ตามที่เคยประกาศแผนไว้ในงาน UDS-Q ล่าสุดทางบริษัท Canonical ก็ถอด Unity 2D ออกจาก Ubuntu แล้ว
Unity 2D ถือเป็นโปรแกรมอีกตัวที่พัฒนาคู่ไปกับ Unity ตัวหลัก (แยกสายกันชัดเจน Unity 2D เขียนด้วย Qt) เป้าหมายเดิมคือต้องการสร้าง Unity เวอร์ชันเบาสำหรับเครื่องรุ่นเก่าที่สเปกไม่แรงนัก แต่ภายหลังทางทีมของ Canonical เลือกแก้ปัญหาเรื่อง Unity ตัวหลักกินสเปกด้วยเทคนิค LLVMpipe ช่วยแปลงกราฟิก 3D มาเป็นภาพแบบ 2D (ที่ดูเหมือน 3D ให้)
ผลของการถอด Unity 2D จะช่วยลดภาระการดูแลซอฟต์แวร์สองเวอร์ชันลง อย่างไรก็ตามทีมงานของ Canonical ก็ยอมรับว่าการเปลี่ยนมาใช้ LLVMpipe อาจเกิดปัญหากับคอมพิวเตอร์บางรุ่นได้
ข่าวนี้ต่อเนื่องจากที่ทีมของ Raspberry Pi ปล่อยระบบปฏิบัติการของตัวเองในชื่อ "Raspbian" ออกมา ซึ่งอาจไปทำลายความฝันของแฮกเกอร์บางกลุ่มเข้า เพราะว่าขาดหลายฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับการแฮกไป จนทำให้ทีม Adafruit เป็นเว็บไซต์แนว DIY อุปกรณ์เทคโนโลยีปรับแต่ง Raspbian ให้พร้อมสำหรับการแฮกมากกว่าเดิม
หลังจากนั้น Adafruit ก็ปล่อยระบบปฏิบัติการรุ่นแรกสำหรับ Raspberry Pi ในชื่อ Occidentalis (หรือชื่อเต็ม Rubus occidentalis ซึ่งหมายถึงราสเบอรี่สีดำ) ที่เพิ่มเครื่องมือสำหรับการแฮก และการรองรับอแดปเตอร์ Wi-Fi เข้ามา
จากกรณี Nautilus โฉมใหม่ หน้าตาเรียบง่าย ฟีเจอร์หายเพียบ สิ่งที่หลายๆ คนคิดไว้อย่างการแยกโครงการ (fork) ก็เกิดขึ้น เพียงแต่ไม่ได้มาจาก Ubuntu แต่เป็นค่าย Linux Mint แทน
Linux Mint ใช้ Nautilus รุ่นก่อน 3.4.x เป็นฐาน (รุ่นปัจจุบันที่มีปัญหาคือ 3.5.x) โดยใช้ชื่อโครงการใหม่ว่า Nemo ในเบื้องต้นยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงจาก 3.4.x มากนัก และทางโครงการ Mint เองก็ยังไม่ได้ประกาศข่าวนี้อย่างเป็นทางการด้วย
ก่อนหน้านี้ Linux Mint เคย fork ส่วนประกอบอื่นๆ ของ GNOME อย่าง GNOME Shell และตัวจัดการหน้าต่าง Mutter มาพัฒนาตามแนวทางของตัวเองแล้ว
ขออนุญาตเขียนข่าวนี้รวมกับข่าวช่องโหว่ในตอนแรกด้วยเลยนะครับ เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา Dave Airlie วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่กับ Red Hat ฝ่ายกราฟิก ได้แจ้งช่องโหว่ของไดรเวอร์ NVIDIA บนลินุกซ์ โดยในรายละเอียดบอกว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ค้นพบช่องโหว่นี้ แต่เขาได้รับช่องโหว่นี้จากบุคคลนิรนามรายนึงซึ่งอ้างว่าได้ส่งช่องโหว่นี้กับให้ทาง NVIDIA แล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ เลย บุคคลนิรนามที่ค้นพบช่องโหว่แสดงความต้องการให้ช่องโหว่นี้ได้รับการแพตซ์โดยเร็ว เขาจึงจำเป็นต้องประกาศช่องโหว่นี้ออกสู่สาธารณะ (mailling list)
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ออกมาบอกว่า Windows 8 คือหายนะ และ ประกาศ Steam for Ubuntu ไปไม่นานก็มีอัพเดตผลการทดสอบการเล่นเกมบน Linux มาให้แฟนๆ ชื่นใจแล้วครับ เพราะว่า Linux ทำเฟรมเรทได้สูงกว่าบน Windows 7 ซะงั้น!
ผู้ใช้ลินุกซ์ฝั่ง GNOME คงคุ้นเคยกับตัวจัดการไฟล์ Nautilus กันเป็นอย่างดี (ไม่ว่าจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม)
ล่าสุดใน GNOME 3.6 ที่กำลังจะออกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ Nautilus ถูกยกเครื่องครั้งใหญ่ให้หน้าตาเข้าชุดกับ GNOME 3.x ที่เน้นความเรียบง่ายของส่วนติดต่อผู้ใช้
ทีมงาน Debian ประกาศโค้ดเนมของ Debian 8.0 รุ่นเสถียรถัดไปในชื่อ "Jessie"
Jessie เป็นตัวละครในภาพยนตร์ชุด Toy Story ตามธรรมเนียมปฏิบัติของ Debian โดยเธอคือคาวเกิร์ลที่ปรากฏตัวใน Toy Story 2 และ 3
ปัจจุบันนี้ Debian รุ่นเสถียรคือ 6.0 "Squeeze" ที่ออกตั้งแต่ต้นปี 2011 ส่วน Debian 7.0 "Wheezy" เริ่มเข้าสถานะ freeze เพื่อออกเป็นรุ่นเสถียรถัดไปแล้ว กำหนดออกอยู่ประมาณต้นปี 2013
ส่วน Jessie ก็จะนับต่อไปอีก 2 ปี (ตามนโยบายการออกรุ่นของ Debian ในปัจจุบัน) คือออกตัวจริงราวต้นปี 2015
ความคืบหน้าต่อจากข่าว เดลล์เปิดตัวโครงการ Sputnik: Ubuntu 12.04 สำหรับ XPS13 ทาง Dell ออกมายืนยันแล้วว่าโครงการ Sputnik ที่เดิมทีเป็นโครงการทดลอง 6 เดือนจะถูกยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์จริง และออกวางจำหน่ายช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปีนี้
Dell ยังไม่บอกชัดว่าจะขาย XPS13 พร้อม Ubuntu ในประเทศไหนบ้าง บอกคร่าวๆ เพียงว่า "select geographies" ส่วนกลุ่มเป้าหมายจะเน้นนักพัฒนาเป็นหลัก
บริษัท Canonical ออกมาประกาศฟีเจอร์ของ Ubuntu รุ่นหน้า 12.10 ว่าจะสามารถรันเว็บแอพได้ในตัว
ในแง่ของการนำเว็บแอพมารันบนเดสก์ท็อปคงไม่ใช่เรื่องใหม่ (ที่ชัดๆ เลยคือ IE9 โฆษณาฟีเจอร์ pin site) แต่กรณีของ Ubuntu จะพิเศษตรงการผสานการทำงานของเว็บแอพเข้ากับส่วนต่างๆ ของเดสก์ท็อป เช่น แจ้งเตือนผ่านระบบ notification ของ Ubuntu ได้, การล็อกอินเข้าเว็บแอพใช้ร่วมกับหน้าจอตั้งค่า Online Account ของระบบ, อัพรูปภาพจากโปรแกรม Shotwell หรือใช้งาน Twitter ร่วมกับโปรแกรม Gwibber ได้เลย (ดูวิดีโอประกอบ)
ฟีเจอร์นี้จะมีเวอร์ชันพรีวิวมาลง Ubuntu 12.04 LTS ก่อนในเร็วๆ นี้ และจะมาพร้อมกับ Ubuntu 12.10 ในตัว
ไม่รู้ว่าเอาจริงแล้วจะมีคนใช้มากน้อยแค่ไหน แต่ตอนนี้ Unity Desktop ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Ubuntu (และมีทั้งคนรัก-เกลียด) สามารถใช้งานบนดิสโทรอื่นๆ อย่าง Fedora ได้แล้ว
งานนี้เป็นผลงานของทีม GNOME Ayatana ที่สนับสนุนโดยนักพัฒนาของ openSUSE และมีเป้าหมายเพื่อพอร์ตโค้ดโครงการ Ayatana (ชื่อโครงการ UI ของ Ubuntu) มายัง GNOME โครงการนี้ไม่ได้ดำเนินการจริงจังนัก และไม่ได้นำไปใช้ใน openSUSE ยังมีสถานะเป็นงานอดิเรกของนักพัฒนาเท่านั้น
ตอนนี้กระบวนการพอร์ตยังไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าอยากลองบน Fedora 17 ก็อ่านรายละเอียดกันเองตามลิงก์ครับ
งานนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากโค้ดของ Unity ไม่ได้เป็นโอเพนซอร์ส
Gabe Newell ผูู้ก่อตั้ง Valve มีความสนใจในแพลตฟอร์มลินุกซ์มานาน และเรามักเห็นข่าวลือของ Steam for Linux กันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งในที่สุดมันก็เป็นความจริงแล้ว
ล่าสุดทาง Valve ออกมาประกาศโครงการ Steam for Linux อย่างเป็นทางการ โดยเบื้องต้นจะพัฒนาสำหรับ Ubuntu เพียงดิสโทรเดียวด้วยเหตุผลเรื่องข้อจำกัดของทรัพยากรการพัฒนา แต่ในอนาคตก็สัญญาว่าจะขยายไปยังดิสโทรอื่นต่อไป
Valve บอกว่าตอนนี้รัน Steam บน Ubuntu 12.04 โดยมีฟีเจอร์สำคัญๆ ครบหมดแล้ว ตอนนี้กำลังไล่เก็บฟีเจอร์ย่อยอื่นๆ และเตรียมเปิดรุ่นทดสอบภายในในเร็ววันนี้ ส่วนเกมหลักที่จะมาอยู่บน Steam for Ubuntu คือ Left 4 Dead 2 ที่จะมาลง Ubuntu อย่างเป็นทางการเช่นกัน
ความเสียเปรียบสำคัญของ ARM ต่อสถาปัตยกรรม x86 คือ การรองรับ 64 บิตที่ฝั่ง x86 นั้นรองรับมาหลายปีแล้ว ล่าสุดรายละเอียดของ ARMv8 หรือชื่อในลินุกซ์คือ AArch64 ก็เริ่มเปิดเอกสารและซอร์สโค้ดสำหรับลินุกซ์แล้ว
ส่วนสำคัญของข้อมูลที่เปิดเผยมาได้แก่
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2012 ที่ผ่านมา CERN ได้ประกาศการค้นพบอนุภาคที่ดูเหมือนจะเป็น Higgs boson อย่างเป็นทางการ กลายเป็นข่าวโด่งดังสร้างความซาบซึ้งตื้นตันใจให้กับนักฟิสิกส์ทั่วทั้งโลก (ถ้าใครได้ดูถ่ายทอดสดทางเว็บในวันนั้น ก็น่าจะเห็นว่ามีฉากหนึ่งที่ Peter Higgs ที่เข้าร่วมงานประชุมในวันนั้นถึงกับยกผ้าเช็ดหน้าขึ้นมาซับน้ำตาเลยทีเดียว)
แฟนๆ ลินุกซ์อาจต้องทำใจกับข่าวนี้นะครับ หลังจากที่ Blizzard ทำการแบนผู้เล่น Diablo III จำนวนหนึ่งที่เล่นเกมผ่านโปรแกรม Wine ซึ่งเป็นโปรแกรมจำลองสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับวินโดวส์
Bashiok ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ดูแลฟอรั่ม Battle.net ได้ชี้แจงจากกรณีที่มีผู้เล่นออกมาเรียกร้องว่าตนเองถูกแบนอย่างไม่เป็นธรรมในกรณีนี้ว่า การที่ผู้มีเล่นเล่นเกมบนลินุกซ์นั้นไม่นับเป็นความผิด แต่ถ้าหากตรวจพบว่ามีการโกงเกมในรูปแบบใดๆ ก็ตามจะถือว่าเป็นความผิดทันที ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ากรณีของ Wine นั้นถูกนับรวมว่าเป็นโปรแกรมช่วยเล่นด้วยหรือไม่
เมื่อวานหลังจากมีข่าว NVIDIA ถูกไลนัสด่ากลางห้องประชุมมหาวิทยาลัย วันนี้ทาง NVIDIA ก็ออกจดหมายข่าวตอบโต้แล้ว โดยระบุว่าปัญหาของเทคโนโลยี Optimus ที่เป็นคำถามจากนักศึกษาว่าทำไมลินุกซ์จึงได้รับซัพพอร์ตเทคโนโลยีนี้ช้ากว่าแพลตฟอร์มอื่น และต้องอาศัยการซัพพอร์ตจากชุมชนผ่านทางโครงการ Bumblebee นั้นทาง NVIDIA ได้ช่วยแก้ตัวติดตั้งไดร์เวอร์และไฟล์ Readme ให้สามารถทำงานร่วมกับ Bumblebee ได้ดีขึ้น
บริษัท Unity Technologies เจ้าของเอนจินเกมยอดนิยม Unity (หรือบางที่เรียก Unity3D) ประกาศข่าว Unity 4 รุ่นใหม่ล่าสุดแล้ว
ของใหม่ของ Unity 4 ได้แก่
เบื้องต้น Unity เปิดให้สั่งจองแล้ววันนี้ และจะเริ่มออกรุ่นเบต้าในอนาคตอันใกล้นี้ ส่วนรุ่นจริงยังไม่บอกว่าออกเมื่อไร รายละเอียดดูได้จาก Unity 4
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้สร้างลินุกซ์จะจิกกัดใครต่อใครเจ็บๆ แต่การขึ้นเวทีมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ก็อาจจะเป็นพัฒนาขั้นใหม่ เมื่อเขาถูกถามความเห็นต่อไดร์เวอร์ของการ์ดจอ NVIDIA ในลินุกซ์ และได้ระเบิดอารมณ์ออกมา
ปัญหาของไดร์เวอร์การ์ดจอบนลินุกซ์นั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน ผู้ผลิต (รวมถึง NVIDIA และ ATI) มักอ้างความลับทางการค้าทำให้ไม่ยอมเปิดซอร์สโค้ดของไดร์เวอร์หลัก ทำให้มีปัญหาทุกครั้งที่ต้องอัพเกรดเคอร์เนล ขณะที่ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สที่ชุมชนช่วยกันดูแลนั้นจะมีปัญหาเรื่องการอัพเกรดน้อยกว่า แต่ก็รองรับฟีเจอร์ในการ์ดน้อยกว่าเช่นกัน ไลนัสระบุว่ายิ่ง NVIDIA ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มากเพียงใด ก็ยิ่งควรให้ความสำคัญกับลินุกซ์มากขึ้นและซัพพอร์ตให้ดีกว่านี้
หลังจากแช่เลขเวอร์ชันมาที่ 2.2 มานานมาก ล่าสุด Skype ก็ประกาศข่าวช็อควงการโดยออกรุ่น Skype 4.0 บนลินุกซ์มาเรียบร้อยแล้ว
ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์สายพันธุ์จีน MK802 ที่ใช้ชิป Allwinner นั้นมากับแอนดรอย์รุ่น 4.0.3 แต่หลายคนถามกันว่ามันจะทำงานกับลินุกซ์ตัวอื่นๆ ได้หรือไม่ ปรากฎว่า Liliputing ได้นำเครื่องมาทดสอบ
ชิปเซ็ต Allwinner นั้นรองรับการบูตผ่านการ์ด micro SD อยู่แล้ว และตัว MK802 เองก็ไม่ได้ไปปิดฟีเจอร์นี้แต่อย่างใดทำให้เราสามารถหาไฟล์อิมเมจที่บูตบนชิป Allwinner บนเครื่องอื่นๆ มาใช้งานได้
ทาง Liliputing ยังพบปัญหาอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น มีการบูตผิด OS บ้าง หรือไม่สามารถชัตดาวน์เครื่องได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนหน้าจอที่ยังออกภาพ 720p เท่านั้น ตลอดจนการทำงานบนซอฟต์แวร์ใหญ่ๆ เช่น OpenOffice และไฟร์ฟอกซ์นั้นยังค่อนข้างช้า
โครงการ Linux Mint จับมือกับบริษัท CompuLab ผู้ขายฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ฝังตัวชื่อดังรายหนึ่ง ออกพีซีขนาดเล็กไร้พัดลมที่พรีโหลด Linux Mint มาให้ในตัว
CompuLab ขายพีซีขนาดเล็ก (อันประมาณ ADSL router) อยู่ก่อนแล้วในชื่อ fit-PC พอมาจับมือกับ Linux Mint เลยกลายเป็น "MintBox" แทนครับ (พร้อมโลโก้ Linux Mint บนตัวเครื่อง)
MintBox มีให้เลือก 2 รุ่นคือ Basic และ Pro
MintBox Basic
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายขีดความสามารถของแพลตฟอร์ม Windows Azure อีกหลายอย่าง
ในส่วนของ Azure ที่เป็น PaaS แบบเดิม ไมโครซอฟท์เพิ่มไลบรารีภาษา Python และ Java เข้ามา (จากเดิมที่รองรับ .NET, PHP, Node.js) ออกปลั๊กอินสำหรับ Eclipse/Java, รองรับ MongoDB, ใช้งาน Memcached สำหรับภาษาที่ไม่ใช่ตระกูล .NET และรองรับ Apache Solr/Lucene
สำหรับงานด้านเว็บก็มี Windows Azure Web Sites ที่รองรับเฟรมเวิร์คด้านการพัฒนาเว็บหลายตัว เช่น ASP.NET, PHP, Node.js รวมไปถึง CMS ยอดนิยมอย่าง WordPress, Joomla!, Drupal, Umbraco, DotNetNuke โดยเชื่อมต่อกับ MySQL หรือ Windows Azure SQL ก็ได้
Linux Foundation องค์กรกลางที่ดูแลภาพรวมของลินุกซ์ ประกาศว่าซัมซุงที่เดิมทีเป็นสมาชิกระดับ silver ที่เป็นระดับต่ำสุด ขออัพเกรดสมาชิกภาพเป็นสมาชิกระดับสูงสุดคือ platinum member แล้ว
การสมัครเป็นสมาชิกระดับ platinum ต้องจ่ายเงิน 500,000 ดอลลาร์ต่อปี สิ่งแลกเปลี่ยนคือสมาชิกระดับ platinum จะมีเก้าอี้ในบอร์ดบริหารของ Linux Foundation สามารถร่วมประชุมเพื่อกำหนดทิศทางของลินุกซ์ในภาพรวมได้ด้วย คาดว่าเป็นเพราะซัมซุงใช้ลินุกซ์อย่างมากในมือถือของตัวเองระยะหลังๆ (ทั้ง Android, Bada, Tizen) เลยอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับลินุกซ์มากขึ้น
Neal Robinson ผู้บริหารของ AMD ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ The Inquirer ยอมรับว่าบริษัทของเขายังสนับสนุนแพลตฟอร์มลินุกซ์ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง OpenCL บนลินุกซ์
เขาให้เหตุผลว่าลินุกซ์มีดิสโทรจำนวนมาก ซึ่งต่างไปจากแพลตฟอร์มวินโดวส์ที่มีความแตกต่างกันน้อยกว่า แต่ก็ยืนยันว่า AMD จะลงทุนพัฒนา OpenCL บนลินุกซ์ให้ดีขึ้น โดยจ่ายเงินสนับสนุนนักพัฒนาของโครงการโอเพนซอร์สต่างๆ เช่น GIMP, x264, Handbrake, Videolan, FFMpeg ให้พัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเองให้ทำงานบน GPGPU ของ AMD ได้ดีกว่าเดิม
Fedora 17 มาพร้อมกับ เดกส์ท็อปของ Gnome 3.4 (สามารถเรนเดอร์ Gnome Shell โดยไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ประมวลผล 3 มิติ) และ KDE 4.8.3 ให้เลือกใช้, รองรับ file system แบบ ext4 ได้เกิน 16 TB และสามารถรองรับได้ถึงขนาด 100 TB ด้วย e2fsprogs และรองรับ JBoss AS 7 (เป็น Application server สำหรับ J2EE) ของ Red hat เป็นต้น
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สำหรับชื่อ Beefy Miracle , ทาง Fedora ได้ให้เหตุผลว่า เป็นชื่อที่เคยถูกเสนอมาในการออกรุ่นที่ 16 เหมือนกับชื่อ Verne ที่เคยถูกเสนอในเวอร์ชั่น 16 (สอดคล้องตามหลักการตั้งชื่อของ Fedora แต่คราวนี้มันดูกำปั้นทุบดินไปหน่อย)