กระแสการพัฒนาแอปพลิเคชั่นในรูปแบบคอนเทนเนอร์เริ่มมาหลายปี และการจัดการแอปทั้งระบบในช่วงหลังก็เริ่มชัดเจนว่า Kubernetes เป็นผู้ชนะในตลาดนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ก็ประกาศแผนปิดบริการ Azure Container Service (ACS) ที่เปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2016
คำแนะนำจากไมโครซอฟท์สำหรับผู้ใช้บริการ ACS หากใช้สำหรับ Kubernetes ก็ควรย้ายไปใช้งาน Azure Kubernetes Service (AKS) ได้เลย โดยการคลัสเตอร์จะทำได้ง่ายกว่า พร้อมกับมีฟีเจอร์การมอนิเตอร์และการบำรุงรักษามาในตัว
ส่วนผู้ที่ใช้ ACS สำหรับ Docker Swarm หรือ Mesosphere DC/OS ไมโครซอฟท์แนะนำให้ไปใช้ solution template แทน
Microsoft ประกาศเข้าซื้อบริษัท FSLogix สตาร์ทอัพจากจอร์เจียที่พัฒนาเทคโนโลยี virtual desktop infrastructure หรือ VDI เพื่อมาเติมเต็มระบบ Windows Virtual Desktop ซึ่งเป็นบริการภายใต้ Microsoft 365 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
บริษัท FSLogix จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเรื่องการทำ virtual desktop ซึ่งช่วยลดทรัพยากรในการทำ virtualization ให้กับธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลก ซึ่งโซลูชั่นของ FSLogix นั้นช่วยให้ประสบการณ์ผู้ใช้ดีขึ้น และลดการซัพพอร์ตจากฝ่ายไอทีได้ ซึ่ง FSLogix ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2013 และระดมทุนไปแล้วกว่า 10 ล้านดอลลาร์
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่เพิ่งผ่านมาไมโครซอฟท์ได้โพสต์วิดีโอตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Azure Stack บริการคลาวด์เวอร์ชันติดตั้งใช้งานภายในองค์กร ในรูปแบบที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยการนำเซิร์ฟเวอร์ Azure Stack มาติดตั้งไว้ในท้ายรถ SUV เพื่อนำเทคโนโลยีและบริการประมวลผลของ Azure สู่พื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร ช่วยทลายข้อจำกัดของการใช้คลาวด์แบบเดิมที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจึงจะสามารถประมวลผลข้อมูลได้
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Grab เพื่อนำบริการคลาวด์ Azure มาใช้กับ Grab ทั้งเทคโนโลยี Big Data, AI และ IoT เชื่อมต่อกับรถยนต์
ตัวอย่างความร่วมมือที่จะนำ Azure มาใช้กับ Grab อาทิ เทคโนโลยีการยืนยันตัวผู้ขับรถ, การตรวจสอบรายการที่ผิดปกติ, การพัฒนา Chatbot, การนำ AI มาใช้ในระบบแนะนำสถานที่ และอื่น ๆ อีกมาก
ผู้บริหาร Grab กล่าวว่าเงินลงทุนจากไมโครซอฟท์นี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนระดมทุนเพิ่มเติมอีก 3 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ของ Grab แต่ไม่ได้ระบุว่าไมโครซอฟท์ลงทุนไปเท่าใดในดีลนี้
ไมโครซอฟท์มีบริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ Azure SQL Database มานานแล้ว (มันเป็น SQL Server เวอร์ชันดัดแปลงเล็กน้อย และรันแบบ managed database คือไมโครซอฟท์ดูแลและจัดการคอนฟิกให้ ผู้ใช้มีหน้าที่ใช้อย่างเดียว)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกบริการรุ่นย่อย Azure SQL Database Hyperscale สำหรับการทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาให้ใช้กัน
Azure SQL Database Hyperscale รองรับฐานข้อมูลขนาดสูงสุด 100TB และเน้นเรื่องการขยายฐานข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทั้งแบบ scale up และ scale out รวมไปถึงยกระดับการเก็บล็อกจำนวนมากขึ้นด้วย
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็เข้ามาลุยตลาด virtual desktop infrastructure (VDI) ด้วยตัวเอง ผ่านบริการใหม่ Windows Virtual Desktop ที่รันบน Azure เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ใดๆ ในองค์กรเลย
Windows Virtual Desktop เป็นบริการเดสก์ท็อปเสมือนดังเช่น VDI ค่ายอื่นๆ ส่วนฟีเจอร์ที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งมีดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบอร์ด Azure Sphere บอร์ดแรก สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับคลาวด์ Azure โดยมีความปลอดภัยสูง โดยชื่อแบรนด์ Azure Sphere นี้อาจจะมีบอร์ดรุ่นอื่นๆ ที่ได้รับรองเข้าโครงการเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ แต่บอร์ดพัฒนารุ่นแรก คือ Azure Sphere MT3620 มีวางขายทั่วไปเป็นรุ่นแรก ผลิตโดย Seeed Studio
โครงการ Azure Sphere จะมีส่วนประกอบสามส่วน ได้แก่ ตัวซีพียูได้รับการรับรองจากโครงการ, ระบบปฎิบัติการ Azure Sphere OS ที่เป็นลินุกซ์, และบริการ Azure Sphere Security Service
เมื่อประมาณปลายเดือนที่แล้ว Microsoft AI Lab ได้เปิดตัวโปรเจ็กต์ Sketch2Code เว็บแอพพลิเคชั่นที่จะมาช่วยย่นระยะเวลาการออกแบบ UI ด้วยการใช้ AI ช่วยแปลงภาพสเก็ตช์ wireframe ให้กลายเป็นโค้ด HTML ที่สามารถนำไปเปิดกับเบราว์เซอร์เพื่อใช้แสดงเป็นโปรโตไทป์หรือนำไปแก้ไขต่อได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำก็เพียงแค่อัพโหลดภาพที่ต้องการแปลงขึ้นไปยังเว็บ Sketch2Code ตัวเว็บแอพจะรันโมเดลที่ได้เตรียมไว้เพื่อคาดเดา HTML element ที่น่าจะเป็น รวมถึงแปลงลายมือเป็นข้อความให้ด้วย Text Recognition Service
ไมโครซอฟท์เปลี่ยนบริการ Visual Studio Team Services เป็น Azure DevOps ประกอบด้วย 5 บริการหลัก ได้แก่
ศูนย์ข้อมูล South Central US ของบริการคลาวด์ Azure มีปัญหาตั้งแต่เมื่อวานนี้และตอนนี้ก็เกิน 24 ชั่วโมงแล้ว แม้บริการหลายตัวจะแก้ปัญหาไปได้แล้ว แต่บริการสำคัญเช่น Azure Storage, Azure Database, และ Virtual Machine ก็ยังมีปัญหาในศูนย์ข้อมูลนี้
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้คลาวด์โดยตรง แต่ใช้บริการที่รันบนคลาววด์เช่น Office 365, Outlook, และ Skype ก็มีรายงานว่ายังคงมีปัญหาต่อเนื่อง โดยบริการขึ้นข้อความว่า "Throttled" หลังพยายามล็อกอิน โดยกระทบทั่วโลก
หลังจากเมื่อคืนนี้ศูนย์ข้อมูลโซน South Central US ของ Azure ดับไป วันนี้ทางไมโครซอฟท์ก็แจ้งสาเหตุว่าเกิดจากฟ้าผ่าลงมาใกล้ศูนย์ข้อมูล ทำให้ความต่างศักย์เพิ่มสูงขึ้นจนระบบปิดตัวเองไป บริการสำคัญอย่าง Azure Active Directory พยายาม fail over ไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นแล้ว แต่ปริมาณทราฟิกสูงจนทำให้ระบบเกิดคอขวด ทำให้ผู้ใช้อาจจะใช้งานไม่ได้บางช่วง
ตอนนี้ในศูนย์ข้อมูล South Central US ทีมวิศวกรกำลังกู้ระบบสตอเรจขึ้นมา เพื่อให้ระบบอื่นๆ ที่ใช้งานสตอเรจกลับมาทำงานได้ แต่ปัญหาก็ทำให้ Azure Databricks และ Batch มีปัญหาไปทั่วโลก
ที่มา - Azure Status
ศูนย์ข้อมูล Azure โซน South Central US ในสหรัฐฯ มีปัญหาระบบทำความเย็น ทำให้ระบบฉุกเฉินปิดเซิร์ฟเวอร์ไป ทำให้ศูนย์ข้อมูลทั้งศูนย์ดับยาวเกือบ 3 ชั่วโมงแล้วตอนนี้
ปัญหาในศูนย์ข้อมูลนี้ลากเอาบริการสำคัญ คือ Azure Active Directory, Azure Bot Service, Azure Resource Manager, และ Visual Studio Team Services ดับหมดทั่วโลก
ทาง Azure ระบุว่ากำลังเปิดศูนย์ข้อมูลกลับขึ้นมา
ที่มา - @AzureSupport, Azure Status
Active Directory เป็นบริการไดเรคทอรี (ทำเนียบชื่อสำหรับยืนยันตัวตน-สิทธิการเข้าถึง) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกองค์กร พอมาถึงยุคคลาวด์มันก็กลายร่างเป็น Azure Active Directory (Azure AD) ที่ยังทำหน้าที่เหมือนเดิม
Azure AD มีฟีเจอร์หนึ่งชื่อว่า B2B Collaboration ช่วยให้องค์กรที่ใช้ Azure AD สามารถเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นได้ โดยที่อีกฝั่งไม่จำเป็นต้องใช้ Azure AD เหมือนกัน (อาจใช้ระบบทำเนียบชื่อค่ายอื่น) ช่วยให้การล็อกอินข้ามระบบกันทำได้ง่าย เพราะต่างฝ่ายต่างใช้บัญชีเก่าของตนได้เลย
Microsoft Azure กลายเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายล่าสุดที่รองรับ NVIDIA GPU Cloud (NGC) ซึ่งเป็นการใช้จีพียูของ NVIDIA เร่งความเร็วการประมวลผลงานต่างๆ
ปกติเราคุ้นกับการใช้จีพียูช่วยเร่งการประมวลผล deep learning แต่มันก็ยังสามารถใช้กับงานด้านอื่นๆ ทั้ง high performance computing (HPC) และ visualization ในระดับมืออาชีพด้วย
เครื่องบน Azure รองรับการใช้จีพียู NVIDIA (ทั้ง Tesla V100, P100, P40) มานานแล้ว ข่าวนี้คือคอนเทนเนอร์จาก NVIDIA ที่ปรับแต่งให้ใช้กับแอพพลิเคชันด้าน deep learning และ HPC สามารถนำมารันบน Azure แล้วเรียกใช้จีพียูได้ทันที
Azure ถือเป็นคลาวด์รายหลังๆ ที่รองรับ NGC เพราะคู่แข่งทั้ง AWS, Google Cloud Platform, Alibaba Cloud ต่างรองรับมาก่อนแล้ว
เมื่อวันที 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการไมโครซอฟท์ประเทศไทย ระบุว่าบริการ Speech-to-Text ที่อยู่ในชุดบริการ Microsoft Cognitive Services กำลังจะรองรับภาษาไทย ในเร็วๆ นี้โดยจะเปิดตัวเป็นทางการวันที่ 24 กันยายนในงาน Microsoft Ignite ที่ออร์แลนโด
บริการ Speech-to-Text นับเป็นบริการสำคัญของกลุ่มบริการ AI บนคลาวด์ โดยผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Google Cloud, Amazon, IBM Watson, และ Azure ล้วนมีบริการนี้ทั้งสิ้น แต่มีเฉพาะกูเกิลเท่านั้นที่รองรับภาษาไทยในตอนนี้
ยังไม่มีข้อมูลว่าจะ Azure จะรองรับภาษาใดเพิ่มพร้อมกับภาษาไทยบ้าง ตอนนี้บริการรองรับเฉพาะภาษา อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน
Synergy Research Group เผยส่วนแบ่งตลาดผู้ให้บริการคลาวด์ทั่วโลกประจำไตรมาส 2/2018 พบว่าอันดับหนึ่งยังเป็น AWS นำห่างเช่นเดิมด้วยส่วนแบ่ง 34% แต่ส่วนแบ่งตลาดคงตัว
อันดับสอง Microsoft Azure มีส่วนแบ่งเพิ่ม 3 จุดเป็น 14% และอันดับสาม Google Cloud เพิ่ม 1 จุดเป็น 6% ส่วน Alibaba มีอัตราเติบโตรวดเร็วที่สุดแต่ส่วนแบ่งตลาดยังถือว่าน้อยอยู่
Synergy ประเมินว่ามูลค่าของตลาดคลาวด์ในไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ 16 พันล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 50% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และตลาดถูกครอบครองโดยผู้ให้บริการรายใหญ่ Top 5 (AWS, Microsoft, Google, IBM, Alibaba) ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันประมาณ 3/4 ของทั้งหมด
ผู้ใช้ระบบไอทีในองค์กรคงคุ้นเคยกับการแชร์ไฟล์ผ่าน Windows Server กันเองภายใน ข้อเสียของการแชร์ไฟล์แบบนี้คือจัดการยากหากมีสาขาเยอะๆ และต้องลงทุนเรื่องการแบ็คอัพด้วย
การย้ายไฟล์ไปเก็บไว้บนคลาวด์อาจแก้ปัญหาเรื่องแบ็คอัพได้ แต่ก็มีข้อเสียเรื่องความเร็วในการเข้าถึงไฟล์เพิ่มเข้ามา ทำให้การแชร์ไฟล์ผ่านคลาวด์ยังไม่สามารถแทนที่การแชร์ไฟล์ผ่านเซิร์ฟเวอร์แบบเดิม (on-premise) ได้ 100%
ไมโครซอฟท์จึงหาทางแก้ด้วย "Azure File Sync" ตัวช่วยสำหรับแชร์ไฟล์ขึ้นคลาวด์ Azure File โดยที่มีเซิร์ฟเวอร์มาคั่นกลาง ทำหน้าที่เหมือนแคชในองค์กร
Walmart เชนร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ของอเมริกา ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับไมโครซอฟท์ เพื่อเปลี่ยนผ่านค้าปลีกสู่ยุคดิจิทัล และเพิ่มประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยไมโครซอฟท์จะเข้ามาดูแลโซลูชันทั้งหลายโดยเฉพาะคลาวด์ และ AI ด้วย Azure และ Microsoft 365
โดยข้อตกลงระหว่าง Walmart กับไมโครซอฟท์นี้ คือการใช้ผลิตภัณฑ์คลาวด์ทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งย้ายแอพพลิเคชันสำคัญไปไว้บนคลาวด์ ซึ่งรวมทั้งเว็บไซต์หลักของ Walmart ทั้ง walmart.com และ samsclub.com ที่จะไปอยู่บน Azure
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนว่าฐานข้อมูล SQL Server 2008 และ 2008 R2 จะหมดระยะ Extended Support ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2019 หรืออีก 1 ปีข้างหน้า
ตามปกติของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ เมื่อหมดระยะ Extended Support แล้วจะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยให้อีก แต่ถ้าองค์กรใหญ่และรวยจริงๆ ก็ยังสามารถซื้อบริการซัพพอร์ตพิเศษ Extended Security Updates ต่อได้อีก 3 ปีในราคาที่แพง (มาก) เพื่อบีบให้องค์กรย้ายไปใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ (ในที่นี้คือ SQL Server 2017) โดยเร็ว
แต่รอบนี้ไมโครซอฟท์มีทางเลือกใหม่ออกมาคือ แถมฟรี Extended Security Updates แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ภายใต้เงื่อนไขว่าลูกค้าต้องย้ายฐานข้อมูลมารันบนคลาวด์ Azure แทน
Microsoft เคยเปิดตัว Azure Data Box ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังระบบคลาวด์ Azure มาแล้ว และจากการฟังเสียงตอบรับก็พบว่าลูกค้าต้องการเครื่องมือที่เล็กและมีความจุน้อยกว่าเพื่อใช้ย้ายข้อมูลปริมาณไม่มากนัก จึงทำให้ Microsoft เปิดตัว Data Box Disk ที่เล็กและมีความจุน้อยลง
Microsoft Azure ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สองอย่างในด้านระบบเครือข่ายสำหรับองค์กร โดยเน้นการทำงานภายในองค์กรที่มีสำนักงานสาขาที่ต้องรักษาความปลอดภัยการเชื่อมต่อรวมถึงการโจมตีจากภายนอกด้วย รวมถึงยังต้องรักษาความง่ายในการดีพลอย, ใช้งาน และจัดการสเกลได้ตามลักษณะงาน คือ Azure Virtual WAN และ Azure Firewall ซึ่งตอนนี้ฟีเจอร์ทั้งสองยังอยู่ในช่วงพรีวิว
Microsoft ประกาศปรับปรุง Azure SQL Data Warehouse ระบบฐานข้อมูลบนคลาวด์สำหรับงานประเภทบิ๊กดาต้า โดยเน้นที่การปรับปรุงความเร็วในการ query โดยการใช้เทคโนโลยี instant data movement แบบใหม่ ซึ่งทำให้การ query เร็วขึ้นได้ 2 เท่า
ปกติแล้วเมื่อเรากระทำการ query ในรูปแบบใดก็ตาม หากตารางที่ต้องการอยู่ต่างโหนดกันก็ต้องย้ายข้อมูลไปมา ซึ่งอาจจะต้องใช้ Data Movement Service (DMS) คัดลอกข้อมูลออกจาก SQL Server Engine จากนั้นทำการแฮชและส่งไปยัง DMS บนโหนดอื่น ๆ ซึ่ง DMS จะคัดลอกข้อมูลไปยังตารางชั่วคราวโดยใช้ SQL Server BulkCopy API ซึ่งการอ่านข้อมูลออกมาจาก SQL Server นั้นเป็นแบบเทรดเดียวและทำให้เกิดคอขวดได้ง่าย
ไมโครซอฟท์เผยแพร่กรณีศึกษาของการใช้บริการ Azure แต่ครั้งนี้กรณีศึกษามาจาก Xbox ของไมโครซอฟท์เอง ที่ใช้บล็อคเชนบน Azure เพื่อแชร์ข้อมูลค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้จัดจำหน่ายเกม
รายงานระบุว่าก่อนหน้านี้ผู้จัดจำหน่ายเกมจะรู้ยอดขายที่ชัดเจนในแต่ละเดือนก็หลังจากหมดเดือนไปแล้ว 45 วัน ที่เจ้าหน้าที่จะมาสรุปยอดส่งไปให้ ระยะเวลานี้ทำให้ผู้จัดจำหน่ายคาดเดาตลาดได้ยาก ไม่สามารถจัดงบประมาณประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมได้ จึงหันมาสร้างบล็อคเชนเพื่อแชร์ข้อมูล
Azure Stack เป็นชื่อของบริการ Azure เวอร์ชันติดตั้งในองค์กร (on-premise) หรือเช่าใช้ผ่านผู้ให้บริการที่เป็นพาร์ทเนอร์ของไมโครซอฟท์อีกที
Azure Stack เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องทำตามกฎระเบียบ compliance เรื่องสถานที่ตั้งของศูนย์ข้อมูล, ต้องการประมวลผลแบบออฟไลน์ หรือต้องการรันไฮบริดคลาวด์โดยใช้เทคโนโลยีสองฝั่งเหมือนกันทั้งหมด
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศขยายประเทศที่ให้บริการ Azure Stack เป็น 92 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนั้นมีประเทศไทยด้วย
สัปดาห์ที่ผ่านมา SAP มีงานใหญ่ประจำปี SAPPHIRE 2018 ประกาศสำคัญในงานคือ SAP Cloud Platform จะเปิดให้บริการบนคลาวด์เจ้าใหญ่ครบทั้ง 4 รายคือ AWS, Azure, Google Cloud Platform, IBM แล้ว
SAP Cloud Platform เป็นบริการ PaaS ของ SAP ที่มีแกนหลักคือฐานข้อมูล HANA และบริการอื่นๆ ของ SAP ที่มาต่อเชื่อมกันเพื่อเป็นฐานสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันเชิงธุรกิจ ที่ผ่านมา SAP Cloud Platform เปิดให้บริการบน AWS อยู่ก่อนแล้ว ในปีนี้ขยายมายัง Azure และ Google Cloud Platform รวมถึงประกาศว่าจะรองรับ IBM Cloud ในอนาคตด้วย
การที่ SAP Cloud Platform ทำงานได้บนคลาวด์ทุกเจ้า แปลว่าลูกค้าของ SAP สามารถเลือกผสมบริการคลาวด์ข้ามค่ายได้ (เช่น พัฒนาบน Azure แล้วไปรันบน AWS)