Eclipse Foundation เปิดตัว Eclipse Theia เวอร์ชัน 1.0 โดยเรียกมันว่าเป็น "IDE ทางเลือกของ Visual Studio Code"
Theia (อ่านว่า "ธีอา" เป็นชื่อเทพธิดากรีก) เป็น code editor ที่ยอมรับตรงๆ ว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก Visual Studio Code และตัวมันเองก็เป็นการนำโค้ดของ VS Code มาพัฒนาต่อด้วย
Eclipse Theia เขียนด้วยเทคโนโลยีเว็บ (เป็น TypeScript เหมือน VS Code) โดยใช้เอนจินแก้ไขโค้ด Monaco ตัวเดียวกัน และใช้ Language Server Protocol (LSP) ของ VS Code เพื่อรองรับภาษาโปรแกรมต่างๆ แถมใช้งานส่วนขยายของ VS Code ได้ด้วย
นอกจาก .NET 5 Preview 1 วันนี้ไมโครซอฟท์ปล่อยของสายนักพัฒนามาหลายตัว ของใหญ่อีกตัวที่ออกมาคือ Visual Studio 2019 version 16.5 ซึ่งเป็นรุ่นอัพเดตย่อยตัวที่ 5 ของ VS2019 (ไมโครซอฟท์ออกรุ่นย่อยทุก 3-4 เดือน)
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
กูเกิลออก Android Studio 3.6 เวอร์ชันเสถียร โดยเป็นรุ่นแรกที่กลับมาเน้นเรื่องฟีเจอร์ใหม่ หลัง Android Studio 3.4 และ Android Studio 3.5 หันไปทำ Project Marble ที่เน้นแก้บั๊กและเพิ่มประสิทธิภาพ
กูเกิลบอกว่าเรียนรู้จาก Project Marble ทำให้เลือกเพิ่มฟีเจอร์ให้ Android Studio 3.6 ไม่เยอะมากนัก เพราะต้องการควบคุมคุณภาพไปพร้อมกัน ของใหม่ใน Android Studio 3.6 มีดังนี้
Snyk บริษัทด้านค้นหาช่องโหว่ของซอร์สโค้ด ออกรายงานสำรวจข้อมูลของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สาย Java จำนวนประมาณ 2,000 คน ประจำปี 2020 มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ภาษา Kotlin ได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก ถึงแม้นักพัฒนา 86.9% ยังเขียนภาษา Java เป็นหลัก แต่ Kotlin ก็เติบโตจาก 2.4% เมื่อปีก่อนมาเป็น 5.5% และกลายเป็นภาษายอดนิยมอันดับสอง เหนือกว่า Clojure หรือ Scala แล้ว - อ้างอิง
ไมโครซอฟท์ประกาศยกเครื่องระบบค้นหา (Find in Files) ของ Visual Studio ใหม่ เขียนใหม่ทั้งหมดเป็น C# เพื่อลดการเรียก interop call ที่ไม่จำเป็น ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นหลายเท่า ใช้หน่วยความจำน้อยลง
จากการทดสอบของไมโครซอฟท์เองที่ระดับ 1 แสนไฟล์ ฟีเจอร์ค้นหาเดิมใช้เวลามากกว่า 4 นาที ในขณะที่ฟีเจอร์ค้นหาตัวใหม่ใช้เวลาเพียง 26 วินาที (เกิน 8 เท่า) ไมโครซอฟท์บอกว่าความแตกต่างจะยิ่งเห็นผลชัดหากค้นหาด้วย regular expression แต่การค้นหาคำทั่วๆ ไปก็เร็วขึ้นเท่าตัวแล้ว
Find in Files ตัวใหม่ยังมีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง
Facebook เขียนบล็อกเล่าว่าเปลี่ยนเครื่องมือสำหรับเขียนโค้ด (IDE) จากเดิมที่ใช้ Nuclide ซึ่งเป็น IDE ของตัวเองที่พัฒนาขึ้นบน Atom มาเป็น Visual Studio Code แทนแล้ว
Facebook ระบุว่าหยุดพัฒนา Nuclide เวอร์ชันโอเพนซอร์ส ในปี 2018 แต่ยังใช้งานในบริษัทอยู่ แต่พอมาถึงปลายปี 2018 ก็ตัดสินใจย้ายมาใช้ Visual Studio Code แทน ด้วยเหตุผลว่าเป็น IDE ที่ได้รับความนิยมสูง ทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม ได้รับการพัฒนาจากไมโครซอฟท์อย่างต่อเนื่อง มั่นใจว่าอยู่ต่อได้ในระยะยาว และมี API ที่ดีในการสร้างส่วนขยาย (หมายเหตุ: VS Code พัฒนามาจาก Electron ซึ่งเป็นแกนของ Atom อีกที)
เมื่อเดือนที่แล้ว SAP ได้เปิดตัว SAP Business Application Studio เครื่องมือพัฒนาตัวใหม่ซึ่งจะมาแทนที่ SAP Web IDE ของบริษัทเดิม โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน SAP ให้สอดคล้องกับ IDE ชั้นนำในตลาดอย่าง Visual Studio Code
SAP บอกว่า SAP Business Application Studio เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแบบ full stack และแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ในแง่ของการเป็นตัวแก้ไขโค้ดที่ใช้งานกับ Java และ Node.js ได้ดีกว่า SAP Web IDE และในด้านเครื่องมืออื่นๆ ที่มีใช้งานทั้งในส่วนของ command line รวมถึงความสามารถของตัวดีบัก โดยยังให้ประสบการณ์ทัดเทียมกับ IDE ที่ติดตั้งเป็นแอพเดสก์ทอป แม้ว่าจะใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ก็ตาม
ไมโครซอฟท์ปล่อย Visual Studio Online เข้าสู้สถานะ Public Preview ทำให้ทุกคนเข้าไปใช้งานได้ หลังจากเปิดตัวให้ใช้งานวงปิดตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา
นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อเข้า Visual Studio Online จาก Visual Studio Code, Visual Studio IDE, หรือจะใช้ IDE ผ่านเว็บก็ได้
ค่าบริการค่อนข้างซับซ้อน โดยคิดเป็น environment unit เมื่อมีการเชื่อมต่อจะคิดราคาแบบ active และหากเก็บข้อมูลไว้เฉยๆ จะคิดราคาแบบ base นอกจากนี้ยังขึ้นกับขนาดเครื่องที่ใช้งานโดยคิดเป็นวินาที อย่างไรก็ตาม หากสร้างเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองแล้วเชื่อมต่อเข้าบริการ Visual Studio Online นั้นจะใช้งานฟรี
ไมโครซอฟท์เปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งาน Visual Studio Code กับเว็บไซต์ Business Insider ว่าตอนนี้มีผู้ใช้งานจริงต่อเดือน (monthly active users) ถึง 8.5 ล้านคน และมีนักพัฒนาร่วมส่งโค้ดเข้า VS Code ผ่าน GitHub จำนวน 19,000 ราย
ตัวเลขนี้ถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจากสถิติของไมโครซอฟท์ช่วงปลายปี 2017 หรือประมาณ 2 ปีก่อนหน้านี้ ที่มีผู้ใช้งาน VS Code ราว 2.6 ล้านคนต่อเดือน
ถึงแม้ไมโครซอฟท์ไม่มีโมเดลการหารายได้จาก VS Code โดยตรง แต่ก็ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์คลาวด์ ที่ไมโครซอฟท์ต้องการใกล้ชิดกับนักพัฒนามากขึ้น และเป็นเรื่องเดียวกับเหตุผลที่ไมโครซอฟท์ซื้อ GitHub
Netflix เปิดตัว Polynote ที่เป็น IDE แบบโน้ตบุ๊กแบบเดียวกับ Jupyter แต่รองรับหลายภาษา (polyglot) ในไฟล์งานเดียวกัน โดยรองรับภาษาหลักคือ Scala พร้อมรองรับ Python และ SQL โดยแต่ละภาษาสามารถอยู่ในโน้ตบุ๊กเดียวกัน แต่ต้องแยกคนละเซลล์เท่านั้น
นอกจากฟีเจอร์การพัฒนาแบบหลายภาษาแล้ว Polynote ยังสนับสนุนการใช้โน้ตบุ๊กแบบเป็นโค้ดโปรแกรม รันจากบนลงล่างจนจบ ทำให้ผลการรันโน้ตบุ๊กแต่ละครั้งคาดเดาได้ (reproducibility) จากระบบติดตามสถานะของตัวแปรต่างๆ ก่อนเข้าไปรันในเซลล์ ทำให้เมื่อลบเซลล์หนึ่งทิ้งไปใน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเซลล์นั้นๆ ก็หายไปด้วย ผลที่ได้จากการรันแต่ละเซลล์เหมือนการรันจากต้นไฟล์ลงมาถึงแต่ละเซลล์ ทำให้โน้ตบุ๊กที่ได้สามารถนำไปรันภายหลังได้
กูเกิลออก Android Studio 3.5 รุ่นเสถียร หลังออก รุ่นทดสอบมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ของใหม่ใน Android Studio 3.5 ไม่เน้นฟีเจอร์ใหญ่ๆ แต่เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพและการทำงานโดยรวม ซึ่งกูเกิลเรียกว่า Project Marble ที่โฟกัส 3 เรื่องคือ
Apache NetBeans ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโครงการภายใต้ Apache Software Foundation (ASF) และเปลี่ยนระบบออกรุ่นใหม่ทุกไตรมาส (3 เดือน - ก่อนหน้านี้เคยประกาศไว้ว่าจะออกทุก 6 เดือน แต่เปลี่ยนใจ)
ระบบออกรุ่นใหม่ของ NetBeans จะออกรุ่นที่ลงท้ายด้วย .0 ที่เป็นรุ่นซัพพอร์ตยาวนาน (LTS) ในเดือนเมษายนของทุกปี และออกรุ่นย่อย .1, .2, .3 ทุกไตรมาส
NetBeans เวอร์ชันล่าสุดคือ 11.1 ถือเป็นรุ่นย่อย .1 ครั้งแรกของระบบการออกรุ่นแบบใหม่ ของใหม่ที่สำคัญคือ รองรับ Java EE 8 ที่ออกในเดือนกันยายน 2017
ไมโครซอฟท์อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาสาย Java ที่ใช้ Visual Studio Code เป็นเครื่องมือพัฒนา โดยออกตัวติดตั้ง Visual Studio Code Java Pack Installer มาให้ใช้งาน ลดระยะเวลาในการเซ็ตอัพสภาพแวดล้อมของการพัฒนาลง
ตัวติดตั้งนี้จะช่วยดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการพัฒนา Java ได้แก่
หากในเครื่องของเรามีซอฟต์แวร์บางตัวอยู่แล้ว ตัวติดตั้งจะตรวจหาให้ และไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์มาซ้ำอีก
ที่มา - Visual Studio Blog
กูเกิลประกาศหยุดซัพพอร์ต Android Studio และ Android Emulator บนระบบปฏิบัติการ 32 บิต โดยจะมีผลในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 หรืออีกประมาณ 1 ปีครึ่ง
Android Studio เวอร์ชัน 3.6 จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่ใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการ 32 บิต (หลักๆ แล้วคือ Windows ที่เป็น 32 บิต) โดยจะไม่ได้รับอัพเดตฟีเจอร์ใหม่อีกนับตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2019 เป็นต้นไป ส่วน Android Emulator จะเป็นเวอร์ชัน 28.0.25
ประกาศข่าวนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการรัน Android บนฮาร์ดแวร์ 32 บิต ซึ่งยังใช้งานได้ตามปกติ
แอปเปิลเปิดตัว Xcode 11 ตามรอบประจำปีที่อัพเดตปีละครั้งตอนงาน WWDC ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
Visual Studio มีฟีเจอร์ IntelliCode ใช้ AI ช่วยแนะนำการเขียนโค้ด มาได้สักพักใหญ่ๆ โดยช่วงแรกยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว และยังรองรับแค่ภาษา C# กับโมเดล XAML เท่านั้น
ในงาน Build 2019 ปีนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศว่า IntelliCode มีสถานะเป็น GA เรียบร้อยแล้ว พร้อมประกาศฟีเจอร์เพิ่มอีกชุดใหญ่ ตั้งแต่การรองรับภาษาที่เพิ่มขึ้นคือ C++ และ TypeScript/JavaScript (ตอนนี้ยังเป็นรุ่นพรีวิวใน Visual Studio 2019 Version 16.1)
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Online ความสามารถก็ตามชื่อคือเป็น IDE เวอร์ชันเว็บเบราว์เซอร์ สามารถเขียนโค้ดได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพียงแค่เข้าเว็บ online.visualstudio.com ก็ทำงานได้ทันที
Visual Studio Online ไม่ได้เป็น Visual Studio ตัวเต็ม แต่เป็น Visual Studio Code เวอร์ชันทำงานบนเบราว์เซอร์ (VS Code สร้างด้วยเทคโนโลยีเว็บบน Electron อยู่แล้ว) และรองรับส่วนขยายของ VS Code ที่คุ้นเคย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Remote Development ฟีเจอร์แบบเดียวกับที่เพิ่งเปิดตัวให้กับ VS Code แต่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับลูกค้า Visual Studio
ช่วงแรก Visual Studio Remote Development ยังรองรับเฉพาะภาษา C++ และ C# เท่านั้นแม้ว่าเวอร์ชั่น VS Code จะรองรับแทบทุกภาษาก็ตาม แต่ความพิเศษคือไมโครซอฟท์จะมีบริการ environment สำหรับการพัฒนาบนคลาวด์ด้วย โดยนักพัฒนาสามารถไม่ต้องเสียเวลาเซ็ตอัพ environment เองแต่เรียกใช้เซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ตามการใช้งานจริง
ความร้อนแรงของ Kubernetes ทำให้มูลนิธิ Eclipse เสนอตั้งโครงการใหม่ชื่อ Eclipse Tempest ขึ้นมาเพื่อสร้างชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาแอพบน Kubernetes โดยเฉพาะ
Eclipse Tempest ไม่ได้เป็น IDE แต่จะเป็นชุดของปลั๊กอินสำหรับ IDE ยอดนิยม 3 ตัวคือ Eclipse IDE (เดสก์ท็อป), Eclipse Che (เว็บ) และ Visual Studio Code เพื่อให้การสร้างและทดสอบแอพพลิเคชันบน Kubernetes ผ่าน IDE เหล่านี้ทำได้ง่ายขึ้น
ในเบื้องต้น IBM ยินดีบริจากโค้ดจากโครงการ Microclimate ซึ่งเป็นตัวช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์บน Kubernetes และ Jenkins ให้เป็นโค้ดตั้งต้นของ Eclipse Tempest ด้วย
Android Studio ออกเวอร์ชัน 3.4 ที่เข้าสถานะเสถียร (stable channel) เรียบร้อยแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้มีไม่เยอะนักเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ เพราะกูเกิลกำลังดำเนินโครงการ Project Marble เน้นปรับปรุงฟีเจอร์พื้นฐาน และ flow การทำงานของตัว IDE ให้ดีขึ้นแทน
Google เปิดตัว Cloud Code ในงาน Google Cloud Next โดย Cloud Code นี้คือเซ็ทของปลั๊กอินสำหรับ IntelliJ และ VS Code เพื่อช่วยให้ระบบพัฒนาเป็น automate มากขึ้น สามารถคุม software development lifecycle ได้ดีขึ้นผ่านเครื่องมือที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่แล้ว
Google ระบุว่า Cloud Code เวอร์ชันแรกนี้ จะโฟกัสที่การพัฒนาแอปสำหรับรันบน Kubernetes (รวม GKE) ซึ่งปลั๊กอินนี้จะต่อขยายให้ IDE ทั้งสองตัวสามารถใช้พัฒนาแอปแบบ cloud-native Kubernetes ได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีเบื้องหลังเป็นเครื่องมืออย่างเช่น Skaffold, Jib หรือ Kubectl รันอยู่เบื้องหลัง
Visual Studio 2019 ออกรุ่นสมบูรณ์แล้ว ของใหม่ที่สำคัญได้แก่
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio 2019 รุ่นทดสอบชุดสุดท้าย Release Candidate (RC) ก่อนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 เมษายน 2019 ซึ่งถ้าไม่พบปัญหาอะไรสำคัญ รุ่น RC จะถูกใช้เป็นรุ่น Generally Available (GA)
ของใหม่ใน VS2019 มีหลายอย่าง ที่สำคัญมีดังนี้
Red Hat เปิดตัว CodeReady Workspaces 1.0.0 เข้าสู่สถานะ GA สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยวางตัวเป็น IDE สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Kubernetes โดยเฉพาะ (Kubernetes-native)
ตัว IDE ทำงานบนเว็บทั้งหมด และตัวเซิร์ฟเวอร์เองก็รันอยู่บน Kubernetes เอง ทำให้ลดระยะเวลาการเซ็ตอัพสภาพแวดล้อมสำหรับนักพัฒนาเมื่อมีคนใหม่เข้ามาร่วมทีมงาน และทำให้สะดวกในการควบคุมไม่ให้ทีมงานนำโค้ดออกไปภายนอก
โครงการพัฒนามาจาก Eclipse Che เพิ่มชุด stack ที่ Red Hat เตรียมไว้ให้สำหรับการพัฒนาโครงการด้วยภาษาต่างๆ
ทีมงาน Visual Studio Code ประกาศ roadmap ของปี 2019 ว่าจะพัฒนาซอฟต์แวร์ในด้านใดบ้าง ประเด็นที่น่าสนใจมีดังนี้