ในวันนี้สองยักษ์ใหญ่ต่างวงการอย่างโตโยต้าและไมโครซอฟท์ได้ประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนา Smart-Car โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดจำหน่ายใน 170 ประเทศเริ่มต้นปีหน้า
โตโยต้าประกาศว่าเทคโนโลยีที่จะนำเสนอนี้เป็นรถยนต์แบบไฮบริดซึ่งเชื่อมต่อกับระบบกลุ่มเมฆ Windows Azure ของไมโครซอฟท์ ทำให้ผู้ใช้งานตรวจสอบระดับพลังงานไฟฟ้าสะสมและคอยเตือนเมื่อถึงเวลาต้องชาร์จไฟเพิ่ม ตลอดจนถึงการสตรีมเพลง แผนที่ ระบบจัดการอัจฉริยะเช่นสั่งเปิดแอร์ก่อนถึงบ้าน และรวมถึงการดึงข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ขณะเดินทาง ซึ่งเสมือนหนึ่งรถยนต์จะเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือที่มี "แอพ" ต่างๆ ให้เลือกใช้งาน
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2010 ไมโครซอฟท์ได้เปิดบริการ Azure Services Platform อย่างเป็นทางการ (ซึ่งเราคุ้นกับมันในชื่อ Windows Azure มากกว่า แต่ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Azure Services Platform นะครับ เพราะมีอย่างอื่นอย่าง SQL Azure ด้วย)
เวลาผ่านมาแล้ว 1 ปี ไมโครซอฟท์รายงานว่ามีลูกค้าแบบเสียเงินจำนวน 31,000 ราย (เข้าใจว่านับเป็นองค์กรนะครับ ข่าวไม่ได้บอกละเอียด) และมีองค์กรใหญ่ๆ อย่าง T-Mobile (ทำแอพบน WP7 ด้วย Azure) และ Xerox (ทำระบบ cloud print) มาเข้าร่วมด้วย
ไมโครซอฟท์ได้ประกาศสมัครงานสองตำแหน่ง (แต่ต่อมาประกาศดังกล่าวก็ถูกลบหายไปเฉยๆ) ประกาศแรกระบุว่าต้องการคนมาร่วมพัฒนาบริการบน Windows Azure และรวมบริการดังกล่าวกับบริการออนไลน์อื่นๆ ของบริษัทและยูทิลิตี้แบ็คอัพใน Windows 8 เข้าด้วยกัน อีกประกาศหนึ่งระบุว่าต้องการคนมาบริการบน Windows Live และรวมบริการบน Windows Live ที่มีเข้ากับ Windows 8
วันแรกของงาน Professional Developer Conference 2010 (PDC10) ไมโครซอฟท์ได้พูดถึง IE9, Windows Phone 7, Windows Azure, Windows 7 สรุปความได้ดังนี้
กระแส Cloud Computing เป็นกระแสที่ค่อนข้างใหญ่ในโลกหน่วยงานระดับองค์กร Azure ของไมโครซอฟท์เองก็เป็นหนึ่งในกระแสนี้ มันเป็นบริการที่ถูกมองว่ามาแข่งกับ Google App Engine อย่างไรก็ตาม Azure เองไม่มีบริการฟรี เลยมีคำถามกันว่าจะแข่งกับ App Engine ที่ให้ฟรีค่อนข้างเยอะได้ และวันนี้คำตอบก็ออกมาเมื่อไมโครซอฟท์เปิด Windows Azure Platform Appliance (ต่อไปจะเรียกว่า Azure Appliance) ให้บริษัทต่างๆ สามารถติดตั้ง Azure ได้ในหน่วยงานกันเอง
ไมโครซอฟท์จับมือฟูจิตสึร่วมกันลุยตลาด cloud computing หรือ "บริการกลุ่มเมฆ" ทั้งนี้ ฟูจิตสึได้เตรียมศูนย์ข้อมูลสำหรับติดตั้ง Windows Azure ซึ่งเป็นแก่นของบริการกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์ และภายในสิ้นปีงบประมาณนี้ ฟูจิตสึจะก่อตั้งศูนย์ข้อมูลสำหรับบริการกลุ่มเมฆอีกหลายแห่ง ทั้งในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา โดยฟูจิตสึวางแผนทุ่มงบถึง 1.1 พันล้านเหรียญสำหรับธุรกิจบริการกลุ่มเมฆ รวมไปถึงงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริการกลุ่มเมฆอีกด้วย
ที่มา - MarketWatch
บริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์ใต้แบรนด์ Azure (ตอนนี้มี Windows Azure กับ SQL Azure) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วใน 21 ประเทศ (ไม่มีประเทศไทย)
คำว่า "เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ" แปลว่าเริ่มเก็บเงินค่าใช้งานครับ จากเดิมที่ปล่อยให้ทดสอบฟรีกันมาได้สักระยะ ความเห็นของ Roger Jennings ผู้เชี่ยวชาญด้าน cloud computing ซึ่งลองเอาโปรแกรมไปรันค้างไว้บน Azure บอกว่าเขาได้ uptime 100% ติดต่อกันหลายสัปดาห์ แสดงว่ามีเสถียรภาพอยู่ตัวสำหรับใช้งานจริงได้แล้ว
ในลำดับถัดไป ไมโครซอฟท์จะเพิ่มเว็บเซอร์วิส Azure AppFabric สำหรับช่วยพัฒนาโปรแกรมบน Azure และเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ เช่น private cloud เข้ามา
ไมโครซอฟท์ปรับผังองค์กรในสายเซิร์ฟเวอร์ใหม่อีกครั้ง โดยโยกกลุ่ม Windows Server & Solutions มารวมกับ Windows Azure แล้วตั้งชื่อใหม่เป็น Server & Cloud Division
ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีหน่วยย่อยภายในบริษัททั้งหมด 5 สาย (รายชื่อ) สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นในสาย Server and Tools Business (STB) เท่านั้น ซึ่งภายในสายนี้แยกย่อยเป็น Tools (Visual Studio) และ Server & Cloud Division ที่เพิ่งตั้งใหม่ครั้งนี้
สำหรับ Server & Cloud Division ประกอบด้วยหน่วยงานเดิม 3 ส่วนคือ Azure Development, Azure Marketing และ Windows Server and Solutions
หลังจากปล่อยให้ Amazon ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาด cloud computing ได้ระยะหนึ่ง ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวบริการ cloud ของตัวเองในชื่อ Windows Azure ซึ่งเปิดตัวในงาน Professional Developers Conference 2008 เมื่อปีที่แล้ว
ในงาน Professional Developers Conference 2009 ที่เพิ่งเริ่มไปเมื่อวันนี้ Ray Ozzie แห่งไมโครซอฟท์ก็ได้ประกาศแผนการในอนาคตของ Windows Azure ว่าจะเริ่มเปิดบริการเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังในวันขึ้นทศวรรษใหม่ 1 มกราคม 2010
ฟังชื่อไมโครซอฟท์กับ Eclipse อาจไม่ค่อยเชื่อมโยงด้วยกันนัก แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์จับมือบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดย่อม สร้างปลั๊กอินของ Eclipse ที่ทำงานกับเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ได้ดีขึ้น
อย่างแรกคือไมโครซอฟท์จ่ายเงินสนับสนุนบริษัท Soyatec จากฝรั่งเศส (และมีออฟฟิศอยู่ในประเทศจีนด้วย) สร้างปลั๊กอินของ Eclipse สำหรับ Windows Azure และ Silverlight ในชื่อ windowsazure4e และ eclipse4sl ตามลำดับ ทั้งสองโครงการเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Apache และเริ่มออกรุ่นจริงในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้
หากใครยังจำกันได้ เมื่อสมัยซิลเวอร์ไลท์ออกมาใหม่ๆ ไมโครซอฟท์ได้เปิดบริการฟรีอย่างซิลเวอร์ไลท์สตรีมมิ่ง (Sliverlight Streaming) ที่ให้อัพโหลดคอนเทนต์ขึ้นมาทำสตรีมมิ่งบนซิลเวอร์ไลท์ได้ฟรี บนพื้นที่ถึง 10GB ต่อหนึ่งบัญชี ล่าสุดไมโครซอฟท์กำลังจะปิดบริการดังกล่าว (แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะปิดวันไหน) แล้วจะเปลี่ยนบริการเสียเงิน โดยมี Azure ทำงานอยู่เบื้องหลังก่อนสิ้นปีนี้
สำหรับใครที่ยังใช้อยู่ รีบไปเอาคอนเทนต์ออกมาก่อนที่บริการจะถูกปิดตัวลง ดูรายละเอียดได้ที่ Live Services
ที่งาน MIX09 ซึ่งเป็นงานสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บและมัลติมีเดียประจำปีของไมโครซอฟท์ จัดขึ้นที่ลาสเวกัสและเริ่มงานไปเมื่อวานนี้ ไมโครซอฟท์ได้ประกาศข่าวของเทคโนโลยีหลายตัวดังนี้
จากข่าวเก่า ที่ไมโครซอฟท์เตรียมเปิดตัว Cloud Service ตัวใหม่ ตอนนี้ไมโครซอฟท์ได้เผยชื่ออย่างเป็นทางการออกมาแล้วที่งาน Professional Developers Conference 2008 นั่นคือ Windows Azure
บริการดังกล่าวจะมีที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์ข้อมูลของไมโครซอฟท์เอง และสนับสนุนเทคโนโลยีหลักๆ ของไมโครซอฟท์เช่น .NET Framework และ Visual Studio 2008 ซึ่งจะทำให้นักพัฒนาที่คุ้นเคยซอฟต์แวร์เหล่านี้ปรับตัวมาใช้ Cloud ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังในอนาคตยังมีแผนที่จะสนับสนุนเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานอื่นๆ เช่น Eclipse, Ruby, PHP และ Python ด้วย