"หมอ กทม." แอปภายใต้โครงการ Smart OPD แอปเดียวใช้ได้กับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมครบทั้ง 11 แห่ง เพื่อความทั่วถึงและฉุกเฉิน รองรับให้บริการคนไข้นอกกว่า 4 ล้านคนต่อปี โดยจะใช้บริการได้ครบ 11 โรงพยาบาลภายในปลายเดือนมีนาคม 2565
"หมอ กทม." แอปภายใต้โครงการ Smart OPD แอปเดียวใช้ได้กับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมครบทั้ง 11 แห่ง เพื่อความทั่วถึงและฉุกเฉิน รองรับให้บริการคนไข้นอกกว่า 4 ล้านคนต่อปี โดยจะใช้บริการได้ครบ 11 โรงพยาบาลภายในปลายเดือนมีนาคม 2565
Health Affairs วารสารวิชาการด้านสุขภาพได้เผยแพร่บทความใหม่เกี่ยวกับสุขภาพและการเหยียดเชื้อชาติ (Racism & Health) เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเริ่มโปรโมตบทความดังกล่าวผ่านระบบโฆษณาตามกลุ่มเป้าหมายบน Twitter และ YouTube แต่ทางวารสารพบว่าทั้งสองแพลตฟอร์มสั่งบล็อคไม่ยอมให้แคมเปญนี้ขึ้นระบบโฆษณาของตัวเอง
แพทย์เยอรมัน พบหนุ่มวัย 31 ปี มีอาการกระดูกสันหลังส่วนคอข้อ C7 แตก หลังเล่นเกมดนตรีที่ไม่ระบุว่าเป็นเกมอะไรบน VR มากสุดถึงวันละ 4 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน จนการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ที่รุนแรง ทำให้กระดูกคอของเขาเสื่อมและแตกในที่สุด
หนุ่มคนนี้มาพบแพทย์หลังมีอาการเจ็บไหล่ พร้อมบอกแพทย์ว่าเล่นเกม VR วันละประมาณ 1-4 ชั่วโมง และไม่ได้หกล้ม แพทย์พบกระดูกข้อ C7 แตกหลังเอ็กซเรย์ ทำให้เขาต้องใส่เฝือกคอ 6 สัปดาห์ และหายดีใน 12 สัปดาห์
แม้ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลก แต่ไม่ว่าสิ่งใดจะดีแค่ไหนก็ย่อมมีข้อจำกัด ทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ รวมถึงความเหลื่อมล้ำในการให้บริการ ที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ ในเมือง ย่อมมีผู้ต้องการรักษามากกว่า ทำให้เกิดการกระจุกตัวของผู้ป่วยในเขตเมืองใหญ่เป็นหลัก
Digital Health Venture หรือเรียกชื่อย่อว่า DHV เป็นบริษัทในเครือโรงพยาบาลสมิติเวช ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยการยึดคนไข้เป็นจุดศูนย์กลาง (Patient-centric) นำระบบสาธารณสุขออกไปสู่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศ เป็นการลดภาระในการเดินทางของคนไข้ ลดความแออัด และเพิ่มประสิทธิภาพของ Healthcare Ecosystem ของเมืองไทย
ไอบีเอ็มประกาศลงนามข้อตกลง เพื่อขายสินทรัพย์ของธุรกิจจัดการข้อมูลสุขภาพ และ Analytics ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจ Watson Health ให้กับบริษัทด้านการลงทุน Francisco Partners
มีรายงานมาตั้งแต่ปีที่แล้วว่าไอบีเอ็มพยายามหาผู้มาซื้อธุรกิจ Watson Health เนื่องจากไม่ทำกำไรอย่างที่ต้องการ และก็มีข่าวอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรายการสินทรัพย์ที่ขายนี้รวมทั้ง Health Insights, MarketScan, Clinical Development, Social Program Management และ Micromedex
เมื่อต้นปี 2021 เคยมีข่าวลือมารอบหนึ่งแล้วว่า IBM อยากขายธุรกิจ Watson Health ออกไป เพราะเป็นธุรกิจที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้อย่างที่คิด
ต้นปีนี้มีข่าวลืออีกรอบจากเว็บไซต์ Axios ว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการหาผู้ซื้อ โดยปิดรับข้อเสนอจากบริษัทต่างๆ ในสัปดาห์นี้ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปช่วงสิ้นเดือนมกราคม ตามข่าวบอกว่ามีบริษัทอื่นเสนอซื้อในเชิงยุทธศาสตร์ 1 ราย ที่เหลือเป็นบริษัทลงทุน (private equity) ที่อยากซื้อกิจการไปปั้นขายหรือขายหุ้น IPO ในอนาคต
Oracle ประกาศข่าวการซื้อ Cerner Corp บริษัทผู้พัฒนาระบบไอทีด้านการแพทย์ ด้วยมูลค่าสูงถึง 28.3 พันล้านดอลลาร์ (ราว 9.5 แสนล้านบาท) ตามข่าวลือก่อนหน้านี้ การซื้อกิจการครั้งนี้ถือเป็นการซื้อกิจการครั้งใหญ่ที่สุดของ Oracle ด้วย
Cerner เป็นบริษัทด้านระบบไอทีเพื่อการแพทย์ ก่อตั้งในปี 1979 ปัจจุบันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq และมีพนักงานทั่วโลกมากกว่า 29,000 คน ซีอีโอคนปัจจุบัน David Feinberg เคยเป็นหัวหน้าทีม Google Health มาก่อน
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า ออราเคิลกำลังเจรจาเพื่อซื้อกิจการ Cerner Corp บริษัทผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ สำหรับระบบ IT ในสายสุขภาพการแพทย์ มูลค่าดีลอาจสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์
Cerner พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับโรงพยาบาลและบุคลากรการแพทย์ ใช้การเก็บข้อมูลผู้ป่วยตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องบนคลาวด์ มูลค่ากิจการปัจจุบันตามราคาในตลาดหุ้นคือ 23,000 ล้านดอลลาร์
ประเมินว่าดีลดังกล่าวจะทำให้ออราเคิลเข้าสู่ธุรกิจผู้ให้บริการบนคลาวด์ที่มากขึ้น และเจาะสู่ตลาดสุขภาพที่ออราเคิลมีความสนใจอยู่แล้ว
ที่มา: The Wall Street Journal
Amazon เปิดตัวบริการสุขภาพและการรักษาเบื้องต้นผ่านระบบการรักษาทางไกล (telemedicine) ในชื่อว่า Amazon Care เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ล่าสุดตอนนี้ Amazon ได้ลูกค้ารายใหญ่คือ Hilton เชนโรงแรมของสหรัฐฯ เข้ามาเป็นลูกค้ารายสำคัญของบริการนี้
Amazon Care ให้บริการด้านสุขภาพหลากหลาย ตั้งแต่การส่งข้อความหรือวิดีโอคอลคุยกับแพทย์ และให้บริการถึงบ้านในบางเมือง โดย Amazon เริ่มทดลองให้บริการกับพนักงานของตัวเองเป็นกลุ่มแรกตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว และเพิ่งจะเริ่มทำการตลาดบริการนี้อย่างจริงจังในสหรัฐฯ ครบทั้ง 50 รัฐในช่วงกลางปีที่ผ่านมา
Wall Street Journal รายงานโดยอ้างอิงจากเอกสารภายในระบุว่า ตอนนี้แอปเปิลกำลังพัฒนาการใช้งานหูฟัง AirPods ขึ้นอีกขั้น ให้เป็นอุปกรณ์เพื่อสุขภาพ เพิ่มเซนเซอร์การจับท่าทางเพื่อให้เราอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง และในตัวโปรโตไทป์ยังเพิ่มการวัดอุณหภูมิร่างกายได้ด้วย
ข้อมูลใน Play Store ล่าสุด ระบุว่า Google Fit แพลตฟอร์มเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ มีจำนวนดาวน์โหลดมากกว่า 100 ล้านครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่รวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา เพราะยอดดาวน์โหลดอยู่ที่ 50 ล้าน เมื่อสองปีที่แล้ว
Google Fit เปิดตัวเมื่อปี 2014 หรือเมื่อ 7 ปีก่อน และมีการปรับดีไซน์ครั้งใหญ่ในปี 2018
ทั้งนี้คาดว่าจะเห็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ จาก Google Fit มากขึ้น เมื่อกูเกิลเริ่มรวมบริการและการจัดเก็บข้อมูลของ Fitbit ที่ซื้อกิจการมาตั้งแต่ปี 2019 เข้ามารวมอยู่ด้วย
9to5Google ได้ดีคอมไฟล์แอป Fitbit บน Android พบฟีเจอร์ใหม่ในโค้ดที่ยังไม่มีให้ใช้งานในแอปเวอร์ชันปัจจุบัน นั่นคือระบบตรวจจับการนอนกรนและเสียงโดยรอบ ซึ่งใช้ไมโครโฟนใน Fitbit รุ่นที่รองรับ ทำการเก็บข้อมูลเสียงเมื่อผู้สวมใส่นอนหลับ
Fitbit ระบุว่าฟีเจอร์นี้แยกการทำงานเป็นสองส่วน คือ ตรวจระดับเสียงโดยรอบเวลานอนเพื่อให้ได้ค่าระดับเสียงฐาน จากนั้นจึงจับค่าเสียงอื่นที่เข้ามา และแยกแยะว่าเป็นเสียงของการนอนกรน แล้วคำนวณเพื่อรายงานว่าผู้ใช้งานนอนกรนเป็นระยะเวลานานเท่าใด เทียบกับระยะเวลานอนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลว่าอัตราการนอนกรนสามารถสะท้อนภาวะสุขภาพได้
Amazon เปิดตัว WorkingWell โปรแกรมเพื่อสุขภาวะที่ดีแก่พนักงาน ลดโอกาสการบาดเจ็บจากการทำงานให้พนักงานทั่วสหรัฐฯ มีเป้าหมายจะลดการบาดเจ็บจากการทำงานได้ 50%
ในโกดังสต็อกสินค้า Amazon จะสร้างโซนเพื่อให้พนักงานได้พักยืดเหยียดร่างกาย ทำสมาธิ มีแม้กระทั่ง AmaZen เป็นเครื่อง kiosk ที่พนักงานมาดูคลิปทำสมาธิได้ อย่างไรก็ตาม ในเนื้อหาแถลงการณ์ไม่ได้ระบุเรื่องการลดโควต้าการทำงาน หรือลดเวลาการทำงานแต่อย่างใด
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แถลงผลงานต่อรัฐสภาสหรัฐในโอกาสทำงานครบ 100 วัน ประเด็นที่น่าสนใจคือเขาเสนอตั้งหน่วยงานวิจัยแบบเดียวกับ DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แต่มีภารกิจด้านสุขภาพและการแพทย์แทน
ไบเดน อ้างถึงผลงานของ DARPA ที่ก่อตั้งในปี 1958 ว่าถึงแม้เป็นหน่วยงานด้านการทหาร มีภารกิจด้านความมั่นคง แต่ผลจากงานวิจัยของ DARPA ก็สร้างคุโณปการต่อโลกเทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น อินเทอร์เน็ตและ GPS
Johnson & Johnson แถลงว่ามีวัคซีน COVID-19 หนึ่งล็อตจากโรงงาน Emergent Biosolutions ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพทำให้ต้องทิ้งวัคซีนไปทั้งหมด 15 ล้านโดส ทางบริษัทยืนยันว่าวัคซีนทั้งหมดยังไม่ไปถึงขั้นตอนบรรจุขวด
แม้จะทิ้งวัคซีนไป แต่ Johnson & Johnson ก็ยังส่งมอบวัคซีนให้รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ตามกำหนด โดยสิ้นเดือนมีนาคมสามารถส่งมอบได้แล้ว 20 ล้านโดส และมีแผนจะส่งมอบรวม 100 ล้านโดสภายในเดือนพฤษภาคม
Emergent BioSolutions เป็นผู้รับจ้างผลิตวัคซีน COVID-19 รายสำคัญ โดยผลิตให้ทั้ง Johnson & Johnson, Novavax, และ AstraZeneca ทาง Johnson & Johnson เองระบุว่าการให้ Emergent ช่วยผลิตให้เป็นกำลังสำคัญทำให้บริษัทสามารถส่งมอบวัคซีนได้ปริมาณมากเช่นนี้
กูเกิลประกาศเพิ่ม Sleep API ในชุดพัฒนา Activity Recognition API บน Android เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลตรวจจับการนอนหลับของผู้ใช้งาน สำหรับนำไปพัฒนาแอปด้านสุขภาพ
ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้มีสองส่วนคือ ข้อมูลระดับการนอนหลับในช่วงกำหนดเวลา และข้อมูลการนอนหลับแต่ละวัน เมื่อตรวจจับการตื่นนอนได้ โดยอาศัยเซ็นเซอร์ตัววัดแสงและการเคลื่อนไหวในอุปกรณ์ ทั้งนี้ผู้ใช้งานต้องอนุญาตให้เข้าถึง Physical Activity Recognition จึงจะสามารถเก็บข้อมูลนี้ได้
กูเกิลบอกว่า Sleep API นี้ช่วยให้การเก็บข้อมูลนอนหลับผ่านอุปกรณ์ทำได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่ต้องใช้การรวมข้อมูลผ่านหลายแอปและเครื่องมือ ส่งผลต่อแบตเตอรี่อุปกรณ์
Sleep API เปิดให้นักพัฒนาใช้งานแล้วในอัพเดตล่าสุดของบริการ Google Play
SCB 10X ร่วมกับ Digital Health Venture บริษัทในเครือโรงพยาบาลสมิติเวช เปิดตัว SkinX แพลตฟอร์มพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์ ตั้งแต่ปัญหาสิว ผิวหนัง และหนังศรีษะ รวมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางกว่า 50 คน จาก 17 โรงพยาบาลและคลินิกผิวหนัง เช่น รพ.สมิติเวช, เมโกะ คลินิก, ผิวดีคลินิก, Iskyคลินิก, Smith prive' aesthetique และ Thera คลินิก เป็นต้น ดาวน์โหลดได้แล้วทั้ง iOS และ Android
Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้ Google Fit สามารถตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจได้แล้วโดยอาศัยแค่กล้องเท่านั้น กล้องหน้าจะใช้ตรวจจับการหายใจ โดยการวางกล้องให้มีองศาเห็นหน้าและหน้าอก ขณะที่การเต้นหัวใจใช้นิ้วแตะที่กล้องหลัง
Google บอกว่าใช้ Computer Vision ในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ระดับพิกเซล อย่างการเคลื่อนที่ของหน้าอก หรือการเปลี่ยนสีที่ปลายนิ้วในระดับที่ตามนุษย์อาจจะมองไม่เห็น ขณะที่ตัวกล้องบนสมาร์ทโฟนปัจจุบันก็ละเอียดพอจะทำได้อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามฟีเจอร์นี้ไม่ใช่ฟีเจอร์ด้านการแพทย์สำหรับการตรวจหาอาการผิดปกติใด ๆ แค่เป็นฟีเจอร์ด้านสุขภาพพื้นฐานเท่านั้น
พร้อมกับการออกอัพเดต iOS 14.4 แอปเปิลก็ออกอัพเดต watchOS 7.3 ซึ่งมาพร้อมคุณสมบัติสำคัญที่มีรายงานในเวอร์ชัน RC เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นั่นคือเพิ่มการทำงานตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผ่านแอป ECG สำหรับผู้ใช้งานในประเทศไทย โดยรองรับการทำงานบน Apple Watch Series 4, 5 และ 6
นอกจาก ECG ในอัพเดตนี้ยังเพิ่มการแจ้งเตือนจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ สำหรับผู้ใช้งานในประเทศไทยด้วย ในอัพเดตรอบนี้นอกจากไทยแล้ว ยังมีญี่ปุ่น, มายอต และฟิลิปปินส์ ที่ได้ 2 คุณสมบัติใหม่ในรอบนี้เช่นกัน และยังมีไต้หวันที่เพิ่มเฉพาะคุณสมบัติเตือนการเต้นของหัวใจ
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา วารสารทางการแพทย์ HeartRhythm Journal ตีพิมพ์บทความที่ระบุว่าคลื่นแม่เหล็กจาก iPhone 12 และนาฬิกาข้อมือเพื่อการออกกำลังกายที่ปล่อยคลื่นแม่เหล็ก อาจส่งผลกระทบกับเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบฝัง หรือ ICD (Implantable Cardioverter Defibrillator) ได้
ทำให้ล่าสุด Apple ได้เพิ่มคำอธิบายเกี่ยวกับแม่เหล็กในมือถือตระกูล iPhone 12 ระบุว่าแม้จะมีแม่เหล็กมากกว่ารุ่นก่อนๆ แต่ Apple ไม่คิดว่า iPhone 12 จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบฝังมากกว่าเดิมแต่อย่างใด
แอปเปิลออกอัพเดต iOS 14.4 และ watchOS 7.3 ให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจจับคลื่นหัวใจผ่านแอป ECG บน Apple Watch Series 4, 5 และ 6 ได้แล้วในประเทศไทย หลังได้รับการอนุมัติจาก อย. และจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ประเภท Class I โดยตอนนี้ยังปล่อยแบบตัวทดสอบ (Release Candidate) ก่อน ตัวจริงน่าจะปล่อยช่วงต้นสัปดาห์หน้า
การวัดคลื่นหัวใจของ Apple Watch จะเป็นแบบ single-lead สามารถตรวจวัดได้แค่อาการหัวใจเต้นพริ้ว (Atrial Fibrillation) เป็นหลักเท่านั้น หากต้องการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้ง 4 ห้อง หรืออาการป่วยเกี่ยวกับหัวใจ ควรไปพบแพทย์และตรวจที่โรงพยาบาลด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12-lead
อ่านเพิ่มเติม ไขข้อสงสัยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) บน Apple Watch โดยแพทย์ รพ. สมิติเวช
ที่มา - แอปเปิล
หน่วยงานสุขภาพไม่แสวงหากำไร CARIN Alliance, Cerner, Change Healthcare, The Commons Project Foundation, Epic, Evernorth, Mayo Clinic, MITER, Safe Health และบริษัทเทคโนโลยีคือ Microsoft, Salesforce, Oracle เข้าร่วมโครงการ The Vaccination Credential Initiative (VCI) สร้างระบบบันทึกสถานะการฉีดวัคซีน COVID-19 ของแต่ละคนในรูปแบบดิจิทัล
เป้าหมายของ VCI คือ สร้างมาตรฐานและให้ข้อมูลรับรองการฉีดวัคซีนในรูปแบบดิจิทัลที่คนสามารถเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย และทำงานร่วมกันได้ เพราะในอนาคตจะมีการตรวจสอบสถานะการฉีดวัคซีนมากขึ้นเพื่อการกลับไปใช้ชีวิตปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว
บัญชี Twitter ของ OnePlus ประเทศอินเดียปล่อยภาพทีเซอร์ที่คาดว่าจะเป็นสายรัดข้อมือฟิตเนสชิ้นแรกของ OnePlus โดยใช้คำโปรยว่า ปีนี้เราจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายฟิตเนสทุกเป้า และทำให้ชีวิตง่ายยิ่งขึ้น พร้อมติดแท็ก #SmartEverywear
สำหรับสายรัดข้อมือของ OnePlus นี้มีข่าวลือมาสักระยะแล้ว โดย Android Central เคยรายงานว่าจะใช้ชื่อ OnePlus Band และ @ ishanagarwal24 ได้รายงานข้อมูลคร่าว ๆ ว่าสายรัดข้อมือฟิตเนสใหม่จาก OnePlus นี้จะมีตัววัดอัตราการเต้นของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมระบบมอนิเตอร์ระดับออกซิเจนในเลือด, ระบบติดตามการนอนหลับ, หน้าจอ AMOLED ระบบสัมผัสขนาด 1.1 นิ้ว, แบตเตอรี่อยู่ได้ 14 วัน, กันสภาพอากาศตามมาตรฐาน IP68 และมีโหมดในการออกกำลังกายถึง 13 โหมด
NVIDIA เปิดตัว Medical Open Network for AI (MONAI) เฟรมเวิร์คโอเพนซอร์สสำหรับ AI วิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ (medical imaging เช่น x-ray, CT, MRI, ultrasound) ตัวมันเองพัฒนาจาก PyTorch โดยมีโมเดลที่เทรนมาให้พร้อมใช้งานแล้ว 20 ตัว รวมถึงโมเดลใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาสำหรับ COVID-19 ด้วย
MONAI เริ่มพัฒนาโดย NVIDIA และ King’s College London แต่ภายหลังก็มีสถาบันวิจัยด้านการแพทย์ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และจีน เข้ามาร่วมพัฒนาด้วย