เมื่อวานนี้บริการ Azure ของไมโครซอฟท์เกิดหยุดทำงานไปหลายส่วน เนื่องจากใบรับรองดิจิตอล (digital certificate) ของบริการเหล่านี้หมดอายุลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
บริการที่หยุดจากสาเหตุนี้ได้แก่ Access Control 2.0, Media Encoding, Management Portal, Media On-Demand Streaming, Service Bus, Storage, Web Sites โดยทั้งหมดเกิดจากบริการ Storage ใช้งานไม่ได้ทำให้บริการที่เหลือหยุดทำงานไปโดยปริยาย
ปัญหานี้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก และไมโครซอฟท์กำลังแก้ปัญหาอยู่
ที่มา - Windows Azure Service Dashboard
ต่อจากข่าว Windows Azure Media Services ระบบกลุ่มเมฆสำหรับมัลติมีเดียบนโลกออนไลน์ วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดบริการนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
กลุ่มเป้าหมายของ Media Services คือผู้ให้บริการสื่อที่มีเนื้อหาของตัวเอง (เช่น ภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ) แล้วต้องการทำระบบสตรีมมิ่งสำหรับอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แต่ไม่อยากลงทุนทำเซิร์ฟเวอร์เอง ก็สามารถเข้ามา "เช่าใช้" แพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์แทนได้
ไมโครซอฟท์ประกาศออกผลิตภัณฑ์ด้านไอทีองค์กรใหม่หลายตัว ได้แก่
ไมโครซอฟท์ประกาศลดราคาพื้นที่เก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆ Windows Azure Storage อีกรอบ หลังจากที่ลดราคามาแล้ว 12% เมื่อเดือนมีนาคม 2012
การลดราคาครั้งนี้ แพกเกจที่ลดมากที่สุดลดถึง 28% โดยเริ่มต้นที่ 0.07 ดอลลาร์ต่อ GB ต่อเดือน สำหรับการใช้งานน้อยกว่า 1TB (ถ้าใช้มากกว่านั้นก็มีส่วนลดมากขึ้นเรื่อยๆ ถูกสุดคือ 0.037 ดอลลาร์ต่อ GB ต่อเดือน)
Windows Azure Storage ยังมีตัวเลือกว่าจะสำรองข้อมูลแบบไหน ระหว่างการสำรองข้อมูลข้ามภูมิภาค (geographically redundant) ที่ประกันความปลอดภัยของข้อมูลดีกว่า และการสำรองข้อมูลเฉพาะในศูนย์ข้อมูลเดียวกัน (locally redundant) ที่ราคาถูกกว่า โดยทั้งสองแบบจะสำรองข้อมูลให้ 3 ชุดเพียงแต่กระจายตัวต่างกัน
ไมโครซอฟท์เปิดเผยความสามารถใหม่ของบริการ Windows Azure ในชื่อว่า Big Compute ซึ่งเป็น virtual machine สำหรับรองรับการประมวลผลสมรรถนะสูง ในเบื้องต้น Big Compute จะรองรับเพียงแค่ระบบปฏิบัติการ Windows และจัดเตรียม virtual machine มาให้ 2 รุ่นด้วยกัน คือ รุ่นซีพียู 8 คอร์พร้อมแรม 60 กิกะไบต์ และรุ่นซีพียู 16 คอร์พร้อมแรม 120 กิกะไบต์ โดยขณะนี้ ไมโครซอฟท์ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับราคาบริการของ Big Compute
งาน BUILD 2012 ของไมโครซอฟท์วันที่สองเป็นเรื่องของ Windows Azure โดยเฉพาะ หลังจากที่วันแรกเป็นข่าวของ Windows 8 และ Windows Phone 8 ไปแล้ว
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์พยายามดัน Azure เป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการแอพมือถือมาสักระยะหนึ่ง (ข่าวเก่า 1,
ไมโครซอฟท์เปิดให้ลงทะเบียนงาน BUILD 2012 ในวันที่ 8 เดือน 8 ตามสัญญา
ที่โผล่มาแบบเกินคาด (หรือตามคาด?) คือในหน้าเว็บของ BUILD 2012 ได้แสดงโลโก้แบบใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ที่ทยอยเปิดตัวกันมาตลอดปีนี้ ซึ่งในบรรดาโลโก้เหล่านี้ก็มี "โลโก้ใหม่" ของ Windows Phone และ Windows Azure ที่ยังไม่เคยแสดงที่ไหนมาก่อนด้วย
แต่จะพูดว่า "โลโก้ใหม่" ก็อาจจะพูดไม่ได้เต็มปากนัก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้งสองตัวมีชื่อ "Windows" แปะมาด้วย ดังนั้นมันจึงใช้ภาพหน้าต่างแบบเดียวกับ Windows 8 นั่นเอง (แค่เปลี่ยนสี)
ไมโครซอฟท์ได้ประกาศรับสมัครงานเข้ามาพัฒนา Connected Car Platform รุ่นถัดไป โดยประกาศนี้กล่าวถึงแผนที่จะบูรณาการผลิตภัณฑ์อย่าง Kinect, Windows 8, Windows Phone, Windows Live, Bing, Azure และ Tellme เข้ากับแพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์ ซึ่งจะทำให้รถยนต์รับรู้การสั่งการโดยใช้เสียง การแสดงท่าทาง (gesture) และการติดตามใบหน้า สามารถเรียนรู้ผู้ใช้และตอบสนองโดยให้ข้อมูลและคำแนะนำในการขับขี่ได้
ไมโครซอฟท์ได้เข้าสู่ตลาดยานยนต์มาได้สิบกว่าปีแล้ว ส่วนรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ที่เป็นที่รู้จักในบ้านเราก็น่าจะเป็นฟอร์ดโฟกัส รุ่นปี 2012 ที่มีระบบ Ford SYNC ติดมาด้วย รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้จากข่าวเก่า
ไมโครซอฟท์ไปจัดงานสัมมนานักพัฒนาที่นอร์เวย์ในชื่อ Norwegian Developers Conference โดยพูดถึงเทคโนโลยีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นมี Windows Azure อยู่ด้วย
ไมโครซอฟท์เลือกจัดแสดงทีมนักเต้นสาวเพื่อเรียกความสนใจ แถมแต่งเพลง Windows Azure ขึ้นมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ปัญหาคือเนื้อเพลงมีคำไม่เหมาะสมหลายอย่าง เช่น
ถึงแม้ Windows Server 2012 จะยังไม่ออกตัวจริง (ล่าสุดคือรุ่น Release Candidate) แต่ล่าสุดก็ได้ลูกค้ารายใหญ่แล้ว ซึ่งไม่ใช่ใครอื่นไกลแต่เป็นทีม Bing ของไมโครซอฟท์นั่นเอง
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเซิร์ฟเวอร์นับพันที่รัน Bing.com เปลี่ยนมาใช้ Windows Server 2012 RC แล้ว เหตุผลสำคัญที่เปลี่ยนคือประสิทธิภาพที่ดีกว่า Windows Server 2008 อย่างมาก
ฟีเจอร์ที่ทีม Bing พบว่าใช้ประโยชน์ได้จาก Windows Server 2012 มี 4 อย่าง (ส่วนมากเกี่ยวกับ .NET เพราะโค้ดทั้งหมดของ Bing เป็น managed code) ได้แก่
ข่าวนี้ต่อจากประกาศ Windows Azure รองรับ Virtual Machine (รวมลินุกซ์!) ทางบริษัท Canonical นำโดยคุณ Mark Shuttleworth ก็ออกมาประกาศว่าบริษัทลงทุนด้านคอมพิวเตอร์บนกลุ่มเมฆมานานแล้ว โดยพัฒนา Ubuntu ให้รองรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน (IaaS) หลายยี่ห้อ เช่น OpenStack, Eucalyptus, AWS
ในกรณีของไมโครซอฟท์ถือว่าเป็นผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่ที่ Ubuntu ไม่ควรมองข้าม และการรัน Ubuntu+Windows บนระบบเซิร์ฟเวอร์เสมือนก็เป็นเรื่องดีสำหรับองค์กร ดังนั้น Canonical จึงจับมือร่วมกับไมโครซอฟท์พัฒนา Ubuntu ให้ทำงานบน Azure ได้เป็นอย่างดีเพื่อเป็นไฟล์อิมเมจสำหรับผู้ใช้ Azure ต่อไปในอนาคต โดยโค้ดทั้งหมดที่พัฒนาเพิ่มจะยังเป็นโอเพนซอร์สอย่างเคย
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายขีดความสามารถของแพลตฟอร์ม Windows Azure อีกหลายอย่าง
ในส่วนของ Azure ที่เป็น PaaS แบบเดิม ไมโครซอฟท์เพิ่มไลบรารีภาษา Python และ Java เข้ามา (จากเดิมที่รองรับ .NET, PHP, Node.js) ออกปลั๊กอินสำหรับ Eclipse/Java, รองรับ MongoDB, ใช้งาน Memcached สำหรับภาษาที่ไม่ใช่ตระกูล .NET และรองรับ Apache Solr/Lucene
สำหรับงานด้านเว็บก็มี Windows Azure Web Sites ที่รองรับเฟรมเวิร์คด้านการพัฒนาเว็บหลายตัว เช่น ASP.NET, PHP, Node.js รวมไปถึง CMS ยอดนิยมอย่าง WordPress, Joomla!, Drupal, Umbraco, DotNetNuke โดยเชื่อมต่อกับ MySQL หรือ Windows Azure SQL ก็ได้
ที่งานสัมมนาของผู้ผลิตรายการทีวี National Association of Broadcasters (NAB) 2012 ไมโครซอฟท์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่ม Windows Azure นั่นคือ Windows Azure Media Services หรือ "กลุ่มเมฆ" สำหรับงานด้านวิดีโอออนไลน์
Windows Azure Media Services คือการนำแพลตฟอร์มด้านวิดีโอของไมโครซอฟท์ เช่น การเข้ารหัสไฟล์, แปลงไฟล์, DRM, การถ่ายทอดสดวิดีโออย่าง HTTP Live Streaming และ Smooth Streaming ฯลฯ ที่เดิมทีผู้ให้บริการวิดีโอต้องทำเองทั้งหมด (ผ่านเครื่องมือของไมโครซอฟท์อย่าง Expression Encoder หรือ IIS Media Services) ขึ้นไปไว้บนกลุ่มเมฆ Azure ของไมโครซอฟท์
เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์จัดงาน Visual Studio Live ซึ่งมีการแถลงข่าวผลิตภัณฑ์ในตระกูล Visual Studio เพิ่มอีก 2 ประการ
อย่างแรกคือ Visual Studio 11 Ultimate รุ่นท็อปสุด หลังออกตัวจริงแล้ว ไมโครซอฟท์จะออก Ultimate Feature Packs (UFP) เพิ่มฟีเจอร์ให้ในภายหลัง (แบบเดียวกับ VS2010) โดยรุ่น UFP1 จะปรับปรุงตัวดีบั๊กเกอร์ IntelliTrace และการทำงานร่วมกับ SharePoint - Jason Zanders
อย่างที่สอง ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการซอร์สโค้ดและกระบวนการพัฒนาอย่าง Team Foundation Service (เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับติดตั้งในองค์กร) กำลังจะมีเวอร์ชันกลุ่มเมฆที่รันบน Windows Azure ซึ่งในงานนี้ไมโครซอฟท์เปิดตัว Build Service for Team Foundation Service ที่นักพัฒนาสามารถนำโค้ดไปคอมไพล์บน Azure ได้ (นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ในการทดสอบ และจัดการกระบวนการ เทียบเท่ากับ Team Foundation Service) - Brian Harry
ปัญหาสำคัญในระดับ dilemma ของไมโครซอฟท์บนโลกแห่งกลุ่มเมฆก็คือ โปรแกรมหากินของตัวเองเกือบทั้งหมดเป็น native ทำให้การขยับไปยังกลุ่มเมฆอาจจะไปกินรายได้จากตลาดเดิม
ดังนั้นถึงแม้ไมโครซอฟท์จะมีแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆ Azure ที่แข็งแกร่ง และโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ภายนอกมาสร้างแอพบน Azure อย่างต่อเนื่อง แต่นับกันจริงๆ แล้วไมโครซอฟท์กลับมีแอพของตัวเองบน Azure ไม่เยอะนัก ซึ่งตรงนี้จะต่างไปจากกูเกิลที่นิยมสร้างแอพเล็กๆ เฉพาะทางของตัวเองไว้บน App Engine อยู่เรื่อยๆ
หลังจาก Amazon เปิดสงครามราคา ลดราคา EC2 ลงมาสูงสุด 37% ตามมาด้วยกูเกิลลดราคา Cloud Storage ลง 8-15% ไมโครซอฟท์ก็ทนไม่ไหวต้องลงมาเล่นในสงครามราคาด้วย
เว็บไซต์ ZDNet รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่าไมโครซอฟท์เตรียมปล่อยเครื่องมือสนับสนุนการทำ persistence บน virtual machine (VM) บนแพลตฟอร์ม Azure ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่ใช้ Azure ในลักษณะ Platform-as-a-Service (PaaS) สามารถโฮสต์ SQL Server, SharePoint Server ฯลฯ ได้โดยที่ข้อมูลจะไม่สูญหายไปไหนเมื่อมีการรีบู๊ต
แหล่งข่าวระบุว่าเริ่มต้นไมโครซอฟท์จะปล่อยเครื่องมือดังกล่าวสำหรับแพลตฟอร์ม Windows ก่อน จากนั้นจะค่อยเพิ่มการสนับสนุน persistence บน Linux ในภายหลัง โดยผู้ใช้สามารถเลือกที่จะอัพโหลดไฟล์อิมเมจของ Linux เองก็ได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ออก Windows Azure รุ่นอัพเดตเพิ่มเติม ซึ่งมีของใหม่เพิ่มมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการรองรับซอฟต์แวร์ฝั่งโอเพนซอร์สจำนวนมาก
Imagine Cup เป็นการแข่งขันไอทีระดับนักศึกษาของไมโครซอฟท์ที่เด็กไทยรู้จักกันดี และที่ผ่านมาก็เคยมีทีมนักศึกษาไทยไปคว้าแชมป์ในระดับโลกมาแล้ว (ปี 2010 หมวด Software Design)
ไมโครซอฟท์แถลงข่าวผลิตภัณฑ์สายฐานข้อมูลของตัวเองหลายอย่าง
อย่างแรกคือการประกาศ Microsoft SQL Server 2012 จากเดิมที่มีชื่อรหัสว่า "Denali" จะออกในครึ่งแรกของปี 2012 (ตอนนี้มีสถานะ CTP3) ฟีเจอร์ใหม่ได้แก่ Power View, SQL Server Data Tools, ColumnStore Index และปรับปรุงเรื่อง Business Intelligence
สงครามการประมวลผลบนกลุ่มเมฆเริ่มร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ช่วงหลังมีหลายบริษัทเปิดให้บริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆกันเยอะแยะไปหมด ก็มีเว็บไซต์ชื่อ CloudSleuth ของบริษัท Compuware ทดสอบ "ความเร็ว" ในการตอบสนองของกลุ่มเมฆต่างๆ ในรอบ 12 เดือนหลังสุด
การทดสอบจะวางเครื่อง 30 จุดรอบโลก แล้วยิงคำสั่งไปยังกลุ่มเมฆแต่ละยี่ห้อทุกๆ 15 นาที บริษัท Compuware ทดสอบยาวมากคือระหว่างเดือนสิงหาคม 2010 ถึงกรกฎาคม 2011 มีข้อมูลการทดสอบกว่า 515,000 ครั้ง
ผลคือ Windows Azure ชนะเลิศด้วยค่าเฉลี่ยของการตอบสนองที่ 6.072 วินาที อันดับสองตามมาด้วย Google App Engine ที่ 6.45 วินาที ส่วนพี่ใหญ่ Amazon EC2 ที่เวอร์จิเนียใช้เวลา 7.20 วินาที
หลังจากเปิดตัว Windows 8 ไปเมื่อวานนี้ วันนี้ก็ถึงเวลาของฝั่งเซิร์ฟเวอร์และเครืองมือพัฒนากันบ้าง โดยไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวสินค้าอีกสามชุด คือ Windows Server 8, Visual Studio 11 (พร้อม .NET 4.5), และ Azure รุ่นใหม่
เซิร์ฟเวอร์รุ่นต่อไปจากฝั่งวินโดวส์ เน้นไปที่การทำ Virtualization และการเชื่อมต่อกับบริการแบบกลุ่มเมฆมากขึ้น โดยระบบ Virtualization รุ่นใหม่จะให้บริการกับผู้ใช้, คิดค่าบริการ, และเปิดให้ผู้ใช้จัดการเครื่องของตัวเองได้โดยไม่ต้องให้แอดมินเข้ามาจัดการ
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่าบริการบนกลุ่มเมฆของแอปเปิลที่ชื่อ iCloud น่าจะทำงานอยู่บน AWS ของอเมซอนและ Azure ของไมโครซอฟท์จริง ก็เกิดคำถามว่าแล้วตกลงศูนย์ข้อมูลขนาดมหึมาที่แอปเปิลลงทุนสร้างด้วยเงินเป็นพันล้านดอลลาร์ ซึ่งสตีฟ จ็อบส์เองได้
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวคาดการณ์ว่า iCloud เช่าบริการจาก Microsoft Azure และ Amazon S3? ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ The Register รายงานข้อมูลวงในว่า iCloud นั้นรันอยู่บน AWS และ Azure จริงๆ โดยแบ่งส่วนข้อมูลของผู้ใช้กระจายไปยังบริการทั้งสองตัวสลับกัน