วยการกดปุ่มโฮมค้าง ตัวระบบจะสแกนหน้าจอในขณะนั้น และแนะนำแอพ หรือบริการที่คิดว่าผู้ใช้ต้องการในรูปแบบของการ์ดเหมือน Google Now โดยฟีเจอร์นี้ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ Android M รุ่นพรีวิวตัวแรก แต่เพิ่งมาเปิดให้ใช้งานได้ครั้งแรกในอัพเดตนี้
กูเกิลอัพเดตแอพ Google บน Android (เมื่อก่อนชื่อ Google Search) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปลี่ยนไอคอนตามโลโก้ใหม่ และปรับเปลี่ยนโทนสี แอนิเมชันให้เข้ากับโลโก้ใหม่ด้วย (แอนิเมชันตอนรอฟังคำสั่งเสียงเปลี่ยนเป็นจุดสี 4 จุดตามแบบของใหม่ ปุ่มไมโครโฟนเปลี่ยนสีเล็กน้อย)
แอพตัวเดียวกันเวอร์ชันบน iOS ยังไม่มีการอัพเดต และยังเป็นโลโก้ g เล็กสีฟ้าของเดิมอยู่ครับ
ที่มา - Android Police
ช่วงหลังเราเริ่มเห็นเว็บที่แสดงโฆษณาบังเนื้อหาเกือบเต็มจอ โดยเฉพาะ mobile web ที่มักมีโฆษณาชวนให้ดาวน์โหลดแอพ
โฆษณาแบบนี้สร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้ผู้ใช้งาน ล่าสุด Google Search จึงออกมาตรการใหม่ ถ้าพบโฆษณาบังเนื้อหามากเกินไป กูเกิลจะมองว่าเว็บนั้นไม่มีคุณสมบัติ mobile-friendly และอาจมีผลต่อการจัดอันดับในผลการค้นหาได้
นโยบายใหม่ของกูเกิลจะมีผลเฉพาะโฆษณาเพื่อติดตั้งแอพเท่านั้น ไม่รวมถึงโฆษณาแบบอื่นๆ โดยเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 พ.ย. 2015
ที่มา - Google Webmaster Central Blog
เราทราบกันมานานแล้วว่ากูเกิลชอบซ่อนลูกเล่น หรือ Easter Egg ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตนอยู่เสมอ เช่นการพิมพ์ว่า "Do a barrel roll" ในช่องค้นหาเป็นต้น แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีการเปิดเผยว่ากูเกิลก็ใช้ช่องค้นหานี้เป็นเครื่องมือลับในการค้นหาพนักงานใหม่ให้บริษัทเช่นกัน