ผู้ใช้ลินุกซ์คงคุ้นเคยกับข้อความอบรมเมื่อเรียกใช้โปรแกรม sudo
ครั้งแรกกันดี (ความสามารถนี้ไม่ได้ถูกเปิดไว้แต่ต้นใน Ubuntu ครับ)
We trust you have received the usual lecture from the local System Administrator. It usually boils down to these three things: #1) Respect the privacy of others. #2) Think before you type. #3) With great power comes great responsibility.
ข้อความนี้จะปรากฏให้เห็นเพียงแค่ครั้งแรกเท่านั้น โดยระบบจะจดบันทึกเวลาที่เราได้เรียกโปรแกรม sudo
ลงในไฟล์ timestamp และจะไม่แสดงข้อความอบรมนี้อีกถ้าพบว่าไฟล์นี้มีอยู่
Miguel de Icaza ที่หลายคนรู้จักกันในฐานะผู้พัฒนาโครงการ Mono (.NET แบบโอเพนซอร์ส) เขียนบล็อกเล่าประสบการณ์การใช้งานแมคและระบุว่าเขาเลิกใช้ลินุกซ์แทบจะทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่การย้ายอพาร์ตเมนต์ครั้งล่าสุดเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว เขาก็ไม่สนใจจะเปิดเครื่องลินุกซ์ขึ้นมาใช้งานอีกเลย และแม้แต่ช่วงที่ทำงานเกี่ยวกับลินุกซ์ เขาเองก็แนะนำคนรอบตัวให้ใช้แมค และซื้อเครื่องแมคเป็นของขวัญให้คนรอบข้างเสมอ
ปัญหาของลินุกซ์สำหรับเขา คือ fragmentation ที่มากเกินไปของลินุกซ์ ดิสโทรต่างๆ ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ รวมถึงความไม่เข้ากันระหว่างเวอร์ชั่นในดิสโทรเดียวกันเอง และจนกระทั่งทุกวันนี้ ลินุกซ์เองยังไม่สามารถก้าวข้ามช่องว่างที่จะเป็นระบบปฎิบัติการสำหรับเดสก์ทอปได้
หลังจากที่ Valve เปิดให้ใช้งาน Steam for Linux เมื่อปลายปีที่แล้ว ผ่านไปเกือบ 3 เดือน ยอดผู้ใช้งาน Steam for Linux ก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.02% ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนผู้ใช้งาน Steam for Mac ที่ 3.07%
ตัวเลข 2.02% อาจฟังดูไม่เยอะเมื่อเทียบกับ 3.07% แต่หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า Steam for Mac ใช้เวลา 3 ปีกว่าจะขึ้นมาอยู่ที่ 3% แต่ Steam for Linux ใช้เวลาแค่ 3 เดือนก็ขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับไล่เลี่ยกันได้นั้นก็ฟังดูน่าสนใจไม่น้อย
สำหรับสถิติผู้ใช้งาน Steam อันดับ 1 ยังคงเป็น Windows 7 ที่ 69.31% ตามมาด้วย Windows 8 และ Windows XP ตามลำดับ
ข่าวใหญ่ของวงการ Ubuntu ครับ บริษัท Canonical ประกาศยกเครื่องระบบกราฟิก-แสดงผลของ Ubuntu ชนิดเปลี่ยนยกเซ็ต
อย่างแรกคือระบบแสดงผล (Display Server) ตัวใหม่ที่จะมาแทน X Window ในปัจจุบัน มันใช้ชื่อว่า Mir
Canonical แสดงท่าทีชัดเจนมาตลอดว่า X Window เก่าเกินไป และเตรียมเปลี่ยนไปใช้ Wayland แต่สุดท้ายก็ยังเห็นว่า Wayland ไม่ตอบโจทย์ และหันมาสร้างระบบ Mir ของตัวเองแทน
รอบการออกรุ่นทุก 6 เดือนของ Ubuntu เริ่มมีปัญหากับการออกซอฟต์แวร์ทั้งบนเดสก์ท็อป มือถือ และแท็บเล็ตเสียแล้ว
ล่าสุดมีสมาชิกบางส่วนที่นำโดย Rick Spencer วิศวกรของ Canonical เสนอแผนให้ Ubuntu ปรับวิธีการออกรุ่นดังนี้
ข้อเสนอนี้ระบุว่าจะตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้ที่ไม่ต้องการปรับรุ่นบ่อย (ใช้ LTS เปลี่ยนทุกสองปี) และผู้ใช้ที่ต้องการซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุด (ใช้ rolling release)
หลังจาก Chromebook Pixel ถูกเปิดตัวไปได้ไม่นาน Bill Richardson วิศวกรประจำโครงการ Chrome OS ก็ได้ออกมาประกาศความสำเร็จในการรันระบบปฏิบัติการลินุกซ์บนอุปกรณ์ดังกล่าว
ความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากการปรับการตั้งค่าของระบบ BIOS โดยในการติดตั้งผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าสู่ developer mode เพื่อเข้าสู่การตั้งค่าพิเศษให้แก่ BIOS และการติดตั้งระบบปฏิบัติการจะทำได้ผ่าน live USB เท่านั้น โดยในกรณีนี้นักพัฒนาทดสอบด้วย Linux Mint
ภายหลังการติดตั้งพบว่าแป้นพิมพ์และ Wi-Fi ทำงานได้อย่างราบรื่น แต่ทัชแพดนั้นไม่ทำงาน จึงมีข้อแนะนำให้ใช้ USB mouse ไปก่อน ดูภาพและรายละเอียดทางเทคนิคอื่นๆ ได้จากที่มา
ก็เป็นไปตามกำหนดการที่ Canonical วางไว้ (Phone, Tablet) ครับ ที่ว่า Canonical จะปล่อย Touch Developer Preview ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไปแฟลชเพื่อทดลองใช้งานได้ในวันนี้ โดยอุปกรณ์ชุดแรกที่สามารถใช้งานได้ในตอนนี้คือ Galaxy Nexus (รุ่น GSM), Nexus 4, Nexus 7 และ Nexus 10 และจะรองรับอุปกรณ์อื่นๆ อีกในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้จอระดับ 1080p นั่นเอง
โดยกระบวนการติดตั้งทั้งหมด ผู้ใช้จะต้องทำบน Ubuntu อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถทำได้บน Windows และ Mac OSX อีกทั้งผู้ใช้ต้องยอมรับความเสี่ยงรวมถึงการสูญหายของข้อมูลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดเอง
ตามที่ประกาศเอาไว้ก่อนหน้านี้ บริษัท Canonical เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Ubuntu Tablet เป็นที่เรียบร้อยครับ
Ubuntu Tablet เป็นระบบปฏิบัติการพี่น้องกับ Ubuntu Phone ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ โดยใช้ UI ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก และแอพบนสองระบบปฏิบัติการนี้รันข้ามกันได้โดยไม่ต้องแก้ไขอะไรเพิ่ม (คล้ายกับ Android Phone/Tablet)
หลังจาก Valve เปิดให้ทดสอบ Steam for Linux มาเป็นเวลาพอสมควร ก็ถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการครับ
Steam for Linux สามารถดาวน์โหลดจาก Ubuntu Software Center ได้โดยตรง แถมยังรองรับโหมด Big Picture สำหรับหน้าจอขนาดใหญ่อย่างทีวีด้วย
เกมที่ Valve เลือกมาโชว์ว่าเล่นบนลินุกซ์ได้ มีตั้งแต่เกมของบริษัทเองอย่าง Half-Life, Counter-Strike 1.6, Counter-Strike: Source และ Team Fortress 2 (ช่วงแรกยังแถมไอเทมพิเศษเป็น Tux มาสค็อตของลินุกซ์อีกด้วย) ส่วนค่าย Croteam เจ้าของเกม Serious Sam ก็ออกมาสนับสนุนว่า Steam for Linux ช่วยให้เกมของบริษัทเข้าถึงผู้เล่นข้ามแพลตฟอร์มมากขึ้น
ในโอกาสเปิดตัว Valve ลดราคาเกมบนลินุกซ์กว่า 50 เกมลง 50-75% มีผลถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้
Michael Larabel เจ้าของเว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ลินุกซ์ Phoronix.com เผยว่า ที่งาน Free Open-Source Developers' European Meeting (FOSDEM) ที่ถูกจัดขึ้นในกรุงบรัสเซส มีคนให้ข้อมูลกับเขาว่าไมโครซอฟท์สนใจทำ Office for Linux อยู่ เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์เริ่มถูกนำไปใช้งานบนเดสก์ท็อปในเชิงพาณิชย์มากขึ้น และชุด Office ดังกล่าวน่าจะออกสู่สาธารณะได้ในปีหน้า
Larabel ยังชี้ให้เห็นว่า ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับลินุกซ์อย่างที่ไม่น่าจะเป็นไปได้อยู่หลายโครงการ ถึงแม้ว่าโครงการเหล่านั้นจะไม่ใหญ่โตมากนัก นอกจากนั้นหาก Office for Android เป็นความจริงก็จะเป็นก้าวย่างที่สำคัญที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ทีมพัฒนา OpenSUSE ได้เปิดตัว Release Candidate 1 ออกมาเรียบร้อย โดยมีการอัพเดตหลายเรื่องดังนี้
ดาวน์โหลด OpenSUSE 12.3 RC1 ได้แล้ว ที่นี่
Ian Romanick ตัวแทนของอินเทลไปพูดที่งานสัมมนาโอเพนซอร์ส FOSDEM 2013 โดยเขาบอกว่าปัญหาของการเล่นเกมบนลินุกซ์ในปัจจุบันคือไม่มีซอฟต์แวร์กลางที่ช่วยให้เกมตรวจสอบฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องได้ ส่งผลต่อการปรับแต่งประสิทธิภาพของกราฟิกในเกม
ปัจจุบันวิธีที่ผู้สร้างเกมบนลินุกซ์ใช้กันคืออ่านค่าฮาร์ดแวร์จาก libpci แล้วแกะค่า vendor/device ID มาตรวจสอบหา GPU ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย แถมใช้กับระบบที่มี GPU หลายตัวไม่ได้
อินเทลประกาศว่าจะแก้ปัญหานี้โดยทำที่ระดับของไลบรารี Mesa ซึ่งมีกำหนดเสร็จในปีหน้า ถ้าหากว่าทางแก้นี้ทำงานได้จริงและ NVIDIA/AMD เข้าร่วมด้วย วงการเกมบนลินุกซ์ก็น่าจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว
UEFI หรือระบบการบูตคอมพิวเตอร์แบบปลอดภัย เป็นเฟิร์มแวร์ที่มาแทน BIOS เดิมเพื่อให้การบูตเข้าระบบปฏิบัติการปลอดภัยมากขึ้น (ไม่โดนไฮแจ็คระหว่างทาง) แต่ก็ต้องแลกมาด้วยอิสระที่ลดลงในการติดตั้งระบบปฏิบัติการทางเลือกต่างๆ เพราะผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้อง sign เฟิร์มแวร์ด้วยคีย์จากไมโครซอฟท์
ปัญหานี้เป็นที่ถกเถียงกันมานานในโลกของลินุกซ์ ซึ่งทางแก้จบลงด้วย Linux Foundation เข้ามาเป็น "คนกลาง" ทำระบบ pre-bootloader กลางขึ้นมา โดยทาง Linux Foundation จะเป็นผู้ขอรับคีย์จากไมโครซอฟท์เองเพื่อให้ pre-bootloader ตัวนี้บูตขึ้นบนเครื่องที่มี UEFI ฝังอยู่ จากนั้นค่อยเป็นหน้าที่ของดิสโทรลินุกซ์ต่างๆ ที่จะบูตต่อจาก pre-bootloader อีกทีหนึ่ง
หลังจากการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ทีมนักพัฒนา GNOME ตัดสินใจใช้ JavaScript เป็นภาษาเริ่มต้นในการพัฒนา GNOME Apps โดยจะใช้ร่วมกับภาษาซีในส่วนของการจัดการกับระบบ
Travis Reitter หนึ่งในทีมนักพัฒนาของ GNOME ได้กล่าวถึงเหตุผลในการเลือกใช้ JavaScript ว่ามันเป็นภาษาระดับสูงและถูกใช้งานจริงแล้วใน GNOME Shell และ GNOME Documents อีกทั้งมีความง่ายสำหรับนักพัฒนาใหม่ที่จะศึกษาและพัฒนาต่อไปด้วยในแง่ของโอเพนซอร์ส
Valve ได้อัพเดตหน้า Hardware & Software Survey สำหรับเดือนมกราคม 2013 แสดงสถิติต่าง ๆ ของเครื่องที่ใช้ Steam ที่น่าสนใจคือส่วนแบ่งของระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน Steam และการเพิ่มลดในรอบ 1 เดือน มีดังนี้
หลังจาก Valve ปล่อย Steam for Linux ให้ดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการไปแล้ว ก็เริ่มพอร์ตเกมในค่ายตัวเองให้รองรับ Linux เป็นระยะๆ
ล่าสุดถึงคิวของ Half-Life เกมแนว FPS ระดับตำนานจาก Valve เองที่พอร์ตมาเป็น native บน Linux เรียบร้อยแล้ว โดยใช้เอนจิน GoldSrc ที่ดัดแปลงมาจากเอนจิน Quake โดยสถานะของเกมตอนนี้ยังเป็น beta อยู่
นอกจากเวอร์ชัน Linux แล้ว Valve ได้ปล่อยเวอร์ชัน Mac มาพร้อมกันเลยด้วย สามารถเข้าไปซื้อได้ที่นี่ราคา 9.99 เหรียญครับ
Alan Cox นักพัฒนาหลักคนหนึ่งของโครงการลินุกซ์ประกาศลาออกจากอินเทลและการพัฒาลินุกซ์ด้วยเหตุผล "เรื่องครอบครัว" เขายืนยันซ้ำสองครั้งว่าเป็นเหตุผลครอบครัวไม่ใช่เรื่องงาน และเขาระบุว่าอาจจะกลับมาทำงานพัฒนาเคอร์เนลอีกในอนาคต
Alan Cox เข้าวงการลินุกซ์ครั้งแรกเมื่อเขานำลินุกซ์ไปติดตั้งบนเครื่องของชมรมคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยและพบบั๊กเน็ตเวิร์คจำนวนมาก เขาเป็นผู้ดูแลเคอร์เนลในสาย -ac มาตลอด มีอำนาจตัดสินใจในเคอร์เนลเป็นรองจากไลนัสคนเดียวเท่านั้น
สืบเนื่องจากข่าว เคอร์เนล 3.4 จะได้รับการดูแลนาน 2 ปี ล่าสุดทาง Linux Foundation ในฐานะองค์กรกลางที่ดูแลลินุกซ์ ออกมาประกาศโครงการ Long Term Support Initiative (LTSI) หรือการสร้าง "ลินุกซ์กลาง" ที่มีอายุสนับสนุนนานเป็นพิเศษ (2 ปีเท่ากับ Ubuntu LTS) แล้ว
เคอร์เนลอายุยาว 2 ปีช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ ทำงานง่ายขึ้นในการทดสอบระบบ เพราะเวอร์ชันของซอฟต์แวร์จะนิ่งมาก โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น Qualcomm, Panasonic, NEC, LG, Samsung, Sony, Toshiba
ฟีเจอร์สำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเดสก์ท็อปลินุกซ์คือ workspace หรือ "เดสก์ท็อปเสมือน" ที่ผู้ใช้สามารถมีเดสก์ท็อปได้มากกว่า 1 อันพร้อมกัน และสลับไปมาได้ตามงานที่ทำอยู่ ณ ขณะนั้น
ฟีเจอร์ workspace มีประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้ระดับสูงที่ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน แต่อาจสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้หน้าใหม่ได้ ทางโครงการ Ubuntu ซึ่งมีนโยบาย "ลดปุ่ม" ในช่วงหลัง จึงตัดสินใจปิดการแสดงผลปุ่ม workspace บน Unity Launcher มาเป็นค่าดีฟอลต์แต่แรก
ผู้ที่ต้องการใช้ workspace สามารถเปิดกลับเองได้ที่หน้าจอตั้งค่า Appearance จะมีตัวเลือก "Enable workspaces" เพิ่มเข้ามา
นอกจากตัวเลือกซ่อนปุ่ม workspace แล้ว ใน Ubuntu 13.04 ยังเพิ่มตัวเลือกซ่อนปุ่ม show desktop อีกด้วยครับ
หลังจาก Fedora 18 เลื่อนแล้ว เลื่อนอีก มาหลายรอบ การรอคอยก็สิ้นสุดเมื่อโครงการ Fedora ประกาศออก Fedora 18 เป็นที่เรียบร้อย
Fedora 18 โค้ดเนม "Spherical Cow" ยังเลือกใช้ GNOME 3.6.2 เป็นเดสก์ท็อปหลักเช่นเดิม แต่ในรุ่นนี้เปิดให้ใช้ MATE (โครงการแยกของ GNOME 2 ที่ริเริ่มโดย Linux Mint) เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งด้วย
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่รองรับ Samba 4 และ Windows Active Directory มาตั้งแต่ต้น, เปิดใช้ Avahi สำหรับเครื่องพิมพ์ที่แชร์ภายในองค์กร, NetworkManager รองรับการทำ hotspot, รองรับ Secure Boot หรือ UEFI ที่เริ่มพบในฮาร์ดแวร์ Windows 8 เป็นต้น
ชุดประกอบที่ก้าวหน้าที่สุดของเลโก้คงเป็น MINDSTROM ที่ก่อนหน้านี้มีกล่องคอนโทรลเลอร์รุ่น NXT ที่ใช้ระบบปฎิบัติการเฉพาะ แต่กล่องคอนโทรลรุ่นใหม่คือ EV3 ก็เปลี่ยนมาใช้ลินุกซ์แล้ว
กล่อง EV3 ใช้ส่วนประกอบภายในเป็นชิป ARM Cortex-A9 (ไม่ระบุผู้ผลิต) พร้อมหน่วยความจำแฟลช 16 MB และแรม 64 MB สามารถเพิ่มหน่วยความจำผ่านการ์ด mini SDHC ได้ บนตัวกล่องมีจอความละเอียด 178x128 และปุ่มอีกหกปุ่ม
ราคากล่องคอนโทรลเปล่าๆ 159.95 ดอลลาร์ และชุดพื้นฐาน 349.99 ดอลลาร์ ถ้าไม่ใช่แฟนเลโก้หรือซื้อเพราะอยากได้ซอฟต์แวร์พัฒนาไว้ให้เด็กเล่นไปซื้อคอมพิวเตอร์จิ๋วตระกูล Raspberry Pi น่าจะคุ้มกว่าเยอะ
หลัง Steam เปิดตัวรุ่นลินุกซ์มาตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถิติเดือนแรกก็ออกมาแล้ว โดยผู้ใช้จำกัดอยู่ใน Ubuntu 12.04 และ 12.10 เท่านั้น
Ubuntu ทั้งสี่รุ่นได้แก่ 12.10 64 bit 0.29%, 12.04.1 64 bit 0.26%, 12.04.1 0.13%, และ 12.10 0.12% รวมเป็น 0.8%
เมื่อนับรวมระบบปฎิบัติการรุ่นต่างๆ แยกจากกัน Windows ยังคงครองสัดส่วน 95% และ Mac OS ยังครองสัดส่วน 3.7%
Fedora ออกประกาศเลื่อนกำหนดเปิดตัว Fedora 18 อีกแล้ว จากกำหนดการล่าสุดที่จะต้องเปิดตัวในวันที่ 8 มกราคมเป็น 15 มกราคมนี้ ซึ่งนักพัฒนาจะใช้เวลาที่ยืดออกไปนี้ในการแก้บั๊กและเพิ่มความเสถียร
หาก Fedora 18 เปิดตัวในวันที่ 15 มกราคมนี้จริง ๆ แสดงว่ากำหนดเปิดตัว Fedora 18 ถูกเลื่อนออกจากเดิมถึง 70 วันเต็ม ๆ ถ้าหากไปดูจากข่าวเก่า จะทราบได้ว่าที่ Fedora 18 ต้องเลื่อนกำหนดเปิดตัวมาไกลขนาดนี้เกิดจากบั๊กจำนวนมากที่ยังปิดไม่ลงของ Anaconda และตัวอัพเกรดระบบติดตั้ง
หลังจากเปิดทดสอบมาประมาณเดือนกว่า ตอนนี้ Valve ก็เปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ดาวน์โหลด Steam สำหรับลินุกซ์สำหรับผู้ใช้ทั่วไปแล้ว
ผู้ที่ร่วมทดสอบอยู่หรือต้องการเข้าร่วมเพิ่มเติมต้องดาวน์โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด หรือจะติดตั้ง repository เพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน
สำหรับผู้ที่เจอปัญหาบั๊กต่างๆ ทาง Valve เปิดให้แจ้งบั๊กได้ใน GitHub
ที่มา - Steam Community
นับตั้งแต่ปี 1991 ไลนัสได้เขียนเคอร์เนลลินุกซ์บนเครื่อง 80386 เพื่อใช้แทน MINIX ที่เขียนโดย Andrew S. Tanenbaum อาจารย์ของเขาเอง โดยพยายามสร้างเคอร์เนลที่ทำตามมาตรฐาน POSIX ต่อมาความนิยมในลินุกซ์ซึ่งใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL ทำให้มันได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทุกวันนี้ ลินุกซ์มีอยู่ในทุกที่ตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ฝังตัวขนาดเล็ก
แต่เวลา 21 ปีก็นานมากสำหรับการซัพพอร์ตชิป 80386 ที่ให้กำเนิดลินุกซ์ขึ้นมา และเมื่อวานนี้ไลนัสก็รับแพตซ์ชุดใหม่เข้าสู่โครงการเคอร์เนล เป็นแพตซ์ลบไฟล์ที่ซัพพอร์ตชิป 80386 ออกทั้งหมด