โครงการ Debian ตัดสินใจเปลี่ยนระบบเดสก์ท็อปดีฟอลต์จาก Xfce กลับมาเป็น GNOME โดยจะมีผลตั้งแต่ Debian 8.0 Jessie ที่น่าจะออกช่วงต้นปี 2015
เหตุผลที่ Debian กลับมาใช้ GNOME อีกครั้งเป็นผลมาจากการประเมินข้อดีข้อเสียของ desktop environment หลายๆ ตัวที่มี แล้วพบว่า GNOME ได้คะแนนด้าน accessibility และการทำงานร่วมกับ systemd (ตัวช่วยบูตระบบที่มาแทน init) ดีกว่าระบบเดสก์ท็อปตัวอื่นๆ
Debian เคยตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ Xfce เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 และเปลี่ยนกลับมาเป็น GNOME ในท้ายที่สุด
ในที่สุดชาวลินุกซ์ก็ได้โอกาสเล่นเกม Counter-Strike: Global Offensive (CS:GO) ภาคใหม่ล่าสุดของเกมตระกูล Counter-Strike ที่ลงพีซีเมื่อปี 2012
เนื่องจาก CS:GO เป็นเกมของค่าย Valve ช่องทางการจัดจำหน่ายย่อมหนีไม่พ้น Steam โดยมีราคาขายที่ 315 บาท สมาชิกของเว็บไซต์ WebUpd8 ระบุว่าสามารถเล่นได้อย่างไม่มีปัญหาบน Ubuntu 14.04 และ 14.10 ครับ
Opera ทิ้งวงการลินุกซ์ไปนานหลังเปลี่ยนเอนจินแสดงผลมาใช้ Chromium แต่ทีมงานก็มีแผนกลับมาออกซอฟต์แวร์เวอร์ชันลินุกซ์มาตลอด เริ่มตั้งแต่ Opera 24 ที่มีสถานะเป็น Developer Channel ไล่มาจนถึง Opera 25 ที่มีสถานะเป็น Beta Channel แล้ว
นอกจากการรองรับลินุกซ์แล้ว Opera 25 Beta ยังมีฟีเจอร์ใหม่อย่างอื่นคือ
ชิป Allwinner A80 เปิดตัวช่วงต้นปีและเริ่มส่งมอบเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตอนนี้ทาง Allwinner ก็ปล่อยเคอร์เนลลินุกซ์ออกมาแล้วผ่านทางเว็บ linux-sunxi โดยตัวเคอร์เนลเป็นรุ่น 3.4 พร้อมๆ กับ Android 4.4 SDK
ไดร์เวอร์หลายตัวเป็นไบนารี เช่น ไดร์เวอร์ NAND, MIPI, USB 3.0 ดังนั้นการพอร์ตไปใช้กับเคอร์เนลอื่น สำหรับการลงลินุกซ์ดิสโทรนอกจากแอนดรอยด์เช่น Ubuntu หรือ Fedora คงใช้เวลาพอสมควร
ที่มา - CNX Software
Linux Foundation มูลนิธิผู้ดูแลโครงการเคอร์เนลลินุกซ์ประกาศใบรับรองของตัวเองสองแบบ คือ Linux Foundation Certified System Administrator (LFCS) และ Linux Foundation Certified Engineer (LFCE) เป็นการสอบแบบออนไลน์ทั้งหมด
ผู้สอบต้องมีเบราว์เซอร์, ไมโครโฟน, และเว็บแคมสำหรับเข้าสอบ แต่ไม่ต้องเดินทางไปห้องสอบด้วยตัวเอง ส่วนการสอบนั้นสามารถเลือกใช้ลินุกซ์ได้สามตระกูล คือ CentOS, OpenSUSE, และ Ubuntu ที่สำคัญคือจะไม่มีข้อสอบแบบตัวเลือก ผู้สอบจะต้องพิมพ์คำสั่งได้จริงเท่านั้น
Linux Foundation ประกาศมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของ Kernel.org โดยก่อนหน้านี้นักพัฒนามักสร้างกุญแจ SSH เพื่อส่งกุญแจสาธารณะเข้ามาล็อกอิน แต่หลังจากนี้จะต้องเพิ่มรหัสผ่านปัจจัยที่สอง
โครงการลินุกซ์จะรับรหัสผ่านทั้งแบบซอฟต์แวร์ ด้วย Google Authenticator ซึ่งคำนวณรหัสยืนยันตัวตนด้วยกระบวนวิธี TOTP หรือการใช้ฮาร์ดแวร์ Yupikey ที่ส่งรหัสยืนยันตัวตนด้วยกระบวนวิธี HOTP นักพัฒนาสามารถเลือกใช้ได้ตามใจชอบ
เมืองมิวนิกเป็นตัวอย่างสำคัญของการย้ายผู้ใช้จำนวนมากจากวินโดวส์มายังลินุกซ์ ที่ผ่านมามีพีซีกว่า 15,000 เครื่องของหน่วยงานรัฐถูกย้ายมาลินุกซ์แล้ว แต่ล่าสุดรองผู้ว่า Josef Schmid ของเมืองมิวนิกระบุว่ามีผู้ใช้จำนวนมากต้องทนกับปัญหาจากการใช้ลินุกซ์ เช่น ลินุกซ์ไม่มีซอฟต์แวร์จัดการอีเมล, ข้อมูลติดต่อ, และนัดหมายในตัวเดียวกันทั้งชุด
Schmid ระบุว่าการตัดสินใจใช้ลินุกซ์ มีเหตุผลคือไม่ต้องการจ่ายค่าไลเซนส์ให้กับไมโครซอฟท์เพราะแรงจูงใจทางการเมืองเป็นหลัก อย่างไรก็ดีมิวนิกนั้นเป็นเพียงแค่รัฐบาลท้องถิ่น คงไม่สามารถเปลี่ยนภาวะที่ไมโครซอฟท์ครองตลาดส่วนใหญ่ในโลกได้
CoreOS เปิดตัวครั้งแรกช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เกือบหนึ่งปีตอนนี้กลายเป็นระบบปฎิบัติการที่ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว กูเกิลเองก็รองรับ CoreOS ใน Compute Engine ไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ตอนนี้ทางโครงการก็ประกาศรุ่นเสถียร (stable) รุ่นแรกออกมาแล้ว
รุ่น 367.1.0 ใช้ลินุกซ์เคอร์เนลรุ่น 3.15.2 และ Docker 1.0.1 สำหรับผู้ที่ใช้รุ่นเสถียรก็สามารถซื้อซัพพอร์ตจากทาง CoreOS ได้ โดยเริ่มต้นที่ 100 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับ 10 เซิร์ฟเวอร์
ที่มา - CoreOS
Ubuntu ออกดิสโทรรุ่น 14.04.1 LTS ซึ่งเป็นการรวมแพตช์และอัพเดตของ Ubuntu 14.04 LTS รุ่นสนับสนุนระยะยาว (long-term support) รุ่นล่าสุด (รายการฟีเจอร์ของ 14.04)
Ubuntu รุ่น LTS ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเซิร์ฟเวอร์หรือไอทีองค์กรที่ต้องการระยะเวลาสนับสนุนต่อเนื่อง (ในกรณีนี้คือ 5 ปี) ซึ่งตามปกติแล้ว Ubuntu จะออกรุ่น point release (.1) ลักษณะนี้เป็นระยะเพื่อให้แอดมินสะดวกในการนำ Ubuntu LTS ไปใช้งานต่อ ไม่ต้องมาเริ่มอัพเดตแพตช์ใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง
Ubuntu จะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งาน LTS รุ่นก่อนหน้า (12.04) ทราบว่ามีอัพเดต 14.04.1 ด้วย แต่ถ้าไม่ต้องการอัพเดตก็ยังสามารถใช้ 12.04 LTS ต่อไปได้ครับ
GOG หน้าร้านขายเกมที่ดังมาจากการขายเกมเก่าแต่ช่วงหลังหันมาขายเกมอินดี้โดยไม่มี DRM ประกาศซัพพอร์ตลินุกซ์อย่างเป็นทางการด้วยเกมชุดแรกประมาณ 50 เกม จากเดิมที่ประกาศไว้ว่าจะซัพพอร์ต 100 เกม
เนื่องจาก GOG ไม่มี DRM ทำให้เกมจำนวนมากมีผู้ใช้นำไปเล่นบนลินุกซ์กันอยู่แล้ว โดยเฉพาะเกมที่รันบน Dosbox นั้นรองรับลินุกซ์ค่อนข้างดีมาก ทาง GOG ก็ทราบเรื่องนี้ดี แต่การประกาศซัพพอร์ตลินุกซ์ครั้งแรกนี้มีหลายเกมที่รันบนลินุกซ์ได้เป็นครั้งแรกเพิ่มขึ้นมา
ลินุกซ์ที่ซัพพอร์ตเป็นทางการคือ Ubuntu 14.04 และ Mint 17 ครับ แต่ถ้าลงลินุกซ์ได้แล้วส่วนมากการนำไปเล่นบนเวอร์ชั่นอื่นๆ ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ตัวเกมที่ซัพพอร์ตบนลินุกซ์จะมีทั้งไฟล์ .tar.gz และ .deb ให้ดาวน์โหลด
ออราเคิลออก Oracle Linux 7 ตาม Red Hat Enterprise Linux ที่ออกรุ่น 7 ไปเมื่อเดือนก่อนแล้ว โดยแม้จะมี RHEL เป็นฐาน แต่ Oracle Linux จะซัพพอร์ตฟีเจอร์ต่างออกไปบางส่วน
ฟีเจอร์ที่ต่างกันสำคัญๆ เช่น ระบบไฟล์นั้น ทาง RHEL จะรองรับ XFS เป็นหลัก แต่ Oracle Linux จะรองรับ Btrfs ของออราเคิลเอง, ระบบเวอร์ชวลไลซ์เองทางออราเคิลก็รองรับ Xen ที่ RHEL เลิกซัพพอร์ตไป นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น DTrace, Ksplice, และ LXC เพิ่มเติมเข้ามา
The Linux Foundation มูลนิธิที่ทำหน้าที่จ้างนักพัฒนาเข้ามาดูแลโครงการลินุกซ์สร้างวิดีโอชุด "30 Kernel Developers in 30 Weeks" รายงานสภาพห้องทำงานของนักพัฒนาเคอร์เนล 30 คน ที่น่าสนใจที่สุดคงเป็นห้องทำงานของไลนัส ผู้สร้างลินุกซ์เริ่มแรก
ไลนัสทำงานที่บ้าน และโต๊ะเดิมของเขาเป็นโต๊ะทำงานเข้ามุมห้องเหมือนสำนักงานในบ้านทั่วไป แต่หลายเดือนที่ผ่านมามาเขาซื้อโต๊ะใหม่เพื่อ "เดินทำงาน" โดยโต๊ะแบบยืนของเขามีลู่วิ่งที่จะเคลื่อนไปช้าๆ 1.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อให้ผู้ใช้เดินไปเรื่อยๆ ส่วนโต๊ะตัวเดิมของเขานั้นรกจนไม่รู้จะทำอย่างไร เขาคิดว่าอาจจะต้องเผามันทิ้ง
โครงการระบบปฎิบัติการโอเพนซอร์ส CentOS ออก CentOS 7 ที่สร้างขึ้นจากซอร์สโค้ดของ RHEL 7 ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนที่แล้ว
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญจาก CentOS 6.5 ได้แก่
สำหรับผู้ที่ใช้ CentOS 6.5 อยู่แล้ว สามารถเตรียมอัพเกรดได้โดยไม่ต้องลงเครื่องใหม่ แต่เครื่องมืออัพเกรดระบบกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ และจะปล่อยตามออกมาภายหลัง
ปีนี้เราเห็นแพลตฟอร์มสำหรับ connected car ออกสู่ตลาดกันเยอะมาก ทั้ง Apple CarPlay, Android Auto, QNX Car, Windows in the Car รวมถึงแพลตฟอร์มเฉพาะค่ายอย่าง Ford Sync หรือ Toyota Entune ที่ออกมาได้สักระยะแล้ว
ฝั่งโลกโอเพนซอร์สเองที่ซุ่มทำเรื่องนี้มานาน ภายใต้การนำของ Linux Foundation ก็ได้ฤกษ์เปิดตัว Automotive Grade Linux (AGL) รุ่นแรกกับเขาบ้าง
เว็บเบราว์เซอร์ Opera เดิมทีรองรับระบบปฏิบัติการพีซี 3 แพลตฟอร์มคือวินโดวส์ แมค ลินุกซ์ แต่หลังจากการเปลี่ยนเอนจิน Presto เดิมมาเป็น Chromium/Blink ในปี 2013 บริษัทก็เลือกรองรับเฉพาะวินโดวส์และแมคก่อนเท่านั้น ผู้ใช้ลินุกซ์รวมถึงระบบปฏิบัติการยูนิกซ์อื่นๆ จำเป็นต้องใช้ Opera 12.x ที่เป็นรุ่นเก่าต่อไป (เวอร์ชันล่าสุดคือ 12.16)
แต่ล่าสุด Opera ดูจะตั้งตัวได้และพร้อมสำหรับเวอร์ชัน Chromium บนลินุกซ์แล้ว โดยออกรุ่นทดสอบ Opera Developer 24 for Linux มาแล้ว
หลังจากเปิดตัวมาสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac OS X มาตั้งแต่ ค.ศ. 2010 ในที่สุดเกมวางแผนแนว turn-based ชื่อดังอย่าง Sid Meier’s Civilization V ก็มีเวอร์ชั่นสำหรับระบบปฏิบัติการ Linux วางขายแล้วผ่าน Steam
เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2014 ทีมผู้พัฒนาได้ประกาศออก Linux Mint 17 รุ่น MATE และ Cinnamon ตัวเต็มเป็นที่เรียบร้อยภายใต้ชื่อโค้ดเนม "Qiana" (ตามธรรมเนียมของ Linux Mint ซึ่งจะใช้ชื่อผู้หญิงไล่อักษรขึ้นต้นตามลำดับ a-z ต่อจากรุ่นก่อนหน้า และตัวอักษรสุดท้ายของชื่อจะเป็นตัว a เสมอ)
Linux Mint 17 พัฒนาโดยใช้ Ubuntu 14.04 เป็นฐาน เพราะฉะนั้น Linux Mint เวอร์ชันนี้จึงได้อานิสงส์เป็น Long-term support เช่นเดียวกับ Ubuntu ตัวต้นสาย ทำให้ Linux Mint 17 จะได้รับอัพเดตด้านความปลอดภัยไปจนถึง ค.ศ. 2019 โน่นเลย
สิ่งใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับ Linux Mint 17 ได้แก่
Marcus Meissner ได้ค้นพบบั๊กที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถทำการ DoS และขโมยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบในระบบปฏิบัติการบนพื้นฐานของลินุกซ์เคอร์เนลได้ โดยเชื่อกันว่านี่นับเป็นอีกหนึ่งช่องโหว่ที่อยู่ในระดับอันตรายนับตั้งแต่ช่องโหว่ perf_events
(CVE-2013-2049) เป็นต้นมา
เมืองมิวนิกเป็นตัวอย่างของการย้ายเครื่องจำนวนมากมาเป็นลินุกซ์ในครั้งเดียว โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่เป็นไอเดียในปี 2001 มาจนถึงคงทุกวันนี้ มีคอมพิวเตอร์ที่ย้ายมาแล้วถึง 15,000 เครื่อง นิตยสาร LinuxVoice รายงานถึงกระบวนการย้ายซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่เช่นนี้ว่าทำได้อย่างไร
จากข่าว GitHub เปิดซอร์ส 'Atom' โปรแกรมแก้ไขข้อความแห่งอนาคต มีสมาชิก Blognone สนใจโปรแกรมตัวนี้กันพอสมควร อย่างไรก็ตาม ตัวโปรแกรมอย่างเป็นทางการมีให้ดาวน์โหลดเฉพาะเวอร์ชันแมคเท่านั้น
ล่าสุดฝั่งของลินุกซ์ที่ใช้ Ubuntu มีคนคอมไพล์โปรแกรมแจกและทำเป็น PPA ให้ติดตั้งกันง่ายๆ แล้ว โดยตอนนี้ยังมีเฉพาะรุ่น Ubuntu 14.04, 13.10, 12.04 ที่เป็น 64 บิตเท่านั้น
ผู้ที่ใช้ Ubuntu และสนใจลองก็สามารถติดตั้งได้ผ่าน ppa:webupd8team/atom ครับ (วิธีการละเอียดอ่านได้ตามลิงก์)
วงดนตรี netcat เพิ่งเปิดตัวอัลบั้มใหม่ "Cycles Per Instruction" สามารถหาฟังได้หลายช่องทาง แต่ช่องทางหนึ่งคือการดาวน์โหลดซอร์สโค้ดมาคอมไฟล์
โค้ดนี้ไม่ใช่โค้ดธรรมดาแต่เป็นโค้ด kernel module ที่ต้องคอมไพล์และโหลดโมดูลเข้าเคอร์เนล จึงได้ดีไวซ์ /dev/netcat
ขึ้นมาในระบบ ตัวดีไวซ์นี้เมื่ออ่านออกมาจะให้ข้อมูลเป็นไพล์ OGG จึงสามารถ pipe เข้าโปรแกรมเล่น OGG ได้ด้วยคำสั่ง ogg123 - < /dev/netcat
อาจารย์วิชาระบบปฏิบัติการหลายท่านอาจจะได้ไอเดีย แจกไฟล์เสียงใบ้ข้อสอบปลายภาค...
ที่มา - GitHub
ปล. เว็บของวงก็ยังออกแบบได้น่าสนใจมากครับ
หลังจาก Ubuntu 14.04 LTS ออกรุ่นจริง ก็ได้เวลาของการประกาศโค้ดเนมรุ่นถัดไป ซึ่งรอบนี้ Mark Shuttleworth ผู้นำโครงการ Ubuntu เลือกชื่อ "Utopic Unicorn" ให้กับรุ่น 14.10
คนแถวนี้คงคุ้นชื่อสัตว์ในตำนานอย่าง Unicorn (ม้ามีเขา) อยู่แล้ว ส่วนคำว่า Utopic มาจากคำว่า Utopia หรือดินแดนในอุดมคติ
Shuttleworth บอกว่าหลังจากออกรุ่น LTS ที่เป็นรุ่นสนับสนุนระยะยาว ก็ได้เวลาทดลองสิ่งใหม่ๆ อีกครั้ง เขาจึงพยายามตั้งชื่อให้สื่อถึงภาพฝันและจินตนาการ ส่วนแผนการของ Ubuntu ที่เขาเอ่ยถึงคือการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ บางตัว เช่น systemd หรือเลิกใช้ Python 2.x เป็นต้น
Cinnamon ระบบเดสก์ท็อปของ Linux Mint (ที่ fork มาจาก GNOME Shell) ได้ฤกษ์ออกรุ่น 2.2 ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของ Linux Mint 17 กำหนดออกปลายเดือนพฤษภาคม ของใหม่มีดังนี้
จากข่าว พบบั๊กร้ายแรงใน OpenSSL รุ่นตั้งแต่ปี 2012 ทุกคนควรอัพเกรดเร่งด่วน และ ผลกระทบจากบั๊ก Heartbleed: ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน Google, Facebook, Tumblr, Yahoo!, Dropbox
ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลเลขเวอร์ชันของ OpenSSL ที่มีปัญหา Heartbleed นี้ และเวอร์ชันที่ได้รับการ Bug Fix บนระบบปฏิบัติการ Linux Distribution ต่างๆ มาให้ เพื่อที่คนที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์หรือระบบรักษาความปลอดภัยจะได้ตรวจสอบได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อยู่มีความเสี่ยงหรือไม่
สำหรับ OpenSSL ที่มีปัญหา Heartbleed จะมีเลขเวอร์ชันดังต่อไปนี้
ตามแผนที่วางเอาไว้ตั้งแต่เปิดตัว Unreal Engine 4 ว่าจะขยายการรองรับไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ ด้วย และในเวอร์ชัน 4.1 นี้ Epic ก็ทำให้ Unreal Engine รองรับการใช้งานบน Linux และ SteamOS ได้แล้ว
นักพัฒนาที่สนใจจะใช้งาน Unreal Engine 4.1 สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ที่ GitHub ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังเป็นรุ่นพรีวิวอยู่ ตัวเต็มจะตามมาในช่วงปลายเดือนนี้ครับ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ สามารถดูได้จากที่มาครับ
ที่มา - Unreal Engine Blog