Red Hat เปิดให้นักพัฒนาทดสอบ RHEL 7 Atomic Host ที่เน้นการใช้งานบนคลาวด์มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ทางบริษัทก็เปลี่ยนสถานะเป็นพร้อมใช้งานทั่วไป (general availability) ทำให้เราน่าจะเห็น Red Hat ทำตลาด RHEL 7 Atomic Host มากขึ้น
RHEL 7 Atomic Host เหมาะกับการใช้งานกับคลาวด์ด้วยคุณสมบัติหลายอย่าง
The Linux Foundation องค์กรดูแลการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์รายงานผลการพัฒนาประจำปี ครอบคลุมระยะเวลาพัฒนาจากรุ่น 3.11 ถึง 3.18
สิบบริษัทแรกที่ส่งโค้ดเข้ามายังลินุกซ์มากที่สุด ได้แก่ อินเทล, เรดแฮท, Linaro, ซัมซุง, ไอบีเอ็ม, SUSE, Texas Instruments, Vision Engraving Systems, กูเกิล, และ Renesas โดยอินเทลขึ้นมาที่หนึ่งจากการส่งโค้ดรวม 10,000 ชุด แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งคือนักพัฒนาที่ได้รับค่าจ้างจากบริษัทเพื่อให้ส่งโค้ดเข้ามามีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยตอนนี้มากกว่า 80% ของนักพัฒนาได้รับค่าจ้างจากบริษัท
ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Mac OS X และ iOS จากค่ายแอปเปิล มักจะยืนยันถึงความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการของตนที่เหนือชั้นกว่าระบบปฏิบัติการ Windows และ Android อยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่จากข้อมูลล่าสุดที่ปรากฏดูเหมือนจะทำให้ผู้ใช้กลุ่มนี้เสียหน้ากันไปไม่น้อย
หลังจากข่าว CrunchBang Linux ประกาศยุติโครงการ เลิกพัฒนาแล้ว ก็ปรากฏว่ามีคนที่ไม่อยากให้ CrunchBang ตาย ได้ประกาศโครงการใหม่ #!++ หรือ CrunchBang Plus Plus โดยจุดสำคัญคือการย้ายมาพัฒนาบนฐานของ Jessie หรือ Debian 8.0 และได้เปิดให้ดาวน์โหลดรุ่น beta แล้ว
บนหน้าเพจปรากฏชื่อผู้พัฒนาโครงการคนเดียวคือ Ben Young (@computermouth)
ที่มา: #!++ coming soon ผ่านทาง +Linux News Here
CrunchBang Linux ดิสโทรลินุกซ์ที่เน้นขนาดเล็ก บริโภคทรัพยากรน้อย (ดัดแปลงจาก Debian แต่เลือกใช้ Openbox เป็น window manager แทนเพื่อความเบา) ประกาศหยุดการพัฒนาโครงการแล้ว
Philip Newborough นักพัฒนาหลักของโครงการให้เหตุผลว่าวงการไอทีและวงการลินุกซ์เปลี่ยนไปจากเดิมมาก สมัยที่เขาเริ่มทำ CrunchBang มีดิสโทรขนาดเบาให้เลือกไม่เยอะนัก แต่ปัจจุบันผู้ใช้มีตัวเลือกมากขึ้น เหตุผลที่จะต้องมี CrunchBang จึงหมดไป
Newborough ขอบคุณผู้ใช้และนักพัฒนาทุกคนที่ร่วมกันสนับสนุนโครงการนี้ ส่วนตัวเขาเองจะไปหาโครงการอย่างอื่นที่อยากทำต่อไป
บริษัท Qualys รายงานบั๊กในไลบรารี glibc ให้ชื่อช่องโหว่ว่า GHOST (CVE-2015-0235) มีความร้ายแรงระดับสูงมาก กระทบลินุกซ์ตั้งแต่ปี 2000 และสามารถยิงช่องโหว่นี้ได้จากระยะไกล บั๊กนี้แก้ไขไปแล้วตั้งแต่สองปีก่อน แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นบั๊กความปลอดภัยร้ายแรงเนื่องจากยังไม่มีรายงานว่าสามารถอาศัยบั๊กนี้โจมตีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้
เมื่อสัปดาห์ก่อน (วันที่ 15 มกราคม 2015) ผู้ใช้ลินุกซ์รายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า keyvin ได้รายงานใน Github ว่าโปรแกรม Steam มีปัญหาร้ายแรงที่ลบข้อมูลใน Home folder ทั้งหมดเมื่อย้ายโฟลเดอร์เก็บการตั้งค่าของ Steam
วันที่ 30 มิถุนายนปีนี้ โลกของเราจะมี "วินาที" เพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งวินาที (leap second หรือ อธิกวินาที) เพื่อชดเชยระบบการนับเวลาที่อาจไม่พอดีกับการหมุนของโลกแบบเป๊ะๆ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะโลกของเรามีการใส่วินาทีเพิ่มเข้ามาแล้วทั้งหมด 25 ครั้ง (ครั้งล่าสุดในปี 2012 นี้เอง) อย่างไรก็ตาม การใส่วินาทีแปลกปลอมเพิ่มเข้ามากลับสร้างปัญหาให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น (ลักษณะเดียวกับปัญหา Y2K)
หลังจากที่ Civilization: Beyond Earth ในเวอร์ชันพีซี (รีวิว) ได้วางจำหน่ายไปเมื่อเดือนตุลาคมและเวอร์ชัน Mac เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ถึงเวลาของชาว Linux กันแล้วครับ
GamerAgent เว็บไซต์ข้อมูลเกมในระบบปฏิบัติการ Mac และจัดจำหน่ายเกมแบบออนไลน์ ได้เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาและผลักดัน Civilization: Beyond Earth ลงในระบบปฏิบัติการ Mac และ Linux มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ประกาศวางจำหน่ายเวอร์ชัน Linux แล้วในวันที่ 19 ธันวาคม เวลา 1.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย
เดิมทีนั้นโครงการ Ubuntu ใกล้ชิดกับ GNOME มาก โดยใช้ระบบการออกรุ่น 2 ครั้งต่อปีเหมือนกัน และ Ubuntu จะใช้ GNOME รุ่นล่าสุดเสมอ แต่ภายหลังเมื่อ Ubuntu หันไปสร้างเดสก์ท็อป Unity ของตัวเอง ส่งผลให้ Ubuntu ช่วงหลังเริ่มไม่ใช้ GNOME รุ่นล่าสุดเพื่อลดภาระในการดูแลแพ็กเกจ
สำหรับ Ubuntu 14.10 รุ่นล่าสุดนั้นใช้แพ็กเกจส่วนใหญ่จาก GNOME 3.10 ที่เก่ากว่ากันสองรุ่น และนำแพ็กเกจบางตัวจาก GNOME 3.8 ที่เก่ากว่านั้นไปอีก ผู้ใช้งานจึงอาจได้รับผลกระทบว่าไม่ได้ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดจากแอพบางตัวของ GNOME
โครงการ Ubuntu เปิดตัว Ubuntu Core ระบบปฏิบัติการรุ่นเล็กสำหรับใช้งานบนกลุ่มเมฆ พร้อมระบบจัดการแพ็กเกจแบบใหม่ที่เรียกว่า Snappy
ระบบจัดการแพ็กเกจแบบนี้ต่างไปจาก .deb หรือ apt-get เดิม เพราะถูกออกแบบมาสำหรับงานบนกลุ่มเมฆยุค container (Docker) ที่เน้นการบริหารจัดการง่ายๆ วิธีการอัพเดตจะคล้ายกับการอัพเดตมือถือคือแบ็คอัพข้อมูลก่อน แล้วอัพเดตแบบ transactional (แบบเดียวกับฐานข้อมูล) ถ้ามีปัญหาสามารถ rollback กลับคืนได้ทันที การอัพเดตไฟล์ยังอัพเดตเฉพาะส่วนต่าง (delta) ทำให้ขนาดไฟล์ที่ต้องดาวน์โหลดเล็กลงมาก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โครงการ Fedora ออกลินุกซ์ดิสโทรเวอร์ชัน 21 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือแยก Fedora ออกเป็น 3 รุ่นย่อย ตามนโยบาย Fedora.next ที่เคยประกาศเอาไว้
ทั้ง 3 รุ่นย่อยใช้แกนของระบบปฏิบัติการเหมือนกันคือ เคอร์เนล 3.18.0, ระบบจัดการแพ็กเกจ RPM/yum, ตัวติดตั้ง Anaconda, ตัวบูตระบบ systemd จากนั้นแยกไปมีแพ็กเกจตามการใช้งาน ดังนี้
ผู้ใช้ลินุกซ์มีเกมดังเพิ่มอีกเกม เมื่อค่าย 2K Games ประกาศนำเกม BioShock Infinite ลงแพลตฟอร์มลินุกซ์ช่วงต้นปี 2015 โดยจะประกาศข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้งหลังวันปีใหม่
สำหรับคนที่ไม่รู้จัก BioShock Infinite เป็นเกม FPS ภาคล่าสุดในซีรีส์ BioShock ออกวางขายครั้งแรกช่วงต้นปี 2013 (ลงพีซี, PS3, Xbox 360 และมีเวอร์ชันแมคตามมาในภายหลัง) และได้รับเสียงชื่นชมอย่างมาก ได้คะแนนรีวิวเฉลี่ยจาก GameRankings สูงถึง 96% รวมถึงได้รางวัล Game of the Year ประจำปี 2013 มากถึง 42 สำนัก
ที่มา - Phoronix
Opera ออกเว็บเบราว์เซอร์เวอร์ชันพีซี (บริษัทเรียก Opera for computers) เวอร์ชัน 26 โดยมีของใหม่ดังนี้
ที่มา - Opera Desktop Blog
แนวทางการออกแบบ Material Design ของกูเกิล กลายเป็นแรงบันดาลใจให้มีคนทำลินุกซ์ที่ใช้หน้าตาแบบ Material แล้ว
โครงการ Quantum OS (เดิมชื่อ Quartz OS) เป็นการพัฒนาเดสก์ท็อปที่มีหน้าตาแนว Material Design โดยใช้เทคโนโลยีพื้นฐานของ Qt 5 และภาษา QML ทั้งหมด ทีมงานยังมีแผนจะสร้างชุดพัฒนา UI สำหรับสร้างแอพ Material Design ด้วย (ไม่ใช่แค่ระดับธีม แต่ทำที่ระดับ UI toolkit เลย โดยตัว toolkit จะสามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ตาม Qt)
ตอนนี้โครงการยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยทีมงานกำลังตัดสินใจว่าจะเลือกดิสโทรตัวใดเป็นฐานระหว่าง Arch Linux หรือ Ubuntu ซึ่งก็คงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่งกว่าจะเห็นผลลัพธ์เป็นรูปเป็นร่างครับ
หลังจากที่ได้ออก Ubuntu 14.10 แล้ว ก็มาถึงกำหนดการปล่อย Ubuntu 15.04 Vivid Vervet แล้ว ซึ่งมีกำหนดการดังนี้
พบกันทุกหกเดือน Ubuntu 14.10 รหัส Utopic Unicorn ออกตัวจริงแล้ว
ของใหม่ในรุ่นนี้มีไม่เยอะนัก (ส่วนใหญ่เป็นการอัพเดตรุ่นของซอฟต์แวร์ตามปกติ แก้บั๊ก และปรับไอคอนบางจุด) อันที่ใหม่จริงๆ คือ
ไมโครซอฟท์จัดงานแถลงข่าว Azure เมื่อคืนที่ผ่านมา ประกาศความร่วมมือกับคู่ค้าเพิ่มเติม ได้แก่ Cloudera ที่จะเข้ามาให้บริการ Hadoop บน Azure และ Core OS ที่เป็นลินุกซ์ดิสโทร์ที่ห้าที่ Azure รองรับ ถัดจาก CentOS, Oracle Linux, SUSE, และ Ubuntu
บริการเพิ่มเติมที่ประกาศในงาน คือ เครื่องตระกูล G ที่สามารถสร้างเครื่องบน Azure ขนาด 32 คอร์ แรม 450GB และ ดิสก์ขนาด 6.5 เทราไบต์ ใหญ่กว่าเครื่องขนาดใหญ่ที่สุดของอเมซอนในตอนนี้
นอกจากนี้ฝั่งซอฟต์แวร์ ทางไมโครซอฟท์ยังเพิ่ม Windows Azure Pack ชุดซอฟต์แวร์พอร์ทัล เพื่อให้องค์กรสามารถเปิดให้บริการผู้ใช้ภายใน โดยผู้ใช้สามารถบริการตัวเองได้แบบเดียวกับที่ใช้บริการ Azure โดยตอนนี้ชุดซอฟต์แวร์ Windows Azure Pack นี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
Mark Shuttleworth ประกาศโค้ดเนมของ Ubuntu รุ่นหน้า 15.04 ที่จะออกเดือนเมษายน 2015 คือ Vivid Vervet
Vervet เป็นลิงที่มีสายพันธุ์ที่มาจากทวีปแอฟริกาในสกุล Cercopithecidae ส่วนมากอาศัยอยู่ในแถบทางภาคใต้ของทวีปแอฟริกา, ประเทศคิวบา และประเทศจาเมกา เป็นต้น เป็นลิงที่ชอบกินแบบมังสวิรัติ มีหน้าตาสีดำ ตัวสีเทา โดยความสูงของเพศผู้จะอยู่ที่ 50 ซม. ส่วนความสูงของเพศเมียจะอยู่ที่ 40 ซม. โดยเฉลี่ย
ส่วนคำว่า vivid นั้นเป็นภาษาอังกฤษแปลว่า สดใส, ร่าเริง, แจ่มใส นั่นเอง
อนาคตของเกมบน Linux ดูจะสดใสขึ้นเรื่อยๆ หลังจากมีค่ายเกมหลายเจ้าเริ่มทำเกมลง Linux มากขึ้นแล้ว ฝั่งผู้ผลิตการ์ดจออย่าง NVIDIA ก็ให้ความสนใจกับ Linux มากขึ้น ล่าสุดปล่อย PhysX ระบบจำลองฟิสิกส์เสมือนจริงในเกมให้กับ Linux อย่างเป็นทางการใน PhysX SDK รุ่น 3.3.2
นอกจากการรองรับบน Linux แล้ว ใน SDK รุ่นเดียวกันยังรองรับการใช้งาน PhysX บน Android x86 ด้วย (ก่อนหน้านี้รองรับแต่แบบ ARM) รวมถึงเพิ่มการรองรับ GPU acceleration สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานกับ CUDA เข้ามาด้วย
รายละเอียดของอัพเดตทั้งหมดสามารถอ่านได้จากที่นี่ครับ
เคอร์เนลลินุกซ์เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 3.17 ของใหม่ได้แก่
ที่มา - OMG Ubuntu, Phoronix
มีคนไปค้นพบว่า Adobe ถอดลิงก์ดาวน์โหลด Adobe Reader (หรือที่เราเรียกกันติดปากกว่า Acrobat Reader ซึ่งเป็นชื่อเก่า) เวอร์ชันลินุกซ์ออกจากหน้าเว็บอย่างเงียบๆ โดยไม่อธิบายเหตุผลแต่อย่างใด (ถ้าอยากได้ไฟล์จริงๆ ยังสามารถดาวน์โหลดได้จาก FTP)
อย่างไรก็ตาม Adobe Reader เวอร์ชันลินุกซ์ก็ไม่อัพเดตมานานแล้ว โดยเวอร์ชันสุดท้ายออกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2013 และยังนับเลขเวอร์ชันเป็น 9.5.5 ในขณะที่ Adobe Reader บนแพลตฟอร์มอื่นไปถึงเวอร์ชัน 11 นานแล้ว
ท่าทีของ Adobe ไม่สนใจลินุกซ์มานานแล้ว โดยทยอยเลิกทำซอฟต์แวร์ของตัวเองที่เคยออกบนลินุกซ์ ทั้ง AIR และ Flash Player มาก่อนหน้านี้หลายปี
Ubuntu 14.10 รหัส Utopic Unicorn ออกรุ่น Beta แล้ว (รุ่นนี้จะออก Beta เดียว) ของใหม่ในรุ่นนี้มีไม่เยอะนัก (สะท้อนทิศทางของ Ubuntu ที่เงียบๆ ไปในช่วงหลัง) ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะโครงการระบบจัดการหน้าต่าง-เดสก์ท็อปรุ่นหน้า (Mir และ Unity 8) ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และยังไม่ถูกผนวกเข้ามาในรุ่นนี้
ที่มา - Webupd8
พบกันทุกหกเดือน GNOME ออกเวอร์ชัน 3.14 พร้อมของใหม่ดังนี้
Kali Linux โครงการลินุกซ์เพื่อการทดสอบความปลอดภัยเครือข่ายออกรอม Kali Linux Nexus NetHunter รอมสำหรับอุปกรณ์ในตระกูล Nexus เพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยของเครือข่าย
NetHunter สามารถยิงแพ็กเก็ตออกสู่เครือข่าย Wi-Fi ได้, ปลอมตัวเป็นคีย์บอร์ดและการ์ดแลนเพื่อการโจมตีเครื่องเป้าหมาย, และรองรับ HackRF เพื่อการทำงานกับคลื่นวิทยุย่านอื่นๆ
รองรับ Nexus 10, Nexus 7, และ Nexus 5 ดาวน์โหลดได้ทันที