กูเกิลประกาศบริจาคโครงการ AMP (Accelerated Mobile Page) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิ OpenJS Foundation เพื่อให้เป็นโครงการโอเพนซอร์สอิสระ ไม่ขึ้นกับกูเกิลอีกต่อไป
OpenJS Foundation เป็นโครงการลูกของมูลนิธิ Linux Foundation โดยมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสาย JavaScript อยู่ในสังกัดทั้งหมด 32 ตัว ที่ดังๆ ก็อย่างเช่น Dojo, jQuery, Node.js เป็นต้น
กูเกิลอธิบายว่าโครงการ AMP เปิดเป็นโอเพนซอร์สแต่แรกอยู่แล้ว ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาก็มีนักพัฒนาเกือบ 1,000 รายเข้ามาช่วยพัฒนา และตอนนี้ก็ได้เวลาที่ AMP จะหาโมเดลโครงสร้างองค์กรที่เปิดกว้างมากขึ้น ไม่ขึ้นกับกูเกิลเพียงรายเดียว ซึ่ง OpenJS Foundation ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
เฟซบุ๊กประกาศเปิดซอร์สโครงการ Hermes JS Engine เอนจินจาวาสคริปต์สำหรับรันโค้ดบนโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะแอนดรอยด์และเฟรมเวิร์ค React Native
จุดสำคัญของ Hermes คือมันไม่ได้โหลดโค้ดจาวาสคริปต์มาคอมไพล์ขณะที่รันครั้งแรกเหมือนเอนจินอื่นๆ แต่อาศัยการคอมไพล์ไว้ล่วงหน้าเป็นไบต์โค้ด เมื่อติดตั้งแอปแล้วตัวเอนจินจึงโหลดไบต์โค้ดมารัน ทำให้กระบวนการเปิดแอปเร็วขึ้น นอกจากความเร็วในการรันครั้งแรก Hermes ยังปรับการใช้หน่วยความจำให้ประหยัดหน่วยความจำขึ้น ลดเวลาการรัน garbage collection (GC) เพื่อให้แอปตอบสนองเร็ว
เป้าหมายของ Hermes คือรองรับ ECMAScript 6 แต่ตอนนี้ยังมีบางฟีเจอร์ที่ React Native ไม่ได้ใช้จึงเลือกที่จะไม่อิมพลีเมนต์ โดยเฉพาะฟังก์ชั่น eval ที่ถูกตัดออกไป
Chrome for iOS อาจเป็น Chrome เวอร์ชันที่คนไม่ค่อยนึกถึงสักเท่าไรนัก แต่ก็มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนไม่น้อย (สถิติของ Blognone อยู่ราว 8% ของผู้ใช้ iOS ทั้งหมด)
ด้วยข้อจำกัดของแอปเปิลเอง ทำให้ Chrome for iOS (รวมถึงเบราว์เซอร์อื่นทุกตัว) ไม่สามารถใช้เอนจิน Blink ของตัวเองได้ และต้องใช้เอนจิน WebKit ที่มากับตัวระบบปฏิบัติการแทน
อย่างไรก็ตาม ตัวไบนารี WKWebView ของแอปเปิลกลับไม่ซัพพอร์ตฟีเจอร์ Safari Remote Debugging ทำให้การทดสอบเว็บเพจบน Chrome for iOS ทำได้ยากพอสมควร (สามารถทำได้หากคอมไพล์ Chrome for iOS เองทั้งหมดจากซอร์สโค้ด แต่ก็ยุ่งยากไม่น้อย)
อาจเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักพัฒนาสาย JavaScript เมื่อ Yang Guo หนึ่งในนักพัฒนาของโครงการ Node.js ประกาศออกทวิตว่ากำลังช่วย Google หาคนทำงานอยู่ โดยเป็นนักพัฒนาที่สามารถพอร์ต (port) โครงการ Node.js ลง Fuchsia ได้
รายละเอียดของทวิตระบุว่า นักพัฒนาที่ได้ตำแหน่งนี้จะได้ทำงานในตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ Google ประจำสำนักงานเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี และจะต้องทำงานในสถานที่จริงเท่านั้น โดยจะต้องมีประสบการณ์ในการพัฒนา Node.js ส่วนแกนที่สำคัญ (core), C++ และ C++ toolchain ด้วย
ตำรวจญี่ปุ่นในเมือง Kariya ได้เข้าจับกุมเด็กนักเรียนหญิงวัย 13 ปีในคดีอาชญากรรมข้อหากระจายโค้ดอันตราย หลังจากที่เธอนำลิงก์ที่ใส่โค้ด infinite loop ที่เขียนด้วย JavaScript แปะลงเว็บบอร์ด
ภายในลิงก์ที่เด็กหญิงแปะลงเว็บบอร์ดนั้น เป็นหน้าเว็บที่มีโค้ด JavaScript ที่เขียนแบบ infinite loop ที่จะส่ง alert เป็น kaomoji พร้อมข้อความที่แปลว่า “ไม่มีประโยชน์ที่จะปิดหลาย ๆ ครั้ง” ออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งทุก ๆ ครั้งที่คลิก OK ข้อความจะไม่หายไปแต่จะปรากฏข้อความใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่เบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ ได้ป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ไว้แล้ว อย่างเช่น Edge สามารถติ๊กสั่งห้ามเว็บไซต์แสดง alert อีก หรือ Chrome, Safari ที่แม้จะมี alert แสดงออกมาก็กดปิดแท็บได้
กูเกิลปล่อยโครงการย่อยสำหรับ TensorFlow บนภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมในงาน TensorFlow Dev Summit ปีนี้ โดยอัพเดต TensorFlowJS เป็นรุ่น 1.0 พร้อมใช้งานแล้ว
TensorFlowJS มาพร้อมกับเมเดลพร้อมใช้ 5 โมเดล ได้แก่
ดาวน์โหลด TensorFlowJS ได้จาก GitHub: tensorflow/tfjs-core
กูเกิลปรับนโยบายความปลอดภัยของการใช้งานบัญชี Google Account โดยบังคับว่าเบราว์เซอร์ต้องเปิดใช้งาน JavaScript ตอนล็อกอินเสมอ
เหตุผลของกูเกิลเป็นเรื่องความปลอดภัย โดยระบบตรวจสอบความเสี่ยงขณะยืนยันตัวตนของกูเกิล จำเป็นต้องใช้ JavaScript ในการทำงาน กรณีของคนส่วนใหญ่คงไม่มีปัญหาและไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่กูเกิลก็ให้ข้อมูลว่ามีผู้ใช้ประมาณ 0.1% ที่ปิด JavaScript ในเบราว์เซอร์
นักพัฒนาโมดูลย่อยของโครงการ ESLint ถูกขโมยบัญชีใน npm แล้วฝังโค้ดเข้าไป กระทบ eslint-scope และ eslint-config-eslint ทำให้นักพัฒนารายอื่นๆ ที่ดาวน์โหลดโมดูลนี้ระหว่างวันที่ 11-12 ที่ผ่านมาได้รับโค้ดที่เป็นมัลแวร์ไป
ตัวโค้ดจะดาวน์โหลดโคดจาก pastebin มาอีกทีหนึ่งแล้วรันโค้ดตามนั้นทันที
ตอนนี้คาดว่ามีนักพัฒนาดาวน์โหลดโค้ดในช่วงเวลาดังกล่าวไปประมาณ 4,500 ราย ใครที่ใช้ ESLint ควรตรวจสอบว่าใช้โมดูลย่อยทั้งสองอยู่หรือไม่ และดาวน์เกรดโมดูลลงระหว่างรอทางโครงการปล่อยโมดูลเวอร์ชั่นใหม่ที่ลบโค้ดอันตรายออกแล้ว
ที่มา - Bleeping Computer
นักวิจัยจาก Princeton's Center for Information Technology Policy รายงานการค้นพบ JavaScript ของ 3rd Party ที่ฝังอยู่บนหน้าเว็บไซต์ที่มีปลั๊กอิน Login with Facebook สามารถดึงข้อมูลผู้ใช้และ User ID มาจากเฟซบุ๊ก เสมือนเป็นหน้าเว็บไซต์ (1st Party) นั้น เมื่อผู้ใช้กดล็อกอินผ่านเฟซบุ๊ก
กล่าวอีกอย่างคือเมื่อผู้ใช้ล็อกอินและมอบข้อมูลให้กับเว็บไซต์หนึ่งๆ (1st Party) JavaScript ของ 3rd Party ที่ฝังอยู่ในหน้าเว็บนั้นจะได้รับข้อมูลชุดเดียวกันไปด้วย ซึ่งนักวิจัยระบุว่าเจอสคริปต์ฝังอยู่ในเว็บไซต์ 434 เว็บจากเว็บชั้นนำกว่า 1 ล้านเว็บ โดยนักวิจัยระบุว่าปัญหานี้ไม่ใช่บั๊คในกระบวนการล็อคอินผ่าน API ของเฟซบุ๊ก แต่เป็นปัญหาเรื่องความปลอดภัยและการเขียนสคริปต์บนเว็บ
Mozilla ประกาศแผนการพัฒนาให้ภาษา Rust ทำงานร่วมกับ JavaScript ในการใช้เขียนเว็บร่วมกัน
แนวทางของ Mozilla ไม่ได้ต้องการให้ Rust มาแทน JavaScript แต่มองว่าถ้าส่วนไหนจำเป็นต้องใช้ Rust เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า (เช่น การ parse ข้อมูลขนาดใหญ่) ก็สามารถใช้ Rust เขียนส่วนนั้น แล้วนำมาใช้ร่วมกับ JavaScript ในส่วนอื่นได้
วิธีการที่ Mozilla ใช้คือคอมไพล์ Rust เป็น WebAssembly ก่อน แล้วค่อยให้ WebAssembly ทำงานร่วมกับ JavaScript อีกทอดหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้จะเปิดให้ใช้ภาษาอื่นนอกจาก Rust ในระยะยาว โดย Mozilla ระบุว่ามีแผนจะแปลง C/C++ เป็น WebAssembly ในอนาคตด้วย
โครงการ TensorFlow เปิดตัวโครงการย่อย TensorFlow.js สำหรับการพัฒนาโมเดล deep learning บนเบราว์เซอร์หรือ Node.js (กำลังพัฒนา) โดยมุ่งเป้าจะทำให้โมเดล deep learning ที่รันบนจาวาสคริปต์นี้เร่งความเร็วด้วยฮาร์ดแวร์แบบเดียวกับโครงการหลัก
การรันโมเดลบนเบราว์เซอร์จะอาศัย WebGL ในการเชื่อมต่อกับชิปกราฟิกเพื่อเร่งความเร็ว ขณะที่การรันบน Node.js เตรียมจะรองรับทั้งบนชิปกราฟิก, ซีพียู, และ TPU ชิปสำหรับ deep learning ของกูเกิลเอง
โครงการ TensorFlow.js เป็นการพัฒนาต่อมาจาก deeplearn.js ที่เปิดตัวไปปีที่แล้ว แต่พัฒนาต่อเพิ่มเลย์เยอร์สำเร็จรูปเข้ามาโดยใช้ API ที่ใกล้เคียงกับ Keras
ผู้ใช้รายงานบั๊กใน npm 5.7.0 หากรันด้วยสิทธิ์ root อาจจะทำให้ระบบไฟล์เสียหายถึงขั้นต้องติดตั้งระบบปฎิบัติการใหม่
บั๊กนี้เกิดจากแพตช์ที่เปลี่ยนแพ็กเกจจาก mkdirp เป็น correct-mkdir แต่เกิดผลข้างเคียงทำให้ความเป็นเจ้าของโฟลเดอร์เปลี่ยนไป กระทบโฟลเดอร์สำคัญๆ เช่น /etc /usr /boot
ปัญหานี้ไม่ได้กระทบลินุกซ์ทุกรุ่น และวินโดวส์ก็ไม่ได้รับผลกระทบ แต่มีผู้ใช้ FreeBSD รายงานว่าได้รับผลกระทบเช่นกัน อย่างไรก็ตามตอนนี้ npm 5.7.1 ออกมาแล้วก็ควรหันไปใช้รุ่นใหม่ก่อน
เราทราบกันดีว่า Firefox 57 เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะ Mozilla มีแผนปรับปรุงเอนจินอีกมาก และใน Firefox 58 ก็มีของใหม่ที่ช่วยให้การประมวลผล JavaScript เร็วขึ้นอีก
ที่ผ่านมา Firefox รองรับ WebAssembly หรือการคอมไฟล์ JavaScript เป็นไบนารีเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ใน Firefox 58 จะปรับปรุงการคอมไพล์ WebAssembly โดยใช้เทคนิค 2 อย่างประกอบกัน
WebAssembly ฟอร์แมตไบนารีแบบใหม่สำหรับเว็บเบราว์เซอร์โดยวิศวกรจาก Google, Microsoft, Mozilla, WebKit ที่ทำงานร่วมกันเพื่อรันเว็บแอพให้ได้ความเร็วใกล้เคียงกับแอพแบบเนทีฟ ตอนนี้ถือว่าเป็นฟอร์แมตที่ได้รับการรองรับจากเว็บเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ทั้งหมดสี่เจ้าแล้ว หลังจากที่ล่าสุด Safari และ Microsoft Edge เพิ่งอัพเดตรองรับไป เพิ่มเติมจาก Firefox และ Chrome ที่รองรับไปก่อนหน้านี้ ส่วนเบราว์เซอร์ที่ใช้ฐานจาก Chromium อย่าง Opera และ Vivaldi ก็จะรองรับในอีกไม่นานนัก
ปกติแล้วผู้ใช้ Excel ระดับสูง อาจคุ้นเคยกับการเขียนมาโครด้วย VBA เพื่อขยายความสามารถในการทำงาน อย่างไรก็ตาม VBA เป็นสถาปัตยกรรมการเขียนโปรแกรมแบบเก่า ที่มีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยมาก และเป็นสาเหตุสำคัญของมัลแวร์บน Office มายาวนาน
ล่าสุดในงาน Ignite 2017 ไมโครซอฟท์โชว์ฟีเจอร์ใหม่ของ Excel ที่เปิดให้เราเขียนฟังก์ชันใช้เอง (custom functions) ด้วยภาษา JavaScript แล้ว
ฟีเจอร์นี้ยังมีสถานะเป็นพรีวิว แต่ไมโครซอฟท์ระบุว่าเครื่องมือเขียนโค้ดจะเป็น Visual Studio ที่เป็น IDE สมัยใหม่ แทนการใช้ตัว VBA Editor
ทีมวิจัย PAIR (People+AI Research Initiative) ของกูเกิล เปิดตัวโครงการ deeplearn.js ไลบรารีจาวาสคริปต์สำหรับเทรน machine learning ในเว็บเบราว์เซอร์
ที่ผ่านมา การเทรน AI จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทาง เช่น ไลบรารีอย่าง Caffe, Torch, TensorFlow ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง ทางออกของกูเกิลจึงเป็นการสร้างไลบรารีที่รันได้บนเบราว์เซอร์ ไม่ต้องมีการติดตั้งใดๆ ช่วยให้คนนอกวงการ AI เข้าถึงการเทรนโมเดลแบบง่ายๆ ได้สะดวกขึ้น
ปัญหาของการรัน machine learning ในเบราว์เซอร์คือติดคอขวดที่ประสิทธิภาพของจาวาสคริปต์ ทางแก้ของกูเกิลคือรันบน WebGL เพื่อเรียกใช้พลังประมวลผลของจีพียู ซึ่งเหมาะกับงาน AI อยู่แล้ว
Microsoft Garage โครงการส่งเสริมให้พนักงานสร้างแอพนอกเวลางานปกติของไมโครซอฟท์ เปิดตัวโปรเจ็กต์ Script Lab เครื่องมือซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับการสร้างส่วนขยาย (Add-in) สำหรับแอพในตระกูล Microsoft Office ด้วยการเปิดให้นักพัฒนาได้ทดลอง JavaScript API ที่มีไว้ให้ Add-in ใช้สั่งงาน Excel, Word หรือ PowerPoint ได้จากหน้าต่างเขียนโค้ดของ Script Lab ภายในแอพข้างต้นแต่ละตัวโดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมเลย
Script Lab จึงจะมีประโยชน์อย่างมากกับผู้ที่กำลังเรียนรู้วิธีการพัฒนา Office Add-in หรือจะนำไปใช้สร้าง Add-in ตัว prototype เพื่อทดสอบการทำงานต่างๆ ก่อนเริ่มพัฒนา Add-in ตัวจริงก็ทำได้เช่นกัน
ทีมพัฒนา Skype จากไมโครซอฟท์ประกาศโอเพนซอร์ส ReactXP ไลบรารีสำหรับสร้างแอพข้ามแพลตฟอร์ม (cross-platform) ที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ React JS และ React Native ของ Facebook เป็นฐาน โดยมีจุดเด่นที่ต่างไปจากโครงการ React ต้นน้ำคือ ตัวไลบรารี ReactXP จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถแชร์โค้ด UI ของเว็บแอพและแอพแบบ native ได้ทั้งส่วนที่เป็นลอจิกและรวมถึงส่วนที่เป็นการแสดงผลด้วย
โครงการ ReactXP มีที่มาจากการที่ Skype มีแอพอยู่บนหลากหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งการพัฒนาหน้า UI แต่ละไคลเอนต์เดิมทีต้องเขียนโค้ดด้วยภาษา native เฉพาะของแต่ละแพลตฟอร์มแยกกัน ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทีม Skype จึงได้สำรวจแนวทางการพัฒนาใหม่ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการเขียนโค้ดฟีเจอร์เดียวกันซ้ำๆ บนแต่ละแพลตฟอร์มให้ได้มากที่สุด
Apple ได้ออก LivePhotoKit JavaScript API ซึ่งเป็น API สำหรับให้นักพัฒนาทำให้เว็บรองรับการเล่นไฟล์ภาพแบบ Live Photo บนเว็บไซต์
API นี้จะวางให้ player ของ Live Photo อยู่ใน DOM element ซึ่งสามารถปรับแต่งภาพหรือวิดีโอได้ โดยวิธีใช้งานเพียงแค่ฝัง LivePhotoKit ลงในเว็บเพจที่ต้องการ และเปิดใช้งาน JavaScript strict mode โดยภาพ Live Photo จะถูกส่งไปยังเบราว์เซอร์เป็นภาพ JPG และ MOV ไฟล์เดียว
LivePhotoKit API รองรับทั้ง Safari, Chrome และ Firefox บน macOS ส่วนบน Windows รองรับทั้ง Chrome, Firefox, Microsoft Edge และ Internet Explorer 11 โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ API สามารถอ่านได้จากหน้าเว็บ Apple Developer
Facebook ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ React เฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ชื่อดังสำหรับสร้างเว็บแอพ (และภายหลังพัฒนาต่อมาเป็น React Native สำหรับสร้างแอพมือถือ) แต่เมื่อ React ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง ข้อจำกัดของมันเรื่องประสิทธิภาพก็เริ่มเด่นชัด
Facebook แก้ปัญหานี้ด้วยการเขียนแกนของ React ใหม่หมด โดยใช้ชื่อว่า React Fiber
React Fiber มีข้อดีเหนือกว่า React ตัวเดิมหลายอย่าง ทั้งประสิทธิภาพดีกว่า การมีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่า ควบคุมตัวแปรและข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่า แถมยังการันตีว่า backward compatible กับ React ตัวเดิมทั้งหมด 100% ส่งผลให้นักพัฒนาไม่ต้องแก้ไขโค้ดเก่าแต่อย่างใด
Google ประกาศเลิกแนะนำการใช้งาน Octane ซึ่งเป็นเครื่องมือวัด benchmark ของ JavaScript โดยให้เหตุผลว่าเครื่องมือดังกล่าวไม่ได้มีประโยชน์มากนักสำหรับนักพัฒนาเบราว์เซอร์ในการระบุว่าจะปรับปรุงเอนจินให้เหมาะสมอย่างไร
Octane ถูกพัฒนาโดยนักพัฒนาเอนจิน V8 ซึ่งเป็นเอนจิน JavaScript ที่ใช้ใน Chrome โดยจุดประสงค์คือต้องการแก้ปัญหาใน SunSpider ที่พัฒนาโดยทีม Safari ของ Apple เพราะว่า SunSpider เป็นการทดสอบที่เรียกว่า microbenchmark หรือการทดสอบการทำงานแบบเดี่ยวที่เล็กที่สุดเป็นพันครั้ง ซึ่งไม่สะท้อนโค้ดในโลกแห่งความเป็นจริง และนักพัฒนามุ่งแต่จะทำคะแนนให้สูง ทำให้การปรับปรุงประสิทธิภาพให้เหมาะกับความเป็นจริงไม่ดีเท่าที่ควร
ไมโครซอฟท์เปิดตัว SharePoint Framework (SPFx) สำหรับนักพัฒนาสร้างแอพพลิเคชันมาเชื่อมต่อกับ SharePoint ในฝั่งไคลเอนต์
ที่ผ่านมา นักพัฒนาสายไมโครซอฟท์มักสร้างแอพมาเชื่อมต่อกับ SharePoint ในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (ส่วนใหญ่มักเป็น ASP.NET) แต่เมื่อเทคโนโลยีฝั่งเว็บแอพพัฒนามากขึ้น เราสามารถดึงข้อมูลจาก SharePoint Server มาเรนเดอร์ที่ฝั่งไคลเอนต์แทน ซึ่ง SharePoint Framework ก็ออกแบบมาเพื่องานลักษณะนี้
ไมโครซอฟท์ระบุว่าแอพของตัวเองทั้ง SharePoint บนมือถือ, SharePoint Online, OneDrive for Business ต่างก็สร้างขึ้นบน SharePoint Framework ดังนั้นนักพัฒนาภายนอกก็มั่นใจได้ว่า ได้ใช้เทคโนโลยีตัวเดียวกันกับวิศวกรของไมโครซอฟท์เอง
กูเกิลประกาศบล็อคการแนบไฟล์ประเภท JavaScript ใน Gmail เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน มีผลวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2017 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ Gmail บล็อคไฟล์ประเภท executable อย่าง .exe, .msc, .bat, .vb อยู่แล้ว คราวนี้เพิ่ม .js เข้ามา คนที่แนบไฟล์นี้จะเห็นว่าไฟล์ถูกบล็อคจาก security reasons และกดดูคำอธิบายเพิ่มเติมได้ตามภาพ
กูเกิลแนะนำว่าถ้าจำเป็นต้องส่งไฟล์ .js จริงๆ ให้ส่งผ่าน Google Drive หรือบริการฝากไฟล์ยี่ห้ออื่นแทน การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลทั้ง Gmail แบบปกติและ G Suite (Google Apps เดิม)
เมื่อประมาณ 6 เดือนที่แล้ว ไมโครซอฟท์พอร์ตเอนจินจาวาสคริปต์ ChakraCore ไปยังแมคและลินุกซ์ แต่ยังมีข้อจำกัดด้านฟีเจอร์และประสิทธิภาพเป็นรอง ChakraCore บนวินโดวส์
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศความคืบหน้า ว่าปรับปรุง ChakraCore บนลินุกซ์ไปอีกมาก โดยพอร์ตองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ เช่น JIT compiler และ garbage collector ที่มีฟีเจอร์เต็มขั้น ส่งผลให้ ChakraCore เวอร์ชันลินุกซ์มีฟีเจอร์หลักๆ ทัดเทียมกับเวอร์ชันวินโดวส์แล้ว เหลือเพียงการพอร์ตฟีเจอร์อื่นๆ (เช่น internationalization) และปรับแต่งประสิทธิภาพเพิ่มเติม ก็จะทำให้ ChakraCore ทั้งสองเวอร์ชันมีความสามารถเท่ากัน
npm เป็นระบบจัดการแพ็กเกจ JavaScript ที่ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน npm รวบรวมแพ็กเกจไว้มากถึงราว 400,000 แพ็กเกจ และมียอดดาวน์โหลดกว่า 300 ล้านครั้งต่อวัน แต่ในทางตรงข้าม ระบบค้นหาแพ็กเกจของ npm นั้นจัดว่าแย่ ถ้าใครเคยใช้จะพบว่ามันค้นหาตามที่เราพิมพ์ตรงๆ ทำให้หาอะไรไม่ค่อยเจอถ้าไม่ได้ใช้คำค้นหาที่ตรงเป๊ะกับชื่อหรือคำอธิบายแพ็กเกจ