ซอฟต์แวร์แห่งโลกยุคใหม่ที่มาแรงสองตัวคือ Apache Hadoop/Spark สำหรับงานประมวลผล Big Data และ TensorFlow สำหรับงาน Machine Learning
ล่าสุดทีมพัฒนาจาก Yahoo จับมันมารวมกันแล้วในชื่อว่า TensorFlowOnSpark หน้าที่ของมันคือการนำฟีเจอร์เรียนรู้ของ TensorFlow มารันอยู่บนคลัสเตอร์ Hadoop/Spark โดยตรง เพื่อไม่ให้ต้องย้ายข้อมูลระหว่างคลัสเตอร์สองระบบ ซึ่งเสียเวลาและทรัพยากรในการย้ายข้อมูลขนาดใหญ่
กูเกิลเปิดตัว TensorFlow ไลบรารีสำหรับเทรนงาน machine learning มาตั้งแต่ปลายปี 2015 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง วันนี้กูเกิลประกาศออก TensorFlow 1.0 ในงานสัมมนา TensorFlow Developer Summit แล้ว
ของใหม่ใน TensorFlow 1.0 ได้แก่
Nikon เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับ Verily บริษัทลูกในเครือ Alphabet ที่ทำธุรกิจด้าน Life Science เพื่อพัฒนาเทคนิค machine learning ใช้วิเคราะห์ภาพเรตินาของนัยน์ตา เพื่อแก้ปัญหาโรคทางตาที่เกิดจากเบาหวาน
Verily เริ่มต้นจากคอนแทคเลนส์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ส่วน Nikon มีบริษัทลูกชื่อ Optos ทำเครื่องมือการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่ายดวงตาอยู่แล้ว (สโลแกนของ Optos คือ The Retina Company)
Evernote ประกาศปรับนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) ใหม่ อนุญาตให้พนักงานบางคนของบริษัทสามารถเข้าถึง "ข้อมูล" ในโน้ตของผู้ใช้ เพื่อนำไปพัฒนาระบบ machine learning ได้
Evernote ระบุว่าเป้าหมายคือปรับปรุงเทคโนโลยี machine learning ของตัวเองให้แม่นยำยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้พนักงานที่เป็นมนุษย์เข้ามาตรวจสอบความแม่นยำของ machine learning อีกชั้น บริษัทยืนยันว่าจะจำกัดจำนวนพนักงานที่เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้เท่าที่จำเป็น ตรวจสอบประวัติของพนักงาน เก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าที่นำมาใช้อย่างเคร่งครัด
Diabetic Retinopathy (DR) หรือภาวะเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงจะสูญเสียการมองเห็น ซึ่งสามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ก็จะถูกนัดตรวจตาเป็นประจำทุกปี
ด้วยเหตุนี้ทีม DeepMind ของ Google จึงวิจัยและประสบความสำเร็จในการพัฒนาอัลกอริทึม Deep Learning สำหรับค้นหาอาการหรือตัวบ่งชี้ที่จะก่อให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ จากภาพถ่ายดวงตาของผู้ป่วยเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการตรวจของจักษุแพทย์
Google เปิดเผยการพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า Rapid and Accurate Image Super-Resolution - RAISE สำหรับ Machine Learning แกไ้ขและแปลงภาพความละเอียดต่ำให้มีความละเอียดที่สูงขึ้น และใช้เวลาที่น้อยกว่าเทคนิคในปัจจุบัน
เทคนิคที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเรียกว่า Upsampling ที่อาศัยค่าสีและองค์ประกอบต่างๆ ของพิกเซลมาประกอบสร้างพิกเซลใหม่ขึ้นเป็นเส้นตรง อย่างไรก็ตามถึงแม้วิธีนี้จะเร็วแต่ผลที่ออกมา ก็ยังไม่ใช่ภาพที่มีรายละเอียดเพียงพอ
เมื่อเดือนกันยายน เราเพิ่งเห็นข่าว Google Translate เริ่มนำเทคนิค Neural Networks ช่วยแปล เริ่มจากภาษาจีนเป็นอังกฤษ วันนี้กูเกิลขยายผลเทคนิค Neural Machine Translation ไปยังภาษาอื่นๆ แล้ว
ภาษาที่ได้ระบบการแปลแบบใหม่ตอนนี้มี 8 ภาษาคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน โปรตุเกส จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ตุรกี โดยรองรับทั้งการแปลไป-กลับในทุกคู่ภาษา กูเกิลบอกว่าภาษาทั้ง 8 ครอบคลุมการใช้งานประมาณ 1/3 ของประชากรโลก และคิดเป็น 35% ของข้อความที่ส่งเข้ามาแปลกับ Google Translate แต่เป้าหมายในระยะยาวก็คือขยายผล Neural Machine Translation ไปยังภาษาทั้งหมด 103 ภาษาที่ Google Translate รองรับ
Google อัพเดต Google Play Music เวอร์ชันใหม่ที่มาพร้อมอินเทอร์เฟสแนะนำเพลย์ลิสต์เพลงโดย Machine Learning ที่อิงจากสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ สถานที่ กิจกรรมที่กำลังทำ รวมถึงประวัติเพลงเก่าๆ ที่ผู้ใช้เคยฟังมาด้วย
นอกจากนี้ตัวแอพ Play Music เวอร์ชันใหม่ยังมาพร้อมฟีเจอร์ดาวน์โหลดเพลงให้ผู้ใช้อัตโนมัติ ไว้ฟังเวลาไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วย
ที่มา - The Keyword
สำหรับงานด้านแอนิเมชั่น และภาพยนตร์ Adobe ก็อัพเดตโปรแกรม Adobe Premiere Pro CC ให้มีฟีเจอร์รับรู้งาน VR อัตโนมัติ หรือ auto-aware virtual reality ให้โปรแกรมรับรู้ได้เองว่า ควรตั้งค่าแบบไหนให้เหมาะกับงานด้านสามมิติ การอัพเดตนี้ยังรองรับการทำงานเป็นทีม หรือ Team Projects ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ทำขึ้นมาเพื่อลูกค้าองค์กร
นอกจากรับรู้งาน VR แล้ว ยังใช้เอนจิ้นเรนเดอร์ภาพสามมิติที่ทำได้เร็วขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มพาเนลโซเชียลเข้ามา สามารถแชร์งานลงโซเชียลต่างๆ ได้
IBM Watson เปิดตัวบริการใหม่ 2 ตัวสำหรับองค์กรที่ต้องการประมวลผลข้อมูลในยุค cognitive ได้แก่ IBM Watson Data Platform และ IBM Watson Machine Learning Service
IBM Watson Data Platform เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ต่อในอนาคต ตัวแกนกลางของระบบคือ Apache Spark ที่รันบน IBM Cloud และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลบางอย่างที่ IBM เคยไปลงทุนไว้ เช่น The Weather Company เพื่อนำข้อมูลไปผสมผสานกับข้อมูลที่องค์กรมีได้
ตัว Data Platform รองรับภาษาโปรแกรมหลากหลาย ทั้ง SQL, Python, R, Java, Scala และเชื่อมต่อกับบริการของพาร์ทเนอร์รายอื่นๆ เช่น Keen IO, RStudio ได้ด้วย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Brown เผยแพร่การใช้กล้องจุลทรรศน์และระบบ Machine Learning ในการแยกแยะเซลล์ epithelial ออกจากเซลล์ mesenchymal ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีโอกาสจะก่อให้เกิดเนื้อร้ายและมะเร็ง
ทีมวิจัยระบุว่าถึงแม้เซลล์ 2 ประเภทนี้จะมีความแตกต่างเชิงกายภาพที่เห็นได้ชัดอยู่ แต่หลายๆ ครั้งความแตกต่างนี้ก็เล็กน้อยมากจนแทบแยกไม่ออก ขณะที่ระบบ Machine Learning ถูกป้อนข้อมูลของทั้ง 2 เซลล์ รวมถึงภาพระหว่างที่เซลล์ epithelial กำลังเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ mesenchymal ผลปรากฎว่าอัลกอริทึมสามารถแยกแยะและจำแนกเซลล์ 2 ชนิดออกจากกันได้แม่นยำถึง 92% รวมถึงสามารถแยกแยะเซลล์ mesenchymal ที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยการใช้ยาได้เช่นกัน
แอปเปิลไล่ซื้อบริษัทด้าน machine learning อย่างเงียบๆ เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวซื้อบริษัท Turi มาแล้วครั้งหนึ่ง ล่าสุดมีข่าวว่าแอปเปิลซื้อบริษัท Tuplejump มาอีกราย
บริษัท Tuplejump ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และตอนนี้ก็ปิดเว็บไซต์ไปเรียบร้อยแล้ว แต่จากข้อมูลในอดีต Tuplejump พัฒนาระบบฐานข้อมูลโอเพนซอร์สชื่อ FiloDB ที่ใช้สำหรับงานด้านวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่ง TechCrunch อ้างแหล่งข่าววงในว่าแอปเปิลสนใจเทคโนโลยีตัวนี้ เลยตัดสินใจซื้อ Tuplejump เพื่อดึงทีมงานเข้ามาเป็นพนักงาน
ทีมวิจัยจาก Stanford พัฒนาอัลกอริทึมแบบ machine learning ใช้ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากดาวเทียมมาสร้างแผนที่ความยากจนที่มีข้อมูลแม่นยำขึ้นจากการใช้วิธีสร้างแบบเดิม
กล่าวถึงแผนที่ความยากจน (poverty map) กันก่อน โดยทั่วไปแล้วคือแผนที่แสดงว่าประชากรในแต่ละพื้นที่นั้นมีรายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละวันเป็นเงินเท่าไหร่ แผนที่นี้ใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งในแง่การบริหารปกครองของหน่วยงานภาครัฐท้องที่ต่างๆ เพื่อกระจายความเจริญให้ถึงแหล่งที่ต้องการอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้น แผนที่ความยากจนยังเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรอีกจำนวนมากที่ต้องการใช้เพื่อวางแผนการให้ความช่วยเหลือผู้คนทั่วทุกมุมโลกได้อย่างเหมาะสม
จากข่าวทำเนียบขาวเปิดให้ส่งข้อความถึงประธานาธิบดีทาง Facebook Messenger ซึ่งผู้ใช้จะได้พูดคุยกับแชตบ็อต ใน Messenger ล่าสุดมีคนออกมาวิจารณ์ว่า เจ้าแชตบ็อตนี้ไม่เห็นจะอัจฉริยะตรงไหน
หลังจากที่เคยทายผล รางวัลออสการ์ (2015, 2016), การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล NFL และฟุตบอลโลก 2014 ในครั้งนี้ Bing กลับมาอีกครั้ง โดยรอบนี้ได้ขยายการทายผลมาถึงวงการการแข่งขันเกมแล้ว ในรายการ The International 2016 ที่กำลังแข่งอยู่ในขณะนี้
ในบล็อกของ Bing ได้เผยไว้ว่า เนื่องด้วยการแข่งขันของเกม Dota 2 แต่ละทีม มีการเปลี่ยนผู้เล่นอยู่เรื่อยๆ ทำให้ต้องใช้ข้อมูลและสถิติจากหลายๆ ส่วน ทั้งของทีมและของผู้เล่นในการประมวลผล
เว็บไซต์ GeekWire รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันว่า แอปเปิลเข้าซื้อกิจการสตาร์ตอัพด้าน AI ชื่อ Turi โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่า แต่แหล่งข่าวคาดว่าน่าจะอยู่ราว 200 ล้านดอลลาร์
Turi เป็นสตาร์ตอัพที่สร้างแพลตฟอร์ม machine learning ให้นักพัฒนาใช้งานอีกที ผลิตภัณฑ์ของ Turi เป็นชุดเครื่องมือสำหรับทำงานด้าน machine learning ที่พบได้บ่อย เช่น สร้างระบบ recommendation, ตรวจสอบว่าข้อมูลสองชุดตรงกัน (data matching) หรือวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกจากข้อความ (sentiment)
Turi ก่อตั้งโดย Carlos Guestrin อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Washington และมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองซีแอทเทิล คาดว่าหลังการซื้อกิจการ ทีมงานของ Turi จะยังอยู่ที่เดิมต่อไป
นักวิจัยจาก Yahoo ใช้เทคนิค Machine Learning ตรวจจับคำหยาบคายตามโซเชียล โดยใช้แหล่งข้อมูลจากคอมเมนท์ข่าวสองแหล่งคือ Yahoo Finance และ Yahoo News ผลก็คือซอฟต์แวร์สามารถเรียนรู้และตรวจจับคำหยาบคายได้ดีถึง 90%
ตามโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ เวลามีข้อความสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) จะใช้วิธีให้ผู้ใช้ report ข้อความนั้น หรือไม่ก็มีคนมอนิเตอร์ แต่วิธีใหม่ที่ใช้ Machine Learning ตรวจจับและเปลี่ยนคำหยาบคายนั้นให้เป็นคำที่อ่านไม่รู้เรื่องแทน ให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่ามาก
ปีที่แล้ว Zendesk ผู้ให้บริการระบบ CRM ออนไลน์ นำเทคโนโลยี machine learning มาพยากรณ์อารมณ์ของลูกค้า ล่าสุด Zendesk ขยายความสามารถด้าน machine learning ไปอีกระดับ โดยสามารถตอบคำถามลูกค้าอัตโนมัติ (Automatic Answers) ได้แล้ว
ฟีเจอร์ Automatic Answers จะอ่านคำถามที่ลูกค้าส่งเข้ามา (ตอนนี้ยังได้เฉพาะทางอีเมล) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ รวมถึงวิธีการดำเนินงานช่วยเหลือในอดีต แล้วตอบกลับไปยังลูกค้า ถ้าหากลูกค้าพอใจก็ถือว่ากรณีนั้นจบ แต่ถ้าลูกค้าระบุว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เรื่องจะถูกส่งไปยังพนักงานที่เป็นมนุษย์ตามปกติ
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อต้นปี ไมโครซอฟท์เปิดตัวโครงการฝึก AI ให้เล่นเกม Minecraft ในชื่อ Project AIX ล่าสุดไมโครซอฟท์เปลี่ยนชื่อเป็น Project Malmo และเปิดซอร์สโค้ดทั้งหมดแล้ว
Project Malmo ถูกพัฒนาโดยศูนย์วิจัยของไมโครซอฟท์ที่เมืองเคมบริดจ์ เป้าหมายของโครงการเพื่อการวิจัยเรื่อง AI ว่าจะสามารถเรียนรู้ "โลกจำลอง" ในเกม Minecraft ได้อย่างไร ตอนแรกเริ่ม AI จะไม่รู้จักอะไรในเกม Minecraft เลย แต่จะค่อยๆ เรียนรู้จากการลองผิดลองถูก
คนที่หน้าตาเหมือนโจรเป็นยังไง? ต้องหนวดเคราเฟิ้ม ผมกระเซอะกระเซิงหรือเปล่า? ใบหน้าน่าจะมีรอยแผลเป็น ผิวหน้าดูหยาบกร้านไหม? ริ้วรอย, แววตา, สีหน้าล่ะ เป็นอย่างไร? เรื่องเหล่านี้คนเราอาจคาดคะเนแตกต่างกันไปตามปูมหลังและข้อมูลที่เคยผ่านหูผ่านตามาสำหรับแต่ละคน และปัญญาประดิษที่ชื่อ Faception ก็มีคำตอบสำหรับคำถามนี้ในแบบฉบับของตัวมันเองเช่นกัน
Faception เป็นผลงานการพัฒนาโดยสตาร์ทอัพชื่อเดียวกันจากอิสราเอล พวกเขาอ้างว่าเทคโนโลยี Faception นั้นมีระบบ machine learning ที่ผ่านการเรียนรู้ฐานข้อมูลภาพถ่ายใบหน้าของคนจำนวนมาก จนทำให้มันสามารถวิเคราะห์ภาพใบหน้าของบุคคลใดๆ เพื่อระบุบุคลิกลักษณะของบุคคลนั้น
Twitter ได้ประกาศเข้าซื้อ Magic Pony Technology สตาร์ทอัพด้าน machine learning จากลอนดอนที่เน้นในด้าน visual processing โดยจากคำกล่าวของ Twitter ที่บอกไว้ในบล็อกคือ Magic Pony นั้นทำ "อัลกอริทึมที่สามารถเข้าใจลักษณะของภาพวาด"
พนักงานของ Magic Pony นั้นจะเข้ามาทำงานกับ Twitter ในส่วนของ Twitter Cortex ซึ่งเป็นทีมงานด้าน machine learning โดยพนักงานเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญด้าน computer vision, high-performance computing และ computational neuroscience ซึ่งบุคคลเหล่านี้เคยทำงานอยู่ในแล็บดัง ๆ ของโลกมาแล้ว
Andrew Ng หนึ่งในผู้บุกเบิกสายวิชา Deep Learning ที่ปัจจุบันทำงานอยู่ Baidu Research ประกาศเขียนหนังสือเล่มใหม่ Machine Learning Yearning ที่ระบุว่าจะช่วยลดเวลาในการทำความเข้าใจการสร้างระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง
ลำพัง Ng เขียนหนังสือเล่มใหม่ก็คงเป็นข่าวอยู่แล้ว แต่เขากลับเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ด้วยการเปิดลงทะเบียนรับร่างหนังสือฟรี โดยจะได้รับทีละบทเมื่อเขาเขียนเสร็จไปเรื่อยๆ
เขาระบุว่าหนังสือจะหนาเพียงประมาณ 100 หน้า และแต่ละบทจะสั้นๆ เพียง 1-2 หน้าเท่านั้น
ลงทะเบียนรับหนังสือได้ที่เว็บ mlyearning.org
ที่มา - Facebook: Andrew Ng
Google ประกาศเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนา Machine Learning ในทวีปยุโรป ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อดึงตัวผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยดังๆ ในยุโรปมาร่วมงานได้ง่ายมากขึ้น
Google ระบุว่าศูนย์นี้จะเน้นไปที่การพัฒนา Machine Intelligence หรือการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ Machine Learning รวมไปถึงการใช้งานจริง, Natural Language Processing & Understanding ซึ่งนักวิจัยจะได้ทำงานร่วมกับนักภาษาศาสตร์ เพื่อพัฒนาการเข้าใจภาษาธรรมชาติของปัญญาประดิษฐ์ให้มากขึ้น และ Machine Perception หรือการทำความเข้าใจและตีความภาพ, เสียง, วิดีโอและเพลงของปัญญาประดิษฐ์
ข่าวสั้นครับ The Weather Company บริษัทลูกของ IBM ที่ได้มาจากการซื้อกิจการในปีที่แล้ว ประกาศเปิดตัว Deep Thunder ระบบพยากรณ์อากาศที่บริษัทพัฒนาร่วมกับ IBM Research โดยอาศัยหลักการของ machine learning เข้ามาช่วยพยากรณ์สภาวะอากาศสำหรับท้องถิ่น ในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ทำให้วางแผนธุรกิจได้ดีขึ้น
Deep Thunder เป็นระบบที่ใช้ machine learning เข้ามาพยากรณ์อากาศจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ และนำมาประเมินผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ อย่างเช่น จำนวนลูกค้าที่อาจจะลดลง หรือการบริหารสินค้าที่จำหน่าย ตลอดจนถึงในกรณีที่บริษัทประกันภัย ต้องประเมินความเสี่ยงและเบี้ยประกัน สามารถใช้บริการของ Deep Thunder เพื่อประเมินสภาพอากาศและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง
TensorFlow เฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาระบบ machine learning ออกรุ่น 0.9.0 RC0 รองรับแพลตฟอร์มเพิ่มเติมได้แก่ Python 3.5 และ iOS เข้ามาแล้ว จากเดิมที่รองรับเฉพาะแอนดรอยด์
รุ่น 0.9.0 RC0 นี้มีนักพัฒนาภายนอกกูเกิลส่งโค้ดเข้าโครงการแล้ว 46 คน และตอนนี้เองก็ยังมีแพตช์ส่งเข้ามาเรื่อยๆ
การที่ TensorFlow รองรับแพลตฟอร์มที่หลากหลายขึ้นแบบนี้ในอนาคตถ้าใครจะ train โมเดลเพื่อไปใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ก็คงตัดสินใจกันได้ง่ายขึ้น
ที่มา - TensorFlow, CNET