ศาลรัสเซียมีคำสั่งแบนหน้าหนึ่งของ Wikipedia จากการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกัญชา แต่เนื่องจาก Wikipedia เข้าใช้ HTTPS เข้ารหัสทั้งเว็บทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่มีทางเลือกแบนบางหน้าตามคำสั่ง ทำให้ต้องแบนทั้งเว็บไป
ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียบางส่วนเริ่มใช้งาน Wikipedia ไม่ได้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่ผ่านไปไม่ถึงวันทางการรัสเซียก็ยกเลิกคำสั่งบล็อคเว็บ โดยระบุว่าทาง Wikipedia ได้ลบเนื้อหาส่วนที่มีคำสั่งแบนออกไปแล้ว แต่ทาง Wikipedia ระบุว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาตามที่อ้าง แม้จะมีการแก้ไขชื่อบทความไปก็ตาม
ซัมซุงและกูเกิลเซ็นเซอร์แอพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBT บนแอพสโตร์ในเกาหลีใต้ โดยซุมซุงนำแอพ Hornet แอพเครือข่ายสังคมเกย์ ออกจากแอพสโตร์ตั้งแต่ปี 2013 โดยให้เหตุผลกับ Hornet ว่า แอพมีเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายท้องถิ่น ภายใต้นโยบายเซ็นเซอร์ตามกฎหมายท้องถิ่นของแต่ละประเทศ และ Jack’d แอพหาคู่ที่เป็นนิยมของกลุ่มเกย์ในเกาหลีใต้ถูกถอดจาก Google Play โดยไม่มีการแจ้งเตือนและการอธิบายถึงสาเหตุ
Hornet ใช้เวลาถึง 4 ปีเพื่อโต้แย้ง แอพจึงกลับสู่สโตร์ของซัมซุงได้ในบางประเทศที่ไม่มีปัญหากับกฎหมายท้องถิ่น Hornet คาดว่าซัมซุงใช้การสุ่มประเทศเพื่อเซ็นเซอร์ กรณีของประเทศอาร์เจนตินาซึ่งมีกฎหมายการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2010 ก็ยังถูกเซ็นเซอร์เช่นเดียวกันก่อนการโต้แย้งสำเร็จ
เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลอิรักสั่งบล็อคเว็บไซต์หลายแห่งเพื่อไม่ให้กลุ่ม ISIS สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ล่าสุดวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา Dyn Research รายงานว่ารัฐบาลอิรักได้สั่งตัดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศเป็นเวลาสามชั่วโมง
อินเทอร์เน็ตในอิรักใช้งานไม่ได้ตั้งแต่เวลาตีห้าถึงแปดโมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งสำนักข่าว El Hadas ของอียิปต์บอกว่าช่วงเวลาดังกล่าวพอดีกับการสอบเข้ามัธยมต้นของนักเรียนทั่วประเทศ โดยอิรักกำหนดการศึกษาขั้นต่ำเพียงชั้นประถมหกเท่านั้น และนักเรียนทั่วประเทศต้องทำการสอบเพื่อเรียนต่อในชั้นมัธยม และโดยทั่วไปหากนักเรียนคนไหนที่สอบไม่ผ่านก็จะไม่เรียนอีกเลย จึงทำให้การสอบนี้กดดันเป็นอย่างมาก
Thailand is well known for its heavily censored Internet. The Ministry of Information and Communications Technology (MICT) has frequently announced the large number (thousands) of blocked websites as its major achievement.
Normally, a visit to government-blocking website via Thai internet service providers (ISP) will redirect to a government's landing page with the message "this site has been blocked". The styles of these landing pages are varied to government agencies that take charge (e.g. MICT or the police).
ต่อเนื่องจากข่าวปอท. ออกมาแจ้งว่าเว็บที่ถูกต้องของหน่วยงานคือ TCSD.in.th เท่านั้น พร้อมกับให้ช่วยแจ้งเว็บอื่นที่มีการแอบอ้าง หลังจากมีการรายงานข่าวไปไม่นาน ทางปอท. ก็ถอดโพสที่เกี่ยวข้องออกจากหน้าเฟซบุ๊กแล้ว
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. โพสเฟซบุ๊กระบุว่าเว็บที่ถูกต้องคือ tcsd.in.th เท่านั้น และหากมีเว็บอื่นๆ แอบอ้างให้แจ้งไปทางปอท. ผ่านทางอีเมล webmaster@tcsd.in.th
การออกมาชี้แจ้งครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากมีผู้ใช้ในเว็บ ThaiSEOBoard ระบุว่าเว็บ tcsd.info ส่งผู้ใช้เข้าไปยังเว็บโป๊สองเว็บ ต่อมามีการแก้ไขออกไป แต่ยังมีร่องรอยในคอมเมนต์ HTML อยู่ และมีผู้นำไปโพสต่อในเว็บพันทิพ
หลังจาก MCS Holdings ออกใบรับรองของกูเกิลโดยไม่ได้รับอนุญาต รายงานข่าวนี้กำลังถูกเซ็นเซอร์อย่างหนักในจีน ทาง GreatFire รายงานข่าวสี่แหล่งสำคัญที่ถูกกดดันให้ลบข้อมูล
สำนักข่าวรอยเตอร์ถูกบล็อคในจากจีนหลังจากวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยผู้ใช้เริ่มมีปัญหาการเข้าถึงเว็บตั้งแต่ช่วงวันพฤหัส
ก่อนหน้านี้เว็บไซต์สำนักข่าวต่างประเทศถูกบล็อคจากจีนไปก่อนแล้วหลายสำนัก เช่น บลูมเบิร์ก, นิวยอร์กไทม์, วอลสตรีทเจอร์นัล
รอยเตอร์ระบุว่าเว็บเข้าจากจีนไม่ได้บางหน้าหรือทั้งเว็บจากจีนเป็นระยะเมื่อมีการเผยแพร่บทความที่ทางการจีนมองว่าเป็นเรื่องอ่อนไหว ขณะที่โฆษกรอยเตอร์ยืนยันว่าทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและแม่นยำ ทางรอยเตอร์หวังว่าจะผู้อ่านในจีนจะเข้าถึงเว็บได้โดยเร็ว
การปรับเอกสาร Community Standards ของ Facebook นอกจากประเด็นเรื่องชื่อจริง ยังมีประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่ Facebook ไม่ยอมให้โพสต์และจะลบทิ้งหรือจำกัดการแสดงผลถ้าได้รับรายงาน
ภาพโป๊เปลือย (nudity)
The Pirate Bay (TPB) เว็บรวบรวม magnet link ขนาดใหญ่ถูกบุกยึดเซิร์ฟเวอร์และถูกบล็อคไปหลายครั้งในหลายประเทศแต่ก็กลับมาเปิดได้เรื่อยๆ ล่าสุดทาง TPB ก็ปรับใช้ให้บริการผ่าน CloudFlare และเปิดบริการ HTTPS เข้ารหัสการเชื่อมต่อทั้งหมดเป็นมาตรฐานแล้ว
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในสหราชอาณาจักรที่ก่อนหน้านี้เคยบล็อค TPB ตอนนี้ก็กลับเข้าได้ทั้งหมด ที่ยืนยันแล้ว เช่น Virgin Media, TalkTak,BT, BT, และ EE ยกเว้นเพียง Sky ที่ยังสามารถบล็อคได้อยู่
Virgin Media ระบุว่าได้ทำตามคำสั่งศาลให้บล็อคแล้ว แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าคำสั่งนั้นระบุเป็นไอพีเท่านั้นหรืออย่างไร
หนึ่งสัปดาห์หลังพันโทกิตติภพ เธียรสิริวงษ์ แสดงความเห็นในงานเสวนาพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ว่า "ไม่ได้ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบ" เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางเว็บสำนักข่าวอิศราก็ได้รับแจ้งจากบริษัท CSLOXINFO อ้างคำสั่งคสช. ให้ระงับบทความบัญชีทรัพย์สินของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยเหตุผลว่า "ยุยง+ปลุกระดม"
คำสั่งนี้ส่งมาทางออนไลน์ เมื่อตรวจสอบกลับไปยังปลัดไอซีทีก็ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจน
ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาอย่าง Netflix ได้เริ่มออกมาจัดการกับผู้ใช้ที่เข้าถึงเนื้อหาจากนอกประเทศด้วยวิธีการต่างๆ แล้ว โดยมีรายงานจากผู้ใช้จำนวนมากว่าไม่สามารถใช้เทคนิคเดิมๆ ในการเข้าถึงบริการของ Netflix จากนอกสหรัฐอเมริกาได้ในตอนนี้
เครือข่ายพลเมืองเน็ตออกแถลงการณ์ต่อการที่เลขาธิการกสทช. เรียกประชุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ประเด็นที่ทุกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถบล็อคเว็บได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากกสทช.
แถลงการณ์ตั้งคำถามว่ากสทช. มีอำนาจอะไรเข้าควบคุมเนื้อหาเพราะเงื่อนไขในการประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องของทรัพยากร, มาตรฐานโครงข่าย, และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
เมื่อวานนี้ข่าวการนัดพูดคุยระหว่างเลขาธิการกสทช. และเฟซบุ๊กที่ไม่ได้พูดคุยกัน ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมคือทางเลขาธิการกสทช. เตรียมจะส่งหน้งสือขอความร่วมมือไปยังไลน์ และยูทูบ พร้อมกับนัดคุยกับเฟซบุ๊กอีกครั้งช่วงเดือนมกราคมนี้
เมื่อวานนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้สัมภาษณ์นักข่าวระบุถึงเรื่องการบล็อคเว็บไซต์ Human Rights Watch เฉพาะหน้าของประเทศไทย โดยระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงไอซีที โดยเป็นเรื่องความมั่นคงที่ได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีดูแล
วันเดียวกันเองทาง Human Rights Watch ก็ออกมาเปิดหน้าสำหรับประเทศไทยใหม่ จากเดิม www.hrw.org/asia/thailand กลายเป็น www.hrw.org/thailand ทำให้เข้าจากประเทศไทยได้อีกครั้ง (แถม URL สั้นลง)
นอกจากนี้ตัวเว็บ Human Rights Watch ยังรองรับการเข้ารหัส HTTPS ทำให้การบล็อคเว็บเป็นราย URL ไม่ได้ผล
ประเทศที่มีปริมาณการบล็อกเว็บสูงๆ แม้จะมีรายงานว่าบล็อกเว็บต่างๆ แต่เราก็ไม่ค่อยเห็นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน รวมถึงรายงานว่าการบล็อกเว็บเหล่านั้นสามารถกันไม่ให้คนเข้าเว็บได้จริงแค่ไหน แต่ในปี 2011 ล็อกไฟล์ของเครื่องพรอกซี่ Blue Coat SG-9000 จำนวน 7 เครื่องที่ทำงานอยู่ในประเทศซีเรียก็หลุดออกมาสู่โลกภายนอก ทำให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์กระบวนการบล็อกเว็บได้ละเอียดกว่าเดิมมาก และตอนนี้ทีมวิจัยก็รายงานบทวิเคราะห์เรื่องนี้นำเสนอในงาน Internet Measurement Conference 2014
นับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา DNS ในกลุ่ม *edgecastcdn.net ในจีนถูกปลอมค่าทั้งหมด ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าเว็บของลูกค้า EdgeCast จำนวนมาก เช่น Sony Mobile, The Atlantic, Drupal.org, addons.cdn.mozilla.org, speedtest.net, และ deviantart.com
ทาง GreatFire ระบุว่าลูกค้าของ EdgeCast ทั้งหมดมีโอกาสได้รับผลกระทบจากการบล็อคครั้งนี้
ทาง EdgeCast แจ้งลูกค้าว่าหากพบปัญหาให้ล็อกอินเข้าระบบ แล้วจะมีข้อความแจ้งทางแก้ปัญหาให้อีกครั้ง
ที่มา - GreatFire
เราเคยเห็นข่าวรัฐบาลจีนเข้ามาเซ็นเซอร์ข้อความในแอพแชทหรือโซเชียลสัญชาติจีนอยู่บ่อยๆ และในเหตุการณ์ประท้วงที่ฮ่องกงช่วงนี้ ก็มีรายงานว่า WeChat เซ็นเซอร์ตัวเองเรียบร้อย
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่าผู้ประท้วงในฮ่องกงโพสต์ภาพการประท้วงลงในฟีเจอร์ Moment ของ WeChat (อารมณ์เดียวกับ Timeline) เพื่อกระจายข่าว แต่ผู้ใช้งานจากจีนแผ่นดินใหญ่จะไม่เห็นภาพเหล่านี้ (แต่ยังเห็นข้อความหรือลิงก์อยู่)
Wall Street Journal ทดสอบเรื่องนี้โดยให้ผู้ใช้ในฮ่องกงโพสต์ภาพอาหาร (ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับการประท้วงเลย) และพบว่าผู้ใช้ในจีนไม่เห็นภาพดังกล่าวจริง นอกจากนี้ยังพบว่าบัญชีสาธารณะในจีนแผ่นดินใหญ่ไม่สามารถโพสต์ลิงก์ข่าวที่มีคำว่า "Hong Kong" "protest" "democracy" ได้อีกด้วย
เป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับการปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของจีน โดยกรณีล่าสุดเป็นกรณีของ Instagram ที่ถูกบล็อคไปเรียบร้อยแล้วบนจีนแผ่นดินใหญ่ โดยสื่อคาดว่าเพื่อปิดกั้นการเข้าถึงภาพและวิดีโอสั้นของการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง
ต้องรอดูกันต่อไปว่าหากการประท้วงสิ้นสุดลง (ไม่ว่าเหรียญจะออกทางไหน) ทางการจีนจะยกเลิกการบล็อค Instagram หรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีการปิดกั้นการเข้าถึงครั้งนี้ครอบคลุมแค่พื้นที่บนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ประชาชนในเกาะฮ่องกงยังคงสามารถโพสต์รูปภาพและวิดีโอได้ต่อไป
ที่มา - Reuter (Yahoo! News)
DuckDuckGo เว็บค้นหาทางเลือกใหม่ โดนบล็อคไม่ให้ใช้งานในประเทศจีนซะแล้ว ตามรอย Google Search ไปอีกราย
Gabriel Weinberg ซีอีโอของ DuckDuckGo ยืนยันข่าวนี้ผ่านทวิตเตอร์ แต่ก็ยอมรับว่าไม่รู้เหตุผลที่จีนบล็อค DuckDuckGo เช่นกัน
ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนใช้วิธีเซ็นเซอร์ผลการค้นหาอย่างหนัก ซึ่ง Bing และ Yahoo! ยอมเซ็นเซอร์ตัวเองทำให้เปิดบริการในจีนต่อไปได้ ในขณะที่ Google Search ไม่ยอมเซ็นเซอร์จึงโดนบล็อค และคาดว่า DuckDuckGo น่าจะประสบชะตากรรมเดียวกัน
ที่มา - Tech in Asia
ช่วงบ่านวันนี้ (19 ก.ย.) มีรายงานว่าเว็บไซต์วิกิพีเดียภาคภาษาไทย (ใต้โดเมน th.wikipedia.org) ไม่สามารถใช้งานได้ผ่านอินเทอร์เน็ต 3BB โดยจะเห็นหน้าจอสีเขียวของกระทรวงไอซีทีที่ระบุว่าเป็นเว็บไซต์ไม่เหมาะสม
ผมลองดูแล้วพบว่าพบข้อความระงับการเข้าถึงจากกระทรวงไอซีทีจริง (ตอนนี้ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร) คนที่ใช้ 3BB และต้องการเข้าถึงวิกิพีเดียยังสามารถใช้ได้ผ่าน HTTPS (https://th.wikipedia.org) ครับ
สำหรับผู้ที่ใช้งาน ISP รายอื่นๆ รบกวนแจ้งสถานะด้วยนะครับว่ายังเข้าวิกิพีเดียกันได้หรือไม่
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ชายชาวจีนผู้หนึ่งชื่อ Wang Long ทำการฟ้องร้อง China Unicom บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่อันดับสองของประเทศต่อศาลท้องถิ่นเมืองเซินเจิ้นมณฑลกว่างตง
Wang Long ให้เหตุผลในการฟ้องครั้งนี้ว่า "China Unicom ไม่สามารถให้บริการในการเข้าถึงบริการต่างๆ ของ Google เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งเดือน ซึ่งควรเป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ISP ที่จะต้องให้บริการการเข้าถึงเว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ บริษัทควรจะรับผิดชอบในความผิดพลาดครั้งนี้"
ทางการจีนเริ่มบังคับให้ผู้ใช้แอพแชท instant messaging ที่ใช้ "บัญชีเปิด" (public account) ต้องลงทะเบียนด้วย "ชื่อจริง" โดยมีผลต่อแอพแชทสัญชาติจีนทุกตัว ไม่ว่าจะเป็น WeChat, QQ, Laiwang, Yixin, Miliao (ส่วนผู้ใช้ธรรมดาไม่ได้รับผลกระทบใดๆ)
นอกจากการลงทะเบียนด้วยชื่อจริงแล้ว ทางการจีนยังออกกฎว่าถ้าบัญชีใดอยากเผยแพร่ "ข่าวการเมือง" จะต้องขออนุมัติจากเจ้าหน้าที่ก่อนด้วย
ช่วงที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้งานบิททอร์เรนท์ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สร้างความกดดันให้กับอุตสาหกรรมความบันเทิงอย่างมาก พอที่จะไปกดดันให้ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แก้ไขปัญหาดังกล่าว หนึ่งในวิธีที่เลือกใช้คือการขอให้ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ISP) บล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลดบิททอร์เรนท์ดังกล่าว โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ The Pirate Bay หรือที่คุ้นกันในชื่ออ่าวสลัด หนึ่งในเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการบิททอร์เรนท์สูงสุดในโลก
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติของรัสเซียได้ผ่านร่างกฎหมายห้ามเว็บไซต์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตเก็บข้อมูลของชาวรัสเซียไว้นอกประเทศ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูล ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตของรัสเซียวิจารณ์ว่า รัฐบาลต้องการจะปิดกั้นการเข้าสื่อโซเชียลมีเดียโดยตรง