อัพเดตข้อมูลเพิ่มตามคำชี้แจงของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐ ที่ก่อตั้งโดยกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ถูกจับได้ว่าเผยแพร่ข่าวปลอมเรื่องไวรัส COVID-19
เรื่องราวเริ่มต้นจาก Khaosod Online เผยแพร่ข่าวที่อ้างอิงจากสถานทูตไทยในลอนดอน ระบุว่าคนไทยที่เดินทางเข้าสหราชอาณาจักรอาจต้องถูกกักกันเพื่อดูอาการ 14 วัน ถ้าพวกเขามีอาการส่อว่าจะเกิดโรค ไมว่าจะเป็นไข้ ไอ จาม หายใจติดขัด
หลังจากนั้นศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ว่าข่าวของ Khaosod Online ไม่เป็นความจริง และบอกด้วยว่าเพจสถานทูตไทยในลอนดอนนั้นเป็นเพจปลอม ซึ่ง Khaosod Online ได้ตรวจสอบเพจแล้วว่าเป็นเพจจริง ซึ่งล่าสุด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็ลบโพสต์ที่ตัวเองเผยแพร่แบบผิดๆ ออกไปแล้วโดยไม่มีการชี้แจงแต่อย่างใด สามารถดูหน้าตาโพสต์ข่าวของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ที่แหล่งข่าวต้นทาง
ก่อนหน้านี้ Facebook ประกาศมาตรการด้านข้อมูลไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 บนแพลตฟอร์ม ลบโพสต์และบล็อกแฮชแท็กที่แพร่ข้อมูลปลอม และวิธีการรักษาแบบผิดๆ ล่าสุด Facebook เตรียมแบนโฆษณาที่ชวนเชื่อเรื่องการรักษาไวรัส หรือโฆษณาที่ให้ความรู้สึกว่าต้องซื้อด่วน เพราะของมีจำกัด
ทาง Facebook บอกด้วยว่า มาตรการแบนโฆษณาสินค้านี้จะนำไปใช้กับ Marketplace แพลตฟอร์มขายของใน Facebook ด้วย
ซึ่งช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสนั้น Facebook เป็นอีกแพลตฟอร์มที่มียอดการซื้อขายหน้ากากอนามัยสูงมาก และมีการโก่งราคาด้วย เช่นกันกับแพลตฟอร์มอื่นเช่น Amazon ที่บุคคลที่สามขายหน้ากากในราคาสูง
เหตุโคโรนาไวรัส COVID-19 ระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้ซัมซุงต้องปิดโรงงานผลิตสมาร์ทโฟนที่เมือง Gumi ชั่วคราว หลังพบว่ามีพนักงานรายหนึ่งติดเชื้อไวรัส
โรงงานแห่งนี้ใช้ผลิตสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมของซัมซุง เช่น Galaxy Fold หรือ Galaxy Z Flip ในขณะที่สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ของซัมซุงผลิตที่เวียดนาม
ซัมซุงสั่งปิดโรงงานจนถึงวันจันทร์นี้ (24 ก.พ.) เพื่อไม่ให้ไวรัสระบาดไปยังพนักงานคนอื่นๆ และยังจำกัดไม่ให้เข้าชั้นที่พนักงานคนนี้ทำงานไปจนถึงวันอังคาร (25 ก.พ.)
HERE Technologies ผู้พัฒนา HERE Maps เปิดตัวหน้าเว็บแผนที่แบบ interactive สำหรับติดตามการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Center for Systems Science and Engineering มหาวิทยาลัย Johns Hopskin และ DXY ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์ของแพทย์และคนในวงการสาธารณสุขจีน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย The University of Texas at Austin และ National Institutes of Health ประกาศความสำเร็จในการสร้าง "แผนผัง 3 มิติ" ที่ครอบคลุมบางส่วนของไวรัสโคโรนา COVID-19 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการสร้างวัคซีนเพื่อต่อสู้กับไวรัส
Jason McLellan หัวหน้าคณะนักวิจัย (คนซ้ายในภาพ) เคยศึกษาไวรัสโคโรนาตัวอื่นๆ (เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV) อยู่ก่อนแล้ว และพัฒนาวิธีการล็อค "หนาม" (spike) ของไวรัสที่ยื่นออกมารอบตัว เพื่อให้วิเคราะห์ไวรัสได้ง่ายขึ้น เมื่อไวรัส COVID-19 ระบาด ทีมงานก็เริ่มลงมือทำงานทันที เพราะมั่นใจว่าความเชี่ยวชาญที่ผ่านมาจะช่วยให้สร้างผังไวรัสได้เร็ว
สำนักงานสิทธิ์บัตรสหรัฐฯ มอบสิทธิบัตรการออกแบบหน้ากากกันฝุ่นอัจฉริยะให้ Xiaomi เป็นหน้ากากกันฝุ่นที่มีความสามารถตรวจวัดคุณภาพอากาศขณะที่สวมใส่ได้
สิทธิบัตรระบุว่าเซ็นเซอร์ในหน้ากากสามารถตรวจวัดคุณภาพ เช่น ปริมาณฝุ่น, โอโซน, คาร์บอนมอนอกไซด์ นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหว เพื่อให้รู้ว่าผู้ใช้เคลื่อนตัวเร็วเพียงใด จะได้สามารถคำนวณปริมาณอากาศที่หายใจได้ถูกต้อง แปลผลเป็นปริมาณมลพิษที่จะได้รับหากไม่ได้ใส่หน้ากาก
ใบขอสิทธิบัตรนี้ขอไว้ตั้งแต่ปี 2016 และเพิ่งได้รับเป็นสิทธิบัตรจริง โดยสิทธิบัตรจำนวนมากก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทจะผลิตสินค้าออกมา แต่ปัญหาฝุ่นควันในช่วงหลังนี้ทำให้ไอเดียในสิทธิบัตรนี้น่าสนใจทีเดียว
Facebook ประกาศยกเลิกการจัดงานสัมมนาด้านการตลาดออนไลน์ Global Marketing Summit ที่ซานฟรานซิสโกช่วงเดือนมีนาคม ด้วยเหตุผลว่ากลัวปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19
งานสัมมนานี้จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุม Moscone Center ใจกลางเมืองซานฟรานซิสโก ช่วงวันที่ 9-12 มีนาคม และคาดว่ามีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คน อย่างไรก็ตาม Facebook ยืนยันว่าจะกลับมาจัดงานอีกครั้งในปีถัดๆ ไป
GSM Association หรือ GSMA ผู้จัดงาน Mobile World Congress (MWC) ประกาศยกเลิกการจัดงานในปีนี้ จากเหตุระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีหลายบริษัทออกมาประกาศงดเข้าร่วมงาน
แถลงการณ์ของ GSMA ระบุว่าด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยทางสุขภาพในเมืองบาร์เซโลนา เมืองที่จัดงาน MWC ตลอดจนปัญหาข้อจำกัดในการเดินทางที่ประกาศก่อนหน้านี้ ทำให้ GSMA ไม่สามารถจัดงานได้เลย จึงตัดสินใจยกเลิกงานในปีนี้ โดย GSMA ยังคงแผนจัดงาน MWC ในปี 2021 ต่อไป
WordPress ประกาศยกเลิกงานสัมมนาใหญ่ครั้งแรกประจำภูมิภาคเอเชีย WordCamp Asia 2020 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพ ในวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์นี้ ด้วยเหตุผลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนา
ผู้ที่ซื้อตั๋วเข้างานไปแล้วจะได้รับการติดต่อเรื่องการคืนเงินทางอีเมล และจะได้รับตั๋วเข้าร่วมงาน WordCamp Asia ครั้งต่อไปฟรีด้วย แม้จะคืนเงินตั๋วรอบนี้ไปแล้วก็ตาม
ทีมงาน WordPress คาดว่าจะยกเลิกงาน WordCamp Asia ปี 2020 ไปเลย และคาดว่าจะจัดงานใหม่ในช่วงต้นปี 2021 แทน
Matt Mullenweg หัวหน้าโครงการ WordPress ระบุว่างานนี้จะมีนักพัฒนาเข้าร่วมมากถึง 1,300 คน แต่เขาต้องตัดสินใจไม่จัดงานครั้งนี้ต่อ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้
หนังสือพิมพ์ Strait Times รายงานว่ามีเมืองอย่างน้อย 3 เมืองในประเทศจีนสั่งห้ามขายยาลดไข้และยาแก้ไอ เช่น codeine, ibuprofen, และ aspirin ตลอดจนตำรับยาโบราณ รวมรายชื่อยาต้องห้าม 106 รายการ โดยคำสั่งห้ามนี้มีผลถึงเว็บอีคอมเมิร์ชที่ขายยาด้วยเช่นกัน
อาการไอและมีไข้เป็นอาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อ coronavirus โดยผู้ที่มีอาการทั้งสองอย่างจะได้คำแนะนำให้ไปโรงพยาบาลแทน
สำหรับบางเมืองที่ยังไม่ได้สั่งห้ามการขายยาเหล่านี้ ก็มีคำสั่งให้ร้านขายยาต้องบันทึกตัวตนผู้มาซื้อยา, ขอข้อมูลติดต่อ, และวัดไข้ผู้ซื้อทุกครั้ง
ที่มา - Strait Times
จากการที่หลายบริษัทประกาศไม่เข้าร่วมงาน Mobile World Congress 2020 ที่บาร์เซโลนาช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากกังวลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ทาง GSMA ผู้จัดงาน ประกาศออกมาตรการดูแลผู้เข้าร่วมงานแล้ว
โดยผู้ที่เดินทางมาจากหูเป่ย์จะไม่รับอนุญาตให้เข้าร่วมงาน ส่วนผู้ที่เดินทางจากจีน จะต้องแสดงข้อมูลเช่น หนังสือเดินทาง หรือใบตรวจสุขภาพ ว่าได้ออกนอกประเทศจีนมาแล้วเกิน 14 วัน ส่วนภายในงานจะมีเครื่องวัดอุณหภูมิติดตั้ง รวมทั้งขอให้ผู้ร่วมงานยืนยันว่าไม่เคยสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
เราเห็นข่าว LG ประกาศถอนตัวไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 เพราะกลัวไวรัสโคโรนาระบาด ไปแล้ว ล่าสุดมีบริษัทใหญ่อีก 2 รายคือ Ericsson และ NVIDIA ที่ประกาศถอนตัวแบบเดียวกัน
Ericsson บอกว่ากังวลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า จึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 ที่บาร์เซโลนา และเลือกจะจัดงานขนาดเล็กชื่อ Ericsson Unboxed เพื่อโชว์เทคโนโลยีในประเทศต่างๆ แทน - Ericsson
มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ประกาศทุ่มงบประมาณสูงสุด 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้แก้ปัญหาไวรัสโคโรนาปี 2019 (2019-nCoV) โดยงบประมาณก้อนนี้จะนำไปใช้ใน 3 ด้านคือ ตรวจจับ (detection) กักกัน (isolation) รักษา (treatment)
ก่อนหน้านี้มูลนิธิฯ เคยประกาศงบประมาณ 10 ล้านดอลลาร์ไปแล้ว แต่ล่าสุดเพิ่มเป็น 100 ล้านดอลลาร์ ตามขนาดของปัญหาที่ใหญ่ขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
เงินก้อนแรก 20 ล้านดอลลาร์ จะถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในประเทศที่พบผู้ป่วยแล้ว โดยใช้ผ่านองค์กรระดับนานาชาติอย่าง WHO, องค์กรระดับชาติ CDC ของสหรัฐอเมริกาหรือจีน เพื่อให้องค์กรเหล่านี้ทำงานได้เต็มศักยภาพมากขึ้น มีเงินไปจ่ายค่าบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้งาน
หลังจากมีข่าว LG ประกาศไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 เพราะกลัวพนักงานติดไวรัสโคโรนา ค่าย ZTE ที่มีข่าวออกมาว่าทยอยยกเลิกนัดหมายในงาน MWC ก็ออกมาแถลงการณ์ยืนยันว่า ยังเข้าร่วมงาน MWC ต่อไป
มาตรการด้านความปลอดภัยที่ ZTE ประกาศเพิ่มเติมคือ
แอปเปิลประกาศปิดสำนักงาน, หน้าร้านค้าปลีก, และศูนย์คอลเซ็นเตอร์ในจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด โดยระบุว่าได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคน โดยกำหนดจะปิดถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ หลังจากก่อนหน้านี้แอปเปิลประกาศปิดร้านค้าปลีก 3 แห่งเพื่อป้องกัน coronavirus ไปก่อนแล้ว
ผลกระทบ coronavirus ต่อแอปเปิลค่อนข้างสูงจากการที่บริษัทมีห่วงโซ่อุปทานในจีนจำนวนมาก และบริษัทจำนวนหนึ่งก็ตั้งอยู่ในเมืองอู่ฮั่นจุดศูนย์กลางของการระบาดโรคโดยตรง
ที่มา - Reuters
Google Search เพิ่มการแสดงข้อมูลการเตือนภัย "โคโรนาไวรัส" เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำว่า coronavirus หรือคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลนี้จะแสดงในกล่องชื่อว่า "Help and Information" และ "Safety Tips" ในหน้าผลการค้นหา (อยู่ใต้ข่าวและอัพเดตจากทวิตเตอร์) โดยตอนนี้ยังแสดงลิงก์และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่กูเกิลก็บอกว่าจะอัพเดตข้อมูลตรงนี้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ฟีเจอร์นี้เรียกว่า SOS Alert ที่กูเกิลอาจปรับหน้าผลการค้นหาตามสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติในช่วงเวลานั้นๆ โดยอิงตามพื้นที่เกิดเหตุด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศลงทุน 40 ล้านดอลลาร์เปิดตัวโครงการ AI for Health ให้นักวิจัยการแพทย์ สถาบันการแพทย์ต่างๆ เข้ามาร่วมวิจัยว่าจะสามารถใช้ AI เพื่อการแพทย์ การรักษาได้ในทางไหนบ้าง โดยตัวเงินจะกระจายไปยังองค์กรต่างๆ รวมถึงพันธมิตร และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนการเข้าถึงเครื่องมือ, AI และระบบคลาวด์
โครงการ AI for Health จะมุ่งเน้นไปที่สามประเด็นหลักคือ เร่งการวิจัยทางการแพทย์เพื่อการป้องกันโรค รวมถึงการวินิจฉัยและการรักษาโรคขั้นสูง, ทำข้อมูลเชิงลึกด้านสุขภาพ เสริมสร้างความเข้าใจเพื่อป้องกันวิกฤตสุขภาพโลก, ลดความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพและปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลสุขภาพสำหรับประชากรที่ด้อยโอกาส
BlueDot บริษัทสตาร์ตอัพจากแคนาดาที่พัฒนาระบบแจ้งเตือนโรคระบาดด้วย Big Data สามารถแจ้งเตือนการระบาดของไวรัสอู่ฮั่นได้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ก่อนหน่วยงานของทางการหลายวัน (CDC ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเตือนวันที่ 6 มกราคม, WHO ประกาศเตือน 9 มกราคม)
อัลกอริทึมของ BlueDot ใช้การสแกนข่าวสารในภาษาต่างประเทศ 65 ภาษา (ในที่นี้รวมเว็บบอร์ดและบล็อก), ข้อมูลจากเครือข่ายโรคพืชและสัตว์ รวมถึงประกาศจากหน่วยงานรัฐบาลของประเทศต่างๆ จากนั้นส่งต่อให้นักระบาดวิทยา (epidemiologist) วิเคราะห์อีกชั้นว่าข้อมูลถูกต้องไหมในเชิงวิทยาศาสตร์
ทางการจีนยืนยันว่าโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ Wuhan Coronavirus นั้นสามารถติดจากคนสู่คนได้ โดยตอนนี้ยืนยันจำนวนผู้ป่วยแล้ว 224 ราย และพบผู้ป่วยนอกจีนในประเทศไทย, เกาหลีใต้, และญี่ปุ่น
Li Gang ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเมืองอู่ฮั่นระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เชื้อนี้จะติดจากคนสู่คน แม้จะพยายามย้ำกว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ Zhong Nanshan หัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญระดับชาติยืนยันว่าเชื้อติดจากคนสู่คนได้ และมีรายงานบุคคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อแล้ว ขณะที่ผู้ป่วยบางรายไม่ได้เดินทางไปยังเมืองอู่ฮั่นแต่มีญาติเพิ่งกลับมา
กูเกิลออกรายงานเรื่องการใช้ AI จากสถาบันวิจัย DeepMind ตรวจจับมะเร็งเต้านมจากแมมโมแกรม พบว่าสามารถลดข้อผิดพลาดได้ดีขึ้น
กูเกิลได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐฯและอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถ AI ในการตรวจจับมะเร็งเต้านมมาได้กว่า 2 ปีแล้ว
โดยกูเกิลฝึกระบบด้วยการใช้รูปแมมโมแกรมที่ไม่ระบุตัวตนจากผู้หญิงมากกว่า 25,000 คนในสหราชอาณาจักรและอีก 3,000 คนในสหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่า AI จะสามารถสังเกตสัญญาณมะเร็งเต้านมได้หรือไม่ ผลคือ ระบบสามารถลดภาวะ false positive ได้ 5.7% ในกลุ่มผู้หญิงจากสหรัฐฯ และ 1.2% ในกลุ่มผู้หญิงจากอังกฤษ นอกจากนี้ระบบยังลดภาวะ false negative ได้ 9.4% ในกลุ่มผู้หญิงจากสหรัฐฯ และ 2.7% ในกลุ่มผู้หญิงจากอังกฤษ
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาระบบ Smart Connected Healthcare ร่วมกับ Cisco ผ่านศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีแพทยศาสตรศึกษาที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น (Medical Technology Education Center – MTEC) ประกอบด้วยโซลูชั่นการแพทย์คือ Live surgery, Tele-consult
เป้าหมายของการสร้างศูนย์ MTEC คือเป็นแหล่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ ให้นักศึกษาแพทย์ที่ไปประจำยังโรงพยาบาลร่วมสอนท้องถิ่นในภาคเหนือ 6 แห่ง (โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลลำพูน โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลแม่สอด)ได้เข้าถึงเนื้อหาอย่างเท่าเทียมกันผ่านระบบปรึกษาแพทย์ทางไกล, สอบออนไลน์พร้อมกันได้โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่คณะ นอกจากนี้ยังนำ Live surgery ถ่ายทอดสดการผ่าตัดด้วยระบบเสียงและภาพสมบูรณ์เข้ามาใช้ในการศึกษาประจำวันด้วย
ทางคณะมีการสาธิตการใช้งานให้ดู Blognone ได้เข้าร่วมด้วย จึงเก็บรูปภาพและรายละเอียดการทำงานของศูนย์ MTEC มาฝาก
คนเรียนรู้ทักษะใหม่โดยดูคลิปสอนใน YouTube ไม่เว้นแม้แต่หมอและนักศึกษาแพทย์ที่ดูคลิปเคสผ่าตัดต่างๆ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและใช้เพื่อการฝึกอบรมแพทย์ ซึ่งใน YouTube เองก็มีให้ดูเยอะแยะมากมาย แต่ก็ยังพบความกังวลเรื่องข้อมูลเชิงเทคนิคแพทย์ ที่ไม่ได้ตรงตามมาตรฐาน 100%
กูเกิลขยายงานวิจัยในการใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy) ในไทย ภายใต้ความร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ขยายการวิจัยจาก 1 คลีนิก เป็น 8 คลีนิก ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี และเชียงใหม่
จากกรณี กูเกิลจับมือกลุ่มโรงพยาบาล Ascension นำ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย ทำให้เกิดความกังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวทางสุขภาพ ว่าวิศวกรของกูเกิลสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ล่าสุดสำนักงานด้านสิทธิพลเมือง (Office for Civil Rights) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐ (Department of Health and Human Services) เตรียมเข้ามาสอบสวนกูเกิลในประเด็น Project Nightingale แล้ว โดยผู้อำนวยการสำนักงาน Roger Severino บอกว่าจะขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกูเกิลในโครงการนี้
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Ascension องค์กรด้านสุขภาพที่ไม่หวังผลกำไรของสหรัฐ เพื่อนำระบบไอทีและ AI เข้ามาใช้งานกับระบบสุขภาพผู้ป่วย
Ascension เป็นองค์กรด้านศาสนาที่ให้บริการด้านสุขภาพ มีโรงพยาบาลในสังกัด 150 แห่ง บ้านพักคนชรา 50 แห่ง และจุดให้บริการ 2,600 จุดทั่วสหรัฐอเมริกา ถือเป็นองค์กรด้านสุขภาพที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา
Ascension บอกว่าจะนำเทคโนโลยีของกูเกิลไปปรับปรุงการให้บริการสุขภาพทั้งระบบ ที่ระบุชื่อชัดเจนคือใช้ Google Cloud Platform สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที, G Suite สำหรับสื่อสารภายในองค์กร และใช้เทคโนโลยี AI/ML ของกูเกิลเพื่อพัฒนาระบบให้การรักษาด้วย