BMW เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บนแอพ BMW ConnectedDrive สำหรับ iPhone รองรับการใช้งานร่วมกับรถยนต์ BMW iPerformance ได้แก่
ความเคลื่อนไหวสำคัญของ VMware ในปี 2017 คือ VMware Cloud on AWS ที่เป็นการรันซอฟต์แวร์ของ VMware บนคลาวด์ AWS ช่วยให้ลูกค้าองค์กรที่นิยมใช้เทคโนโลยีฝั่ง VMware บน private cloud อยู่แล้ว สามารถนำงานข้ามไปรันบน public cloud ได้ง่ายขึ้น
ล่าสุด Pat Gelsinger ซีอีโอของ VMware ให้สัมภาษณ์ว่าเขาจะเปิดบริการแบบเดียวกันกับคลาวด์ยี่ห้ออื่นๆ ที่ระบุชื่อคือ Microsoft Azure และ Google Cloud Platform (GCP) ด้วย
Gelsinger ระบุว่าได้รับการสอบถามจากลูกค้าในเรื่องนี้ และบริษัทจะตอบสนองด้วยการขยายบริการไปยัง Azure และ GCP ต่อไป แต่ก็ยังไม่ระบุว่าจะเปิดบริการในช่วงไหน
Red Hat ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ นำแพลตฟอร์มจัดการแอพพลิเคชัน OpenShift ไปให้บริการบนคลาวด์ Azure
OpenShift เป็นแพลตฟอร์มจัดการแอพพลิเคชันสำหรับยุคคลาวด์ ตัวมันเองประกอบด้วย Docker, Kubernetes, Red Hat Atomic และเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้งานสามารถรันได้ทั้งแบบ on premise และบนคลาวด์ของ Red Hat (ในชื่อ OpenShift Online)
ที่ผ่านมา Red Hat มีบริการนำ OpenShift ไปรันบนคลาวด์หลายยี่ห้อ แต่ความร่วมมือครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้ให้บริการคลาวด์อย่างไมโครซอฟท์ เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมบริหาร OpenShift ร่วมกับ Red Hat ด้วย
ถึงแม้กล้อง Kinect หยุดผลิตไปแล้ว แต่เทคโนโลยีกล้องวัดระยะลึกของ Kinect กลับยังไม่หายไปไหน ล่าสุดมันถูกนำกลับมาอีกครั้งในชื่อ Project Kinect for Azure
Project Kinect for Azure เป็นชุดฮาร์ดแวร์ที่ประกอบด้วยกล้องและเซ็นเซอร์วัดระยะลึกของ Kinect, กล้องปกติความละเอียด 4K และไมโครโฟน 360 องศา แต่เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากคอนซูเมอร์ มาเป็นนักพัฒนาที่ต้องการสร้างเซ็นเซอร์สำหรับงาน IoT และประมวลผลด้วย AI บนคลาวด์
ไมโครซอฟท์รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ตามปีการเงินบริษัท 2018 (มกราคม-มีนาคม) รายได้รวม 26,819 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 7,424 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Satya Nadella กล่าวว่าผลการดำเนินงานที่ออกมาสะท้อนความเชื่อมั่นของลูกค้าและองค์กรต่อ Microsoft Cloud ซึ่งไมโครซอฟท์ยังคงมุ่งมั่นกับนวัตกรรมสำคัญเพื่อการเติบโต ทั้งในหมวด โครงสร้างพื้นฐาน, AI, ผลิตภัณฑ์ Productivity และแอพพลิเคชั่นธุรกิจ เพื่อส่งมอบคุณค่าที่แตกต่างกับลูกค้า
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Sphere โซลูชันครบวงจรสำหรับ IoT ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เพราะไมโครซอฟท์ทำเองหมดตั้งแต่ออกแบบชิปยันคลาวด์
Azure Sphere ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
เดือนที่แล้วไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Databricks บริการใหม่ในเครือ Azure สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
Azure Databricks เป็นการนำ Apache Spark มารันบนคลาวด์ ความน่าสนใจคือบริการตัวนี้เป็นความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับบริษัท Databricks ซึ่งก่อตั้งโดยหนึ่งในผู้สร้าง Apache Spark ด้วย
จุดเด่นของ Azure Databricks คือการขยายตัวแบบไม่จำกัดบนโครงสร้างพื้นฐานของไมโครซอฟท์ และการเชื่อมต่อกับบริการข้อมูลตัวอื่นในตระกูล Azure เช่น Azure Cosmos DB, Azure Data Lake Store, Azure IoT Hub เพื่อรวมข้อมูลหลายประเภทหลายแหล่ง มารันวิเคราะห์ใน Azure Databricks อีกทีหนึ่ง
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายบริการ Microsoft Cloud ไปในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นครั้งแรก ซึ่งจะมาครบทั้ง Azure, Office 365 และ Dynamics 365 โดยดาต้าเซ็นเตอร์ของไมโครซอฟท์จะตั้งอยู่ที่ Abu Dhabi และ Dubai และจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2019
ตะวันออกกลางถือเป็นภูมิภาคที่การใช้งานคลาวด์ยังตามหลังภูมิภาคอื่นทั่วโลก ซึ่งเท่ากับว่ายังคงมีพื้นที่ให้ผู้ให้บริการเติบโตอีกมาก โดยก่อนหน้านี้ AWS ก็ประกาศแผนการให้บริการในภูมิภาคนี้เช่นกัน โดยตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ไว้ที่บาห์เรนและจะเริ่มให้บริการช่วงต้นปีหน้า ส่วน Google ยังไม่มีท่าทีใดๆ
Microsoft เปิดตัวบริการเพิ่มเติมบน Azure Government บริการคลาวด์ที่เน้นจับกลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการใช้บริการคลาวด์โดยเฉพาะในงาน Microsoft Government Tech Summit ที่จัดขึ้นใน Washington D.C.
สำหรับบริการแรกที่จะเพิ่มเข้ามาใน Azure Government คือ Azure Stack บริการชุดซอฟต์แวร์ให้บริการ IaaS และ PaaS แบบเดียวกับ Azure ในศูนย์ข้อมูลขององค์กรเอง โดยบริการนี้ออกแบบให้หน่วยงานที่ต้องการใช้งานเซิร์ฟเวอร์แบบ on-premise อย่างเช่นในหน่วยงานด้านการทหาร และสามารถแชร์ข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มได้ดี
Microsoft ได้เปิดตัวเครื่องมือสำหรับคลาวด์ใหม่บน Microsoft Azure เน้นจับกลุ่มบริษัทด้านสุขภาพ โดยเน้นเรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลทางการแพทย์ และเทคโนโลยีประมวลผลที่เน้นจัดการข้อมูลทางการแพทย์โดยเฉพาะ
สำหรับเครื่องมือใหม่ของ Microsoft ในด้านการประมวลผลการแพทย์ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์ยีนเพื่อการทำนายด้านการแพทย์และช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การรักษาอย่างเช่นมะเร็ง ปัจจุบันเริ่มใช้แล้วใน St. Jude Children’s Research Hospital ซึ่งจะมีการรายงานกรณีมะเร็งที่เป็นกรณีหายากมาก ๆ ในงาน American Association for Cancer Research ที่จะจัดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ด้วย
The Wall Street Journal รวบรวมตัวเลขจากนักวิเคราะห์หลายค่าย พบว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการรายใหญ่ ยังไม่มีแนวโน้มชะลอตัวลงแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามยังมีการเติบโตที่เพิ่มสูงมากด้วย
RBC Capital Markets ประเมินว่ามีการลงทุนด้านคลาวด์จากผู้ให้บริการรายใหญ่ 19 ราย รวมกว่า 63,800 ล้านดอลลาร์ ในปี 2017 เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2016 และในปีนี้แนวโน้มจะลงทุนเพิ่มขึ้นอีก 27% หรือมากกว่า 81,000 ล้านดอลลาร์
ไมโครซอฟท์รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่สอง ตามปีการเงินบริษัท 2018 (ตุลาคม-ธันวาคม) มีรายได้รวม 28,918 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 7,498 ล้านดอลลาร์ แต่หากรวมรายการพิเศษจากการปรับโครงสร้างภาษีสหรัฐ 13,800 ล้านดอลลาร์ ก็จะมีค่าใช้จ่ายครั้งเดียวซึ่งทำให้ตัวเลขสุทธิขาดทุน
ซีอีโอ Satya Nadella กล่าวว่าผลงานในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นตัวบอกได้ดีถึงคุณค่าบริษัทส่งมอบให้กับลูกค้าในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้การลงทุนใน IoT, Data และ AI ทั้งในคลาวด์และ Edge จะทำให้ไมโครซอฟท์เติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกในอนาคต
Microsoft Education Thailand ประกาศจัดงาน Azure Inspire 2018 : Geek-a-Thon การแข่งขัน Hackathon ครั้งแรกสำหรับนักศึกษาป.ตรี ชิงทุนการศึกษา พร้อมรับ Certificate และ Azure Credit ฟรี ในวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2561 ที่อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Azure Inspire 2018 เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนน้องๆ นักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ Microsoft Azure และเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านสิทธิพิเศษการใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับนักศึกษาจากไมโครซอฟท์
Microsoft เปิดตัวฟีเจอร์ Accelerated Networking อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ทดสอบแบบเบต้ามากว่าปีครึ่ง โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ใช้คลาวด์ Microsoft Azure สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้เร็วสุด 30Gbps
Azure เปิดปล่อยสตอเรจระดับ Archive ที่ถูกกว่าแบบ Cool ถึง 5 เท่า กดราคาเหลือ 0.002 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ต่อเดือน หรือเทราไบต์ละ 2 ดอลลาร์ต่อเดือนเท่านั้น
ราคาของ Azure Archive นับว่าถูกที่สุดในตอนนี้ Google Cloud Coldline นั้นอยู่ที่ 7 ดอลลาร์ต่อเทราไบต์ต่อเดือน หรือ Amazon Glacier ก็อยู่ที่ 4 ดอลลาร์ต่อเทราไบต์ต่อเดือน แม้แต่ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจรายเล็กอย่าง Backblaze ก็ยังคิดราคา 5 ดอลลาร์ต่อเทราไบต์ต่อเดือน
ความพยายามของ AMD เพื่อกลับมาในตลาดเซิร์ฟเวอร์เริ่มเห็นผล หลังการเปิดตัวซีพียู EPYC ก็เริ่มมีผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์หลายรายนำไปใช้งาน ล่าสุด Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่เปิดให้ใช้เครื่องที่เป็น EPYC แล้ว
Azure จะเริ่มให้บริการ EPYC ใน VM ซีรีส์ใหม่ที่เรียกว่า Lv2 ที่เน้นงานด้านสตอเรจ มีประสิทธิภาพด้าน I/O สูง เหมาะกับการรันฐานข้อมูลอย่าง MongoDB, Cassandra, Cloudera โดยมันจะใช้ AMD EPYC 7551 ความถี่ 2.2GHz และสามารถขยายซีพียูเสมือนได้สูงสุด 64 ตัว แรม 512GB
ก่อนหน้านี้เราเพิ่งเห็นข่าว VMware Cloud on AWS เริ่มเปิดบริการแล้ว รันซอฟต์แวร์ VMware บนคลาวด์ Amazon คราวนี้ฝั่งของ Azure ก็เริ่มมีบริการแบบเดียวกัน เป้าหมายคือช่วยลูกค้าที่รัน VMware อยู่แล้วย้ายขึ้นคลาวด์ของไมโครซอฟท์สะดวกขึ้น
บริการของไมโครซอฟท์เรียกว่า VMware virtualization on Azure เป็นการนำ VMware มารันบนเครื่องของ Azure โดยตรง ตอนนี้สถานะยังเป็นรุ่นเบต้า และจะออกรุ่นจริงในปีหน้า
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมี Azure Migrate เป็นเครื่องมือฟรี ที่วิเคราะห์โครงสร้างการรันแอพพลิเคชันใน VM ที่ใช้อยู่ เพื่อย้ายขึ้น Azure โดยอัตโนมัติ ช่วยลดระยะเวลาดาวน์ไทม์ให้มากที่สุด และคำนวณค่าใช้งานให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด
Azure ขยายบริการด้านปัญญาประดิษฐ์ของตัวเอง โดยขยายภาษาที่รองรับสำหรับบริการแปลภาษา, แปลงเสียงเป็นข้อความ, และการวิเคราะห์ข้อความ
การอัพเดตแต่ละบริการมีดังนี้
ไมโครซอฟท์ปล่อยส่วนเสริม Microsoft Visual Studio Tools for AI เพิ่มฟังก์ชั่นด้านปัญญาประดิษฐ์ให้กับ Visual Studio โดยมีฟีเจอร์ตั้งแต่การพัฒนาโค้ดที่เพิ่ม IntelliSense ให้กับเฟรมเวิร์คดังๆ และการดีบั๊กบนเครื่องของเราเอง ไปจนถึงการเชื่อมต่อกับ Auzre ML เพื่อส่งงานขึ้นไปรันบนคลาวด์
การเชื่อมต่อคลาวด์ทำให้การเทรนเน็คเวิร์คขนาดใหญ่ทำได้ง่ายขึ้น เพียงเลือกเฟรมเวิร์ค, จำนวนเครื่อง, และใส่ที่เก็บผลลัพธ์ก็ส่งงานขึ้นไปรันบนเครื่องที่มีชิปกราฟิกได้เลย
ตัวส่วนเสริมนี้รองรับทั้ง Visual Studio 2015 และ 2017 แต่ต้องใช้งานบนวินโดวส์ 64 บิตเท่านั้น
ที่มา - eWeek
ไมโครซอฟท์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ MariaDB Foundation โดยเป็นสมาชิกระดับสูงสุด (Platinum Member) มีศักดิ์ฐานะเท่ากับ Booking.com, Alibaba Cloud, Tencent Cloud
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ระบุว่า ต้องการสนับสนุนการใช้งาน MariaDB บน Azure ให้เต็มที่ จึงเข้ามาสนับสนุนโครงการ MariaDB โดยตรงในฐานะสปอนเซอร์อย่างเป็นทางการ
แนวทางของไมโครซอฟท์คือสนับสนุนฐานข้อมูลที่หลากหลายบน Azure จึงรองรับทั้ง SQL Server, MySQL, MariaDB แต่ช่วงหลังลินุกซ์ดิสโทรส่วนใหญ่เริ่มขยับจาก MySQL มาเป็น MariaDB ก็ทำให้ไมโครซอฟท์เริ่มปรับทิศทางมาสนับสนุน MariaDB แทน
ไมโครซอฟท์จะออก Azure Database for MariaDB เวอร์ชันโฮสต์บนคลาวด์ในเร็วๆ นี้
ไมโครซอฟท์มีบริการ Azure Backup สำหรับแบ็คอัพข้อมูลเก็บขึ้นคลาวด์อยู่แล้ว ล่าสุดมันเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ Windows Server System State Backup to Azure หน้าที่ก็ตรงตัวคือสามารถแบ็คอัพ state ของ Windows Server ขึ้นไปเก็บบนคลาวด์ได้
ฟีเจอร์นี้ช่วยให้แอดมินองค์กรสามารถเก็บ state ของเซิร์ฟเวอร์ได้ง่ายขึ้นมาก ถ้ามีปัญหาใดๆ ก็สามารถสั่ง restore กลับมาจาก Azure ได้ทันที มันรองรับ Windows Server 2008 R2 ขึ้นไป และนอกจากตัวระบบปฏิบัติการแล้ว ยังรองรับ Active Directory, File Server และ IIS ด้วย
ไมโครซอฟท์ยังออกเครื่องมือช่วยสั่งแบ็คอัพจาก PowerShell รวมถึงเปิดให้เลือกเวลาที่ต้องการแบ็คอัพอย่างอิสระด้วย
Microsoft Azure ประกาศให้บริการ VM รุ่น Fv2 ซึ่งเป็น VM ที่มีสมรรถนะซีพียูสูงที่สุดในปัจจุบัน
Fv2 รันอยู่บนซีพียู Intel Xeon Platinum 8168 ซึ่งเป็นซีพียู Xeon Scalable ตัวใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรม Skylake มีสัญญาณนาฬิกา 2.7 GHz และอัดขึ้นไปได้ถึง 3.7 GHz และรองรับชุดคำสั่ง AVX-512
Fv2 มีรุ่นย่อยให้เลือก 7 ขนาด รุ่นเล็กสุดคือ 2 vCPU, แรม 4GB ไปจนถึงรุ่นใหญ่สุดที่ 72 vCPU, แรม 144GB ตอนนี้เริ่มให้บริการในบางเขตของสหรัฐและยุโรป พร้อมข่าวดีว่าเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะตามมาในเร็วๆ นี้
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Google Cloud Platform ก็เพิ่งอัพเกรด VM เป็น Xeon Scalable เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Cray ผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชื่อดัง นำระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Cray ไปให้บริการบนคลาวด์ Azure
กลุ่มเป้าหมายของความร่วมมือครั้งนี้คือ ลูกค้า Azure ที่ต้องการเครื่องแรงสุดๆ ไปใช้งานประมวลผลขนาดใหญ่ (Big Computing) แต่อาจไม่มีงบประมาณเยอะพอสำหรับซื้อเครื่อง Cray ถาวร ก็สามารถใช้วิธีเช่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์เฉพาะช่วงที่ต้องใช้งาน
Cray ระบุว่านำเครื่องรุ่น Cray XC series, Cray CS series, Cray ClusterStor มาให้บริการบน Azure โดยเชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ของ Azure เพื่อให้ย้ายข้อมูลไปมาได้ง่ายอีกด้วย
Azure Functions บริการคลาวด์ Serverless ของไมโครซอฟท์ ประกาศรองรับภาษา Java เพิ่มเติม จากเดิมที่รองรับ C#, F#, Node.js, Python, PHP อยู่ก่อนแล้ว
ไมโครซอฟท์บอกว่าต้องการขยายการรองรับภาษาต่างๆ ให้มากขึ้น ก่อนหน้านี้ก็เพิ่งประกาศรองรับ .NET Core ไป การรองรับ Java จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์สาย Java หันมาใช้งาน Azure Functions ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเรียนรู้ภาษาใหม่ แถมโครงการที่ใช้ Maven อยู่แล้วก็สามารถนำมาใช้ต่อได้เลย
บริการคู่แข่ง AWS Lambda นั้นรองรับ Java อยู่ก่อนแล้ว ส่วน Google Cloud Functions ยังรองรับเฉพาะ JavaScript ภาษาเดียว
ข้อจำกัดสำคัญของการใช้งานคลาวด์ชนิดเต็มรูปแบบอย่างหนึ่งคือองค์กรจำนวนมากมีข้อมูลมหาศาลจนกระทั่งการอัพโหลดตามปกติทำได้ลำบาก อาจจะใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ตั้งแต่ปี 2010 AWS รับข้อมูลเป็นฮาร์ดดิสก์จากลูกค้า จนกระทั่งพัฒนาเป็นบริการเต็มรูปแบบในชื่อว่า Snowball เมื่อปี 2015 ทางฝั่งกูเกิลเองก็เปิดบริการแบบเดียวกันในปี 2013 ตอนนี้ทั้งไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มก็เปิดบริการฮาร์ดดิสก์สำหรับอัพโหลดขึ้นคลาวด์แล้วทั้งคู่