หลังจากออกรุ่นเบต้าไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านนั้น วันนี้ Fedora 17 ออกตัวจริงแล้ว ซึ่งมันมีโค้ดเนมชื่อว่า "Beefy Miracle" สามารถไปโหลดกันได้ที่ Fedora Final-Release
สำหรับฟีเจอร์สามารถไปอ่านได้ที่ Fedora 17 "Beefy Miracle" ออกรุ่นเบต้าแล้ว
ที่มา Fedora และ Fedora 17 Schedule
Linus Torvalds ประกาศออกเคอร์เนลลินุกซ์ 3.4 เรียบร้อยแล้ว
ของใหม่รุ่นนี้ได้แก่ ปรับปรุงการรองรับระบบไฟล์แบบ Btrfs, รองรับ ABI (application binary interface) ตัวใหม่ X32 ที่กำหนดให้เป็นมาตรฐานของลินุกซ์, รองรับซีพียู-จีพียูใหม่ๆ อย่าง NVIDIA Kepler, AMD Trinity, AMD Radeon HD 7xxx, Intel Medfield
อีกไม่นานเราคงเห็นมันเริ่มโผล่ในดิสโทรต่างๆ และตอนนี้เคอร์เนล 3.5 ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการพัฒนาแล้ว
Mandriva ลินุกซ์สัญชาติฝรั่งเศส (Mandrake เดิม) มีชะตาชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอดในช่วงหลัง เพราะบริษัทแม่ Mandriva SA มีปัญหาทางการเงินเรื้อรัง (จนทีมงานบางส่วนแยกไปทำดิสโทรใหม่ชื่อ Mageia)
หลังจากทาง Mozilla เปิดตัว Mozilla Marketplace พร้อม ๆ กับระบบ Boot to Gecko ได้มีนักพัฒนาคนหนึ่งร้องเรียนผ่าน Bugzilla@Mozilla ว่าไม่สามารถติดตั้ง web application ผ่าน Mozilla Marketplace ใน Linux แม้ว่าทาง Mozilla ไม่ได้ประกาศว่า Mozilla Marketplace จะรองรับแค่ Windows และ OS X เท่านั้น เนื่องจากเหตุการณ์นี้ทำให้เป็นที่รู้กันว่าตอนนี้ Mozilla Marketplace ไม่รองรับ Linux
ทั้งนี้ทาง Mozilla ยังไม่ออกมาตอบกลับแต่อย่างไร
ขอรวบข่าวเล็กๆ 2 ข่าวเป็นข่าวเดียวนะครับ
ทีมพัฒนา Ubuntu ประชุมระดมสมองสำหรับรุ่นหน้า 12.10 Quantal Quetzal ที่งาน Ubuntu Developer Summit (UDS-Q) เป็นที่เรียบร้อย
เว็บไซต์ OMG Ubuntu สรุปประเด็นที่น่าสนใจมาดังนี้ครับ
ระบบเดสก์ท็อป
ถึงแม้จะไม่ใช่ข่าวดีเต็มร้อย แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าค่ายเกมใหญ่อย่าง EA เริ่มหันมามอง Ubuntu แล้ว
EA ประกาศจับมือกับ Canonical นำเกมบนเบราว์เซอร์สองเกมคือ Lords of Ultima และ Command & Conquer Tiberium Alliances มาลงแพลตฟอร์ม Ubuntu แล้ว
ในทางทฤษฎี เกมเหล่านี้เล่นได้บนเบราว์เซอร์ทุกแพลตฟอร์ม แต่ความร่วมมือของ EA กับ Canonical จะช่วยโปรโมทเกมนี้ผ่าน Ubuntu Software Center, Dash, Unity ด้วย
ตัวแทนของ EA ไปพูดที่งาน UDS-Q ให้ข้อมูลว่ายุทธศาสตร์ใหม่ของ EA คือขยายผลิตภัณฑ์บนมือถือ โซเชียล และเว็บ เพื่อจับตลาดผู้เล่นเกมหน้าใหม่ๆ ที่ไม่ใช่นักเล่นเกมแบบฮาร์ดคอร์
ตอนนี้นักพัฒนาสาย Ubuntu กำลังประชุมระดมสมองเพื่อ Ubuntu 12.10 ที่งาน Ubuntu Developer Summit (UDS-Q) ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้
Ubuntu 12.10 จะออกรุ่นจริงในเดือนตุลาคมปีนี้
เดลล์นั้นมีท่าทีสนับสนุน Ubuntu เสมอมาแม้จะเริ่มถอนตัวไปในยุคหลัง แต่ล่าสุดความพยายามที่จะทำให้ Ubuntu เข้ากับเครื่องของเดลล์ได้ก็กลับมาอีกครั้งในโครงการ Sputnik ที่เป็น Ubuntu 12.04 รุ่นพิเศษที่ทำให้เข้ากับเครื่อง Dell XPS13 ได้ครบถ้วนเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากจะเป็นเรื่องไดรเวอร์ที่ให้มาครบ (บางส่วนยังมีปัญหาอยู่) แล้วเครื่องรุ่นนี้จะออกชุดซอฟต์แวร์สำหรับนักพัฒนาโดยให้เลือกได้ว่าจะพัฒนาด้วยอะไรบ้าง เริ่มต้นจะมีชุดพัฒนา Ruby, Android, และ JavaScript
เมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา Kubuntu 12.04 ตัวจริงก็ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว วันนี้ผมขอมารีวิวสิ่งที่มีมาใหม่ใน Kubuntu 12.04 ตัวนี้ครับ
สำหรับ Kubuntu ก็มี HUD เหมือนกันแต่สำหรับ รุ่นนี้ยังทำไม่เสร็จ แต่สามารถใช้งาน ในการเรียกโปรแกรมอะไรต่างๆ ได้ แต่ยังไม่ถึงขั้น ใช้คำสั่งให้ทำอะไรต่างๆ ได้
โดยรวมแล้ว ลักษณะของ desktop เมื่อเปิดเครื่องมาครั้งแรกจะเป็นแบบนี้
Ubuntu รุ่นหน้า 12.10 ที่เพิ่งได้โค้ดเนม Quantal Quetzal เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเรียบร้อยแล้ว
แผนการพัฒนาของรุ่นนี้จะถูกเสนอในงานประชุม Ubuntu Developer Summit (UDS-Q) สัปดาห์หน้า แต่ในเบื้องต้น ทีมพัฒนาของ Ubuntu ได้ข้อตกลงดังนี้
เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา Ubuntu 12.04 ตัวจริงก็ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว วันนี้ผมขอมารีวิวสิ่งที่มีมาใหม่ใน Ubuntu 12.10 ตัวนี้ครับ
สิ่งที่เป็นจุดชูโรงของ Ubuntu รุ่นนี้คือ HUD และการปรับแต่งระบบอีกบางส่วน มาดูกันเลยครับ
โดยรวมแล้ว ลักษณะของ desktop เมื่อเปิดเครื่องมาครั้งแรกจะเป็นแบบนี้
(แอบเพิ่ม shortcut ด้านซ้ายไปแล้ว)
หลังจากให้แฟน ๆ Ubuntu ได้สัมผัสกับ Ubuntu 12.04 Precise Pangolin (อย่าสับสนกับ Quantal Quetzal) รุ่นเบต้าไปสักระยะใหญ่ ๆ วันนี้ก็ถึงกำหนดปล่อยเวอร์ชั่น LTS หรือ Long Term Support มาให้แฟน ๆ Ubuntu ได้ใช้ให้หายคิดถึงเสียที
แม้ว่า Google Drive จะเปิดตัวพร้อมกับการรองรับหลายแพลตฟอร์ม แต่กลับไม่มีบน Linux (ถ้าไม่นับ iOS ที่กูเกิลบอกว่าใกล้เสร็จแล้ว)
แต่ไม่ต้องรีบเสียใจไป เพราะในเร็วๆ นี้ Google Drive บน Linux น่าจะมาแน่ หลังจากที่ Teresa Wu ผู้จัดการฝ่ายปฏิสัมพันธ์ชุมชนของ Google Docs ได้ออก มาตอบคำถาม ของผู้ใช้ที่รอการมาของ Google Drive บน Linux โดยบอกว่าทีมงานกำลังทำกันอยู่ และให้อดใจรอไว้
ช่วงนี้ก็ทนใช้ผ่านเบราว์เซอร์กันไปก่อนครับ
ที่มา - SlashGear
หลังจากมีข่าวลือว่า Valve กำลังพัฒนา Steam บนลินุกซ์มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจนเรื่องเงียบไป ในวันนี้เรื่องนี้กลับมาอีกและมีหลักฐานหนักแน่นกว่าทุกครั้ง โดยเป็นการยืนยันจากการพบ Gabe Newell ตัวจริงโดย Michael Larabel เจ้าของเว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ลินุกซ์ Phoronix.com
Larabel เล่าว่าเขาได้เข้าพบกับ Gabe Newell ประธานของ Valve เพื่อพูดคุยเรื่อง OpenGL สำหรับลินุกซ์ และเป็นที่ชัดเจนว่า Valve กำลังสนใจลินุกซ์ โดยได้มีการพอร์ตทั้ง Steam และ Source Engine ที่รันบนระบบลินุกซ์ได้สำเร็จแล้ว ในการพบกันครั้งนี้เขายังได้มีโอกาสรันเกม Left 4 Dead 2 บน Ubuntu แท้ๆ แบบไม่ผ่าน Wine และยืนยันว่ามันน่าประทับใจมาก
Linus Torvalds ได้ให้สัมภาษณ์ Scott Merrill แห่ง TechCrunch ผ่านทางอีเมล ซึ่ง Linus เปิดเผยสาเหตุที่เขาเลือกใช้ MacBook Air เป็นโน้ตบุ๊กเครื่องหลัก (แต่ลง Linux) ซึ่งมีใจความสำคัญดังนี้ครับ
Linus บอกว่าเห็นได้ชัดว่า MacBook Air ออกมาแล้วหลายปีแต่บรรดาผู้ผลิตรายอื่นก็ไม่พยายามทำตามแอปเปิลกัน แถมยังพยายามนำเสนอโน้ตบุ๊กที่หน้าตาน่าเกลียดออกมาแข่งขันกันอีก ซึ่งสำหรับเขาแล้วโน้ตบุ๊กที่ดีต้องบางและเบา ไม่หนักเกิน 1 กิโลกรัม ซึ่ง MacBook Air ตอบโจทย์มากที่สุดตอนนี้
ทิ้งหลังการประกาศกำหนดการพัฒนา Ubuntu 12.10 เพียงไม่กี่วัน Mark Shuttleworth ก็จัดการรวบรัดตั้งชื่อให้กับ Ubuntu เวอร์ชันที่ออกเดือนตุลาคมปีนี้แล้ว และตามธรรมเนียมรอบนี้ก็ถึงคิวของตัวอักษร Q
ชื่อทางการของ Ubuntu 12.10 อันสุดเจ๋ง (ในความคิดของ Mark Shuttleworth) ก็คือ Quantal Quetzal
Quetzal เป็นชื่อนกเขตร้อนสีสันสวยงามในวงศ์นกขุนแผน (Trogonidae) ชื่อเรียกนี้หมายความถึงนกในจีนัส Pharomachrus และ Euptilotis ถิ่นอาศัยอยู่ในเขต Neotropical (เขตร้อนของทวีปอเมริกา)
ออกมาแล้วสำหรับกำหนดการปล่อยของ Ubuntu 12.10 ที่มีโค้ดเนมสั้นๆ ว่า "Q" โดยทาง Canonical ได้เขียนตารางเอาไว้อย่างละเอียดใน Ubuntu wiki ทั้งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากกำหนดการอยู่ในสถานะแบบร่างเท่านั้น
ในกำหนดการจะไม่มีเวอร์ชัน Release Candidate เช่นเคย คือหลังจากเวอร์ชัน Alpha และ Beta แล้วจะเข้าสู่รุ่นเต็มเลย มีกำหนดการดังนี้ครับ
Fedora 17 โค้ดเนม "Beefy Miracle" ออกรุ่นเบต้าแล้ว หลังจากช้ากว่ากำหนดมา 1 สัปดาห์ (โรคเลื่อนเป็นเรื่องปกติของ Fedora)
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ Fedora 17 ได้แก่
ผู้ที่สนใจทดสอบก็ดาวน์โหลดได้จาก Fedora Pre-release
ทีมงาน Ubuntu กำลังพิจารณากันว่าสุดท้ายแล้ว Ubuntu 12.04 Precise Pangolin ที่จะออกช่วงปลายเดือนนี้ จะใช้สถาปัตยกรรมแบบไหนเป็นหลักระหว่าง 32 หรือ 64 บิต (ข่าวเก่าเรื่องแผนการของ 12.04)
เพื่อนๆ หลายคนคงจะรู้จัก Slackware Linux บางคนอาจเคยใช้งาน หรือ อาจเพียงแค่ได้ยินชื่อเสียงเรียงนาม
Slackware Linux เป็น Linux เก่าแก่เริ่มต้นโดย Patrick Volkerding พัฒนามาจาก Softlanding Linux System (SLS) เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (Minnesota State University Moorhead - MSUM) โดยแนวคิดเริ่มต้นมาจากความต้องการแก้ไขข้อผิดพลาดของ Softlanding Linux System (SLS)
Slackware Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่เน้นความมีเสถียรภาพและเรียบง่าย ได้มีการเผยแพร่ รุ่น 1.00 ในปี ค.ศ.1993 (พ.ศ.2536) โดย Slackware Linux, Inc.
หลังจากที่รอคอมพิวเตอร์จิ๋ว Raspberry Pi มาได้ซักระยะหนึ่งขณะนี้ เจ้า Raspberry Pi ก็ได้ถูกจัดส่งไปยังลูกค้าที่ได้ทำการสั่งซื้อในล็อตแรกแล้ว โดยสินค้าจะไปถึงมือผู้สั่งประมาณวันที่ 20 เมษายน สนนราคาก็ £16 (ประมาณ 800 บาท)
นอกจากนี้นักเรียนในเมือง Leeds ประเทศอังกฤษ จะได้เป็นกลุ่มแรกที่ได้ใช้เจ้าคอมพิวเตอร์จิ๋วนี้ โดยจุดประสงค์หลักในครั้งนี้คือการสอนการใช้งานในเบื้องต้น และการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียน
ที่มา BBC, Raspberry Pi
ทีมงานออกแบบของบริษัท Canonical เผยข้อมูลการสลับหน้าต่างแบบใหม่ที่เรียกว่า "Spread" ซึ่งคาดว่ามันจะเริ่มใช้ใน Ubuntu รุ่นหน้า 12.10
แนวคิดของ Spread จะคล้ายๆ กับ Expose ของ Mac OS X แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว หลักการเบื้องต้นจะเหมือนกันคือ Spread จะแสดงภาพพรีวิวของหน้าต่างที่เปิดอยู่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ความสามารถได้แก่
Linux Foundation ออกรายงานสรุปสถิติของการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ประจำปี 2011 ครอบคลุมช่วงการพัฒนาจากเวอร์ชัน 2.6.36 ถึง 3.2
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคงหนีไม่พ้น "ไมโครซอฟท์" ที่ในอดีตเคยตั้งตัวเป็นศัตรูกับโลกโอเพนซอร์ส กลับกลายมาเป็นบริษัทที่ส่งโค้ดเข้ามาร่วมพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์มากเป็นอันดับ 17 และเป็นครั้งแรกที่ไมโครซอฟท์ติด 20 อันดับแรก โดยโค้ดส่วนใหญ่ของไมโครซอฟท์เกี่ยวกับงาน virtualization ที่ทำให้ลินุกซ์ทำงานร่วมกับ Windows Server ได้ดีขึ้น
บริษัทที่ส่งโค้ดเข้ามาในเคอร์เนลมากเป็นอันดับหนึ่งในรอบปีล่าสุด ยังเป็นของ Red Hat ตามด้วย Intel, Novell, IBM, Texas Instruments อย่างไรก็ตามสัดส่วนของกลุ่มนักพัฒนาที่ส่งโค้ดเข้ามาเยอะที่สุดยังเป็นนักพัฒนาอิสระ 16.2%
Ubuntu 12.04 เดินทางมาถึงรุ่น Beta 2 ซึ่งจะเป็นรุ่นสุดท้ายก่อนออกตัวจริงปลายเดือนเมษายน ของใหม่ได้แก่