ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Red Hat และ Codenvy บริษัทที่รับผิดชอบการพัฒนา Eclipse รุ่นถัดไป สร้างมาตรฐานกลางสำหรับการเพิ่มภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ให้ซอฟต์แวร์ IDE (Integrated Development Environment) รองรับได้ง่ายขึ้น
แนวคิดของเรื่องนี้คือตัว IDE หรือ Editor จะรองรับภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ต้องมีข้อมูลของภาษานั้นเพื่อใช้ตรวจ syntax, เติมโค้ด (code completion) รวมถึงทำ refactoring ดังนั้น IDE จะถูกออกแบบให้ดึงข้อมูลของภาษาโปรแกรมจาก "Language Servers" ที่มีข้อมูลของแต่ละภาษาอยู่
พบกันปีละครั้งกับ ซอฟต์แวร์ในตระกูล Eclipse รุ่นใหม่ที่มีกำหนดออกช่วงปลายเดือนมิถุนายน (ข่าว Eclipse Mars ของปี 2015) สำหรับปี 2016 ใช้โค้ดเนมว่า Neon และมีโครงการใต้ร่มของ Eclipse ออกรุ่นพร้อมกัน 84 โครงการย่อย ของใหม่ที่เป็นไฮไลท์ได้แก่
กูเกิลโชว์ฟีเจอร์ใหม่ของ Android Studio 2.2 (ตอนนี้สถานะยังเป็นพรีวิว) แบ่งออกเป็น 3 เรื่องคือ ความเร็ว ความฉลาด และการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มของ Android
กูเกิลเตือนให้นักพัฒนาที่ใช้ Android Studio รีบอัพเดตเป็นเวอร์ชันใหม่ 2.1.1 เพื่อความปลอดภัย
อัพเดตตัวนี้ต่อเนื่องมาจากข่าว IntelliJ พบช่องโหว่ความปลอดภัยร้ายแรง ส่งผลให้ Android Studio ที่พัฒนาต่อมาจาก IntelliJ ต้องอัพเดตตามด้วย
ถ้าใครใช้ Android Studio อยู่แล้วสามารถกดอัพเดตจากตัวโปรแกรมได้เลย หรือสามารถดาวน์โหลดใหม่ได้จากหน้าเว็บ Android Studio
ทีมงาน JetBrains ส่งอีเมลถึงผู้ที่ใช้งานให้รีบอัพเดต IDE สาย IntelliJ ของ JetBrains โดยเร็ว แม้ยังไม่มีรายงานการถูกโจมตีผ่านทางช่องโหว่ระดับรุนแรงที่เป็นที่มาของการอัพเดตครั้งนี้ก็ตาม
ช่องโหว่นี้พบในเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มาพร้อม IDE สามารถเป็นช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีใช้เทคนิค CSRF (cross-site request forgery) เพื่อเข้าถึงแฟ้มข้อมูลระบบได้ รวมถึงช่องโหว่ในส่วนควบคุม CORS ทำให้เข้าถึง API ภายใน หรือแม้แต่ข้อมูลที่จัดเก็บโดย IDE ได้
ไมโครซอฟท์เปิด Visual Studio Marketplace ศูนย์รวมส่วนขยายแห่งใหม่ที่จะมาแทน Visual Studio Gallery ของเดิม
Visual Studio Marketplace จะเป็นตลาดซื้อขายส่วนขยายของผลิตภัณฑ์ในแบรนด์ Visual Studio ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่
ออราเคิลออก NetBeans IDE 8.1 โดยทิ้งช่วงจากรุ่นก่อนหน้า NetBeans 8.0 ประมาณหนึ่งปีครึ่ง ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
Arduino.cc (ฝั่งสหรัฐฯ) ออกอัพเดต Arduino IDE เป็นรุ่น 1.6.6 แม้จะปรับเลขเวอร์ชั่นเพียง 0.0.1 แต่มีฟีเจอร์สำคัญหลายอย่าง
ภายในเองก็มีการปรับปรุง เช่น การเปลี่ยนไปใช้ Java 8 จากเดิมที่ใช้เฉพาะลินุกซ์
กูเกิลออก Android Studio 1.4 มีของใหม่หลายอย่างดังนี้
ช่วงกลางปีของทุกปี โครงการ Eclipse จะออกซอฟต์แวร์รุ่นใหม่เสมอ ซึ่งปีนี้ใช้ชื่อรุ่นว่า "Mars" และนับเวอร์ชันเป็น 4.5.0 แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้มีหลายอย่าง (ขึ้นกับแต่ละโครงการย่อย) ที่เด่นๆ ได้แก่
เมื่อต้นปีนี้ Facebook เปิดตัว IDE ของตัวเองในชื่อ Nuclide โดยพัฒนาต่อจาก Atom Text Editor ที่ริเริ่มโดย GitHub
เป้าหมายของ Nuclide คือใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมในสายของ Facebook เช่นภาษา Hack, React, HHVM กลุ่มเป้าหมายหลักคือวิศวกรของ Facebook เอง แต่สุดท้ายบริษัทก็ตัดสินใจแจกจ่ายให้คนทั่วไปใช้งานได้ด้วย และล่าสุดก็เปิดซอร์สแล้วบน GitHub
และแล้วก็ถึงวันที่เราได้เห็น Visual Studio บนแมคและลินุกซ์ ถึงแม้จะยังไม่ใช่ Visual Studio ตัวเต็มก็ตาม
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Code ตัวแก้ไขและปรับแต่งโค้ด (code optimized editor) ที่ตัดความสามารถของ Visual Studio รุ่นปกติ (พวก GUI designer) ออกไป เหลือแต่ตัว editor อย่างเดียว ที่น่าสนใจคือทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม ทั้งบนวินโดวส์ แมค และลินุกซ์
Visual Studio Code ถือเป็น IDE ที่ทำงานเฉพาะส่วนของโค้ด แต่ก็มีฟีเจอร์ครบครันสำหรับการแก้ไขโค้ด เช่น Intellisense และการเชื่อมต่อกับ Git ตัวมันรองรับภาษาโปรแกรมกว่า 30 ภาษา รายชื่อทั้งหมด
Facebook เปิดตัวเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม (IDE) ของตัวเองในชื่อ Nuclide
Nuclide สร้างขึ้นบนโปรแกรมแก้ไขข้อความ Atom ที่ริเริ่มโดย GitHub (รีวิว Atom โปรแกรมแก้ไขข้อความแห่งอนาคต) แล้วผนวกเอาเทคโนโลยีด้านโปรแกรมมิ่งของตัวเองเข้าไป
Brackets โปรแกรม IDE แบบโอเพนซอร์สแนวเดียวกับ ATOM แต่เน้นด้านการพัฒนาเว็บเป็นหลัก ได้ปรับรุ่นเป็น 1.0 เป็นครั้งแรกหลังจากก่อนหน้านี้จะใช้เลขรุ่นเป็น Sprint มาตลอด โดยความสามารถเด่นที่เพิ่มเข้ามาในรุ่นนี้ได้แก่
ที่มา - Brackets Release Notes: 1.0
หลังจาก Java 8 เปิดตัวไม่นาน ค่าย Eclipse ก็ประกาศรองรับ Java 8 แล้ว
Eclipse เวอร์ชันที่รองรับคือ 4.3.2 (Kepler SR2) โดยมันจะถูกแพตช์เพิ่มเติมให้ใช้งานกับ Java 8 ได้อย่างเต็มที่ สำหรับคนที่มี Eclipse 4.3.2 อยู่แล้วก็ไม่ต้องดาวน์โหลดใหม่ทั้งตัว แต่ดาวน์โหลดแพ็กเกจ Java 8 เพิ่มเติมได้เอง
Eclipse จะรองรับ Java 8 อย่างเต็มรูปแบบในเวอร์ชันหน้า (Eclipse Luna) ที่จะออกเดือนมิถุนายน 2014
ก่อนหน้านี้ NetBeans 8.0 รองรับ Java 8 แล้วเช่นกัน
หลังจากออราเคิลออก Java SE 8 ตัวจริง ก็ถึงคิวของ IDE คู่บารมีอย่าง NetBeans ที่ออกเวอร์ชัน 8.0 ตามมา
ของใหม่ที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการรองรับ Java 8 ยกชุด ทั้ง Java SE 8, Java SE Embedded 8, Java ME Embedded 8 ส่วนฝั่งของ Java EE ก็รองรับ PrimeFaces, Tomcat 8.0, TomEE
ฟีเจอร์อย่างอื่นคือการทำงานร่วมกับ Apache Maven, AngularJS, Apache Cordova 3.3+, PHP 5.5 และปรับปรุง UI ส่วนของการจัดการหน้าต่างและตัว editor
รายละเอียดของฟีเจอร์อ่านได้จาก NetBeans Wiki
ทีม Chromium พัฒนา IDE สำหรับเขียนโปรแกรมตัวใหม่ชื่อ "Spark" รูปแบบของมันเป็นแอพที่รันอยู่บนแพลตฟอร์มของ Chrome (แต่ไม่จำเป็นต้องต่อเน็ตเสมอไป - Chrome Apps)
ความน่าสนใจของ Spark คือมันสร้างด้วยภาษา Dart ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกจากจาวาสคริปต์ และมี GUI widget library จากโครงการ Polymer
ตอนนี้โครงการยังอยู่ในสถานะเริ่มต้น หน้าตาของโปรแกรมยังไม่มีอะไรมากนักแต่ก็ใช้งานได้จริงแล้ว ส่วนตัวโค้ดเป็นโอเพนซอร์สอยู่บน GitHub ครับ
ข่าวนี้ต่อจาก ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Online บริการกลุ่มเมฆสำหรับการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว IDE สำหรับเขียนโปรแกรมผ่านเบราว์เซอร์ชื่อ "Monaco"
ZDNet มีเบื้องหลังการสร้าง Monaco ว่าเกิดจากฝีมือของ Erich Gamma อดีตพนักงานของ IBM และผู้นำฝ่ายเทคนิคของโครงการ Eclipse ที่ย้ายมาอยู่กับไมโครซอฟท์เมื่อปี 2011 โดยเขาตั้งศูนย์วิจัยสาขาในเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีเพื่อนร่วมงานของเขาที่ IBM จำนวนหนึ่งย้ายมาร่วมทีมด้วย
กูเกิลประกาศเปิดตัว API ใหม่บนแอนดรอยด์ที่ไม่ได้เป็นฟีเจอร์ของแอนดรอยด์รุ่นใหม่อีกต่อไป แต่จะถูกอัพเดตผ่าน Google Play ลงไปบนแอนดรอยด์ตั้งแต่รุ่น 2.2 ขึ้นไปแทน ฟีเจอร์ต่างๆ ได้แก่
Xamarin ทีมงานเดิมของโครงการ Mono ที่หันไปเน้นการเขียนแอพมือถือด้วย C# ประกาศข่าวใหม่ 4 เรื่อง ดังนี้
ออราเคิลเปิดตัว NetBeans 7.3 Beta ที่งาน JavaOne 2012 ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
โครงการที่ถูกปิดไปของกูเกิลนอกจากที่เราเห็นโครงการก่อนหน้านี้แล้ว ยังมีโครงการภายในจำนวนหนึ่งถูกปิดลงไปพร้อมๆ กันด้วย วิศวกรของกูเกิล คือ Scott Blum และ Jaime Yap ได้ออกมาเปิดโครงการภายในที่ถูกยกเลิกไปในชื่อว่า Collide (collaborative IDE)
Collide เป็น IDE ให้เรารันในเครื่องของเราเอง เพื่อแชร์ซอร์สโค้ดออกมาเป็นเว็บให้นักพัฒนาคนอื่นมาช่วยกันพัฒนาร่วมกันได้ โดย Collide สามารถเติมโค้ดอัตโนมัติ (autocomplete) ในภาษา HTML, CSS, JavaScript, และ Python โดยหลังจากกูเกิลยกเลิกโครงการนี้ก็เปิดซอร์สโค้ดของมันออกมาเป็นโครงการโอเพนซอร์ส
NetBeans IDE ยอดนิยมอีกตัวจากค่าย Oracle ออกรุ่น 7.2 Beta แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้ที่สำคัญคือการรองรับภาษา C++ รุ่นใหม่คือ C++11 และ PHP 5.4
ส่วนของตัว editor เองก็ปรับปรุงเพิ่มหลายจุด โดยเฉพาะการทำดัชนีเพื่อค้นหาข้อมูลภายในโค้ด ถูกนำไปรันเบื้องหลังและทำงานแบบขนาน นอกจากนี้ยังมีปุ่มลัด Ctrl+Space เพิ่มเติมคำใน search bar
ขออนุญาตขุดข่าวเก่าที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังครับ
ผมว่านักพัฒนาหลายคนคงคิดว่า "ถ้ามีเครื่องมือพัฒนา Android แอพฯ บนเครื่อง Android ก็คงจะดีไม่ใช่น้อย" ซึ่งในที่สุดความคิดนี้ก็เป็นจริงเสียที เมื่อมีคนพัฒนา IDE ชื่อ Android Java IDE (AIDE) สำหรับการพัฒนา Android แอพฯ บนเครื่อง Android และปล่อยออกมาให้ไปใช้ได้ฟรีแล้ว
AIDE มาพร้อมความสามารถ IDE ไม่ต่างจาก IDE ชั้นนำอย่าง Eclipse อาทิ code completion, formatting, refactoring, real-time error checking เป็นต้น นอกจากนั้นนักพัฒนายังสามารถนำโปรเจคที่สร้างจาก Eclipse มาเปิดบน AIDE ต่อได้เลยอีกด้วย สำหรับเวอร์ชันเบต้า 10 นั้นเพิ่มการสนับสนุนการทำงานร่วมกับ Dropbox และรองรับการค้นหาใน IDE เป็นต้น
ไอบีเอ็มประกาศบริจาคซอฟต์แวร์พัฒนาเว็บแอพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Maqetta เป็นโอเพนซอร์สให้กับ Dojo Foundation ที่ดูแลโครงการเกี่ยวกับเว็บอยู่จำนวนมาก โดนตัว Maqetta จะเป็นแอพลิเคชั่น Java ให้วางบนเซิร์ฟเวอร์ J2EE แล้วเรียกใช้งานผ่านเบราเซอร์
Maqetta เคยเป็นเครื่องมือภายในสำหรับการออกแบบหน้าจอของแอพลิเคชั่นทั้งเดสก์ทอปและสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยตัว IDE จะมีอุปกรณ์ให้ชุดหนึ่งมาจาก Dojo Tookkit, jQuery UI, และ YUI
ตัว IDE ยังอยู่ในขั้นพรีวิว การใช้งานยังไม่สมบูรณ์นักแต่ก็น่าดูมีศักยภาพที่จะใช้พัฒนาแอพลิเคชั่นในอนาคตได้มาก (ดูรูปท้ายข่าว) โดยตอนนี้ทางทีมพัฒนามีแผนจะทำงานร่วมกับโครงการ Eclipse ต่อไปอีกด้วย