ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รถยนต์อาจมีระบบการยืนยันตัวและตรวจสอบผู้ขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โชว์งานวิจัยระบบที่สามารถตรวจพิสูจน์ตัวตนของผู้ขับขี่ ได้จากพฤติกรรมการขับรถ
ระบบ Machine Learning จะรวบรวมพฤติกรรมการขับรถทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบคันเร่ง การเหยียบเบรก หรือแม้แต่การควบคุมพวงมาลัยผ่านระบบ Controller Area Network (CAN) ของรถ ก่อนจะนำไปวิเคราะห์และแยกแยะตัวตนของผู้ขับ โดยนักวิจัยระบุว่า จากที่เคยทดสอบมา อัลกอริทึมสามารถแยกแยะคนขับได้ถูกต้องถึง 100% โดยใช้เวลารวบรวมข้อมูลจากการขับรถเพียง 15 นาทีเท่านั้น (เฉพาะการเบรกก็สามารถแยกแยะคนขับได้ถูกต้องถึง 87% เข้าไปแล้ว)
รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พัฒนาแอพ Bagtector แอพมือถือที่อาศัยพลังของปัญญาประดิษฐ์มาวิเคราะห์ภาพถ่ายกระเป๋าหรูยี่ห้อ Hermes ว่ากระเป๋าใบดังกล่าวเป็นของแท้หรือไม่
Bagtector (bag + detector) ใช้พลังของโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกที่ผ่านการสอนให้รู้จักภาพถ่ายโลโก้ Hermes ที่ถ่ายมาจากกระเป๋าของแท้กว่า 200 ใบ เทียบกับภาพถ่ายโลโก้ Hermes จากกระเป๋าปลอมสารพัดเกรดอีกกว่า 100 ใบ โดยใช้เวลานานกว่า 2 เดือน จนทำให้มันสามารถแยกแยะได้ว่าภาพโลโก้ Hermes แต่ละภาพนั้นเป็นภาพจากกระเป๋าของแท้หรือไม่ ซึ่งโลโก้บนกระเป๋าของแท้จะมีรายละเอียดเรื่องริ้วรอยที่เกิดจากแรงอัดในการประทับตราในกระบวนการผลิต ทั้งยังร่องรอยพื้นผิวของวัสดุกระเป๋าซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ Bagtector สามารถนำมาใช้เพื่อการแยกแยะตรวจสอบหาของแท้-ของปลอมได้
ข่าวน่าสนใจที่กูเกิลแถลงในงาน Google I/O เมื่อวานนี้คือ "หน่วยประมวลผล" ที่บริษัทออกแบบเองเพื่องานด้าน machine learning โดยกูเกิลเรียกมันว่า Tensor Processing Unit (TPU) (ตั้งให้ล้อกับชื่อซอฟต์แวร์ TensorFlow)
TPU เป็นแผงวงจรเฉพาะด้าน application-specific integrated circuit (ASIC) ที่กูเกิลออกแบบขึ้นเอง ขนาดบอร์ด TPU ที่กูเกิลออกแบบ มีขนาดเล็กกว่าสล็อตเสียบฮาร์ดดิสก์ในแร็คปกติ
หลังจากที่ปัญญาประดิษฐ์ชื่อ Ms. Watson เป็นผู้ช่วยอาจารย์มหาวิทยาลัยไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวอาชีพนักกฎหมายกันบ้าง ROSS Intelligence ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับงานกฎหมาย ประกาศเมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (5 พ.ค. 59) ว่า บริษัทที่ปรึกษากฎหมายชื่อดังอย่าง Baker & Hostetler LLP ซึ่งมีที่ปรึกษากฎหมาย 940 คน ใน 14 สาขาทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จ้าง ROSS เป็นที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์คนแรกของโลก (the world’s first artificially intelligent attorney)
อุปสรรคอย่างหนึ่ง สำหรับนักวิจัยไม่ว่าจะสายสังคมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ คือการค้นหาบทความหรือวารสารทางวิชาการ สำหรับการค้นคว้าและอ้างอิง ครั้นจะหาจาก Google ก็อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องไปหาจากแหล่งที่รวบรวมบทความและวารสารทางวิชาการอาทิ JSTOR แต่จุดอ่อนของเว็บไซต์เหล่านี้ก็คือ ความสามารถในการค้นหาของเอนจินบนเว็บที่ยังสู้ Google ไม่ได้
ซีรี่ส์ Game of Thrones จุดประกายให้ชั้นเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคนิคในมิวนิค เยอรมนี (Technical University of Munich) สร้างเว็บไซต์ทำนายตัวละครที่จะตายในซีซั่นหก โดยใช้เทคนิค machine learning จากนั้นทีมงานซึ่งประกอบด้วยอาจารย์และนักเรียน ก็รวบรวมผลการทำนายลงในเว็บไซต์ got.show ให้ดูกัน
ผลออกมาพบว่าความแม่นยำของอัลกอริทึมทำนายว่าตัวละครไหนจะตาย สูงถึง 74% (ถ้าอยากหลบสปอยล์ อย่าเผลอคลิกเข้าไปดูเชียว)
งาน F8 วันที่สองเมื่อคืนนี้ ทีม Applied Machine Learning (AML) ออกมาอธิบายว่างานด้านวิศวกรรม 25% ของ Facebook ตอนนี้ถูกรันโดย AI เรียบร้อยแล้ว พร้อมโชว์ตัวอย่าง AI บางประเภทที่ Facebook ใช้งานอยู่
การใช้งาน AI ขั้นพื้นฐานเริ่มจากการแปล (translation) ข้อความใน News Feed เป็นภาษาต่างๆ และการแยกแยะรูปภาพตามบริบทของวัตถุภายในภาพ แต่ที่เจ๋งเป็นพิเศษมี 2 อันครับ
หลังจากเปิดตัวเมื่อต้นปี NVIDIA Drive PX2 ระบบนำทางด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์สำหรับรถยนต์ไร้คนขับเมื่อต้นปี เมื่อวานนี้ (5 เมษายน 2559) NVIDIA ประกาศว่ารถแข่งไร้คนขับรายการแรกของโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายการแข่งขันรถยนต์ไฟฟ้า Formula E ePrix จะใช้หน่วยประมวลผล Drive PX2 ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี โดยรถทุกคันจะเหมือนกันทั้งหมดเพื่อวัดการแข่งขันกันด้วยซอฟต์แวร์ นอกจากพลังประมวลผลแล้ว Drive PX2 ยังมีความสามารถ Machine Learning ช่วยให้สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นได้เรื่อยๆด้วย
ถ้ายังจำกันได้ ปีที่แล้วไมโครซอฟท์มีเว็บแอพวิเคราะห์ข้อมูลภาพให้เล่นกันสนุกๆ หลายตัว เช่น How-Old.net ทายอายุ, TwinOrNot.net เทียบคนหน้าเหมือน
เว็บแอพเหล่านี้อยู่ภายใต้ Project Oxford โครงการพัฒนา API ด้านการแยกแยะภาพและเสียงพูด ซึ่งวันนี้ได้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Microsoft Cognitive Services
หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว เว็บไซต์ Tech Insider ที่ร่วมมือกับนักวิจัยของ IBM ในการนำเอาตัวละครจากภาพยนตร์และหนังสือ Harry Potter มาวิเคราะห์เพื่อหานิสัย มาสัปดาห์นี้ก็ถึงคิวภาพยนตร์ยอดฮิตอย่าง Star Wars ที่ถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อหานิสัยต่างๆ ซึ่ง Watson อ่านบุคลิกของตัวละครแต่ละตัวจากบทแล้ว ได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้
แม้ว่าในช่วงหลังเราจะมีระบบ Machine Learning ให้บริการตามท้องตลาดอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ปัญหาสำคัญคือพลังของการประมวลผลซึ่งงานลักษณะนี้ต้องใช้ทรัพยากรอย่างเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเมนเฟรมใหญ่ๆ จำนวนหลายเครื่องหรือคอมพิวเตอร์แบบพิเศษ (ตัวอย่างเช่น IBM Watson ตอนแรกที่ยังไม่เป็นบริการบนคลาวด์) เพื่อให้มีสมรรถภาพพอที่จะประมวลผลและตอบสนองได้ ซึ่งเป็นปัญหาพอสมควรในเชิงการลงทุน ซึ่งทำให้นักวิจัยจากศูนย์วิจัย T.J. Watson ของ IBM (ศูนย์เดียวกับที่เป็นต้นกำเนิดของ IBM Watson) นำเสนองานวิจัยและแนวคิดใหม่ด้วยการสร้าง "Resistive Processing Unit" (RPU) เพื่อเข้ามาใช้ในงานลักษณะนี้โดยเฉพาะ
กูเกิลเพิ่มบริการ Cloud Machine Learning สำหรับการพัฒนาโมเดลคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยนักพัฒนาต้องพัฒนาผ่านเฟรมเวิร์ค TensorFlow ที่ต่างออกไปจากการพัฒนาบนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองคือนักพัฒนาจะเข้าถึงบริการของ Google Cloud เช่น Google Cloud Dataflow, Google Cloud Storage, และ Google BigQuery ได้
Eric Schmidt ประธานของ Alphabet ไปพูดเปิดงาน Google Cloud Platform โดยพยากรณ์ว่าบริษัทไอทีที่ยิ่งใหญ่และเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (IPO) ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะเป็นบริษัทที่พัฒนาบนฐานของเทคโนโลยี machine learning
Schmidt ยังมองว่าเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีในปัจจุบัน เช่น virtualization และ container จะกลายเป็นเรื่องปกติสามัญ และการสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่แบบ Uber จะต้องใช้ machine learning ผสมผสานกับข้อมูลจากวิธี crowdsourcing
เขาบอกว่าความยิ่งใหญ่ของแพลตฟอร์มข้อมูลลักษณะนี้ จะเทียบเท่ากับโลกของแอพในปัจจุบันเลยทีเดียว
Google เปิดตัว Cloud Machine Learning บริการคลาวด์เพื่อสอนคอมพิวเตอร์ให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ตัวเอนจินการเรียนรู้ใช้ไลบรารี TensorFlow ที่กูเกิลเปิดซอร์สเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเอนจินตัวเดียวกับที่ใช้ใน Google Photos, Google Now และระบบค้นหาด้วยเสียงของ Google Search
Google Cloud Machine Learning ออกแบบมาสำหรับองค์กรที่อยากสร้างโมเดลวิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูล แต่ไม่อยากลงทุนทำระบบเองที่ต้องคำนึงเรื่องการขยายระบบในอนาคต ก็สามารถเช่าคลาวด์กูเกิล โหลดข้อมูลที่เรามีใส่ลงไปเพื่อให้ระบบเรียนรู้ ผลลัพธ์ออกมาเป็นโมเดลพร้อมใช้งานพยากรณ์ (prediction) ทันที (งานระหว่างกลาง กูเกิลจัดการให้หมด) ตัวอย่างการใช้งาน Cloud Machine Learning คือแอพด้านการเงินสามารถโหลดข้อมูลตัวอย่างเพื่อให้พยากรณ์ค่าได้เลย
ทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยของ Xerox ประจำทวีปยุโรป นำเอนจินเกม Unity มาพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีกราฟิกสวยงามเหมือนภาพถ่ายเพื่อเอาไปใช้สอนให้ระบบปัญญาประดิษฐ์พัฒนาอัลกอริธึมด้านการวิเคราะห์ภาพและวิดีโอได้เอง
Adrien Gaidon นักวิทยาการคอมพิวเตอร์หนึ่งในทีมวิจัยนี้ ได้ไอเดียหลังจากที่เขาเห็นคนเล่นเกม Assassins Creed แล้วฉุกคิดได้ว่าความสามารถในการสร้างภาพกราฟิกจนเหมือนภาพทิวทัศน์จริงบนโลกใบนี้น่าจะเอาไปใช้เพื่อสอนปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์วิทัศน์ทดแทนการใช้ภาพถ่ายหรือวิดีโอของจริงที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากเพื่อการรวบรวมได้
Pantip.com เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Auto Tag ระบบจัดแท็กให้กระทู้อัตโนมัติ โดยใช้เทคนิควิเคราะห์คำในกระทู้ตั้งแต่ตอนโพสต์ ระบบจะอ่านข้อความแล้วคัดเลือกแท็กที่น่าจะเกี่ยวข้องมานำเสนอให้ 15 แท็ก (Pantip ใส่ได้ 5 แท็ก) เป้าหมายเพื่อช่วยให้เจ้าของกระทู้เลือกแท็กอย่างแม่นยำขึ้น และลดภาระการดูแลกระทู้ของทีมงานลง
ระบบนี้เป็นความร่วมมือของ Pantip.com, บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็กซ์ตรีมิสต์ (INOX) ผู้ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ Pantip และภาควิชาวิศกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
HPE (Hewlett Packard Enterprise) เปิดตัว Haven OnDemand แพลตฟอร์มที่ให้บริการ machine learning ที่นักพัฒนาแอพสามารถนำ API ไปใส่เพื่อเรียกใช้บริการสมองกลได้
Haven OnDemand นั้นจะให้บริการบนกลุ่มเมฆผ่านทางแพลตฟอร์ม Microsoft Azure เท่านั้น โดยมี API มากกว่า 60 ตัวให้นักพัฒนาสามารถเลือกนำไปใช้งาน ด้วย API เหล่านั้นนักพัฒนาสามารถเรียกใช้บริการ machine learning ให้ช่วยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, ภาพ, เสียง, วิดีโอ, เว็บ และข้อมูลทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ
ตัวอย่างบริการที่สามารถเรียกใช้งานได้ เช่น
กูเกิลปล่อยไลบรารี TensorFlow สำหรับการประมวลผล machine learning มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ตัวอย่างที่ให้มาเป็นการทดลองใช้งานด้วยโมเดลจัดหมวดหมู่ภาพจากโมเดลที่กูเกิลเตรียมมาให้แล้ว ตอนนี้กูเกิลจึงประกาศเปิดซอร์สโมเดล Inception-v3 ที่เปิดให้ทุกคนไปสร้างโมเดลของตัวเองได้
โค้ดและไลบรารีที่กูเกิลเปิดมาให้ จะทำให้ผู้สนใจสามารถสร้างโมเดลของตัวเอง, เทรนโมเดลเพิ่มเติมเพื่อความแม่นยำในงานบางประเภทให้ดีขึ้น, ปรับสถาปัตยกรรมใหม่ที่อาจจะทำงานได้เร็วขึ้น
เมื่อปลายปีที่แล้ว กูเกิลเปิดตัว TensorFlow ไลบรารีสำหรับการคำนวณจากข้อมูลเพื่อสร้างโมเดล Machine Learning ล่าสุดกูเกิลเปิดตัวเครื่องมืออีกตัวที่ใช้คู่กันคือ TensorFlow Serving
TensorFlow ตัวหลักออกแบบมาสำหรับสร้างโมเดล machine learning จากข้อมูลปริมาณมากๆ (training) ส่วน TensorFlow Serving ใช้หลังจากได้โมเดลเรียบร้อยแล้ว และต้องการนำโมเดลมาใช้งานต่อ (serving) โดยสามารถปรับเปลี่ยนโมเดลได้ในอนาคตถ้าต้องการ
ไมโครซอฟท์ออกเว็บแอพตัวใหม่ ในชื่อว่า celebslike.me ที่จะจับคู่ภาพที่เราอัพโหลดว่าคล้ายกับใครในบรรดาผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ที่จะถึงนี้ โดยยังคงใช้เทคโนโลยี Project Oxford เหมือนดั่งเช่นที่ผ่านๆ มา
นอกจากจะแสดงหน้าของผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ที่ใบหน้าคล้ายกับเรา (ซึ่งมีทั้งนักแสดงชายและหญิง รวมไปถึงผู้กำกับ) แล้วก็จะมีการแสดงผลของเหล่าคนดังอื่นๆ ที่หน้าตาคล้ายเราอีกด้วย
ไมโครซอฟท์อธิบายว่า การจับคู่จะอ้างอิงจากทั้งรูปทรงของจมูก, ดวงตา, รูปหน้า, กราม
ที่มา - Bing Blogs
ในระยะหลายปีมานี้ เรามักจะเห็นไมโครซอฟท์โชว์ความสามารถด้านวิเคราะห์ข้อมูลและ Machine Learning ด้วยการนำข้อมูลที่มีอยู่มาทำนายผลการแข่งขันในรายการต่างๆ อยู่บ่อยๆ ทั้งฟุตบอลโลก การแข่งกีฬา NFL ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี รวมไปถึงการทำนายผลการประกาศรางวัลออสการ์ในปี 2015 โดยสามารถทำนายผลการชนะรางวัลได้ถูกต้องถึง 8 จากที่ทำนายไว้ 10 รายการ
ปีที่แล้วเราเห็นไมโครซอฟท์เปิดเว็บภายใต้โครงการ Project Oxford มาหลายตัว เช่น HowOld.net ทายอายุจากใบหน้า และ TwinOrNot.net เปรียบเทียบคนหน้าเหมือน
ของเล่นใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ชื่อว่า What-Dog.net ทายพันธุ์สุนัขจากภาพถ่าย
แอพตัวนี้อยู่ภายใต้โครงการ Microsoft Garage ที่เปิดให้พนักงานลองพัฒนาแอพเล่นๆ ในเวลาว่าง ทีมพัฒนาใช้ระบบแยกแยะใบหน้าจาก Project Oxford ร่วมกับ machine learning เพื่อพิจารณาว่าสุนัขในภาพเป็นพันธุ์อะไร
เรียกได้ว่า Project Oxford โครงการพัฒนา API ด้านการแยกแยะภาพ-เสียงด้วยเทคนิค machine learning ของไมโครซอฟท์ ปล่อยของมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเว็บ How-Old.net ทายอายุจากใบหน้า, TwinOrNot.net เปรียบเทียบคนหน้าเหมือน และ Emotion API ทายอารมณ์ของคนในภาพถ่าย
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา IBM ประกาศโอเพนซอร์ส SystemML ซึ่งเป็นตัวแปลข้อมูลสากล (universal translator) สำหรับงานด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และ machine learning อย่างเป็นทางการ โดยเป็นแผนการต่อเนื่องที่ประกาศว่าจะสร้างระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Spark เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยจะยกให้ Apache เป็นคนดูแลโครงการนี้อย่างเป็นทางการ และจะได้ชื่อว่า Apache SystemML
หน่วยงานวิจัยของ Microsoft Asia เปิดซอร์สโค้ดซอฟต์แวร์ Distributed Machine Learning Toolkit (DMTLK) สำหรับการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยประมวลแบบกระจายศูนย์บนคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง
ไมโครซอฟท์ระบุว่าเปิดซอร์สโค้ดซอฟต์แวร์ชุดนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยด้าน machine learning มากขึ้น ในชุดซอฟต์แวร์นอกจากตัวโปรแกรมหลัก ยังมีตัวอย่างอัลกอริทึมให้อีก 2 แบบ และตัวช่วยประมวผลภาษาธรรมชาติ Distributed Word Embedding ด้วย
โค้ดทั้งหมดเขียนด้วย C++ ใช้สัญญาอนุญาตแบบ MIT ดาวน์โหลดได้จาก GitHub
ผู้สนใจรายละเอียดของโครงการ ดูได้จาก DMTK.io