ไมโครซอฟท์เปิดให้ใช้งาน DirectSR API กลางของ OS สำหรับการอัพสเกลภาพ Super Resolution (SR) ที่ใช้กับจีพียูได้ทุกค่าย ทั้ง AMD FidelityFX Super Resolution (FSR), Intel XeSS, and NVIDIA DLSS Super Resolution
การมาถึงของ DirectSR ทำให้นักพัฒนาเกมสาย DirectX ทำงานง่ายขึ้น เพราะเขียนเกมให้รองรับ DirectSR อย่างเดียวพอ แล้ว DirectSR จะไปคุยกับจีพียูแต่ละค่ายให้เอง ผลลัพธ์ที่ได้คือเราคงได้เห็นเกมที่รองรับการทำอัพสเกลภาพกันเยอะขึ้น เพราะทำได้ง่ายขึ้นมาก
ในเบื้องต้น DirectSR รองรับ AMD FidelityFX Super Resolution (FSR) 2.2 มาพร้อมในตัว ส่วนอีก 2 ค่ายรองรับที่ระดับไดรเวอร์แล้วเช่นกัน
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องเปิดเผยว่า NVIDIA ได้ลดราคาชิปสำหรับงานปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่ขายในจีนลง เนื่องจากคู่แข่ง Huawei ได้พัฒนาชิปสำหรับงาน AI มาขายเช่นกันในราคาที่ถูกกว่า
จีนถือเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญสำหรับ NVIDIA บริษัทประเมินว่ายอดขายส่วนนี้จะคิดเป็น 17% ของรายได้ทั้งหมดในปีนี้ จึงจำเป็นต้องรักษาส่วนแบ่งการตลาดในประเทศให้ได้ แต่ด้วยข้อจำกัดที่สหรัฐสั่งแบน ห้ามบริษัทจีนซื้อชิป AI รุ่นล่าสุด ทำให้ NVIDIA ขายชิป H20 สถาปัตยกรรม Hopper ที่ปรับปรุงให้ขายในจีนได้โดยเฉพาะ ซึ่งต้องแข่งขันกับ Huawei ที่มีชิป AI เทคโนโลยีล่าสุดคือ Ascend 910B เป็นตัวเลือก ซึ่งมีรายงานว่าผลทดสอบบางด้านแซง H20 ด้วย
Microsoft Azure ประกาศตัวเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่เปิดเครื่อง VM ให้เช่า AMD Instinct MI300X ชิปเร่งความเร็ว AI รุ่นล่าสุดของ AMD ที่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2023
AMD Instinct MI300X เป็นการ์ดเร่งความเร็วที่มีแต่จีพียู CDNA 3 ล้วนๆ (ยังมีรุ่น MI300A ที่มีซีพียู+จีพียู) จุดเด่นข้อหนึ่งของมันคือการใช้แรมความเร็วสูง HBM3 ทำให้แบนด์วิดท์ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นจากการ์ดรุ่นก่อนมาก
ตัว VM ของไมโครซอฟท์ใช้ชื่อว่า ND MI300X v5 โดย VM หนึ่งตัวมีการ์ด MI300X จำนวน 8 ตัว มีแรมขนาดใหญ่ 1.5TB แบนด์วิดท์แรม 5.3 TB/s เหมาะสำหรับงานประมวลผล AI ขนาดใหญ่ ระบบเครือข่ายใช้ InfiniBand ความเร็ว 400 Gb/s ต่อจีพียู รวมกันแล้วเป็น 3.2 Tb/s ต่อ VM
Amazon Web Services (AWS) ออกมาปฏิเสธข่าวจากรายงานของ Financial Times ที่บอกว่าตอนนี้ AWS ได้เข้าสู่การเปลี่ยนผ่านจีพียูในศูนย์ข้อมูลทั้งหมด โดยระงับคำสั่งซื้อจีพียู Hopper ทั้งหมด เพื่อรอเปลี่ยนเป็น Blackwell จีพียูรุ่นล่าสุดที่ NVIDIA เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม ด้วยเหตุผลว่าส่วนต่างราคาไม่มาก จึงเลือกรอรุ่นที่ใหม่กว่า
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA นำเซิร์ฟเวอร์ H200 ไปส่งให้ OpenAI ด้วยตัวเอง หลังจากที่เคยไปส่งเครื่อง DGX-1 ด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อตอนก่อตั้ง OpenAI เมื่อปี 2016
เซิร์ฟเวอร์ H200 เปิดตัวตั้งแต่ปลายปี 2023 และมีกำหนดส่งมอบไตรมาสที่สองของปี 2024 ซึ่ง Greg Brockman ระบุว่านี่เป็นเครื่องแรกของโลก
ที่มา - @gdb
กลุ่มบริษัทไอทีที่ประกอบด้วย Intel, Arm, Google, Samsung, Qualcomm, Fujitsu, Imagination, VMware ร่วมกับ Linux Foundation ก่อตั้งกลุ่ม Unified Acceleration (UXL) Foundation พยายามสร้างมาตรฐานเปิดสำหรับชิปเร่งการประมวลผล (accelerator) ที่มีหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด
งานของ UXL จะอิงกับสเปก oneAPI ที่ Intel บุกเบิกมาหลายปีแล้ว เพื่อมาถ่วงดุลกับ CUDA ของ NVIDIA ที่เป็นเจ้าตลาดนี้มายาวนาน และกลายเป็นตัวช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดจีพียูของ NVIDIA เนื่องจากซอฟต์แวร์จำนวนมากในวงการนั้นอิงกับ CUDA (เหมือน Intel ไปเรียกพวกมาช่วยสนับสนุน oneAPI)
ปีที่แล้วเราเห็นข่าว MediaTek ซื้อไลเซนส์จีพียู NVIDIA ไปใช้กับชิปรถยนต์ Dimensity Auto ของตัวเอง เวลาผ่านมาเกือบปี MediaTek เปิดตัวชิปชุดนี้แล้ว
ชิปชุดนี้ชื่อว่า Dimensity Auto Cockpit มีหน้าที่จัดการแสดงผลหน้าจอรถยนต์ มีทั้งหมด 4 รุ่นย่อยเรียงจากแพงไปถูกคือ CX-1, CY-1, CM-1, CV-1
MediaTek ระบุกว้างๆ ว่าใช้ซีพียู Armv9-A ผลิตที่ 3nm ส่วนจีพียูเป็น NVIDIA RTX รุ่นใหม่ที่ไม่ระบุชื่อสถาปัตยกรรม แต่รองรับฟีเจอร์ ray tracing กับ DLSS3 และรองรับฟีเจอร์ฝั่ง NVIDIA อย่าง DRIVE OS, CUDA, TensorRT ครบถ้วน สามารถรันโมเดลภาษา LLM แบบออฟไลน์ได้จากในตัวรถเลย
มีข้อมูลเพิ่มเติมจากการให้สัมภาษณ์กับ CNBC ของ Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA โดยเขาบอกว่าจีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดสถาปัตยกรรม Blackwell จะมีราคาที่ประมาณ 30,000-40,000 ดอลลาร์ต่อจีพียู ซึ่งเขายังบอกว่า NVIDIA ใช้เงินในการวิจัยพัฒนาไปถึง 10,000 ล้านดอลลาร์
NVIDIA ไม่มีการเปิดเผยราคาจีพียูประมวลผลประสิทธิภาพสูงสำหรับเซิร์ฟเวอร์อย่างเป็นทางการ เนื่องจาก NVIDIA จะขายจีพียูกลุ่มนี้ในรูปแบบแพลตฟอร์มโซลูชัน จึงขึ้นอยู่กับรายละเอียดการสั่งซื้อของลูกค้า โดยรุ่นยอดนิยมที่ออกมาก่อนหน้านี้ H100 สถาปัตยกรรม Hopper มีราคาอยู่ที่ประมาณ 25,000-40,000 ดอลลาร์
NVIDIA เปิดตัวชิปกราฟิกรุ่นต่อไปในชื่อสถาปัตยกรรม Blackwell เป็นชิประดับองค์กร โดยชิป B200 มีทรานซิสเตอร์ภายในถึง 208,000 ล้านทรานซิสเตอร์ ตัวชิปจริงๆ เป็นชิปสองตัวประกบเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมต่อความเร็วสูงระดับ 10TB/s แบบเดียวกับ Apple Silicon ในตระกูล Ultra ตัวชิปเชื่อมต่อกับภายนอกด้วย NVLINK รุ่นที่ 5 รองรับการเชื่อมต่อกับชิปกราฟิกภายนอกแบนวิดท์ 7.2TB/s
ภายในหน่วยประมวลของ Blackwell รองรับข้อมูลชนิดใหม่ FP6 และ FP4 สำหรับการรันโมเดลโดยเฉพาะ ทำให้เมื่อรันโมเดลแบบ FP4 สามารถประมวลผลข้อมูลได้ถึง 20,000 TFLOPS ขณะที่ Hopper ได้ที่ 4,000 TFLOPS FP8 และ Blackwell ประมวลผลได้ 10,000 TFLOPS ที่ FP8
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Blackwell ได้แก่
Remedy Entertainment เตรียมออกแพตช์ใหม่ให้เกม Alan Wake 2 ปรับปรุงคุณภาพของเกมให้ทำงานกับจีพียูรุ่นเก่าๆ ได้ดีขึ้น ผลคือเกม Alan Wake 2 ปรับลดสเปกขั้นต่ำที่ต้องใช้รันเกมลง ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากในเกมทั่วไป
รายละเอียดทางเทคนิคของแพตช์ตัวนี้คือ เดิมทีเกม Alan Wake 2 จำเป็นต้องใช้ฟีเจอร์ Mesh Shading ที่มีในจีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับ DirectX 12 Ultimate ขึ้นไป (เช่น GeForce RTX 20, AMD RDNA 2) ผลคือจีพียูที่เก่ากว่านั้นอย่าง GeForce RTX 10 ที่รองรับแค่ DirectX 12 แต่ไม่ถึงขั้น Ultimate จะเล่นเกมได้ประสิทธิภาพที่แย่มาก
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectSR เป็น API ใหม่ในตระกูล DirectX ช่วยใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ของจีพียูทำ Super Resolution (SR) หรือการขยายสเกลภาพให้ละเอียดขึ้น
เราเห็นฟีเจอร์จำพวก NVIDIA DLSS Super Resolution, AMD FidelityFX Super Resolution, Intel XeSS ออกสู่ตลาดกันมาสักระยะ การออก API ตัวนี้จะช่วยให้นักพัฒนาเกมทำงานง่ายขึ้น เพราะเขียนเกมให้รองรับ DirectSR อย่างเดียวพอ แล้ว DirectSR ไปคุยต่อกับจีพียูแต่ละค่ายให้เอง
NVIDIA เปิดตัวจีพียูสำหรับแล็ปท็อป RTX 500 และ 1000 Ada Generation ที่ใช้สถาปัตยกรรม Ada Lovelace แบบเดียวกับรุ่นก่อนหน้าที่ออกมาเมื่อต้นเดือนอย่าง RTX 2000 หรือก่อนหน้านั้นอีกเช่น 4000/5000
NVIDIA บอกว่าปัจจุบันความต้องการเวิร์กสเตชันแบบไฮบริด ที่รองรับการทำงานของ Generative AI กำลังเป็นมาตรฐานใหม่ของทั้งคนทำงานหลายสาขา เช่น ครีเอเตอร์ นักวิจัย วิศวกร ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องการเครื่องมือที่รองรับการประมวลผลได้ทุกที่
NVIDIA ออกแอพตัวใหม่บนพีซี ชื่อตรงไปตรงมาว่า NVIDIA App มันคือการรวมเอาแอพสองตัวที่แยกกันมานาน ทั้ง GeForce Experience ที่เอาไว้อัพเดตไดรเวอร์ และ NVIDIA Control Panel เอาไว้ตั้งค่าจีพียู มาเป็นตัวเดียวกัน (สักที)
NVIDIA App จะรับงานทุกอย่างทั้งการอัพเดตไดรเวอร์, ตั้งค่าจีพียู, ตั้งค่ากราฟิกแยกเป็นรายเกม, แสดงเมนู In-Game Overlay (Alt+Z) ทับบนหน้าจอขณะเล่นเกม, แสดงเฟรมเรต (Alt+R), ใส่ฟิลเตอร์สีให้ภาพในเกม (Freestyle filter), แจกรางวัลและไอเทมในเกมที่เป็นพันธมิตรกัน
NVIDIA เปิดตัวจีพียูเวิร์คสเตชันรุ่นเล็ก RTX 2000 Ada Generation สำหรับเดสก์ท็อปแบบเวิร์คสเตชัน (Quadro เดิม)
ในขณะที่ GeForce RTX ซีรีส์ 40 กำลังจะสุดรอบของมัน (ธรรมเนียมของ NVIDIA เปิดตัวจีพียูใหม่ทุก 2 ปี) และ GeForce RTX ซีรีส์ 50 โค้ดเนม Blackwell น่าจะเปิดตัวปลายปีนี้
แต่ล่าสุด NVIDIA กลับเปิดตัวจีพียู GeForce RTX 3050 รุ่นแรม 6GB ออกมาเป็นทางเลือกใหม่สำหรับตลาดการ์ดจอรคาถูก และวางตัวมาแทนที่ GeForce GTX 1650 และ 1050 ที่เคยอยู่ในตลาดนี้มาก่อน ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่เราเห็นการ์ดราคาต่ำกว่า 200 ดอลลาร์จากค่าย NVIDIA นับจาก 1650 เป็นต้นมา
NVIDIA เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ RTX Video HDR ให้การ์ดจอตระกูล RTX โดยใช้ Tensor Core ช่วยอัพเกรดวิดีโอจาก SDR เป็น HDR ให้อัตโนมัติ
ฟีเจอร์นี้ยังสามารถใช้ร่วมกับ NVIDIA Video Super Resolution ที่ใช้จีพียูช่วยอัพสเกลวิดีโอให้ความละเอียดสูงขึ้น แปลว่าเราสามารถแปลงวิดีโอความละเอียดต่ำ เป็นวิดีโอความละเอียดสูง + HDR ได้พร้อมกันในทีเดียว
การใช้งานจำเป็นต้องมีการ์ดจอตระกูล RTX และจอภาพที่รองรับ HDR10 จากนั้นอัพเดตไดรเวอร์รอบเดือนมกราคม 2024, เปิดใช้ฟีเจอร์ Windows HDR แล้วเข้าไปตั้งค่า RTX Video Enhancement ใน NVIDIA Control Panel
ที่มา - NVIDIA
AMD ออกไดรเวอร์จีพียู Adrenalin Edition เวอร์ชัน 24.1.1 มีของใหม่ที่สำคัญคือเพิ่มเทคนิคเร่งเฟรมเรต AMD Fluid Motion Frames (AFMF) เข้ามาในไดรเวอร์สายหลักแล้ว หลังจากทดสอบแบบพรีวิวมาสักระยะหนึ่ง
Fluid Motion Frames เป็นเทคนิคสร้างเฟรมตัวเดียวกับที่ใช้ในชุด FidelityFX Super Resolution 3 (FSR 3) ซึ่งเปิดเป็นโอเพนซอร์สไปก่อนหน้านี้ แต่ AFMF มีเฉพาะฝั่งสร้างเฟรม ไม่รวมฝั่งอัพสเกลภาพมาด้วย คราวนี้ AMD ผนวกเข้ามาในไดรเวอร์ของจีพียู Radeon เลย ไม่ต้องดาวน์โหลดแยกเอง และใช้งานกับเกมได้ทุกเกมที่เป็น DirectX 11 และ 12
Mark Zuckerberg เปิดเผยว่าตอนนี้ทีม AI ของบริษัท Meta กำลังเทรนโมเดล Llama 3 บนโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่จะมีจีพียู NVIDIA H100 เพิ่มเป็น 350,000 ตัวภายในสิ้นปี 2024 และถ้านับจีพียูตัวอื่นๆ มารวมด้วย จะเทียบได้กับการมี H100 จำนวนรวม 600,000 ตัว
ตอนนี้ Meta มีทีมพัฒนา AI สองทีมคือ Fundamental AI Research (FAIR) ที่เน้นงานวิจัย และ GenAI ที่เพิ่งตั้งเมื่อต้นปี 2023 เน้นพัฒนาฟีเจอร์ AI ให้กับบริการในเครือ อย่าง WhatsApp, Messenger, Instagram
AMD เริ่มปรับราคา Radeon RX 7900 XT จากราคา 849 ดอลลาร์ (ราคาเปิดตัว 899 ดอลลาร์) ลงมาเหลือ 749 ดอลลาร์ เพื่อรับมือคู่แข่ง GeForce RTX 40 Super ที่เพิ่งเปิดตัว
ราคา 749 ดอลลาร์เป็นราคาที่ AMD แนะนำให้ขาย ซึ่งในทางปฏิบัติ มีการ์ดหลายยี่ห้อที่ตั้งราคาต่ำกว่านั้นแล้ว เช่น ASRock ขาย 7900 XT ที่ 709 ดอลลาร์บนเว็บไซต์ Newegg
เก็บตกสินค้าใหม่งาน CES 2024 ค่าย Lenovo นอกจากมี โน้ตบุ๊กวินโดวส์ผสมแท็บเล็ตแอนดรอยด์ ThinkBook Plus Gen 5 Hybrid เป็นสินค้าแนวทดลอง ยังมีสินค้ากลุ่ม ThinkBook ที่เป็นโน้ตบุ๊กธุรกิจสายมาตรฐาน เปิดตัวใหม่ด้วยกัน 3 ขนาดหน้าจอ
เราเห็นค่าย NVIDIA มีฟีเจอร์ Video Super Resolution ช่วยอัพสเกลวิดีโอ โดยใช้ได้กับทั้งการชมวิดีโอผ่านเบราว์เซอร์ และผ่าน VLC กันไปแล้ว
ล่าสุดมีข่าวว่าฝั่งของค่าย AMD กำลังพัฒนาฟีเจอร์แบบเดียวกันในชื่อ FidelityFX Super Resolution โดยโชว์การใช้จีพียูอัพสเกลภาพจาก 720p เป็น 1440p แล้วภาพไม่แตกด้วย
AMD เริ่มโชว์ฟีเจอร์นี้ในงาน CES 2024 โดยบอกว่ากำลังร่วมมือกับ VLC พัฒนาแอพให้รองรับฟีเจอร์นี้ ซึ่งจะออกภายในไตรมาส 1/2024
Tom Petersen วิศวกรระดับสูงของอินเทล (ตำแหน่งคือ Intel Fellow) ให้สัมภาษณ์กับ PCWorld ที่งาน CES 2024 และยืนยันว่าจีพียู Intel Arc รุ่นที่สองรหัส Battlemage จะออกขายภายในปี 2024 ตามแผน
เขาให้ข้อมูลว่าตอนนี้ Battlemage เริ่มผลิตตัวจีพียูจริงมาทดสอบในแล็บแล้ว และทีมงาน 30% ในทีม Arc กำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ Battlemage อยู่ ส่วนทีมฮาร์ดแวร์ก็เริ่มลงมือพัฒนาจีพียูรุ่นที่สาม โค้ดเนม Celestial แล้ว โดยเขาคาดว่าน่าจะเปิดตัว Battlemage ได้ก่อนงาน CES 2025 ช่วงต้นปีหน้า
ตามแผนของอินเทลเคยประกาศ Arc ทั้งหมด 4 รุ่น โค้ดเนมเรียงตามอักษรคือ Alchemist, Battlemage, Celestial, Druid โดยใช้สถาปัตยกรรมซีพียู Xe-HPG, Xe2-HPG, Xe3-HPG และ Xe Next ตามลำดับ
ASUS เปิดตัวสินค้ากลุ่มเมนบอร์ดและการ์ดจอซีรีส์ BTF (Back-to-The-Future) ที่เสนอแนวทางดีไซน์แบบใหม่ ไม่มีสายเคเบิลมาให้เห็นเกะกะภายในเคสพีซี (hidden-connector)
แนวทางของ BTF ไม่ใช่ตัดสายเคเบิลทิ้งไปทั้งหมด แต่ปรับให้พอร์ตเชื่อมต่อสายไฟไปอยู่ตำแหน่งใต้บอร์ดแทน (ดูภาพประกอบ) เพื่อให้สายเคเบิลไม่พันเกะกะทับกับชิ้นส่วนการ์ดจอต่างๆ ที่เสียบลงด้านหน้าบอร์ด
บอร์ดตระกูล BTF สองรุ่นแรกที่เปิดตัวและวางขายคือ ROG Maximus Z790 Hero BTF ที่ใช้ดีไซน์สะอาดตาแต่ก็ยังดูโฉบเฉี่ยว กับ TUF Gaming Z790-BTF WiFi ที่เน้นโทนสีขาว สว่าง สะอาด บอร์ดทั้งสองรุ่นใช้ชิปเซ็ต Z790 ของอินเทล และรองรับ Wi-Fi 7 ในตัว
NVIDIA เปิดตัวจีพียู GeForce RTX 40 SUPER ตามความคาดหมาย โดยออกเป็น 3 รุ่นย่อย ได้แก่ GeForce RTX 4080 Super, 4070 Ti Super, 4070 Super มีสเปกตรงตามข่าวลือ
จากข่าวลือก่อนหน้านี้ ว่า AMD จะเปิดตัวจีพียู Radeon RX 7000 ใหม่ 3 รุ่นย่อย (7600 XT, 7700, 7800) วันนี้ข่าวจริงมาแล้ว โดยเปิดตัวมาแค่รุ่นเดียวคือ Radeon RX 7600 XT
Radeon 7600 XT เป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ Radeon RX 7600 ตัวธรรมดา มีตัวคอร์เท่ากัน (32 CU, 32 raytracing) แต่เพิ่มแรมจาก 8GB มาเป็น 16GB และเพิ่มคล็อคจาก 2250 MHz เป็น 2470 MHz, อัตราการใช้พลังงาน 190W, ราคาขาย 329 ดอลลาร์ เทียบกับตัวธรรมดาราคา 269 ดอลลาร์ เริ่มวางขาย 24 มกราคม 2024