วันนี้หลังกระทรวงดิจิทัลประกาศกำชับแนวทางการปิดกั้นข้อมูลตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็มีรายงานว่าเว็บ Change.org ถูกปิดกั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผมทดสอบจาก AIS Fibre และ dtac ก็พบว่าถูกบล็อคทั้งคู่ โดย redirect 302 ไปยังไอพี 125.26.170.3
update: ข้อมูลจากคุณ icez พบว่า Change.org จาก https://change.org จะ redirect ไปยัง http://www.change.org เสมอ ทำให้เว็บเชื่อมต่อแบบไม่เข้ารหัสครั้งหนึ่งจนทำให้ระบบบล็อคเว็บสามารถตรวจพบ URL ได้
กระทรวงดิจิทัลจัดประชุมร่วมกับกสทช., ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP), และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ให้ช่วยกันเฝ้าระวังและดำเนินการต่อข้อมูลและเว็บไซต์ที่ผิดต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เพิ่งประกาศเมื่อช่วงเวลาตีสี่ที่ผ่านมา และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ
แถลงของกระทรวงย้ำถึง มาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระบุว่า "ห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด รวมตลอดทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร"
ปากีสถานสั่งแบนแอปโซเชียลเน็ตเวิร์ควิดีโอยอดนิยม TikTok เนื่องจากวิดีโอบนแพลตฟอร์มนั้นมีเนื้อหาไม่เหมาะสมและผิดศีลธรรม
หน่วยงานโทรคมนาคมของปากีสถาน หรือ PTA ระบุว่าทางหน่วยงานได้รับร้องเรียนจากหลายภาคส่วนเกี่ยวกับประเด็นการเผยแพร่เนื้อหาบนแพลตฟอร์ม TikTok และแม้ทางปากีสถานจะแจ้งเตือน TikTok ไปแล้วเป็นเวลานับเดือน แต่ TikTok ก็ยังไม่ทำตามคำสั่ง จึงเป็นที่มาของการสั่งบล็อคแอป TikTok ในประเทศ
มาตรฐาน ESNI เป็นส่วนหนึ่งของ TLS 1.3 มาตั้งแต่ปี 2018 และเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ จากฝั่งเซิร์ฟเวอร์และเบราว์เซอร์ ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถมองเห็นได้ว่าผู้ใช้กำลังเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดเมนอะไร และรายงานล่าสุดก็พบว่าระบบบล็อกเว็บของจีนหรือ The Great Firewall บล็อค ESNI แล้วตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ESNI เข้ารหัสข้อมูล SNI (server name indication) ที่เปิดเผยว่าการเชื่อมต่อเข้ารหัสต้องการเชื่อมต่อกับโดเมนใด ที่ผ่านมา SNI ไม่เข้ารหัสทำให้ไฟร์วอลล์สามารถอ่านค่าโดเมนจากการเชื่อมต่อได้ ESNI ปิดช่องโหว่นี้ด้วยการเข้ารหัสชื่อโดเมนทำให้ไฟร์วอลล์มองไม่เห็นว่าการเชื่อมต่อเป็นการต่อกับโดเมนใด
จากกรณี Twitter ซ่อนโพสต์ของ Donald Trump เนื่องจากผิดข้อตกลงใช้งาน จนทำให้ Trump เซ็นคำสั่งละเว้นการคุ้มครองบริการโซเชียลมีเดียทั้งหมด
ฝั่งของ Facebook ก็มีความเคลื่อนไหว โดย Mark Zuckerberg ออกมาโพสต์แสดงจุดยืนว่าจะไม่เซ็นเซอร์โพสต์ของ Trump แบบเดียวกับที่ Twitter ทำ
Proton ผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัสและภายหลังเริ่มขยับขยายไปทำบริการเข้ารหัสอื่น ๆ ประกาศเตรียมใช้ระบบ alternative routing เพื่อหลีกเลี่ยงการบล็อคเว็บไซต์ในหลาย ๆ ประเทศ
ระบบ alternative routing ของ Proton จะเปิดใช้งานอัตโนมัติเฉพาะแอปเท่านั้น ทั้ง ProtonMail และ ProtonVPN (ไม่สามารถใช้งานกับเบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อปได้) ซึ่งปกติแล้วผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบนี้ แต่ผู้ใช้ที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ถูกบล็อค ระบบของ ProtonMail จะหาเส้นทางอื่นในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติ
หนังสือ Permanent Record ของ Edward Snowden เป็นหนังสือแสดงเบื้องหลังแนวคิดว่าทำไมเขาจึงเลือกที่จะเปิดโปงเอกสารจำนวนมากของ NSA ทำให้โลกได้รับรู้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ มีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลได้มากเพียงใด ล่าสุดหนังสือฉบับนี้มีการวางขายฉบับแปลภาษาจีนในประเทศจีนแล้ว อย่างไรก็ตามฉบับที่ขายกลับถูกเซ็นเซอร์บางส่วนที่พาดพิงถึงไฟร์วอลล์ของรัฐบาลจีน หรือ The Great Firewall ออก วันนี้ Snowden ระบุว่ามีกลุ่มผู้อ่านมาช่วยกันแปลให้ครบถ้วนแล้วแจกจ่ายฟรี โดยแจกจ่ายบนเว็บ TemporaryRecord.com
หนังสือ 爱德华·斯诺登《永久记录》แจกจ่ายเป็นไฟล์ PDF, ไฟล์ .torrent, และ magnet link
ตุรกีได้เริ่มบล็อควิกิพีเดียเมื่อเกือบสามปีก่อน ล่าสุดตอนนี้วิกิพีเดียเริ่มกลับเข้ามาใช้งานได้อีกครั้งในตุรกี หลังจากศาลรัฐธรรมนูญในตุรกีกลับคำสั่งแบนเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
การสั่งบล็อควิกิพีเดียเมื่อสามปีก่อน เกิดจากหน่วยงานด้านการสื่อสารทางไกลของตุรกีเป็นผู้สั่งบล็อคโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงต่อประเทศ แต่ศาลรัฐธรรมนูญระงับคำสั่งโดยระบุว่าการกระทำนี้ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและทำลายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
อิหร่านตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกือบทั้งประเทศ หลังประชาชนประท้วงเป็นวงกว้างเนื่องจากขึ้นราคาน้ำมัน จนเกิดเหตุวุ่นวายมีผู้ร่วมชุมนุมถูกจับกุมนับพัน
เว็บไซต์ Internet Intelligence ของออราเคิลแสดงข้อมูลว่าอัตราการ traceroute ในอิหร่านสำเร็จต่ำลงอย่างมาก การประกาศเส้นทาง BGP หายไปอย่างมีนัยสำคัญ และเส้นทางไปยังเน็ตเวิร์คจำนวนมากไม่เสถียร
อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ จากผู้ให้บริการเช่น MCI, Ringtel, และ IranCell ไม่สามารถเชื่อมต่อได้แล้ว
ที่มา - IT News
Hu Xijin บรรณาธิการ Global Times หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลจีน โพสลง Weibo ส่วนตัว แสดงความไม่เห็นด้วยกับการบล็อคเว็บ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ใกล้วันชาติจีนที่จะถึงในวันที่ 1 ตุลาคม ทำให้รัฐบาลจีนบล็อคเว็บหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง VPN เองก็เริ่มใช้งานไม่ได้
Hu ระบุว่าแม้แต่การทำงานของ Global Times เองก็ทำงานได้ลำบาก พร้อมกับบอกว่าคนส่วนมากก็รักชาติ และรักพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่แล้ว ทำให้การเมืองจีนแข็งแกร่งพอที่จะรับข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก รวมไปถึงระโยชน์อื่นเช่นการทำวิจัยและการสื่อสาร
Global Times เป็นสื่อรัฐบาลจีนภาคภาษาอังกฤษ โดยมีช่องทางบนทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก, และอินสตาแกรม
Private Internet Access (PIA) ผู้ให้บริการ VPN ระบุว่าบริการถูกบล็อคในฮ่องกง หลังจากมีการประท้วงต่อเนื่องยาวนานหลายเดือน แม้จะยังไม่มีข่าวเป็นทางการว่ารัฐบาลฮ่องกงจะเริ่มแบน VPN เป็นวงกว้าง
ก่อนหน้านี้ Carrie Lam ผู้ว่าเขตปกครองพิเศษฮ่องกงระบุว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาใช้กฎหมายพิเศษเพื่อควบคุมสถานการณ์ชุมนุมประท้วง แต่สมาคม ISP ฮ่องกงก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย
PIA ระบุว่าผู้ใช้ในฮ่องกงไม่สามารถเชื่อมต่อบริการ หรือหากเชื่อมต่อได้ก็โหลดหน้าเว็บไม่ขึ้น
Reddit เริ่มไล่แบนห้องย่อยที่มีแนวทางการแชร์ภาพคนตาย เช่น r/watchpeopledie, r/Gore, r/WPD, r/SeePeopleKilled ในช่วงเวลาติดๆ กันไม่กี่นาที หลังจากเกิดเหตุกราดยิงในนิวซีแลนด์ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
ทางการนิวซีแลนด์ยังไม่ระบุชื่อผู้ลงมือเหตุกราดยิงครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ผู้ก่อเหตุเขียนคำประกาศ "The Great Replacement" ระบุความน่ากลัวของคนอพยพที่มีอัตราการมีบุตรสูงกว่า และระหว่างเหตุกราดยิงก็มีการถ่ายทอดผ่าน Facebook Live
ห้อง r/watchpeopledie ก่อตั้งมาแล้วกว่า 7 ปี มีผู้ติดตามกว่าสามแสนคน
เฟซบุ๊กแบนเพจที่โพสวิดีโอเป็นหลัก 3 เพจ ได้แก่ Soapbox, Waste-Ed, และ Backthen และเพจที่ใหญ่ที่สุดคือ Now ที่มีผู้ติดตามกว่า 3 ล้านคน เนื่องจากเพจทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องทางการเงินกับสำนักข่าว RT ที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลรัสเซีย
ทางเฟซบุ๊กระบุว่ากำลังติดต่อบริษัทผู้ดำเนินการเพจเหล่านี้และขอให้แจ้งความเกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ จึงจะอนุญาตให้บริการต่อไป โดยระบุว่าเป็นแนวทางของเฟซบุ๊กที่ต้องการให้ผู้ติดตามเพจรู้ข้อมูลมากขึ้น
Soapbox, Waste-Ed, และ Backthen นั้นดำเนินการโดยบริษัท Maffick Media ที่ถือหุ้นโดยบริษัท Ruptly ที่เป็นบริษัทลูกของ RT สำนักข่าวที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลรัสเซียอีกที
กสทช. ประเทศบังกลาเทศ สั่งปิดเครือข่าย 3G/4G ในประเทศชั่วคราว เพื่อป้องกันการเผยแพร่ "ข้อมูลเท็จ" ในช่วงการเลือกตั้งใหญ่วันนี้ (30 ธันวาคม 2018)
การเลือกตั้งรอบนี้เป็นการขับเคี่ยวระหว่างนายกรัฐมนตรี Sheikh Hasina ที่อยู่ในตำแหน่งมา 2 สมัยนาน 10 ปี และต้องการนั่งเก้าอี้นายกเป็นรอบที่สาม กับพรรคฝ่ายค้านที่นำโดย Kamal Hossain อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ครั้งนี้อาจเป็นครั้งแรกๆ ที่หน่วยงานรัฐออกมายอมรับอะไรอย่างนี้ เมื่อนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ทวีตเรื่องการปิดกั้นเนื้อหาเว็บไซต์ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและความผิดอื่นๆ พร้อมยอมรับว่าไม่สามารถบล็อคหน้าเว็บที่เชื่อมต่อผ่าน HTTPS ได้
กสทช. ระบุว่ามีการแจ้งความร้องทุกข์ให้บล็อคเว็บทั้งหมด 309 URL บล็อคไปแล้ว 81 URL ส่วนที่เหลือ 228 URL ไม่สามารถบล็อคได้เพราะใช้ HTTPS พร้อมระบุว่าจะขอความร่วมมือจากต่างประเทศและเจ้าของแพลตฟอร์มในต่างประเทศ เข้ามาหารือกับ กสทช. เพื่อปิดกั้นเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์และผิดกฎหมายไทย โดยเบื้องต้น กสทช. ส่งหนังสือผ่านไปทางสถานทูตสหรัฐและญี่ปุ่นเรื่องเนื้อหาที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสและ กสทช. ไม่สามารถดำเนินการปิดกั้นได้
วันนี้มีรายงานว่าเว็บ Human Right Watch (HRW) กลุ่ม NGO ที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ถูกบล็อคหน้ารายงานของประเทศไทย https://www.hrw.org/asia/thailand โดยความผิดปกติจากการบล็อคอื่นๆ คือเว็บ hrw.org นั้นเป็นการเชื่อมต่อแบบ HTTPS ที่ไม่ควรจะบล็อคราย URL ได้
อย่างไรก็ดี เมื่อตรวจสอบพบว่า เมื่อเข้าเว็บจากในประเทศไทยหมายเลขไอพีของ hrw.org จะอยู่ในวง 49.231.32.0 - 49.231.255.255 ที่เป็นวงของ AIS ทาง hrw.org ใช้บริการ CDN ของจีนที่ชื่อว่า wtxcdn.com ทำให้เมื่อ resolve DNS แล้วได้หมายเลขไอพีในวงนี้ (canonical name ที่ resolve ได้คือ www.hrw.org.wtxcdn.com)
สำนักงานควบคุมไซเบอร์ (Cyberspace Administration of China - CAC) ประกาศร่างกฎการให้บริการบล็อคเชนในจีน มีกฎสำคัญคือผู้ให้บริการต้องลงทะเบียนชื่อจริงและหมายเลขบัตรประชาชนล่วงหน้าเสมอ และต้องรองรับการเซ็นเซอร์ข้อมูล
เป็นที่รู้กันว่าประเทศจีนนั้นมีการควบคุมอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด ทำให้ชาวเน็ตจีนต้องหาวิธีแชร์สิ่งต้องห้ามอยู่เรื่อย ๆ ล่าสุดมีรายงานว่าชาวเน็ตจีนเริ่มใช้บล็อกเชนในการแชร์บทความเรื่องอื้อฉาวที่บริษัทหนึ่งผลิตวัคซีนสำหรับเด็กแบบต่ำกว่ามาตรฐาน
เรื่องมีอยู่ว่าบริษัทผลิตวัคซีนแห่งหนึ่งคือ Chuangchun Changsheng Biotechnology ถูกค้นพบว่าผลิตวัคซีนแบบต่ำกว่ามาตรฐานให้เด็กอายุ 3 เดือน ทำให้วัคซีนไม่สามารถสร้างระบบภูมิคุ้มกันบนมนุษย์ได้จริง (หรือสร้างได้ไม่เต็มที่) แต่การผลิตวัคซีนต่ำกว่ามาตรฐานนั้นทำให้บริษัทมีอัตรากำไรสูงขึ้นจนกลายเป็นบริษัทผลิตวัคซีนยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ ทำให้ชาวเน็ตจีนแชร์ข่าวและวิจารณ์ถึงระบบวัคซีน
ศาลฎีกาสหราชอาณาจักรพิพากษาให้ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเมื่อต้องบล็อคเว็บที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แม้จะเป็นการทำตามคำสั่งศาลที่ยืนยันว่าให้บล็อคเว็บก็ตามที
สำนักข่าว Islamic Republic News Agency ในอิหร่านรายงานว่า ศาลในอิหร่านสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศบล็อก Telegram แล้ว
ปัจจุบัน อิหร่านมีผู้ใช้งาน Telegram โดยประมาณ 40 ล้านคน คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งก่อนที่จะมีคำสั่งแบน Telegram ทั้งประเทศนั้น พนักงานของรัฐก็ถูกสั่งให้เลิกใช้แอพมาแล้ว และรัฐบาลอิหร่านก็เปิดตัวแอพแชทของตัวเองคือ Soroush เพื่อใช้งานภายในประเทศ
Google และ Amazon สั่งปิดฟีเจอร์ domain fronting ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยหลบเลี่ยงการเซนเซอร์อินเทอร์เน็ตแล้ว โดย Google เริ่มทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ AWS ก็เริ่มแล้วตอนนี้
Sina Weibo เว็บไซต์ไมโครบล็อกของจีนกลับลำการตัดสินใจก่อนหน้าที่เคยสั่งแบนคอนเทนต์เกย์ไป เนื่องจากมีแรงต่อต้านจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
Weibo ประกาศผ่านโพสต์บนเว็บไซต์ โดยยืนยันว่าตอนนี้ได้ยกเลิกการแบนคอนเทนต์เกย์แล้ว แต่ในการแบนเรื่องอื่นอย่างเช่นภาพโป๊หรือความรุนแรงนั้นจะยังคงดำเนินต่อไป โดยทางบริษัทขอขอบคุณสำหรับการสนทนาและเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นนี้
ก่อนหน้านี้ Weibo สั่งแบนคอนเทนต์ต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงคอนเทนต์ประเภทเกย์ด้วย ไปจนทำให้มีแฮชแท็ก #iamgay และ #iamgaynotapervert ซึ่งในภายหลัง Weibo ก็สั่งแบนต่อด้วยเช่นกัน โดยในครั้งนั้น Weibo แบนเนื้อหาที่ผิดกฎหมายไปแล้วกว่า 56,000 ชิ้น และปิดบัญชีผู้ใช้ไปแล้ว 108 ราย
ผลกระทบจากข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในโลกจริงไม่ได้มีเพียงสหรัฐฯ เมียนมาร์ แต่ยังเกิดขึ้นแล้วที่ศรีลังกา เมื่อรัฐบาลศรีลังกาสั่งให้ผู้บริการเครือข่ายปิดกั้นการเข้าถึง Facebook, Instagram และ WhatsApp เพื่อสกัดกั้นการลุกฮือของประชาชนที่พยายามโจมตีชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อย ด้วยเหตุผลโซเชียลมีเดียมีข่าวปลอมแพร่เยอะเกินไป
เหตุการณ์ลุกฮือเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา โดยประชาชนเข้าโจมตีสถานที่ทางธุรกิจและบ้านเรือนของชาวมุสลิมในกรุงโคลอมโบ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จนรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้าน Facebook ตอบว่า กำลังอยู่ระหว่างพูดคุยกับรัฐบาลศรีลังกา เพื่อดำเนินการลบเนื้อหารุนแรง
ด้านโฆษกรัฐบาล Harindra B. Dassanayake ระบุว่าถ้าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ Facebook จะกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
รัฐบาลอิหร่านได้สั่งบล็อกแอพ Telegram และ Instagram ในช่วงระหว่างการชุมนุมประท้วง โดยผู้มีอำนาจให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคม โดยสื่อหลายแห่งรายงานว่าแอพทั้งสองถูกใช้เพื่อการปรึกษาหารือวางแผน และแชร์ภาพหรือวิดีโอเกี่ยวกับการประท้วง
Telegram โดยซีอีโอ Pavel Durov ได้ทวีตถึงเรื่องการบล็อก Telegram โดยเขากล่าวว่าการบล็อกเกิดขึ้นหลังจากที่ทาง Telegram ปฏิเสธจะปิดช่อง t.me/edaiemardom รวมถึงช่องอื่น ๆ ที่ใช้เพื่อการประท้วงโดยสันติ (ก่อนหน้านี้ Telegram เคยปิดช่องเกี่ยวกับความรุนแรงตามคำขอของรัฐบาลมาแล้ว)
ส่วนฝั่ง Instagram ยังไม่ได้ให้ความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมเนื้อหาออนไลน์เคร่งครัด และเคร่งครัดมากขึ้นเมื่อสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด เราจึงได้ยินข่าวจีนบล็อกเว็บไซต์บ่อยครั้ง ล่าสุดมีตัวเลขออกมาแล้วคือตั้งแต่ปี 2015 จนถึงตอนนี้ รัฐบาลจีนบล็อกเว็บผิดกฎหมายไปแล้วถึง 13,000 เว็บไซต์ และบล็อกบัญชีผู้ใช้ตามโซเชียลและเว็บไซต์ถึง 10 ล้านบัญชี
คณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ หรือ Standing Committee of the National People's Congress ออกมารายงานตัวเลขเว็บไซต์ที่รัฐบาลบล็อก และยังระบุเพิ่มด้วยว่า ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน รัฐบาลเรียกคุยผู้ทำเว็บไซต์ไม่น้อยกว่า 2,200 เว็บ
ข้อมูลที่ Reuters ได้รับจาก Xinhua ระบุว่ามีข้อมูลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจีน โดย 90% เห็นด้วยกับแนวทางรัฐบาลปิดกั้นเนื้อหาออนไลน์ 63.5% ระบุว่าเนื้อหาออนไลน์ในระยะหลังนี้มีความรุนแรงทางเนื้อหาลดลง